บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

"เกษียร" วิพากษ์จุดอ่อนของทฤษฎีสมคบคิดว่าอเมริกาอยู่เบื้องหลังความวุ่นวายทั้งหมด

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ \ได้เขียนวิเคราะห์วิจารณ์
แนวคิดเรื่องสหรัฐอเมริกาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์วุ่นวาย
และความขัดแย้งทั้งหมดทางการเมืองไทย
ที่ถูกนำเสนอโดยสื่อบางสำนักและนักวิชาการบางราย ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว
มติชนออนไลน์เห็นว่ามีเนื้อหาน่าสนใจ จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ดังนี้


การหาความรู้แบบข่าวกรอง-แผนสมคบคิด-ภูมิรัฐศาสตร์
แบบนี้มีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ควรคำนึงนะครับ
จุดแข็งคือเก่งในแง่ขุดคุ้ยเจาะลึกหาข้อมูลเอกสารนโยบายลับ
และเชื่อมโยงเส้นสายความสัมพันธ์ทางการเงิน
แต่จุดอ่อนคือจะตีความความเชื่อมโยงนั้นอย่างไร?
จะแปรความต้องสงสัย (suspicion - หลักตรรกะดำเนินการของงานข่าวกรอง)
ไปเป็นการพิสูจน์จริงอย่างสิ้นสงสัย
(proof - หลักตรรกะดำเนินงานของงานวิชาการและกระบวนการยุติธรรม) อย่างไร



จุดโหว่สำคัญอีกอย่างของการหาความรู้แบบข่าวกรอง-แผนสมคบคิด-ภูมิรัฐศาสตร์ก็คือ
หยาบง่ายและคำนึงน้อยไปถึงความ สลับซับซ้อนของ

1)causal linkages (สายโซ่เหตุผล - มติชนออนไลน์) จากต้นทางที่อ้างเป็นเหตุ เช่น
แหล่งเงิน ไปถึงปลายทางที่ระบุเป็นผล เช่น
องค์กรที่รับเงินอุดหนุน นั้นมีห่วงโซ่เชื่อมโยงหลากหลายข้อมาก
ในแต่ละข้อสามารถมีเจตจำนงและหลักดำเนินงาน
ที่แตกต่างบิดเบนเปลี่ยนแปลงไปจากต้นทาง
ใช่ว่าจะสั่งได้ตรงเต็มร้อย
โดยไม่แปรตามสภาพความเป็นจริงและเป็นไปในแต่ละท้องถิ่นเลย
ต้นทางอาจออกเงินหนุนประชาธิปไตย
แต่ระหว่างทางอาจแปรเป็นหนุนพรรคพวกเพื่อนพ้อง
พอไปปลายทางกลายเป็นหนุนกลุ่มจัดตั้งขวาจัดมุ่งบ่อนทำลายประชาธิปไตยก็เป็นได้

นึกออกไหมครับ?

2) คิดตื้นและง่ายเกินไปเกี่ยวกับแรงจูงใจของตัวละครแต่ละตัว
ในสายโซ่เหตุผล ตีความเหมารวมว่า
แรงจูงใจง่ายตรงหรือเหมือนกับต้นทางของเงินหมด
ใคร ๆ ก็รู้ว่าในชีวิตจริง มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น
ตัวละครในสายโซ่ที่ยาวแต่ละข้อล้วนมีเจตจำนงแรงจูงใจต่างกันไป
และนี่ย่อมส่งผลโดยตรงต่อปฏิบัติการที่ออกมา
เป็นไปได้ว่าต้นทางต้องการครอบงำ
แต่ระหว่างทางมันเป็นสถาบันวิจัย/วิชาการที่เน้นบรรทัดฐานคุณค่าอีกชุดหนึ่ง

สองอย่างนี้จะไม่ส่งปฏิกิริยาต่อกันเชียวหรือ? บ้างเลยหรือ?

เพราะฉะนั้นก็ทำไปเถิดครับ
แต่อย่ามองข้ามจุดอ่อน
อย่าคิดแต่ในกรอบเดียวตรรกะเดียว มันเท่ห์ดี แต่มันแคบและอาจพลาดได้



สุดท้ายคือ
มันถูกบิดเบือนฉวยใช้ไปเพื่อภารกิจการเมืองเฉพาะหน้าของฝ่ายต่างๆ ได้ง่ายมาก
โดยเป้าหมายของภารกิจนั้นอาจไม่เกี่ยวกับความรู้ทั้งเรื่องนั้นเลย เช่น
กรณีที่คณะเอเอสทีวีและพี่ยุค ศรีอาริยะหยิบข้อมูลเหล่านี้มาใช้
เพื่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกาหรือ?
หรือเพื่อภารกิจเฉพาะหน้าอย่างอื่นกันแน่?

พูดด้วยภาษาโพโม (โพสต์โมเดิร์น - มติชนออนไลน์) คือ
เอา Grand Conspiracy Narrative (เรื่องเล่าใหญ่เกี่ยวกับการสมคบคิด - มติชนออนไลน์)
มากดทับ Local Specific Narratives (เรื่องเล่าเฉพาะของท้องถิ่นต่างๆ - มติชนออนไลน์)
ทั้งหมด ไม่ให้มันมีความหมายอื่นได้เลย นอกจากในความหมาย (ซึ่งจริงหรือเท็จก็ไม่รู้แน่)
ของเรื่องเล่าใหญ่ (ที่หลวม ๆ โหว่ ๆ) นั้น




คลิกอ่าน
วิวาทะ "ยุค ศรีอาริยะ-เกษียร เตชะพีระ" อเมริกาใช้ "คอร์แนล" ครอบงำความคิดปัญญาชนไทยจริงหรือ?
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1328360499&grpid=01&catid=02



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1328538618&grpid=03&catid=&subcatid=

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker