บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำฟ้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยละเอียด

ที่มา มติชน

มติ ชนออนไลน์ ถอดแถบเสียงคำวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ที่อ่านโดยนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อเวลา 14.10 น. ณ ศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้

ศาลธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคหรือไม่ มีประเด็นวินิจฉัย5ประเด็น

-กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคของผู้ถูกร้องชอบด้วยกฏหมายหรือไม่

-การ กระทำของผู้ถูกร้องตามคำร้องอยู่ในบังคับพระ ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 หรือประราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพ.ศ.2550

-ผู้ถูกร้องใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนานักการเมืองในปีพ.ศ.2548 เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือไม่

-ผู้ถูกร้องจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองในปีพ.ศ. 2548ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่

-กรณี มีเหตุที่ให้ยุบพรรคผู้ที่ถูกร้องหัวหน้า พรรคและกรรมการบริหารพรรคจะต้องถูกตัดสิทธิหรือถูกทอดถอนสิทธิที่เลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541หรือประกาศปฎิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ เป็นพระประมุขฉบับที่27

การกระทำของผู้ถูกร้องตามคำร้องอยู่ ในบังคับพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยประกาศ พ.ศ.2541 หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ผู้ร้องกล่าวหาว่าผู้ถูกร้องกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นเหตุให้ต้องถูกยุบ พรรค ในช่วงเวลาพ.ศ.2547-2548 ในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมืองพ.ศ.2541 แต่ในขณะที่ยื่นคำร้องได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 แทน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ในส่วนของสารบัญญัติเกี่ยวกับเหตุที่จะยุบพรรคการเมืองในคดีนี้ จะต้องใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบพระราชธรรมนูญว่าด้วยพรรคการ เมืองพ.ศ.2541 ซึ่งใช้ข้อบังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุเป็นหลักในการพิจารณาวินิจฉัย

ใน กรณีพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา50/94นายทะเบียนมีความ เห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแจ้งต่ออัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้อง ต่อศาลรัฐธรรามนูญ เพื่อมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง93/2ผู้ร้องยื่นคดีขอให้พรรคประชาธิปัตย์ที่ ถูกฟ้องตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา93 โดยอ้างว่าผู้ถูกร้องกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 82 ที่บัญญัติให้พรรคการเมืองต้องใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมืองให้เป็นไปตาม กฎหมาย แต่ต้องจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินนั้นให้ถูกต้อง ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ใช่กรณีร้องขอต่ออัยการสูงสุด ที่ยื่นตามมาตรา95/1

พรรคการเมืองใดมีการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 82 หรือไม่ขึ้นอยู่กับอำนาจนายทะเบียนนั้น มาตรา 82 เป็นเรื่องของการกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมืองให้ถูกต้องรวม ทั้งการปฎิบัติงานทางด้านเอกสาร การจัดทำเอกสารต้องจัดทำรายงานให้ถูกต้อง รายงานประจำตามปกติ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่จะต้องดุแลปฎิบัติให้พรรคการเมืองทำตามหมายกำหนด อันเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนตรวจสอบ มาตรา 93 จึงเป็นหน้าที่นายทะเบียนยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนุญได้โดยตรง ซึ่งต่างจากการกระทำตามมาตรา 94 ซึ่งเป็นการกระทำในเรื่องที่ร้ายแรงกว่ามาตรา 95 จึงบัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้อัยการสุงสุดผู้มีความชำนาญด้านกฏหมายเป็นผู้ดำเนินการ ในการพิจารณาของนายทะเบียนกฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องพิจารณาด้วยตนเอง นายทะเบียนจึงมีอำนาจที่จะแต่งตั้งหรือขอความเห็นจากผู้หนึ่งผู้ใดได้ รวมถึงการขอความเห็นจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก็สามารถทำได้ แต่การตัดสินใจในขึ้นนี้นั้น ยังคงเป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองที่จะต้องพิจารณาความเห็น ก่อนว่ามีเหตุให้ยุบพรรคการเมืองหรือไม่ คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ได้มีอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดในเบื้องต้นว่า มีเหตุที่จะต้องยุบพรรคการเมืองนั้น ตามมาตรา 82 หรือไม่ แต่มีอำนาจให้เพียงแต่ความเห็นชอบตามที่นายทะเบียนเสนอเท่านั้น จากคำร้องของของผู้ร้อง

คำชี้แจงและคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้น ในปัญหาข้อกฎหมายของผู้ถูกร้องประกอบกับคำร้องคัดค้านคำร้อง ขอวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของ นายอภิชาติ สุคขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมือง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2552 กรมสอบสวนคดีพิเศษ นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ ได้แจ้งนายทะเบียนพรรคการเมืองขอตรวจสอบว่า ผู้ถูกร้องกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 รวม 2 กรณีคือ 1.การที่ บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)จ่ายเงินค่าจ้างทำสื่อโฆษณาให้กับ บริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด เป็นการอำพรางการบริจาคเงินของบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)ให้กับผู้ถูกร้อง และ

2.การใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองของ ผู้ถูกร้อง ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และรายงานการใช้เงินไม่ตรงตามความเป็นจริง หลังจากที่ได้รับแจ้งแล้ว นายอภิชาติ ได้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้แต่งตั้งคระกรรมการสืบสวนสอบสวนในเรื่อง ดังกล่าว เพื่อรายงานให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ โดยมีนายอิสระ หลิมศิริวงศ์ เป็นประธานคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน ทำการสืบสวนสอบสวนและตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว มีความเห็นว่า ผู้ถูกร้องมิได้กระทำผิดทั้งสองประเด็น โดยมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในประเด็นที่สอง ซึ่งเป้นมูลคดีของคดีนี้ และได้รายงานผลการสืบสวนสอบสวนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ

ต่อ มาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2552 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมพิจารณา รางงานของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน แล้วมีมติด้วยเสียงข้างมาก ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการตามมาตรา 95 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ที่ไม่เกี่ยวกับมูลคดีนี้ ซึ่งจะต้องดำเนินตามมาตรา 93 การลงมติดังกล่าวนายอภิชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นเสียงข้างน้อยมีความเห็นและลงมติทั้งสองกรณีว่า

1.ข้อเท็จจริง ยังฟังไม่ได้ว่าบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)บริจาคเงินให้ผู้ถูกร้อง และ2.กรณีในการใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมายและรายงานการ ใช้เงินไม่ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นคำร้องตามคดีนี้นั้น นายอภิชาติมีความเห็นว่า จากการตรวจสอบรายงานเอกสารการใช้จ่ายเงินของพรรคประชาธิปัตย์ ตามข้อมูลผู้ตรวจสอบบัญชี บริษัท สำนักสอบบัญชีทรัพย์อนันต์ จำกัด ไม่พบความผิดปกติในระบบเอกสารแต่อย่างใด จึงเชื่อตามเอกสารที่ผ่านการตรวจสอบตามระบบแล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้ จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์จริง ประกอบกับพยานหลักฐานในการสอบสวนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้ชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร คำให้การของนายประคอง สุนทรสุข แทนพล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ อดีตประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบกับพยานเอกสารที่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้นำเงินสนับสนุนการเมืองจำนวน ดังกล่าว ใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีการขอปรับโครงการและได้รับการอนุมัติแล้ว

จึงเป็นการเข้าใจ ที่คลาดเคลื่อนของผู้กล่าวหา จึงให้ยกคำร้องคัดค้าน ตามความเห็นของคณะกรรมการการสืบสวนสอบสวน หลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติดังกล่าวนายอภิชาติ ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2552 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อดำเนินการ ตามพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ตามมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งเสียงข้างมาก โดยมีม.ล.ประทีป จรูญโรจน์ เป็นประธานกรรมการ ซึ่งการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ ตามกฎหมายนั้นนายทะเบียนย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการได้ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 6 วรรค 1

ต่อ มา วันที่ 12 เมษายน 2553 ประธานคณะกรรมาการได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงพร้อมกับความเห็นเสนอต่อนายทะเบียน พรรคการเมืองในวันเดียวกันนั้น นายอภิชาติ ในฐานนะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้บันทึกความเห็นไว้ในท้ายหนังสือแจ้งผลพิจารณาของคณะกรรมการการตรวจสอบว่า พิจารณาแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่คณะทำงานของนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ รวบรวมเพิ่มเติมจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้เคยแต่งตั้ง คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนได้รวบรวมไว้ในเบื้องต้นอาจมีการกระทำตามมาตรา 94 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 หรือไม่ก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเห็นควรนำสู่การพิจารณามิติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงให้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาเรื่องโดยด่วน โดยผ่านประธานกรรมการการเลือกตั้ง

นายอภิชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้เรียกประชุมคระกรรมการการเลือกตั้งในวันที่ 12 เมษายน 2553 โดยได้นำผลของการตรวจสอบของคณะกรรมการดังกล่าว จากประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณา ที่ประชุมคณะกรรกมการการเลือกตั้งมีมติสำหรับกรณีคำร้องกรณีนี้ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยุบพรรคการเมืองผู้ถูกร้อง และมีมติเสียงข้างมากให้นายทะเบียนพรรคการเมืองแจ้งต่ออัยการสูงสุดพร้อม ด้วยหลักฐาน เพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคของผู้ถูกร้อง ตามมาตรา 95 โดนนายอภิชาติในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นส่วนตนตามที่ลงมติว่าให้นายทะเบียนพรรคการเมืองตามความเห็นชอบของ คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2

ต่อ มาวันที่ 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งมิได้เข้าประชุม ด้วย ที่ประชุมได้มีมติเอกฉันท์เห็นนชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อ ศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 โดยถือว่าความเห็นส่วนตนของนายอภิชาติที่ลงมติไว้ในการประชุมของคณะกรรมการ การเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 เป็นความเห็นของนายทะเบียน

จึง มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า ความเห็นของประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ลงมติไว้เป็นคำวินิจฉัยส่วนตน ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 นั้น เป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองหรือไม่ เห็นว่า ถึงแม้พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 6 วรรค 1 บัญญัติให้ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง แต่ พ.ร.บ.ดังกล่าวได้แบ่งแยกอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งและนาย ทะเบียนพรรคการเมืองไว้ต่างหากจากกัน และบางกรณีจะบัญญัติให้คระกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมืองให้ อำนาจหน้าที่ในลักษณะร่วมมือหรือถ่วงดุลกัน กรณีที่บัญญัติไม่เป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เช่น ตามมารตรา 74 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจและหน้าที่ ในการจัดสรรเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินหมุนเวียนและพัฒนาพรรคการเมือง กรณีตามมาตรา 81 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจกำหนดให้พรรคการเมืองได้รับการสนับสนุนด้านต่าง ๆ เป็นต้น

ส่วนกรณีที่บัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียน พรรคการเมือง ผู้เดียว เช่นตามมาตรา 42 และมาตรา 13 ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการนับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการ เมือง หรือมาตรา 41 ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่พิจารณาหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลง นโยบายพรรคการเมืองและข้อบังคับพรรคการเมือง เป็นต้น สำหรับกรณีที่บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งและนายทะเบียนพรรคการเมืองมี อำนาจหน้าที่ในลักษณะร่วมกันหรือถ่วงดุลกัน เช่นตามมาตรา 92 ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีพรรคการเมืองมีเหตุต้องเลิก ถ้าเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองจริง ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง การเลิกพรรคการเมืองนั้น หรือมาตรา 93 วรรค 2 กรณีการยื่นดำเนินการคำร้องของให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง เนื่องจากพรรคการเมืองไม่ดำเนินการตามมาตรา 42 วรรค 2 หรือมาตรา 82 เป็นต้น

พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ได้แบ่งแยกอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ต่างหากจากประธานคณะ กรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง การดำรงตำแหน่งที่ต่างกัน ทำให้มีภาระหน้าที่แตกต่างกันกันด้วย ปัจจัยที่จะนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์พิจารณาวินิจฉัยปัญหาใด ๆ ย่อมขึ้นอยู่กับตำแหน่งหน้าที่ที่ดำรงอยู่ในขณะนั้นว่ามีภาระหน้าที่อย่างไร การที่กฎหมายบัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้วินิจฉัยว่ามีการกระทำ ความผิดตามมาตรา 82 ตามพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 หรือไม่ ก็เนื่องมาจากนายทะเบียนพรรคการเมืองมีหน้าที่ในดูแลการปฏิบัติของพรรคการ เมืองให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และเป็นผู้ที่ทราบรายละเอียดการปฏิบัติของพรรคการเมืองเป็นอย่างดี ส่วนประธานกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิได้มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพรรคการเมือง คงมีอำนาจเพียงตรวจสอบว่าความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองมีเหตุสมควรหรือ ไม่ ประเด็นการวินิจฉัยจึงต่างกันในสาระสำคัญ

ถึงแม้ว่าวันที่ 12 เมษายน 2553 นายอภิชาติได้ทำความเห็นไว้สองความเห็น คือ ความเห็นที่ตัดสินสั่งให้ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยระบุไว้ชัดเจนว่า เป็นความเห็นในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ส่วนความเห็นในการลงมติในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นการออกความเห็นในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อเท็จจริงย่อมแสดงให้เห็นว่าในวันที่ 12 เมษายน 2553 นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นเพียงว่า อาจมีการกระทำตามมาตรา 94 ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 หรือไม่ก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเห็นควรนำสู่การพิจารณาของมติคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับการกระทำตามมาตรา 82 และมาตรา 93 แต่อย่างใด

ส่วน นายอภิชาติ ได้ทำความเห็นส่วนตนในการลงมติเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 เป็นการกระทำในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความเห็นนายอภิชาติในการลงความเห็นดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของมติที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีอำนาจใด ๆ ที่จะร่วมลงมติในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง การลงมติดังกล่าวจึงแตกต่างจากความเห็นต่างที่นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองที่ได้มีความเห็นเช่นนั้นก่อนแล้ว จึงเสนอความเห็นให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง พิจารณาให้ความเห็นชอบ ความเห็น

นาย อภิชาติในการลงมติในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง เพราะหากจะถือเช่นนั้นก็ปรากฎข้อเท็จจริงว่า นายอภิชาติได้ไปลงมติในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนหน้านั้น แล้วในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2252 ว่า ผู้ถูกร้องได้นำเงินสนับสนุนพรรคการเมืองไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีการขอปรับโครงการและได้รับการอนุมัติแล้ว ซึ่งหาได้มีการถือว่า ความเห็นในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าว เป็นความของนายทะเบียนพรรคการเมืองแต่อย่างใด

อนึ่งการที่กฎหมาย บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นผู้ยื่นคำร้องใน คดีนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมหมายความว่าประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นคดีนี้ฉันใด การทำความเห็นส่วนตนของนายอภิชาติในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 จึงมิใช่ความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองฉันนั้น นอกจากนี้การตัดสินใจของนายอภิชาติในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองตามที่ปราก ฎในบันทึกข้อความ ในเอกสารหมาย ร13 นั้น ก็ไม่ได้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด หรือเป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า ผู้ถูกร้องได้กระทำการอันเป็นเหตุให้ผู้ถูกยุบพรรคหรือไม่ แต่เป็นการเสนอเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาว่า อาจมีการกระทำตามมาตรา 94 หรือไม่ ก็ได้ เท่านั้น และการกระทำตามมาตราที่ 94 เกี่ยวกับการใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองผิดกฎหมายหรือการรายงานการใช้เงิน ไม่ตรงตามความเป็นจริง อันจะเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 82 ที่จะเป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมืองในมาตรา 83 แต่อย่างใด

เมื่อนาย ทะเบียนพรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูก ฟ้องตามมาตรา 93 แห่งพรรคการเมืองบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 การให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2553เป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญจึงไม่มีผลทางกฎหมาย ที่ให้นายทะเบียนทางพรรคการเมือง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคผู้ถูกฟ้องได้

อนึ่งมี เหตุผลในการวินิจฉัยอีกว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 ผู้ประสงค์ประกอบนายทะเบียนพรรคการเมือง ถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นการตรวจสอบภายในองค์กรด้วยกันเอง อันเป็นกฎหมายในวิธีพระราชบัญญัติที่กำหนดวิธีปฎิบัติ ยื่นคำร้องขอยุบพรรคการเมืองได้แล้วประกอบกับคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็น องค์การที่มีอำนาจสืบสวนสอบสวนต่อข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้ง ที่เกิดจากการกระทำตามพระราชบัญญัติประกอบพรรคการเมืองตรงนี้เป็นรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 236 คณะกรรมการเลือกตั้งมีอำนาจควบคุมและกำกับดูแล นายทะเบียนพรรคการเมืองจะต้องพัฒนาตามมติคณะกรรมการการเลือกตั้ง และนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องยื่นคำร้องมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองในระยะเวลา ที่กำหนดเป็นกระบวนการ

ในส่วนของกฎหมายพระราชบัญญัติที่ใช้บังคับ อยู่ในปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติประกอบพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 และมาตรา 95 นายทะเบียนต้องเสนอความเห็นด้วยว่าพรรคการเมืองใดมีความเห็นต่อการเลือกตั้ง ของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง นั้นข้อกล่าวหาตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2550 มาตรา 94 ที่มาตรา 95 บัญญัติว่านายทะเบียนต้องตรวจสอบกรณีนั้นด้วยอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนแล้ว เสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งพร้อมความเห็นว่า พรรคการเมืองใดจะทำตามมาตรา 94 หรือไม่โดยไม่ต้องคำนึงว่าต้องเสนอว่าเป็นความเห้นที่ต้องให้ยุบพรรคการ เมืองนั้นหรือไม่ สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฏหมายใช้ดุจพินิจของพรรคการเมืองและได้รับการตรวจ สองไตร่ตรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ในกรณที่ให้ยุบพรรคการ เมือง นายทะเบียนเสนอความเห็นด้วยว่าพรรคผู้ถูกร้องมีเหตุผลในพระราชบัญญัติต่อรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 1 ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือไม่ก็ได้ เมื่อผู้ร้องได้รับหนังสือขอตรวจสอบพรรคผู้ถูกฟ้องของกรมสอบสวนคดีพิเศษและ นายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์แล้ว ต่อมาวันที่ 30 เมษายน 2552 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 48/2552 ตามด้วยเหตุผลว่าการตรวจสอบคณะกรรมการการเลือกตั้งกรณีไม่ใช่การตรวจสอบจาก นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยมีเหตุอันสมควรว่ามีการกระทำใดอันเป็นการฝ่าฝืน ให้ปฎิบัติตามกฎหมายดังกล่าวทั้งสองข้อกล่าวหามีมติคณะกรรมการชุดที่เป็น ประธานสืบสวนสอบสวนเรื่องดังกล่าว

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2552 ในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งครั้งที่ 144/2552 ได้พิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 2 ข้อกล่าวหามีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากส่งให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 95 ทั้ง 2 ข้อกล่าวหา โดยผู้ร้องในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ร่วมลงมติเป็นความเห็นเสียงข้างน้อยให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องทั้ง 2 ข้อกล่าวหา โดยไม่พบว่ากระทำผิดนั้น ความเห็นของผู้ร้องไม่ผูกพันคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพราะผู้ร้องต้องปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมติเสียงข้างมาก แต่โดยที่มติของคณะกรรมการการเลือกตั้งเสียงข้างมาก เป็นการพิจารณารวมกันไปทั้ง 2 ข้อกล่าวหา จึงต้องเป็นกรณีแยกพิจารณาแต่ละข้อกล่าวหาให้ชัดเจน เพราะมติกรณีข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 95 ถือได้ว่าเป็นมติเสียงข้างมากที่สั่งการให้ผู้ร้องพิจารณามีความเห็นก่อน แล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาต่อไป เป็นข้อกล่าวหาที่นายทะเบียนเห็นชอบที่จะตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบก่อน เสนอความเห็นได้ ส่วนกรณีข้อกล่าวหา ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 1 การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากสั่งการรวมกันไปว่าให้ผู้ ร้องมีความเห็นก่อนแล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นความไม่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายในองค์กรขณะนั้น

ต่อมาใน การประชุมครั้งที่ 41/2553 วันที่ 12 เมษายน 2553 ความเห็นของเสียงข้างมากให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงของทั้ง 2 ข้อกล่าวหาเกี่ยวพันกันจึงยังคงมีมติให้แจ้งผู้ร้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 95 เช่นเดิม โดยผู้ร้องและนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นให้ผู้ร้อง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 95 วรรค 2

และ ต่อมาในการประชุมครั้งที่ 43/2553 วันที่ 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีมติเอกฉันท์ที่ชัดเจน ยืนยันเห็นชอบให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 แสดงให้เห็นว่า มติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นเห็นชอบให้ผู้ร้องยื่นคำร้อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 ตั้งแต่ วันที่ 17 ธันวาคม 2552 แล้ว

โดยผู้ร้องไม่ จำต้องเสนอความเห็นก่อนอย่างใดกรณีนี้ถือได้ว่า คดีนี้ความได้ปรากฏต่อนายทะเบียนว่า พรรคผู้ถูกร้องมีกรณีตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 1 แล้ว และคณะกรรมการการเลือกตั้ง เห็นชอบให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ได้แล้ว และระยะเวลาที่ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 17ธ.ค.2552 อันเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติดังกล่าว

การ ทีผู้ร้องมีคำสั่งที่ 9 /2552 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2552 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อตรวจสอบสำนวนของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน ชุดนายอิสระ หลิมศิริวงศ์ เป็นประธานอีก แล้วผู้ร้องเสนอโดยไม่ได้มีความเห็นให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องหรือไม่ประการใด เช่นเดิม และคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากในการประชุมครั้งที่ 47/2553 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 เห็นชอบให้ผู้ร้องแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 94(3)(4)และมาตรา 65 ทั้งสองข้อกล่าวหาอีกครั้งหนึ่ง

แม้ ว่าต่อมาวันที่ 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้งจะมีมติเป็นเอกฉันท์ ในการประชุมครั้งที่ 43/2553 เห็นชอบให้ผู้ร้องในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 นั้น กระบวนการดังกล่าวข้างต้นเป็นการตรวจสอบภายในองค์กร และเป็นเพียงการยืนยันการปรับบทบังคับใช้กฎหมายให้ชัดเจนภายในองค์กร ที่ยังคงต้องอยู่ภายในบังคับตามระยะเวลาที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 กำหนด ว่าต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2552 อันเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากในการพิจารณารายงาน ของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนชุดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติแต่งตั้ง นายอิสระ หลิมศิริวงศ์ เป็นประธานในครั้งแรก และถือว่าเป็นวันที่ความปรากฎต่อผู้ร้องในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองด้วย

เมื่อ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ในวันที่ 26 เมษายน 2553 จึงพ้นระยะเวลา 15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคของผู้ถูกร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบ ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องในประเด็นอื่นอีกต่อไป ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยโดยเสียงข้างมาก 4 ต่อ 2 ว่ากระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีนี้จึง ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในกรณีอื่นอีกต่อไปให้ยกคำร้อง

เปิดศึก4ด้าน

ที่มา ข่าวสด

เหล็กใน

สมิงสามผลัด




อย่ากะพริบตา วันจันทร์นี้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์คงจะรู้ชัดว่าออกหัวหรือก้อย

เดิมทีศาลรัฐธรรมนูญนัดหมายให้เป็นวันที่ทั้งฝ่ายโจทก์คือกกต.และจำเลยคือพรรคประชาธิปัตย์แถลงปิดคดี

แต่กระแสข่าวในช่วง 2-3 วันมานี้ คาดการณ์กันว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยทันที

ต้องลุ้นกันระทึกว่าจะยุบหรือไม่ยุบ!?

จะตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคทั้งหมดหรือว่าแค่บางส่วน

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะต้องพ้นจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรีหรือไม่

ต้องบอกว่าเป็นช่วงเวลาวิกฤตของนายกฯมาร์คจริงๆ

ปัญหา รุมเร้ามาตลอด นับจากการสลายม็อบแดงจนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บอีกเกือบ 2 พันคน เป็นเหมือนตราบาป โดนม็อบแดงตามกดดันให้รับผิดชอบมาตลอด 6 เดือน และมีแนวโน้มว่าจะดุเดือดยิ่งขึ้นในช่วงเดือนธ.ค.นี้ไปจนถึงปีใหม่

ก็เพราะความ 2 มาตรฐานนั่นเอง!

การโหวตร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านไปหมาดๆ ก็เป็นไปแบบกระท่อนกระแท่น อลหม่าน

ม็อบที่เคยร่วมหัวจมท้ายกันมาจนได้เป็นรัฐบาล กลับแว้งใส่กันเอง

เพียงเพราะผลประโยชน์ไม่ลงตัว!?

นายกฯมาร์คคงไม่คาดคิดว่าจะมีวันที่ต้องประสบชะตากรรมเดียวกับอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร

โดนศาสดาม็อบผู้มีพระคุณเล่นงานเข้าให้บ้าง

คำชื่นชมรื่นหูกลายเป็นคำก่นด่าสาปแช่ง

ความสัมพันธ์กับกองทัพก็ไม่เหมือนเดิม ไม่กลมเกลียวเหมือนเมื่อครั้งที่จัดตั้งรัฐบาลกันใน 'ราบ 11'

ความเหินห่างสะสมมาพอสมควร

และรุนแรงขึ้นเมื่อนายกฯมาร์คออกมายอมรับเรื่องที่ประชุมบริหารพรรคประชาธิปัตย์มีการหารือกันเรื่องจะมีปฏิวัติในเร็วๆ นี้

บรรดาผบ.เหล่าทัพต้องออกมายืนกรานเสียงแข็งว่าไม่มีปฏิวัติแน่ๆ

ระหองระแหงกันเรื่อยมาจนล่าสุดคำสั่งศอฉ.ห้ามขายรองเท้าแตะหน้ามาร์ค

เบรกกันไปกันมาระหว่างฝ่ายการเมืองกับกองทัพ

ยังมีเรื่องเก่าความขัดแย้งกับพรรคร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะกับพรรคภูมิใจไทยที่กลายเป็นเรื้อรังไปแล้ว

ถึงเวลานี้นายกฯมาร์คต้องทำใจ ยอมรับสภาพ หน้าตาเลยดูหมองๆ ไปเยอะ

ผิดกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ดูผุดผ่องมีราศี ท่ามกลางกระแสข่าวคั่วนายกฯสำรอง

ว่าไปแล้วนายสุเทพอาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด หากเกิดมีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาจริงๆ

องค์ประกอบต่างๆ ก็เอื้ออำนวย เป็นส.ส. ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค

ยิ่งความสัมพันธ์กับพรรคร่วมรัฐบาล-กองทัพก็ยังแน่นแฟ้น

สมมติว่าพรรคประชาธิปัตย์เกิดปาฏิหาริย์ รอดจากการยุบพรรคขึ้นมาจริงๆ

แต่เก้าอี้นายกฯของนายอภิสิทธิ์ คงไม่มั่นคงเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว

เพราะเปิดศึก 4 ด้าน

'แดง-เหลือง-เขียว-น้ำเงิน'นัวเนียกันไปหมด

การ์ตูน เซีย 29/11/53

ที่มา ไทยรัฐ

Pic_130193

การ์ตูน เซีย 29/11/53

ผมดีใจที่เขาไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์

ที่มา thaifreenews

โดย ลูกชาวนาไทย



ผม ฟันธงมาตั้งนานแล้วว่า เขาไม่มีทางยุบพรรคประชาธิปัตย์แน่นอน และเป็นไปไม่ได้ที่จะยุบ เพราะมันทำให้เกิดกระเพื่อมในโครงสร้างอำนาจของพวกเขา พวกเขาไม่มีทางเลือก แม้จะถูกด่าถูกประณามว่าสองมาตรฐาน ก็ต้องยอม เพื่อไปตายเอาดาบหน้า

เมืองไทยตอนนี้ รัฐบาลอาจแข็งแกร่ง แต่ "ระบอบ" อ่อนไหวอย่างยิ่ง และผมค่อนข้างเชื่อว่าจะล่มสลายแน่นอน

นี่เป็นแค่ฟางอีกเส้น ที่อูฐคือ ชาวบ้านใกล้หลังหักเต็มทีแล้ว

ยังมีฟางเส้นต่อไป คือ "การโกงเลือกตั้ง" เพื่อใ้ห้ฝ่ายตัวเองยังคงอำนาจได้ในอนาคตอันสั้นนี้

หรือไม่ก็ทำรัฐประหาร เมื่อไม่มีทางเลือก

ฟางถูกใส่ลงไปบนหลังอูฐที่แ่อ่นเต็มทีแล้ว รอวันหลังหัก

ผมฟันธงว่า พวกเขาต้องโกงเลือกตั้งในการเลือกตั้งใหญ่ครั้งต่อไป หรือไม่ก็ต้องทำรัฐประหารแน่นอน

พวก เขาไม่มีทางที่จะสร้างศรัทธาคืนกลับมาได้เลย หวังเอาเพียงน้ำบ่อหน้าว่า "คนเสื้อแดงจะอ่อนกำลังลง" ซึ่งเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ ท่ามกลาง "การทำกรรม" ที่น่ารังเกียจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ผมไม่ได้ห้ามเรื่อง "ด่าความสองมาตรฐานครั้งนี้ " ด่ามันได้เต็มที่

แต่อย่าผิดหวังที่ ปชป. ไม่ถูกยุบ เพราะมันอยู่ในวิสัยที่เราคาดการณ์ ได้อยู่แล้วว่าัมันต้องออกอย่างนี้ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง

แต่ไม่ยุบแน่นอน

วันนี้ ผมเชื่อว่า ระบอบนี้กำลังจะล่มสลาย ศรัทธาหายไปอย่างที่ไม่อาจหวนกลับมาได้แล้ว

มติ 4-2 ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องยุบประชาธิปัตย์

ที่มา ประชาไท

ศาล รัฐธรรมนูญมีมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ ชี้กระบวนการยื่นคำร้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องล่าช้ากว่ากำหนด ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ศาลจึงวินิจฉัยยกคำร้อง

วันนี้ (29 พ.ย.) เมื่อเวลา 14.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากที่ช่วงเช้าวันนี้ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์เพื่อให้คู่กรณีแถลงปิดคดีด้วยวาจา ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคประชา ธิปัตย์ จากกรณีการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง จำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์

โดยล่าสุดเมื่อเวลา 14.45 น. ภายหลังจากการอ่านคำวินิจฉัยเป็นเวลา 40 นาทีโดยประมาณ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากกระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

โดย จาก 5 ประเด็นที่สองฝ่ายชี้แจงคือ 1.กระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ 2.การกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.พรรคการเมืองปี 2541 หรือ พ.ร.บ.พรรคการเมืองปี 2550 3.พรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการ พัฒนาพรรคการเมือง ในปี 2548 ตามโครงการที่ได้รับที่ได้รับอนุมัติหรือไม่ 4.พรรคประชาธิปัตย์จัดทำรายการใช้จ่าย อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ และ 5.กรณีที่มีเหตุให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าและกรรมการพรรคประชาธิปัตย์ จะต้องถูกตัดสิทธิหรือไม่ ดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยเพียง 1 ข้อ

โดยศาลวินิจฉัยว่าเห็นชอบว่า กกต.ทำตามกระบวนการ โดยให้นายทะเบียนพรรคการเมืองได้พิจารณาและยื่นคำร้องนั้นถูกต้อง แต่โดยระยะเวลานั้นไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งนับจากวันที่รับทราบถึงการกระทำผิด ให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 15 วัน แต่ว่า กกต.ยื่นล่าช้ากว่ากำหนด โดยรับทราบข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2553 เมื่อมีการไต่สวนและตรวจสอบข้อเท็จจริง นับตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2552 จึงเท่ากับว่า กกต.ยื่นล่าช้ากว่ากำหนด

ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยยกคำร้องของ กกต. กรณียุบพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยมติ 4 ต่อ 2 เสียง โดยไม่ได้พิจารณาใน 4 ประเด็นที่เหลือ

อยากได้ความยุติธรรม?...จัดไป3ปี!

ที่มา Thai E-News


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
29 พฤศจิกายน 2553

ตัดสินจำคุก 'สุชาติ นาคบางไทร' 3 ปี ข้อหาหมิ่นสถาบัน

เวบไซต์ประชาไท รายงาน ว่า ศาลอาญา ถนนรัชดา ได้ตัดสินคดีของนายสุชาติ นาคบางไทร หรือ วราวุธ ฐานังกรณ์ หมายเลขแดงที่ อ.3964/2553 เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา หลังจากอัยการส่งฟ้องในวันที่ 23 พ.ย. โดยพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำคุก 6 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา78 คงจำคุก 3 ปี

ในคำ ฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 เวลาประมาณ 18.05 น.-18.15 น. จำเลยได้ขึ้นกล่าวปราศรัยบนเวที แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ท้องสนามหลวง ด้วยการกระจายเสียงทางเครื่องขยายเสียง ท่ามกลางประชาชนที่มาฟังการปราศรัยจำนวนหลายคน ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม จำเลยพูดจาบจ้วง พูดเปรียบเทียบและเปรียบเปรย ล่วงเกิน ด้วยถ้อยคำหยาบคาย พูดใส่ความหมิ่นประมาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถองค์ปัจจุบัน ทำให้พระองค์ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ และยังกล่าวแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสมเด็จพระบรมราชินีนาถองค์ปัจจุบันด้วย เหตุเกิดที่ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

ทั้งนี้ สุชาติถูกออกหมายจับเมื่อวันที่ 14 ต.ค.51 และได้หายตัวไปจนกระทั่งถูกจับกุมเมื่อวันที่ 1 พ.ย. บริเวณประตูน้ำ

เจ้าตัวไม่สู้คดี เพื่อหวังจะติดคุกไม่นาน


"น้า ชาติจะพยายามปรับตัวให้ใช้ชีวิตอยู่ในคุกให้ได้ อาจจะใช้เวลาที่อยู่ในคุก ไปในการเขียนหนังสือ และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน สู้ไปตามวิถีของตัวเองต่อไป"สมาชิกกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการที่ไป เยี่ยมรายงาน


สมาชิกกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ รายงานว่า จากการเข้าเยี่ยมนายสุชาติ นาคบางไทร แกนนำกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ก่อนจะมีการตัดสินคดีนั้น นายสุชาติแจ้งกับผู้ไปเยี่ยม ว่า ขอให้คนที่สนับสนุนเขา หยุดการต่อสู้ทางคดีไว้ทั้งหมด เพราะเขาได้ยอมรับสารภาพไปทั้งหมดแล้ว เขาจะไม่ขอทนาย ไม่ขอประกัน ไม่ขออภัยโทษ ดังนั้นจะไม่มีอะไรมาเกี่ยวข้องกับคนที่เคลื่อนไหวทางการเมืองเรียกร้องประ ชาธืปไตยทั้งสิ้น ขอให้พวกเราทุกคนสบายใจ และดำเนินชีวิตไปตามปรกติ และต่อสู้ต่อไปตามวิถีของตัวเอง

"น้าชาติจะพยายามปรับตัวให้ใช้ชีวิต อยู่ในคุกให้ได้ อาจจะใช้เวลาที่อยู่ในคุก ไปในการเขียนหนังสือ และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน สู้ไปตามวิถีของตัวเองต่อไป"สมาชิกกลุ่มคนวันเสาร์ที่ไปเยี่ยมรายงาน

ดร.สม ศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการ เขียนแสดงความเห็นในกระดานสนทนา คนเหมือนกันว่า..ความจริง มีคนบอกผมมาสักพักนึงแล้วว่า คุณสุชาติ กลับเข้ามาเมืองไทย ตอนแรกที่ผมได้ยิน ก็ตกใจและแปลกใจเหมือนกัน เห็นคนที่บอก เขาว่า เข้าใจว่าคุณสุชาติอาจจะคิดว่า ถ้าอยู่เฉยๆไม่ทำอะไรให้เป็นข่าว ก็อาจจะอยู่ได้ นี่แสดงว่า ตำรวจอาจจะได้ยินข่าวคราวขึ้นมา?

เรื่องไม่สู้คดี "สารภาพ" (ไม่อุทธรณ์ ฎีกา ไม่เอาทนาย) ผมก็อ่านจากข่าวเช่นกัน

ผม เดาว่า คุณสุชาติ คงคิดในแง่ว่า ถ้าทำในลักษณะนี้ มีโอกาสที่ภายในประมาณ 2 ปี ก็สามารถเป็นอิสรภาพได้ ในกรณีที่โดนตัดสิน แล้วยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ ทำนองเดียวกับคุณสุวิชา ท่าค้อ และคุณบุญยืน (ดูเหมือนจะประมาณ 2 ปีนับจากถูกจับทั้งคู่)

ดังที่ผมเคยเขียนไป ก่อนหน้านี้ เช่นกรณีคุณสุวิชา เรื่องคดี ม.112 นั้น ต้องแล้วแต่ แต่ละคนที่ต้องคดีจะตัดสินใจตามสภาพของตัวเอง (และครอบครัว) ผมไม่มีความเห็นอะไร ลักษณะของคดีนี้ มันไมใช่คดีธรรมดา โอกาสที่ ถ้าถึงขั้นฟ้องศาลแล้ว จะสู้คดี แล้วชนะ เป็นไปได้ยากมากๆ (ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ถ้าศาลตัดสินใจว่า ไม่ผิด จะไม่ยิ่งเป็น "ตัวอย่าง" ให้กับคนอื่น) ดังนั้น อย่างกรณีคุณสุวิชา คุณบุญยืน ที่ตัดสินใจในลักษณะนั้น ก็คงพอเข้าใจได้ คุณสุชาติ ก็อาจจะคิดในลักษณะคล้ายกัน

อย่างกรณีคุณดา (ตอปิโด)คงอีกหลายปี กว่าจะผ่านขั้นอุทธรณ์ และถ้าตัดสินยืนว่าผิดอีก ก็คงอีกเป็นปี กว่าจะถึงขั้นฎีกา ฯลฯ และถ้าผิดอีก ? ถึงตอนนั้น จะขอพระราชทานอภัยโทษได้หรือไม่ โอกาสอาจจะน้อยลง สรุปแล้ว มีความไม่แน่นอนสูงมาก

*********
รายงานเกี่ยวเนื่อง:

-สดุดีวีรประวัติ 4 ปีการลุกขึ้นสู้ของภาคพลเมือง สดุดีอิฐก้อนแรก สุชาติ ณ บางไซ

-ย้อนอดีตกันเรื่องฅนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ จากปากฅนวันเสาร์

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กงเกวียนกำเกวียน

ที่มา มติชน



โดย สรกล อดุลยานนท์

(ที่มา คอลัมน์ สถานีความคิด หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน 2553)


ใครจะไปนึกว่าวันหนึ่ง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" จะอยู่ในชะตากรรมเดียวกับ "ทักษิณ ชินวัตร"

ต้องเผชิญหน้ากับ "กลุ่มพันธมิตร" ที่เคยรักใคร่กลมเกลียวกันมาก่อน

และเป็น "แนวร่วม" ในการขับไล่รัฐบาล "ทักษิณ-สมัคร-สมชาย"

ก่อนหน้านี้ในการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ "อภิสิทธิ์" วิเคราะห์สถานการณ์แบบโยน "ระเบิด" ถามทางว่า "ม็อบพันธมิตร" ที่นัดชุมนุมกันในวันที่ 11 ธันวาคม มีบางคนต้องการสร้าง "เงื่อนไข" ให้ "กองทัพ" ทำรัฐประหาร

"รัฐประหาร" ในมุมของ "อภิสิทธิ์" คือ การพบกันระหว่าง "เชื้อเพลิง" กับ "ไฟ"

"เชื้อเพลิง" คือกลุ่มพันธมิตร

"ไฟ" คือ "กองทัพ"

ถ้ามีแต่ "เชื้อเพลิง" แต่ "ไฟ" ไม่เล่นด้วย การรัฐประหารก็ไม่เกิด

ดังนั้น ประเด็นเรื่อง "รัฐประหาร" ที่ "อภิสิทธิ์" จุดขึ้นมา หลายคนจึงมองว่า "ระเบิด" ที่โยนออกมาพุ่งเป้าไปที่ "กองทัพ"

มากกว่า "กลุ่มพันธมิตร"

จำได้ว่า "อภิสิทธิ์" เคยมีวาทกรรมหนึ่งที่คมคายอย่างยิ่ง

"การมีรัฐประหารทุกครั้ง เป็นการเพิ่มความเป็นไปได้ของการมีรัฐประหารครั้งต่อไป"

ครับ การรัฐประหารครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังจากที่เมืองไทยว่างเว้นการรัฐประหารมานานถึง 15 ปี

เมื่อการแก้ปัญหาทางการเมืองที่สุดแสนจะ "โบราณ" และ "ล้าหลัง" ถูกนำมาใช้อีกครั้ง "ความเป็นไปได้" ที่จะเกิดการรัฐประหารครั้งต่อไปจึงสูงขึ้น

"อภิสิทธิ์" ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร

แต่พูดสั้นๆ แค่นี้ เพราะ "เนื้อหา" ส่วนใหญ่ "อภิสิทธิ์" จะพูดถึง "เงื่อนไข" ที่เกิดจากนักการเมืองมากกว่า

ในหนังสือ "ร้อยฝันวันฟ้าใหม่" ของ "อภิสิทธิ์" เขาบอกว่าการป้องกันการรัฐประหารที่ดีที่สุด คือ นักการเมืองต้องไม่สร้างเงื่อนไขแบบนี้อีก

ความผิดพลาดของ "อภิสิทธิ์" คือเขาไม่ปิดประตูตาย ปฏิเสธการรัฐประหารอย่างสิ้นเชิง

ระดับต่อให้เป้าหมายดีแค่ไหน นักการเมืองเลวเพียงใด "กองทัพ" ก็ไม่มีสิทธิรัฐประหาร

แต่แง้มประตูไว้นิดๆ ว่ารัฐประหารจะชอบธรรมเมื่อนักการเมืองสร้าง "เงื่อนไข" ขึ้นมา

ย้อนอดีตกลับไป จำ "เงื่อนไข" หรือ "เหตุผล" 4 ข้อที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ใช้ในการรัฐประหารได้ไหมครับ

1.เกิดความแตกแยกในสังคมไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน

2.รัฐบาลทุจริต ประพฤติมิชอบ และเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องอย่างกว้างขวาง

3.แทรกแซงอำนาจขององค์กรอิสระ

4.ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง

อ่าน "เงื่อนไข" เหล่านี้แล้ว "อภิสิทธิ์" ก็มีสิทธิหนาวๆ ร้อนๆ

เพราะถ้าสถานการณ์เมื่อปี 2549 ยังบอกว่าสังคมไทยแตกแยก ปี 2553 ก็คงอยู่ในระดับแตกละเอียด

ส่วนเรื่องทุจริต รัฐบาลชุดนี้ไม่แพ้รัฐบาล "ทักษิณ" เผลอๆ จะชนะแบบขาดลอยด้วย

เรื่องแทรกแซงองค์กรอิสระ

คลิป "วิรัช" กับ "เลขาฯศาล" ก็ชัดยิ่งกว่าชัด

ส่วนเรื่อง "สถาบันเบื้องสูง" ครั้งก่อนกลุ่มพันธมิตรเป็นคนเปิดประเด็นโจมตี "ทักษิณ"

แต่ "อภิสิทธิ์" ไม่โดน มีแต่ข้อหาใหม่..."ขายชาติ"

ไม่แปลกที่วันนี้ "อภิสิทธิ์" จะมีอาการหนาวๆ ร้อนๆ ขึ้นมา

ทั้งที่ พล.อ.สนธิเคยสารภาพกับ "สำราญ รอดเพชร" เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 ว่าเขาคิดเงื่อนไข 4 ข้อนี้ขึ้นมาเมื่อวันที่ 20 กันยายนหลังยึดอำนาจสำเร็จแล้ว

"4 ข้อนี้เราคิดขึ้นมาฉุกเฉิน ว่างั้นเถอะ ที่คิดว่ามีเหตุมีผล..."

ใครที่คิดว่าการรัฐประหารเมื่อปี 2549 จะเป็นการรัฐประหารครั้งสุดท้ายของประเทศไทย

ให้กลับไปอ่านคำพูดของ "อภิสิทธิ์" อีกครั้ง

"การมีรัฐประหารทุกครั้ง เป็นการเพิ่มความเป็นไปได้ของการมีรัฐประหารครั้งต่อไป"

...อาเมน

ผ่านด่านรธน. ลุ้นด่านยุบพรรค

ที่มา ข่าวสด



รัฐบาลอภิสิทธิ์ ผ่านด่านสำคัญเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปแบบ เฉียดฉิว

โดยเฉพาะร่างแก้ไขมาตรา 93-98 ว่าด้วยระบบเขตเลือกตั้ง ซึ่งหลายคนวิตกว่าอาจเป็นชนวนวิกฤตร้ายแรง

ถึงขั้นทำให้ นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องตัดสินใจยุบสภา

ด้วย เหตุเพราะแต่ไหนแต่ไรมาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถูกตั้งป้อมคัดค้านอย่างหนักจากสมาชิกภายในพรรคนำโดยสองผู้อาวุโส นายชวน หลีกภัย และ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน

รวมถึงกลุ่มพันธมิตรฯ ที่เคลื่อนไหวต่อต้านนอกสภา

แต่จากผลคะแนนโหวตที่ออกมาสะ ท้อนว่านายอภิสิทธิ์ ยังสามารถกุมสภาพภายในพรรคไว้ได้

สลัดหลุดจากร่มเงาของ 'ชวน-บัญ ญัติ'

ที่สำคัญตั้งแต่เรื่องของการเคลื่อนไหวคัดค้านในประเด็นการทำเอ็มโอยูพื้นที่เขตแดนไทย-กัมพูชา มาจนถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

สิ่งที่เกิดขึ้นฉายภาพความหมาง เมินระหว่างนายกฯอภิสิทธิ์ กับแกนนำพันธมิตรฯ บางคนที่เคยเกื้อหนุนค้ำจุนกันมา

เป็นสัญญาณช่วงเวลาแห่งการตอบ แทนบุญคุณจบลงแล้ว

นับจากนี้ประชาธิปัตย์กับพันธมิตรฯ ตัวใครตัวมัน

อย่างไรก็ตาม ท่าทีนายอภิสิทธิ์ กับกลุ่มพันธมิตรฯ ยังไม่น่ากังวลใจเท่ากับท่าทีนายกฯอภิสิทธิ์ กับกองทัพเวลานี้

ซึ่งคุกรุ่นมาตั้งแต่นายกฯอภิสิทธิ์ ออกมารับลูกการแก้ไขรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการชุดนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ผลักดันเข้าสู่รัฐสภา

ไม่แยแสกับเสียงคัดค้านของกลุ่มพันธมิตรฯ

ยิ่งไปกว่านั้นนายกฯ อภิสิทธิ์ ยังมองการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ มีเจตนายั่วยุให้ทหารออกมาปฏิวัติ ล้มกระดานการเมืองอีกรอบ

ทั้งยังพูดเองเออเองว่าพร้อมยุบสภาดีกว่าปล่อยให้มีการปฏิวัติ

สร้างภาพความเป็นนักการเมืองที่ยึดมั่นวิถีทางระบอบประชาธิปไตยให้ตัวเอง

ขณะเดียวกันก็สร้างภาพในทางตรงกันข้ามให้กับกองทัพ

เรื่องของคนที่แอบอิงอยู่กับกลุ่มพันธมิตรฯ ต้องการให้มีการปฏิวัติ นั่นก็เรื่องหนึ่ง

อีกเรื่องหนึ่งคือกรณีนายกฯอภิสิทธิ์ ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถาน การณ์ฉุกเฉิน หรือศอฉ. กรณีสั่งห้ามขายสินค้าของคนเสื้อแดง

และพยายามกดดันให้ศอฉ.ทบทวน

ก่อน หน้านี้นายกฯอภิสิทธิ์ เพิ่งจะสร้างภาพปล่อยตัวคนเสื้อแดงออกจากคุกมาหมาดๆ ซึ่งส่วนหนึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อตัวนายอภิสิทธิ์เอง แม้จะถูก มองเป็นการทำแบบผักชีโรยหน้าก็ตาม

การสั่งเบรกคำสั่งของศอฉ. จึงไม่แตกต่างจากกรณีการออกมาปูดข้อมูลปฏิวัติ

ที่สร้างภาพความเป็นนักปรองดองให้ตัวเอง แล้วโยนภาพผู้ร้ายให้ศอฉ.รับไปเต็มๆ

แม้ท้ายสุด ศอฉ.จะแถลงยอมยกเลิกคำสั่งดังกล่าว

แต่ก็ไม่ทันนายอภิสิทธิ์ ที่ฉวยโอกาสทำคะแนนจากเรื่องนี้ไปแล้วทั้งขึ้นทั้งล่อง

มีการตั้งข้อสังเกตกันมากว่า ในระยะหลัง นายอภิสิทธิ์ออกมาพูดถึงเงื่อนไขการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ให้ได้ยินบ่อยครั้ง

นอกจากอาการกลับหลังหันแบบ 180 องศา เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะประเด็นเขตเลือกตั้ง

ถูกมองว่าเป็นการซื้อใจพรรคร่วมรัฐบาล

นายอภิสิทธิ์ยังอาศัยความได้เปรียบในฐานะผู้กุมอำนาจฝ่ายบริหารและเงินงบประมาณประเทศ

ผลัก ดันมาตรการซื้อใจชาวบ้านออกมาเป็นระลอก อย่างมาตรการลดค่าไฟฟ้าให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมกว่า 2 ล้านครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 51 จังหวัด

การผลักดันการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีก 10-11 บาท เป็นของขวัญปีใหม่ให้ผู้ใช้แรงงาน

ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ตามมาทันทีว่าเป็นการหาเสียงล่วงหน้า

ตุนคะแนนนิยมปูทางสู่การเลือกตั้งใหม่

ตามเงื่อนไขที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้เองถึงกำหนดเวลายุบสภาเลือกตั้งใหม่

จะขอรอดู 2 เรื่องสำคัญ คือเสียงโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพผลักดัน

รวมทั้งบรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งซ่อม 5 เขต 5 จังหวัด

จะมีการเล่นนอกกติกา สร้างความรุนแรงหรือไม่

หากดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน การแก้ไขรัฐธรรมนูญถือว่าผ่านขั้นตอนสำคัญไปแล้ว

ส่วนการเลือกตั้งซ่อม 5 เขต 5 จัง หวัด ถึงบางเขตส่อเค้าความดุเดือด แต่น่าจะเป็นการเล่นแรงเพื่อเอาชนะกันในเกม มากกว่านอกเกม

ดังนั้น ถ้าวัดจากตรงนี้ การยุบสภาเลือกตั้งใหม่คงใกล้เคียงต้นปีหน้าตามที่นายอภิสิทธิ์ ปักธงไว้

เพื่อหลีกเลี่ยงความบอบช้ำจากการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านในการเปิดสภารอบหน้า

แต่ที่เป็นวิกฤตแทรกซ้อนเข้ามาก่อนกำหนด

คือคดียุบพรรคจากกรณีเงิน 29 ล้าน ที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดแถลงปิดคดีวันจันทร์ 29 พ.ย.นี้

พร้อมกับข่าวแว่วมา ยังไม่รู้จริงหรือไม่จริงว่า ศาลรัฐธรรมนูญอาจมีคำวินิจ ฉัยในวันเดียวกันนั้นเลย

ทำให้บรรยากาศภายในพรรคประชาธิปัตย์ตึงเครียดขึ้นมาทันที

นายชวน หลีกภัย หัวหน้าทีมสู้คดีถึงกับต้องเรียกประชุมลูกทีม 3 วันติดกัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ก่อนวันแถลงปิดคดี

ขณะที่นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์เหมือนคนปลงตก สู้มาขนาดนี้แล้วอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด

ถ้าศาลตัดสินให้ยุบพรรค พร้อมตัดสิทธิ์กรรมการบริหาร

นายอภิสิทธิ์ก็ต้องพ้นจากเก้าอี้นายกฯ เป็นสุญญากาศ ให้สภาต้องเร่งรีบโหวตเลือกนายกฯ คนใหม่

รายชื่อตัวเก็งมีอยู่ 3 คน คือ นายชวน หลีกภัย นายกรณ์ จาติกวณิช และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งชื่อกำลังมาแรงแซง 2 ชื่อแรก

พิษสง ของคดียุบพรรคนี้ ยังทำให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องขอถอนตัวจากองค์คณะพิจารณาคดีไปแล้วถึง 3 คน คือ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นายเฉลิมพล เอกอุรุ และล่าสุด นายจรูญ อินทจาร

ทำให้เหลือองค์คณะอยู่เพียง 6 คน เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดแค่ 1 คน

ยังไม่รู้จะมีผลกระทบต่อผลการตัดสินคดีอย่างไร

และที่สำคัญจะมีผลให้การยุบสภาตามเงื่อนเวลาเดิมต้นปีหน้าของนายอภิสิทธิ์ เปลี่ยน แปลงไปหรือไม่

หากนายกฯ คนใหม่เข้ามา

คลิปพสิษฐ์ทิ้งบอมบ์ คงจะไม่ รอการกำหนดโทษ

ที่มา ข่าวสด





โผล่ อีกคลิป'พสิษฐ์'ว่อนเน็ตก่อนศาลรธน.นัดแถลงปิดคดีวันจันทร์นี้ นั่งแถลงเดี่ยวเปิดใจพ้อปิดทองหลังพระ กกต. วาง'กิตินันท์ ธัชประมุข' อัยการคดีพิเศษแถลงปิดคดีคลุม 5 ประเด็นยุบพรรค คาดใช้เวลา 30 นาที เช่นเดียวกับปชป.ส่ง'ชวน หลีกภัย' ทีมกฎหมายลุ้นมติ 3 ต่อ 3 หากเสียงเสมอ ต้องยกคำร้อง ไล่'สดศรี'กลับไปอ่านรธน. เหตุให้'ชัช ชลวร'ชี้ขาดไม่ได้ เพราะอาจขัดรธน. 'มาร์ค'ชี้ถ้าถูกตัดสิทธิ์ก็ไม่ขอยุ่งตั้งใครเป็นนายกฯสำรอง ชี้ศาลรธน.ต้องเขียนคำวินิจฉัยให้เคลียร์ บัญญัติเชื่อ'จรูญ'ถอนตัวไม่กระทบคดี เทือกยังมั่นใจปชป.รอดถูกยุบ เขินถูกชูนั่งรักษาการนายกฯ เตือนชุมนุมเบาๆ เห็นแก่ประเทศชาติ ปัดตั้งพรรคไทยเข้มแข็งไว้สำรอง สนง.ศาลรธน.ซ้อมรับมือม็อบ ดึงหน่วยปราบจลาจลคุมเข้มหวั่นมือที่ 3 ป่วน เพื่อไทยเตรียมประชุมพรรคขับส.ส. งูเห่า รถในขบวน'มาร์ค' ชนกันเอง สันติบาลเจ็บ 1

'มาร์ค'ขอดูกม.หากมติศาล3-3

วัน ที่ 27 พ.ย. เวลา 12.50 น. ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง11) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายจรูญ อินทจาร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขอถอนตัวจากองค์คณะพิจารณาวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์กรณีการใช้เงินกอง ทุนพัฒนาการเมืองของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)จำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ว่า คงเป็นไปตามแนวปฏิบัติ เพราะเมื่อเป็นคู่กรณี โดยมารยาทก็ต้องถอนตัว ถือเป็นเรื่องของศาล ส่วนการพิจารณาคดีจะมีปัญหาหรือไม่ คงไม่มีใครตอบได้ อยู่ที่วันจันทร์ที่ 29 พ.ย. ซึ่งองค์คณะที่เหลืออยู่ก็เป็นผู้ลงคะแนน

เมื่อถามว่าหาก เสียงการตัดสินของตุลาการเท่ากันกระบวนการต่อไปจะดำเนินการอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องดูกฎหมายซึ่งตนยังไม่ดู เพราะตุลาการเพิ่งลาออกเมื่อวันที่ 26 พ.ย. ทำให้จำนวนตุลาการเหลือเป็นเลขคู่ เมื่อถามว่าจะมีการยกคำร้องได้หรือไม่หากคะแนนการตัด สินเท่ากัน นายอภิสิทธิ์ กล่าวย้ำว่าต้องดูกฎหมายว่าเขียนยังไง มติต้องใช้เสียงลักษณะไหน

เมื่อถามว่าการที่ตุลาการหายไป 3 คนเกรงว่าจะถูกนำไปขยายว่าการลงมติอาจจะมีปัญหาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ที่ตุลาการถอนตัวไปแต่ละท่าน กลายเป็นว่าปฏิปักษ์กับผู้ที่เขาร้อง ไม่ใช่ทางฝ่ายตน

อ่านรายละเอียดทั้งหมดคลิ้ก ข่าวสด

การ์ตูน เซีย 27/11/53

ที่มา ไทยรัฐ

Pic_129797

การ์ตูน เซีย 27/11/53

จับตาคดียุบพรรค ปชป. 6 เสียงตุลาการไม่ธรรมดา

ที่มา บางกอกทูเดย์

จับตาคดียุบพรรค ปชป. 6 เสียงตุลาการไม่ธรรมดา





29 พ.ย. ลุ้นคะแนนเสมอ?
ธรรมดา เสียที่ไหน กับการที่นายจรูญ อินทจาร และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีหนังสือขอถอนตัวจากการพิจารณาคดีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลรัฐ ธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์

เพราะเป็นการยื่นหนังสือในวัน ที่วันที่ 26 พ.ย. หรือเพียงแค่ 3 วัน ก่อนการแถลงปิดคดีด้วยวาจา และการตัดสินคดี ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้แล้ว

สำนัก งานศาลรัฐธรรมนูญ ระบุถึงเหตุผลในการขอถอนตัวในครั้งนี้ว่า เป็นเพราะได้มีการฟ้องคดีในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญาไว้ต่อศาลอาญาแล้ว

ซึ่ ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกรณีที่ มีเหตุจำเป็นอื่น อันมิอาจก้าวล่วงได้ จึงอนุญาตให้นายจรูญ อินทจาร ถอนตัว

ส่วนนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ไม่อนุญาตให้ถอนตัว

นั่น ย่อมหมายความว่าหลังจากที่นายจรูญถอนตัว จะทำให้เหลือตุลาการเพียง 6 คนในการพิจารณาวินิจฉัยในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายชัช ชลวร นายบุญส่ง กุลบุปผา นายจรัญ ภักดีธนากุล นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี นายสุพล ไข่มุกด์ และนายนุรักษ์ มาประณีต

เพราะก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ขอถอนตัวไปก่อนแล้ว

จึง ต้องถือว่าคดีนี้ไม่ใช่แค่เป็นคดีที่ลากยาวเท่านั้น แต่ยังเป็นคดีที่ส่งผลหรือสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายให้เกิดกับศาลรัฐธรรมนูญ เป็นอย่างมาก เพราะสังคมมองภาพด้วยสายตาขงอคนภายนอกแล้ว ล้วนเกิดความสงสัยว่า

อะไรกันนักกันหนา!!!

เพราะหากเปรียบเทียบกับคดียุบพรรคการเมืองอื่นๆในอดีตที่ผ่านมา ล้วนแล้วแต่รวดเร็ว ม้วนเดียวจบง่ายๆทั้งสิ้น

ไม่ เคยมีคลิปลับ ไม่เคยมีการขอถอนตัวเช่นกรณีของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้เลย จนทำให้มีการจับตามองกันเป็นอย่างมากว่า แล้วหลัจากนี้จะเป็นอย่างไร

เพราะ ทันทีที่เกิดการถอนตัวของนายจรูญ แม้แต่ในแวดวงพรรคร่วมรัฐบาล ยังมีการพูดกันกระหึ่มออกมาในทำนองว่า ขณะนี้เริ่มมีกระแสข่าวว่า การอ่านคำแถลงปิดคดียุบ ปชป. ด้วยวาจากรณีใช้กองทุนพัฒนาพรรคการเมือง จำนวน 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่คาดการณ์กันว่าศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำตัดสินไปในวันเดียวกัน

ซึ่งผลการตัดสินน่าจะออกมาว่า ปชป.ถูกยุบ

ส่วน หนึ่งสังเกตุจากการที่มีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อย่างผิดปกติ รวมทั้งมีกระแสข่าวว่าโบรกเกอร์บางรายที่สนิทสนมกับนักการเมืองต้องโทร.มา เช็คข่าวจากคนในรัฐบาลกันอุตลุดไปหมด

ขณะเดียวกัน ก็ยังมีข่าวลือภายในแวดวงพรรคร่วมรัฐบาลว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งหลุดปากกับคนใกล้ชิดว่าจะยุบ ปชป.พร้อมตัดสิทธิกรรมการบริหาร ปชป. 4 คน ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้า ปชป. นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตเลขาธิการ ปชป. และนายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรองเลขาธิการ ปชป.

อย่างไรก็ตามมี กระแสสวนกลับด้วยเช่นกันว่าโอกาสที่ ปชป.จะถูกยุบพรรคนั้น มาในขณะนี้เหลือเพียงแต่ 40% เท่านั้น หลังจากที่เหลือตุลาการรัฐธรรมนูญทำหน้าที่พิจารณาคดีนี้เพียงแค่ 6 คนเท่านั้น

นายธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้มีการแสดงความคิดเห็นด้วยความเป็นห่วงว่าการวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิ ปัตย์ ของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้อย่างน้อยคงต้องถูกตั้งคำถามจากสาธารณชน เนื่องจากว่าความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญไม่เหมือนเมื่อก่อน เพราะฉะนั้นการวินิจฉัยคดีก็ต้องอยู่บนความเป็นเหตุเป็นผล

แต่ ครั้งนี้ เหมือนกับเป็นคราวเคราะห์ของตัวตุลาการ เพราะมีปัญหากับเรื่องคลิปและความน่าเชื่อถือที่สาธารณชน และคดีนี้เป็น คดีสำคัญเกี่ยวข้องกับการเมืองที่เป็นปัญหาหลักอยู่ภายในขณะนี้

“ผม เรียนด้วยความเป็นห่วงว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องวินิจฉัยคดีให้ดี ในที่นี้คือวินิจฉัยคดีอย่างตรงไปตรงมา ต้องมีเหตุผลสนับสนุนอย่างหนักแน่นมั่นคง ถ้าการวินิจฉัยของศาลเป็นการวินิจฉัยที่ดีแล้ว อย่างน้อยความไม่น่าเชื่อถือที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในกรณีของคลิปก็อาจจะได้ กู้คืนกลับมาได้บ้าง แต่ถ้าคำวินิจฉัยออกมาไม่ดีไม่เหมาะไม่มีเหตุผล ตุลาการจะเจอกับวิกฤตหนักกว่าเรื่องคลิปอีก”

ซึ่งประเด็นที่มีการ ตั้งคำถามกันมาก ก็คือ หากมติของคณะตุลาการ 6 คน ออกมาเป็น 3 ต่อ 3 เสียง หรือเท่ากันระหว่างยุบกับไม่ยุบพรรค แล้วจะเดินกันต่อไปอย่างไร???

เพราะ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีการออกตัวว่า การขอถอนตัวของนายจรูญ อินทจาร คงไม่มีผลต่อการตัดสิน เนื่องจากคณะตุลาการฯที่เหลืออีก 6 คน สามารถทำหน้าที่ได้ สามารถให้คำวินิจฉัยได้

เพราะตามกฎหมายระบุว่า คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลถูกต้อง เมื่อมีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่า 5 คน

ฉะนั้นหากตุลาการรัฐธรรมนูญมีความพร้อม ก็สามารถที่จะตัดสินในวันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายนนี้ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องหาตุลาการมาทดแทน

นั่น แปลว่าว่าหากจะต้องมีการหาตุลาการมาทดแทน นอกจากจะไม่ใช่เรื่อง่ายในการที่จะตั้งขึ้นมาใหม่ ยังจะต้องมีการใช้ระยะเวลาด้วย ซึ่งจะมีการยืดคดีนี้ออกไปอีกด้วยหรือไม่???

นี่ จึงเป็นเหตุให้ในวันที่ 26 พฤศจิกายน มีการพูดเรื่องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์กระหึ่มไปทั้งเมือง และมีการวิพากษ์วิจารณ์คาดเดาไปต่างๆนาๆ

แต่หากดูความนิ่งของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ตอบคำถามเกี่ยวกับแผนรองรับต่อการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณายุบ พรรคว่า ยังไม่ทราบ

“ถ้าศาลวินิจฉัยว่าไม่ผิดเรา ก็เดินหน้าทำงานต่อ ถ้าศาลวินิจฉัยว่าผิดเราก็ต้องดูว่าศาลตัดสินลงโทษใครอย่างไร เราก็ต้องยอมรับการตัดสิน คนที่ถูกตัดสิทธิ์ก็ต้องหมดสิทธิ์ไป คนที่ไม่ถูกตัดสิทธิ์ก็ต้องตัดสินใจอนาคตทางการเมือง แต่มั่นใจว่าสมาชิกพรรคที่ไม่ถูกตัดสิทธิ์ ก็ต้องรวมตัวกันเพื่อทำงานในทางการเมืองต่อไป”

นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า กรณีการตัดสินคดียุบพรรคหากฝ่ายบริหารต้องพ้นจากตำแหน่งไป คนถูกตัดสิทธิ์ก็ยังมีกลไกของรัฐสภาก็ต้องเลือกนายกฯคนใหม่ และดำเนินการต่อไป ทุกคนต้องยอมรับกติกา

ท่าทีที่นิ่งของนาย อภิสิทธิ์ และการที่ทีมสู้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ รวมแม้แต่กระทั่งนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ที่แสดงความเชื่อมั่นมากๆ ทำให้เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า เรื่องนี้สุดท้ายน่าจะออกมาเป็นคุณกับพรรคประชาธิปัตย์จริงๆหรือไม่???

และ ในแง่ที่ขณะนี้ จำนวนเสียงของตุลาการพิจารณษคดีนี้ เกิดเป็นเลขคู่ หลังจากมีการถอนตัวนั้น หากว่าเกิดฟลุ๊ก การลงคะแนนเสียงออกมาเท่ากัน อะไรจะเกิดขึ้น เพราะแม้แต่ในมุมของนักกฎหมายยังมองไม่ตรงกัน

มุม หนึ่งมองว่า หากเสียงเท่ากัน ก็ต้องมีการย้อนกลับไปสรรหาแต่งตั้งตุลาการขึ้นมาทดแทนใหม่ ให้มีเสียงที่สามารถตัดสินชี้ขาดได้โดยไม่มีการเสมอกันอีก

แต่แน่นอนว่าวิธีการเช่นนี้ย่อมต้องใช้เวลา อันจะมีผลให้การตัดสินคดีต้องขยับออกไปอีก

ขณะ เดียวกันก็มีมุมมองในทำนองที่ว่า ตามหลักกฎหมาย ผู้ถูกกล่าวหา ต้องถือว่าเป็นผู้ที่ยังไม่ผิด ฉะนั้นหากไม่สามารถตัดสินได้ว่าผิดชัดเจน ก็ย่อมต้องยกประโยชน์ให้จำเลย

ดังนั้นกรณีนี้ หากเสียงลงมติออกมาเสมอกัน ก็ควรยกประโยชน์ให้จำเลยไป !!!

ฉะนั้นจนถึงวินาทีนี้ คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ยังต้องจับตาและลุ้นกันสุดชีวิตจริงๆ

มอบรางวัลช่างภาพอเมริกันเสี่ยงชีวิตถ่ายภาพสลายม็อบในกรุงเทพฯ

ที่มา ประชาไท

องค์กร โรรี เพค ทรัสต์ มอบรางวัลโรรี เพค ประเภทข่าว ให้แก่ช่างภาพอิสระที่เสี่ยงชีวิตเข้าไปถ่ายภาพในพื้นที่อันตราย โดยในปีนี้ผู้ได้รับรางวัลได้แก่ โรเจอร์ อาร์โนลด์ ชาวอเมริกันที่เข้ามาถ่ายภาพในกรุงเทพฯ ระหว่างการเผชิญหน้าของกองกำลังทหารไทยและผู้ชุมนุมเสื้อแดงเมื่อต้นปีที่ ผ่านมา โดยผลงานของเขาเป็นงานที่ทำให้กับเว็บไซต์วอลล์สตรีทเจอร์นัลด์ ขณะที่รางวัลในประเภทสารคดี มอบให้แก่ นาจิบอัลเลาะห์ คูไลชิ (Najibullah Quraishi) ชาวอัฟกัน ซึ่งถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีในอัฟกานิสถาน ในช่วงตุลาคม-พฤศจิกายน 2552

โดยพิธีมอบรางวัลดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ในเว็บไซต์ขององค์กรโรรีเพคทรัสต์ http://rorypecktrust.org กล่าวถึงคลิปวิดีโอหนึ่งของโรเจอร์ว่าเป็นบันทึกของเหตุการณ์ในช่วงสัปดาห์ สุดท้ายของการชุมนุมประท้วงรัฐบาลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ที่เต็มไปด้วยรายละเอียด โดยภาพในระยะประชิด ทันเหตุการณ์และเร้าอารมณ์ ทำให้เห็นภาพความขัดแย้งทั้งจากมุมมองของฝั่งผู้ชุมนุมและกองทัพไทย

เว็บไซต์ ดังกล่าวระบุว่า ผลงานคลิปวิดีโอของเขาแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของการประท้วงที่สร้างความ เสียหายอย่างมาก รวมถึงนำมาซึ่งผลลัพธ์อันน่าสลดใจ โดยในผู้คนจำนวนมากที่บาดเจ็บระหว่างความขัดแย้งครั้งนี้ ในจำนวนนั้นมีเพื่อนผู้สื่อข่าวของโรเจอร์รวมอยู่ด้วย โดยหนึ่งในนั้นเสียชีวิต

คณะกรรมการระบุว่า นี่เป็นงานที่ทรงพลังและหลากมุมมอง กรรมการคนหนึ่งบอกว่า โรเจอร์แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความกล้าหาญของเขา เขาเก็บภาพจากทุกมุมและทุกสถานที่ ชนิดที่คุณไม่ต้องขอเพิ่มอีก

ทั้ง นี้ โรเจอร์ อาร์โนลด์เป็นช่างภาพอิสระและผู้สื่อข่าว ซึ่งเดินทางถ่ายภาพไปมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก งานของเขาเผยแพร่ทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต อาทิ วอลล์สตรีทเจอร์นัล อัลจาซีร่า บีบีซี ซีเอ็นเอ็น เอบีซี เดอสปีเกล ไฟแนนเชียลไทมส์ แอล เพนท์เฮาส์ แอมนาสตีอินเตอร์เนชั่นแนล คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สหประชาชาติ ฯลฯ

สำหรับองค์กรโรรี เพค ทรัสต์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 โดยจูเลียต เพค ภรรยาของช่างภาพอิสระ โรรี เพค และเพื่อนๆ ของเขา ภายหลังจากการเสียชีวิตของโรรี เพค ช่างภาพอิสระซึ่งถูกสังหารขณะเข้าไปถ่ายภาพในมอสโคว์ ในปี 2536 โดยองค์กรดังกล่าวได้ตั้งกองทุนขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สื่อข่าว อิสระที่ได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงมีการมอบรางวัลโรรี เพค เพื่อเป็นเกียรติแก่ผลงานของช่างภาพข่าวอิสระด้วย

ชมคลิปวิดีโอของโรเจอร์ได้ที่
http://online.wsj.com/video/reporter-firsthand-account-of-thailand-turmoil/1C7D8EA4-3E09-4BE0-B8D5-D86B626D2A89.html

แปลและเรียบเรียงจาก
http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-pacific-11845231
http://rorypecktrust.org/page/3201/Roger+Arnold
http://www.rorypecktrust.org/page/3209/Rory+Peck+Awards+2010

ศึกเฮียกัดเฮียขยายวง:เฮียโล้นกัดเฮียลิ้ม

ที่มา Thai E-News

เฮีย สุทธิชัย หยุ่น นายใหญ่ค่ายเนชั่น สื่อกระบอกเสียงระบอบอำมาตย์อภิสิทธิ์ ได้ออกมาตอบโต้เฮียสนธิ ลิ้ม นายใหญ่ค่ายผู้จัดการ สื่อกระบอกเสียงผู้ก่อการร้ายพันธมิตร ผ่านทางทวิตเตอร์

หยุ่นทวี ตเตอร์ตอบโต้ลิ้ม โดยยกข้อความเฮียลิ้มที่กล่าวว่า"เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น นี่คือนิสัยสันดานของพรรคประชาธิปัตย์" โดยเฮียหยุ่นเขียนโต้ตอบว่า "ผมว่าท่านก็เหมือนกันนะฮ้าฟฟ" ( ที่มา go6tv)


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์


ข่าวเกี่ยวเนื่อง:ศึกเฮียกัดเฮีย!แฉ'ชวน'ตัวเอ้เคยมีใบสั่งลูกพรรคสุมหัวพธม.โค่นแม้ว โหยหารัฐประหารอีกครั้ง

เปิดสัมพันธ์แก๊งหยุ่นเปรมมาร์ค ทำนาบนหลังลิ้ม

เฮีย ลิ้มนอกจากวิพากษ์ระบอบปกครองของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอย่างหนักหน่วงในช่วงนี้ ที่ผ่านมาก็ยังโวยด้วยว่า ค่ายเนชั่นที่ไม่ได้ลงทุนลงแรงขับไล่ทักษิณเลย กลับเสวยสุขจากการทุ่มเทของพันธมิตร โดยเข้าไปยึดฟรีทีวีแทบทุกช่อง เข้าไปบริหารงานการจัดEventของรัฐบาล และเสวยผลประโยชน์จากงบโฆษณาของรัฐบาลไปอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ส่วน เฮียหยุ่นนั้นมีผลประโยชน์ผูกพันกับพรรคประชาธิปัตย์ และผู้สนับสนุนรายใหญ่อย่างนายพลอาวุโสเปรม ติณสูลานนท์อย่างแนบแน่น และเป็นที่มาของการออกมาเปิดศึก"เฮียกัดเฮีย"ในขณะนี้

สะตอคอนเน็คชั่น

กล่าว กันว่าคนปักษ์ใต้นั้นรักพวกรักพ้องในปริมาณและคุณภาพที่สูงกว่าคนในภูมิภาค อื่นๆ ว่ากันอีกว่าในบรรดาคนปักษ์ใต้ที่รักพวกรักพ้องมากนั้น คนสงขลารักพวกพ้องมากกว่าจังหวัดอื่นๆ

และในบรรดาคนสงขลาที่รักพวก พ้องสุดๆนั้น คนที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับนายพลอาวุโสเปรม ติณสูลานนท์นั้น เป็นที่สุดของที่สุดในด้านนี้

ในวิชาชีพนักสื่อสาร มวลชนนั้น สุทธิชัยมักสั่งสอนคนข่าวเครือเนชั่นว่า คนที่เป็น"บุคคลสาธารณะ"นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ตรวจ สอบ โดยไม่มีข้อยกเว้น...แต่สุทธิชัยก็มักยกเว้นให้พลเอกเปรมเสมอ

ไม่เพียงยกเว้นให้ แต่ในทุกโอกาสที่อำนวยให้ สุทธิชัยจะทำหน้าที่เป็นองครักษ์ให้พลเอกเปรมโดยตลอดเช่นกัน

ซึ่งก็รวมทั้ง"ข่าวร่ำลือ"มานานหลายทศวรรษเรื่องความสัมพันธ์อันไม่ธรรมดาของ"เปรมVSหนุ่มเสก"

เมื่อ ไวๆนี้สุทธิชัย หยุ่นเพิ่งเขียนลงบล็อกของเขา เมื่อ 30 พฤษภาคม 2552 เพื่อแก้ต่างให้กับเปรม โดยยกบทสัมภาษณ์ที่ไทยโพสต์ตีพิมพ์สัมภาษณ์"หนุ่มเสก"เสกสรร ชัยเจริญ ที่ตกเป็นขี้ปากของคนมาตลอดว่าสัมพันธ์ลึกซึ้งกับ"ป๋าเปรม"

เปิดใจ เป็นครั้งแรกเมื่อ "หนุ่มเสก" หรือ "เสกสรร ชัยเจริญ" อดีตนักร้องชื่อดังเปิดเผยให้ "ไทยโพสต์" ทราบถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ "ป๋า" พลเอกเปรม ติณสูลานนท์...6 ปีแล้วที่ไม่ได้พบ "ป๋า" ทรมานใจ และรักเหมือนพ่อ

ตอนหนึ่งของคำให้สัมภาษณ์ที่ "หนุ่มเสก" บอกอนุญาตให้หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ตีพิมพ์คือ

"ถ้า กล้าถาม ก็กล้าตอบ และยืนยันว่าไม่มีแน่นอน เอ้า...พูดตรง ๆ เลยว่า แค่หอมแก้ม เพราะผมเคารพรักท่าน ท่านก็เหมือนพ่อ ผมรักท่านเหมือนพ่อ ท่านเป็นผู้มีพระคุณ...6 ปีแล้วที่ไม่ได้พบป๋า...มีคนพยายามกีดกันไม่ให้พบ..."

เชิดชูครูเปรมเอาใจเต็มพิกัด

อาจ จะเป็นเพราะมีหนังสือเกี่ยวกับพลเอกเปรมในทำนองเชิดชูยกย่องไปเยอะแล้ว สุทธิชัยก็เลยพิมพ์หนังสือ"ครูเคล้า คชาฉัตร ครูของรัฐบุรุษ"ที่พลเอกเปรมบอกว่ารักเคารพเหมือนพ่อเพื่อเอาอกเอาใจเปรม

หนังสือ เล่มนี้จัดพิมพ์ในนามของสำนักพิมพ์เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป จำกัด มหาชน ของสุทธิชัย ซึ่งนับเป็นกรณีพิเศษ เพราะปกติสุทธิชัยมีสำนักพิมพ์อยู่แล้วคือสำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์ แต่คราวนี้พิมพ์ในนามบริษัทมหาชนเสียเลย

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ครั้งแรกและวางขายในเดือนตุลาคม 2549 พูดง่ายๆว่าหลังรัฐประหารยึดอำนาจ19กันยายน 2549เพียงไม่กี่วัน

พล เอกเปรม ได้เขียนคำนิยม ในหนังสือ "ครูเคล้า คชาฉัตร ครูของรัฐบุรุษ "ตอนหนึ่งไว้ ว่า....."สำหรับผม ครูเคล้าเป็นมากกว่าครู ครูเคล้าเป็น "ทั้งครูและพ่อผมในเวลาเดียวกัน"

"คราใดที่ครูเคล้ามองผม ผมจะมองเห็นแววตาแห่งความรัก ความเมตตาความห่วงอาทรของครูเคล้าเสมอ คราใดที่สั่งสอนผม ผมจะได้ยินคำสั่งสอนที่เต็มไปด้วยความปรารถนาดี ห่วงใย และบริสุทธิ์ เหมือนพ่อสั่งสอนลูก ผมจึงรักครูเคล้ามาก และจากสายตาและคำพูด ผมรู้ว่า ครูเคล้าก็รักผมมาก"

ครูเคล้าเป็นครูประจำโรงเรียนมหา วชิราวุธ จังหวัดสงขลา บ้านเกิดเปรม ซึ่งเปรมบอกว่า เป็น"ครูผู้มีส่วนสำคัญสำหรับชีวิตผม ทำให้ผมเป็นผมจนถึงทุกวันนี้"

หลัง รัฐประหาร19กันยายน2549 สุทธิชัยหยุ่นได้เวลาเข้าไปทำรายการทางฟรีทีวีแทบทุกช่องคือ 3 5 9 11 ส่วนTPBSเทพชัย หย่อง น้องชายเข้าไปทำ และกลายเป็น"จุดเด่น"สำคัญให้เขานำมาเป็นข้อมูลชี้ชวนขายหุ้นจองNBCในช่วง นี้

ไม่มีใบเสร็จ ไม่มีหลักฐานใดๆว่าเปรมเป็นผู้ดลบันดาลรายการฟรีทีวีต่างๆให้สุทธิชัยเนชั่น หรือไม่ เพราะเรื่องอย่างนี้ไม่ต้องมีหลักฐานใด แต่คนที่ยังมี"สามัญสำนึก"ไม่บกพร่องก็เชื่อมโยง และสรุปฟันธงไม่ยากนัก

เป็นขาใหญ่วงการสื่อเคลียร์ให้นักข่าวสยบรัฐประหาร19กันยา

ในซีรีส์ชุดลากไส้สื่อเห้นั้น ผู้เขียนคือ"รักในหลวงห่วงลูกหลาน"กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ไอ้ผู้ใหญ่ที่ว่าคือหยุ่นเนชั่น แล้วก็พี่มานิจ สุขสมจิตร ผู้อาวุโสจากไทยรัฐ ทำตัวเป็นขาใหญ่เรียกไอ้ภัทระ ไอ้เอ๋ เจ๊หยัดมา แล้วก็เรียกเด็กนักข่าวสนามพวกต่อต้านมากินข้าวเกี่ยเซี้ยกันที่รอยัลพรินเซ ส ตรงหลานหลวง ฝ่ายนักข่าวสนามก็ยื่นคำขาดให้ถอนตัว ส่วนไอ้ภัทระก็โน้มน้าวว่าให้พวกกูเป็นเหอะน้ะนะๆๆ

แล้วก็มันจะเห ลือเรอะ เพราะคนที่บอกว่าเป็นกรรมการกลางอย่างหยุ่นเนชั่นก็รู้อยู่ว่ามันเกลียด เหลี่ยมเป็นขี้ แล้วปฏิวัติคราว19กันยาฯนี่บังก็แค่นอมินีของป๋าเปรม คนสงขลาบ้านเดียวกับหยุ่น เรื่องอะไรจะไปขัดใจป๋า หยุ่นแม่งก็โน้มน้าวโน่นนี่สารพัด สรุปฟันธงว่าพวกมึงนายก3สมาคมเป็นเลย...เชี่ยมั๊ยหละสัดด

หลังเกิด การรัฐประหาร19กันยายนใหม่ๆ ทางเปรมและคณะรัฐประหารอยากตอบแทนสื่อที่ช่วยกันโค่นล้มทักษิณ จึงยื่นข้อเสนอให้ตัวแทนสมาคมสื่อ3สมาคมเข้าไปเป็นสมาชิกสภานิจิบัญญัติแห่ง ชาติ(สนช.)

ตัวแทนสมาคมสื่อตอนนั้นมี

-ภัทระ คำพิทักษ์ จากโพสต์ทูเดย์ เป็นนายกสมาคมนักข่าวฯ
-ตัวแทนสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มีบัญญัติ ทัศนียเวศ เป็นประธานสภา
-ตัวแทนของสมาคมนักข่าวโทรทัศน์วิทยุ มีสมชาย แสวงการ เป็นนายก


เรื่อง ไม่ได้ง่ายนัก เพราะนักข่าวภาคสนาม53คน ส่วนใหญ่เป็นนักข่าวสายประจำรัฐสภา และเป็นคนข่าวค่ายเนชั่นซะเยอะ แสดงความไม่เห็นด้วย ทั้งล่ารายชื่อคัดค้านอยากให้ตัวแทนสมาคมถอนตัว เพราะไม่อยากให้เกิดconflict of interst หรือเป็นภาพน่าเกลียดว่าสื่อโค่นทักษิณสำเร็จแล้วมารับรางวัลจากคณะรัฐ ประหาร

ผู้ใช้นามแฝง"รักในหลวงห่วงลูกหลาน"เขียนถึงฉากตอนนี้ในบท ความชุด"ลากไส้สื่อเห้"อันลือลั่นของเขาไว้ว่า...คือโดยปกติอาชีพสื่อนี่ไม่ เคยนะครับที่จะร่วมมือกับฝ่ายอำนาจฝ่ายการเมืองกันแบบนี้ ยิ่งเป็นตัวแทนสื่อแล้วแม่งน่าเกลียด ก็ถึงขั้นที่ว่ามีการเขียนในข้อกำหนดว่าห้ามนักข่าวไปดำรงตำแหน่งการเมือง

แต่ ไอ้เหี้ยนายกสมาคมนักข่าวนี่เสือกหน้าด้านอยากเป็นขึ้นมา แต่จะเป็นคนเดียวแม่งก็จะน่าเกลียด เลยทำฟอร์มว่าขอไปปรึกษาพรรคพวกหน่อยนะท่านบัง เสร็จก็มาล็อบบี้นายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ คือไอ้เอ๋สมชาย แล้วก็เจ๊หยัดตอนนั้นเจ๊เป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์ ไอ้เหี้ยนี่ก็ไปโน้มน้าวว่า ตอนทักษิณนี่พวกเราโดน"คุกคามสื่อ"เยอะ มาตอนคมช.ปฏิวัติก็บอกให้พวกเราใช้วิจารณญาณห้ามออกข่าวเหลี่ยมเด็ดขาด หากใครฝืนออกบังมันจะมาใช้วิจารณญาณแทนพวกเราคือสั่งปิดหนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ

นี่บังเขาก็มีไมตรีเชิญไปเป็นสนช. ก็เป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้เข้าไปปกป้องไม่ให้คุกคามสื่อ เพราะมันมีกฎหมายเยอะแยะ อย่างน้อยพวกเราก็จะได้ท้วงหากกฎหมายไหนออกมาคุกคามสื่อ....(ดูมันตอแหล!)

เจ๊ หยัด(บัญญัติ ทัศนียเวช)วงการรุ่นหลังเขาเรียกป้าหยัด แต่ผมเรียกเจ๊หยัดก็บอกว่าชั้นไม่เอาด้วยหรอก สื่อที่ไหนเคยไปเป็นตำแหน่งการเมืองแบบนี้ มันมีconflict of interest เธอว่าไงเอ๋?(หันมาถามสมชาย นายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์) ไอ้เอ๋แม่งแสบครับ แทนที่จะค้านเหมือนเจ๊หยัด ดันข้างๆคูๆเข้าข้างไอ้ภัทระ เลยเสร็จโจร...

เจ๊หยัดก็ตกกระไดพลอยโจร คือหากจะเป็นก็ต้องเป็นทั้ง3สมาคม หากเจ๊หยัดถอน ไอ้2ตัวนั่นอดแดกไปด้วย แกก็ไม่อยากมีปัญหากับเด็กรุ่นหลัง ก็เอาวะเป็นก็เป็น แต่อย่าทำให้น่าเกลียดก็แล้ว ต้องอธิบายสังคมให้ได้

สรุปแม่งก็กลับ ไปหาบังว่า บังครับที่บังเชิญผมเป็นสนช.นี่ "ผมขอสาม" เพราะพวกผมสมาคมสื่อมี3สมาคมไปไหนไปด้วย ถ้าคนหนึ่งไม่ไป มันก็ไปด้วยกันไม่ได้ บังก็กัดฟันยกให้สามต้องไปตัดโควต้าเด็กเส้นเด็กฝากลงเพียบ เพราะถ้าได้ใจสื่อ ต่อไปอะไรมันก็โล่ง ทำชั่วก็ผ่อนเบา ทำดีแม่งก็ตีปี๊บเชียร์ ปากกาอยู่ในมือพวกมัน...

แต่เรื่องก็ไม่หวานคอเหี้ยซะทีเดียวหรอก...

ความ ที่มันกระสันก็ดันไปปล่อยข่าวไปทั่วว่า กูจะได้เป็นสนช.กินเงินเดือนแสนสองโว้ย เรื่องมันก็หึ่งออกไป พวกนักข่าวสนามแถวใต้ถุนสภาก็เฮ้ย!นายกสมาคมกูเหี้ยแล้วมั๊ยสัดด ดันมารับใช้ทหารที่ปฏิวัติเข้าไปนั่งในสภาซะเอง แล้วงี้สื่อก็โดนด่าสิว่าตกลงพวกมึงจะเป็นเหี้ยอะไรแน่ระหว่างสื่อกับนักการ เมือง จะเป็นสื่อหรือเป็นเบ๊คณะปฏิวัติ.....

ไอ้พวกนี้ก็รวมหัวกัน เขียนหนังสือหางว่าวส่งไปต่อต้านว่า พวกกรูไม่เห็นด้วยที่นายกสมาคมจะไปเป็นสนช. ให้พวกมึงถอนตัวก่อนจะเสียหายวงการ

ไอ้ภัทระก็นะ คนมันเงี่ยนได้ที่หงี่เต็มพิกัด ก็วิ่งหาผู้ใหญ่ในวงการสื่อ เพราะมันเป็นนายกสมาคม แต่เด็กนักข่าวในสนามก่อกบฎเข้าให้แล้ว(ก็มันเหี้ย เขาก็ต้องก่อกบฎ)

ไอ้ผู้ใหญ่ที่ว่าคือหยุ่นเนชั่น แล้วก็พี่มานิจ สุขสมจิตร ผู้อาวุโสจากไทยรัฐ ทำตัวเป็นขาใหญ่เรียกไอ้ภัทระ ไอ้เอ๋ เจ๊หยัดมา แล้วก็เรียกเด็กนักข่าวสนามมากินข้าวเกี่ยเซี้ยกันที่รอยัลพรินเซส ตรงหลานหลวง ฝ่ายนักข่าวสนามก็ยื่นคำขาดให้ถอนตัว ส่วนไอ้ภัทระก็โน้มน้าวว่าให้พวกกูเป็นเหอะน้ะนะๆๆ

แล้วก็มันจะเห ลือเรอะ เพราะคนที่บอกว่าเป็นกรรมการกลางอย่างหยุ่นเนชั่นก็รู้อยู่ว่ามันเกลียด เหลี่ยมเป็นขี้ แล้วปฏิวัติคราว19กันยาฯนี่บังก็แค่นอมินีของป๋าเปรม คนสงขลาบ้านเดียวกับหยุ่น เรื่องอะไรจะไปขัดใจป๋า หยุ่นแม่งก็โน้มน้าวโน่นนี่สารพัด สรุปฟันธงว่าพวกมึงนายก3สมาคมเป็นเลย...เชี่ยมั๊ยหละสัดด

ไอ้พวกนัก ข่าวสนามก็ใบ้แดก เพราะไอ้พวกที่ลงชื่อในบัญชีหางว่าวต่อต้านในงานนี้นี่..ก็ลูกน้องกินเงิน เดือนหยุ่นซะเยอะ มันก็ไปไม่ถูก เลยบอกงั้นเอางี้ ให้พวกนายกสมาคม3ตัวนี่ลาออกจากตำแหน่งนายกสมาคมสื่อซะ แล้วก็จะไปเป็นอะไรก็ไป หากไม่ลาออกแล้วถ่างขาควบ2เก้าอี้นี่อย่าเลย พวกกูอายหมามัน....

สรุปพวกนายก3สมาคมยอมลาออกจากตำแหน่งสมาคมสื่อ ไปเป็นสนช.เงินเดือนคนละแสนสอง สุทธิชัยก็คาบข่าวไปบอกใครบางคนว่า "ผมเคลียร์พวกสื่อกบฎจบแล้วครับป๋า..."

เปรมกับสื่อโล้นโยนมุกรับมุกกันสนุก ปากมันภาษีกลายเป็นค่าโฆษณา เชิดชูเผด็จการระรานเสื้อแดง

นอก จากเปรมจะประเคนฟรีทีวีให้หยุ่นเป็นรางวัล และเป็นกระบอกเสียงให้ฝ่ายเผด็จการ คอยระรานดิสเครดิตกระทืบฝ่ายประชาธิปไตยแล้ว ก็ยังมีลูกเล่นมีน้ำจิ้มมีชุดใหญ่ประเคนให้หยุ่นตามมาอีกเพียบ

ก็ อย่างเช่นโทรทัศน์เนชั่นแชนัลของนายสุทธิชัย หยุ่น ซึ่งอาศัยความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพลเอกเปรมมักจะคว้าสิทธิ์การถ่ายทอดสด รายการที่อภิสิทธิ์ไปเกาะโพเดียมพูดทุกนัด ยังกับหวยล็อกไว้ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่ถ่ายทอดสดฟรี แต่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งแน่นอนว่าคนจ่ายคือรัฐบาลอภิสิทธิ์(แน่นอนอีกทีคือมาจากภาษีประชาชน) หลายครั้งทางเนชั่นก็เป็นคนครีเอตeventพวกนี้ขึ้นมากับมือ

จะบอกว่า น้ำขึ้นให้รีบตักก็ได้ แต่เอาให้ตรงกว่าก็คือทำเหมือนตายอดตายอยากมานาน พอโค่นรัฐบาลประชาชนเลือกตั้งมาได้ และเอาพวกตัวเองขึ้นได้ ก็มูมมามสวาปามกันเต็มพิกัด จนเข้าข่ายน่าเกลียด พรรคพวกวงการสื่อ และพวกเอเยนซี่ร้องเซ็งกันเป็นแถว เพราะยุคนี้อะไรๆก็ต้องประเคนให้เนชั่น...

โลกนี้ไม่มีอะไรฟรีจริงๆ

เอา ‘ขี้โกง’ ลงสมัคร ส.ส.กรุงเทพ ????

ที่มา Thai E-News


โดย คุณวาทตะวัน สุพรรณเภษัช
ที่มา เวบไซต์ vattavan
27 พฤศจิกายน 2553

ประชาชน คนไทยในกรุงแทพเมืองฟ้าอมร มีความรู้สึกแปลกใจบ้าง ตกใจบ้าง เพราะเมื่ออังคาร ที่ 22 พ.ย. 2553 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่า กทม. ลอยหน้าลอยตาเข้าไปสมัครรับเลือกตั้ง เป็น ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 2

นาย อภิรักษ์ฯนั้น ยังมีคดีทุจริตอันเนื่องมาจากการบริหารงานใน กทม.ของเขา ที่มีการชี้มูลความผิดแล้ว และอยู่ในระหว่างกระบวนการดำเนินการ นั่นคือ

การ ทุจริตจัดซื้อรถยนตร์และเรือดับเพลิงของ กทม.ซึ่งมูลค่าความเสียหาย มากกว่าครึ่งหมื่นล้าน เป็นการสูญงบประมาณไปเปล่าๆ โดย กทม.ไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนคืนมาแม้แต่น้อย

รถดับเพลิงก็จอดทิ้ง อยู่ที่ท่าเรือ เป็นเวลาหลายปีๆดีดักจนสนิมกินแดงไปหมด เป็นการทำลายงบประมาณของ กทม.และของชาติลงไป อย่างน่าเสียดายยิ่ง

เรื่อง นี้เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้นายอภิรักษ์ฯ ต้องลาออกจากตำแหน่งผู้ว่า กทม.สมัยที่ 2 ทั้งๆที่เพิ่งได้รับเลือกกลับเข้าไปหมาดๆ เพราะถูกชี้มูลความผิดในคดีอาญา จะขัดขืนอยู่ในตำแหน่งต่อ ก็ไม่อาจต้านแรงกดดัน ที่กระหน่ำมาจากรอบทิศไม่ไหว จำใจต้องลาออกไป เพื่อเข้าสู่กระบวนการสอบสวน และเตรียมการไปต่อสู้คดีกันในชั้นศาลต่อไป
ข่าวเขาบอกว่า เป็นการลาออกท่ามกลางเสียงไชโยโห่ร้อง ของพนักงานกรุงเทพมหานคร แล้วข่าวก็ยังบอกต่ออีกว่า
ทาง กทม. ถึงกับ ทำบุญเลี้ยงพระใหญ่กันเลย!

นอก จากเรื่องทุจริตเรือและรถดับเพลิง นายอภิรักษ์ฯ ก็ยังถูกอดีตปลัด กทม. คือ คุณหญิง ณัฐนนท์ ทวีสิน ร้องเรียนกล่าวหาว่าทุจริต การจัดซื้อรถโดยสารประจำทาง ชนิดใช้ก๊าซ เอ็นจีวี ในโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (บีอาร์ที)
เมื่อปี 2547 ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 45 คัน วงเงิน 368 ล้านบาท

ซื้อกันในราคา...แพงเกินจริง!

คดี นี้ ผู้อำนวยการสำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เดินไปยื่นสำนวนการไต่สวนและหลักฐานการทุจริตการจัดซื้อ ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แล้วตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2552 แต่ทาง ป.ป.ช.ก็ยังเล่นลูก ‘ติ๊ดชึ่ง’ จึงยังไม่มีผลอะไรออกมา

อย่าปล่อยให้ขาด ‘อายุความ’ อีกล่ะ!!


ทุก วันนี้ผู้ว่า กทม.คนปัจจุบัน คือ "คุณชายสุขุมพันธุ์" ดวงซวยแท้ๆ ที่ต้องมาแก้ไขปัญหา เรื่อง "ค่าโง่รถดับเพลิง" ซึ่งคนอาจมองว่า ท่านทำเรื่องนี้อย่างเงอะๆงะๆ ไม่ทันใจ แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่มีใครคาดคิดว่า คุณชายจะต้องมาเจอะ เจอเรื่องอัปรีย์ใหญ่โตขนาดนี้!

กทม. ได้จ่ายเงินค่ากับบริษัทสไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์ซอย์ ประเทศออสเตรีย มูลค่าทั้งหมด 6,687 ล้านบาท และได้จ่ายไปแล้ว 5 งวด รวมเป็นเงิน 3,125 ล้านบาท แต่ "คุณชายสุขุมพันธุ์" ระงับการจ่ายไม่ให้ธนาคารกรุงไทย ชำระค่างวดรถดับเพลิงงวดที่ 6 วงเงินประมาณ 750 ล้านบาท ไปยังธนาคารไรเฟนเซ่น ประเทศออสเตรีย คดีฟ้องร้องเพิกถอนนิติกรรม ก็ยังทำไม่ได้ เพราะต้องผ่านขั้นตอนของอนุญาโตตุลาการก่อน

ที่สำคัญคือ มีค่าใช้จ่ายงอกขึ้นอีกเยอะ และต้องมาเบียดเบียนเงินของชาวบ้าน กทม.อีกแยะ เพราะอนุญาโตตุลาการนั้น เขาจะคิดค่าใช้จ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ ตามจำนวนมูลค่าที่ฟ้องร้อง ซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 700 ล้านบาท ในจำนวนนี้ไม่รวมค่าดำเนินการ ว่าจ้างทนายความต่างประเทศ ซึ่งตกประมาณ 50 ล้านบาท เพราะเลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องอาศัยนักกฎหมายจากต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์

เงินจำนวน 750 ล้านบาทนี้ ต้องควักจากกระเป๋า กทม.อีกครั้ง!

ที่ตลกร้ายยิ่งขึ้นไปอีก ก็คือ

‘มติ ชน’ รายวัน ฉบับวันพฤหัสบดี ที่ 25 พ.ย. 2553 เพิ่งรายงานว่า ทางสภาทนายความ ซึ่ง ป.ป.ช.ว่าจ้างให้ดำเนินการฟ้องนายอภิรักษ์ฯ กำลังอยู่ระหว่างการร่างฟ้อง

ท่านผู้อ่าน ทราบไหมครับว่า

ป.ป.ช. ต้องเสียเงินจ้างทนายความ ให้ทำการฟ้องร้อง นายอภิรักษ์ฯ ซึ่งค่าจ้างฟ้องร้องเป็นเงินจำนวนเท่าใด ไม่เปิดเผย แต่ผู้สันทัดกรณีประมาณว่า ไม่น่าต่ำกว่า 10,000,000.00 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) เพราะค่าจ้างฟ้องคดีกล้ายางและหวยบนดิน สองคดีที่จบไปแล้ว แบบไม่มีใครติดคุกสักคน นั้น...

ข่าวว่า ทาง ป.ป.ช.(ทำการแทน ค.ต.ส.) ต้องจ่ายเงินให้สภาทนายความ ถึง 60,000,000.00 บาท (หกสิบล้านบาทถ้วน)

เงินที่หลวงต้องเสียหายไป ที่เกี่ยวข้องกับนาย ‘หล่อเล็ก’ นั้น รวมๆกันแล้ว มีจำนวนเท่าใด

ลองเอาเครื่องคิดเลข มาบวกลบคูณหารดูก็แล้วกัน!

ท่านผู้อ่าน ที่เคารพครับ
นาย เจอร์รี่ บราวน์ ออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯ ได้ทิ้งเงินไว้ให้รัฐแคลิฟอร์เนีย ถึง US$ 5,000,000,000.00 (ห้าพันล้านเหรียญสหรัฐ) แต่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯ กลับทิ้งภาระหนี้สินที่เป็นปัญหา ไว้ให้ กทม. แก้ไขอย่างมากมาย แถมยังเพิ่มค่าอนุญาโตฯและค่าทนายความ อีกกว่าค่อนพันล้านบาท

น่าตกใจจริงๆ!

ผลพวงการกระทำของนายอภิ รักษฯ ไม่ผิดอะไรกับการทิ้ง “ขี้กองโต” เอาไว้ให้ "คุณชายสุขุมพันธุ์" ต้องมาล้างตามเช็ด จนเวลาผ่านมาหลายปี แต่เราก็ยังมองไม่เห็น ‘จุดจบ’ ของมหากาพย์แห่งการทุจริต ที่น่าเกลียดน่าชังนี้

นอกจากนั้น ยังมี “ซากรถรถดับเพลิง” ที่กลายเศษเหล็กกองมหึมา เอาไว้ให้คนกรุงดูเป็นอนุสาวรีย์ ผลงาน “โลซก” ของพรรคดักดานต่อไป

ก็ ทำกันจนย่อยยับขนาดนี้แล้ว แต่ทางพรรคประชาธิเปรตยังมีน้ำหน้า เสนอคนอย่าง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ให้เป็นตัวเลือกกับคนกรุงเทพอีก ชักสงสัยว่า

ไอ้พวกนี้ มัน ‘สิ้นคิด’ หรือเปล่า?

ไม่ ใช่ผมที่มีความคิดอย่างนี้คนเดียว อยากให้ท่านผู้อ่าน ลองดูความเห็นของสื่อ อย่าง “แม่ลูกจันทร์” ของไทยรัฐ เมื่อจันทร์ ที่ 22 พ.ย.2553 ซึ่งเขียนเอาไว้ ว่า

...แม่ลูกจันทร์ไม่รู้ว่า นายกฯอภิสิทธิ์ คิดอย่างไรถึงได้จับอภิรักษ์ใส่ตะกร้าล้างน้ำกลับมาลง ส.ส.กทม.เขต 2...

แม่ลูกจันทร์ คงอิดหนาระอาใจ จึงเขียนต่อไปอีก ว่า

...ตัวเลือกอื่นๆมีให้เลือกเยอะแยะ แต่พระคุณท่านไม่เอาสินค้ามีตำหนิ มาขายคนกรุงเทพอีกแล้วโยม...

เห็นไหมครับ!!?

ท่านผู้อ่าน จำได้ไหมครับว่า
ตอน นายอภิรักษ์ฯลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯ เพราะทนแรงกดดันไม่ไหว นายมาร์ค มุกควาย กลับสวนความรู้สึกผู้คน ด้วยการแต่งตั้งให้ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯ ครั้งนั้นก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า

เอาคนมีตำหนิ ถูกกล่าวหาว่าคอรัปชั่น มาเป็นที่ปรึกษา ช่างไม่เกรงอกเกรงใจประชาชนเลย!

ทำราวกับว่า “พวกกูซะอย่าง!” จะด่างพร้อยปานไหน หิวโหยเพียงใด ก็จะเชิดชูกันต่อไป!

แต่ตรงนี้...ผมเองกลับมองว่า

สาเหตุ ที่นายมาร์ค มุกควาย กล้าขัดใจชาวบ้าน แท้ที่จริงแล้ว ก็เป็นเพราะเขากับลิ่วล้อ ไม่ได้ขึ้นมาเป็นรัฐบาล ด้วยอำนาจแห่งประชาชน เพราะพวกเขา ‘พ่ายแพ้’ จากการเลือกตั้งใหญ่ หากแต่ขึ้นครองประเทศนี้ได้ ก็ด้วยความช่วยเหลือจากอำนาจอื่นๆรวมทั้งทหารด้วย ซึ่งผู้คนเขามองว่า

ไม่มีความโปร่งใส...และดำมืด!

ประชาชนอย่างเราๆท่าน จึงไม่มีความหมายในสายตาของโลซกพรรค์นี้

พวกเขามองประชาชน เป็นแค่ ‘ขี้ฝุ่น’ ติดขากางเกงเท่านั้น

ขี้ฝุ่นติดมากนัก...ก็ให้ทหารช่วยปัดออก!!

ขี้ฝุ่นหลุดแล้ว ก็เขี่ยเศษเนื้องบประมาณ ที่เหลือติดข้างเขียง โยนตอบแทนให้ไปบ้าง…แค่นี้ก็เรียบร้อย!!!

ดังนั้น ชาวไทยเราจะไปหวังความเกรงใจประชาชน จากพวกเส็งเคร็งเหล่านี้ ได้ยากเต็มที

ผู้ที่สันทัดในวงการเมือง เขายังวิพากษ์วิจารณ์กันต่ออีกด้วยว่า

พรรคเก่าแก่มีวิตกกังวลเรื่อง ‘พลังของคนเสื้อแดง’ เพราะสภาความมั่นคง ดันออกมาบอกว่า

จำนวน “คนเสื้อแดง” ยิ่งทวีมากขึ้นทุกที และมีกิจกรรมระหว่างกลุ่ม ในส่วนต่างๆ ของประเทศไม่เว้นแต่ละวัน!

นี่เอง คงเป็นเหตุให้แก๊งประชาธิเปรต เกิดความหวั่นไหว ไม่วางใจ ที่จะเอาผู้สมัครโนเนม หรือไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
ลงไปวัดดวง ในสนาม กทม.!

เลยต้องหันไปพึ่งบริการ ของผู้ที่โดนข้อหาทุจริต อย่างนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน

จึงอยากจะถามนายมาร์ค มุกควาย หัวหน้าแก๊งโลซกกับสมุน แบบลูกทุ่งเขาถามกันว่า

“พวกเอ็งกำลัง ‘ดูถูก’ คนกรุงเทพ หรือเปล่า!!?”

ที่ว่า ‘ดูถูก’ คนกรุงเทพ นั้นก็เพราะ...

รัฐบาลดักดานของนายมาร์ค มุกควาย นั้น ชื่อ “เหม็น” มาตั้งแต่เริ่มเข้าบริหารประทศ

ตอนเป็นรัฐบาลใหม่ๆ ได้ไม่กี่วัน ก็ดันเอาของเน่าของเสีย อย่าง “ปลากระป๋องเน่า” ไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน

เท่า นั้นไม่พอ ยังเสือกเอา “สินค้าเน่าๆ” ไปยัดเยียดให้ชาวบ้านอีกครั้ง ใน “โครงการไทยเข้มแข็ง” อีกด้วย แล้วตามมาด้วยเรื่องระยำคอรัปชั่นเน่าๆ ที่ออกมาสู่สายตาพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่องมิได้ขาด

หนนี้ก็ยัง ทะลึ่งทำหน้าทน เอาของที่ ‘บูด-เน่า’ อย่างนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มายัดเยียดให้คนกรุงเทพเขาเลือกซ้ำอีกครั้ง เป็นชาติบ้านเมืองอื่น เขาคงไม่กล้าทำกัน...

สันดานพรรคนี้ มันไม่เคยเปลี่ยนเลยจริงๆ!

ถามสักนิด เถอะน่า... “ของดีกว่านี้ ไม่มีปัญญาหามาได้แล้ว หรือไงวะ!!?”

ดูๆ ไปแล้ว ผมว่า “กล่องขี้” ยี่ห้อ “อ๊อกซฟอร์ด” อย่าง นายมาร์ค มุกควาย กับลิ่วล้อ ทำเหมือนไม่กลัวผู้คน เขาจะพากันไปยืนออกัน หน้าที่ทำการพรรคดักดาน แล้วชวนกันร้องตะโกน ถามเสียงลั่นว่า

“ทำไมพวกมึงเอา ‘ขี้โกง’ ลงสมัคร ส.ส.กรุงเทพ!!!?”

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

น่าจะไม่รอด

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน

สมิงสามผลัด




ไม่ใช่แค่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องละเมิดสิทธิ์และไม่เป็นประชาธิปไตยเพียงอย่างเดียว

สำหรับคำสั่งศอฉ.ที่ห้ามขายสินค้ารองเท้าแตะรูปหน้ามาร์ค

ในกรณีการละเมิดสิทธิ์ก็ว่ากันไปเรื่องหนึ่ง องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนก็ตำหนิติติงกันไป

แต่ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ในอีกนัยหนึ่ง ถึงปัญหาความร้าวฉานระหว่าง นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ ศอฉ.

เพราะหลังศอฉ.ออกคำสั่งนี้ไปในวันที่ 19 พ.ย.

วันรุ่งขึ้นนายกฯมาร์คกลับออกมาสั่งให้ศอฉ. ทบทวนคำสั่งนี้ทันที

อีก 2-3 วันถัดมา ศอฉ.ก็เรียกประชุม ก่อนให้โฆษกไก่อูออกมาแถลงว่าในที่ประชุมศอฉ.มีมติทบทวนคำสั่งตามบัญชานายกฯ แต่ศอฉ.ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง

ตรงนี้หลายฝ่ายมองว่าความสัมพันธ์ระหว่างศอฉ. กับนายกฯมาร์คไม่ปกติแล้ว

ท่าทีของนายกฯ ทำให้คนมองว่าศอฉ.ออกคำสั่งโดยพลการ หยุมหยิม จุกจิก

กลายเป็นเป้าโดนโจมตีจากนักสิทธิมนุษยชน

ส่วนนายกฯมาร์คก็ลอยตัว ไม่โดนด่า

จึงเป็นเหตุผลของการทบทวนตามบัญชา แต่ไม่เปลี่ยน แปลงคำสั่งนั่นเอง!?

ยิ่งตอกย้ำกระแสข่าวความไม่ลงรอยกัน

ก่อน หน้านี้ กองทัพก็ไม่พอใจกรณีการแถลงข่าวของ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เรื่องการสืบสวนสอบสวนคดี 91 ศพ

นายธาริตสรุปเพียงแค่ 12 ศพเจ้าหน้าที่โดนเสื้อ แดงฆ่า

แต่ที่เหลืออีกเกือบ 80 ศพไม่ฟันธงอะไรเลย ปล่อยให้อึมครึม

ออกมาแบบนี้ก็เท่ากับให้ไปคิดเอาเองว่าฝีมือใคร?

ฝ่ายการเมืองก็ลอยตัวอีก ฝ่ายปฏิบัติการก็รับไปเต็มๆ

ผสมโรงกับกรณีนายกฯมาร์คออกมาปูดข่าวการปฏิวัติเข้าไปอีก

ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์เหินห่างขึ้น

หากย้อนกลับไปดูช่วงประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินใหม่ๆ นายกฯ กับกองทัพก็กลมเกลียวกันดี

แต่หลังจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พ้นจากตำแหน่งผอ.ศอฉ.ออกไปสมัครเลือกตั้งส.ส.

ตัวประสานระหว่างกองทัพกับฝ่ายการเมืองก็ขาดหายไป

พอชนะเลือกตั้งได้กลับมาเป็นรองนายกฯ ตามเดิม แต่ไม่ได้คุมศอฉ.ตามเดิม

ถึงนาทีนี้รัฐบาลเข้าขั้นโคม่าแล้ว

คดีสั่งสลายม็อบมีคนตาย 91 ศพถูกม็อบแดงจี้เช้าจี้เย็น

คดีความก็จ่อขึ้นศาลโลก

แถมโดนองค์กรนานาชาติจับตาว่าจะเป็นมวยล้มหรือไม่

การแก้รัฐธรรมนูญก็โดนม็อบผู้มีพระคุณเล่นงานเข้าให้

คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังร่อแร่

ไม่รู้ว่าจะยุบสภาก่อนถูกยุบพรรคดีหรือเปล่า?

ยังต้องเจอปัญหาขัดแย้งกับกองทัพเข้าไปอีก

แนวโน้มแบบนี้เรียกว่า น่าจะไปไม่รอด!?

การ์ตูน เซีย 26/11/53

ที่มา ไทยรัฐ

Pic_129518

การ์ตูน เซีย 26/11/53

"อภิวันท์"ชมวีรกรรม"ส.ส.ชูรองเท้า"พฤติกรรมดี ตอบโต้สิ่งเลวร้าย เจ๋งกว่าสภาไต้หวัน ขวางพท.ร้องศาลรธน.

ที่มา มติชน

พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ที่อาคารรัฐสภา ถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบกรณีนายปิยะรัช หมื่นแสน ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย กลุ่มงูเห่า เสนอรายชื่อส.ส.กลุ่มงูเห่า 7 คนของพรรคเพื่อไทยเป็นกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 93-98 ทั้งที่พรรคเพื่อไทยมีมติไม่ส่งคนเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการฯว่า ได้เรียนให้นายกรัฐมนตรีทราบว่า การตั้งคณะกรรมาธิการโดยไม่มีสัดส่วนของพรรคใดพรรคหนึ่งไม่ถือว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะสภาให้สิทธิแก่พรรคเพื่อไทยแล้ว แต่พรรคเพื่อไทยใช้สิทธิไม่ร่วมเป็นกรรมาธิการ แต่กรณีการชิงเสนอชื่อคนของพรรคเพื่อไทย โดยพรรคไม่ยินยอมเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง จนในที่สุดก็มีการยกเลิกการตั้งกรรมาธิการทั้งชุด โดยใช้มติของที่ประชุมรัฐสภา ทั้ง นี้เชื่อว่า พรรคเพื่อไทยคงไม่ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบกรณีดังกล่าว แต่หากพรรคเพื่อไทยจะยื่นเรื่องให้ตรวจสอบ ก็จะไปทำความเข้าใจกับสมาชิกพรรคว่า รัฐสภาฯได้แก้ไขทุกอย่างให้ถูกต้องตามข้อบังคับการประชุมสภาเรียบร้อยแล้ว และส่วนตัวไม่ติดใจกับการนับคะแนนตอนลงมติ เพราะไม่มีผลให้เปลี่ยนแปลงการลงมติได้ เชื่อว่าคณะกรรมการนับคะแนนทุกคน ไม่มีเจตนาเบี่ยงเบนอะไร แต่บางครั้งอาจได้ยินไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้

เมื่อถามว่า ส.ส.เพื่อไทยบางส่วนแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพและการขู่ปารองเท้า พ.อ.อภิวันท์ กล่าวว่า บรรยากาศยังดี เพราะเป็นแค่การถอดรองเท้าออกมาขู่ พฤติกรรมถือว่าดี เพราะเป็นการตอบโต้พฤติกรรมที่เลวร้ายกว่าในการเอาคนอื่นมาใส่ชื่อ และก็ไม่ได้พูดออกไมค์ ได้สอบถามส.ส.เพื่อไทยที่ขู่ปารองเท้า ก็ได้รับคำตอบว่า คนอย่างนี้ต้องออกมาขู่บ้าง โดยถอดเสร็จก็ใส่ตามเดิม ถือว่า ยังดีกว่าที่ไต้หวันมาก

อย่างไรก็ตามยอมรับว่า พฤติกรรมที่ส.ส.เพื่อไทยแสดงออกมาเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง แต่ต้องดูว่ามีสาเหตุจากอะไร ถ้าไม่มีเหตุ ก็ไม่มีผล เพราะโดยหลักแล้วไม่สามารถชิงเสนอชื่อคนอื่นมาแทนได้ แต่เมื่อมีการดื้อดึงทำไป ก็เลยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น แต่ถ้าตนเป็นประธานการประชุมอยู่ คงไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น แต่ ภาพรวมของสภายังถือว่าไปได้ และคงแก้รัฐธรรมนูญสำเร็จ

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ "จรูญ" ถอนตัว คดียุบพรรคปชป.

ที่มา ข่าวสด



วัน ที่ 26 พ.ย. ศาลรัฐธรรมนูญได้นำเอกสารเผยแพร่ มาแจกให้กับผู้สื่อข่าวโดยเนื้อความระบุว่า เนื่องจากนายจรูญ อินทจาร และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือขอถอนตัวออกจากการพิจารณาคดีที่นายทะเบียน พรรคการเมืองขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลว่าได้ฟ้องคดีในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญาไว้ต่อศาลอาญาแล้ว ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกรณีที่มี เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้จึงอนุญาตให้นายจรูญ ถอนตัว ส่วนนายสุพจน์ ไม่อนุญาตให้ถอนตัว

ทั้งนี้ เมื่อคณะตุลาการให้นายจรูญถอนตัวก็ทำให้เหลือตุลาการเพียง 6 คนในการพิจารณาวินิจฉัยในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายชัช ชลวร นายบุญส่ง กุลบุปผา นายจรัญ ภักดีธนากุล นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี นายสุพล ไข่มุกด์และนายนุรักษ์ มาประณีต

อย่าไปตกใจวิตกกังวล กับการแบ่งสี การเมืองแบบสี เพราะมันคือ พัฒนาการที่ก้าวหน้าของสังคมไทย

ที่มา thaifreenews

บทความโดย..ลูกชาวนาไทย

การเมืองแบบสี คือพัฒนการทางการเมืองที่ก้าวหน้าของไทย เป็นการต่อสู้ทางอุดมการณ์

บาง คนอาจวิตกกังวลเกี่ยวกับการแตกแยกของสังคมไทยที่แบ่งออกเป็นสองขั้ว อย่างชัดเจน เรียกว่าประชาชนแบ่งสี เป็นฝักเป็นฝ่าย เป็นที่น่าวิตกกังวลยิ่งนัก เพราะมันหมายถึงความแตกแยกของคนในชาติ

คน ไทยเคยอยู่ในสังคมที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันทางอุดมการณ์ทางการเมืองมาก่อน แม้จะมีสงครามความไม่สงบภายในสมัยการปราบปรามคอมมิวนิวส์ ซึ่งเป็นการต่อสู้กันทางอุดมการณ์ แต่หากวิเคราะห์กันให้ลึกจริงๆ ก็เป็นการต่อสู้ของคนส่วนน้อยจำนวนหนึ่งที่เป็นปัญญาชนก้าวหน้าในสมัยนั้น รับเอาอุดมการณ์ทางการเมืองที่เป็นกระแสโลกในเวลานั้น เพื่อเข้ามาเปลี่ยนแปลงสังคมไทย ตามความเชื่อและอุดมการณ์ในขณะนัน

แต่ ประชาชนไม่ได้เข้าร่วมทั้งประเทศ ในระดับทั้งสังคมเหมือนในเวลานี้ แม้จะมีผลกระทบต่อสังคมบ้าง แต่ก็ไม่ได้ซึมรากลึกเ้ข้าไปถึงจิตใจของประชาชนอย่างแท้จริง เหมือนการต่อสู้ใน "สงครามสองสี ปี 2549-2553...."


หาก มองให้ลึกลงไป การแบ่งแยกของสังคมไทยเป็นสองสีในปัจจุบันนี้ ไม่ได้เป็นการแบ่งแยกที่ตื้นเขิน แต่เป็นการแบ่งแยกกันทางอุดมการณ์และความเชื่อมากกว่า โดยแต่ละสี หมายถึงความเชื่อและอุมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน

เท่าที่ผมมีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางการเมืองในขณะนี้มาตั้งแต่ต้น เราสามารถแบ่งอุมการณ์ของแต่ละสีออกได้ค่อนข้างชัดเจน

สีแดง หมายถึง ความคิดและความเชื่อในอุดมการณ์ทางการเมือง ประชาธิปไตยเสรีนิยม (Liberal Democracy) บวกกับแนวคิดแบบ สังคมนิยมประชาธิปไตย (Socialism Democracy) ซึ่ง หมายถึงความเชื่อในความเป็นประชาธิปไตย เสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน ความยุติธรรม เป็นต้น ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ส่งเสริมการแข่งขันกันทางการเมือง เพื่อประชาชนจะได้มีทางเลือกที่ดีกว่า และเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ

สีเหลืองหมายถึง ความคิดความเชื่อแบบ อนุรักษ์นิยม บวก ฟาสซิสม์ และชาตินิยมแบบคลั่งชาติ (Conservative + Fascism + Nationalism) พวกอนุรักษ์นิยม บูชาความสงบเรียบร้อยของสังคม (Social Order) การ เชื่อฟังคนชั้นนำ ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ไม่ส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงมาก ต้องการให้สังคมเปลี่ยนแปลงช้าๆ หรือหยุดอยู่กับที่ เพื่อรักษาระเบียบแบบแผนดั้งเดิมของสังคมไว้ ซึ่งระเบียบแบบแผนเดิมหมายถึงโครงสร้างที่คนชั้นนำได้เปรียบมาแต่ดั้งเดิม


เราจะเห็นว่าในช่วงแรกของความวุ่นวายของสังคมไทยที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2549 นั้น อุดมการณ์ของแต่ละสีเสื้อยังไม่ชัดเจนมากนัก อาจมองเห็นคร่าวๆ ว่าพวกเสื้อแดงคือ พวกที่นิยมทักษิณ พวกเสื้อเหลืองคือพวกที่นิยมเจ้า (Royalist) แต่ การต่อสู้และความขัดแย้งทางการเมืองที่ยาวนานมากทีสุดในประวัติศาสตร์ของ ชาติไทย มีการณรงค์ในลักษณะสงครามที่ระดมคนออกมาต่อสู้กันอย่างเต็มที่ เพียงแต่ไม่ติดอาวุธเข้าแถวยิงกันเท่านั้นเอง แต่ก็มีการปะทะกันแบบย่อยๆ หลายครั้ง รวมทั้งมีการตั้งค่าย ปักหลักประท้วงกันอย่างยาวนายหลายเดือน ของแต่ละฝ่ายทั้งเสื้อแดงและเสื้อเหลือง

การ โต้แย้งกันทางเว็บไซต์แบบสงครามไซเบอร์ที่สู้กันทางความคิดอย่างรุนแรง มีการจัดตั้งสื่อของแต่ละฝ่ายออกมาต่อสู้กันแบบเต็มรูปแบบ ทำให้ "อุดมการณ์ของแต่ละสีเสื้อชัดเจนขึ้น" อย่างที่ผมได้แบ่งแยกเอาไว้

พัฒนาการ ของสังคมที่เป็นการต่อสู้กันทางอุดมการณ์แบ่งแยกออกเป็นสองฝ่าย สองอุดมการณ์อย่างชัดเจนนั้น ถือเป็นความก้าวหน้าทางสังคมอย่างชัดเจน

สังคมที่เคลื่อนตัวจากสังคมเกษตรกรรม เข้าสู่สังคมแบบอุตสาหกรรมนั้น มักจะมีการต่อสู้กันทางอุดมการณ์ทางการเมืองเสมอ เพราะ โครงสร้างและระบบความเชื่อของสังคมเปลี่ยนแปลงจากเดิม เพราะคนได้อพยบออกจากสังคมหมู่บ้าน เข้าสู่สังคมเมือง หลุดพ้นจากกรอบดั้งเดิมของสังคม ทำให้รับอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใหม่ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้ง ระบบการสื่อสารที่ก้าวหน้า รวดเร็ว ทำให้ความคิดและอุดมการณ์แผ่ขยายดัวอัตราความเร็วที่เร็วกว่าในอดีตมากมาย นัก

ดังนั้น เรา จึงไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลกับ การแบ่งสีของสังคมไทยในเวลานี้ให้มากนัก เพียงแต่คนไทยต้องเรียนรู้ที่จะต้องต่อสู้กันอย่างสันติในระบบเลือกตั้ง และยอมรับระบบเลือกตั้งหรือเสียงส่วนใหญ่เท่านั้น แบบที่เกิดกับประเทศในตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน ที่ผ่านจุดนี้มาเกือบสามร้อยปีแล้ว หากไม่ยอมรับระบบเลือกตั้ง สุดท้ายก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและเกิดวสงครามกลางเมืองเสมอ ไม่มีทางที่สังคมที่ระบบความเชื่อเปลี่ยนไปแล้วจะสามารถควบคุมให้สังคมหยุด นิ่งไม่ปลี่ยนแปลงเลยแบบสังคมไทยก่อนปี 2549 ได้

สงคราม สีเสื้อยังไม่จบ แต่จุดจบของสงครามแบ่งสีครั้งนี้ หากติดตามประวัติศาสตร์พัฒนาการลำดับขั้นของสังคม ก็จะสามารถคาดเดาได้ว่าจะจบลงแบบใด เพียงแต่ว่าหาก ชนชั้นนำมีขันติธรรม และคุณธรรมมากพอ สังคมก็จะผ่านจุดนี้ไปได้อย่างสันติไม่นองเลือด

แต่สังคมไทยได้นองเลือดไปแล้วในเดือนพฤษภาคม 2553 และผมยังมองไม่เห็นว่าชนชั้นนำนั้นมี อัจฉริยภาพและสายตาที่ยาวไกลพอ ยังเข่าใจอยุ่นั่นเองว่าตัวเองสู้กับทักษิณ มองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและระบบความเชื่อของคนในสังคม จึงเห็นพวกเขาทุ่มโปรประกันดา ในระบบความเชื่อแบบดั้งเดิมอย่างเต็มที่ ซึงทำอย่างไรมันก็คงเปลี่ยนประชาชนที่ก้าวหน้าไปแล้วให้ถอยหลังกลับไปแบบ เดิมและหยุดนิ่งอยู่ตรงนั้นไม่ได้

พัฒนาการในเวลานี้จึงมองเห็นแต่หนทางนองเลือดและความรุนแรงอยู่ข้างหน้า

แต่ผมเชื่อว่าทุกสังคมมีทางออกที่เราคาดไม่ถึงอย่เสมอ Life have it own way ชีวิตมีทางออกที่เราคาดไม่ถึงเสมอ

สงครามสองสีเสื้อจึงเป็นพัฒนาการที่ก้าวหน้าของการเมืองไทย ในระดับคุณภาพอย่างชัดเจน

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker