ที่มา thaifreenews
โดย เสียงประชาไทย
หลังจากที่รัฐบาลแมลงสาบ. . .
ประกาศขับเคลื่อนนโยบายประชานิยม เพื่อนำพาประเทศผ่านพ้นวิกฤติทั้งทางเศรษฐกกิจ สังคม และการเมือง
โดยจะ. . .
- จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปให้ครบทุกคน
- แจกเงินช่วยเหลือค่าครอบชีพจำนวน2,000บาท ให้พนักงานผู้ที่มีบัญชีอยู่ในระบบประกันสังคม
- จ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 830,000 คนทั่วประเทศ
- ให้เด็กเรียนฟรี 15 ปี
แถมยังมีแผนเตรียมกระจายเม็ดเงินอีกกว่าสามแสนล้านไปสู่ชนบท
แค่นโยบายผู้สูงอายุก็ไม่มีทางเป็นได้แล้ว
ในประเทศเรานั้นมีผู้สูงอายุในที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไปประมาณ 7.3 ล้านคน ซึ่งผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติที่จะได้รับการสงเคราะห์ ต้องผ่านการตรวจสอบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับการสงเคราะห์ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 หรือไม่
กล่าวคือ ต้องเป็นผู้มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ส่วนคนที่ได้รับบำเหน็จบำนาญ หรือมีเงินรายได้ที่เพียงพอต่อการยังชีพอยู่แล้วย่อมไม่อยู่ในหลักเกณฑ์
ซึ่งจำนวนผู้สูงอายุที่ได้แจ้งให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบ (ณ เมษายน 2551) มีจำนวนประมาณ 2.8 ล้านคน
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้ตั้งงบประมาณเพื่อจ่ายเป็นเบี้ยยังชีพคนชรา จำนวน 10,970.74 ล้านบาท เป้าหมายประมาณ 1.8 ล้านคน โดยมีอัตราการจ่ายเบี้ยยังชีพ จำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน
ดังนั้น หากกลางปีนี้มีการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จำนวน 6,000 ล้านบาท ก็จะเพียงพอสำหรับผู้สูงอายุอีกประมาณ 1.0 ล้านคนเท่านั้น รวมผู้สูงอายุจะได้รับเบี้ยยังชีพเพียง 2.8 ล้านคน นั่นหมายความว่าแม้ในปี พ.ศ. 2552 หากรัฐบาลแมลงสาบสามารถจัดหาเงินมาจ่ายให้ผู้สูงอายุได้ตามที่ประกาศจริง ก็จะยังมีผู้สูงอายุอีกจำนวน กว่า4.5 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ
การประกาศให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้มีอายุเกิน 60 ปีขี้นไปครบทุกคน โดยไม่ขยายความให้ชัดเจนเช่นนี้ สร้างความเข้าใจคลาดเคลื่อนสับสนให้แก่ผู้เฒ่าผู้แก่และพี่น้องในชนบท ถึงตอนนี้ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นเดินไปทางไหนมักถูกถามไถ่ว่าจะได้เงินวันไหน เพราะต่างเข้าใจว่าเงินก้อนนี้ต้องถ่ายโอนมาที่ท้องถิ่น(อบจ.,อบต.,เทศบาล)เรียบร้อยแล้ว
ขณะนี้อย่าว่าแต่การปฏิบัติตามนโยบายที่กล่าวมานี้เลย
ตอนนี้เข้าไตรสองที่สามแล้ว เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลแมลงสาบต้องจัดสรรส่งให้ท้องถิ่นนั้น
ขอบอก…ท้องถิ่นทั่วประเทศยังไม่ได้รับแม้แต่บาทเดียว!!!
ขณะนี้เข้าไตรมาสที่สอง เงินอุดหนุนของท้องถิ่นจำนวน134,584.42 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
เงินอุดหนุนทั่วไป จำนวน 104,099.78 ล้านบาท
เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ จำนวน 30,484.64 ล้านบาท
ต้องสะดุดเพราะคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนยังมิได้พิจารณาเรื่องดังกล่าว
ท้องถิ่นประสบปัญหาด้านรายได้ที่มีความจำเป็นในการใช้จ่ายเงิน โดยเฉพาะรายจ่ายที่ต้องจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน ท้องถิ่นต้องร้องเรียนความเดือนร้อนนี้ให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ถึงขั้นกรมส่งเสริมฯ มีหนังสือด่วนที่สุด ถึงประธานคณะกรรมการกระจายอำนาจฯ ให้เร่งพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และเร่งรัดการจัดสรรเงิน แต่แล้วทุกวันนี้ผลการเร่งรัดยังไม่คืบหน้าเลย
อย่าว่าแต่เงินอุดหนุนทั่วไปเลย
แม้แต่เงินรายได้ของท้องถิ่นในส่วนที่เป็นภาษีที่รัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บโดยหน่วยราชการต่างๆ และต้องนำส่งให้ท้องถิ่นนั้น
หากเทียบกับปีก่อนๆ บอกได้เลยว่าไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยทั้ง. . .
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีสุราสรรพสามิต
ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ล้วนไม่เป็นไปตามเกณฑ์และห้วงระยะเวลาเหมือนปีผ่านๆมา
เชื่อไหม?
เดือนมกราคมนี้ ท้องถิ่นเกือบทั่วประเทศไม่มีเงินแม้แต่จะจ่ายเป็นค่าเงินเดือนและค่าตอบแทนให้ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ตลอดถึงผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น ถึงขั้นกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นมีหนังสือซักซ้อมถึงท้องถิ่นทั่วประเทศให้ขอทำความตกลงกับผู้ว่าราชการจังหวัดให้สามารถนำเงินสะสมของท้องถิ่นมาจ่ายพรางไปก่อน
โดยตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 ข้อ 4 ประกอบคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่181/2548 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2548
กระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทน เพื่อขยายระยะเวลาการนำเงินสะสมของท้องถิ่นมาใช้ในเวลาจำเป็น หากพ้นสามเดือนแรกของปีงบประมาณและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปดังกล่าว จะทำให้รายรับไม่เพียงพอกับรายจ่ายในการบริหารงาน และจะไม่สามารถนำเงินสะสมมาทดรองจ่ายได้ เนื่องจากระเบียบกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้สามารถนำเงินสะสมทดรองจ่ายได้เพียงระยะสามเดือนแรกของปีงบประมาณเท่านั้น
เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นตัวจักรสำคัญในการช่วยให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจในภาครวมของประเทศและไม่ผิดวินัยการคลัง
ทำให้ท้องถิ่นต่างๆ เริ่มทยอยทำข้อตกลงกับผู้ว่าราชการจังหวัดขอนำเงินสะสมทดรองจ่ายในระยะหกเดือนแรกของปีงบประมาณกันแล้ว
เรื่องนี้มิใช่เรื่องเล็กน้อย อาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณอันตรายที่บ่งชี้ถึงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังถาถมเข้าใส่สังคมไทย
เมื่อกล่าวถึงเงินสะสม ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเงินสะสมนั้นมีความสำคัญต่อการบริหารงานท้องถิ่นอย่างมาก
ในแต่ละปีท้องถิ่นจะกันเงินรายรับของตนไว้เพื่อภารกิจที่สำคัญ เพื่อเตรียมพร้อมในการบรรเทาความเดือนร้อนและป้องกันสาธารณภัยของพี่น้องประชาชน
เช่น อัคคีภัย อุทกภัย โรคระบาด ฯลฯ
เอาง่ายๆ กรณีเกิดน้ำท่วม หรือไฟไหม้ หากลองย้อนนึกดูทางสื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ท่านจะเห็นภาพผู้บริหารท้องถิ่นและพนักงานท้องถิ่นเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสพภัยอย่างฉับพลันทันที
ก่อนที่ส่วนราชการและหน่วยงานอื่นๆ จะเข้าถึงด้วยซ้ำ เรียกว่าให้ความช่วยเหลือชนิดรวดเร็วทันกาลและมีประสิทธิภาพ
ที่ทำได้เช่นนี้ได้ก็เพราะท้องถิ่นได้กันเงินสะสมส่วนนี้เอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน
ทุกวันนี้เสถียรภาพทางการเงินของท้องถิ่นกำลังประสบปัญหาอย่างไม่เคยมีมาก่อน!!
และเสถียรภาพทางการเงินของท้องถิ่นนี้เองก็เหมือนกระจกเงาโยงใยไปถึงเสถียรภาพการเงินของรัฐบาล
ถามว่านโยบายการคลังของรัฐบาลที่ประกาศออกมานั้น สอดคล้องกับสถานะการคลังของรัฐบาลหรือไม่
ซึ่งถ้าหากฐานะทางการคลังอ่อนแอ ก็จะส่งผลให้เสถียรภาพการเงินเสียหายเกิดภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินตก ความน่าเชื่อถือของประเทศจะเสียหายได้
หลักความยั่งยืนทางการคลัง
-รัฐบาลไม่ควรก่อหนี้สาธารณะเกินร้อยละ 50 ของรายได้ประชาชาติ(GDP)
-รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ไม่เกินร้อยละ 15 ของงบประมาณ
-มีการจ่ายเพื่อการลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 25
-มีการจัดทำงบประมาณสมดุลเป็นครั้งคราว
ซึ่งรัฐบาลแมลงสาบคำนึงถึงเรื่องนี้ให้มาก
หลักการรักษาวินัยทางการคลังโดยพื้นฐานก็คือ
- รัฐบาลแมลงสาบต้องไม่ใช้จ่ายเกินตัว
- ถ้าจะใช้ต้องหารายได้มาให้พอเพียงกับการใช้จ่าย
- ถ้าจะก่อนหนี้ก็ต้องก่อแต่พอควร
- บริหารให้ไม่เป็นภาระต่องบประมาณในอนาคตจนต้องไปเบียดบังส่วนอื่น
-ส่วนที่จะนำไปลงทุนต้องสามารถในการชำระคืนได้
จริงๆแล้วในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลก็ย่อมไม่กล้าหารายได้โดยการขึ้นภาษี รัฐบาลแมลงสาบเอง ก็เห็นมีแต่ก่อหนี้สาธารณะโดยการกู้เงินจากทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ และดึงเงินจากกองทุนต่างๆ เท่านั้น
และถ้ารัฐบาลแมลงสาบยังก่อหนี้สาธารณะโดย. . .
ไม่คำนึงถึงฐานะทางการเงินของประเทศ
ไม่คำนึงถึงสถานการณ์การเงินของโลก
ไม่คำนึงถึงสถานการณ์การเมืองและความมั่นคงในประเทศแล้ว ดูท่าวิกฤติเศรษฐกิจปีนี้จะยิ่งแย่กว่าปี 40
การที่รัฐบาลแมลงสาบคิดเพียงก่อหนี้สาธารณะมาเพื่อสนองนโยบายประชานิยมกลับยิ่งจะก่อภาระให้ท้องถิ่นในอนาคตเพราะงบประมาณแต่ละนโยบายทั้งเบี้ยยังชีพ ค่าอุปกรณ์การศึกษา ค่าอาหารกลางวัน ค่าอาหารเสริมเด็ก ค่าตอบแทน อสม.ล้วนต้องถ่ายโอนผ่านท้องถิ่นทั้งสิ้น
ถึงตอนนี้ อย่าว่าแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ถนน สะพาน การพัฒนาพื้นที่การเกษตร การจ้างแรงงานชาวบ้านตัดหญ้าดายหญ้า หรือแม้แต่การส่งเสริมอาชีพพื้นบ้านชนบทเลย
แค่เงินเดือนตัวเองยังจะไม่พอจ่าย!!
แล้วจะไปดูแลพี่น้องประชาชนให้อยู่ดีกินดีได้หรือ!!
นี่ยังไม่รวมประเด็นสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล
ที่รัฐบาลต้องจัดสรรให้ท้องถิ่นในสัดส่วน
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของประมาณการรายรับในแต่ละปี
และต้องมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งเงินส่วนนี้นี่เองที่ท้องถิ่นมีแผนงานรองรับที่จะนำไปดำเนินภารกิจให้ครบทุกด้าน
หากเงินที่ได้รับการจัดสรรตามนโยบายข้างต้นรวมอยู่ในสัดส่วนนี้ด้วย
หากมีเป้าหมายเพียงนำมาใช้จ่ายเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำ
ไม่มีส่วนเหลือ
ที่จะนำไปเป็นงบเพื่อการลงทุนหรืองบพัฒนา
ความเจริญก้าวหน้าด้านอื่นจะกระทบหรือไม่
หรือ รัฐบาลแมลงสาบเพียงต้องการจะทำประชานิยมเพื่อสร้างภาพให้แก่ตัวเอง โดยไม่คำนึงผลระยะยาวแค่นั้น!!!