พระภิกษุเจ้าฟ้ามหามงกุฎ ทรงพิจารณาเห็นว่าตั้งแต่ได้พระพุทธรูปองค์นี้มาสักการะบูชา ไพรีราชศัตรูของพระองค์ก็แพ้พ่ายพินาศย่อยยับไปจนสิ้นจึงถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ ซึ่งมีพุทธลักษณะเป็นพระศิลาขนาดหน้าพระเพลา ๑ คืบ ๔ นิ้ว (๓๓ ซ.ม.) สูงตลอดรัศมี ๑ ศอก (๕๓ ซ.ม.) ศิลปะในองค์พระบอกสมัยศรีวิชัยประทับนั่งปางประทานอภัยอย่างพระรัตนสัมภาวะของนิกายมหายานว่า “พระไพรีพินาศ”
บางกอกทูเดย์ ก้าวข้ามสู่วันปีใหม่ด้วยการขยับปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอเพื่อตอบสนอง ให้ตรงตามความต้องการของท่านผู้มีอุปการคุณมอบเป็นของขวัญ แทนคำอำนวยอวยชัยให้ท่านในวาระดิถีอันมีมงคลยิ่งนี้ งานที่ได้รับคำตำหนิเราก็แก้ไขปรับปรุง ที่มีคำชื่นชมเราก็จะเติมเต็มให้ตรงใจมากขึ้น ดังที่ท่านจะได้เห็นชัดเจนในฉบับสุดสัปดาห์นับแต่นี้เป็นต้นไป บอร์ดบริหารของเรามีมติให้ปรับเปลี่ยน ภาพปกและเรื่องราว ที่“คอนเซ็ปต์” เดิมวางไว้ เอาใจ เสือป่า-แมว
เซา-เสือเฒ่า-สิงห์หนุ่ม ทั่วราชอาณาจักร (โดยลืมนึกว่าเป็นเรื่องเซนซิทิฟของคนไทย)นำ-เหนอ ภาพข่าวเรื่องราวของสาวงาม-ทรงอร่าม (เปิดนิด-ปิดหน่อย) ซึ่งก็เรียกเสียงเกี๊ยว-ก๊าว จากชาย “ไม้งาม” ทั้งหลายได้มากโข แต่กลับมีเสืยงค้านจากแฟนหนังสือฝ่ายสตรี ขู่ฟ่อ “คอมเพลน” เข้ามามากว่าหากยังนำภาพที่พวกเธอมองต่างมุมว่า“อัปมงคล” มาเป็นปก “ยั่วโมโห” อยู่อย่างเดิม จะออกคำสั่งห้ามทั้ง “หนุ่มน้อย-หนุ่มมาก” ที่เป็น “ลูกไก่ในกำมือ” เธอซื้อ
หนังสือ “ดีโคตร” เล่มนี้อีกต่อไป เมื่อมีเสียงขู่จาก “นางพญา” เข้ามามากๆบอร์ดบริหาร “ชายล้วน” ของเรา จึงต้องทำตัวเป็น “นายพยอม” มอบนโยบายใหม่ให้ “ทิดมา” ดำเนินการปรับเปลี่ยนเอาความเป็นมงคลของ “พระเครื่อง” มาขึ้นปกหน้าหนังสือทุกฉบับวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยถือฤกษ์ยามวันเริ่มต้น “ปีขาล” เป็นฉบับปฐมผมน้อมรับคำสั่งด้วยความรู้สึกเสียดาย มาดำเนินการด้วยความเต็มใจ แต่ด้วยไม่อยากให้แฟนคลับ “ชายไทยโคตรแข็ง” รมณ์เสียจึงเสนอโยก
ภาพข่าวสาวงามอร่ามตา “โจ๊ะพรึ่ม พรึม” ไปเป็นภาพปกฉบับวันจันทร์ซึ่งบอร์ดก็อนุมัติให้ด้วยความ “กรุ้มกริ่ม”เมื่อได้สัมปทานหน้าข่าวมากขึ้น ผมจึงวางแนวทางนำเสนอ “ต่อยอด” ให้แฟนคลับ“พระเครื่องทูเดย์” ได้รับสาระความรู้ในมุมมองที่หลากหลายรอบด้าน พร้อมมูลด้วยข่าวสารความเคลื่อนไหวในวงการพระเครื่อง ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไรในแต่ละสัปดาห์ เราจะหาข่าว “เบื้องกว้าง-ทางลึก” มาเขียนข่าวคุยกันแบบไม่ปิดบังโดยเปิดกว้างรับข่าวสาร คำแนะนำ ติ
ชมร้องเรียน จาก “คนพระเครื่อง” ทั่วประเทศทุกกรณี ด้วย “ทิดมา” มองเห็นความเจริญเติบโตของวงการพระเครื่องว่ากำลังมีการพัฒนาไปสู่ความเป็นมาตรฐานที่มีศักยภาพทางสังคมสูงขึ้น ข่าวสารในวงการย่อมเป็นเรื่องสำคัญที่สาธารณชนสนใจมากขึ้น น.ส.พ.บางกอกทูเดย์ จึงขออาสาเป็น “กระบอกเสียง” สายตรงข“คนพระเครื่อง” ทั้งนอกในวงการอย่างแท้จริง ณ บัดนี้เป็นต้นไปความเป็นมาของ “พระไพรีพินาศ” กำเนิดขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระ
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งดำรงพระอิสริยยศที่เจ้าฟ้ามหามงกฎุ ขณะยังทรงผนวชอยใู่นเพศบรรพชิตราวปี พ.ศ. ๒๓๙๑ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระองค์มีศัตรูมุ่งร้ายอยู่คือ “หม่อมไกรสร”ที่มีความหมายมั่นจะขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเห็นพระองค์เป็นคู่แข่งสำคัญ จึงหาวิธีกลั่นแกล้งทุกวิถีทางเพื่อหวังให้พระองค์ท่านเกรงกลวัขนาดครั้งหนึ่งขณะทรงออกบิณฑบาต “หม่อมไกรสร”ได้ตั้งใจนำข้าวต้มร้อนจัดมาใส่
บาตร ทำให้พระองค์ได้รับทุกขเวทนาอย่างมาก แต่ก็ทรงยึดหลักธรรมวางอุเบกขาไม่ตอบโต้ ต้องใช้ขันติธรรมต่อสู้กับการโดนกลั่นแกล้งอยู่ตลอดเวลา กระทั่งวันหนึ่งมีพสกนิกรที่มีความศรัทธาในพระองค์ นำพระพุทธรูปมาถวาย ท่านรับมาพิจารณาเห็นว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะแปลกตา แต่มีความงดงามน่าเลื่อมใสศรัทธาจึงทรงรับไว้ จัดที่อันควรประดิษฐานไว้และทำการสักการะบูชาอยู่อย่างสมํ่าเสมอ นับแต่นั้นมาเหตุร้ายต่างๆได้ที่เุลาลงโดยเฉพาะ “หม่อม
ไกรสร” คู่กรณีต้องประสบเหตุแพ้ภัยตัวเอง ด้วยกระทำผิดกฎมณเฑียรบาลอย่างร้ายแรง สุดท้ายต้องอาญาแผ่นดินโดนสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์สิ้นชีพ ณ วัดปทุมคงคาเมื่อเหตุการณ์จบลง พระภิกษุเจ้าฟ้ามหามงกุฎ ทรงพิจารณาเห็นว่าตั้งแต่ได้พระพุทธรูปองค์นี้มาสักการะบูชา ไพรีราชศัตรูของพระองค์ก็แพ้พ่ายพินาศย่อยยับไปจนสิ้นจึงถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ ซึ่งมีพุทธลักษณะเป็น พระศิลาขนาดหน้าพระเพลา ๑ คืบ๔ นิ้ว (๓๓ ซ.
ม.) สูงตลอดรัศมี ๑ ศอก(๕๓ ซ.ม.) ศิลปะในองค์พระบอกสมัยศรีวิชัย ประทับนั่งปางประทานอภัยอย่างพระรัตนสัมภาวะของนิกายมหายานว่า “พระไพรีพินาศ”กาลต่อมาเมื่อพระองค์ลาสิกขาสละเพศบรรพชิตเพื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงให้จัดพิธี“ผ่องพันไพรี” อันเป็นพระราชพิธีที่แสดงถึงบุญญาบารมีของพระองค์ที่สามารถผ่านพ้นการปองร้ายของศัตรูมา
ได้ โดยมิต้องตอบโต้ประการใด และด้วยเชื่อว่าเป็นด้วยพระพุทธานุภาพของ “พระไพรีพินาศ”เห็นว่าพระองค์นี้ ควรประดิษฐานอยู่กับวัดจึงพระราชทานให้ไว้แต่บัดนั้น โดยจัดที่ประดิษฐานไว้ในเก๋งจีนด้านทิศเหนือของมหาเจดีย์องค์ประธาน “พระไพรีพินาศ”เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ด้วยสาธุชนที่มีโอกาสได้เข้าสักการะบูชาต่างลํ่าลือถึงอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ด้านกำจัดเภทภัยสลายศัตรู ชื่อเสียงขจรกระจายสูงขึ้นไปตามวันเวลามีผู้ปรารถนาอยากได้รูปเหมือนจำลอง
องค์ท่านไปติดตัวบูชากันมากกระทั่งถึงวันครบรอบพระชนมายุครบ๘๐ พรรษาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำ เนินบำ เพ็ญพระราชกุศลถวายในกาลนี้ คณะกรรมการผู้ดำเนินงานเห็นควรให้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลจำลองพระไพรีพินาศขึ้นเป็นที่ระลึก โดยกราบบังคมทูลขอพระราชานุญาติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานเททอง วัตถุมงคลที่จัดสร้างประกอบด้วย
พระบูชาขนาด ๓ นิ้วพระกริ่งไพรีพินาศ (บัวแหลม-บัวเหลี่ยม)พระชัยวัฒน์ เหรียญปั๊มทองคำ ทองคำลงยา เงินลงยาและทองแดง นับเป็นการจัดสร้างวัตถุมงคล “พระไพรีพินาศ”รุ่นแรกของวัดบวรนิเวศน์ปัจจุบัน พระไพรีพินาศรุ่นนี้จัดเป็นพระเครื่องที่มีชื่อเสียงอยู่ในระดับพระยอดนิยมของวงการพระเครื่อง ที่มีราคาค่าความนิยมอยู่ในหลักแสนทีเดียวผู้อ่านท่านใดรู้สึกว่ามีศัตรูหรือกำลังจะมี หากไม่มั่นใจว่าจะรับมือไหวอยากจะแสวงหา “พระไพรีพินาศ” รุ่นนี้มาบูชา
ช่วยให้อุ่นใจอีกแรง ผมก็สนับสนุนแต่ก่อนจะตัดสินใจจ่ายสตางค์เช่าบูชา ต้องให้มั่นใจว่าเป็นของแท้แน่นอนฯ ครับ จะได้ไม่ต้องมีศัตรูเพิ่มโดยไม่ตั้งใจครับ และเพื่อให้ท่านมีภูมิรู้พื้นฐานในการพจิารณาพระแท้ที่เป็นมาตรฐาน ผมได้เปิดคอลัมส์ “ครูพักลักจำ” นำภาพพระแท้แบบว่า “สวยดูง่าย”มาขยายใหญ่ชี้ตำหนิบอกเคล็ดลับควรรู้เบื้องต้นในการพิจารณาพระแท้ไว้อย่างพร้อมมูลลองศึกษาดูนะโบราณว่าไว้“รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม” จริงไหมครับ!!!