ทั้งๆ ที่บทบาทในเรื่องเหล่านี้ นายอภิสิทธิ์ ซึ่งเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี และเป็นทั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จำเป็นที่จะต้องเป็นคนทำ แต่กลับกลายเป็นว่านายชวนต้องกลายมาเป็นคนออกโรงเสียเองสะท้อนว่า กระแสที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงภายในพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ หากดูบทบาทความสำคัญที่เริ่มหมุนกลับมาที่นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ในขณะนี้
หากความเป็นจริง คือ ยิ่งพูดมากเท่าไร คนยิ่งเชื่อถือน้อยลงเท่านั้นในหลักของการบริหารที่ดี มีเพียงประการเดียวเท่านั้น ก็คือต้องเปลี่ยนตัวคนพูดเสียใหม่
ต้องหาคนที่ยังคงได้รับการยอมรับ ยังคงมีเครดิตหรือความน่าเชื่อถือ ให้เป็นคนที่ออกมาพูดแทนไม่น่าเชื่อว่า ภายในระยะเวลาแค่ไม่ถึงปี รัฐบาล “เทพประทาน” ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะล้มเหลวในการสร้างผลงาน สร้างศรัทธาการยอมรับ และความเชื่อถือขนาดนี้แต่คงยากที่บรรดา นายทหารกลุ่ม คมช. กับทายาทอย่าง คตส. หรือแม้กระทั่ง ปปช. จะยื่นมือมาช่วยสร้างคะแนนได้อีกรวมทั้งกลุ่มพันธมิตร ซึ่งวันนี้ได้กลายสภาพมาเป็นพรรคการเมืองใหม่แล้ว ย่อมถือว่าลงมาอยู่ในสนามเดียวกัน จะมาให้อุ้มกระเตงกันต่อไปดูท่าจะไม่ไหวแล้วแม้ว่าจะยังตัดบัวเหลือใย ด้วยการงดที่จะไม่ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม เขต 1 ที่จังหวัดสงขลา ซึ่งมองได้ทั้งให้โอกาสรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์ กับอีกประเด็นก็คือ พรรคการเมืองใหม่เองก็อาจจะยังไม่พร้อมสำหรับการเลือกตั้งขืนเปิดหน้าชนเพื่อแย่งพื้นที่กับประชาธิปัตย์ในตอนนี้อาจจะทำให้ไก่ตื่น ฉะนั้นเอาไว้รอแลกหมัดในช่วงเลือกตั้งใหญ่พร้อมกันทั่วประเทศไปเลยน่าจะเหมาะสมกว่ารวมทั้งเช่นเดียวกับกลุ่มอำมาตยาธิปไตย และผู้มีบารมีทั้งหลาย ที่วันนี้ก็พลาดแล้วพลาดอีก จนความเชื่อถือสั่นคลอนไปไม่ใช่น้อย... แทบไม่ต่างจากภาพลักษณ์ของรัฐบาลเลยก็ว่าได้ดังนั้น วันนี้ลึกๆ แล้วประชาธิปัตย์ กำลังเดินอย่างลำพังบนความประมาทของตนเอง ที่เชื่อว่ายังเหนือชั้น และพรรคการเมืองอื่นๆ ไม่มีใครจะทาบรัศมีได้ จะมีก็แต่พรรคเพื่อไทย และอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ที่ต้องใช้กลไกอำนาจสกัดเอาไว้อย่างสุดฤทธิ์แต่เมื่อในความเป็นจริง ผลงานของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ ยกเว้นแต่ผลงานฉาวโฉ่ในเรื่องทุจริตที่ประชาชนเชื่อมั่นว่ามี แม้จะยังจับไม่มั่นคั้นไม่ตายก็ตามยิ่งผลงานในเรื่องของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ด้วยแล้ว ยิ่งไม่มีอะไรที่จะเป็นหน้าเป็นตาได้เลย แถมยังแสดงความอ่อนหัดทางการเมืองระหว่างประเทศ กรณีสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีประเทศกัมพูชา ที่ทำให้บรรดากลุ่มประเทศอาเซียนพากันส่ายหน้า ว่าเด็กเกินไปจริงๆวันนี้คำพูด เครดิต และความน่าเชื่อถือของ นายอภิสิทธิ์ จึงต้องถือว่าตกต่ำอย่างน่าเป็นห่วงฉะนั้นในภาวะล่อแหลมทางการเมือง ที่สามารถชี้เป็นชี้ตายให้กับพรรคประชาธิปัตย์ได้ ก็ขนาดโพลยังระบุชัดเจนว่า เลือกตั้งเมื่อไหร่ก็แพ้เพื่อไทยเมื่อนั้นประชาธิปัตย์วินาทีจึงยิ่งกว่าเดินไต่ลวดบนปากเหว
ที่สุดผู้อาวุโส ผู้ใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์เองก็เริ่มทนไม่ไหว จะมองว่าต้องเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ช่วยแก้สถานการณ์ให้ก็ได้หรือจะมองว่าเตรียมที่จะดึงอำนาจกลับคืนมาก่อนที่พรรคจะตกต่ำมากไปกว่านี้ก็ได้ฉะนั้นการที่ นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ต้องออกมาช่วยในเรื่องที่พูดกันหนักมากว่า จะมีการเลือกตั้งในต้นปีหน้าว่า เป็นเรื่องที่แต่ละคนก็ประเมินกันไป พร้อมกับมองว่าการที่รัฐบาลจะอยู่สั้นหรืออยู่ยาว นั่นคงตอบไม่ได้ แต่ยังหวังว่ารัฐบาลจะอยู่ได้ ที่สำคัญยอมรับว่า รัฐบาลต้องอย่าทำเป็นประมาท เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะรัฐบาลอย่าไปออกนอกแนว และกติกาบ้านเมือง หากไม่เคารพกฎเกณฑ์กติกาออกนอกวิถีทางประชาธิปไตย ถึงมีอำนาจก็มีโอกาสเกิดปัญหาตามมาได้เสมอ และต้องระวังเรื่องทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญคู่กันไป และต้องระมัดระวังอย่างมาก “ รัฐบาลยังมีเสียงข้างมาก ซึ่งฝ่ายเสียงข้างมากก็ยังคุมเสียงของตัวเองได้ ดังนั้น การจะพ่ายแพ้ญัตติในสภาก็ไม่เกิดขึ้น แต่การทะเลาะกันในสภา หรือนอกสภาบ้างอย่าไปถือเป็นสาระ ขอให้ดูที่เหตุผลว่า ทะเลาะกันเรื่องอะไร” ส่วนปัญหาระหว่างพรรคร่วมและภายในพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายชวนมองว่า ในพรรคประชาธิปัตย์คงไม่มีปัญหา เพียงแต่ว่าต้องคุยกันให้มากขึ้น ซึ่งเรื่องเป็นคนเสนอไปเองแล้วด้วยว่าจะต้องมีทั้งๆ ที่บทบาทในเรื่องเหล่านี้ นายอภิสิทธิ์ ซึ่งเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี และเป็นทั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จำเป็นที่จะต้องเป็นคนทำ แต่กลับกลายเป็นว่านายชวนต้องกลายมาเป็นคนออกโรงเสียเองสะท้อนว่า กระแสที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงภายในพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้หากดูบทบาทความสำคัญที่เริ่มหมุนกลับมาที่นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ในขณะนี้แม้แต่เก้าอี้เลขาธิการพรรค ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ยังทำท่าว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เหมือนกัน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นก็เท่ากับว่าอาถรรพ์เก้าอี้เลขาฯพรรคประชาธิปัตย์มีจริงเมื่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็เพลี่ยงพล้ำ ตำแหน่งหัวหน้าพรรคก็วุ่นวาย รวมทั้งตำแหน่งเลขาธิการพรรค ซึ่งเป็นคนทำหน้าที่ “ผู้จัดการรัฐบาล” ตัวจริงก็พลอยสั่นไหวสถานการณ์ที่การเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ ถูกเร่งเร้าและเรียกร้องให้มีการคืนอำนาจให้ประชาชนเสียที และดูท่าการยื้อและซื้อเวลาด้วยเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 50 อาจจะใช้มุขนี้อีกไม่ได้นานแล้ว
การเมืองเวลานี้มองข้ามช็อตไปที่การเลือกตั้งกันหมด ฉะนั้น ลึกๆ แล้วพรรคร่วมรัฐบาลเองก็เริ่มเตรียมพร้อมกันแล้ว หากต้องเลือกตั้งในต้นปีหน้าจริงๆ
แม้โดยหน้าไพ่ที่หงายอยู่ในตอนนี้บรรดาพรรคร่วมรัฐบาลส่วนใหญ่จะออกมามาบอกว่า ยังแน่นแฟ้นกันดีอยู่ ยังไม่มีการแตกแถวแต่อาการที่มีการเชือดเฉือนกันอยู่ในทีตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการช่วงชิงงบประมาณ เรื่องของการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ล้วนแล้วแต่สะท้อนให้เห็นว่าวินาทีนี้ไม่มีใครยอมใครจริงๆ แล้วการปฏิเสธข้อเสนอในเรื่องของรัฐบาลแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็นความเห็นที่ออกมาจาก นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แกนนำ พรรคชาติไทยพัฒนา ที่ว่านอกจากจะเป็นไปไม่ได้แล้ว ในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีทางที่จะเกิดรัฐบาลแห่งชาติ ได้ด้วยนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กล่าวว่า แนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี แต่โอกาสที่จะมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติก็คงน้อย เพราะสถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองในเวลานี้ ต้องยอมรับว่ามีระดับความรุนแรงของการเผชิญหน้าสูง และดำเนินมาอย่างยาวนาน “แต่ตามธรรมชาติของการเมือง การที่จะปิดตายเรื่องข้อเสนอดังกล่าวไปเลยนั้น คงไม่อาจพูดได้ เพราะธรรมชาติของการเมืองอะไรก็ย่อมเกิดขึ้นได้ และก็เห็นแล้วว่ามีการพลิกขั้วการเมืองกันมาแล้วหลายหนหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปี ที่ผ่านมา สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งก็คือ ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสองพรรคใหญ่คือ พรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคเพื่อไทย ว่าจะตัดสินใจทางการเมืองอย่างไร เพราะพรรคเล็ก ๆ อื่น ๆ ก็เป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น” นายสุวัจน์ กล่าวเช่นเดียวกับ นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ออกตัวว่า เรื่องรัฐบาลแห่งชาติ คนที่ต้องตัดสินใจควรจะเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะพรรคภูมิใจไทยเป็นเพียงพรรคร่วมรัฐบาล มี ส.ส.เพียงน้อยนิดดูเหมือนรัฐบาลยังคงจับมือกันได้ แต่จริงๆ แล้วใช่หรือไม่ว่า เป็นเพราะประวิงเวลาให้การเลือกตั้งใหม่มาถึงให้ช้าที่สุดเสียมากกว่าหากเกมซื้อเวลาแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ผล และการเลือกตั้งเกิดขึ้นในช่วงต้นปีหน้าจริงอย่างที่ทุกฝ่าย ทุกพรรคการเมืองคาดโอกาสที่จะมีการผ่าตัดเกิดขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ก็มีสูงเพราะวันนี้ พี่เลี้ยงเด็ก เริ่มหงุดหงิดกับ “เด็กดื้อ”บ้างแล้วเหมือนกัน
กกต.พร้อมจัดเลือกตั้งหากยุบสภา
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. กล่าวว่า พร้อมจัดการเลือกตั้งหากมีการยุบสภา แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่จะเป็นผู้ตัดสินใจ เป็นเรื่องปกติที่พรรคการเมืองจะประเมินคะแนนเสียงพื้นที่ในภาคต่างๆ นอกจากนี้ ยังยืนยันถึงความพร้อมของการทำประชามติด้วยว่า จะทำแบบสอบถามแยกเป็น 6 ร่าง หรือ ทำเพียงร่างเดียวก็ไม่มีปัญหา พร้อมที่จะดำเนินการเนื่องจากกฎหมายกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการไว้แล้วส่วนสำนวนเงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์ 258 ล้านบาท นั้น นายประพันธ์ ปฏิเสธที่จะชี้แจงสาเหตุที่ กกต.ให้อนุกรรมการไต่สวนฯ ไปสอบสวน นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตผู้บริหาร บริษัท ทีพีไอ หลังจาก นายประชัย ปฏิเสธที่จะชี้แจง โดยระบุเพียงว่า ต้องรอผลการสรุปสำนวนของอนุกรรมการไต่สวนก่อน