วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

Asia Times: รากเหง้าความตึงเครียดในไทย

ที่มา ประชาไท

แปลจาก The roots of Thailand's tension” เขียนโดย Charles E Morrison ประธาน East-West Center ของสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ใน Asia Times online, 23 เมษายน 2009


การเมืองบนท้องถนนกลายมาเป็นบรรทัดฐานของประเทศไทยที่ซึ่งครั้งหนึ่งถือว่าเป็นสังคมที่มีเสถียรภาพแม้ว่าจะมีการรัฐประหารเกิดขึ้นถึง 18 ครั้งตั้งแต่ปี 1932 เป็นต้นมาก็ตาม โดยบ่อยครั้งการรัฐประหารเป็นเรื่องเบาๆ

เมื่อต้นเดือนนี้ กลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงฝ่ายสนับสนุนอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ได้ทำการประท้วงจนเป็นเหตุให้เกิดการยกเลิกการประชุมอาเซียนซัมมิทที่พัทยา และการประท้วงส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันในหลายส่วนของกรุงเทพด้วย ผู้ประท้วงหวังจะกดดันให้นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกจากตำแหน่ง การประท้วงครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการประท้วงของกลุ่มเสื้อเหลืองในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว โดยกลุ่มเสื้อเหลืองฝ่ายตรงข้ามกับอดีตรัฐบาลน้องเขยของทักษิณได้เข้ายึดทำเนียบรัฐบาลและปิดสนามบินทั้งสองแห่งในกรุงเทพ

ทักษิณพ่ายแพ้ในเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งล่าสุด กองกำลังทหารเข้าหยุดยั้งการประท้วง บีบคั้นให้แกนนำต้องยอมแพ้หรือต้องหนี โดยนำรถโดยสารขนผู้ชุมนุมที่มาจากชนบทกลับบ้าน แต่ ชัยชนะ ครั้งนี้เป็นเพียงการหยุดพักชั่วครู่เท่านั้น เพราะประเด็นปัญหาที่ใหญ่กว่าซึ่งแบ่งแยกสังคมไทยและเร่งให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข นับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2006 เป็นต้นมา อำนาจเปลี่ยนมือกลับไปกลับมาสามครั้ง มันเกิดขึ้นพร้อมกับการทำลายสังคม เศรษฐกิจ และความที่เป็นรู้จักในสายตาของนานาประเทศ

ทักษิณและอภิสิทธิ์เป็นตัวแทนพลังอำนาจที่อยู่ตรงข้ามกัน ทั้งสองอ้างว่า ตนส่งเสริมประชาธิปไตย ทักษิณปัจจุบันอยู่ต่างประเทศ หนีการถูกจับกุมโดยเป็นผู้ต้องหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน, ทักษิณเป็นใจกลางในการแบ่งขั้วบนเวทีการเมืองไทย เขาเป็นอดีตนายตำรวจ เป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมรายใหญ่ และเขาเป็นคนแรกที่สร้างฐานอำนาจที่เป็นอิสระจากชนชั้นนำเก่าและสถาบันแกนกลางทั้งหลายในเมือง เขาประสบผลสำเร็จกับเรื่องข้างต้นนี้โดยการกลายมาเป็นวีรบุรุษของคนไทยจำนวนมากผู้ที่อยู่ต่ำกว่ามาตรฐานของอภิสิทธิ์ชนในช่วงเวลาที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีโดยการใช้จ่ายเงินจำนวนมากมายในโครงการงบประมาณสูงให้แก่ชาวชนบททั้งเรื่องสุขภาพ การศึกษา และการให้เงินกู้แก่หมู่บ้านต่างๆ

ทักษิณเป็นคนที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในชนบทซึ่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในฝ่ายสนับสนุนเขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งสามครั้งที่ผ่านมา และก็น่าจะชนะการเลือกตั้งครั้งใหม่อีก ในมุมมองของทักษิณ, ชัยชนะสองครั้งของเขาถูกขโมยไปโดยตัวแทนของชนชั้นกลางในเมืองและชนชั้นที่สูงกว่า ซึ่งพวกเขาเป็นพันธมิตรกับทหารระดับสูงในกองทัพ องค์กรศาล และองคมนตรีบางคน ในช่วงของการประท้วงที่ผ่านมา แทบทุกวัน สารของทักษิณที่ส่งผ่านวิดีโอลิงค์ไปสู่กลุ่มเสื้อแดงในนามของ นปช. ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนเขา เรียกร้องให้นำรัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งจากเสียงส่วนใหญ่ กลับคืนมา

ส่วนอภิสิทธิ์ ผู้ที่เกิดในอังกฤษ จบการศึกษาจากอ๊อกซ์ฟอร์ด เขาเป็นตัวแทนของชนชั้นนำเก่า และเป็นผู้นำพรรคการเมืองพลเรือนของไทยที่น่าเลื่อมใสที่สุดพรรคหนึ่ง แต่เป็นพรรคที่ได้ประโยชน์จากการสนับสนุนของกองทัพ พร้อมกับได้ประโยชน์จากการประท้วงของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อสี่ปีที่แล้ว ทั้งนี้กลุ่มพันธมิตรฯ เสื้อเหลืองได้นำการประท้วงของคนในเมือง เพื่อต่อต้านรัฐบาลทักษิณ โดยได้ช่วยจุดชนวนให้เกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน และช่วยให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหารนั้น

ตามหลังมาจากการรัฐประหาร กองทัพได้เข้ามาปกครองอย่างไร้ความสามารถ และต้องถอยออกไป หลังจากนั้น พลังฝ่ายสนับสนุนทักษิณชนะการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม 2007 แต่แล้วกลุ่มพันธมิตรฯ ก็กลับมาเคลื่อนไหวอีกรอบ การเคลื่อนไหวครั้งนั้นถึงจุดสูงสุดด้วยการยึดสนามบินในเดือนพฤศจิกายน 2008 และแม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้สมาชิกพรรคไทยรักไทยห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองไปแล้ว แต่การเมืองไม่ปกติด้วยข้อกล่าวหาต่อกองทัพเป็นผู้จัดการ รวมไปถึงการประท้วงของพันธมิตรที่มีลักษณะของทำลายรวมทั้งการเข้ายึดครอง ซึ่งได้สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อการขึ้นสู่อำนาจของอภิสิทธิ์ในเดือนธันวาคม

คนในเมืองจำนวนมาก และชนชั้นนำเก่าเห็นว่าทักษิณเป็นประชานิยมที่อันตราย เป็นผู้หาประโยชน์เข้าตัวเอง ชนะการเลือกตั้งโดยการติดสินบน การซื้อเสียง และการคอรัปชั่น พวกเขาอธิบายว่าการบริหารประเทศในช่วงของทักษิณใช้วิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย การใช้วิธีการรุนแรงและวิธีการนอกกฎหมายกับผู้ค้ายาเสพติด คนที่ก่อความไม่สงบในภาคใต้โดยขาดการตรวจสอบ

ทว่าฝ่ายต่อต้านทักษิณก็มีปัญหาติดลบทางประชาธิปไตย พวกเขาไม่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง กระทั่งเสนอรัฐธรรมนูญใหม่ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เพื่อรักษาการควบคุมของชนชั้นนำไว้ ความขัดแย้งทางการเมืองไม่ใช่สิ่งใหม่ในประเทศไทยนัก แต่หลายปีที่ผ่านมา วิกฤติอาจถูกแก้ไขได้โดยพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยอันเป็นที่เคารพยิ่ง.................................................. .....................................................

ด้วยปัญหาความชอบธรรมที่ติดอยู่กับทั้งสองค่าย พร้อมกันกับความกดดันจากการชุมนุมบนท้องถนนและผู้นำสองค่ายที่เผชิญหน้ากันอย่างเอาจริงเอาจัง การแก้ปัญหาวิกฤติอนาคตอันใกล้เป็นเรื่องยาก ในขณะเดียวกันความหายนะทางเศรษฐกิจและความไร้เสถียรภาพในระยะยาว .........อาจจะทำให้ความขัดแย้งเขม็งเกลียวขึ้น

วิกฤติการเมืองไทยสะท้อนถึงพลังอำนาจต่างๆ ที่คลี่คลายขยายตัวของการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ความตื่นตัว การพัฒนาเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี่ใหม่ๆ ช่วยนำเสียงและข้อเรียกร้องใหม่ๆ เข้าไปในการเมือง และมักจะคุกคามชนชั้นนำที่ดำรงอยู่รวมทั้งการจัดสรรอำนาจแบบเก่าๆ

แม้ว่าการปฏิรูปที่แท้จริงจะไม่เกิดขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ ในขณะที่พม่ายังคงอยู่ภายใต้การปกครองโดยทหาร ส่วนอินโดนีเซียได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยและก็ค่อนข้างประสบความสำเร็จ สำหรับมาเลเซียก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก

แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในระยะยาว พลังทางสังคมใหม่ๆ เหล่าๆ นี้จะถูกฟูมฟักภายใต้สัญญาประชาคมที่มีความเป็นประชาธิปไตยและมีความชอบธรรมมากขึ้นกว่าปัจจุบัน ซึ่งจะมีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต ภายหลังจากที่ผู้เล่นหลักในการเมืองปัจจุบันได้ลงจากเวทีไปแล้ว

*หมายเหตุ

East-West Center เป็นองค์กรศึกษาวิจัยที่ก่อตั้งโดยรัฐสภาสหรัฐ ปี 1960 มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองและประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและสหรัฐอเมริกาให้เข้มแข็ง ส่วนผู้เขียน Charles E Morrison ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานระดับสากลของ Pacific Economic Cooperation Council ในปี 2005