วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทสนทนาในเฟสบุค ระหว่าง อ้น ชัยนรินทร์ กับ จรรยา ยิ้มประเสริฐ

ที่มา Thai E-News

โดย อ้น ชัยนรินทร์

ที่มา บทสนทนาในเฟสบุค ระหว่าง อ้น ชัยนรินทร์ กับ จรรยา ยิ้มประเสริฐ เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2554


นี่ คือบทสนทนาแลกเปลี่ยนในช่วงที่กระแสการออกโรงของรองนายกฯท่านหนึ่งที่ว่า จะทำการปิดเวบไซค์ที่ส่อในทางหมิ่นฯในความหมายของมาตรา112

เป็น บทสนทนาระหว่าง อ้น ชัยนรินทร์ ผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองเสื้อแดงหลายบทบาทและเป็นผู้หนึ่งในทีมผู้ประสาน งานแนวร่วมแดงสยามและทำเวที Neo 2475 ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่มรณรงค์ให้ยกเลิก ป.กม.อาญามาตรา 112

กับ

จรรยา (เล็ก) ยิ้มประเสริฐ ผู้นำการคลื่อนไหวการเมืองด้านแรงงานที่สนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตยมาโดยตลอด กว่า 20 ปี ( เป็นบทสนทนาบน เฟสบุค ขออนุญาตคุณ จรรยา ยิ้มประเสริฐ หรือพี่เล็ก ซึ่งเห็นว่าน่าจะพอมีประโยชน์จึงขอเผยแพร่ต่อสาธารณะ)


อ้น ชัยนรินทร์ (ผู้เปิดประเด็น)

เรื่อง ใครหมิ่นฯ ให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง พรรคเพื่อไทยไม่ต้องทำอะไรมากหรอกครับ เพียงแค่พรรคฝ่ายประชาธิปไตย มุ่งเดินหน้าสร้างบรรทัดฐานในกระบวนการเอาผิด ให้เป็นธรรม และริเริ่มการกล่าวถึงภัยของการรัฐประหารไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร?สู่ สังคมวงกว้าง เท่านี้ก็คุ้มค่ากับพรรคฝ่ายประชาธิปไตยในสมัยที่กระแสอนุรักษ์นิยมครอบงำ สังคมไทยสูงขนาดนี้

การรัฐประหารไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดก็ถือว่าไม่ควรทำครับ อันนี้หมายถึงไม่ยกเฉพาะกรณีฝ่ายทหาร อาจจะเป็นข้าราชการในสังกัดใดๆก็ตาม

ซึ่ง ข้อเสนอนี้ิ้ลดลงมาเยอะมากๆกับข้อเรียกร้องของแดงกลุ่มก้าวหน้าต่างๆ ด้วยครับ ว่า การที่พรรคฝ่ายประชาธิปไตยละเลยประเด็นตรงนี้จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของ ประชาชนด้วยซ้ำในฐานะพลเมืองประเทศ (สิทธิทางการเมือง)

ดัง นั้น นี้เป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างความั่นคงให้กับชาติไม่ใช่ให้กับ พรรคการเมืองครับ การรัฐประหารหลายครั้งที่เกิดทหารอยู่หน้าฉากครับ ซึ่งอาจจะมีข้าราชการระดับสูงหลายคนอยู่เบื้องหลังครับ และแล้วบทสนทนาการเมืองที่น่าสนใจก็ได้เริ่มขึ้น


จรรยา ยิ้มประเสริฐ
เอาที่พี่เขียนไว้มาฝากก่อนแล้วกัน กำลังคิดจะพัฒนาเป็นบทความ

ไม่ เห็นด้วยอย่างมากกับคำอธิบายหลังไมค์ที่ได้ฟังโดยตรงและอ่านจากที่ต่างๆ ของการพยายามแก้ตัวของฟาก นปช. และเพื่อไทย ว่าต้องเล่นเกมส์พิทักษ์สถาบันฯ เพราะถูกทหารขู่ว่าจะปฏิวัติ

เพราะ ว่ามันเป็นข้ออ้างที่ล้าสมัยมาก ทหารก็ขู่จะปฏิวัติมา 60 ปีคู่กับ(เซ็นเซอร์)มาโดยตลอด และก็ทำจริงมา ร่วม 20 ครั้งแล้ว จะยังกลัวอะไรอีก

ครั้งล่าสุดก็พิสูจน์แล้วไม่ใช่เหรอว่าถ้าปฏิวัติประชาชนไม่เอา นปช. ก็เป็นคนนำสู้เองด้วยไม่ใช่เหรอ จนได้รัฐบาลมา

ถ้า ทหารขู่จริง แทนที่จะเออออตามทหาร ทำไมไม่ใช้กระบวนการประชาธิปไตย นำข้อความเหล่านี้มาปรึกษากับประชาชนอย่างเปิดเผยไปเลย ให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ ไม่ใช่เล่นตัดสินใจเอง เล่นแรงยิ่งกว่ายุคอภิสิทธิ์อีก เด็ดหัวคนเก่ง คนที่ซึ่อตรง มากขึ้นเรื่อยๆ

ขอบอก ว่า คำอธิบายนี้ของ นปช. และเพื่อไทย ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง ก็ทุเรศพอแล้ว แต่ถ้าเป็นเรื่องจริง ก็ทุเรศที่สุด เพราะแสดงให้เห็นว่าที่ว่าผ่านมา 5 ปี ร่วมสู้ และได้เห็นพลังประชาชนนับแสน นับล้าน ร่วมขับไล่รัฐบาลที่ไม่ได้มาตามครรลองประชาธิปไตยอย่างใสสะอาด

แต่ แกนนำ นปช. และพรรคเพื่อไทยก็ยังไม่มีพัฒนาการทางสมองเท่ากับมวลชน และยังมองมวลชนเป็นแค่จำนวน และฐานคะแนน อยู่เหมือนเดิม ยังเล่นเกมส์การเมืองแบบเก่า ที่ไม่เคยพูดความจริงกับประชาชนเลย . ."

การทานอำนาจการเมือง ที่สำคัญคือการต้องตั้งพรรคการเมืองของชนชั้นล่างขึ้นมาให้ได้

ที่ผ่านมาชาวบ้านถูกบอกให้มองการเมืองเพียงแค่เพื่อการเลือกรัฐบาล

แต่การเมืองไม่ใช่แค่การเลือก "รัฐบาล" แต่การเลือกตัวแทนของชนชั้นตัวเองไปปกป้องผลประโยชน์ตัวเองในรัฐสภาและรัฐบาล

ดัง นั้นการถูกบอกให้เลือกแค่ 2 คือ เพื่อไทย หรืออภิสิทธิ์ (ประชาธิปัตย์) โดยไม่ได้เสนอหรือสร้างทางเลือกที่สามหรือสี่ไปพร้อมกัน (คือเริ่มตั้งพรรคของตนขึ้นมาแข่งด้วย จะเป็นพรรคกรรมาชีพ พรรคเขียว พรรคชาวนา พรรคสังคมนิยม ก็ตามแต่ ฯลฯ)

จึง ทำให้ต้องมานั่งเสียใจ -> แล้วกลายเป็นพวกสนับสนุนการโค่นรัฐบาล -> เรียกร้องให้เลือกตั้งใหม่ -> อยู่ในวังวนนี้ไม่จบสิ้น

อำนาจต่อรองหนึ่งที่ประชาชนควรจะเริ่มสร้างตั้งแต่ยามนี้คือ หนุนการตั้งพรรคการเมืองคนชั้นล่างขึ้นมาให้ได้

0 0 0 0

อ้น ชัยนรินทร์ ผมว่าก่อนอื่นเราควรต้องแยกบทบาทระหว่างพรรคเพื่อไทยกับแกนนำ นปช ออกจากกันเเม้จะมีความสัมพันธ์แนวขนานกัน ซึ่งผมเห็นว่าเราควรจะต่อสู้ให้พรรคเพื่อไทยก้าวหน้า ในด้านที่เป็นจริง พรรคเพื่อไทยไม่ควรกลัวกลุ่มนายทหารที่ทำตัวปฎิกิริยาต่อประชาธิปไตย ดังนั้นควรจะไฟท์...เรื่องการไม่เอารัฐประหารทุกชนิด

ข้อแรก เราเข้าใจตรงกันหรือไม่ครับว่า พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคในลักษณะใด? ผมให้พรรคนี้เป็นพรรคฝ่ายประชาธิปไตยไม่ใช่พรรคปฎิวัติเพื่อประชาธิปไตย

ข้อสอง พรรคเพื่อไทย ภารกิจทางประชาธิปไตยคืองานสร้างความเป็นธรรมในระดับสากลนิยมหรือระดับพื้น ฐานทางโครงสร้างการเมืองการปกครอง ซึ่งเรื่องนี้คงต้องประเมินกันดูเป็นระยะๆครับ

ข้อสาม พรรคเพื่อไทยออกแบบโดยอุดมการณ์แบบใด ? โดยใคร? ซึ่งยังเห็นตรงกันหรือไม่ว่า พรรคเพื่อไทยถูกออกแบบจากผู้นำ แกนนำ แม้มวลชนเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการก็ตาม

ดัง นั้น แค่พรรคระดับฝ่ายประชาธิปไตย สามารถสร้างวัฒนธรรมหรือคุณค่า หรือแนวคิดไม่เอาการรัฐประหารทุกชนิดก็เป็นบันไดสำคัญทีเดียวในการสานให้ ก้าวหน้าต่อไป


0 0 0 0

จรรยา ยิ้มประเสริฐ ประเทศไทยจะไม่สามารถหลุดจากการเมือง "วิถีอำนาจนำ" ได้เลย "ไม่ว่าจะนำด้วยทุนหรืออำมาตย์" ถ้ายังจมปลักอยู่ในวิถี อยากได้อะไรต้องร้องขอ สวดมนต์ ออนวอน เข้าหาผู้ใหญ่ รอผู้นำ อยู่เช่นนี้

5 ปีที่สู้มาในนามคนใส่เสื้อสีแดง จนความจริงในประเทศไทยเผยโฉมและกระจ่างชัดอย่างเช่นที่ไม่เคยปรากฎมาถึงระดับนี้มาก่อน

มัน จำเป็นยิ่งที่ นักการเมืองและผู้มีบทบาทนำในฝากประชาธิปไตยจะต้อง "พูดความจริง" อย่าเล่นเกม ที่ "ไม่พูดความจริง" เพราะมันจะทำให้ความกระจ่างต่างๆ ของผู้คนถูกผลักให้กลับไปสู่สภาวะรวนเร สับสน เริ่มหลงทิศหลงทาง กันอีกครั้งหนึ่ง และท้ายที่สุดก็สูญเสียพลังที่สร้างมาถึง 5 ปี และจะต้องใช้เวลาอีกกี่ปี ถึงสร้างพลังมวลชนได้มากเช่นปี 52 และ 53

นเสื้อ แดงก้าวมาไกลมากพอ และพิสูจน์แล้วว่า ถ้าอยากได้นักการเมืองของตัวเองต้องสุ้ให้ได้มา - และก็ไม่ควรหยุดแค่สู้ให้ได้มา - แต่ต้องยืนยันและบอกนักการเมืองว่า ได้มาแล้วจะต้องทำอะไรให้ประชาชน

ท่า ทีเพื่อไทยกับการคุกคามเสรีภาพประชาชนทั้งทางอินเตอร์เนต และด้วยมาตรา 112 ที่รุนแรงยิ่งขึ้นกว่าสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เป็นการกระทำที่นอกจากไม่เคารพประชาชน แล้วยังเป็นการดูถูกประชาชนอีกด้วย

ย้ำ อีกครั้งว่า "หมดเวลาเล่นเกมการเมืองแบบเก่า จัดตั้งมวลชนแค่ฐานเสียงและจำนวน" แต่ถึงเวลาที่ทุกฝ่ายต้องพูดความจริง และให้ประชาชนร่วมตัดสินในปัญหาหรือภัยคุกคามต่อเสถียรภาพของประชาธิปไตย


ถ้า เพื่อไทยบอกว่าต้องกดหัวประชาชนต่อไปและมากขึ้น เพราะทหารขู่ปฏิวัติ ก็บอกความจริงออกมา ให้ประชาชนร่วมตัดสินใจอีกครั้งว่าจะทำอย่างไรกับปัญหาเรื้อรังที่อยู่คู่ กับประชาธิปไตยไทยมาตลอด นับตั้งแต่ทหารสร้างธรรมเนียมปฏิวัติได้ ถ้าทำในนามปกป้อง...เซ็นเซอร์...ในปี 2490!

0 0 0 0

อ้น ชัยนรินทร์ ผม เห็นด้วยกับพี่เล็กทุกข้อ แต่ผมมองด้านที่เป็นจริงของพรรคเพื่อไทยและข้อจำกัดที่พรรคนี้มี ในด้านที่ก้าวหน้าของพรรคนี้ คือ พรรคที่ประชาชนเลือก ในกระบวนการทางประชาธิปไตย ดังนั้นสิ่งที่พรรคนี้ควรออกมาสู้คือเรื่องการไม่เอาการรัฐประหาร

การ ต่อสู้ในเรื่อง เสรีภาพระดับสากล นปช ต่างหากที่มีปัญหามาโดยตลอด ผมอยากเสนอให้มีการเลือกแกนนำ นปช ใหม่ด้วยซ้ำ หรือข้อเสนอให้เปลี่ยนหัวหน้านำของ นปช ครับ


0 0 0 0

จรรยา ยิ้มประเสริฐ เรื่องนี้พี่ก็คิดเช่นเดียวกับอ้น ว่า นปช. ต้องจัดกระบวนทัพใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย จัดให้มีการเลือกตั้งตัวแทนแต่ละกลุ่มสมาชิก หรือรายจังหวัด จัดใหัมีการเลือกตั้งแกนนำใหม่ ความสัมพันธ์ครอบครัวของธิดา-กับเหวง ทำให้ ธิดา ควรจะแสดงสปิริต

ถึง เวลาจัดกระบวน นปช. ให้เป็นประชาธิปไตย และเป็นองค์กรประชาชน คู่ขนานและตรวจสอบพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่ทำหน้าที่รับแนวนโยบายพรรคเพื่อไทยมาคุมมวลชนเช่นทีทำอยู่ในปัจจุบัน


พี่คิดเรื่องนี้เช่นกันจ้ะ และคิดว่าควรช่วยกันสะท้อนไปมากขึ้นเรื่อยๆ

0 0 0 0

อ้น ชัยนรินทร์ แกนนำ นปช หรือ นปช ควรอย่างยิ่งที่จะต้องผลักดันให้องค์กรโตไปพร้อมกัน คือตอนนี้ผมมองว่าตัวโตแต่หัวลีบลงทุกวัน

หมาย ถึงหัวขบวนล้าหลังทางความคิดกว่ามวลชนมากช่องว่างเริ่มห่าง อันนี้จะว่าเป็นปัญหาใหญ่ก็อาจจะใช่ แต่การปรับการนำโดยการสร้างองค์กรใหม่เข้ามาแข่งขันแนวทางหรืออาจจะแทนที่ อย่างที่แดงสยามหรือ 24 มิถุนา เคยทำไว้ เรื่องนี้คงต้องคุยกันครับ

อ้น ชัยนรินทร์ ส่วน ใครจะคุยเรื่องแกนนอน แนวคิดแกนนอน ผมว่าตอนนี้ได้นอนสมใจ คือ ระดับการทำกิจกรรมให้มวลชนเป็นผู้ออกแบบกิจกรรม ใช้ได้ในการเคลื่อนไหวลักษณะขั่วคราว เพียงแค่สร้างความรำคาญใจให้อำมาตย์เล่นๆ

แต่ ถ้าเป็นเรื่องแนวรบด้านปฎิวัติเพื่อประชาธิปไตยแท้จริง คือการสร้างระบบศูนย์ศึกษาทฤษฎีการปฎิวัติเพื่อประชาธิปไตย จัดตั้งเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย ในลักษณะเปิดและปิด กระจายให้ได้มากที่สุด


อ้น ชัยนรินทร์ กระแสเป็นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง และหายไปในที่สุด เหมือนแฟชั่นในนิตยสารหนังสือ ส่วนแนวคิดทฤษฏีการปฎิวัติผู้ที่ศึกษาคงเข้าใจได้ไม่ยากว่ามันคืออะไร?
กำเนิด การต่อสู้หากไร้พลังจากด้านใน คงยากกว่าจะถึงปลายทางของแสงประชาธิปไตยโดยประชาชน และตัวองค์ความรู้ทางการปฎิวัติเพื่อประชาธิปไตยแท้จริงนี่แหละที่ทำให้ มวลชนก้าวหน้าไม่อิงแอบผู้นำ

0 0 0 0