บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

รวม พรบ. และ พรก.นิรโทษกรรม ในประเทศไทย ตั้งแต่ 2475 ถึง ปัจจุบัน ตอนที่ 2

ที่มา Thai E-News

โดย เรดด์ เลิฟ
ที่มา เฟสบุค เรดด์ เลิฟ

22 ธันวาคม 2554

0 0 0 0


9. พรบ. นิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2502

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2502"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2502/114/640/15 ธันวาคม 2502]

มาตรา 3 [ให้ยกเลิกความในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ ] พ.ศ. 2499 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา 9 บุคคลผู้ได้รับนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าผู้ใดถูกเรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์คืน หรือถูกถอดจากยศหรือบรรดาศักดิ์ เนื่องจากการกระทำความผิดอันได้รับนิรโทษกรรมนั้น ประสงค์จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ยศหรือบรรดาศักดิ์คืนตามที่ ได้รับอยู่เดิม ก็ให้ผู้นั้นแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2502 เพื่อดำเนินการขอพระราชทานคืนให้ต่อไป

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ส. ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือเนื่องจากพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ.2499 มิได้กำหนดเวลาสิ้นสุดการยื่นความประสงค์ขอรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ยศ หรือบรรดาศักดิ์คืน สำหรับผู้ได้รับนิรโทษกรรมไว้ทำให้ยุ่งยากแก่การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ใน การขอพระราชทานคืนให้ จึงสมควรกำหนดเวลาสิ้นสุดการขอคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ยศ หรือบรรดาศักดิ์เสียภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2502


0 0 0 0 0

10. พรบ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501- พ.ศ.2502

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2502

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2502"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2502/41/1พ/3 เมษายน 2502]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ซึ่งได้กระทำเนื่องในการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 ก็ดี ในกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกันก็ดี การกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของหัวหน้าคณะปฏิวัติ หรือของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะปฏิวัติอันได้กระทำไปเพื่อความสงบ สุขของประชาชน ซึ่งรวมถึงการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่นก็ดี การกระทำดังกล่าวนี้ไม่ว่าจะกระทำอย่างไร ไม่ว่าในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้น หรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง และบรรดาประกาศหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติไม่ว่าจะเป็นรูปใด และไม่ว่าจะประกาศหรือสั่งให้ มีผลบังคับในทางบริหารราชการหรือในทางนิติบัญญัติให้ถือว่าเป็นประกาศหรือคำ สั่งที่ชอบและใช้บังคับได้สืบไป

มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ถ.กิตติขจร รองนายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือโดยที่ผู้กระทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ได้กระทำไปด้วยความปรารถนาที่จะให้ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญการปกครองราช อาณาจักรที่เหมาะสม และยังให้การปกครองเป็นไปในระบอบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์และเรียบร้อยยิ่งขึ้น กับทั้งปรารถนาที่จะกำจัดการกระทำอันเป็นกลวิธีของคอมมิวนิสต์เพื่อยึดครอง ประเทศไทยซึ่งเป็นภัยอันร้ายยิ่ง และเพื่อปฏิวัติกิจการที่ไม่เหมาะสมเสียใหม่ให้บังเกิดความผาสุกแก่ประชาชน ชาวไทยและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ทั้งได้กระทำไปโดยมิได้ปรารถนาแสวงหาประโยชน์ส่วนตน หรือบำเหน็จตอบแทนแต่ประการใด จึงเป็นการสมควรให้มีกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติในครั้งนี้


0 0 0 0 0

11. พรบ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2515"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2515/198/234/26 ธันวาคม 2515]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้ บังคับ ซึ่งได้กระทำเนื่องในการปฏิวัติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 ก็ดี ในกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกันก็ดี การกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของหัวหน้าคณะปฏิวัติหรือของผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากหัวหน้าคณะปฏิวัติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะปฏิวัติอัน ได้กระทำไปเพื่อความมั่นคงของประเทศและราชบัลลังก์ และเพื่อความสงบสุขของประชาชนซึ่งรวมถึงการลงโทษและการกระทำอันเป็นการ บริหารราชการอย่างอื่นก็ดี การกระทำดังกล่าวนี้ไม่ว่ากระทำอย่างใด ไม่ว่าในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ และไม่ว่ากระทำในวันที่ กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้นหากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การยึดอำนาจปกครองประเทศและยกเลิกรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะปฏิวัติได้กระทำเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 นั้น คณะปฏิวัติได้ กระทำไปด้วยความปรารถนาที่จะแก้ไขสถานการณ์ซึ่งเป็นภยันตรายต่อประเทศชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ และ ประชาชน และกำหนดกลไกการปกครองที่เหมาะสมแก่สภาพของประเทศ พื้นฐานทางเศรษฐกิจ และจิตใจของประชาชนเพื่อให้บังเกิดความผาสุกแก่ประชาชนชาวไทยและความเจริญ รุ่งเรืองของประเทศทั้งได้กระทำไปโดยมิ ได้ปรารถนาแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือบำเหน็จตอบแทนแต่ประการใด จึงสมควรให้มีกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติในครั้งนี้
0 0 0 0 0

12. พรบ.นิรโทษกรรมแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516


พระ ราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2516"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2516/145/1พ/16 พฤศจิกายน 2516]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของนักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคมพ.ศ.2516 และได้กระทำในระหว่าง วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2516 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2516 ไม่ว่ากระทำในฐานะเป็นตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำหรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การเดินขบวนของนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้มีการกระทำที่เป็นความผิดและเป็นอันตรายต่อชีวิต และร่างกายของบุคคล และความเสียหายแก่ทรัพย์สินเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวน และความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันระหว่าง นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล สำหรับการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐบาลนั้น เมื่อได้กระทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนการกระทำของนักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน มิได้รับการคุ้มครองดังกล่าว แต่เมื่อได้คำนึงถึงว่าการกระทำนั้นได้กระทำไปโดยปรารถนาจะให้มีรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์เป็นประมุขให้รวดเร็วยิ่งขึ้น สมควรให้มีนิรโทษกรรมแก่บรรดานักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน ซึ่ง เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

0 0 0 0 0

13. พรบ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครอง ประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2519/156/42พ/24 ธันวาคม 2519]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมพ.ศ.2519 และการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว ซึ่งได้กระทำไปด้วยความมุ่งหมายที่จะให้บังเกิดความมั่นคงของราชอาณาจักร ของราชบัลลังก์ และเพื่อความสงบสุขของประชาชนก็ดี และการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน หรือหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน หรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน หรือหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะปฏิรูปการปกครอง แผ่นดิน หรือหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อันได้กระทำไปเพื่อการที่กล่าวนั้น รวมถึงการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่นก็ดี การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่ากระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดย สิ้นเชิง

มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การยึดอำนาจการปกครองประเทศ และยกเลิกรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้กระทำเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นั้น คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้กระทำไปด้วยความปรารถนาที่จะแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งเป็นภยันตรายต่อประเทศ ชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ และประชาชน และกำหนดรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมแก่สภาพของประเทศ พื้นฐานทางเศรษฐกิจ และจิตใจของประชาชนเพื่อให้บังเกิดความผาสุกแก่ประชาชนชาวไทย และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ทั้งได้กระทำไปโดยมิได้ปรารถนาแสวงหาประโยชน์ส่วนตน หรือบำเหน็จตอบแทนแต่ประการใด จึงสมควรให้มีกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศใน ครั้งนี้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
0 0 0 0 0


14. พรบ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราช อาณาจักรระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520

พระ ราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของ รัฐภายในราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2520

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ภายในราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2520"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2520/121/1พ/3 สิงหาคม 2520]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรซึ่งได้ กระทำระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2520 และบรรดาการกระทำอันเป็นความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน หรือเนื่องจากการกระทำอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรใน ระหว่างวันดังกล่าว ทั้งนี้ไม่รวมถึงการกระทำอันเป็นความผิดต่อชีวิตให้ถือว่าการกระทำนั้นๆ ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป และให้ผู้กระทำความผิดซึ่งถูกลงโทษในความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราช อาณาจักร ความผิดต่อเจ้าพนักงานและความผิดฐานบุกรุก ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2520 ลงวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2520 และตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 4/2520 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2520 ไม่ว่าผู้นั้นจะได้รับโทษตามคำสั่งดังกล่าวอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้ บังคับหรือไม่ก็ตาม พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัติ นี้ใช้บังคับ

ความในวรรคหนึ่งไม่กระทบกระเทือนถึงการริบของกลางที่ได้กระทำไปแล้วตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 4/2520 ลงวันที่ 10 พฤษภาคมพ.ศ. 2520

มาตรา 4 การนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือ ประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระชนมพรรษาเจริญวัฒนามา ครบ 50 พรรษาบริบูรณ์ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2520 ซึ่งนับเป็น อภิลักขิตสมัยที่สำคัญ และประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายและเจตจำนงที่จะผนึกกำลังสร้างสรรความสามัคคีของ ชนในชาติ สมควรนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราช อาณาจักร และความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดดังกล่าว ซึ่งได้กระทำระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2520 เพื่อเป็นการแผ่พระมหากรุณาธิคุณและให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นได้ร่วมกันทำ คุณประโยชน์และช่วยจรรโลงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
0 0 0 0 0

15. พรบ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520

พระ ราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวัน ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 ภูมิพล อดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2520

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2520/121/5พ/3 ธันวาคม 2520]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 และการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว ซึ่งได้กระทำไปด้วยความมุ่งหมายที่จะให้บังเกิดความมั่นคงของราชอาณาจักร และเพื่อความผาสุกของประชาชนก็ดี และการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของคณะปฏิวัติ หรือหัวหน้าคณะปฏิวัติ หรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะปฏิวัติ หรือหัวหน้าคณะปฏิวัติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะปฏิวัติหรือหัวหน้า คณะปฏิวัติ อันได้กระทำไปเพื่อการที่กล่าวนั้น รวมถึงการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่นก็ดี การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ว่ากระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทาง นิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน และยกเลิกรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะปฏิวัติได้กระทำเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ 2520 นั้น คณะปฏิวัติได้กระทำไปด้วยความปรารถนาที่จะให้การบริหารประเทศเป็นไปโดยมี ประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาของประเทศชาติได้ทันท่วงที เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนเสริมสร้างความสามัคคีของชนในชาติ ความเป็นระเบียบ เรียบร้อย และฟื้นฟูความสัมพันธ์กับนานาประเทศเพื่อให้เกิดความมั่นคงทั้งภายในและภาย นอกราชอาณาจักร และบังเกิดความผาสุกแก่ประชาชนชาวไทย และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ทั้งได้กระทำไปโดยมิได้ปรารถนาแสวงหาประโยชน์ส่วนตน หรือบำเหน็จตอบแทนแต่ประการใด จึงสมควรให้มีกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินใน ครั้งนี้จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

0 0 0 0 0

16. พรบ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พ.ศ. 2521


พระ ราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 - พ.ศ. 2521

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 - พ.ศ. 2521"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2521/97/1พ/16 กันยายน 2521]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ที่เกิดขึ้น หรือเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และได้กระทำในระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ไม่ว่าจะได้กระทำในหรือนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และไม่ว่ากระทำในฐานะเป็นตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

มาตรา 4 ให้ศาลทหารกรุงเทพดำเนินการปล่อยตัวจำเลยทั้งหมดซึ่งถูกฟ้องในคดีหมายเลขดำ ที่ 253 ก/2520 ของศาลทหารกรุงเทพ ( ใช้กฎ 6 ต.ค. 19 ) และให้ศาลอาญาดำเนินการปล่อยตัวจำเลยทั้งหมดซึ่งถูกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ 4418/2520 ของศาลอาญา

บรรดาการกระทำที่เป็นเหตุให้จำเลยถูกฟ้องในคดี ตามวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา 3 และการกระทำนั้นผิดกฎหมาย ก็ให้จำเลยพ้นจากความผิดและความรับผิดด้วย

มาตรา 5 การนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมในอันที่จะฟ้องร้องเรียกสิทธิหรือ ประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น

มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า การพิจารณาคดีเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นั้น ได้ล่วงเลยมานานพอสมควรแล้วและมีท่าทีว่าจะยืดเยื้อต่อไปอีกนาน ถ้าจะดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จสิ้น ก็จะทำให้จำเลยต้องเสียอนาคตในทางการศึกษา และการประกอบอาชีพยิ่งขึ้น และเมื่อคำนึงถึงว่าการชุมนุมดังกล่าวก็ดี การกระทำอันเป็นความผิดทั้งหลายทั้งปวงก็ดี เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่เข้าใจในสถานการณ์ที่แท้จริงเพราะเหตุแห่งความ เยาว์วัย และการขาดประสบการณ์ของผู้กระทำความผิด ประกอบกับรัฐบาลนี้มีความประสงค์อย่างแน่วแน่ที่จะให้เกิดความสามัคคีใน ระหว่างชนในชาติ จึงเป็นการสมควรให้อภัยการกระทำดังกล่าวนั้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิด ทั้งผู้ที่กำลังถูกดำเนินคดีอยู่ และผู้ที่หลบหนีไปได้ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร และกลับมาร่วมกันทำคุณประโยชน์ และช่วยกันจรรโลงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
0 0 0 0 0

17. พรก.นิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2524

พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2524

มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2524"

มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2524/69/1พ/5 พฤษภาคม 2524]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ซึ่งได้กระทำเนื่องในการก่อความไม่สงบ เพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2524 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ หากการกระทำนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำนั้นพ้นจากความผิด และความรับผิด และถ้าผู้กระทำดังกล่าวถูกควบคุมตัวอยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้ปล่อยตัวไปในวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ

[ มาตรา 3 วรรคสอง ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อ ความไม่สงบฯ พ.ศ.2524]

มาตรา 4 การนิรโทษกรรมตามพระราชกำหนดนี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมใน อันที่จะเรียกร้องสิทธิ หรือประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น และผู้ใดจะอ้างพระราชกำหนดนี้เพื่อให้ตนพ้นจากการถูกลงโทษทางวินัย หรือถูกดำเนินการเพื่อลงโทษทางวินัยอันเนื่องมาจากการกระทำที่ได้รับนิรโทษ กรรมตามมาตรา 3 มิได้

มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกำหนดนี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ ตามที่ได้มีผู้ก่อความไม่สงบขึ้น เพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินในระหว่างวันที่ 31 มีนาคม จนถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2524 โดยใช้กำลังอาวุธเข้ายึดสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่ง อันเป็นการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ในการดำเนินการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบดังกล่าว รัฐบาลได้ใช้ความระวังมิให้เกิดการต่อสู้กันขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สินของราษฎร และทรัพย์สินของทางราชการและ เกิดความไม่สงบ วางอาวุธและกลับคืนสู่หน่วยที่ตั้งตามปกติของตนภายในระยะเวลาที่กำหนด แล้วรัฐบาลจะไม่เอาความผิดซึ่งปรากฏว่าผู้ก่อความไม่สงบได้เชื่อฟังและ ปฏิบัติตามประกาศของรัฐบาลด้วยดี มิได้มีการต่อต้าน หรือขัดขืน หรือใช้กำลังอาวุธให้ต้องเสียเลือดเนื้อแต่ประการใด ทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติในเวลาอันรวดเร็ว

เมื่อเหตุการณ์ สงบลงแล้วรัฐบาลได้ดำเนินการสอบสวนเพื่อทราบถึงพฤติการณ์แห่ง การกระทำของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยประกาศให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ไปรายงานตัวต่อกองอำนวยการร่วมรักษาความสงบแห่งชาติภายในเวลาที่กำหนด เพื่อให้ชี้แจงถึงการกระทำของตน ในขณะเดียวกันเนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดทางกฎหมาย การดำเนินการสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด จึงต้องกระทำไปตามกระบวนการแห่งกฎหมายควบคู่ไปด้วย

บัดนี้จากผลแห่ง การสอบสวนเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ผู้ก่อความไม่สงบส่วนใหญ่ได้ปฏิบัติตามประกาศของรัฐบาลโดยครบถ้วน เป็นการสมควรที่จะนิรโทษกรรมการกระทำของผู้ก่อความไม่สงบเหล่านั้นให้ตามที่ รัฐบาลได้ประกาศไว้ และเมื่อคำนึงถึงสถานการณ์ในปัจจุบันของประเทศที่มีศัตรูของประเทศชาติและ ประชาชน อยู่รอบด้านทั้งภายนอกและภายในราชอาณาจักร ความสามัคคีของชนในชาติจึงเป็นสิ่งจำเป็น และรีบด่วนที่จะต้องสร้างสรรให้มีขึ้นให้จงได้ การดำเนินการทางคดีต่อไปมีแต่จะก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชนยิ่งขึ้น ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และจะทำให้กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศในที่สุด ฉะนั้นเพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของประเทศและกรณีเป็นเรื่องฉุก เฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน ที่ไม่อาจปล่อยให้เนิ่นช้าได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

บทเฉพาะกาล
พระราช บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบ เพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2524

*หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ ตือ ตามที่ได้มีการตราพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจ การปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2524 โดยยกเว้นบุคคลซึ่งมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของรัฐบาล และรัฐสภาได้อนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าวไปแล้วนั้น เพื่อให้เกิดความสามัคคีของชนในชาติยิ่งขึ้น และเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของรัฐสภาที่ได้เสนอแนะไว้ในคราว พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าว เป็นการสมควรนิรโทษกรรมแก่การกระทำของบุคคลที่มิได้รับผลจากพระราชกำหนดดัง กล่าวให้เสร็จสิ้นไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ [รก.2524/92/1พ/12 มิถุนายน 2524]
0 0 0 0 0

18. พรบ. นิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครอง แผ่นดินระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2531/156/1พ/27 กันยายน 2531]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ซึ่งได้กระทำเนื่องในการก่อความไม่สงบ เพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2528 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ หากการกระทำนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำนั้นพ้นจากความผิด และความรับผิด และถ้าผู้กระทำดังกล่าวถูกควบคุมตัวอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีให้ปล่อยตัวไป โดยเร็ว

มาตรา 4 การนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรม ในอันที่จะเรียกร้องสิทธิ หรือประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น และผู้ใดจะอ้างพระราชบัญญัตินี้เพื่อให้ตนพ้นจากการถูกลงโทษทางวินัย หรือถูกดำเนินการเพื่อลงโทษทางวินัยอันเนื่องมาจากการกระทำที่ได้รับนิรโทษ กรรมตามมาตรา 3 มิได้

มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกสมโภชสิริราชสมบัติในมหามงคลสมัยที่ ทรงปกครองแผ่นดินยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่ปรากฏในประวัติ ศาสตร์ในวันที่ 2 กรกฎาคม พุทธศักราช 2531 นับเป็นอภิลักขิตกาลสำคัญ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบาย และเจตจำนงค์ที่จะผนึกกำลังสร้างสรรค์ความสามัคคีของชนในชาติ สมควรนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินระหว่าง วันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 เพื่อเป็นการแผ่พระมหากรุณาธิคุณ และให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นได้ร่วมทำคุณประโยชน์และช่วยจรรโลงประเทศชาติ ให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

0 0 0 0 0

19. พรบ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราช อาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็น คอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2532

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของ รัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็น คอมมิวนิสต์ พ.ศ.2532

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็น คอมมิวนิสต์ พ.ศ.2532"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2532/142/4พ/30 สิงหาคม 2532]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำของบุคคลใดๆ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2531 หากการกระทำนั้นเป็นความผิดดังต่อไปนี้

(1) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา
(2) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
(3) ความผิดฐานอื่นที่เป็นกรรมเดียวกับความผิดตาม (1) หรือ (2) ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

ให้ การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

มาตรา 4 การนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรม ในอันที่จะเรียกร้องสิทธิ หรือประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น และผู้ใดจะอ้างพระราชบัญญัตินี้เพื่อให้ตนพ้นจากการถูกลงโทษทางวินัย หรือถูกดำเนินการเพื่อลงโทษทางวินัย อันเนื่องจากการกระทำที่ได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา 3 มิได้

มาตรา 5 การนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ ส่วนราชการที่จะเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งจากผู้ได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา 3

มาตรา 6 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกสมโภชสิริราชสมบัติในมหามงคลสมัยที่ ทรงปกครองแผ่นดินยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่ปรากฏในประวัติ ศาสตร์ ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 นับเป็นอภิลักขิตกาลสำคัญ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายและเจตจำนงที่จะผนึกกำลังสร้างสรรค์ความสามัคคีของ ชนในชาติ สมควรนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราช อาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งนอกจากการนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ ก่อความไม่สงบ เพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแผ่พระมหากรุณาธิคุณและให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นได้ร่วมทำคุณ ประโยชน์และช่วยจรรโลงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

0 0 0 0 0

20. พรบ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
[รก.2534/79/1พ/3 พฤษภาคม 2534]

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 และการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว และการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะรักษาความสงบเรียบ ร้อยแห่งชาติ หรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น รวมถึงการลงโทษ และการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้น หรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง

มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี

*หมาย เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดินและยกเลิกรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้กระทำเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 นั้น คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้กระทำไปด้วยความปรารถนาที่จะแก้ไข สถานการณ์ ซึ่งเป็นภยันตรายต่อประเทศชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ และประชาชน เพื่อให้เกิดความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความเป็นธรรมในการปกครองประเทศ ความสามัคคีของชนในชาติ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความผาสุกของประชาชนชาวไทย และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ทั้งได้กระทำไปโดยมิได้ปรารถนาแสวงหาประโยชน์ส่วนตน หรือบำเหน็จตอบแทนแต่ประการใด จึงเป็นการสมควรที่จะให้มีนิรโทษกรรมแก่บรรดาบุคคลซึ่งได้กระทำการเพื่อ วัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นจึงสมควรให้มีกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึด และควบคุมอำนาจการปกครองประเทศในครั้งนี้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

0 0 0 0 0


21. พรก. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฯระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

พระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกัน ระหว่างวันที่ 17 พ.ค.2535 ถึงวันที่ 21 พ.ค.2535

มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวัน ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ถึง วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2535"

มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกัน ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าวไม่ว่าได้กระทำในฐานะเป็นตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผอดโดยสิ้นเชิง

มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกำหนดนี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุจินดา คราประยูร

0 0 0 0 0

ปล.คือหามาได้เท่านี้รู้สึกว่าจะขาดไป 1 เป็น พรก.นิรโทษกรรมปี 2523 ขออภัยด้วยนะครับเพราะทั้งหมดจริงๆมันต้องมี 22 ฉบับตั้งแต่อดีต

---------------
ดูเพิ่มเติม "
รวม พรบ. และ พรก.นิรโทษกรรม ในประเทศไทย ตั้งแต่ 2475 ถึง ปัจจุบัน ตอนที่ 1"

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker