บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไทยรักไทย = พลังประชาชน = เพื่อไทย = Landslide

ที่มา Voice TV



ชัยชนะของเพื่อไทยนั้นจะพิสูจน์ว่าพ.ต.ท. ทักษิณเป็นสุดยอดนักการเมือง ผลงานในช่วงไทยรักไทยลงสนามแข่งครั้งแรก การเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 คราวนั้นชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณโด่งดัง เรตติ้งสูงสุด ผลสำรวจระบุล่วงหน้าตั้งแต่โค้งแรก จนถึงโค้งสุดท้ายระบุว่า ไทยรักไทยจะได้ที่นั่ง 249 คน จาก 500 ที่นั่ง ในสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีใครเชื่อผลการเลือกตั้งปรากฏพรรคไทยรักไทย ได้ ส.ส. 248 คน ต่ำกว่าผลโพลแค่ 1 เสียง กระทั่งการเลือกตั้งสมัยที่สองเมื่อปี 2548 ผลโพล เปิดตัวเลขที่ ส.ส. 370 เสียง ไม่มีใครเชื่ออีก ! ผลการเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ 2548 ตัวเลขไทยรักไทยออกมาที่ 377 เสียง มากกว่าโพล7เสียง แม้แต่การเลือกตั้งเมื่อ 23 ธันวาคม 2550 โพลชี้ว่าความน่าจะเป็นอยู่ในระดับ 240 เสียง ผลปรากฎ "ทักษิณ" ชนะซ้ำเป็นครั้งที่ 3 ได้ ส.ส.เข้าสภาผู้แทนราษฎร 233 เสียง ชนะประชาธิปัตย์ที่ทำคะแนนได้ 165 เสียง กับการเลือกตั้งยุค พ.ศ. 2554 ถือเป็นยุคที่แข่งขันเข้มข้นถึงขีดสุด "โพลทักษิณ" ประกาศข้ามน้ำ-ข้ามทะเลทรายจากดูไบ ให้ตัวเลข 270 เสียง และอาจทะลุไปถึง 300 เสียง อีกครั้ง

๓ กรกฎาคม : อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย

ที่มา มติชน



นิติราษฏร์ ฉบับ ๒๕ (ฐาปนันท์ นิพิฎฐกุล)

คง ไม่จำต้องบอกกล่าวกันอีกแล้วว่า วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปนี้จะมีความสำคัญ เพียงใด ผู้เขียนเพียงใคร่ที่จะลองประเมินภาพรวมและข้อเสนอบางประการมาลงไว้ ณ ที่นี้

ผู้ เขียนเห็นว่า การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้เป็นที่สนใจและมีผู้คนกล่าวถึงไม่ทางใดก็ทาง หนึ่งเป็นอย่างมาก (ข้อสรุปเช่นนี้รวมถึงกลุ่มที่มักจะไม่ค่อยสนใจติดตามการเมืองด้วยเช่นกัน) และอาจจะมากกว่าการเลือกตั้งทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้

กล่าว คือ ณ วันนี้ไม่ว่าจะฟากไหนหรือสีใดก็ต้องยอมรับกันแล้วว่า เป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งอันแหลมคมยิ่งครั้ง หนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ซึ่งเห็นได้จากความตื่นตัวทางการเมืองของผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนนั้น เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งนี้ จำนวนผู้ประสงค์ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าและได้ออกมาใช้สิทธิเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายนที่ผ่านมานั้นเป็นประจักษ์พยานที่ชัดเจนในเรื่องนี...

นอก จากนี้ หลายเหตุการณ์ที่ผ่านมาในช่วง ๔-๕ ปีนี้ (โดยเฉพาะถ้านับจากการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา) ล้วนแต่เป็นเหตุการณ์ที่บ่มเพาะทางความคิดของประชาชนและได้สร้างความรับรู้ ร่วมกันในทางการเมือง (ไม่ว่าสำหรับฝ่ายใด) ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจในวันเลือกตั้งอย่างที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้

ดัง นั้น ผู้เขียนเชื่อว่า เราอาจจะได้เห็นปรากฏการณ์เสียงข้างมากที่เห็นได้ชัดเจนในระดับหนึ่งทีเดียว ภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเจตจำนงทางการเมืองของชาติด้วยนั่นเอง

เมื่อ แนวโน้มดูจะเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนเห็นว่า หากเราจะเดินต่อไปบนครรลองของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Parliamentary System) เช่นในประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย “ทุกฝ่าย” จะต้องเคารพผลการตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนในครั้งนี้อย่างเคร่งครัด

อย่าลืมว่า การเอ่ยอ้างถึง “มารยาททางการเมือง” ก็ดี “ข้อตกลงนอกรอบระหว่างพรรคการเมือง” (ที่อาจไม่เป็นที่เปิดเผยทางสื่อสาธารณะ) ก็ดี หรือข้อตกลงอะไรก็ตามที่จะมีขึ้นทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง จะต้องสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยและประชาชนต้องยอมรับได้ด้วย

นั่น หมายถึง จะต้องกลับมาพิจารณาและยึดมั่นในเหตุผลของหลักการประชาธิปไตยทั้งก่อนและ หลังการเลือกตั้งอย่างไม่มีข้อแม้ใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้เขียนประสงค์จะย้ำว่า ทุกกลุ่มทุกฝ่ายในโครงสร้างอำนาจการเมืองไทยวันนี้จะต้องตระหนักแล้วว่า ประชาชนส่วนข้างมากได้แสดงตนออกมาและต้องการจะปรับสัมพันธภาพในโครงสร้างทาง การเมืองครั้งสำคัญนี้ไม่น้อยไปกว่าความพยายามทุกวิถีทางในการรักษาอำนาจของ บางกลุ่มในโครงสร้างเดิมด้วยเช่นกัน

ผู้ เขียนเชื่อในทางที่ดีว่า ในประเทศแห่งนี้คงไม่มีผู้ใดที่มีความคิด สติปัญญาและเป็นวิญญูชนปกติ จะเห็นดีเห็นงามไปกับการให้ความชอบธรรมต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยใช้ “การรัฐประหาร” อีกต่อไปแล้ว

ดัง นั้น การสร้างความสง่างามและแสดงความมีวุฒิภาวะในสายตาชาวโลก อีกทั้งการสร้างบรรทัดฐานที่ดีในทางการเมืองในวันนี้และเพื่อลูกหลานของคน ไทยในวันข้างหน้า ย่อมขึ้นอยู่กับการเคารพการตัดสินใจของประชาชนพลเมืองร่วมกัน (อย่าลืมด้วยว่า ทหารไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดของกองทัพก็มีสิทธิเสมอภาคและมีส่วนร่วมในการ ปกครองของประเทศนี้ด้วย แต่ในฐานะ “พลเมือง” ที่ไม่มีเครื่องแบบ) ซึ่งจะต้องเคารพหลักเสียงข้างมากและยอมรับบทบาทในฐานะที่เท่าเทียมกันของ เสียงข้างน้อยในระบอบรัฐสภาด้วยนั้น เป็นเพียงทางเลือกเดียวและไม่มีทางเลือกอื่นสำหรับอนาคตอันใกล้นี้

หาก สิ่งที่ว่ามาทั้งหมดนี้มิได้รับการยอมรับและถือปฏิบัติตาม จากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มที่เชื่อว่าตนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงนอกวิถีทาง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาได้นั้น ผู้เขียนก็เกรงเป็นอันมากว่า ปัญหาทางการเมืองที่เรื้อรังจะมิได้รับการแก้ไขโดยผ่านระบบ “ผู้แทน” อีกต่อไป.

"นิธิ-ประจักษ์-นันทวัฒน์" วิพากษ์ "ประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง : วิกฤติหรือโอกาส"

ที่มา มติชน







รับชมข่าว VDO ชมคลิป


เมื่อ เวลา 13.30 น. วันที่ 30 มิ.ย. ที่โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ได้มีการจัดเสวนาวิชาการ "ประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง : วิกฤติหรือโอกาส" จัดโดยสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย โดยมีวิทยากรเข้าร่วมได้แก่ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นผู้ดำเนินรายการและร่วมเสวนา

ปรองดองไม่ได้เริ่มที่การหาพระเอก-ผู้ร้าย แต่เป็นการยอมรับ


อ.ประจักษ์ กล่าวในการเสวนาว่า ในขั้นตอนการพัฒนาประชาธิปไตยที่ทุกประเทศผ่านมานั้น เรายังล้าหลังมาก แม้แต่สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบตัวแทน ยังสร้างไม่ได้ในสังคมไทยเพราะ มีสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบกดปุ่ม คอยเข้ามาสกัดขวางการเติบโตของประชาธิปไตยแบบตัวแทน


ประชาธิปไตยแบบนี้คือ ประชาธิปไตย แบบที่มีชน ชั้นนำแบบเล็กๆ 10-20 คนกำกับให้การเมืองหันเหไปตามอารมณ์ของตัวเองทั้งจากเครื่องมือในและนอกระบบ ทำลายเจตนารมณ์ของประชาชน เลือกตั้งเสร็จ ไม่ว่าใครชนะ ท้ายสุดจะจัดได้หรือไม่ได้ อยู่ได้นานแค่ไหน พ้นจากมือประชาชนแล้ว แต่มีชนชั้นนำที่สามารถใช้กลไกเครืองมือต่างๆ เข้ามาแทรกแซงได้ทำให้เจตนารมณ์ประชาชนเป็นโมฆะ

โดย สรุป การเลือกตั้งมีความหมายมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ชนชั้นนำกลับทำลายความสำคัญ ดูหมิ่น และทำให้กระบวนการเลือกตั้งเป็นเรื่องไร้สาระและไร้ความหมายทั้งที่เป็นการ เลือกตั้งที่คนจำนวนมากเข้าร่วม ในกระบวนการนี้ไม่ใช่แค่ 4 วินาที แต่มีหลายฝ่ายเข้ามาร่วมในกระบวนการ มีการแข่งขันที่สร้างสรรค์บ้างหรือไม่สร้างสรรค์ แต่เป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้คนเข้าไปมีส่วนร่วมมากกว่าวิธีการอื่นๆซึ่ง อาจไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน นานวันเข้าคนไทยก็ใช้กลไกนี้มากขึ้น การเลือกตั้งไม่ใช่แค่พื้นที่ของชนชั้นนำ แต่ประชาชนเริ่มเรียนรู้ที่จะใช้พื้นที่ในการเรียกร้อง ต่อรอง ส่งเสียง ใช้อำนาจได้ แต่ประชาธิปไตยแบบการกดปุ่ม ที่เกิดจากการที่ผลการเลือกตั้งออกมาไม่สบอารมณ์คนบางกลุ่มนั้น ตนเองคิดว่าเป็นอันตรายต่อความสงบสุข เพราะหมายความว่า คนบางกลุ่มกำลังปฏิเสธเสียงของคนหลายสิบล้านคน


หนทางระยะยาวคิด ว่า มีทางออกทางเดียวซึ่งไม่ใช่ระหว่างพรรคการเมืองด้วยกัน แต่จะต้องทำอย่างไรที่พลังทางสังคมจะช่วยกดดันให้ชนชั้นที่ปฏิเสธผลการเลือก ตั้งให้เข้ามาเล่นการเมืองภายใต้กติกา ซึ่งอย่างน้อยก็ไม่ทำให้เกิดวิกฤตและภาวะที่ไม่ปกติ ขอให้แค่ระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนได้ทำงานบ้าง ให้การเลือกตั้งทำงาน เมื่อใครมาเป็นรัฐบาลกระบวนการตรวจสอบก็จะเกิดเป็นธรรมดาอยู่แล้ว เราก็สู้กัน ตรวจสอบภายใต้กฎตามรัฐธรรมนูญ แต่อย่างน้อยให้ก้าวข้ามพ้นภาวะที่คนกลุ่มเล็กๆมากดปุ่มให้ผลเป็นไปตามใจโดย ไม่ฟังเสียงประชาชน


การป้องกันการแทรกแซงการเลือกตั้งต้อง พยายามทำให้การเลือกตั้งโปร่ง ใส ยุติธรรมมากที่สุด ซึ่งจะป้องกันไม่ให้มีคนอ้างว่าเกิดการทุจริต ใครก็ตามที่ออกมาประท้วงจะขาดความชอบธรรม แต่ถ้าเกิดมีเหตุที่เชื่อได้ว่ามีการแทรกแซง คิดว่าตรงนี้จะเป็นชนวน ให้คนอ้างคัดค้านผลการเลือกตั้ง แต่ตอนนี้สังคมไทยส่งสัญญาณชัดจากทุกภาคส่วน ทุกคนชี้ว่าต้องการให้ทุกฝ่ายยอมรับและไม่ต้องการให้มีการแทรกแซงไม่ว่าด้วย อำนาจใดๆ ซึ่งฝ่ายที่คิดจะแทรกแซงนั้นลำบากที่จะฝืนฉันทามติของสังคม


ประเด็นเรื่องการปรองดองคิดว่า ถ้า สังคมไทย เป็นต้นไม้ แล้วมีพิษอยู่ ต้องถอนพิษ แต่คิดว่าเราเดินมาถึงจุดที่ว่าทุกคนมีส่วนทำให้ต้นไม้นี้เป็นพิษ รวมทั้งปัจเจกเองที่เข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้ง ไม่สามารถชี้นิ้วที่สถาบันใดแห่งหนึ่งว่าเป็นความผิด ซึ่งถ้าชี้ได้ก็ไม่ต้องมีปรองดอง ถ้าเห็นร่วมว่ามีคนผิดกลุ่มเดียวก็แค่เอากลุ่มนั้นมาลงโทษแล้วขจัดออกไป แต่ที่ยากเพราะวิกฤติที่เกิดนี้เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องรับผิดชอบจึงต้อง ปรองดอง จุดเริ่มต้นของการปรองดองคือ การยอมรับว่ามีส่วนในความขัดแย้ง


"เนล สัน แมนเดล่า เริ่มต้นด้วยการปรองดองด้วยการไม่ยกตัวเองว่าเป็นพระเอก แต่เริ่มบอกว่าเขาผิดด้วย เขามีส่วนด้วย ฝ่ายตรงข้ามก็ต้องยอมรับและแมนเดล่าก็เรียกร้องให้เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งถ้าเป็นภาพพระเอก ผู้ร้าย มีขาว-ดำ ก็ไม่มีทางปรองดองได้ แต่แน่นอนว่า ตรงนี้ไม่ได้บอกว่าผิดเท่ากัน ต้องดูไปตามเนื้อผ้า กรณีไหนใครผิดก็ดูไปตามนั้น"


อ.ประจักษ์ กล่าวเสริมว่า ในสังคมเราใช้ผู้เชี่ยวชาญกันหมดแต่ยังไม่เห็นผลชัดเจน เราต้องเห็นใจท่าน บางคนเป็นกรรมการหลายชุด ปัญหาคือจะไม่ให้ประชาชนธรรมดาเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเหล่านั้นบ้าง หรือ ในกรณีแคนาดา มลรัฐโคลัมเบีย เคยตั้งประชาชนที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ มีการคัดสรร ได้ประชาชนมา 160 คน และเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็น นำเสนอสิ่งต่างๆ กับสภาประชาชน และจัดทำข้อเสนอออกมา ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ถูกนำโยนกลับไปให้ทำประชามติอีกที นี่จึงเป็นกระบวนการที่ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีส่วน และคู่ขัดแย้งได้มีส่วนร่วมตัดสินใจ ความสงบในสังคมไม่ต้องมองไกล วันเลือกตั้งขอให้เป็นไปอย่างยุติธรรมและผลการเลือกตั้งได้รับการยอมรับ โดยไม่มีการกดปุ่ม นี่จึงเป็นหนทางการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติ

การเมืองแบบเก่า เลือกตั้งหรือรัฐประหารก็ไม่ได้แก้วิกฤตการเมืองที่แท้จริง!


ด้าน ดร.นิธิ กล่าวว่า เรื่องเกี่ยวกับวิกฤตทางการเมืองความผิดหรือถูกอาจไม่ได้อยู่ที่ตัวบุคคล เพียงคนเดียว ที่ตนเข้าใจคือ เมื่อไหร่ที่พูดถึงวิกฤตคือภาวะที่ไม่สามารถใช้วิธีการเก่าแก้ปัญหาได้ วิกฤตทางการเมือง แค่ชนชั้นนำยอมรับผลการเลือกตั้งนั้นคิดว่าไม่พอ เพราะวิกฤตการเมืองไทยมาจากเรื่องที่ซับซ้อนกว่าคนทะเลาะกัน หรือคนมีสีต่างกัน กระบวนการเก่าคิดว่าจะไม่ช่วยให้ประเทศไทยหลุดจากวิกฤตรวมทั้งการเมืองแบบ ตัวแทน หากเฉพาะตัวการเมืองเองยังไม่ปรับเปลี่ยนนั้น ถามว่าประเทศไทยจะหยุดวิกฤตได้หรือไม่ ตนคิดว่าไม่


วิกฤตต้องไม่ดูแคบๆแค่ความแตกร้าวในสังคมไทย กลุ่มคนชนชั้นนำก็แตกกันด้วย ทั้งหมดเหล่านี้เป็นอาการของวิกฤต ตัวมันเองไม่ใช่วิกฤต เป็นอะไรที่ซับซ้อนอยู่ข้างล่าง ทั้ง นี้ คิดว่าวิกฤตที่เกิดขึ้น เกิดจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาในไทยตั้งแต่พ.ศ. 2475 เรื่อยมาสังคมค่อยๆเปลี่ยน ช้าบ้าง เร็วบ้าง ปัจจุบันเรากลายเป็นคนไทยอาศัยในเขตเมืองมากกว่าครึ่ง ไม่ว่าจะนิยามอย่างไรก็ตาม การเมืองในกระบวนการเก่าไม่ว่าจะมีหรือไม่มีรัฐประหารก็แก้ไม่ได้


ยก ตัวอย่าง กำลังแรงงานส่วนใหญ่ของไทย นั้นเราไม่ได้อยู่ในเกษตร แต่เป็นในภาคการผลิตและบริการเป็นส่วนใหญ่ ตัวเลขห่างกันเกือบสิบล้านคน การผลิตในไทยไม่ว่าจะเป็นด้านใด ถูกทำให้เป็นการผลิตเชิงพาณิชย์มาก ในภาคการเกษตร พอผลิตเชิงพาณิชย์เต็มตัวก็ขาดทุนมากขึ้น เพราะต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสูงขึ้นมาก เนื่องจากเข้าไม่ถึงทรัพยาการการผลิต ชาวนาที่ผลิตข้าวเต็มตัวไม่มีแม้แต่ที่ดินของตัวเอง เช่าที่ดิน คนที่ให้เช่าก็ขยับราคาเช่าตามราคาข้าว เมื่อไม่มีทุนหมุนการผลิต ก็ต้องกู้อย่างเช่นเอาเงินมาซื้อปุ๋ย ไม่มีเครื่องมือการผลิตอื่นๆ รวมทั้งแรงงานก็มี คนหนุ่มสาวไม่อยู่ในที่นา


เหล่านี้ต้องแก้ ปัญหาด้วยการปฏิรูปที่ดิน การเกษตร สาธารณสุข การศึกษา เพื่อทำให้คนพร้อมออกจากท้องนา เข้าสู่ภาคบริการโดยมีอำนาจต่อรอง ซึ่งเป็นเรื่องของคนหลาย 10 ล้านที่เป็นวิกฤตสำหรับคนเหล่านั้น โดยที่การเมืองไทยไม่ว่ารัฐประหารหรือเลือกตั้ง ไม่ได้สะเทือนต่อการเปลี่ยนแปลงจนถึงวันนี้


ใน ขณะเดียวกันคิดว่า ปัจจุบัน สังคมไทยผ่านการปฏิวัติข่าวสาร ข้อมูล ใครก็ตามที่จะปิดกั้นข่าวของคนนั้น ถือเป็นมนุษย์หิน ประเทศจีนยังทำไม่ได้ ไทยไม่ต้องพูดถึง แค่คนชั้นกลางในต่างจังหวัดเอง การยอมให้เกิดวิทยุชุมนุมในต่างจังหวัดเกิดผลมากพอสมควร


การที่ มีคนจำนวนมากเข้ามาชุมนุมในเมืองหลวง มีผู้คิดว่าคนเหล่านี้จน กรอบ คนที่มาในภาพของเสื้อแดงอาจอ้างว่าจน แต่จริงๆ แล้วไม่จนเท่าคน 6 ล้านคนที่มีฐานะยากจนจริงๆ ในประเทศไทย คนเหล่านี้ได้รับข่าวสาร ไม่ได้มาเพราะถูกหลอก สังคมได้รับการปฏิวัติข่าวสารแล้วไม่ใช่แบบเก่าอีกต่อไป


แรงงาน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมและบริการมากกว่าชาวนา ที่น่าตกใจคือ คนเหล่านี้พออยู่พอกินเพราะทำงานวันละ 12 ชั่วโมง จึงมีคนที่เป็นแรงงานแล้วอ่านหนังสือไม่ออก การที่รัฐเปิดให้เรียนฟรีก็ไม่เรียนเพราะไม่มีเวลา ต้องทำโอที การจ่ายค่าแรงทุกวันนี้ไม่อยากให้มองแค่ค่าแรงรายวัน ตราบเท่าที่ต้องทำงาน 12 ชั่วโมงเพื่อให้มีรายได้พอการพัฒนาคนเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยาก


อีกเรื่องคือ เรื่องรายได้และทรัพย์สิน อัตรา เงินเดือนของคนไทยมีความต่างกันมากที่สุดในหมู่ประเทศอาเซียน บัญชีเงินฝากในธนาคารหลายล้านบัญชี 80 เปอร์เซ็นต์มีเงินไม่เกิน 50,000 บาทในธนาคาร หากจำตัวเลขไม่ผิดมีเพียงแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ที่มีงานฝากมากกว่าจำนวนดังกล่าว ฉะนั้นถ้าถามว่าการเลือกตั้งเป็นคำตอบหรือไม่ บอกได้เลยว่าไม่ใช่วิธีที่จะแก้วิกฤตเหล่านี้หากไม่มีคนสนใจ


แต่ ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าการเลือกตั้งไม่มีความสำคัญ โดยเฉพาะช่วงนี้ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 สิ่งที่คิดว่าหายไปคือ "อาญาสิทธิ์" หรือความชอบธรรม อำนาจที่คนยอมรับว่าเราไม่ชอบหน้าคนอื่น แต่ยอมรับว่าคนนั้นมีอำนาจตามกฎหมาย หรือ วัฒนธรรมอะไรก็แล้วแต่นั้น "ต้องมี" ตั้งแต่การรัฐประหารปี 49 ถ้าเราไม่ชอบทักษิณแต่ต้องยอมรับ เพราะได้รับการเลือกตั้งมา เราค่อยๆทำลายอาญาสิทธิ์ไปทีละอย่าง เวลานี้เหลืออะไรที่เป็นที่ยอมรับ เลิกนับถือครู, พระ หรืออื่นๆก็ถูกทำลายหมด ด้วยเหตุนี้ ความปรองดองต้องเริ่มสถาปนาอาญาสิทธิ์ที่คนยอมรับ สิ่งที่คนเห็นตรงกันว่ายอมรับผลการเลือกตั้งนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เป็นอาญาสิทธิ์ในการยอมรับ แล้วสร้างรัฐบาลที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้ แม้ว่าจะไม่เป็นที่ชอบขี้หน้าของทุกฝ่ายก็ตาม


"ในเรื่องความ ปรองดอง คิดว่าถึงทุกวันนี้ เวลาพูดเรื่องนี้กำลังพูดถึงการปรองดองในการเมืองแบบชนชั้นนำ ถ้าทักษิณได้รับเงื่อนไขที่พอจะลงมานั่งโต๊ะเจรจากับคู่ค้านได้ ทุกอย่างก็จบกัน การเกี้ยเซียะ เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองชนชั้นนำไทยตลอดมา แต่คิดว่า มันไม่ได้เป็นจุดปรองดองในตอนนี้ จนกว่าจะกลับไปแก้วิกฤตข้างต้นได้ ถึงแม้ว่าทักษิณจะกลับมาเมืองไทยด้วยการเกี้ยเซียะกับอำนาจของชนชั้นนำที่ เหลืออยู่ ถามว่าคนไทยจะอยู่กันโดยรักใคร่หรือไม่ "จะรักคนที่มีที่ดินเป็นหมื่นไร่ มีเงินฝากเป็นพันล้าน แต่ไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนจ่ายค่าเทอมลูก ผมรักไม่ลง"


โดยสรุป อย่า เพิ่งหวังว่าจะเกิดโอกาส อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่จากการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้หมายความว่าการเลือกตั้งไม่สำคัญ แค่อย่าฝากเอาไว้ที่การเลือกตั้งอย่างเดียว แต่คิดว่าต้องสร้างกลุ่มประชาสังคมที่เป็นผู้ผลักดันการเคลื่อนไหวให้นักการ เมืองเข้ามาสนใจ เสนอแก้ปัญหาที่ช่วยแก้วิกฤติที่แท้จริงของสังคมไทย


ดร.นิธิ กล่าวเสริมเรื่องผลการเลือกตั้งว่า คิดว่าถ้าสมมติมีการลากคอไปเจรจาในค่ายทหารก็ทำลายความชอบธรรมของตัวเอง แต่ใช้วิธีการเจรจาเบื้องหลังจ่ายค่าตอบแทน ก็เป็นการทำลายเช่นกัน ส่วนการเคลื่อนไหวทางการเมืองบนท้องถนนนั้น หากไม่มีรัฐประหารก็คงจะซาลงเอง

จัดการภาษี สวัสดิการ และชำแหละรัฐธรรมนูญปี 50


ดร. นันทวัฒน์ กล่าวว่า หลังการเลือกตั้งต้องยอมรับผล รวมไปถึงคิดให้ดีว่าการปรองดองมีขอบข่ายมากแค่ไหน และเมื่อเลือกตั้งแล้วบทบาทของพรรคเล็กควรต้องดำเนินการตรวจสอบพรรคร่วม รวมไปถึงต้องมีการตรวจสอบที่เข้มแข็ง

ด้านการนิรโทษกรรม ในประเด็น "การตัดสิทธิทางการเมือง" คิดว่า น่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่า ส่วนเรื่องความเป็นไปได้ของการ "คืนเงิน" เป็นเรื่องซับซ้อนและยากมากกว่า

ใน ส่วนประเด็นหลังเลือกตั้ง จะเป็นวิกฤตหรือโอกาส คิดว่าในฐานะนักกฎหมายมองว่าปัญหาอาจเกิดจากฎหมายเป็นหลัก คิดว่าควรเอารัฐธรรมนูญ ปี 50 มาขึงพืด เอามาดูกันใหม่ รัฐธรรมนูญต้องเป็นสิ่งที่แรกที่ต้องปรับ การเขียนที่ดูเรื่องโครงสร้างแบบระบบเดิมๆไม่ได้แล้ว

การหา เสียงอาจต้องมีการกำหนดทิศทางข้างหน้าว่าเราจะเป็นรัฐสวัสดิการแบบ ถ้วนหน้าหรือไม่ หรือเป็นแบบรัฐสวัสดิการเฉพาะกลุ่ม ตามรายได้ซึ่งเป็นไปตามสภาพสังคม รัฐธรรมนูญ ในทางปฏิบัติเท่าที่ควรเป็นควรพูดถึงเรื่องสวัสดิการที่จะให้ประชาชนได้ครบ เพราะไม่อย่างนั้นพรรคการเมืองก็จะแย่งเอามาเป็นผลงานในการหาเสียง

สิ่ง หนึ่งที่ประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการไม่ได้ เนื่องจากตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมามีแต่ความพยายามที่จะพูด แต่ไม่มีความพยายามที่จะทำ อีกอย่างก็คือว่า จะเอาเงินมาจากไหน มันมีรูปแบบจำนวนมากที่ต่างประเทศใช้กัน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีมรดก เก็บภาษีที่ดินที่เกินจากการประกอบอาชีพ รัฐควรกำหนดภาษีให้ชัดเจนเพื่อจัดเก็บภาษีเหล่านั้น แล้วนำมาจัดทำเป็นสวัสดิการ เมื่อมีสวัสดิการที่ดี คิดว่าปัญหาบ้านเราก็จะแก้ได้ส่วนหนึ่ง แม้จะมีความต่างในเรื่องเงินเดือนของแต่ละคน แต่สวัสดิการพื้นฐานแล้วทุกคนก็ควรจะได้ ส่วนการเก็บภาษีก็ค่อนข้างยากในรัฐบาลที่เป็นนายทุน รัฐบาลใหม่ต้องกล้า เราแค่พยายาม แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

"ในทางนิติศาสตร์ ถ้า ทุกอย่างเป็นไปตามกฎกติกาที่ถูกต้องไม่มีใครตุกติก ตรงนี้คิดว่าต้องยอมรับ ผมค่อนข้างชัดว่า หลายๆครั้งเราไม่ชอบบุคคล หรือพรรค ถ้าไปดูในต่างประเทศเขาก็อยู่ในสภาพเดียวกัน ประชาชนก็รวมตัวหากระบวนการตรวจสอบ แล้วไปรอการเลือกตั้งครั้งหน้า ระหว่างทางก็ตรวจสอบนโยบาย สิ่งที่ติดกันบนป้ายข้างถนนนั้นจะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าพรรคการเมืองหา เสียงให้แค่ได้เป็นรัฐบาลหรือทำให้ประชาชนได้ตามแบบที่พูด"

น้ำตาเทียม

ที่มา ข่าวสด

เหล็กใน
มันฯ มือเสือ



กรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขึ้นไปปาดน้ำตาหาเสียงบนเวทีราชประสงค์

ทั้งยังเปิดข้อมูลใหม่ที่ไม่เคยมีใครรู้ว่าคืนวันที่ 10 เม.ย.53 เป็นคืนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้องไห้นานที่สุดในชีวิตการเมือง

ก่อนถึงวันเลือกตั้ง 3 ก.ค.

ไม่มีใครรู้ว่าน้ำตานายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ จะช่วยแก้ไขสถานการณ์พรรคประชาธิปัตย์ให้กระเตื้องขึ้นได้หรือไม่

แต่หากฟังจาก คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ผู้ สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยกล่าวเย้ยหยันกรณีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร้องไห้บนเวทีบ้านเกิด จ.เชียงใหม่ ในช่วงแรกของการหาเสียง

ก็เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น

"น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะไปร้องไห้บนเวทีปราศรัยก็คงไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้ เพราะสำคัญที่สุดของการแก้ปัญหาคือการเป็นคนดี"

อย่างไรก็ตามคนทำให้นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ไม่ต่างจากนักแสดงละครน้ำเน่า กลับไม่ใช่คุณหญิงกัลยา

แต่เป็น นางคำจันทร์ แสงจันทร์ ชาว อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ แม่ของ นายวุฒิชัย วราห์คำ อายุ 22 ปี ช่างอู่รถแท็กซี่

1 ในเหยื่อ 91 ศพจากเหตุการณ์เดือนพ.ค. 53

นางคำจันทร์ ร่ำไห้ระบายความทุกข์ใจต่อหน้านายอภิสิทธิ์ ระหว่างหาเสียงที่ อ.ปทุมราชวงศา พร้อมกับรัวคำถามใส่เป็นชุด

ลูกชายมีชื่ออยู่ใน 91 ศพ แต่ทำไมนายกฯ ไม่ดูแล? ตายมาเป็นปีกลับไม่มีใครออกมารับผิดชอบหรือพูดความจริง?

ที่มาวันนี้เพราะอยากรู้ความจริงว่าที่ลูกตายเกิดจากอะไรกันแน่? รัฐบาลจับผู้กระทำผิดได้บ้างหรือเปล่า? คดีคืบหน้าไปแค่ไหน?

ชายชุดดำที่รัฐบาลกล่าวหานั้น มาจากไหนและเป็นใคร?

ตลอดเวลา 1 ปีไม่มีคำตอบ ทำให้นางคำจันทร์ บอกว่ายังโกรธรัฐบาลอยู่ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตที่ยอมรับไม่ได้

โกรธ ตรงที่ว่าทำไมนายกฯ ไม่ออกมาดูตั้งแต่ตอนแรก ว่าประชาชนที่สูญเสียเขาเป็นอย่างไร อยากให้นายกฯ รับทราบบ้างว่าคนต่างจังหวัดเขาเป็นอย่างไร รู้สึกกันอย่างไร

คำถามนางคำจันทร์ คือสิ่งทำให้ความหวังเฮือกสุดท้ายของนายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ ที่ฝากไว้กับ'น้ำตา'บนเวทีราชประสงค์

ต้องพังทลายลงอย่างสิ้นเชิง

ธิดาบุกกกต. จี้แก้วิธีกาสส.รายชื่อ

ที่มา ข่าวสด

วุฒิฯถกบัตรเลือกตั้ง พท.โวยชื่อพรรคเล็ก จตุพรส่งหนังสือแจง สาเหตุไม่ได้ใช้สิทธิ์


นปช.ยื่น กกต.เปลี่ยนกฎใหม่ วิธีเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ เสนอให้กาหลังหมายเลข แทนหลังชื่อพรรค กันบัตรเสีย ทดสอบพบส่วนใหญ่กาผิด ขณะที่ "ลายจุด" จับตาโค้งสุดท้าย แฉจังหวัดใหญ่ภาคอีสานซื้อเสียงกันแล้ว หัวคะแนนเคาะตามบ้าน คาด 3 ก.ค. แท็กซี่กรุงหายแทบหมด โชเฟอร์กลับบ้านเข้าคูหา ทนายรุดหารือ "จตุพร" หาช่องทางรักษาสิทธิ์ เหตุออกจากคุกไปเลือกตั้งไม่ได้ หวั่นพ้นสภาพส.ส. "ณัฐวุฒิ" ชี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่กกต.ไม่มีอำนาจชี้ขาด ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ด้าน กกต.วิสุทธิ์ แนะให้ทำเรื่องแจ้งนายทะเบียนท้องถิ่น ชี้แจงสาเหตุ ส่วน "ประพันธ์" ก็ยันไม่เสียสิทธิ์ เว้นแต่ศาลจะมีคำพิพากษาจำคุก

เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ที่ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว นางธิดา โตจิราการ รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แถลงว่า จากการเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมา จะเห็นถึงข้อผิดพลาดของคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ไม่มีการประชาสัมพันธ์เรื่องรายชื่อประชาชน ที่ตกค้างจากการเลือกตั้งเมื่อปีพ.ศ.2550 ทำให้หลายคนเสียสิทธิการเลือกตั้ง และเรื่องเวลาใช้สิทธิ์ตั้งแต่ 08.00-15.00 น. ก็น้อยเกินไปเพียงแค่ 7 ชั่วโมงเท่านั้น จึงอยากให้ขยายเวลาเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีบางอย่างที่ไม่ชอบมาพากล ส่อทุจริต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่กาช่องเบอร์ 1 ไม่ค่อยติด

นางธิดา กล่าวว่า รวมถึงคำสั่งของกกต.ที่พิมพ์ข้อความในบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ว่าให้ทำเครื่องหมายกากบาท ภายในช่องทำเครื่องหมายด้านขวามือของหมายเลขพรรค การเมืองเพียงหมายเลขเดียวเท่านั้น ทาง นปช. ทราบว่าพรรคเพื่อไทยได้ทดสอบให้กาบัตร เลือกตั้งดังกล่าว ปรากฏว่า 9 ใน 10 คน ที่ตั้งใจลงคะแนนให้หมายเลข 1 กากบาทผิดช่อง โดยไปกากบาทหลังหมายเลข 1 แต่คำสั่งของ กกต.ต้องการให้กากบาทหลังชื่อพรรค ซึ่งอาจจะทำให้เกิดบัตรเสียได้ จึงอยากให้ กกต.เป็นผู้พิจารณา ไม่ว่าจะทำเครื่องหมายลงในช่องด้านขวาของหมายเลข หรือหลังชื่อพรรค ก็ไม่ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย โดยในวันที่ 30 มิ.ย. เวลา 10.00 น. นปช.จะนำจดหมายร้องเรียนไปยื่นกกต. เพื่อพิจารณาถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นด้วย

"ในวันที่ 3 ก.ค.นี้ ถือเป็นภารกิจที่สำคัญ เพราะทาง นปช.จะเปิดรับสมัครอาสาสมัครคนเสื้อแดง เพื่อตรวจสอบตามหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศ เมื่อใช้สิทธิ์การเลือกตั้งแล้ว ก็อยากจะให้อยู่สังเกตการณ์จนถึงขั้นตอนของการนับคะแนน เพื่อป้องกันการทุจริตโกงเลือกตั้ง หากผลการเลือกตั้งออกมาด้วยความโปร่งใส พวกเราจะยอมรับ แต่หากไม่โปร่งใส พวกเราคงจะยอมไม่ได้เช่นกัน" นางธิดา กล่าว

รักษาการประธานนปช. กล่าวต่อว่า นอก จากนี้ เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา มีหนังสือชื่อ "เสนาธิปัตย์" เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงยุทธการกระชับพื้นที่ บ่งบอกถึงความสำเร็จในการปราบปรามประชาชน ที่ทำให้ประชาชนสูญเสียชีวิตถึง 91 ศพ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ทางทหารที่บอกว่า ทำให้ประชาชนที่มาเรียกร้องทางการเมืองโดยสงบสันติ กลายเป็นการสู้รบในเมือง ที่ไพร่ใช้การสู้รบเต็มรูปแบบ

ขณะเดียวกัน นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง กล่าวถึงการรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.ว่า เป็นช่วงสุดท้ายที่พรรคการเมืองต่างๆ หาเสียงกันคึกคัก สำหรับตนเองนับจากนี้คงใช้เวลาอยู่ในศูนย์เฝ้าระวังการโกงเลือกตั้ง 54 ที่ชั้น 5 ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว เพื่อรับข้อมูลการทุจริตการเลือกตั้ง จากสมาชิกที่ลงพื้นที่ไปแล้วหลายจังหวัด ล่าสุดสมาชิกแจ้งข้อมูลพบสิ่งผิดสังเกต อาจมีการโกงการเลือกตั้งเข้ามาจำนวนมาก โดยเฉพาะจังหวัดใหญ่ๆ ในภาคอีสาน พบกลุ่มหัวคะแนนเคาะประตูบ้าน เสนอเงินให้ชาวบ้านเลือกพรรค และคนของตัวเอง หากเป็นชาวบ้านทั่วไปจ่ายหัวละ 100-300 บาท หากเป็นระดับผู้นำชุมนุมหัวละ 1,000 บาท หรือมากกว่านั้น

แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง กล่าวว่า มีหลายจังหวัดที่หัวคะแนนพรรคการเมืองไม่กล้าเสนอเงินให้ชาวบ้าน เพราะกลัวถูกร้องเรียน และชาวบ้านหลายคนที่เคยถูกเสนอเงินให้ ก็บอกคนที่แจกว่าหากเอาเงินมาให้ก็จะรับไว้ แต่ไม่เลือก ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของการเลือกตั้งครั้งนี้ ชาวบ้านตื่นตัวกับการเลือกตั้งมาก และใช้ความคิดในการเลือกผู้แทนของเขามากขึ้น ส่วนหนึ่งมีผลมาจากคนเสื้อแดง ที่ประจำอยู่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ทุกภาคคอยจับตาดูการเลือกตั้ง เมื่อพบพิรุธก็จะแจ้งมายังศูนย์ ทำให้สามารถสกัดกลโกงต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เชื่อว่าวันที่ 3 ก.ค. จะมีประชาชนออกไปใช้สิทธิ์กันทั่วประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มแท็กซี่ เชื่อว่าในวันนั้นจะเดินทางกลับไปเลือกตั้งยังจังหวัดภูมิลำเนา จะไม่มีแท็กซี่เหลือวิ่งในกรุงเทพฯ


อ่านรายละเอียดทั้งหมดคลิ้ก ข่าวสด

ภาพคุณปู คุณโอ๊ค คุณเอม คุณอิ๊ง มีนบุรี-หนองจอก 30/06/54

ที่มา blablabla




เก็บตก ภาพคุณปู ยิ่งลักษณ์ 29/06/54

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน
คุณ ปู ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปราศรัยหาเสียงจ.สุรินทร์,อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ แวะเยี่ยมศูนย์เรียนรู้นวัตกรรม บ้านป้าน้อย ต.บ้านลิ่มทอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ 29 มิ.ย. 54





















ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 30/06/54 ช้างเน่าทั้งตัว..ใบบัวปิดไม่มิด

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน



สร้างระยำ ต่ำช้า พาวิบัติ
เลวเยี่ยงสัตว์ ใจโหด แถมโฉดชั่ว
หลงอำนาจ วาสนา จนตามัว
ไล่เลียงตัว โสมม สมพรรคเลว....

สันดานทราม หยามหยัน มันสร้างเท็จ
ซ้ำหมกเม็ด อำพราง อย่างแหลกเหลว
ด้วยสามานย์ จัญไร สุมไฟเปลว
สุดแสนเลว เกินค่า มาบรรยาย....

มันคือเหตุ บ้านเมือง เรื่องวุ่นวุ่น
ยิ่งคุกรุ่น ยิ่งทับถม จนจมหาย
คือพวกมัน ที่สั่งล่า ฆ่าคนตาย
ยังใส่ร้าย เหยียบย่ำ อย่างช่ำชอง....

เปรียบช้างเน่า ทั้งตัว ใบบัวปิด
หาได้มิด คิดแต่ชั่ว ให้มัวหมอง
เพราะคนรู้ คนเห็น เป็นครรลอง
ตามจดจ้อง เรื่องระยำ ที่ทำมา....

จะปกปิด บิดเบือน ให้เลือนหาย
หวังทำลาย หลักฐาน บงการฆ่า
แล้วพลิกลิ้น โหยหวน ชวนเวทนา
บีบน้ำตา โกหก พูดพกลม....

หวังคะแนน พลังเงียบ ให้เรียบวุธ
คิดยื้อยุด ฉุดคร่า มาทับถม
หวังหลอกให้ มึนงง หลงคารม
ใครโง่งม อยากกินหญ้า ไม่ว่ากัน....

๓ บลา / ๓๐ มิ.ย.๕๔

"ครป." และ "กลุ่มสยามสามัคคี" : กลไก "อำมาตยาธิปไตย" เพื่อทำลาย "ประชาธิปไตย”

ที่มา ประชาไท

โค้ง สุดท้ายก่อนเลือกตั้ง นอกจากฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ให้สุวิทย์ คุณกิตติ เดินเกมคลั่งชาติ ถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะขานรับ เพื่อสร้างคะแนนนิยมที่ประชาชนอาจไม่นิยม และอาจก่อให้เกิดสงครามโดยใช่เหตุในอนาคตก็เป็นไปได้

ฝ่ายอำมาตยา ธิปไตย ยังได้ให้เครือข่าย ในนาม คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย หรือครป. ซึ่งควรเปลี่ยนเป็นคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการรัฐประหาร ต่างหาก เนื่องเพราะสนับสนุนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 สมัยสุริยะใส กตสิลา เป็นเลขาธิการ

ครป ออกแถลงการณ์ ในนามของ สุริยันต์ ทองหนูเอียด ใช้วาทกรรม ทิ่มแทงนักการเมืองอันเป็นวาทกรรมเดียวกันของพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย

เพียงแต่เนียมอายไม่เสนอให้โหวตโนโดยตรงเท่านั้นเอง แต่ถ้าตีความข้อเสนอก็เพื่อต้องการให้โหวตโนได้เช่นกัน

วาทกรรมที่มีนัยยะว่า “ประชาชนโง่ ตามนักการเมืองไม่ทัน”

คิดว่า “ประชาชนเข้าใจว่าการเลือกตั้งเท่ากับประชาธิปไตย”

แต่ สี่ห้าปีที่ผ่านมาหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มิอาจทราบได้ว่าค รป. ไปหมุดดินอยู่หนใด ไม่รู้เลยหรือว่า ประชาชน โดยเฉพาะคนเสื้อแดง ผู้รักประชาธิปไตย เขาเคลื่อนไหวมาตลอดไม่ว่าเรื่องเสรีภาพในการพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น

ยังมีเรื่องสำคัญๆ เช่น เรื่องเอาคนสั่งฆ่าประชาชนมาลงโทษ เรื่องไม่ให้ทหาร มือที่ไมองไม่เห็นอำนาจนอกระบบแทรกแซงการเมือง เรื่องปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม เรื่องสองมาตรฐาน เรื่องนิติรัฐนิติธรรม เป็นต้น

เท่ากับว่า ประชาชน มองว่า “ประชาธิปไตยต้องมากกว่าการเลือกตั้ง แต่ประชาชนเขาไม่ปฏิเสธว่าการเลือกตั้งสำคัญต่อประชาธิปไตย” ต่างหาก

ใน แถลงการณ์ของ ครป. ยังได้สร้างวาทกรรม “เผด็จการรัฐสภา” เฉกเช่นฝ่ายอนุรักษ์นิยมอำมาตยาธิปไตยกระทำมาโดยตลอดภายหลังการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475

เพียงหวังเพื่อมิให้ระบบรัฐสภา เพื่อมิให้ระบอบประชาธิปไตยได้มีกระบวนการพัฒนา เติบโตอย่างมั่นคง และเพื่อให้ระบอบอำมาตยาธิปไตยครองอำนาจการเมืองเผด็จการเบ็ดเสร็จอำนาจนิยม เหมือนเดิมเท่านั้นเอง

ครป.ได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายประชานิยมของ พรรคการเมืองเหมือนนักวิชาการ เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ว่าเอาเงินในอนาคตมาใช้ ทำให้เสียวินัยทางการคลัง และถ้าถามกลับว่าการเสียวินัยทางการคลังของระบบทุนนิยมเท่ากับว่า

“เอา เงินการคลังมารักษาชีวิต มาดูแลสุขภาพประชาชน มาลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ดีกว่าเอาเงินการคลังไปซื้ออาวุธ ไปปราบปรามสังหารประชาชน ควรกระทำหรือไม่? “

อย่างนี้ควรเสียวินัย ควรเอาเงินในอนาคตมาใช้หรือไม่?

ทีจริงแล้ว นโยบายประชานิยม เป็นจุดเริ่มต้นของรัฐสวัสดิการ ต่างหาก (มีรายละเอียดมากมิอาจเขียนในที่นี้ได้)

นอก จากนี้แล้ว แถลงการณ์ของครป. ก็ไม่ต่างกับ อานันท์ ปันยารชุณ ประเวศ วะสี เสนอให้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม แต่กลับไม่เสนอแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางการเมืองอันเป็นรากเหง้าปัญหาความ เหลื่อมล้ำทางสังคมทั้งปวง

เพราะกลไกอำมาตยาธิปไตย ย่อมคิดทางเดียวกัน บิดเบือนความหมายของ”ประชาธิปไตย” เหมือนกัน

เอาเข้าจริง ครป. ต่างหากที่บิดเบือนประชาธิปไตย และยังมองว่าประชาชนไม่เข้าใจประชาธิปไตยอยู่

พูดในตรรกะเดียวกัน ประชาชนโง่ หรือครป. โง่กันแน่ ?

หัน มามอง กลุ่มสยามสามัคคี อีกกลไกหนึ่งของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย นำโดยเจ้าเก่าสมชาย แสวงการ ประสาร มฤคพิทักษ์ สว.ลากตั้งมรดกจากคณะรัฐประหาร ชัยวัฒน์ สุรวิชัย พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย สันติสุข โสภณสิริ สามีของรสนา สว. นักอนุรักษ์นิยมอำมาตยาธิปไตย ได้ขึ้นป้ายรณรงค์ว่า

"ไม่เลือกคนเผาบ้านเผาเมือง "

คนเหล่า นี้สรุป แล้ว มีธงอยู่แล้วว่าใครเผาบ้านเผาเมือง เขาเหล่านั้นจึงหาได้ใช้สัมมาฐิติ หลักกาลามสูตร และ หิริโอตัปปะเพ่งพินิจแต่อย่างใด ?

เท่ากับว่าเสนอให้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ โดยไม่เคยสนใจใยดีเลยว่า

“.ใครฆ่าประชาชน 92 ศพ ใครคือฆาตรกร ใครต้องรับผิดชอบ ?“

แม้ว่าบางคนของกลุ่มสยามสามัคคีจักกระทำตนเสมือนเจริญรอยตามพระพุทธเจ้าก็ตาม หรือชอบอ้างคำว่า “คนดีมีศีลธรรม” ก็ตาม

ปรากฎการณ์ ที่เห็นและเป็นอยู่ ชี้ให้เห็นว่า หาต้องการ “สยามสามัคคี” อย่างใดไม่ ? แต่จะเลือดเย็นหรือไม่? มิอาจหยั่งรู้ได้

แต่ที่แน่ๆ ครป.และกลุ่มสยามมัคคี เป็นเพียงกลไกหนึ่งของ”ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย” เพื่อทำลายความชอบธรรม “ฝ่ายประชาธิปไตย” เท่านั้นเอง

ทัศนคติ ... ที่ (ยัง) เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย

ที่มา ประชาไท

ผู้ เขียนเองได้ร่วมเรียกร้องให้ทุกภาคส่วน “เคารพ” เสียงประชาชนผ่านบทความที่ลงตีพิมพ์ในมติชนรายวันเมื่อ 9 มิถุนายน 2554 ที่เพิ่งผ่านไป อย่างไรก็ตาม แม้การตอบรับที่มีมายังผู้เขียนจะค่อนข้างดี (มีผู้เห็นด้วยเป็นอันมาก) แต่ก็มี “ความรู้สึก” เล็กๆ แนบมาด้วยทำนองว่า “ขอให้เป็นเสียงที่แท้จริงของประชาชน” จะได้ไหม ?

ความรู้สึกกังวล ว่าเสียงประชาชนเป็นเสียงที่ถูกซื้อได้เกิดขึ้นในสังคม ไทยมาเนิ่นนานเต็มที ความจริงก็คือการซื้อสิทธิ์ขายเสียงนั้นได้มีอยู่จริงในกระบวนการ ประชาธิปไตยไทยอย่างยากที่จะปฏิเสธ สาเหตุเกิดจากทั้งตัวนักการเมืองและประชาชนเองอยู่ในช่วงเริ่มต้นของหน่อ เนื้อประชาธิปไตย

ความผิด (จากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์) ในอดีตของคนในชนบทรุ่นก่อนทำให้มี “ราคาที่ต้องจ่าย” เกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่ที่มีพัฒนาการประชาธิปไตยก้าวรุดหน้าไปจากเดิมมาก

แม้ไปเลือกตั้งด้วยความบริสุทธิ์ใจ ก็ยังอาจถูกตั้งคำถามว่ารับเงินเขามาลงคะแนนหรือเปล่า

กล่าวสำหรับคนเมืองที่ยังคงคลางแคลงใจกับคะแนนเสียงของคนชนบทนั้น ถึงเวลาที่เราอาจต้องปรับทัศนคติในเรื่องนี้กันเสียใหม่

ต่อให้คะแนนเสียงนั้นถูกซื้อหามา เราก็ยังต้องอดทนยอมรับเพื่อรักษาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนี้เอาไว้

อย่าว่าแต่ยามนี้ คนในชนบทได้พากันตื่นตัวอย่างขนานใหญ่ในเรื่องของประชาธิปไตยจนร่ำๆ จะแซงหน้า “คนเมือง” ไปหลายองคุลีแล้ว

เราคงต้องประคับประคองวิถีทางประชาธิปไตยไป พัฒนาคุณภาพของผู้คนไปพร้อมๆ กัน โดยเลือกเอาระบอบให้คงไว้ก่อนเป็นสำคัญ

ไม่ ใช่เอะอะก็มาบอกว่า ใครต่อใครที่เราสงสัยซื้อสิทธิ์ขายเสียง “ไม่ได้แล้ว .... มันแย่มากเลย “.... แล้วกวักมือเรียกอำนาจพิเศษให้ออกมาทำปฏิวัติ

ประเทศไทยก็เลยติดหล่มจมปลัก...วนอยู่แต่ในเขาวงกต

ไปไหนไม่ถูกอย่างที่เกิดขึ้นช่วง 4 – 5 ปี มานี้

ประชาธิปไตย ของประเทศไทยนั้น แปลกประหลาดที่สุดในโลก พอยุบสภาเสร็จต้องมานั่ง “เกร็ง” กันว่าจะมีเลือกตั้งไหม ครั้น กกต.ประกาศจัดเลือกตั้งกำหนดวันแน่นอนแล้ว ยังต้อง “เกร็ง” กันต่อว่า “โค้งสุดท้าย” จะมีใครแอบมากิน 3 ต่อเข้าฮอร์สหรือไม่ !

ชนชั้นกลางที่เป็นพลังเงียบ จึงอาจต้องเข้าใจให้ได้โดยเร็วว่า ประชาธิปไตยบ้านเรานั้น มีโอกาสที่จะถูกบิดเบือนให้ออกนอกลู่นอกทางได้ตลอดเวลา

การได้รัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้ง และประคับประคองให้อยู่ครบวาระ 4 ปีอย่างต่อเนื่อง จึงเป็น “โมเดล” ที่พวกเราอาจต้องช่วยกันดูแลให้เกิดขึ้นให้จงได้

และวิธีเดียวที่จะให้ได้รัฐบาลแบบนี้ก็คือ ให้ความเคารพต่อเสียงประชาชนที่พากันออกมาลงประชามติในวันเลือกตั้ง

อย่าได้เผลอไปสงสัยเรื่องความบริสุทธิ์ของคะแนนเสียง

ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ กกต. ซึ่งเป็นกรรมการกลางอำนวยความยุติธรรมอย่างเต็มกำลังความสามารถ ทำหน้าที่ตรงนี้

เพราะพลันที่เราสงสัย... ก็จะมีคนสวมรอยขยายผลพร้อมกับเรียกร้องหาอำนาจพิเศษในฉับพลันทันใด

ทัศนคติดังกล่าวนี้ยิ่งเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตยในบ้านเรา เมื่อไปเกิดกับนักการเมือง ทั้งที่คร่ำหวอดและไม่คร่ำหวอดทั้งหลาย

ข้อ สังเกตที่นักการเมืองจำพวกนี้ชอบตั้งก็คือ ถ้าประชาชนไปเลือกพรรคที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม จะเป็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียงทันที แต่ถ้าเลือกพรรคตนคือเสียงบริสุทธิ์

ทัศนคตินี้เองที่บั่นทอน นักการเมืองระดับปูชนียบุคคล และพรรคเก่าแก่บางพรรค เพราะไป “ปรามาส” หรือ “ดูถูก” ประชาชนจากการพูดเช่นนี้บ่อยๆ จนทำให้ไม่ได้ที่นั่ง ส.ส. แทบจะยกภาคกันเลยทีเดียว

กล่าวโดยสรุป คุณภาพของระบอบประชาธิปไตยไทยจะพัฒนาขึ้น ถ้าทุกภาคส่วนช่วยกันประคับประคองให้อำนาจจากประชาชนคงอยู่อย่างมั่นคงสถาวร ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็โดยที่ทุกองคพยพต่างพากันให้ความเคารพต่อเสียงประชาชน ผู้ไปลงคะแนนที่คูหาเลือกตั้ง โดยปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ

‘ทักษิณ’ กับ ‘อภิสิทธิ์’ ในการเผชิญปัญหา ‘ความชอบธรรม’

ที่มา ประชาไท

ความ ชอบธรรมทางการเมือง อาจมองจาก 2 ส่วนหลักๆ คือ 1) ความชอบธรรมตามกติกา 2) ความชอบธรรมตามมโนธรรมทางสังคม หรือความรู้สึกของสังคม การยอมรับของประชาชน

น่าสนใจว่า หากเราลองเปรียบเทียบวิธีการเผชิญปัญหาความชอบธรรม ระหว่างคุณทักษิณและคุณอภิสิทธิ์ช่วงกึ่งทศวรรษมานี้ เราจะเห็นอะไรบ้าง ขอยกตัวอย่างกรณีต่อไปนี้

กรณีที่ 1: การเผชิญ ปัญหาความชอบธรรมเรื่อง “ขายหุ้นไม่เสียภาษี” คุณทักษิณอ้าง “ความชอบธรรมตามกติกา” ว่า ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย เพราะตามกฎหมายการซื้อ-ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษี แต่ในสถานการณ์เวลานั้นกระแสสังคมไม่พอใจคุณทักษิณสูงมาก ฉะนั้น แม้คุณทักษิณจะมีความชอบธรรมในแง่กติกา แต่ในแง่ “มโนธรรมทางสังคม” หรือความรู้สึกของประชาชนดูเหมือนคุณทักษิณจะสูญเสียความชอบธรรมไปมาก

แต่ ข้อสังเกตคือ เมื่อคุณทักษิณรู้ตัวว่า ตนเองสูญเสียความชอบธรรมในแง่มโนธรรมทางสังคมไปมาก และต้องเผชิญกับการกดดันของพันธมิตร การขอเสียงสนับสนุนจากพรรคไทยรักไทยเพื่อเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยประชาธิ ปัตย์ คุณทักษิณก็ตัดสินใจแก้ปัญหานี้ด้วยการยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชน

การ ตัดสินใจยุบสภาเลือกตั้งใหม่ มีความชอบธรรมในสองความหมายคือ 1) เป็นการเดินตามกติกาประชาธิปไตย 2) เคารพต่อมโนธรรมทางสังคม โดยคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสิน

แต่ในกรณีดังกล่าวนี้ คุณอภิสิทธิ์ขอเสียงสนับสนุนจากพรรคไทยรักไทยเพื่อเปิดอภิปรายคุณทักษิณ เมื่อไม่ได้ และคุณทักษิณยุบสภา คุณอภิสิทธิ์กลับบอยคอตการเลือกตั้งและชวนพรรคการเมืองอื่นๆ บอยคอตการเลือกตั้งด้วย ความชอบธรรมของคุณอภิสิทธิ์ในกรณีนี้คือ 1) ไม่ผิดกติกา 2) มีกระแสสนับสนุนจากประชาชนจำนวนหนึ่ง แต่ก็มีประชาชนจำนวนมากที่ไม่พอใจการกระทำนั้น อย่างน้อยก็คือประชาชนจำนวนมากที่เลือกพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง 2 เมษา 49

แต่หากพิจารณาเหตุผลของคุณอภิสิทธิ์ตอนนั้นที่ว่า คุณทักษิณยุบสภาเพราะเห็นว่าตนเองได้เปรียบ ถ้าเลือกตั้งตนตองชนะแน่ๆ เหตุผลเช่นนี้จึงเป็นเหตุผลเพื่อผลประโยชน์ของตนเองไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ ของชาติ เราก็ย้อนถามคุณอภิสิทธิ์ได้เช่นกันว่า ที่คุณอภิสิทธิ์รู้ว่าตนเองเสียเปรียบ ลงเลือกตั้งต้องแพ้แน่ๆ จึงบอยคอตการเลือกตั้ง เหตุผลเช่นนี้เป็นเหตุผลเพื่อประเทศชาติอย่างไร

ฉะนั้น ตรรกะทำนองนี้มันฟ้องถึงภาวะผู้นำในการตัดสินใจแก้ปัญหาของคุณอภิสิทธิ์ อย่างชัดเจน และข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเหตุการณ์สำคัญสืบเนื่องจากการตัดสิน ใจบอยคอตการเลือกตั้ง ก็คือรัฐประหาร 19 กันยา 49 จนถึงการตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร และเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 มันสะท้อนว่าคุณอภิสิทธิ์ตัดสินใจไม่ตรงไปตรงมา และผิดพลาด เพราะขาด “สปิริตประชาธิปไตย”

กรณีที่ 2 : เมื่อการเลือกตั้ง 2 เมษา 49 เป็นโมฆะ และคุณทักษิณถูกกดดันจากพันธมิตร อำมาตย์ และพรรคการเมืองที่บอยคอตการเลือกตั้ง รวมทั้งกระแสความไม่พอใจของสื่อ นักวิชาการ ปัญญาชน คุณทักษิณตัดสินใจขอใช้กติกาประชาธิปไตยด้วยการให้มีการเลือกตั้งอีกครั้ง ราวกลางเดือนตุลาคม 49 พร้อมกับแสดงออกถึงการเคารพต่อมโนธรรมทางสังคมด้วยการ “ถอยหนึ่งก้าว” โดยประกาศจะไม่รับตำแหน่งนายกฯ หากพรรคไทยรักไทยชนะเลือกตั้ง

แต่คุณ อภิสิทธิ์กลับใช้ภาวะผู้นำตัดสินใจเผชิญปัญหานี้ด้วยการเสนอ “นายกฯ พระราชทานตามรัฐธรรมนูญมาตรา 7” ซึ่งเป็นการเดินตามเกมของพันธมิตร จนเป็นที่มาของฉายา “มาร์ค ม.7” อันมีความหมายเป็น “ตัวตลก” ทางการเมืองในเวทีประชาธิปไตย

กรณีที่ 3 : เมื่อเกิดรัฐประหาร 19 กันยา จนมาถึงคุณทักษิณถูกตัดสินจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญาในข้อหา “เซ็นชื่อยินยอมให้เมียซื้อที่ดิน” คุณทักษิณเผชิญปัญหานี้ด้วยการหนีคุกไปอยู่ต่างประเทศ เป็นเหตุให้ถูกโจมตีว่าไม่เคารพ “กระบวนการยุติธรรม” แต่เหตุผลของคุณทักษิณคือ นั่นไม่ใช่กระบวนการยุติธรรม แต่เป็นกระบวนการรัฐประหาร เพราะมันเริ่มจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจประชาชนไป แล้วก็ใช้กลไกของรัฐประหารคือ คตส.ดำเนินการสอบสวนเอาผิดกับเขา ซึ่งมันไม่ใช่ “กระบวนการยุติธรรมตามครรลองประชาธิปไตย”

เหตุผลของ คุณทักษิณ เราอาจเข้าใจได้ว่า ความยุติธรรมจะมีได้ในระบบที่มีนิติธรรม (หมายถึงมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระและเป็นกลาง) ซึ่งนิติธรรมจะมีได้ก็ต่อเมื่อมี “นิติรัฐ” ทว่านิติรัฐคือรากฐาน (key element) ของระบอบประชาธิปไตย เมื่อประชาธิปไตยถูกล้มไปโดยรัฐประหารนิติรัฐย่อมถูกล้มไปด้วย กระบวนการต่อมาที่เอาผิดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง จึงเป็นกระบวนการที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่า “เป็นอิสระและเป็นกลาง” ฉะนั้น จึงไม่ใช่กระบวนการที่มีนิติธรรม

ในกรณีนี้คุณอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์ ว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่กลับเห็นว่ารัฐประหารสร้างระบบนิติรัฐนิติธรรมขึ้นมาได้ ดังที่คุณอภิสิทธิ์แสดงความเห็นทางเฟซบุ๊ค ว่า หากนิรโทษกรรมคุณทักษิณเท่ากับเป็นการทำลายหลักนิติรัฐและนิติธรรม และยังเป็นการทำลายความมั่นคงของ “ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (หมายความว่าคุณอภิสิทธิ์เห็นว่า “ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ถูกสถาปนาขึ้นโดยรัฐประหาร และถูกค้ำจุนด้วยกระบวนการสืบเนื่องจากรัฐประหารใช่หรือไม่?)

กรณีที่ 4 : การ ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร คุณอภิสิทธิ์อ้างว่าเป็นนายกฯ โดยผ่านกระบวนการรัฐสภา หมายความว่าเขามีความชอบธรรมตามกติกา แต่ไม่แคร์ต่อความชอบธรรมตามมโนธรรมทางสังคม คือไม่สนใจว่าประชาชนจะรู้สึกอย่างไรกับการที่มีการร่วมมือกับอำนาจพิเศษไป ฉกเอา ส.ส.จากฝ่ายตรงข้ามแล้วไปวางแผนตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร

กรณีที่ 5 : เหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 คุณอภิสิทธิ์อ้างความชอบธรรมตามกติกาเพียงประการเดียวคือ “การรักษากฎหมาย” แต่ไม่สนใจความชอบธรรมตามมโนธรรมทางสังคม คือไม่สนใจว่าประชาชนจะรู้สึกอย่างไรกับการที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ใช้ “กระสุนจริง” สลาย “การชุมนุมทางการเมือง” ของประชาชนหลายหมื่นคน จนมีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก และข้อพิสูจน์ว่าคุณอภิสิทธิ์ไม่แคร์ต่อมโนธรรมทางสังคมใดๆ เลย คือการเปิดปราศรัยปฏิเสธความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิงที่ “ราชประสงค์”

กรณีที่ 6 : การเลือกตั้งใน 3 ก.ค. คุณทักษิณเห็นว่า พรรคที่ควรเป็นรัฐบาลควรมีความชอบธรรม 2 ส่วน คือ 1) ความชอบธรรมตามกติกาคือ การมีสิทธิ์ตั้งรัฐบาลตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2) ความชอบธรรมตามมโนธรรมทางสังคม คือการชนะเลือกตั้งได้คะแนนเสียงอันดับ 1 แต่คุณอภิสิทธิ์เห็นต่างออกไปว่า พรรคที่ควรเป็นรัฐบาลมีความชอบธรรมเพียงประการเดียวก็พอ คือมีความชอบธรรมตามกติกา เมื่อกติกาเปิดให้แข่งจัดตั้งรัฐบาลได้ เขาก็มีสิทธิ์ตั้งรัฐบาลโดยไม่ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนที่ลงคะแนน ให้กับพรรคที่ได้คะแนนเสียงอันดับ 1

สรุป ความชอบธรรมในการต่อสู้ทางการเมืองของคุณทักษิณ คือการพยายามต่อสู้ตาม “กติกาประชาธิปไตย” และอ้างอิง “มโนธรรมทางสังคม” หรือ “เสียงส่วนใหญ่” เป็นหลัก (ส่วนกรณีฆ่าตัดตอนยาเสพติด กรือเซะ ตากใบ ข้อกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ทุจริตคอร์รัปชัน เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่เรื่องที่ต้องจัดการด้วยวิธีรัฐประหาร)

ขณะที่คุณภิสิทธิ์อ้าง อิง “กติกา” แต่แทบไม่แคร์ต่อมโนธรรมทางสังคมเลย ในส่วนของการอ้างอิง “กติกา” หากในสถานการณ์ที่ถ้าการต่อสู้กันตามกติกานั้นตนเองจะแพ้ คุณอภิสิทธิ์ก็ปฏิเสธจะต่อสู้ เช่น บอยคอตการเลือกตั้ง หรือหากใช้กติกาใดแล้วจะทำให้คู่ต่อสู้ไม่ได้กลับคืนสู้อำนาจอีกตนเองก็จะ ใช้กติกานั้น เช่น เสนอ ม.7 หรือไม่ก็อ้างกติกาแบบ “ขัดแย้งในตัวเอง” เช่น ปฏิเสธรัฐประหารแต่ยืนยันว่ารัฐประหารมีนิติรัฐและนิติธรรม หรืออ้างกติกาอย่างไม่แคร์ต่อมโนธรรมทางสังคม เช่น กรณีตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร หรืออ้างกติกาแบบทั้งไม่แคร์ต่อมโนธรรมทางสังคมและอย่างไร้มนุษยธรรม เช่น อ้างการรักษากฎหมายด้วยการสลายการชุมนุมโดยใช้กระสุนจริง และสุดท้ายก็อ้างแค่ความชอบธรรมตามกติกาในการตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง โดยไม่แคร์ต่อเสียงส่วนใหญ่ที่เลือกพรรคชนะเลือกตั้งอันดับ 1

การไม่ แคร์ต่อเสียงส่วนใหญ่ที่เลือกพรรคชนะเลือกตั้งอันดับ 1 ใน “สถานการณ์ความแตกแยกของประเทศ” เช่นนี้ มีความหมายสำคัญว่า คุณอภิสิทธิ์ไม่แคร์ต่อ “โอกาสของประเทศ” ที่ควรจะมีโอกาสป้องกันความขัดแย้งเฉพาะหน้าที่อาจปะทุขึ้นมาอีก ด้วยการให้พรรคการเมืองที่มีความชอบธรรมมากกว่าคือ ทั้งชอบธรรมตามกติกา และชอบธรรมตามมโนธรรมทางสังคม ได้จัดตั้งรัฐบาลก่อน

ฉะนั้น วาทกรรมปรองดอง อ้างว่าตนไม่ใช่เงื่อนไขความขัดแย้ง ไม่ใช่คู่ขัดแย้ง แต่เป็นผู้อาสานำพาประเทศข้ามพ้นความแตกแยก กลับคืนสู่ความสงบสุข จึงเป็นวาทกรรมที่หลอกตัวเอง และลวงโลกอย่างเหลือเชื่อ!

เพ็ญ ภัคตะ: ดีแต่พูด

ที่มา ประชาไท

ดีแต่พูด ดีแต่พูด ดีแต่พูด
ปากไม่มีหูรูดพูดเสียดส่อ
เอาแต่ดีใส่ตนจนตำตอ
เปลืองภาษีน้ำลายสอไร้ผลงาน

ดีแต่พูดพูดไปสองไพเบี้ย
โยนความเสียให้คนอื่นยืนยิ้มหวาน
ความผิดตนไม่เคยตรองสมองมาร
คือมาร์คมั่วยั่วรำคาญกวนมันมือ

ดีแต่พูด ดีแต่แหล ดีแต่ด่า
ปากก็ว่าตาก็เหลือกกระเสือกกระสือ
ยังมาอ้อนนอนฝันร้ายร้องไห้ฮือ
จบก็คือเมียต้องปลอบมอบอุ่นไอ

ดีแต่พูดหยุดเถอะเลอะเทอะแล้ว
ยิ่งพล่ามยิ่งออกแต๋วยิ่งแบไต๋
คล้ายกับคนโรคจิตไร้หัวใจ
ไม่มีใครเชื่อคำของขันที

ดีแต่พูด ดีแต่พูด ดีแต่พูด
อ้าปากคายคูถมูตรหยุดปาหี่
อายภาพลักษณ์อำมาตย์มาดผู้ดี
สันดานทรามนามนี้มีพรรคเดียว

ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกันผู้ต้องหาหมิ่นฯ สัญชาติไทย- อเมริกัน

ที่มา ประชาไท

30 มิ.ย.54 นายอานนท์ นำภา ทนายความสำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ และทนายเจ้าของคดี แจ้งว่า ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืน ยกคำร้องขอปล่อยชั่วคราวนายโจ กอร์ดอน หรือในชื่อไทย นายเลอพงษ์ (ขอสงวนนามสกุล) หลังจากศาลชั้นต้นได้ยกคำร้องปล่อยตัวชั่วคราวไปครั้งหนึ่งแล้วก่อนหน้านี้ ในวันที่ 13 ม.ย.54

ศาลอุทธรณ์ระบุเหตุผลว่า “พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ความผิดที่ถูกกล่าวหาเป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์อันเกี่ยวกับความมั่น คงแห่งราชอาณาจักร ตามพฤติการณ์แห่งคดี ลักษณะการกระทำนำมาซึ่งความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพ เทิดทูนบูชาของคนไทยทั้งชาติ กระทบกระเทือนจิตใจของประชาชนผู้จงรักภักดี ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านว่า หากศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา เกรงจะไปทำลายพยานหลักฐานซึ่งเป็นพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีไม่มีเหตุสมควรปล่อยชั่วคราวในระหว่างสอบสวน จึงไม่อนุญาต คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง แจ้งเหตุการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวให้ผู้ต้องหาทราบโดยเร็ว ลงชื่อ นางอารีย์ เตชุหรูวิจิตร, นายสิทธิพร บุญฤทธิ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ วันที่ 29 มิถุนายน 2554

ส่วนคำร้องของจำเลยในคำร้องของปล่อยชั่วคราวที่ ส่งศาลอุทธรณ์ในครั้งนี้ ระบุว่า ผู้ต้องหายืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิดตามที่พนักงานสอบสวนกล่าวหา อีกทั้งมีอาการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเก๊าท์ นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญไทยก็กำหนดว่าในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ ต้องหาไม่มีความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำผิดไม่ได้ ผู้ต้องหาต้องมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม มีโอกาสสู้คดีอย่างเพียงพอ และได้รับการปล่อยชั่วคราว บทบัญญัติดังกล่าวสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีด้วย การขังผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวนในเรือนจำนั้นเป็นเสมือนหนึ่งว่า ผู้ต้องหาได้ถูกพิพากษาว่ากระทำความผิดไปแล้ว ย่อมขัดรัฐธรรมนูญ กติการะหว่างประเทศ ริดรอนสิทธิของผู้ต้องหาอย่างร้ายแรง

“ผู้ต้องหา ขอยืนยันว่าผู้ต้องหามิได้กระทำผิดตามที่กล่าวหา และจากพฤติการณ์หากผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำความผิดจริง ไฉนเลยผู้ต้องหาจะเดินทางกลับมาในราชอาณาจักรเพื่อให้ถูกดำเนินคดี”

“ผู้ ต้องหาขอเรียนต่อศาลว่า แม้ผู้ต้องหาต้องหาคดีร้ายแรงต่อความรู้สึกของประชาชน แต่ขณะที่ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาหลายรายที่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว เช่น คดีนายสุลักษณ์ ศิวลักษ์ คดีนายสนธิ ลิ้มทองกุล หรือคดีนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท บุคคลดังกล่าวล้วนมีชื่อเสียงน่าเชื่อถือ ผู้ต้องหาจึงเห็นว่าการปล่อยตัวชั่วคราวควรเป็นไปตามหลักแห่งกฎหมายและ พฤติการณ์ของผู้ต้องหา และแม้ผู้ต้องหาไม่ได้เป็นผู้มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือในสังคม แต่ในฐานะพลเมืองของประเทศคนหนึ่ง ผู้ต้องหาย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน” คำร้องขอปล่อยชั่วคราวระบุ

ทั้งนี้ ทั้งนี้ ผู้ต้องหารายนี้ถูกเจ้าหน้าที่ดีเอสไอบุกจับกุมตัวที่บ้านพักจังหวัด นครราชสีมา เมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมาและถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จนถึงปัจจุบัน เจ้าหน้าที่แจ้งข้อกล่าวหาตามความผิดมาตรา 112, 116 ของประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งมาตรา 14 (3),(5) ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยกล่าวหาว่าเขาเป็นเจ้าของบล็อกซึ่งมีเนื้อหาหนังสือThe King Never Smiles (TKNS) ภาคภาษาไทย และนำลิงก์ไปโฆษณาไว้ในเว็บบอร์ด sameskyboard.com ให้คนเข้าไปอ่านหนังสือดังกล่าว เหตุเกิดในช่วงปี 2550-2552

ลือทหารไฟเขียวปรองดองให้ พท.ตั้งรัฐบาล แต่อย่าเอาผิดคนฆ่า 91 ศพ

ที่มา ประชาไท

ลือ ว่อนเน็ต วัฒนา เมืองสุข, ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เจรจาลับที่บรูไน ทหารอนุญาตพรรคเพื่อไทยตั้งรัฐบาลได้ไม่รัฐประหาร แต่ต้องอย่าเอาผิดคนฆ่า 91 ศพ อย่าแก้แค้นที่แล้วมา ขอประยุทธ์อยู่ต่ออีก 3 ปี

30 มิ.ย. 54 - ไทยอีนิวส์นำเสนอรายงาน "ปูดข้อตกลงลับ 3 ฝ่าย พลังพิเศษยอมเพื่อไทยตั้งรัฐบาล แลกนิรโทษกรรมมาร์ค+ฆาตกร 91 ศพ-หยุดหมิ่น" อ้างอิงบทความจากเว็บไซต์ Asiatimes มีเนื้อหาระบุว่าเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน อ้างแหล่งข่าวว่ามีการเปิดเจรจากันระหว่างนายวัฒนา เมืองสุขคนของทักษิณ กับท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกลาโหมที่บรูไนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และได้หารือกันอีกหลายครั้ง รวมทั้งที่นครดูไบ ซึ่งทักษิณลี้ภัยอยู่ โดยกองทัพตกลงที่จะเปิดทางให้พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง แลกกับคำมั่นสัญญาของทักษิณที่จะไม่แก้แค้นทางการเมือง หรือ ดำเนินคดีกับบรรดาผู้นำทหารที่อยู่เบื้องหลังการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 และเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อปีที่แล้ว และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการของกองทัพ เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายประจำปี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปอีก 3 ปี รวมทั้งฝ่ายทักษิณจะต้องห้ามปรามพวกที่ต่อต้านสถาบันกษัตริย์ด้วย โดยเฉพาะบรรดาคนเสื้อแดงที่เคลื่อนไหวอยู่นอกประเทศไทย

นอกจากนี้ ทั้ง 3 ฝ่ายได้หารือกันถึงเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระชุดใหม่ ซึ่งจะให้ข้อเสนอแนะในเรื่องการปรองดอง รวมถึงการนิรโทษกรรมแก่ทักษิณ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมเมื่อปีที่แล้ว และกองทัพ โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวจะถูกเสนอให้มีการลงประชามติ ทั้งนี้ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีต่างประเทศในรัฐบาลทักษิณ ได้ตอบรับที่จะเป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้แล้ว

'วัฒนา' ยันไม่เคยพบ 'ประวิตร' ที่บรูไน

ด้านสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นรายงาน ว่านายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันว่า ตนเองไม่เคยเดินทางไปประเทศบรูไน และไม่เคยพบกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตามที่ข่าวปรากฏว่ามีการพบกัน เพื่อทำปฏิญญาบรูไน หรือ ทำข้อตกลงอะไรทั้งสิ้น ส่วนประเทศดูไบนั้น ยอมรับว่า เคยเดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จริง ซึ่งก็ไปพบในฐานะที่เป็นผู้มีบุญคุณกับตนและเคยร่วมทำงานกันมา

นอก จากนี้ นายวัฒนา ยังกล่าวถึง กรณีที่มีข่าวว่าตนเดินสายเจราจาพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อประสานในการหาพรรคร่วมมาจัดตั้งรัฐบาล โดยยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวก็ไม่เป็นความจริงอีกเช่นกัน โดยนายวัฒนา ยืนยันว่า ตนไม่มีชื่อชั้นเพียงพอที่จะก้าวขึ้นไปพูดคุยเจรจาต่อรองเรื่องแบบนี้ได้ และมั่นใจว่า ขณะนี้ยังไม่มีการเจรจาใดๆ เกิดขึ้น ไม่ว่ากับพรรคไหนๆ ก็ตาม เนื่องจากโดยธรรมเนียมแล้ว ผลการเลือกตั้ง มีส่วนอย่างมากในการกำหนดทิศทางการเจรจา ดังนั้น หากยังไม่มีผลการเลือกตั้งออกมา มั่นใจว่า จะไม่มีการเจราจาใดๆ เกิดขึ้นแน่นอน

ขณะที่มีผู้ประเมินว่า หากพรรคเพื่อไทย ได้เป็นรัฐบาล จะมีการปฏิวัติกลับมาอีกครั้งนั้น มองว่า เป็นเรื่องที่สร้างขึ้นจากคู่แข่งทางการเมืองมากกว่า เนื่องจากหากพรรคได้รับเลือก ก็เป็นเพราะประชาชน แล้วพรรคที่มาจากประชาชน จะมีทหารมาปฏิวัติได้อย่างไร ขณะที่การประเมินเก้าอี้ ส.ส. ที่พรรคเพื่อไทย อาจได้นั้น นายวัฒนา เชื่อว่า น่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 250 หรือ อาจจะถึง 300 คน ซึ่งแม้ได้ 300 คน จริง พรรคร่วมก็ยังมีความสำคัญ เพราะแจกันคงมีแต่ดอกไม้ไม่ได้ ต้องมีใบเฟิร์นประกอบด้วยแน่นอน

"สุรเกียรติ์" ปฏิเสธข่าวตอบรับนั่งปธ.ปรองดองชุดใหม่

มติชนออนไลน์รายงาน ว่านายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าขณะนี้อยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการเดินทางมาตามคำเชิญของผู้ใหญ่ในรัฐบาลจีน ได้ทราบว่ามีการเผยแพร่ข่าวดังกล่าว รู้สึกแปลกใจมาก ขอปฏิเสธว่า ข่าวการตกลงตั้งคณะกรรมการปรองดอง ที่ตนเองตอบรับเป็นประธานแล้วนั้นไม่เป็นความจริงโดยสิ้นเชิง ตนเองไม่เคยไปพบกับบุคคลใดๆ ตามข่าว ส่วนข่าวการพบปะระหว่างบุคคลต่างๆ เพื่อหารือถึงเรื่องการตั้งรัฐบาลใหม่นั้นทราบว่า นายวัฒนา ได้ปฏิเสธข่าวไปแล้ว

อดีตรองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้แสดงความเห็นในการเสวนาและในการให้สัมภาษณ์ต่างๆอย่างชัดเจน ว่า รัฐบาลใหม่น่าจะมอบหมายให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความ ปรองดองแห่งชาติ หรือคอป. ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน ได้ทำหน้าที่ต่อไป และได้กล่าวย้ำไว้ด้วยว่า ไม่มีความจำเป็นจะต้องตั้งกรรมการชุดใหม่ให้เสียเวลา และเสียโอกาส เพื่อที่งานปรองดองจะได้ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ที่มาข่าว: ไทยอีนิวส์, มติชนออนไลน์ , ไอเอ็นเอ็น

นักข่าวพลเมือง: แรงงานฮ่องกงร้องปล่อยสมยศ-นักโทษการเมืองในไทย

ที่มา ประชาไท

นัก สหภาพแรงงานและนักกิจกรรมด้านแรงงานยื่นหนังสือถึงรัฐบาลไทยผ่านกงสุล ในฮ่องกงเรียกร้องให้ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข และนักโทษทางการเมืองคนอื่นๆเพื่อความเป็นธรรมในการต่อสู้คดี


นักสหภาพฯและนักกิจกรรมแรงงานในฮ่องกงยื่นหนังสือผ่านตัวแทนกงสุลไทย
ภาพโดย Free Somyot

วาน นี้ (29 มิ.ย.54) ตัวแทนนักสหภาพแรงงานและนักกิจกรรมด้านแรงงานจากสมาพันธ์สหภาพแรงงาน ฮ่องกง(HONG KONG CONFEDERATION OF TRADE UNIONS-HKCTU)และ Asia Monitor Resource Centre (AMRC) ประมาณ 20 คนได้เดินทางมาประท้วงที่กงศุลไทยในฮ่องกง พร้อมยื่นจดหมายลงวันที่ 29 มิถุนายน 54 ถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ปล่อยนายสมยศ พฤกษาเกษมสุขและนักโทษการเมืองในไทยโดยให้สิทธิการประกันตัว เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับความเป็นธรรมในการต่อสู้คดี

ในจดหมาย ดังกล่าวระบุว่า “รู้สึกกังวลอย่างยิ่งต่อการจับกุมนักกิจกรรมด้านแรงงาน สมยศ พฤกษาเกษมสุข อย่างซ้ำซาก และมีความกังวลต่อสวัสดิภาพของเขาในเรือนจำ

พร้อม ระบุว่า สมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2554 ขณะนี้ถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำกลางคลองเปรม กรุงเทพฯ พวกเราเชื่อว่านี่เป็นกระบวนการปราบปรามนักกิจกรรมฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตย อย่างเป็นระบบในประเทศไทย

"เราขอเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย ปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุขทันที” จดหมายดังกล่าวระบุและว่า “เป็นที่ทราบดีว่าสมยศ พฤกษาเกษมสุข มีบทบาทอย่างยิ่งในการทำงานเพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งของขบวนการแรงงาน และเพื่อวางรากฐานให้กับขบวนการแรงงานฝ่ายประชาธิปไตยในไทย”

“พวกเรา ทราบจากจดหมายที่สมยศ เขียนจากเรือนจำเมื่อ 2 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเขาเชื่อว่าการจับกุมเขา เกิดจากการที่เขาและนักกิจกรรมฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตยคนอื่นๆ พยายามรวบรวมรายชื่อ 1 หมื่นรายชื่อ เพื่อยื่นต่อรัฐสภาให้แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กิจกรรมของเขาได้ทำโดยสันติ และทำตามขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนด”

“เรามีความกังวลเกี่ยว กับสถานการณ์ปัจจุบันด้านสิทธิมนุษยชนและ ประชาธิปไตยของไทย ซึ่งแม้แต่การแสดงความคิดเห็นของคนๆ หนึ่งโดยสงบ และเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ยังถูกระงับและถูกปฏิเสธ”

ในท้าย จดหมาย ยังระบุว่า "ประเทศไทยควรมีการปรองดองที่เป็นไปอย่างเป็นธรรม ดังนั้นผู้ที่คิดต่างออกไปไม่ควรจะถูกข่มเหงโดยเฉพาะก่อนการเลือกตั้ง การจับตัวคุณสมยศนั้นจะทำให้การปรองดองนั้นเป็นไปไม่ได้ เข้าใจว่าศาลอาญานั้นเห็นด้วยกับดีเอสไอที่จะยืดเวลาการกักขังตัวของคุณสมยศ ถือเป็นการละเมิดสิทธิของคุณสมยศ และขอให้ปล่อยตัวสมยศเพื่อที่เขาจะได้ต่อสู้กับคดีต่อไป"

ทั้งนี้มี รายงานว่าในวันที่ 1 ก.ค.นี้ ทางเครือข่ายคนงานเอเชียออสเตรเลีย(Australia Asia Workers Link) จะประท้วงและยื่นหนังสือหน้ากงศุลไทยประจำรัฐวิคทอเรีย เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลียเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวสมยศฯ และนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ในไทยด้วยเช่นกัน โดยเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีองค์กรแรงงานทั้งในบังคลาเทศและอินโดนีเซียได้ออกมาประท้วงในลักษณะ เดียวกัน

รายงาน : 6 ปีคดีพระสุพจน์ไม่คืบ กระบวนยุติธรรมนั้นยังมืดมน (1)

ที่มา ประชาไท

นับ จนถึงตอนนี้ ก็ผ่านไปได้ 6 ปีแล้ว คดีพระสุพจน์ สุวโจ คดีเหมือนกำลังคืบ แต่จู่ๆ ล่าสุด ก็มีข่าวปรับเปลี่ยนโยกย้ายหัวหน้าทีมสืบสวนสอบสวนของดีเอสไออย่างมีเงื่อน งำ สงสัยอีกครั้ง



“สิ่ง ที่ผมยังติดใจสงสัย หลังเกิดเหตุ คือมันมีร่องรอยพิรุธหลายอย่าง เช่น มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่งยศร้อยตำรวจโท บอกว่ายังไม่ต้องเก็บศพพระสุพจน์ เดี๋ยวทางเจ้าหน้าที่จะมาเก็บเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สะกิดอยู่ในใจว่า ทำไมเขาถึงไม่ให้เราเก็บ แล้วจู่ๆ ก็มีรถไถมาไถ มาปรับเกรดพื้นที่ ก็ยิ่งสงสัยอีกว่าเขามาหาอะไร หาของหลักฐานแต่ทำไมต้องใช้รถมาไถ

...มีร่องรอยการดื่มสุรา มีขวดแม่โขง โซดาตราสิงห์ บุหรี่ จำนวนก้นบุหรี่มีการนับได้เป็นร้อยๆ ก้น เหมือนกับว่าจะมีการวางแผนกันไว้แล้ว ไม่รู้ว่ากี่ชั่วโมงนั้น เราก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ แต่ผมมั่นใจว่า นี่มีการวางแผนออกมาเป็นระบบแล้ว คล้ายกับมานั่งกินอะไรและปลอบใจกันไว้ก่อนลงมือ...และนี่เป็นประเด็นที่ผม สงสัยมาจนถึงทุกวันนี้”

นายกิตติพัฒน์ ด้วงประเสริฐ
บิดาของพระสุพจน์ สุวโจ

พระสุพจน์ สุวโจ

ย้อน กลับไปเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน 2548 ที่บริเวณสถานปฏิบัติธรรมสวนเมตตาธรรม ต.สันทราย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ถูกทำร้ายและถูกฆาตกรรมด้วยของมีคมฟันไปทั่วร่างจนถึงแก่มรณภาพ จนกลายเป็นข่าวดังไปทั่ว หลังจากนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่และญาติผู้เสียหายเข้าไปดูในสถานที่เกิดเหตุ พบว่ามีร่องรอยสิ่งของบางอย่างตกอยู่ใกล้ๆ บริเวณที่พระสุพจน์มรณภาพนั้น เช่น ร่องรอยการตัดลำไม้ไผ่ ขวดสุรา ขวดโซดา เศษก้นบุหรี่กระจัดกระจายเกลื่อนอยู่บริเวณนั้น

หลังจากนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่เข้ามาชันสูตรศพ ได้มีการสั่งให้มีการปรับถางพื้นที่รอบๆ บริเวณนั้นจากเดิมเป็นพงหญ้ารกจนกลายโล่งเตียน ท่ามกลางความงุนงงสงสัยของญาติผู้เสียหายว่าทำไมถึงใช้วิธีการสืบสวนสอบสวน เช่นนี้

นายกิตติพัฒน์ ด้วงประเสริฐ บิดาของพระสุพจน์ สุวโจ กล่าวออกมาด้วยสีหน้าเป็นกังวลว่า สิ่งที่ติดใจก็คือ มีร่องรอยพิรุธให้เห็นหลายอย่างก็คือ วันนั้น มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่งยศร้อยตำรวจโท บอกผมว่ายังไม่ต้องเก็บศพหลวงพ่อเดี๋ยวทางเจ้าหน้าที่ก็จะมาเก็บเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สะกิดอยู่ในใจว่า ทำไมเขาถึงไม่ให้เราเก็บ แล้วจู่ๆ ก็มีรถไถมาไถ มาปรับเกรดพื้นที่ ก็ยังสงสัยอยู่ว่าเขามาหาอะไร หาของหลักฐาน แต่ทำไมต้องใช้รถมาไถปรับพื้นที่เช่นนั้น

“และนี่เป็นประเด็นที่ ผมสงสัยมาจนถึงทุกวันนี้ แต่สิ่งที่สงสัยอีกนั่นก็คือหลักฐาน คือเขาไม่มีการเก็บและสอบถามว่าพื้นที่ตรงที่เกิดเหตุ อยู่ติดริมถนน มีร่องรอยการดื่มสุราหรือไม่ แม่โขง โซดาตราสิงห์ บุหรี่ จำนวนก้นบุหรี่นับได้เป็นร้อยๆ ก้น เหมือนกับว่าจะมีการวางแผนกันไว้แล้ว ไม่รู้ว่ากี่ชั่วโมงนั้น เราก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ แต่ผมมั่นใจว่า นี่มีการวางแผนออกมาเป็นระบบแล้ว คล้ายกับมานั่งกินอะไรและปลอบใจกันไว้ก่อนลงมือ…แต่เราเองก็ไม่ได้เก็บอะไร ไว้ซักอย่าง เพราะว่าเราเชื่อใจเจ้าหน้าที่เขา นี่เป็นประเด็นที่ผมยังคาใจ ยังมีความข้องใจในจุดนี้อยู่ ” บิดาของพระสุพจน์ เอ่ยออกมาถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นของคดีดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้น

เริ่ม แรกนั้น คดีพระสุพจน์ อยู่ในความรับผิดชอบของ ตำรวจ สภ.อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด จนกระทั่ง พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณ และพระมหาเชิดชัย กวิวํโส ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์เดียวกับพระสุพจน์ พร้อมญาติผู้เสียหาย ได้เดินทางไปยื่นร้องขอความเป็นธรรมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จนมีการโอนเป็นคดีพิเศษ ซึ่งมี พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในขณะนั้น รับผิดชอบ

แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป ก็ยังไม่สามารถคลี่คลายคดีและนำตัวคนร้ายมาดำเนินคดีได้ ทั้งที่คดีดังกล่าวได้รับความสนใจจากสังคม จากสื่อมวลชนมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยหลายแห่ง ต่างพากันออกมาเรียกร้องกดดันให้มีการปฏิรูปกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ ดีเอสไอ กันอย่างต่อเนื่อง

จนกระทั่ง นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีดีเอสไอ ในสมัยนั้น ได้มอบหมายให้ พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ ได้เข้ามารับผิดชอบคดีสำนวนคดีดังกล่าวต่อจากผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ คนก่อน

ซึ่ง พ.อ.ปิยะวัฒก์ ได้เปิดเผยว่า ได้ตั้งชุดสืบสวนและสอบสวน จำนวน 2 ชุดประมาณ 10 กว่าคนมาคลี่คลายคดี แต่ข้อเท็จจริงพบว่า พยานหลักฐานถูกทำลายไปบางส่วน และบางส่วนสูญหายไปบ้าง เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมานานแล้วตั้งแต่ปี 2548 แต่ก็ได้พยายามทำคดีเต็มที่ ซึ่งได้รวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ มากพอสมควร พอจะสรุปประเด็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ 2 ประเด็นหลักๆ คือ เรื่องการบุกรุกที่ดินของสำนักสงฆ์หรือสถานที่ปฏิบัติธรรมจากกลุ่มผู้บุกรุก ที่ดิน ซึ่งประเด็นนี้ พระสุพจน์เคยไปแจ้งความเป็นหลักฐานไว้ที่ สภ.ฝาง จนต่อมามีการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปห้ามปรามกลุ่มผู้บุกรุกที่ดินให้เลิก กระทำการแผ้วถางหรือฮุบที่ดินสงฆ์ไปทำประโยชน์ และพบอีกว่ากลุ่มผู้บุกรุกได้ส่งคนไปเจรจากับพระสุพจน์และพระกิตติศักดิ์ที่ สถานปฏิบัติธรรมดังกล่าวหลายครั้ง

และประเด็นที่สองคือ เดิมพระสุพจน์และพระกิตติศักดิ์ เป็นพระที่มาจาก อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านพระพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อย้ายมาตั้งสำนักสงฆ์ที่ จ.เชียงใหม่ ต่อมาพระทั้งสองได้เขียนบทความในหนังสือ รวมทั้งเว็บไซต์เผยแพร่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลสมัยนั้น โดยเฉพาะประเด็นเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ จ.ปัตตานี และเหตุการณ์ตากใบ จ.นราธิวาส ที่มีการใช้ความรุนแรงกับประชาชน จนกระทั่งมีการเข้าไปตรวจสอบการเขียนหนังสือและบทความของพระทั้งสองอย่างต่อ เนื่อง

อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ทางพนักงานสอบสวนกำลังรวบรวมหลักฐานอยู่ สำหรับกลุ่มผู้ต้องสงสัยฆ่าพระสุพจน์ทั้งจากประเด็นบุกรุกที่ดินและประเด็น วิพากษ์วิจารณ์ความรุนแรงของรัฐบาลนั้น อาจจะเป็นผู้ต้องสงสัยกลุ่มเดียวกัน แต่อาจจะมีมูลเหตุจูงใจทั้งสองอย่าง เพราะฉะนั้น ตนจึงให้น้ำหนักกับประเด็นทั้งสองค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่ได้ทิ้งประเด็นที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชุดเดิมทำมา ก็ยังสืบสวนอยู่

“ให้น้ำหนักประเด็นการบุกรุกที่ดิน และวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเกือบเท่าๆ กัน ใกล้เคียงกันมาก เพราะจากการรวบรวมพบพยานหลักฐานก็มีประเด็นที่บ่งชี้ แต่ยังเปิดเผยไม่ได้ ซึ่งจากนี้ไปก็คงต้องพยายามรวบรวมพยานหลักฐานให้ได้ เพราะว่าพยานหลักฐานบางอย่างถูกทำลายไป เช่นอาวุธที่ใช้ฆ่าพระสุพจน์”ผบ.สำนักคดีอาญากล่าว

ผู้บัญชาการสำนัก คดีอาญาพิเศษ ซึ่งรับผิดชอบคดีพระสุพจน์ยอมรับว่าหนักใจพอสมควร เพราะได้เข้ามาทำงานคดีนี้หลังเหตุการณ์ผ่านมาค่อนข้างนาน แต่ยืนยันว่าคดีคืบหน้าไปมาก และพนักงานสอบสวนชุดนี้ มีอัยการพิเศษข้ามาร่วมหาหลักฐานด้วย ซึ่งทั้งชุดสืบสวนและชุดสอบสวนมีความกระตือรือร้นในการคลี่คลายคดีให้เร็ว ที่สุด

ชี้กระบวนยุติธรรมมีพิรุธ ขณะคดีเหมือนกำลังคืบ กลับมีการปรับย้ายเจ้าหน้าที่ดูแลคดี

นับ จนถึงตอนนี้ ก็ผ่านไปได้ 6 ปีแล้ว คดีพระสุพจน์ สุวโจ คดีเหมือนกำลังคืบ แต่จู่ๆ ล่าสุด ก็มีข่าวปรับเปลี่ยนโยกย้ายหัวหน้าทีมสืบสวนสอบสวนของดีเอสไออย่างมีเงื่อน งำ สงสัยอีกครั้ง

พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณ ประธานมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ กล่าวว่า คดีพระสุพจน์ สุวโจ จนถึงทุกวันนี้ยังมีปรากฏการณ์หลายอย่างที่น่ากังวลใจอยู่ เพราะล่าสุด ทางดีเอสไอมีความพยายามเปลี่ยนพนักงานสอบสวนคดี ทั้งที่อาจถือได้ว่าชุดนี้จะทำงานได้ดีที่สุดกว่าชุดใดๆ

พระกิตติ ศักดิ์ ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า หนึ่ง เป็นการเปลี่ยนในช่วงการเมืองกำลังเปลี่ยน และสอง เปลี่ยนเพราะคดีกำลังสืบสาวใกล้จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้แล้ว

“การ เปลี่ยนตัวหัวหน้าสอบสวนคดีในลักษณะอย่างนี้ เป็นการเปลี่ยนในช่วงเวลาที่เป็นเรื่องของการบอกเหตุหลายเรื่อง คือ เรื่องของการเมืองเองกำลังจะเปลี่ยน และโดยภาพรวมแล้ว ก็คือการสอบสวนคดีกำลังจะเข้าใกล้ผู้ที่กำลังกระทำความผิด เพราะว่าหัวหน้าพนักงานสอบสวนก็แจ้งให้ทราบว่ามีคนที่ทำความผิดอย่างน้อย 6 คน และสามารถระบุชื่อได้ เพียงแต่ว่าต้องใช้ความพยายามที่จะสอบปากคำให้ 6 คนมีการซัดทอดและระบุยืนยันกันในที่เกิดเหตุ เพื่อที่จะออกหมายจับและไม่หลุดคดีในชั้นอัยการ”

พระกิตติศักดิ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น เมื่อพนักงานสอบสวนจะใช้กระบวนการนี้ ก็มีกระบวนการในการโยกย้ายที่ไม่ใช่โยกย้ายในกรณีพิเศษ แต่เป็นการยุบสำนักคดีอาญาพิเศษ เพื่อให้ตำแหน่งลอย แล้วย้ายไปอยู่สำนักอื่น จากนั้นก็ตั้งสำนักงานคดีพิเศษซ้ำขึ้นมาใหม่ นั่นคือทำให้การตั้งสำนักใหม่ขึ้นมา ทำให้ไม่ได้อยู่ในปริมาณงานที่คุณปิยวัตรจะรับหน้าที่ คือ เป็นการลดขนาดของหน่วยงานลง และตำแหน่งหน้าที่ที่จะต้องเลื่อนขึ้นก็ต้องมีการย้าย พ.อ.ปิยะวัตรไปอยู่ที่อื่น

เหมือนกับว่า คดีดังกล่าวนั้นซับซ้อน มีเงื่อนงำ ตั้งแต่ในระดับพื้นที่ ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ระดับล่างไปจนเจ้าหน้าที่ระดับบน รวมถึงผู้มีอิทธิพล นักการเมืองได้เข้ามาเกี่ยวข้อง เกี่ยวโยงกันไปหมดหรือไม่ ?

“ใช่ เรื่องนี้มีการเชื่อมโยงไปอยู่หลายเรื่อง ในส่วนของ พ.อ.ปิยวัตร ก็เคยมีการปรารภอยู่ตลอดเลยว่า การที่ลงมาในพื้นที่แต่ละครั้ง เป้าหมายของพื้นที่ มีการรับรู้เรื่องของดีเอสไอลงมาสอบสวนก่อนทุกครั้ง ในขณะเดียวกัน พวกเราเองก็รับรู้ได้ว่าพนักงานสอบสวนกำลังจะมา เพราะว่า เป็นที่สังเกตว่า ก่อนพนักงานสอบสวนจะมาประมาณ 2-3 วันก็จะมีเสียงปืนดังขึ้น แสดงให้รู้ว่าจะมีคนจะเข้ามาในพื้นที่ เพราะฉะนั้น ในทางกรมสอบสวนคดีพิเศษนั่นเอง ก็ต้องมีข่าวรั่ว ไปถึงหูของผู้ที่กระทำความผิดแทบทุก ครั้ง”

ย้ำอุปสรรคของคดีอยู่ที่ กลุ่มผู้มีอิทธิพลต่อสายกับเจ้าหน้าที่รัฐและการ เมือง ประธานมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ กล่าวว่า เพราะฉะนั้น ตรงนี้แสดงให้เห็นถึงอุปสรรคของคดีพระสุพจน์ที่แท้จริงก็คือ กลุ่มผู้ที่มีอิทธิพลยังมีคอนเน็คชั่นกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและฝ่ายการเมือง กันอยู่ ซึ่งลักษณะอย่างนี้ก็จะปรากฏอยู่ทั่วไป ในหลายๆ คดี กรณีการทำร้ายหรือว่าการลอบสังหารนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน แล้วจะพบได้เลยว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษไม่เคยประสบความสำเร็จและไม่เคยจับกุมผู้กระทำความผิดใน กรณี ลอบสังหาร นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนได้เลย ไม่ว่าจะเป็นคดีนายสมชาย นีละไพจิตร คดีเจริญ วัดอักษร หรือคดีพระสุพจน์ สุวโจ

ในขณะที่คดี พระสุพจน์ นั้นกลับไม่มีการออกหมายจับเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้แม้แต่คนเดียว และแน่นอนว่า ยิ่งนานวัน ยิ่งไม่เป็นข่าว ยิ่งเงียบหาย และหลายคนอาจมองว่าเป็นเพียงคดีเล็กๆ คดีหนึ่งเท่านั้นเอง หากพระกิตติศักดิ์ กล่าวว่า นี่คือการใช้ความรุนแรงในรัฐไทย เมื่อกระบวนการยุติธรรมกลายเป็นเครื่องมือทำลายประชาชนเสียเอง

“เรื่อง พวกนี้ ถ้าเรามองว่าเป็นคดีเล็กๆ คดีเดี่ยวๆ มันจะมองไม่เป็นภาพรวม แต่แท้จริงแล้ว นี่คือการใช้ความรุนแรงของภาครัฐหรือไม่ เมื่อคนเล็กๆ กลุ่มหนึ่งต่อสู้เรื่องสิทธิ เรื่องสิ่งแวดล้อม แต่กลับถูกผู้ที่มีอิทธิพลกระทำ หรือทำให้เกิดการขัดผลประโยชน์กับฝ่ายรัฐ ฝ่ายทุน จนทำให้กระบวนการยุติธรรมกลายเป็นเครื่องมือของการกลั่นแกล้ง ในการกดดัน บีบคั้น การทำร้ายหรือฆ่าให้ตายกับผู้ที่ทำประโยชน์ให้กับพื้นที่สาธารณะ ซึ่งตรงนี้ถ้ามองในภาพรวมแล้วไม่ใช่เรื่องเล็ก” ประธานมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ กล่าว.

ข้อมูลประกอบ: คอลัมน์: ชานชาลาประชาชน: คดีสังหารโหดพระสุพจน์กับความเป็นธรรมหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 6 ก.พ.2554

เจ้าของผลงาน ‘เขตปกครองชายแดนใต้’ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่น ม.สงขลานครินทร์

ที่มา ประชาไท

ศรี สมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี เจ้าของผลงาน ‘เขตปกครองชายแดนใต้’ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่น ม.สงขลานครินทร์ เผยนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์ได้รางวัลน้อยแค่ 5%


ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

เมื่อเวลา 8.30 วันที่ 28 มิถุนายน 2554 ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัตริครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้จัดงานวันนักวิจัและนวตกรรม ม.อ. ครั้งที่ 5 มีรศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธาน มีผู้ได้รับรางวัลในฐานะนักวิจัยดีเด่นด้านต่างๆ จำนวนมาก

ผศ.ดร.ศรี สมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในฐานะผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยที่ผลงานวิจัยเผยแพร่ทางสื่อสารมวลชนในระดับ ชาติ ปี 2553 เปิดเผยว่า ตนได้รับรางวัลดังกล่าวจากการทำวิจัยการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษในจังหวัดชาย แดนภาคใต้ ซึ่งเป็นรายงานโครงการวิจัยการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดที่มีความหลากหลายทาง ชาติพันธุ์ งานวิจัยชิ้นนี้แล้วเสร็จเมื่อปี 2551 ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ และเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์มติชน ไทยรัฐ เป็นต้น

ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวว่า ปัญหาและอุปสรรคของงานวิจัยชิ้นนี้ อยู่ตรงที่ในช่วงแรกไม่ได้รับความยอมรับจากประชาชนมากนัก และถูกวิพากษ์วิจารณ์บ้าง แต่เมื่อเวลาผ่านไปงานถูกพัฒนากลายเป็นประเด็นในเชิงนโยบายที่ใครต่อใครก็ พูดถึง ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองและสื่อมวลชน แสดงให้เห็นถึงการยอมรับรูปแบบการปกครองพิเศษใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น

“เป็นที่น่าสังเกตว่า ถึงแม้นักวิจัยที่ได้รางวัล เป็นนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์น้อยมาก ประมาณ 5% ของนักวิจัยที่ได้รับรางวัลทั้งหมด แต่ก็แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก็ให้ความสนใจงานวิจัยด้าน สังคมศาสตร์อยู่” ผศ.ศรีสมภพ กล่าว

แผนลับวอร์รูมสี่เสาจำใจฆ่าปชป.บูชายัญ

ที่มา Thai E-News

นี่ เป็นฉากจำลองตัวแบบอีกแบบหนึ่งที่War room สี่เสาและ กกต.สุมหัวไว้ หากข้อตกลงลึกลับระดับสูงไม่บรรลุผล แต่หากพรรคเพื่อไทยชนะแบบฟ้าถล่ม Land slide แผนการทั้งหมดต้องถูกยกเลิกในทันที

โดย หรี่ฟุน
30 มิถุนายน 2554

ข่าวทางลึกจาก War room สี่เสาและ กกต. มีดังนี้ครับ

- กรณีหากยุบพรรคเพื่อไทย บ้านเมืองจะบรรลัยจากการต่อต้านของมวลชนคนเสื้อแดง

- กรณีหากยุบพรรคประชาธิปัตย์ ความร้อนแรงของเหตุการณ์ทางการเมืองจะน้อยลง แต่......จะเกิดทางเลือกใหม่ นั่นคือ รัฐบาลแห่งชาติ

รัฐบาลแห่งชาติ ดังกล่าว เกิดจากความคิดของคนสองกลุ่มใน War Room สี่เสา คนกลุ่มแรกก็คือบรรดานายทุนนักธุรกิจ อีกกลุ่มหนึ่ง คือทหาร ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงนายทหารอาชีพที่เคารพรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย แต่หมายถึงทหารที่แทรกแซงการเมืองจนเป็นอาชีพ

ประเด็นสำคัญ แนวทางการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ของกลุ่มบุคคลชั้นสูง บุคคลในกองทัพ และจากฝ่ายการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ มีเหตุผลเพียงเพื่อ เตรียมการแก้โจทย์ใหญ่ เตรียมการรับมือภยันตราย จากบุคคลที่มองว่าเป็นมหันตภัย นั่นคือ “ทักษิณ”

แต่สิ่งที่สำคัญหรือหัวใจในการวางแผนครั้งนี้ มีข้อสรุปว่า หากพรรคเพื่อไทยประสบชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น นั่นย่อมหมายถึงแผนการทั้งหมดต้องถูกยกเลิกในทันที

ก่อนที่จะพูดถึงรายละเอียดแผนล้มการเลือกตั้ง หลังวันที่ 3 กรกฏา ผมขอท้าวความไปยังเหตุการณ์ในอดีต ที่กำลังจะนำมาใช้ในการเลือกตั้ง 54 ในครั้งนี้

ขอเริ่มจาก คดียุบพรรคการเมืองเนื่องจากการเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ที่ถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่พรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย ในคดีกลุ่มที่ 1 พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าในคดีกลุ่มที่ 2 ถูกฟ้องร้องเป็นจำเลยในข้อกล่าวหา เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย และกระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ

คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการไต่สวนพยานครบถ้วนเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 ต่อมาตุลาการรัฐธรรมนูญแต่ละคน ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตนออกมาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยกลางในช่วงบ่ายจนถึงเกือบเที่ยง คืนของวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 เริ่มจากคดีกลุ่มที่ 2 ในส่วนพรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า

โดยมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์และวิทยุตลอดการอ่านคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ สรุป ว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิดในทุกข้อกล่าวหา ส่วนอีก 4 พรรคมีความผิดจริง จึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย รวมทั้งให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคทั้ง 4 พรรค มีกำหนด 5 ปี

เรื่องราวดังกล่าวเกือบจะเลือนหายไปจากความทรงจำของประชาชนอยู่แล้ว แต่มาเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ที่ส่งผลให้ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่าตื่นตัวทางการเมือง หวงแหนประชาธิปไตย อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็คือ
เมื่อ 10 ก.พ.2553 นายสุขสันต์ ชัยเทศ พยานสำคัญในคดียุบพรรคไทยรักไทยเมื่อปี 2550 ร่วมกับนายแพทย์ประสงค์ บูรณ์พงศ์ จัดแถลงข่าวกับสื่อมวลชน เพื่อเปิดเผยเส้นทางการเงินที่นายสุขสันต์ อ้างว่าเป็นเงินค่าจ้างที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี จ่าย เพื่อให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย เป็นเหตุให้พรรคไทยรักไทยถูกศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุบพรรค

โดยนายสุขสันต์ ได้เปิดเผยรายละเอียดการรับเงินจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ว่าเริ่มได้รับเงินค่าจ้างครั้งแรกเมื่อวั นที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นเงินสามแสนบาท หลังจากนั้น นายสุเทพก็จะจ่ายเพิ่มมาให้เรื่อย ๆ โดยผ่านทางนางพรเพ็ญ เลขาส่วนตัวของนายสุเทพ ซึ่งเงินที่ได้รับทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 5,869,362 บาท ซึ่งตนมีหลักฐานการรับและโอนเงินไปยังบัญชีต่าง ๆ อย่างครบถ้วน

ส่วน สาเหตุที่ต้องออกมาแถลงข่าวในครั้งนี้ เนื่องจากก่อนหน้าที่จะเป็นพยานในคดียุบพรรคไทยรักไทยนั้น นายสุเทพ ได้สัญญากับตนไว้ว่าจะจ่ายเงินค่าจ้างให้เป็นเงิน 15 ล้านบาท พร้อมช่วยเหลือด้านคดีในคดีที่ตนปลอมแปลงบัญชีรายชื่อสมาชิกพรรค พัฒนาชาติไทย อีกทั้งยังสัญญาว่าหากพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล จะมอบตำแหน่งเลขารัฐมนตรีให้ แต่นายสุเทพไม่ทำตามสัญญา ตนจึงเกิดความเจ็บแค้นจึงตัดสินใจออกมาเปิดเผยเรื่องทั้งหมด

อีก ประการหนึ่งตนได้สำนึกผิดที่ได้ให้การใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยจนถูกยุบพรรค จึงยอมเปิดเผยเรื่องนี้ให้สังคมได้รับรู้ ว่าใครมีพฤติกรรมเป็นอย่างไร โดยการแถลงข่าวในครั้งนี้ตนขอยืนยันว่าไม่มีผู้ใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์หรือ พรรคเพื่อไทยมีส่วนร่วมในการแถลงข่าวครั้ง นี้แต่อย่างใด โดยขณะแถลง ข่าวครั้งนี้นายสุขสันต์ ได้สวมใส่เสื้อเกราะกันกระสุน พร้อมยืนยันว่าถึงแม้จะถูกดำเนินคดีฐานให้ การณ์อันเป็นเท็จต่อศาลและตุลาการ รัฐธรรมนูญ ต้องติดคุก ตนก็พร้อม ซึ่งหลังจากที่ตนออกมาแฉเรื่องนี้ ก็มีกลุ่มชายฉกรรจ์ ติดตามตนตลอดเวลาอีกด้วย

ติดตามรายละเอียดตามคลิปดังกล่าว http://77.nationchannel.com/playvideo.php?id=76601

ท่าน เชื่อหรือไม่ว่า..?? เจ้าเทพเทือกจะไม่ใช้วิชามารแบบนี้อีก…?? (เรื่องนี้ผมอดเป็นห่วงแดงเทียม หรือลูกพรรคเพื่อไทยบางคนจะเผลอไผลไปขายตัวเข้า เงินเป็นสิบล้าน มันไม่เข้าใครออกใคร )


หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2553 กกต. ได้ยกคำร้องกรณีพยานกลับคำให้การคดียุบพรรคไทยรักไทย

นายภุชงค์ นุตราวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการการมีส่วนร่วม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ครั้งที่ 113/2553 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2553 ได้พิจารณากรณีที่ นายวุฒิ สุนทรเดช,พลตำรวจตรี มณเฑียร ประทีปวนิช และนายบุญมี วงศ์สีดา ได้ยื่นหนังสือร้องเรียน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งไต่สวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริงใหม่ซึ่งอ้างว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญ ที่นำไปสู่การยุบพรรคไทยรักไทยไปแล้ว

กล่าวคือได้เปิดเผยว่า นายสุขสันต์ ชัยเทศ อดีตผู้อำนวยการพรรคชาติไทย และ นายชวการ โตสวัสดิ์ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคชาติไทย ได้ออกมาเปิดเผยว่าข้อเท็จจริงที่ได้เบิกความต่อศาลและที่ได้ให้การต่อคณะ กรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นความเท็จทั้งหมด โดยนายสุขสันต์ฯ และนายชวการฯ ได้รับการจ้างวานจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งเป็นผู้วางแผน ซึ่งในตอนแรกให้การว่ารับสินบนจาก พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อันเป็นมูลเหตุให้มีการยุบพรรคไทยรักไทยในที่สุด โดยบุคคลทั้งสามดังกล่าวได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่างวาระกัน

ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาแล้วเห็นว่าการยื่นเรื่องร้องเรียนของ บุคคลทั้ง 3 เป็นประเด็นเดียวกันจึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยเรื่องคัดค้านและ ปัญหาข้อโต้แย้งคณะที่ 8 เป็นคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง ซึ่งได้มีกระบวนการ ไต่สวนโดยเชิญพยานผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ปากคำหลายครั้ง โดยคณะกรรมการไต่สวนได้มีความเห็นสรุปดังนี้

1. แม้คำให้การของนายสุขสันต์ โตสวัสดิ์ หรือ นายสุขสันต์ ชัยเทศน์ ที่ให้การต่อคณะกรรมการไต่สวนจะแตกต่างไปจากคำให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวน ข้อเท็จจริงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ ศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคไทยรักไทยก็เป็นเพียงกรณีที่พยานกลับคำให้การนอก ศาลในภายหลังมิใช่พยานหลักฐานใหม่แต่อย่างใด

2. ยังไม่มีคำพิพากษาในคดีอาญาที่พิพากษาถึงที่สุดว่า นายชวการ โตสวัสดิ์ และนายสุขสันต์ ชัยเทศ ให้การเท็จต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการการเลือก ตั้ง หรือเบิกความเท็จต่อศาลรัฐธรรมนูญจนเป็นเหตุให้ตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง ให้ยุบพรรคไทยรักไทย

3. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญย่อมเป็นเด็ดขาดมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 268 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และมาตรา 216 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะว่าให้ผู้ใดหรือองค์การ ใดสามารถอุทธรณ์ ฎีกา เปลี่ยนแปลง หรือรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้

คณะกรรมการไต่สวนจึงมีความเห็นว่าควรยกคำร้องของทั้ง 3 กรณี ที่ประชุม กกต. พิจารณาแล้ว มีความเห็นด้วยคะแนนเสียงข้างมากว่าพยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกร้อง และพรรคประชาธิปัตย์กระทำการฝ่าฝืนตามข้อกล่าวหาอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ประกอบมาตรา 94 (3) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 จึงมีมติให้ยกคำร้องตามความเห็นของคณะกรรมการไต่สวน

แล้วท่านเชื่อหรือไม่ว่า..?? กกต.จะไม่ใช้วิธีพิจารณาคดีในลักษณะแบบนี้อีก หากพรรคเพื่อไทยเจอใบแดง หลังการเลือกตั้ง

เหตุการณ์ต่างๆดังกล่าวข้างต้น มันกำลังจะกลายเป็นวงจรอุบาทว์กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านที่ติดตามข่าวสาร การบ้านการเมือง คงจะนึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับแต่วันที่ นายอภิสิทธิ์ฯประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2554

ความผิดปกติประการแรก นาย อภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เข้าพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ เมื่อวันที่ 22 พ.ค.54 การเข้าพบครั้งนี้จะมีจริงหรือไม่ เข้าพบด้วยเรื่องอะไร? มีการสั่งการอะไร? ไม่มีใครทราบได้ นอกจากตัวนายอภิชาตฯเท่านั้นที่ทราบ แต่ที่แน่ๆ เข้าพบจริง

แล้วท่านเชื่อหรือไม่ว่า..?? นายอภิชาตฯไม่ได้เข้าพบ พล.อ.เปรม

ความผิดปกติประการที่สอง นับเป็นปรากฎการณ์แปลกประหลาดมหัศจรรย์ ที่พรรคการเมืองระดับเซียนของการวางแผนชั่ว จะมาเสียท่ากับไอ้เรื่องกระจอกๆในการแจกซีดีและเอกสารโจมตีพรรคเพื่อไทย จนกระทั่งถูกจับกุมพร้อมหลักฐานถึง 3 เหตุการณ์ ทั้งที่รู้ว่าการกระทำดังกล่าวมันผิดกฎหมายเลือกตั้งถึงขั้นยุบพรรค
โดยเฉพาะการปราศรัยหาเสียงของพลพรรคประชาธิปัตย์ และการให้สัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ นายชวน นายสุเทพ ที่ระบุว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์เล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ครอบครัวและปกป้อง ทักษิณนั้น ถือเป็นการใส่ความเท็จ ผิดมาตรา 53(5) พ.ร.บ.การเลือกตั้ง การที่ระบุว่าเลือกพรรคเพื่อไทยจะได้พวกเผาบ้านเผาเมือง เป็นพวกก่อการร้าย ก็เข้าข่ายการใส่ร้ายป้ายสี เนื่องจากข้อเท็จจริงแล้วยังไม่มีการพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรมว่าใครเป็น คนเผาบ้านเผาเมืองมีความผิดฝ่าฝืนมาตรา 53(5) พ.ร.บ.เลือกตั้งเช่นกัน ที่สำคัญมีผลเกี่ยวโยงถึงมาตรา 237 ตามรัฐธรรมนูญ และมาตรา 94 ตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง มีโทษถึงขั้นยุบพรรค !

ประเด็นดังกล่าว ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้มีการแนะนำคนในพรรคประชาธิ ปัตย์ ว่าหากจะพูดถึงแกนนำคนเสื้อแดงในช่วงเลือกตั้งห้ามระบุว่าเป็นผู้ก่อการร้าย แต่ให้เลี่ยงไปใช้คำว่ามีพฤติการณ์เป็นผู้ก่อการร้าย เพื่อไม่ให้มีปัญหาฟ้องร้องตามมา ก็ตาม

แล้วท่านเชื่อหรือไม่ว่า..?? บรรดาแกนนำของพรรคประชาธิปัตย์เหล่านั้น มันโง่เง่าปัญญาควาย ถึงขนาดไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเรื่องที่พวกมันปราศรัยหาเสียง การให้สัมภาษณ์ตามสถานที่ต่างๆทั่วประเทศ รวมถึงการใช้ Face book ของนายอภิสิทธิ์ ที่ใช้โจมตี ใส่ร้ายป้ายสี พรรคเพื่อไทยและผู้สมัคร มันมีโทษทางกฏหมายมากน้อยแค่ไหน

ความผิดปกติประการที่สาม

หลังจากการปราศรัยที่ราชประสงค์ ที่หวังจะสร้างสถานการณ์รุนแรงแล้วโยนความผิดให้กลุ่มคนเสื้อแดงแต่แผนดัง กล่าวถูกสั่งห้ามเสียก่อน กอปรกับเสียงตอบรับในการปราศรัยไม่ได้ส่งผลถึงคะแนนเสียงทีเพิ่มขึ้น ในพื้นที่ กทม.แต่อย่างใด เพราะครึ่งหนึ่งของจำนวนประชาชนที่มาฟังการปราศรัยในวันนั้น มันเป็นมวลชนจัดตั้งที่เดินทางมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฏร์ธานี

ความ ผิดปกติทั้งสามประการ กอปรกับผลโพลทุกค่ายและของพรรคประชาธิปัตย์เอง สรุปในแนวทางเดียวกันคือแพ้การเลือกตั้งอย่างย่อยยับ ดังนั้น มันจึงเป็นที่มาของแผน ยุบพรรค


ข่าวทางลึกจาก War room สี่เสาและ กกต. มีดังนี้ครับ

- กรณีหากยุบพรรคเพื่อไทย บ้านเมืองจะบรรลัยจากการต่อต้านของมวลชนคนเสื้อแดง

- กรณีหากยุบพรรคประชาธิปัตย์ ความร้อนแรงของเหตุการณ์ทางการเมืองจะน้อยลง แต่......จะเกิดทางเลือกใหม่ นั่นคือ รัฐบาลแห่งชาติ

รัฐบาลแห่งชาติ ดังกล่าว เกิด จากความคิดของคนสองกลุ่มใน War Room สี่เสา คนกลุ่มแรกก็คือบรรดานายทุนนักธุรกิจ อีกกลุ่มหนึ่ง คือทหาร ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงนายทหารอาชีพที่เคารพรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย แต่หมายถึงทหารที่แทรกแซงการเมืองจนเป็นอาชีพ

ประเด็นสำคัญ แนวทางการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ของกลุ่มบุคคลชั้นสูง บุคคลในกองทัพ และจากฝ่ายการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ มีเหตุผลเพียงเพื่อ เตรียมการแก้โจทย์ใหญ่ เตรียมการรับมือภยันตราย จากบุคคลที่มองว่าเป็นมหันตภัย นั่นคือ “ทักษิณ”

แต่สิ่งที่สำคัญหรือหัวใจในการวางแผนครั้งนี้ มีข้อสรุปว่า หากพรรคเพื่อไทยประสบชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น นั่นย่อมหมายถึงแผนการทั้งหมดต้องถูกยกเลิกในทันที

สรุป วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฏา ปวงประชาชาวไทย มวลชนคนเสิ้อแดง ที่รักความยุติธรรม หวงแหนประชาธิปไตยยิ่งชีวิต ท่านต้องออกถล่มทลายในการเข้าคูหาเพื่อกาบัตรเลือกตั้งหมายเลข 1 เท่านั้น

แผนชั่วทั้งหลายมันก็จะกลายเป็นกระดาษชำระในทันที ประชาชนจงเจริญ..........

*********
ข่าวเกี่ยวเนื่อง:ปูดข้อตกลงลับ3ฝ่าย พลังพิเศษยอมเพื่อไทยตั้งรัฐบาล แลกนิรโทษกรรมมาร์ค+ฆาตกร91ศพ-หยุดหมิ่น

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker