วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

กระทุ้งG20กดดันมาร์ค ยุติใช้กฎหมายหมิ่นกำหราบฝ่ายประชาธิปไตย

ที่มา Thai E-News


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
25 มีนาคม 2552

กลุ่มพลังชาวเน็ตที่เคลื่อนไหวประชาธิปไตย ในประเด็นสิทธิมนุษยชน ได้จัดทำจดหมายเผิดผนึกฉบับหนึ่งถึงกลุ่มประเทศ G20 ที่จะจัดการประชุมขึ้นในต้นเดือนเมษายน เรียกร้องให้เพิ่มแรงกดดันต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่จะเดินทางเข้าร่วมประชุมดังกล่าวที่อังกฤษ


โดยจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวมีถึงสถานทูตของประเทศในกลุ่ม G20 ขอให้เอกอัครราชทูตของประเทศดังกล่าวได้นำเนื้อหาในจดหมายนี้ส่งต่อไปยัง รัฐบาลของตน เพื่อร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ พิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และยุติการคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน โดยเฉพาะอ่านทางอินเตอร์เน็ต

ผู้ที่เห็นด้วยกับข้อความดังกล่าวสามารถร่วมกันรณรงค์โดยส่งจดหมายฉบับภาษา อังกฤษ (ดูคำแปลในฉบับภาษาไทย) ไปยังอีเมล์ของประเทศต่าง ๆ ดังปรากฎด้านล่างนี้ โดยขอให้ท่านเติมข้อความในหัวจดหมายโดยระบุว่าส่งถึงทูตของประเทศอะไรให้ ชัดเจน เช่น ถ้าจะส่งไปยังสถานทูตออสเตรเลีย ก็ให้ใส่ว่า

Dear Your Excellency, the Australian Ambassador to Thailand.

แต่ สำหรับท่านที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษเลย และต้องการร่วมในการรณรงค์นี้ เราเชื่อว่าการส่งจดหมายฉบับภาษาไทยก็ยังใช้ได้เช่นกัน เพราะต้องมีเจ้าหน้าที่สถานทูตแปลเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาของประเทศนั้น โดยขอให้เขียนข้อความขึ้นต้นจดหมายว่า
"กราบเรียน ฯพณฯเอกอัครราชทูต (ชื่อประเทศไทย) ประจำประเทศไทย ที่นับถือ

เราอยากให้ท่านส่งถึงทุกประเทศในกลุ่ม G20 ทุกประเทศ แต่หากท่านไม่มีเวลามากพอ ก็สามารถเลือกเอาบางประเทศที่ท่านเห็นว่าพวกเขามีความสนใจในปัญหา ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนก็ได้

เบอร์อีเมล์ของเอกอัคราชทูตประเทศG20

Argentina embtail@csloxinfo.com

Australia, austembassy.bangkok@dfat.gov.au

Brazil, info@brazilembassy.or.th

Canada, Bangkok-im-enquiry@international.gc.ca

China, chinaemb_th@mfa.gov.cn

France, Address:29 South Sathorn Rd., Bangkok 10120

Germany, info@german-or.th

India, indiaemb@mozart.inet.co.th

Indonesia : thaijkt@indo.net.id

Italy, ambasciata.bangkok@esteri.it


Japan, Address: 9 Floor, Sermmitr Tower Asoke, Sukhumvit Rd., Bangkok 10110

Mexico, mexthai@loxinfo.co.th

Russia, rosposol@cscoms.com

Saudi Arabia, Address: 23 Floor, Saengthong Thani Building , 82 North Sathorn R., Bangkok 10500

South Africa, Address: 6 Floor, the Park Place 231 Soi Sarasin, Lumpini Bangkok 10330

South Korea, korembas@ksc.th.com

Turkey, tcturkbe@mail.cscoms.com

the United Kingdom britemb@loxinfo.co.th

the United States of America and Address: 120-122 Wireless Rd., Bangkok 10330

the European Union Address:19 Floor, Kian Gwan House 2, 140/1 Wireless Rd., Bangkok 10330

จดหมายเปิดผนึกฉบับภาคภาษาไทย

เรียน ฯพณฯ ท่านเอกอัครราชทูต(ใส่ชื่อประเทศ)ประจำประเทศไทย

พวกเรากำลังดำเนินการรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สืบเนื่องมาจากการใช้กฎหมายดังกล่าวในทางไม่ชอบธรรม โดยเฉพาะการใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ เราจึงมีหนังสือมาถึงท่าน เพื่อขอแรงสนับสนุนจากท่านในพันธกิจข้างต้นของเรา มา ณ ที่นี้ด้วย

พวกเราในฐานะผู้ที่เชื่อในคุณค่าแห่งประชาธิปไตย เราขอแสดงความกังวลใจต่อการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกค้นสำนักงานของประชาไท – หนึ่งในสำนักข่าวทางเลือกไม่กี่แห่งในโลกอินเตอร์เน็ต –และจับกุมผู้จัดการเว็บไซต์ประชาไทเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา โดยใช้ข้อหาจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 นอกจากนี้ เรายังกังวลใจอย่างยิ่งต่อจำนวนผู้ถูกกล่าวหาด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตามคำแถลงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552 มีเว็บไซต์ 3,000-4,000 แห่งตกเป็นเป้าในการสอบสวนเพื่อหาข้อความที่ถือว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมีเว็บไซต์อีกประมาณ 2,300 แห่งถูกสั่งปิดไปแล้วโดยรัฐบาล ซ้ำร้าย ท่ามกลางปฏิบัติการที่กำลังดำเนินการอยู่โดยหลายหน่วยงานของรัฐนั้น รัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรียังได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 อีกว่า มีแผนการตรวจสอบบรรดาสถานีวิทยุชุมชนด้วยเช่นกัน

ท่ามกลางการแบ่งขั้วทางการเมืองที่รุนแรงยิ่งในประเทศไทยปัจจุบัน การใช้กฎหมายและข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างไม่สมเหตุสมผลมีส่วนในการสร้างบรรยากาศของความหวาดกลัวและความไม่มั่นคงในประเทศไทยให้รุนแรงมากขึ้น ในสภาวการณ์เช่นนี้เสรีภาพจากความกลัวและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรง การดำเนินงานของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไปในทิศทางเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการเดินสวนทางกับหลักการพื้นฐานของสังคมเสรีประชาธิปไตยอย่างเห็นได้ชัด บรรยากาศแห่งความกลัวและความไม่มั่นคงนี้จะดำรงอยู่ต่อไปตราบเท่าที่รัฐบาลยังไม่สามารถแยกแยะ หรือไม่ต้องการแยกแยะ ระหว่างภัยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในโลกของความเป็นจริงกับภัยที่จินตนาการขึ้นมาเองได้ นับเป็นเรื่องที่น่าหวั่นวิตกยิ่งที่บรรดาผู้มีอำนาจทางการเมืองในประเทศกลับยอมให้ความกลัวเช่นนั้นมาชี้นำวาระของชาติ เราไม่สามารถเข้าใจได้เลยว่า ทำไมการต่อสู้ในเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจึงดูมีความสำคัญต่อรัฐบาลปัจจุบัน มากกว่าเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม และปัญหาความไม่มั่นคงในชีวิตซึ่งประชาชนกำลังเผชิญอยู่อย่างหนักหน่วงรุนแรง

นอกจากนี้ บรรยากาศแห่งความกลัวและความไม่มั่นคงอันถูกสร้างขึ้นโดยรัฐบาลยังส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวงการวิชาการอีกด้วย การที่การศึกษาในมหาวิทยาลัยจะดำเนินไปได้ในปัจจุบันนั้น นักวิชาการจำต้องมีสิทธิในการค้นคว้าวิจัยอย่างมีอิสระ สามารถที่จะเสวนาแลกเปลี่ยนได้อย่างเปิดกว้าง และต้องมีพื้นที่สำหรับการแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ การใช้ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อนักวิชาการที่ศึกษาและถกประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการกระทำที่ขัดต่อเสรีภาพทางวิชาการในสังคมเสรีประชาธิปไตย ถ้าหากนักวิชาการรู้สึกหวั่นเกรงว่างานของตนอาจจะถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้เช่นนี้เสียแล้ว การเรียนการสอนและการศึกษาวิจัยของพวกเขาก็แทบจะไม่มีทางเดินหน้าไปได้

ดังนั้น พวกเราจึงขอกล่าวย้ำข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ปรากฏขึ้น ดังนี้:
1. รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์นี้ ไม่สามารถและไม่ต้องการที่จะแยกแยะการเรียกร้องให้ปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างบริสุทธิ์ใจ ออกจากการกระทำที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การเรียกร้องใดที่มุ่งหวังให้ทบทวนข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อบุคคลต่างๆ ในรอบสองสามปีที่ผ่านมานี้นั้น กลับถูกป้ายสีว่าเป็นตัวจุดชนวนความเกลียดชังในสังคมไทยและ/หรือเป็นการเรียกร้องระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐเสมอมา ถ้าหากรัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยตามที่ตนเองได้กล่าวอ้างจริงๆ ก็สมควรอนุญาตให้พลเมืองของตนสามารถอภิปรายถกเถียงกันด้วยเหตุและผลเกี่ยวกับระบบการเมืองและระบบกฏหมายที่พวกเขาต้องการได้
2. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่รัฐได้ออกมายอมรับเองว่า ไม่มีหลักการหรือมาตรฐานใดๆ ที่ชี้ชัดแน่นอนว่า เนื้อหาและการแสดงความคิดเห็นใดบนเว็บไซต์ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่กลับมีการปิดเว็บไซต์และการจับกุมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตรวมถึงการบุกตรวจค้นอย่างกว้างขวาง เรื่องนี้นอกจากจะชี้ให้เห็นถึงการใช้ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเหวี่ยงแหแล้ว ยังจะเป็นการปลุกเร้าให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากผู้บริสุทธิ์และผู้ที่อุตส่าห์เสนอความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์แต่กลับตกเป็นเหยื่อของข้อหาหมิ่นฯ อีกด้วย
3. คณะรัฐบาลใดก็ตามที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย แต่กลับไม่ไว้ใจการตัดสินใจของพลเมืองของตน พยายามที่จะควบคุมความคิดและทัศนะที่เห็นต่างกันในสังคม และอาศัยกฎหมายที่เน้นการควบคุมปราบปรามนั้น ย่อมไม่สามารถถือได้ว่าเป็นรัฐบาลที่มีฐานมาจากประชาชนและเสรีภาพแต่อย่างใด พวกเราไม่สนับสนุนรัฐบาลใดๆ ที่สร้างภาพลักษณ์ว่าเป็นประชาธิปไตย แต่กระทำทุกวิถีทางเพื่อริดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน สิ่งที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ได้กระทำมาถึงบัดนี้ชี้ชัดว่า ความอยู่รอดของรัฐบาลนั้นถือเป็นคุณค่า (หากเราสามารถเรียกสิ่งนี้ว่าเป็น “คุณค่า” ได้) ที่สำคัญที่สุดในสังคม สำคัญมากกว่าการดำรงไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่นายอภิสิทธิ์อ้างว่าเป็นตัวแทนเสียอีก

ด้วยความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและประชาชนของท่านให้ความสำคัญกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เราจึงใคร่ขอเรียกร้องท่านให้นำเสนอเนื้อหาในจดหมายฉบับนี้แก่ผู้นำของท่าน ซึ่งจะได้พบกับนายอภิสิทธิ์ระหว่างการประชุม G20 ณ ประเทศอังกฤษในต้นเดือนเมษายน 2552 พวกเราจักขอบพระคุณอย่างยิ่ง หากท่านร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ผลักดันให้มีการปฏิรูปหรือการแก้ไข-ปรับปรุงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และยุติการข่มขู่คุกคามสื่ออินเตอร์เน็ต รวมทั้งยุติการคุกคามผู้ที่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งปวง

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ลงชื่อ-นามสกุลของท่านผู้ส่ง


จดหมายเปิดผนึกถึงประเทศG20ภาคภาษาอังกฤษ


Dear Dear Your Excellency, (เช่น the Australian Ambassador to Thailand.)

We are writing to you in order to seek for your kind support in our efforts to campaign against the abuse of Lese Majeste Law, against arbitrary accusations of Lese Majeste for political purposes, and for the reform of Lese Majeste Law.

We, people who believes in democratic values, would like to express our concern about the raids of Prachatai’s office, one of a very few alternative online medias, and the arrest of its web director on March 3, 2009 under the Computer and IT Act. We are also deeply concerned about accusation of Lese Majesty against a number of persons during the last few years. The announcement by the Minister of Justice on January 29, 2009 that some 3,000 to 4,000 Websites have been targeted for investigation on the suspicion of condoning offensive messages, and that the Government closure of 2,300 Websites for Lese Majeste is very worrying. In addition to what has been carried out by different government agencies, the Minister to the Office of the Prime Minister in an interview on March 10,2009, said that he plans to investigate community radio stations currently operating in the country.

In the midst of political polarization in Thailand, the arbitrary use of the Lese Majeste law, and the arbitrary charges, has created a climate of fear and insecurity in Thai society. In such circumstance, freedom from fear and freedom of expression is at stake. The direction being taken by Abhisit’s Government goes against all these values which should underpin a free and democratic society. The climate of fear and insecurity will prevail as long as the government is unable or unwilling to distinguish between real and perceived threats to the Monarchy and the society. Our concerns are more serious since the opinions expressed by the political leaders allows such fears to dominate the national agenda. We cannot understand why fighting against Lese Majeste is put very high in the current government agenda given that there are far more serious economic, social, and security issues facing people in Thailand.

Further, the impacts of fear and the insecurity perceived by the government are felt among academia. For a University to function today academics must be allowed to research freely, discuss their work openly, and have a venue for comments and criticism. The accusation of Lese Majeste against Academics, who, in the course of their research and writing discuss the role of the Monarchy, is a move against all these values necessary for academic freedoms in a free and democratic society. If academics feel threatened that their work may be arbitrarily accused of being Lese Majesty, there will be little incentive for them to undertake their primary function of teaching and research.

We would, therefore, like to reiterate the following facts that;
1. The Abhisit’s government is unwilling and unable to make any distinction between an honest call for the reform of the Lese Majeste Law, and acts of Lese Majeste. Any request to review Lese Majeste charges against different people during the last two years have been arbitrarily identified as an incitement of hatred and/or a call for republicanism. If the government claims to be a democracy, it must allow its citizens to rationally discuss their own political and legal system.
2. The officials themselves publicly admitted that there was no clear criteria for judging what kind of comments and content on the Web might be deemed to constitute Lese Majeste, yet the closures of websites and arrests and raids are widespread. Not only does this underline the very arbitrary use of the Lese majeste law, it has stirred greater repressive reactions in which innocent people and constructive opinions fall into victims.
3. Any government that claims to be democratic, but lacks confidence in the good sense of the citizens, tries to control different ideas and opinions, and relies on repressive legislation should not be considered free and people-based one. We are critical of any government representing itself as democratic but doing its best to curtail the basic rights to freedoms of expression and opinion of the people. What Abhisit’s government has been doing so far shows that the preservation of his government is the most important value (if at all we can call it as value) in the society, and this will always come before the rights and security of people that he claims to represent.

We are confident that your government and the people in your country take the issues of human rights and freedom of expression/opinion seriously. We would, thus, like to seek for your kind cooperation in presenting/disseminating the contents specified in this letter to your respective government who will be meeting with the Thai Prime Minister during the G 20 Forum to be organized in Great Britain early April, 2009. We would really appreciate it if you could kindly urge the Thai Government to reform or amend the Lese Majeste Law and to stop threatening internet medias as well as those calling for changes.


Sincerely yours,

ลงชื่อ-นามสกุลท่านผู้ส่งเป็นภาษาอังกฤษ