สังคมกำลังหยุดนิ่ง จับจ้องการเคลื่อนไหวของบุรุษชื่อ“พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ”มาแรง แซง “กษิต ภิรมย์” รมว.ต่างประเทศ แบบ “น็อครอบ”..เขาพระวิหารบานปลายเกือบจะกลายเป็น “ฉนวนดวลปืน”ในขณะที่ พล.อ.ชวลิต ได้รับการเชิญไปดื่มนํ้าชา – ชมจันทร์ที่กัมพูชาพล.อ.ชวลิต เตรียมลงพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในเดือนพฤศจิกายนเพื่อหาลู่ทาง “แก้ปัญหา” ในขณะที่รัฐบาลเดินทางลงพื้นที่อันตรายเพื่อให้กำลังใจ “เหยื่อ” เป็นหลักความต่างที่มีนัยยะ! แต่ไม่ใช่ประเด็นที่บางกอกทูเดย์จะหยิบมาบรรเลง...รีเพลย์ถอยหลังไปต้นม้วนสำหรับฉากการเมืองของ“พล.อ.ชวลิต” แบบคร่าวๆ น่าจะ “เจ๋ง” กว่า ในฐานะที่ตอนนี้ได้รับตำแหน่ง “บุคคลที่ได้รับความสนใจ” มากที่สุดเอาเต็มๆ อีกสักรอบ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี คนที่ 22 ของไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรีอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และอดีตผู้บัญชาการทหารบกเจ้าของฉายา “ขงเบ้งแห่งกองทัพบก” เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ขณะดำรงตำแหน่งทางทหารเป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคความหวังใหม่คนแรกและเป็นอดีตส.ส.หลายสมัย มีคะแนนเสียงหนาแน่นในจังหวัดนครพนมสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า“บิ๊ก
จิ๋ว” คนในพื้นที่ภาคอีสาน เรียก ว่า “พ่อใหญ่จิ๋ว” และอีกฉายาหนึ่งคือ “จิ๋วหวานเจี๊ยบ” จากการมีบุคคลิกพูดจานุ่มนวลบิ๊กจิ๋วลาออกจากราชการมาทำงานการเมือง ในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในสมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี ๒๕๓๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี ๒๕๓๕- ๒๕๓๗ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปี ๒๕๓๘ - ๒๕๓๙ปลายปี ๒๕๓๙ ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๙ รัฐบาลขณะนั้นซึ่งมี นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กลายเป็นรัฐบาลรักษาการและได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ผลการเลือกตั้งครั้งนั้นพรรคความหวังใหม่ ซึ่งมีบิ๊กจิ๋วเป็นหัวหน้าพรรค มีสมาชิกพรรคได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจำนวนมากที่สุด จึงได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ๖ พรรค ประกอบด้วยพรรคความหวังใหม่ พรรคชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคเสรีธรรม และพรรคมวลชนช่วงหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 บิ๊กจิ๋วเกือบจะมีเรื่องขัดแย้งกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เพราะถูกมองว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ระเบิด 11 จุดในกรุงเทพฯแต่ภายหลังก็มีการไกล่เกลี่ยกันได้ช่วงการเลือกตั้งทั่วไป 2550 เขาพยายามนำเสนอไอเดียโซ่ข้อกลาง หรือแนวคิดสมานฉันท์ แต่ไม่ได้รับความสนใจมากนักดีกรีเบียดกันแน่น! บนช่วงเวลาเกือบ 20 ปี ในสังเวียนการเมือง ทั้งร้อนจี๋-หนาวจัด ผ่านมาเกือบหมด ..รีเทิร์นครั้งนี้กับบทบาทสมาชิกพรรคเพื่อไทยโปรดอย่ากะพริบตา!!!