วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Vote No หรือ No Vote มีประโยชน์หรือมีโทษอย่างไร

ที่มา thaifreenews

เขียนโดย Bugbunny
วันอังคารที่ 02 มิถุนายน 2009 เวลา 15:36 น.
altผม เขียนบทความนี้ไว้ตั้งแต่เช้าวันที่ 28 พค.52 หรือวันที่เริ่มเปิดประเด็นโต้แย้งเรื่องนี้วันแรก แต่เผยแพร่ที่ห้องรัก ฯ ของประชาไทเท่านั้น เพราะไม่อยากเข้าร่วมความขัดแย้งกันระหว่างผู้ชื่นชมศรัทธากับผู้ไม่เห็น ด้วยกับเจ้าของเรื่อง Vote No เป็นความเห็นที่มองผลที่จะเกิดขึ้นทั้งระยะสั้นและอาจเกิดขึ้นในระยะยาว มากกว่าการโต้แย้งทางทฤษฎี เพราะในการต่อสู้ทางการเมืองนั้น ผมมักเป็น Pragmatist มากกว่า Idealist เป็นพวกลงมือก้มหน้าก้มตาทำงานมาตั้งแต่ก่อน 19 กันยา พยายามห่างจากเรื่องขัดแย้งต่าง ๆ นอกจากรับไม่ไหวจริง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ส่วนรวมเดินหน้า ผมมีความเห็นอย่างนี้นะครับ


" มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ คงเข้าใจกันได้ว่าเราไม่จำเป็นต้องเห็นเหมือนกันทุกเรื่อง ผมขอมองในทางปฏิบัติสำหรับสถานการณ์ใกล้ ๆ นี้มากกว่า ไม่ใช่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยหรือหลักการใด ๆ เพราะตามตำราไม่ว่าเล่มไหนก็คงคล้าย ๆ กันในทางปรัชญาและแนวความคิด ที่ถ้าจะให้บรรลุสัมบูรณภาพ (Ultimate Reality) มันต้องมีการปฏิบัติ และเมื่อลงมือปฏิบัติกันแล้ว ก็ยังไม่เคยมีรูปธรรมใดเกิดขึ้นเลยว่าจะบรรลุสัมบูรณภาพนั้น ๆ ได้จริง เพียงแต่เข้าไปใกล้มากที่สุดนี่ก็เป็นกุศลแก่ชีวิตยิ่งแล้ว
อ่านต่อ และ แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่


ผม เห็นว่าสิ่งที่น่ากังวลหากมีการโหวตโนเกิดขึ้นก็คือ ทีมภูมิใจไทยมีสิทธิกวาดที่นั่งในอีสานและเหนือบางส่วนไปเกือบหมด จะเป็นพรรคที่ได้ประโยชน์อย่างยิ่งจากการโหวตโนหรือการไม่ไปลงคะแนน เพราะคะแนนเสียงดั้งเดิมสมัยได้เป็น สส.พปช.นั้น ต้องยอมรับว่ามาจากทั้งตัวผู้สมัครที่เป็นคนดั้งเดิมในท้องถิ่นและกระแส ทักษิณผสมผสานกัน ชัยชนะแบบล้างบางเหนืออีสานครั้งนั้นไม่ใช่กระแสทักษิณอย่างเดียว พวก สส.ภูมิใจไทยวันนี้ก็เข้าไประดมหาเสียงด้วยการชูทักษิณเพิ่มน้ำหนักเรื่อง นี้เข้าไปอีกด้วย ถ้าเลือกตั้งครั้งต่อไปไม่มีการต่อสู้โดยพรรคที่ใช้กระแสทักษิณเป็นธงนำใน การเลือกตั้งเข้าร่วมแข่งขันเลย หรือเข้าร่วมแล้วคนเสื้อแดงไม่โหวตให้ ภูมิใจไทยก็จะได้ไปเต็ม ๆ แทน เพราะมุ้งที่เคยอยู่กับ พปช. จำนวนหนึ่งตอนนี้ไปอยู่กับภูมิใจไทย ผมมองอย่างนี้เพราะการลงสมัครในภูมิภาคนั้น มิตรเพื่อนและคนใกล้ชิดสำคัญมาก ไม่ใช่กระแสการเมืองอย่างเดียว สื่อมวลชนสะอึกมาเยอะแล้ว เพราะคิดว่าคนภูมิภาคอ่านหนังสือพิมพ์ดูทีวีแล้วจะเปลี่ยนใจ แต่ระหว่างสองอย่างนั้นกับคนในสังคมเดียวกัน ประชาชนในภูมิภาคเชื่อถือคนใกล้ชิดในสังคมของเขามากกว่า

ผม ยอมรับว่าเป็นความจริงที่ฝ่ายประชาชนนั้นยากที่จะได้ยึดกุมอำนาจรัฐ เพราะพวกเขากุมอำนาจรบอยู่ แต่ถ้าปล่อยให้ฝ่ายเขาเข้ายึดกุมรัฐสภาแบบเบ็ดเสร็จแถมให้อีกอย่างหนึ่ง ก็เท่ากับเป็นการยื่นความชอบธรรมตามหลักการประชาธิปไตยในระดับนานาชาติรวม ทั้งภายในประเทศให้เขาไปทั้งหมด เราก็จะไม่ได้ต่อสู้ในสภาแสดงว่ามีผู้ไม่เห็นด้วยกับเขา เพราะ สส.ในสภา(ที่ไม่มี สส.เราเพราะโนโหวต)นั้น เขาก็จะอ้างว่ามาจากการเลือกตั้งและเราก็คงปฏิเสธไม่ได้ด้วย เพราะเราไม่ไปโหวต สส พวกเรากันเอง สิ่งที่พวกเขาจะได้รับก็คือความชอบธรรมและทำถูกกฎหมายด้วยเสียงข้างมากใน รัฐสภา ก็ไม่มีใครในโลกไปว่าเขาได้เลย

ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือการ เลือกตั้งยุคเกรียงศักดิ์หลังล้มรัฐบาลหอย มีคนไปเลือกตั้งน้อยมากเพราะไม่ยอมรับการเลือกตั้งในครั้งนั้น ประท้วงข้อจำกัดที่ลูกต่างด้าวต้องจบปริญญาจึงจะไปเลือกตั้งได้ ก็เลยบอยคอตกันไปหมด หลายคนจบปริญญาก็ไม่ไปเลือกเพราะไปก็เสียเวลาเปล่า รู้ ๆ กันอยู่ว่าเลือกไปพวกทหารก็ต้องมาเป็นนายก เสียเวลาไปเลือก ผลก็คือพวกเขากุมความชอบธรรมในการตั้งรัฐบาลจนกระทั่งตั้งเปรมมาเป็นนายกยาว เหยียดและได้รับการยอมรับด้วย ภาคประชาชนก็ทำอะไรเขาไม่ได้



ผมเห็นว่าถึงอย่างไรก็ต้องไปโหวตให้พรรคที่เราสนับสนุน มันจะพิสูจน์อำนาจ ความปรารถนา และความนิยมของประชาชน พวกที่ปิดกั้นเรานี่แก่ใกล้ตายกันหมดแล้ว อำนาจของพวกเขาทุกวันนี้ก็คลอนแคลนเต็มทน จะดื้อดึงรักษาอำนาจท่ามกลางความหวาดผวากันอย่างไรก็ไปได้ไม่นานหรอก พวกรุ่นใหม่ก็ยังไม่เห็นใครมีบารมีพอที่จะคุมได้ เราเองทุกวันนี้ต้องช่วยกันถล่มเด็กฝากของเขาอย่างมาร์กให้เละกันดีกว่า แต่ถ้าเราไม่ไปเลือกพรรคของเราเข้าสภา ถึงจังหวะหนึ่งที่พวกนี้สิ้นสภาพกัน แล้วฝ่ายเราจะให้ใครมาขับเคลื่อนรัฐเล่าครับ มันก็จะกลายเป็นความชอบธรรมของพวกฉวยโอกาสและฝ่ายเขาี่ที่ฟอกตัวแล้วเพราะมา จากการเลือกตั้ง แล้วเราจะไปเถียงอะไรเขาก็ยาก เพราะเราไม่ไปเลือก สส.ของเรากันเอง

ผมเห็นอย่างนี้นะครับ เพราะเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ที่ยึดกุมกันว่า อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของราษฎรทั้งหลายนั้น ทุกคนที่ต่อสู้และรักประชาธิปไตยเห็นตรงกัน แต่จะพูดออกมาให้ได้ยินหรือเปล่าเท่านั้น ทางยุทธวิธีนั้นมันเป็นเทคนิคของแต่ละคน สส.ที่ไม่น้ำเน่าทั้งหลาย ก็มุ่งเป้าหมายอำนาจอธิปไตยต้องเป็นของราษฎรเหมือนกัน เพราะถ้าไม่สามารถผลักดันยุทธศาสตร์นี้ให้เป็นจริงได้ การทำงานของพวกเขาก็จะสะดุดติดขัด ทำอะไรก็มีกำแพงให้ชนทุกเรื่อง นอกจากปลดแอกนี้ออกไปเ่ท่านั้น แต่ใครจะแสดงออกมาแบบไหนอยู่ที่วิธีการของแต่ละคน

แล้วเราจะไปปล่อยให้มันกลายเป็น Opportunity Lost ไปทำไม ประเด็นพวกนี้จะทำให้เรากลับพลาดทางยุทธศาสตร์เพราะไม่ยอมประสานสงครามด้วย หลากหลายยุทธวิธี การต่อสู้นั้นต้องกระทำทุกแนวรบ เราไม่ถนัดแนวรบใดก็มีสิทธิไปสู้รบในแนวรบอื่นที่ทำให้บรรลุเป้าหมายร่วมได้ น่าจะดีกว่า การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทยนั้นจะต้องมีวิธีการที่เป็นไปตาม ภววิสัยเฉพาะของสังคมไทย ประสบการณ์ในประวัติศาสตร์โลกเป็นเพียงตัวอย่างให้ศึกษาแนวทางเท่านั้น จะเหมือนกันเป๊ะไม่ได้ ขออภัยหลายท่านที่ผมมีความเห็นที่ต่างจากคนที่คุ้นเคยกันหลายคน เพราะสำหรับผมเป้าหมายการต่อสู้ไม่ใช่เพื่อสร้างวีรชน แต่เพื่อบรรลุเป้าหมายทางสังคมที่ต้องการ และผมอาจจะผิดก็ได้ ซึ่งยอมรับครับถ้าเป็นเช่นนั้น"
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 02 มิถุนายน 2009 เวลา 15:42 น.