วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

‘ม็อบ’ คนละชนชั้น

ที่มา บางกอกทูเดย์

คนไทยเหมือนกัน...แต่การใช้วิธี “กำราบ” เป็นมาตรฐานที่แตกต่างกัน“อำพล เวียงสิมา” นายกสมาคมเกษตรจังหวัดเชียงราย “ส.ต.อ.ภูชิชย์ โสลา” และ “มานิตย์ คำปุก”แกนนำชาวนาใน อ.พาน จ.เชียงรายกรณีนำชาวนา ปิดถนนพหลโยธิน สายเชียงราย-พานเมื่อต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาราคาข้าวนาปรังตกต่ำบุคคลเหล่านี้ถูกตัดสินลงโทษให้จำคุกคนละ 1 ปีและปรับ 200 บาทด้วยหลักการกฎเกณฑ์ใน “ข้อกฎหมาย” การปิดถนนดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่ “ผิดกฎหมาย”ทำให้ประชาชนผู้อื่นเกิดความเดือดร้อน!พูดง่ายๆ คือ “ติดคุก” ทันที...ไม่ต้องรอลงอาญาเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวแล้วทำให้คิดว่า “ผู้มีอำนาจ”ต้องการจะสั่งสอน “บทเรียน” อะไรบางอย่างหรือไม่??ต่อการกระทำของกลุ่มบุคคลที่ ปิดโน้น...ปิดนี่สร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคมส่วนรวม โดยยึดหลักเหตุผลของตน “เป็นที่ตั้ง”แน่นอนว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต่างหยิบยกเอาประเด็นม็อบชาวนา กับ ม็อบพันธมิตรฯ ขึ้นมาเป็น “ข้อเปรียบเทียบ”

ถึงคำกล่าวของนายกรัฐมนตรี “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”...ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันเมื่อคำพูดของ “ผู้นำประเทศ” ยังเชื่อถือไม่ได้...แล้วความหวังของประชาชนจะฝากไว้ที่ไหน??เกษตรกร “คนปลูกข้าว” เดินขบวนประท้วงปิดถนนในสิ่งที่พวกเขาเดือดร้อนมานมนาน เพื่อ “ขอความช่วยเหลือ” ให้พวกท่านช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแต่สิ่งที่ได้รับ นั่นคือการ “โดนจับติดคุก”ในความแตกต่างอีกเหตุการณ์...คนจำนวนหนึ่ง “ปลูกข้าว”ในสถานที่ทางราชการ...ปลูกเอาไว้ “เป็นเสบียง”เพื่อประทังชีวิตในช่วงที่ชุมนุมขับไล่ อดีตรัฐบาลวันนี้กลุ่มคนเหล่านั้นยังมีชีวิต “สุขสบาย” มีข้าวปลาอาหารกินอิ่มท้อง...ไม่ต้องดิ้นรนด้วยความคิดว่าจะ “ไม่มีกิน”ความแตกแยกของคนในชาติทุกวันนี้ เกิดจากการได้รับการปฏิบัติที่ “ไม่เท่าเทียม”ใครมีเส้นก็อยู่เหนือกฎหมาย...ส่วนใครไม่มีเส้นก็ต้องอยู่อย่างสงบเสงี่ยม “เจียมเนื้อเจียมตัว”ประชาชนคนไทยคนหนึ่ง...เห็นข่าวนี้และพูดระบายออกมาด้วยความ “เศร้าใจ” สงสัยว่าหัวจิตหัวใจของ“ผู้มีอำนาจ” เขาทำด้วยอะไรกันเขาสงสัยว่าการที่ “ตัดสินใจ” ทำแบบนี้...มันคือการสร้าง “ความสมานฉันท์” ของคนในชาติอย่างนั้นหรือ??มาตรฐานกฎเกณฑ์การตัดสินแบบนี้ ที่สร้างความ“แตกแยก” จนเกิดเรื่องราวขึ้นมามากมาย แต่ผู้มีอำนาจก็ไม่คิดที่จะ ลด ละ เลิกพยายามรักษาอำนาจของตนไว้...ส่วนคนที่ตายก็คือ“ประชาชน”อุทาหรณ์เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...ใครช่วยพวกท่านจะทำอะไรก็ไม่ผิด แต่ใครจะมาให้ท่านช่วยนั่นแหละ!ถือเป็นเรื่องผิด ■