บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยด้วยการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของ ICCPR

ที่มา ประชาไท

บทนำ
เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยนับเป็นประเด็นที่ได้รับความ สนใจมากในระยะประมาณ 6-7 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ตากใบ นโยบายการปราบปรามยาเสพติด การปราบปรามผู้ชุมนุมที่ราชประสงค์ รวมทั้งจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายของความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นประเด็นที่ต่างประเทศกำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้นั้น มีคำถามที่น่าสนใจว่า ในปัจจุบันที่กระแสประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมรวมทั้งการคุ้มครองสิทธิมนุษย ชนเป็นเรื่องที่นานาชาติให้ความสำคัญอย่างยิ่ง หากกระบวนการยุติธรรมของไทยไม่สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของคนไทยได้อย่าง เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีช่องทางเลือกอย่างอื่นอีกหรือไม่ที่ผู้เสียหายจะสามารถพึ่งพาได้ ข้อเขียนสั้นๆนี้ จะกล่าวถึงการเสนอข้อร้องเรียนไปยังองค์กรสากลอย่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สหประชาชาติ (the UN Human Rights Committee) ว่าเป็นอีกช่องทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจที่จะเป็นที่พึ่งได้ในยามที่กระบวน การยุติธรรมของไทยมีปัญหาและในยามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของไทยไม่กระตือ รือร้นเท่าที่ควรรวมถึงการดำรงอยู่ของกฎหมายที่รุนแรงเกินเหตุ (Draconian law) อย่างมาตรา 112
1.พิธีสารเลือกรับ คืออะไร
พิธีสารเลือกรับ ซึ่งแปลมาจากภาษาอังกฤษว่า “Optional Protocol” นั้นเป็นชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งของสนธิสัญญา เป็นตราสารระหว่างประเทศที่เพิ่มเติมมาจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ซึ่งก็เป็นสนธิสัญญาเหมือนกันและประเทศไทยก็เป็นภาคีด้วย แต่ในกรณีที่รัฐภาคีมิได้ปฏิบัติตาม ICCPR ก็มิได้มีผลที่จะให้ปัจเจกชนผู้เสียหายจากการที่สิทธิต่างๆที่ ICCPR รับรองซึ่งมีอยู่จำนวนมาก เช่น สิทธิในชีวิตและร่างกาย สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Fair trial) สิทธิที่จะห้ามมิให้ได้รับการเลือกปฏิบัติ สิทธิเสรีภาพในอันที่จะแสดงความคิดเห็น สิทธิที่จะชุมนุมโดยสงบ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี แม้ว่า ICCPR จะรับรองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานไว้ดีสักเพียงใดก็ตาม แต่หากสิทธิของประชาชนถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว ประชาชนก็ไม่สามารถมีช่องร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชา ชาติได้ เนื่องจากประชาชนจะพึ่งพากระบวนการร้องเรียนที่เรียกว่า Individual complains ได้ก็ต่อเมื่อ รัฐเจ้าของสัญชาติของเอกชนผู้นั้นเป็นภาคีของพิธีสารเลือกรับ ฉบับแรก [1] ของ ICCPR เสียก่อน เนื่องจากปัจจุบันนี้ ประเทศไทยยังมิได้ให้สัตยาบันพิธีสารเลือกรับนี้เป็นผลให้ประชาชนคนไทยไม่ อาจเสนอข้อร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้
2.กลไกการทำงานของพิธีสารเลือกรับ
การที่เอกชน อย่างนาย ก. นาย ข. จะริเริ่มกระบวนการร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้ นั้นจะต้องผ่านเงื่อนไขสำคัญที่สุดเสียก่อน เงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือ เอกชนซึ่งเป็นผู้ร้องนั้นจะต้องพึ่งพากระบวนการยุติธรรมภายในของประเทศของตน อย่างเสร็จสิ้นกระบวนความเสียก่อน [2] หลัก กฎหมายระหว่างประเทศนี้เรียกว่า “Exhausted local remedies rule” หมายความว่า เอกชนผู้นั้นจะต้องดำเนินการมาตรการทางกฎหมายเพื่อที่จะได้รับความเป็นธรรม หรือเยียวยาความเสียหายอย่างสุดเต็มความสามารถ หรือพึ่งพาช่องทางกระบวนการยุติธรรมทุกช่องทางที่มีอยู่แล้ว เช่น ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา หรือส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กฎหมายนั้นขัดกับรัฐธรรมนูญ เป็นต้น แต่กระบวนการทางกฎหมายเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถเยียวยาความเสียหายในสิทธิที่ ตนเองถูกละเมิดได้หรือยังไม่ได้รับความเป็นธรรมอยู่ดี หากเป็นเช่นนี้แล้ว เอกชนผู้นั้นจึงจะเริ่มกระบวนการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสหประชา ชาติได้ มีข้อสังเกตว่า ข้อร้องเรียนของเอกชนจำนวนไม่น้อยถูกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ยกคำร้องเนื่องมาจากเหตุผลนี้ กล่าวคือ เอกชนผู้ร้องเรียนยังพึ่งพากระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายภายในของประเทศผู้ ร้องเรียนยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนความ
เมื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติรับเรื่องไว้แล้วภายในเวลา 6 เดือน ข้อร้องเรียนจะมีลักษณะเป็นข้อพิพาทระหว่างปัจเจกชนกับรัฐ โดย ผู้แทนของรัฐจะส่งคำอธิบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษย ชนเพื่อชี้แจ้งเกี่ยวกับข้อร้องเรียน [3] สำหรับ ผู้เสียหายก็มีสิทธิที่จะมีทนายแก้ต่างให้และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็จะ เรียกให้ผู้แทนของรัฐมาชี้แจง โดยที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติจะฟังความทั้งสองฝ่าย เปิดโอกาสให้สองฝ่ายได้ชี้แจงจากนั้นจึงจะมีการสรุปความเห็นของคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนในรูปของรายงาน
3.ผลบังคับของพิธีสารเลือกรับ
เมื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติรับเรื่องร้องเรียนแล้วและมีคำ ตัดสินให้เอกชนชนะข้อพิพาท คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็จะทำรายงานซึ่งในรายงานก็จะมีคำเสนอแนะให้มีการ เยียวยาความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียน หรืออาจมีคำแนะนำให้รัฐภาคีแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับ ICCPR ก็ได้
4.ใครจะได้ประโยชน์จากการที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับ
เป็นที่เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าเป็นภาคี พิธีสารเลือกรับิมเติมารเพิ่มเติมเติมมณ์ฎีกา หรือส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กฎหมายนั้นขัดกับรัฐธรรมนูญ เป็นต้นฐานระหว่างประเของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง การเมืองก็คือประชาชนคนไทย เราๆท่านๆ เพราะว่าการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับนี้จะเป็นการเปิดช่องทางอีกทางหนึ่ง ให้แก่ประชาชนคนไทยที่สิทธิเสรีภาพในเรื่องที่รับรองไว้ใน ICCPR ถูกละเมิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่ตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม หรือกรณีที่จำเลยไม่เห็นด้วยกับการตีความกฎหมายและการให้เหตุผลทางกฎหมายใน คำพิพากษาของศาลที่ไม่สอดคล้องกับ ICCPR ผู้นั้นก็สามารถร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้ ฉะนั้น การเข้าเป็นภาคีพิธีสารเพิ่มเติมนี้จึงเท่ากับเป็นการยกระดับการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของคนไทยให้ทัดเทียมกับมาตรฐานระหว่างประเทศและเป็นการตรวจสอบ การตีความและการให้เหตุผลทางกฎหมายของศาลไทย อีกด้วย
บทสรุป
การเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของ ICCPR จะเป็นการเพิ่มทางเลือกอีกช่องทางหนึ่งให้กับประชาชนคนไทยที่ถูกละเมิดสิทธิ เสรีภาพที่จะให้องค์กรสากลที่มีความน่าเชื่อถืออย่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สหประชาชาติพิจารณา การเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของประเทศไทยช้าเท่าใด [4] ประชาชน ก็จะมีสิทธิใช้ประโยชน์จากพิธีสารเลือกรับที่ว่านี้ช้าตามไปด้วย หากต้องการยกระดับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนก็ต้องรีบเร่งศึกษา พิธีสารเลือกรับนี้ ควบคู่ไปกับการศึกษาการให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมหรือการทำคำประกาศฝ่าย เดียวยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ตามมาตรา 12 (3) หวังว่าสองอนุสัญญานี้พอจะเป็นความหวังสำหรับผู้ที่รักความยุติธรรม
[1] First Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights
[2] ดูมาตรา 2 ของพิธีสารเลือกรับ
[3] ดูมาตรา 4 (2)
[4] ปัจจุบันมีรัฐที่เป็นภาคีพิธีสารเลือกรับนี้จำนวน 114 ประเทศ

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker