วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การยื่นหนังสือร้องทุกข์ (ฎีกา) ต่อประมุขแห่งรัฐเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองในรัฐนั้น

ที่มา thaifreenews

บทความโดย..ลูกชาวนาไทย



ผมไม่แปลกใจที่หัวขบวนใหญ่ทั้งหลายต่างระดมคนที่พวกเขาคิดว่าเป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน ในสายตาของพวกเขา ออกมาคัดค้านการถวายฎีกาของคนเสื้อแดง ที่มีคนลงนามในฎีกาไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคน นี่เป็นฎีกาประวัติศาสตร์ของชาติไทย ตั้งแต่มีชนชาติไทย กำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้ทีเดียว เพราะไม่มีฎีกาอันใด ที่จะมีคนลงนามภายในเดือนเดียวได้ไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคน มากกว่าพลเมืองของบางประเทศเสียอีก

กลุ่มอำมาตยาธิปไตย ซึ่งนิยามก็คงไม่ใช่ข้าราชการ แต่เป็นพวกชนชั้นนำที่เรียกว่า Elite Class ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ในองค์กรอิสระต่างๆ คนกลุ่มนี้มีอำนาจทางการเมือง ผ่านโครงเครือข่ายอุปถัมภ์ต่างๆ ทั้งในภาครัฐ กองทัพ ศาล และแม้แต่ภาคเอกชน เช่นธนาคารเป็นต้น คนเหล่านี้ ไม่ได้มีอำนาจรัฐผ่านการเลือกตั้งของประชาชน แต่อาศัยอำนาจโดยใกล้ชิดองค์กรสูงสุดของประเทศ เป็นต้น อำมาตยาธิปไตย คือ "คู่กรณีของความแตกแยกทางการเมืองไทย" ในครั้งนี้ พวกเขาไม่ใช่คนกลาง แต่เป็นคู่ขัดแย้งโดยตรง พรรคประชาธิปัตย์หรือรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นเพียง นอมินี คนคนพวกนี้เท่านั้น

พวกเขาเสียผลประโยชน์จากฎีกาครั้งนี้อย่างแน่นอน เพราะไม่ว่าประมุขแห่งรัฐจะตัดสินใจอย่างไร ย่อมมีผลกระทบต่อพวกเขาทั้งสิ้น เพราะอีกฝากหนึ่งก็พลเมืองจำนวนหลายล้านคน อีกฝากหนึ่ง เป็นคนชั้นนำ กลุ่มเล็กๆ ที่กำลังจะสูญเสียอิทธิพลในทางการเมืองเท่านั้น



ตอนนี้ก็ระดมทั้งพวกที่ใช้กำลังเป็นหลัก เช่น พรรคภูมิใจไทยของกลุ่มเนวิน ออกมาต่อต้าน

ไม่ว่าพวกเขาจะอ้างว่าการยื่นฎีกาครั้งนี้ผิดกฎหมาย (ที่จริงไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้เรื่องฎีกา เป็นประเพณีเท่านั้น) หรือผิดจารีต หรือไม่เหมาะสม หรือเป็นการก้าวล่วงอำนาจของประมุขแห่งรัฐ (ไม่ทราบว่าก้าวล่างอย่างไร เพราะฎีกาเป็นฎีการ้องทุกข์) ประชาชนจำนวนมาก ก็ไม่ฟังคนเหล่านี้ ยิ่งพวกเขาต่อต้าน คนที่ลงชื่อในฎีกายิ่งมีมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงการไม่ยอมรับของประชาชน ต่อกลุ่มคนพวกนี้แล้ว

ที่จริงการยื่นหนังสือร้องทุกข์ (ภาษาไทยคือฎีกา) เป็นสิทธิพื้นฐาน หรือเป็นสิทธิโดยธรรมชาติ ของพลเมืองในรัฐนั้นๆ จะได้ยื่นข้อความหรือสาร ถึงประมุขของรัฐตน เพื่อให้ประมุขแห่งรัฐทราบว่า พวกเขาเดือดร้อนในเรื่องใด หรือพวกเขามีความคิดเป็นอย่างใด ต่อประเด็นต่างๆ นี่เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างประมุขแห่งรัฐกับพลเมืองของตน

ใครขัดขวางฎีกา ถือว่าเป็นการขัดขวางช่องทางการสื่อสารระหว่างพลเมืองกับประมุขแห่งรัฐด้วยซ้ำไปครับ เป็นการปิดหูปิดตาประมุขแห่งรัฐไม่ให้ได้รับรู้ว่าพลเมืองของตนมีปัญหาหรือความเดือดร้อนอะไรบ้าง ในประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศมีแต่ขุนนางกังฉินเท่านั้นครับที่ขัดขวางการยื่นหนังสือร้องทุกข์ของพลเมืองต่อประมุขแห่งรัฐ มีแต่ขุนนางขี้ฉ้อ เท่านั้นที่ไม่ต้องการให้ประมุขแห่งรัฐไม่รับรู้เรื่องราวของราษฎร การอ้างจารีตหรืออะไรก็ตามขัดขวางการยื่นหนังสือร้องทุกข์ของพลเมือง ถือว่าเป็นการอ้างที่ไม่มีเหตุผลใดๆ ในหลักนิติธรรมสนับสนุนทั้งสิ้น ที่จริงพวกเขาก็ไม่ได้ยึดหลักนิติธรรมอันใดอยู่แล้ว ประเทศถึงได้วุ่นวายไม่จบไม่สิ้น

การที่จะรักษาอำนาจของคนชั้นสูงเอาไว้ ท่ามกลางสังคมที่มีประชากรจำนวนมาก มีกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ จำนวนมาก ผมไม่คิดว่าจะสามารถทำได้อยู่แล้ว สังคมต้องเปลี่ยนไปตามพัฒนาการของประชาชนในสังคมนั้น สังคมไทยวุ่นวายสามสี่ปีมาแล้ว เพราะคนชั้นนำไม่อาจทำใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ พยายามใช้อำนาจแอบแฝงในเครือข่ายอุปถัมภ์ของตน เข้าขัดขวางการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มที่

ตอนนี้ได้ใช้นายเนวินกลับพรรคเพื่อไทย เข้าต่อต้านการยื่นฎีกาของคนเสื้อแดงอย่างเต็มที่ มีการขึ้นคัทเอ้าท์ขนาดใหญ่เพื่อต่อต้านการยื่นฎีกาครั้งนี้ นายเนวิน เป็นคนหยาบกระด้าง ถนัดแต่การใช้กำลัง ขยันแต่ไม่ฉลาด การเข้ามาทำงานละเอียดอ่อนในส่งครามมวลชนแบบนี้ มีแต่สร้างความเสียหายให้กับฝ่ายที่ใช้นายเนวิน มากกว่าจะสร้างผลดี การใช้กำลังเข้าขัดขวางการยื่นฎีกา ยิ่งกลายเป็นประเด็นที่คนในสังคมยอมรับไม่ได้

แต่เชื่อเถอะว่ายิ่งพวกอำมาตยาธิปไตยต่อต้านหนักขึ้นเท่าใด จำนวนคนที่เซ็นชื่อถวายฎีกา ก็จะมีมากขึ้นเพียงนั้น แสดงว่าประชาชนหลายล้านคน ต้องการต่อสู้ลองดีกับคนเหล่านี้ ประชาชนไม่ได้เชื่อถือในคนเหล่านี้อีกแล้ว พวกเขาไม่ใช่ผู้ใหญ่ในสังคมไทยที่มีคนเคารพในความเห็นอีกต่อไป เป็นเพียงแต่คนสูงอายุที่บังเอิญนั่งในตำแหน่งสำคัญบางตำแหน่งในสังคมเท่านั้น แต่เมื่อคนไม่ยอมรับ ตำแหน่งนั้นๆ ต่อให้ดูเหมือนว่ายิ่งใหญ่ป่านใด ก็ไม่มีความหมายแต่อย่างใด สู้อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตรไม่ได้ ที่แม้ไม่มีตำแหน่งใดๆ ไม่อาจอยู่บนแผ่นดินไทยได้ แต่ประชาชนจำนวนมาก ก็ยังรักแหละเคารพ มีการจัดงานฉลองวันเกิดครบรอบ 60 ปีให้ทั่วประเทศ ทั้งๆ ที่ไม่มีอำนาจใดๆ ในทางการเมืองอีกแล้ว เหลือเพียงแต่อำนาจของความศรัทธา

จากการประเมินการออกมาต่อต้านการถวายฎีกาของกลุ่มอำมาตย์ศักดินา ผมคิดว่าพวกเขาคาดไม่ถึงว่าจะมีคนออกมาเข้าชื่อถวายฎีกาครั้งนี้มากมายขนาดนี้ จึงไม่ได้ออกมาต่อต้านเสียแต่ต้น การออกมาต่อต้านฎีกาของอำมาตย์ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นวันท้ายๆ ของการลงนามในฎีกากันทีเดียวตอนที่สามเกลอประกาศบนเวที ผมก็ไม่เห็นว่าอำมาตย์และองคาพยพทั้งหลายจะออกมาต่อต้านขนาดนี้ ผมคิดว่าในตอนนั้น พวกเขาคงไม่คิดว่าจะมีคนเซ็นชื่อในฎีกามาก และคนเสื้อแดงก็ดูเหมือนว่า จะมีความขัดแย้งกันภายใน มีการทะเลาะกัน และสามเกลอก็ประกาศว่าจะมีการล่ารายชื่อเพียงเดือนเดียวเท่านั้น ทำให้อำมาตย์และฝ่ายต่างๆ คาดว่าเรื่องนี้ก็คงฝ่อไปเอง

และที่สำคัญพวกเขายังคิดแบบเดิมว่า เวทมนตร์เดิมยังขลังอยู่ หากมีข่าวว่ารบกวนฯ อะไรประมาณนี้ชาวบ้านคงไม่มีใครกล้าเซ็น แค่ผลกลับเป็นตรงกันข้าม มีคนลงชื่อจำนวนมาก มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทยกันเลยทีเดียว เรื่องนี้จึงกระทบรากฐาน ของประชาชนที่เคยสนับสนุนสถาบัน ที่เคยเป็นคนชนบท

กลาย เป็นว่า "เสียฐานสำคัญให้ทักษิณ" ไปแทบหมดสิ้น และเพิ่งรู้ตัวกันอย่างแน่นอนว่าได้เสียไปแล้วการออกมาต่อต้านตอนนี้ผมไม่ คิดว่าจะทันการแต่อย่างใด




อีกอย่างหนึ่งยุทธวิธีการต่อต้านการถวายฎีกาของกลุ่มศักดินาอำมาตย์ ก็ยังเป็นการคิดในกรอบแบบดั้งเดิมตามแนวคิด “เทวราชา” ที่พวกเขาโปรประกันดา จนหลังเชื่อการโปรประกันดาของตนเองไปแล้วว่ายังศักดิ์สิทธิอยู่ ทั้งๆ ที่คนเสื้อแดงหลายล้านคนได้ “ก้าวข้ามกรอบนั้นไป” อย่างสิ้นเชิงแล้ว

เมื่อยังคิดในกรอบความคิดแบบ “ดั่งเดิม” การต่อต้านของพวกเขาจึง ออกมาเป็นในทำนองโปรประกันดาในกรอบเดิม เช่น ละเมิดฯ ระคาย หรือ ผิดกฎหมาย พวกเข้าไม่เข้าใจว่า คนเสื้อแดงหลายล้านคนไม่แคร์สิ่งเหล่านั้นแล้ว เขารู้และเข้าใจดี "แต่จะเซ็น" เ้ข้าใจไหมว่า "จะเซ็น" และไม่แคร์ ไม่สนใจด้วย นี่คือ สภาำพของคนที่อยู่ "วงในคนเสื้อแดงรับรู้และเข้าใจ”

แต่อำมาตย์ศักดินา และแม้แต่วงการสื่อของไทยยังไม่เข้าใจ