บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คำพูดเป็นนายคน (และเป็นนายของอภิสิทธิ์ด้วย)

ที่มา Voice TV




ในช่วงเวลาเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทั้งในบทบาทผู้นำฝ่ายค้านและนายกรัฐมนตรี เขาได้ใช้หลายช่วงเวลา สร้างชุดคำพูด ที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ต้องบันทึกไว้ เพราะคำพูดเหล่านั้น ยังถูกนำมาใช้เป็นศรย้อนกลับเขา ในช่วงเวลาที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีผู้ต่อต้านมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

คำพูดเป็นนายคน ยังเป็นวลีที่ยังใช้ได้ดีกับทุกคน ในทุกสมัย ไม่เว้นแต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในสมัยเขาเป็นฝ่ายค้าน ที่มีหลายชุดคำพูด กลายเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทย และเป็นคำพูดที่กลายเป็นศรย้อนกลับการกระทำของเขาในช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายก รัฐมนตรีนาน 2 ปี 231 วัน

31 สิงหาคม 2551 นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน จัดชุดคำพูดนี้ ถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 สมัยสามัญนิติบัญญัติ ซึ่งในขณะนั้น มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเกิดขึ้นแล้ว

9 ตุลาคม 2551 หรือ เพียง 1 เดือนเศษ ก่อนที่เขาจะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ 2 วันหลังจากเกิดเหตุรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดทางให้คณะรัฐมนตรีได้เข้าอาคารรัฐสภา เพื่อแถลงนโยบายต่อที่ประชุม

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จัดชุดคำพูดนี้ ถึงรัฐบาล

ผมไม่นึกไม่ฝันว่า เรามีรัฐที่ได้ทำร้ายประชาชนถึงขั้นเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัส"

"แล้วเรายังมีรัฐ ที่พยายามยัดเยียดความผิดกลับไปให้ประชาชนอีก เป็นพฤติกรรมที่รับไม่ได้ครับ"

" พฤติกรรมอย่างนี้ ไม่มีทางนำพามาซึ่งความสมานฉันท์ความปรองดอง"

"พันธมิตรทำถูก  ทำผิด รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ทำผิด ไม่มีสิทธิ์ทำร้ายประชาชน อันนี้คือจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์"

"เราเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ทำในสิ่งที่เราพอจะทำได้ ถ้าการทิ้งตำแหน่งนั้นทำให้บ้านเมืองสงบแก้ไขปัญหาได้ เราทำทันที"

"การเมืองในวิถีทางประชาธิปไตย ไม่มีที่ไหนในโลก ที่ประชาชน ถูกทำร้ายจากภาครัฐแล้ว รัฐบาลที่มาจากประชาชนไม่แสดงความรับผิดชอบ"

นายอภิสิทธิ์ ในสมัยที่เป็นฝ่ายค้าน ยังเคยให้สัมภาษณ์ในรายการถามจริง ตอบตรง ทางสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที หรือช่อง 11 โดยเรียกร้องหลายประเด็นให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อลดความขัดแย้งในบ้านเมือง

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2551 ถึง 5 สิงหาคม 2554 รัฐบาลของเขาเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ไม่แตกต่างจากรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์  ซึ่งในครั้งนี้ เขาในฐานะนายกรัฐมนตรี ตอบกลับข้อเรียกร้องให้รัฐบาลบยุบสภา และเรื่องการใช้กำลัง เข้าควบคุมมวลชนแตกต่างออกไป

และประโยคสุดท้าย จากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่จะกลายมาเป็นนายของเขาอีกครั้ง นั่นคือการให้สัมภาษณ์ในรายการ BBC World News ของสถานีโทรทัศน์บีบีซี เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะช่วงเวลา 5 นาทีเศษ ที่คนไทยได้ดูคลิปนี้ จากเว็บไซต์ยูทูป เขาได้พูดประโยคสำคัญที่ว่า มีคำสั่งให้ใช้กระสุนจริงภายใต้สถานการณ์แบบไหน  ซึ่งคำสั่งออกโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อป้องกันตัวเอง เพื่อป้องกันการเสียชีวิตของประชาชน  และโชคร้ายที่มีประชาชนเสียชีวิต หรือ And unfortunately, some people died

ซึ่งความโชคร้ายตามมุมมองของนายอภิสิทธิ์ ทำให้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ต้องบันทึกว่า ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นาน 2 ปี 231 วัน  มีผู้ชุมนุมต่อต้านเขาและรัฐบาลเสียชีวิตและบาดเจ็บมากที่สุดในประเทศไทย เพราะการชุมนุมนาน 2 เดือน 7 วัน ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม ถึง 19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิต 99 รายและบาดเจ็บกว่า 2,000 คน
13 ธันวาคม 2555 เวลา 18:10 น.

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

“ปรากฏการณ์สนามม้า” สัญญาณสู้รบใหม่ของระบอบอำมาตย์ฯ

ที่มา uddred

 Facebook อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ 5 พฤศจิกายน 2555 >>>






หลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 เครือข่ายระบอบอำมาตย์ก็ต้องทบทวนปัจจัยแห่งความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง และยังไม่มีท่าทีว่าจะยอมถอนจากอำนาจแต่ประการใด เราลองตรวจสอบขบวนแถวเครือข่ายระบอบอำมาตย์ ซึ่งที่จริงจะเห็นร่องรอยง่ายกว่านี้ถ้าไม่เกิดมหาอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ใน ประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจเป็นการวางยาหรืออย่างไร ? ที่ทำให้น้ำในเขื่อนถูกเก็บไว้มากกว่าปีก่อนซึ่งก็มีน้ำท่วม แต่หลังจากครบรอบปีการเกิดอุทกภัย แน่นอนว่าปลอดภัยจากน้ำท่วม สัญญาณรบก็เริ่มชัดเจนขึ้น
ตรวจสอบที่พรรคประชาธิปัตย์ เราเคยมีข้อสรุปจากบทความก่อนหน้านี้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ละทิ้งการต่อสู้ในรัฐสภาโดยการป่วน ทำให้รัฐสภากลายเป็นสถานที่ไม่น่าเชื่อถืออีกในภาพรวม เมื่อลากเก้าอี้ ยื้อยุดประธานรัฐสภาให้ลุกออกมาพร้อมปาแฟ้มใส่ ทั้งหมดที่ผ่านมานั้นแสดงหนักเมื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระสอง กลุ่มพันธมิตรก็ออกมาขวางการลงมติ พรบ.ปรองดอง การแสดงออกเหล่านี้ก็เป็นการเริ่มก่อตัวเพื่อขยายแนวต่อต้านรัฐบาล โค่นล้มรัฐบาล และปกป้องรัฐธรรมนูญ 2550 โดยต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญและต่อต้านการออกกฎหมาย พรบ.ปรองดอง ทั้งหมดนี้เป็นการต่อสู้ที่มีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์เดียวกัน ทั้งหมดแสดงถึงเอกภาพในการวางแผนขับเคลื่อน
ถ้าตรวจสอบการเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ที่สุเทพ เทือกสุบรรณกล่าวอยู่เสมอว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้พ่ายแพ้พรรคเพื่อไทย แต่พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้งานมวลชนคนเสื้อแดงและโรงเรียนการเมืองนปช. ดังนั้นจึงกล่าวชัดเจนถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานแย่งชิงมวลชนหรือสร้างมวลชน ของพรรคประชาธิปัตย์ เช่นเดียวกับที่พรรคเพื่อไทยมีมวลชนคนเสื้อแดง ดังนั้น การมีบลูสกายและช่องอื่น ๆ อีก 2 ช่องก็เพื่อย้อนรอยคนเสื้อแดง รวมทั้งการเดินสายเปิดเวทีปราศรัยทุกสัปดาห์ และเปิดโรงเรียนการเมืองเลียนแบบย้อนรอย แม้ว่าจะได้มวลชนคนละแบบ ไม่ใช่มวลชนคนที่ต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย แต่เป็นมวลชนที่ตามหลังอย่างเชื่อง ๆ หรือถูกล้างสมองว่าต่อสู้กับพวกล้มเจ้า เขาเปลี่ยนมวลชนในระบบของพรรคเป็นมวลชนที่ต่อสู้นอกระบบของระบอบอำมาตย์ เดิมพันนี้สูงมาก หมายถึงอนาคตของพรรคประชาธิปัตย์และการดำรงอยู่ของระบอบอำมาตย์ เราจึงเห็นการทุ่มสุดตัวของพรรคประชาธิปัตย์ที่ออกเดินสาย ด้านหนึ่งแก้ตัวให้กับความผิดกรณีปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนปี 2553 ใสร้ายป้ายสีคนเสื้อแดง, พรรคเพื่อไทย และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ อีกด้านหนึ่งพยายามขยายมวลชนของตน สร้างมวลชนต่อสู้เพื่อระบอบอำมาตย์
แม้ไม่มีเหตุผลรองรับเพียงพอ เพียงแค่อ้างว่ามาสู้เพื่อล้มรัฐบาลที่เป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็อาจได้มวลชนนอกระบบจำนวนหนึ่งที่สามารถต่อสู้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้ ดังนั้นการทุ่มสุดตัวดังเมื่อครั้งล้มรัฐบาลไทยรักไทยหรือให้ยิ่งใหญ่กว่า เพราะจะล้มยากกว่า ก็คุ้มค่ากับการลงทุน
ตรวจสอบที่กองกำลังนอกระบบขณะนี้ที่นำโดย เสธ.อ้าย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ก็เป็นผู้นำที่ถูกดึงขึ้นมาเพื่อยกระดับงานมวลชนของระบอบอำมาตย์ เพราะสนธิ ลิ้มทองกุลไม่ได้การยอมรับจากพรรคประชาธิปัตย์และกองทัพหรือหน่วยงานความ มั่นคง หรือกลุ่มแนวทางปฏิวัติประชาธิปไตย (ของประเสริฐ ทรัพย์สุนทร) จากบนลงล่าง จะเห็นได้ว่าเสธ.อ้ายจะพูดแบบขู่ทุกครั้งว่าถ้าคนไม่ได้ตามเป้าเขาจะเลิกนำ แสดงว่าเงื่อนไขสำคัญในการนำมวลชนของระบอบอำมาตย์ต้องขอกำลังจริงเพื่อสร้าง ความชอบธรรมที่จะให้เครือข่ายระบอบอำมาตย์อื่นสนธิกำลังเข้าด้วยกันล้ม รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ขบวนการคนเสื้อแดง ปกป้องรัฐธรรมนูญ 50 องค์กรอิสระของรัฐธรรมนูญ 50 และอำนาจตุลาการนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ 50 ไว้ได้หมด ไม่มีการเลือกตั้งอย่างน้อย 5 ปี และปิดประเทศจนกว่าระบอบทักษิณตามที่เขาเชื่อจะถูกทำลายหมด นี่ก็คล้ายเป็นยุครัฐประหารหลัง 6 ตุลาที่รัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียรประกาศขั้นตอนสู่ประชาธิปไตยต้องใช้เวลา 12 ปี เป็นวิธีคิดอำมาตย์แบบเดียวกัน คือไม่ยอมคืนอำนาจให้กับประชาชน กองกำลังนอกระบบนี้จึงมาจากพรรคการเมือง นักธุรกิจสายอำมาตย์ กลุ่มธุรกิจการเงิน เจ้ามือต่าง ๆ (หวย, บ่อน, ยาเสพติด) นอกระบบ ที่เสียผลประโยชน์จากรัฐบาลทักษิณ และหน่วยงานความมั่นคงที่มีระบบคิดว่า ความมั่นคงคือการพิทักษ์ระบอบอำมาตย์แล้วพิฆาตประชาชน
เมื่อขบวนแถวมี
1. พรรคการเมืองอนุรักษ์นิยม
2. กองกำลังนอกระบบและมวลชนระบอบอำมาตย์ก็รอกวักมือเรียก
3. กองกำลังในระบบของระบอบอำมาตย์ มาทำรัฐประหารเช่นคราวสนธิ ลิ้มทองกุลเข้าพบสนธิ บุญยรัตกลินเพื่อให้ก่อรัฐประหาร
4. ยังมีกำลังสำคัญคือขบวนการตุลาการภิวัฒน์ร่วมกับองค์กรอิสระต่าง ๆ และกลุ่ม สว.สรรหา
คือกองทัพประจำการและข้าราชการประจำขององค์กรที่ไม่ได้ยึดโยงมาจากประชาชน ที่เป็นกลไกรัฐสำคัญที่จะร่วมส่วนกับพรรคการเมืองและมวลชนนอกระบบ เพื่อทำการหยุดประเทศไทยไม่ให้ก้าวต่อไปตามทิศทางที่ประชาชนเป็นใหญ่และทน ไม่ไหวกับการที่รัฐบาลนี้จะอยู่ต่อไปยาวนาน เพราะหมายถึงจุดจบของระบอบอำมาตย์ เพราะประชาชนรากหญ้า ผู้ใช้แรงงาน คนชั้นกลาง ปัญญาชนจะเข้าร่วมในทิศทางประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตยและความยุติธรรมมาก ขึ้นเรื่อย ๆ นี่จะเป็นสัญญาณสู้รบใหม่ครั้งยิ่งใหญ่ของระบอบอำมาตย์ที่ประชาชนและพรรค เพื่อไทยจะประมาทมิได้ แม้ความชอบธรรมจะไม่ได้อยู่ที่กลุ่มคนเหล่านี้ แต่ต้องไม่ลืมว่าพวกเขากล่าวเอาไว้ว่าจะใช้วิธีไหนก็ได้ โหดร้าย หน้าด้านก็ต้องทำ นี่ทำให้ผู้เขียนคิดถึงเรื่องการประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ประกาศเสียทีจะดีไหม? ก็เพียงแค่เปิดประตูให้ฝ่ายอัยการเขาได้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้นเอง จะได้เป็นยันต์กันผู้ร้ายเข้าสิงร่างกายของพวกเทพ ๆ ทั้งหลายที่บอกว่าประชาชนเป็นพวกมาร...ต้องปราบ....ต้องฆ่า !!!

นิธิ เอียวศรีวงศ์ : เปลี่ยนประเทศไทย ด้วยการรับจำนำข้าว

ที่มา ประชาไท



เพราะรัฐบาลกำลังทำอะไรที่มีความสำคัญสุดยอดในการเปลี่ยนประเทศไทย หนทางย่อมไม่ราบรื่นเป็นธรรมดา
ผมไม่มีความเห็นอะไรเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวด้วยราคาสูงของรัฐบาลมา นาน เพราะยอมรับว่ายังไม่สู้เข้าใจผลกระทบถ่องแท้นัก จึงได้สดับตรับฟังและตามอ่านความเห็นของคนอื่นตลอดมา

บัดนี้ ผมคิดว่าผมพอจะบรรลุความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว

ผู้ ที่คัดค้านเห็นว่าโครงการนี้มีปัญหามาก และปัญหาเหล่านั้นก็เริ่มปรากฏให้เห็นบ้างแล้ว ผมขอแบ่งปัญหาที่กล่าวถึงออกเป็นสองอย่าง คือปัญหาเชิงหลักการกับปัญหาเชิงปฏิบัติ

ในด้านหลักการ ราคาที่รับจำนำนั้นเห็นว่าสูงเกินความเป็นจริง หรือเกินขีดความสามารถของรัฐบาลไทย (ทุกชุด) จะจัดการได้ เริ่มตั้งแต่ไม่มีทางระบายข้าวออกไปได้ เพราะราคาที่รับซื้อสูงเกินราคาตลาดโลกมาก นอกจากยอมระบายออกในราคาที่ขาดทุน เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ยิ่งกว่านี้บางคนยังบอกว่า มีส่วนดึงราคาข้าวภายในประเทศให้สูงขึ้นด้วย ซึ่งจะทำความเดือดร้อนแก่คนชั้นกลางระดับล่างในเขตเมือง แต่จนถึงทุกวันนี้ ผลกระทบด้านนี้ยังไม่ปรากฏให้เห็น ค่าครองชีพที่สูงขึ้นนั้นมีส่วนจากราคาข้าวน้อยมาก

ผลกระทบต่อไปก็ คือ ชาวนาย่อมจะลงทุนปลูกข้าวมากขึ้น ซึ่งจะทำให้จำนวนข้าวที่ไหลเข้าสู่โครงการเพิ่มขึ้นด้วย การขยายการปลูกข้าวเพราะแรงกระตุ้นของโครงการ จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น ราคาปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ตลอดจนราคาเช่าที่ดิน ค่าขนส่ง, แรงงาน ฯลฯ บางส่วนของต้นทุนการผลิตก็มีราคาสูงขึ้นจริงในฤดูการผลิตใหม่นี้ เช่น ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง และค่าเช่าที่ดิน เป็นต้น แต่ก็น่าจะเป็นการขึ้นราคาชั่วคราว ในช่วงที่อุปสงค์และอุปทานไม่สมดุลกันเท่านั้น

ดังนั้น ผู้คัดค้านโครงการจึงเสนอว่า สิ่งที่รัฐบาลน่าจะทำในการช่วยชาวนามากกว่า คือการพัฒนาการเกษตรในเชิงโครงสร้าง ไม่ใช่รับจำนำผลผลิตด้วยราคาสูง เช่น ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ฯลฯ เป็นต้น

ปัญหา ในด้านเชิงปฏิบัติ ผู้คัดค้านเห็นว่าโครงการนี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือชาวนากลางขึ้นไป กับโรงสี ส่วนชาวนาเล็กที่ "ยากจน" (คำนี้มีปัญหาในตัวของมันเองมากนะครับ) เงินไม่ตกถึงมือ เท่าที่ผมทราบ ความเห็นนี้ไม่ได้มาจากการวิจัย แต่เป็นการประมาณเท่านั้น เพราะในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับในตัวเลขว่าทั้งมอเตอร์ไซค์, รถปิกอัพ และวัสดุก่อสร้างขายดีขึ้นในเขตชนบท ซึ่งตลาดของชาวนากลางอย่างเดียวไม่เพียงพอจะอธิบายได้ อีกทั้งความกระตือรือร้นของชาวนาที่จะขยายการเพาะปลูก ก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่า ชาวนาจำนวนมาก (ทั้งกลางและเล็ก) ตอบสนองต่อโครงการด้วยความยินดี

ในส่วนโรงสีได้กำไรนั้น ผมยังมองไม่เห็นว่าจะได้อย่างไร นอกจากยอมรับซื้อข้าวในราคาสูงขึ้น ทั้งนี้ไม่พูดถึงการทุจริตเช่นสวมสิทธิจำนำข้าวและอื่นๆ นะครับ ที่พอจะมองเห็นกำไรแน่ๆ ก็คือรับสีข้าวที่รัฐบาลรับจำนำไว้ตันละ 500 บาท ซึ่งก็ไม่ใช่ราคาที่สูงกว่าปกติ แต่มีข้อได้เปรียบคือมีข้าวป้อนให้สีได้มั่นคงขึ้น โดยตัวเองไม่ต้องเสี่ยงทางธุรกิจคือรับซื้อเท่านั้น

อีกข้อหนึ่งที่ พูดกันมากคือการทุจริตทั้งของชาวนาเอง (ขายส่วนต่างของสิทธิการจำนำข้าว), นายทุนผู้รับซื้อส่วนต่างนี้, ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ทั้งขององค์กรของรัฐและบริษัทเซอร์เวย์เยอร์ เรื่องนี้จริงแน่นอนโดยไม่ต้องทำวิจัยเลยก็ได้ โครงการใช้เงินเป็นแสนล้านโดยไม่มีการโกงเลย จะเกิดขึ้นได้ที่ไหนในโลกล่ะครับ แต่ที่น่าสนใจกว่าก็คือ โกงมากกว่าโครงการจำนำข้าวที่ผ่านมาหรือโครงการประกันราคามากน้อยแค่ไหน และโกงได้อย่างไรหรือมีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง และควรอุดอย่างไร น่าเสียดายที่ไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการคัดค้าน

ยังมี เสียงคัดค้านเชิงอุดมการณ์จากจุดยืนจารีตนิยม ที่รังเกียจรัฐสวัสดิการทุกรูปแบบ เพราะเชื่อว่าจะทำให้คนขี้เกียจไม่รับผิดชอบและไม่ทำหน้าที่ของตนเอง คอยแต่จะแบมือรับความช่วยเหลือจากรัฐตลอดไป ข้อนี้ผมจะไม่พูดถึงล่ะครับ เพราะน่าสงสารเกินไป

แม้เสียงคัดค้านเหล่านี้มีส่วนจริงหรือมีส่วน เป็นไปได้บางเรื่อง แต่เป็นการมองโครงการในแง่ความเป็นไปได้ทางการตลาดเท่านั้น ผมคิดว่ารัฐบาลต้องชัด (กว่านี้) ว่าโครงการรับจำนำข้าวด้วยราคาสูงคือการปฏิรูปสังคม ไม่ใช่โครงการรับจำนำข้าวอย่างที่ผ่านมา ซึ่งมีเป้าหมายเพียงช่วยพยุงราคาข้าวของชาวนาให้ใกล้เคียงกับราคาตลาดโลกมาก ขึ้น และต้องไม่ขาดทุน

ตรงกันข้ามเลยครับ รัฐบาลตั้งใจจะขาดทุนมาแต่ต้น และด้วยเหตุดังนั้น จึงต้องวางแผนการระบายข้าวให้ดีโดยไม่ต้องนั่งรอราคาสูงสุดอย่างเดียว แต่จะระบายไปตามจังหวะเพื่อรักษาตลาดข้าวของไทยด้วยและเพื่อให้การระบายข้าว ทั้งหมดที่รับจำนำมานั้นขาดทุนน้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็ลงทุนเพิ่มมูลค่า เช่น การแพคเกจจิ้ง ไปจนถึงผ่านกระบวนการรักษาคุณภาพให้คงทน เป็นต้น เท่ากับโครงการรับจำนำช่วยเปิดตลาดข้าวระดับสูงไปพร้อมกัน (แน่นอนโดยร่วมมือกับผู้ส่งออกเอกชน)

จะขาดทุนบักโกรกแค่ไหน ผมไม่ทราบ แต่มีนักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งประมาณว่าไม่น่าจะเกิน 50,000 ล้านบาท ซึ่งยังน้อยกว่าเงินที่รัฐบาลต้องจ่ายออกไปในการประกันราคา (ซึ่งรั่วไหลมากกว่าเสียอีก)... แต่ตัวเลขนี้จะเชื่อได้แค่ไหนผมไม่ทราบ

สมมุติ ว่านักเศรษฐศาสตร์ประเมินต่ำไป 100% ก็ขาดทุนแค่ 100,000 ล้านบาท เงิน 100,000 ล้านจากงบประมาณแผ่นดินหลายล้านล้านบาท เพื่อช่วยชาวนาซึ่งมีจำนวนประมาณ 40% ของประเทศ จะเป็นไรไปเล่าครับ ปัญหามาอยู่ที่ว่าช่วยแล้วได้ผลอะไรและอย่างไรต่างหาก เช่น หากชาวนามั่นใจว่ารายได้ของตนจะสูงขึ้น เขาเอาไปลงทุนในอะไรอีกบ้างที่จะให้ผลดีแก่เขาในระยะยาว

ส่วนการที่ จำนวนหนึ่งนำไปซื้อมอเตอร์ไซค์และปิกอัพหรือต่อเติมบ้านเรือนนั้น อย่าได้คิดว่าเขาเอาเงินที่ได้มาไปใช้ในทางฟุ่มเฟือยเป็นอันขาด เพราะทั้งสามอย่างนี้เป็นการลงทุนทางธุรกิจไปพร้อมกับการเลื่อนสถานภาพทาง สังคม

เรื่องนี้ต้องเข้าใจชีวิตของชาวนาไทยให้ดี

"ชาวนา" ที่ทำนาขนาดเล็กด้วยกำลังครอบ ครัวของตนเพื่อยังชีพนั้น ปัจจุบันแทบจะไม่มีเหลืออยู่แล้ว ส่วนใหญ่ของรายได้ของครอบครัวชาวนามาจากงานนอกภาคการเกษตร และเป็นเช่นนี้มาหลายสิบปีแล้วด้วย ฉะนั้นรายได้ของครอบครัวชาวนาจึงสูงขึ้น แต่ไม่ใช่จากการทำนาหากมาจากการรับจ้างหลากหลายประเภท แม้กระนั้นการทำนาก็ยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญแก่คนอีกมาก ในขณะที่หลุดออกไปจากภาคเกษตรโดยสิ้นเชิงก็มีจำนวนไม่น้อยเหมือนกัน ฉะนั้นถ้าถือเส้นความยากจนตามที่สำนักงานสถิติใช้ในการหาข้อมูล ชาวนาส่วนใหญ่ไม่ใช่คนจน

การที่ชาวนาหลุดออกไปเป็นแรงงานประเภทต่างๆ นั้น เป็นปรากฏการณ์ปกติที่เกิดขึ้นในการพัฒนาของทุกประเทศ แต่ไทยมีปัญหาเฉพาะก็คือ อัตราการเปลี่ยนอาชีพของชาวนาไทยเกิดขึ้นช้ามาก จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังมีคนที่ทำนา (หรือเกษตรอย่างอื่น) ตกค้างอยู่ถึงเกือบ 40% ของประชากร แม้ว่ารายได้ส่วนใหญ่ของเขาไม่ได้มาจากภาคเกษตรก็ตาม

รถ ปิกอัพ, บ้านเรือน และมอเตอร์ไซค์ มีส่วนในการทำให้รายได้นอกภาคเกษตรของเขาเพิ่มขึ้น (เช่น มีมอเตอร์ไซค์ก็ทำให้หางานจ้างได้กว้างขึ้นกว่าจักรยานหรือเดินเท้า) การไปซื้อสินค้าเหล่านี้เมื่อมั่นใจว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคต จึงเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง

เป็นไปได้หรือไม่ว่า หากเขามีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาวแล้ว ชาวนาจะหันไปทำอาชีพอื่นๆ มากกว่าทำนา เพราะราคาจำนำ 15,000 บาทต่อข้าวหนึ่งตันนั้น ใช่ว่าจะทำให้รายได้เพิ่มสูงขึ้นมากนัก หากเปรียบกับการมีงานจ้างประจำทั้งปี หรือมีโอกาสค้าขายอย่างเป็นกอบเป็นกำมากขึ้น โครงการรับจำนำข้าวจึงอาจเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะทำให้ชาวนาจำนวนหนึ่งหัน ไปสู่อาชีพอื่น ในขณะที่ผู้ยังอยู่ในอาชีพทำนา ก็จะมีโอกาสพัฒนาผลิตภาพของตนเพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น

ในกระบวนการนี้ เขาจะลงทุนกับการศึกษาของลูกหลานเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ หลังจากจบ ม.3 ซึ่งทำให้หางานโรงงานทำได้นั้น เขาจะส่งลูกหลานเรียนต่อไปหรือไม่ อันนี้ผมเดาไม่ถูก แต่ก็เชื่อว่าอย่างน้อยจำนวนหนึ่งก็น่าจะลงทุนด้านการศึกษาต่อไป เพราะไม่มีแรงบีบให้ต้องเอาลูกออกไปทำงานโรงงาน และถ้าเป็นอย่างนั้นในจำนวนคนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวนาในเวลานี้ ย่อมหมายความว่า โครงการรับจำนำนี้ช่วยเปิดช่องทางที่ชาวนาจะได้รับผลพวงของการพัฒนาเต็มเม็ด เต็มหน่วยขึ้น

อันที่จริง การที่รัฐบาลประเทศพัฒนาแล้ว ทุ่มงบประมาณลงไปสนับสนุน หรือออกกฎหมายปกป้องคนในอาชีพเกษตรนั้นเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ในสหรัฐ, ยุโรป, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น แต่ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งไม่ใช่ชาวนาไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไร กลับสนับสนุนนโยบายเช่นนี้ด้วยซ้ำ เหตุใดนโยบายทำนองเดียวกันจึงถูกคนชั้นกลางและชนชั้นนำไทยคัดค้านอย่างหนัก

ส่วน หนึ่งของคำตอบก็คือ ในประเทศพัฒนาแล้ว ชาวนาหรือเกษตรกรมีจำนวนน้อยมาก เฉลี่ยประมาณ 4-8% ของประชากร คนทั่วไปจึงไม่รู้สึกถึงผลกระทบของนโยบาย แต่คนถึง 40% ที่คอยความช่วยเหลือในเมืองไทย มีจำนวนมากกว่ากันมาก ความช่วยเหลือใดๆ ที่จะบังเกิดผลแก่เขาจริง ต้องมีสัดส่วนพอสมควรในทรัพย์สาธารณะเป็นธรรมดา คนไทยชั้นกลางขึ้นไปจึงอ่อนไหวต่อการช่วยชาวนามากเป็นพิเศษ มองนโยบายเหล่านี้ด้วยความระแวง

แต่เหตุผลที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือการเมือง

ส่วน หนึ่งของชนชั้นนำไทยต้องการเก็บชาวนาไว้ภายใต้อุปถัมภ์ของตนตลอดไป แยกชาวนาออกเป็นปัจเจกบุคคลตัวเล็กๆ ภายใต้การนำของ "ปราชญ์ชาวบ้าน" ที่สยบยอมต่อระบบ ส่วนที่เหลือมองไม่เห็นประโยชน์ของชาวนามากกว่าแรงงานราคาถูก เพราะถึงอย่างไรสินค้าที่พวกเขาผลิตก็มุ่งไปที่ตลาดต่างประเทศอยู่แล้ว

ใน ทางตรงกันข้าม ชาวนาไทยไม่มีประสบการณ์ในการรวมกลุ่มเพื่อต่อรองทางการเมืองมากนัก (เมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรกรในประเทศพัฒนาแล้วทั่วไป) อันที่จริงชาวนาไทยถูก "ปราบปราม" อย่างเหี้ยมโหดและเด็ดขาดเสียยิ่งกว่าความเคลื่อนไหวของกรรมกรเสียอีก หากเขาพยายามรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ของเขาในนโยบายสาธารณะ

จะ โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม โครงการรับจำนำข้าวในราคาสูงของรัฐบาล ย่อมมีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองให้แก่ชาวนาด้วย หากทำต่อเนื่องไปอีกสักสองสามปี จะไม่มีรัฐบาลใดกล้าเลิกโครงการนี้เป็นอันขาด

แม้ว่ารัฐบาลเดินมาถูก ทางแล้ว (ตามทรรศนะของผม) แต่รัฐบาลต้องยินดีและน้อมรับฟังคำวิจารณ์ของทุกฝ่าย ส่วนหนึ่งของคำวิจารณ์นั้นอาจมาจากแรงจูงใจที่ไม่ดีทางการเมือง แต่รัฐบาลอย่าไปสนใจแรงจูงใจดีกว่า หากควรฟังและทบทวนโครงการอยู่ตลอดเวลา แก้ไขปรับเปลี่ยนอย่าให้เกิดรูรั่ว แต่ก็ต้องชัดเจนในด้านเป้าหมายของโครงการ ทั้งแก่ตนเองและประชาชน

เพราะรัฐบาลกำลังทำอะไรที่มีความสำคัญสุดยอดในการเปลี่ยนประเทศไทย หนทางย่อมไม่ราบรื่นเป็นธรรมดา


ที่มา: มติชนออนไลน์

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: การรักษาเป็นสินค้าและความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ในฐานะผู้บริโภค

ที่มา ประชาไท



ภายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาระบบสาธารณสุขไทยเป็นระยะเปลี่ยนผ่าน การเปลี่ยนแปลงต่างๆเพื่อให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนสถานภาพของแพทย์ในประเทศไทยที่มีสถานะเป็นที่ยอมรับในสังคมในฐานะผู้ เสียสละเพื่อรักษาชีวิตของสังคมเป็นผู้ให้บริการ นอกจากนี้การเติบโตของธุรกิจการแพทย์ทำให้ภาพของแพทย์บางส่วนที่ผู้ป่วยมอง ว่าเป็นผู้มีพระคุณกลายเป็นพ่อค้า และเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้จากเดิมที่ดีกลายเป็นภาพขัดแย้ง ไม่เข้าใจมากขึ้น และมีการฟ้องร้องมากขึ้น [1] ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญจนฝ่ายนโยบายสาธารณสุขเช่นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หามาตรการเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างแพทย์คนไข้  [2]
ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ 4 แบบ 
ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 4 แบบคือ [3]
• ความสัมพันธ์แบบพ่อปกครองลูก (parternalistic model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์มีลักษณะเหมือนผู้ปกครองผูกขาดการตัดสินเพียงผู้ เดียวในการเลือกการรักษาให้กับคนไข้ เพราะผู้ป่วยเป็นผู้ที่ไม่รู้อะไรเลยในการรักษา แพทย์เป็นผู้รู้ดีและเต็มไปด้วยปราถนาที่ต้องการให้ผู้ป่วยหายจากการป่วยและ จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้คนไข้ ผู้ป่วยต้องทำตามที่แพทย์สั่งโดยห้ามขัดขืน
• ความสัมพันธ์แบบกึ่งเสรี (deliberative model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์เสมือนครูหรือเพื่อนที่หวังดีกับคนไข้แพทย์มี หน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและชักชวนให้ผู้ป่วยเลือกการรักษาที่แพทย์คิดว่า เป็นสิ่งที่ดีที่สุดของคนไข้ สิ่งที่แตกต่างจากแบบแรกคือ ผู้ป่วยมีการตัดสินใจเองว่าจะทำหรือไม่ทำตามที่แพทย์พูด
• ความสัมพันธ์แบบการแปล (interpretative) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์เปรียบเสมือนเป็นที่ปรึกษาของคนไข้ โดยคนไข้เป็นผู้มีความรู้และสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์และข้อมูลที่ ซับซ้อนได้ เพียงแต่ต้องอาศัยการอธิบายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแปลสารที่เข้าใจยากให้ เข้าใจง่ายให้แก่ผู้ป่วย
• ความสัมพันธ์แบบให้ข้อมูลข่าวสาร (informative model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์มีลักษณะเป็นช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญการรักษาและมี หน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างทั้งข้อดีข้อเสียของการรักษาทุกชนิดและ สร้างตัวเลือกต่างๆให้กับผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสถานะผู้บริโภค มื่อได้รับข้อมูลแล้วก็สามารถไตร่ตรองได้เองว่าจะเลือกการรักษาในฐานะเป็น สินค้าชนิดหนึ่งที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายตัวเองดีที่สุด
ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จวบจน ศตวรรษที่แล้วเป็นความสัมพันธ์ลักษณะพ่อปกครองลูก ที่แพทย์ผูกขาดการตัดสินใจจากคนไข้หมด การรักษาที่ดีจึงขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์และคนไข้ คือถ้ามีความสัมพันธ์ดีก็มีโอกาสที่แพทย์จะทุ่มเทการรักษาอย่างเต็มที่ และต้องอาศัยจริยธรรมส่วนตัวของแพทย์ สาเหตุที่ความสัมพันธ์เป็นแบบพ่อปกครองลูกเพราะ ความไม่สมมาตรด้านข้อมูลระหว่างแพทย์และคนไข้ การเข้าถึงข้อมูลอย่างยากลำบากของคนไข้ ความซับซ้อนของความรู้ด้านการแพทย์ ความสัมพันธ์ของคนไข้และแพทย์แบบเก่าจึงวางอยู่บนความไม่เสมอภาค โดยที่คนไข้ได้สูญเสียอธิปไตยในการตัดสินใจไปให้กับแพทย์และอยู่ในรูปแบบของ การมอบอำนาจให้แพทย์ตัดสินใจ « Tutelle médicale »  [5]
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วและการเติบโตของธุรกิจการ แพทย์ เปิดโอกาสให้แพทย์สามารถหากำไรได้จากความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลและอำนาจ ตัดสินใจผูกขาดที่อาจเลือกการรักษาที่ไม่จำเป็นให้คนไข้เพื่อเพิ่มรายได้กับ ตนเองและอาจสร้างความไม่ไว้วางใจระหว่างแพทย์คนไข้ สภาพการณ์ปัจจุบันจริยธรรมของแพทย์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอและต้อง อาศัยการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับคนไข้ ด้วยผลดีของเทคโนโลยีปัจจุบันส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลมากขึ้นผู้ ป่วยสามารถหาข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อนได้มากขึ้นและทั่วถึงกับประชาชน ทำให้ผู้ป่วยมีอำนาจทางข้อมูลมากขึ้นและสามารถมีอำนาจต่อรองกับแพทย์และดึง อำนาจตัดสินใจจากแพทย์มาสู่ตนเองอีกครั้ง
ผู้ป่วยจากเดิมที่มีลักษณะตั้งรับ (passive) กลายมาเป็นผู้ป่วยที่มีความอิสระ (autonomy) พวกเขาไม่ใช่ผู้ป่วยที่เชื่อง ต้องเชื่อฟังคำสั่งทุกอย่างจากแพทย์โดยไม่รู้ว่าแพทย์ทำสิ่งที่ดีหรือแย่กับ ตน แต่ผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยที่รับรู้ เรียนรู้ได้ ว่าการรักษาใดที่ดีสำหรับตน ตัดสินใจได้ด้วยตัวเองและมีแขนขาสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ถึงแม้ตนเองจะป่วย อยู่ก็ตาม
แนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ทั่วโลกค่อนข้างจะเปลี่ยนจาก ระบบพ่อปกครองลูกเปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะผู้ป่วยเป็นผู้บริโภค อย่างไรก็ตามก็มีการโต้แย้งกับแนวความคิดดังกล่าว [6]  โดย เห็นว่าการรักษาไม่ควรเป็นสินค้าแต่ควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนมีสิทธิ เข้าถึง และอาจมองว่าโมเดลผู้ป่วยเป็นผู้บริโภคจะเป็นการบั่นทอนความสัมพันธ์อันดี ระหว่างแพทย์และคนไข้
ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าคิด แต่ควรแยกออกจากกันก่อนว่า การแพทย์เชิงพาณิชย์ที่ลดทอนสิทธิการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยและโมเดลผู้ ป่วยเป็นผู้บริโภคเป็นคนละเรื่องกัน ในประเทศฝรั่งเศสที่จัดหาการบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงให้กับประชาชนทุกคน หรือแม้แต่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ถึงแม้บางรายไม่ได้เป็นผู้เสียภาษีเลยก็ ตาม ต่างก็เปลี่ยนเป็นโมเดลผู้บริโภค โดยมองว่าเป็นการเพิ่มอำนาจและสิทธิของผู้ป่วยและเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวน การประชาธิปไตยในระบบสาธารณสุข สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคมีความแข็งแกร่งและสามารถเป็นปากเป็นเสียงให้กับคน ไข้ที่เดือดร้อนจากการรักษาที่ผิดพลาดของแพทย์ได้

เชิงอรรถ
[1] http://www.doctor.or.th/clinic/detail/7043
[2] มติและข้อเสนอจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๑
[3] http://www.med.yale.edu/intmed/resources/docs/Emanuel.pdf
[4] http://www.who.int/genomics/public/patientrights/en/
[5] Claude Le Pen, « Patient » ou « personne malade » ? Les nouvelles figures du consommateur de soins, Revue économique-vol.60, N°2 mars 2009, p.258.
[6] http://www.mat.or.th/file_attach/22Mar201205-AttachFile1332376445.pdf

ปัญหาชาวนาไทย จำนำข้าว และชาวนาไม่เสียภาษี ?

ที่มา ประชาไท




1 ปัญหาชาวนาไทย หรือ เกษตรกร ที่เรียกกันในปัจจุบัน นั้น มีพัฒนาการมาแต่อดีต ถึงปัจจุบันก็ยังดำรงอยู่   เพียงแต่อาจต้องแยกแยะชาวนา ซึ่งมีทั้งชาวนาไร้ที่ดินต้องเช่า   ชาวนามีที่ดินน้อยไม่พอทำกิน  ชาวนาขนาดเล็ก ขนาดกลาง ชาวนารวย (ไม่ใช่ระดับบริษัทซีพี)  แต่ชาวนาอาจแทบทุกระดับล้วนเป็นหนี้สิน ธกส.ไม่มากก็น้อย เนื่องเพราะชาวนามักเสียเปรียบกลไกตลาด หรือลงทุนไม่คุ้มขาย นั่นเอง

ปัญหาด้านที่ดิน ยุคสมัยเจ้าศักดินา ชาวนาจำนวนมาก เป็นเพียงไพร่ทาสติดที่ดิน ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน  ต้องทำนาบนที่ดินของผู้อื่น และต้องส่งส่วยให้เจ้าศักดินาทั้งชาวนาศูนย์กลางอำนาจและชาวนาตามหัวเมือง ต่างๆที่ปกครองโดยเจ้าเมืองก่อนปฏิรูปการปกครองรวบศูนย์อำนาจสมัยรัชกาลที่ 5

ประเทศ ไทยก็ยังไม่มีการกระจายการถือครองที่ดิน  ชาวนาจำนวนไม่น้อยต้องเช่าที่ดินอยู่   แม้ว่าสมัยหลังการปฎิวัติ 2475 นายปรีดี พนมยงค์เคยวางนโยบายนี้ไว้ และสมัยจอมพลป พิบูลสงคราม  เคยออกกฎหมายกำจัดการถือครองที่ดินไม่เกิน 50 ไร่  แต่อำนาจของผู้นำประเทศสมัยนั้นถูกโค่นล้มเสียก่อน

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516  กระแสประชาธิปไตยและมีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปที่ดิน   มีการตั้งสำนักงานสปก. ขึ้น เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดิน  แต่ก็เป็นการปฏิรูปที่ดินของรัฐมากกว่า  จึงไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาการกระจุกการถือครองที่ดินแต่อย่างใด  ขณะที่ “ที่ดินเป็นสินค้า” ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์เก็งกำไรที่ดิน มีการสะสมที่ดินและไม่ทำประโยชน์จำนวนมาก       

2.  การพัฒนาประเทศสู่สังคมทุนนิยม ไม่ว่าจะเป็นสมัยต้นรัตนโกสินทร์  ช่วงสนธิสัญญาเบาริ่ง หรือสมัยแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติก็ตาม   ชาวนาได้รับการสนับสนุนให้ปลูกพืชผลเพื่อการขาย เพื่อการค้า  สนับสนุนให้หักร้างถางพงเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยวโดยไม่มีการกระจายการถือครอง ที่ดิน  ซึ่งชาวนานับล้านครอบครัวเมื่อถึงเวลากระแสอนุรักษ์ มีกฎหมายอนุรักษ์ประกาศทับที่ทำกิน พวกเขาก็กลายเป็นผู้ผิดกฎหมาย

สภาพทั่วไป การลงทุนทำการผลิตเพื่อขายของชาวนา มักไม่คุ้มต้นทุน มักขาดทุนอยู่สม่ำเสมอจำนวนมากจึงกลายเป็นชาวนาผู้มีหนี้สิน

ขณะ เดียวกัน   ชาวนายุคปัจจุบันการดิ้นรนเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด  มักมีการจัดการแรงงานของครัวเรือนชาวนาจำนวนมาก ล้วนแต่หาได้ทำมาหากินอยู่กับนา หรือมิเพียงเพื่อทำนาทำสวนทำไร่อย่างเดียว  พวกเขายังเป็นแรงงานนอกระบบจำนวนราว 24 ล้านคน  เช่น  รับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่ที่บ้าน   ลูกของพวกเขาอาจทำงานนอกภาคเกษตร เช่น คนงานภาคอุตสาหกรรมจำนวนราว 10 ล้านคน และภาคบริการอื่นๆจำนวนกว่า 10 ล้านคน

แต่ส่วนใหญ่แล้วล้วนเป็นแรงงานพนักงานด้านการผลิตที่ต้องทำ งานมากกว่าแปดชั่วโมง เพื่อส่งเงินมาเลี้ยงครอบครัวภาคเกษตร  หรือภาคเกษตรอยู่รอดได้เพราะมีนอกภาคเกษตรหนุนเสริม   พวกเขาจึงหาได้เลื่อนฐานะทาง”ชนชั้น” เป็น “คนชั้นกลาง” แต่อย่างใด

3 กระนั้นก็ตาม  หากกล่าวถึง นโยบายจำนำข้าว มีชาวนาที่ทำนาไม่ว่าขนาดเล็ก ขนาดกลางและได้ประโยชน์จากนโยบาย 20 ล้านคน  ก็นับเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้วมิใช่หรือ ? ที่ชาวนาส่วนนี้จะได้มีเงินจ่ายหนี้ธกส. หนี้ที่สร้างทุกข์ระดมให้ชาวนามาตลอด  ลูกหลานครัวเรือนชาวนาส่วนนี้ก็จะได้ลดภาระการส่งเงินมาให้ครอบครัวโดยที่ตน เองทำงานหนัก

การแทรกแซงราคาข้าวของรัฐ   ภายใต้กลไกตลาดที่บิดเบือน การขจัดอิทธิพลผูกขาดของพ่อค้าข้าวส่งออก เป็นสิ่งถูกต้องชอบธรรมใช่ไหม ? เฉกเช่น นโยบายด้านสาธารณสุข ที่รัฐไม่ปล่อยให้เอกชนใช้กลไกตลาดหาประโยชน์ส่วนตนเพียงฝ่ายเดียว

แน่ นอนว่า หากมีปัญหาการทุจริต การสวมสิทธิ์จากโครงการนี้  การะบายข้าว  ก็ควรตรวจสอบแก้ปัญหาเพื่อความโปร่งใสและงบประมาณจะได้ถึงชาวนาอย่างแท้จริง ซึ่งอาจต้องจัดตั้งกลไกที่ชาวนามีส่วนรวมมากขึ้น    แต่มิใช่ยกเลิกนโยบายปล่อยให้กลไกตลาดที่บิดเบือนและชาวนาตกเป็นเบี้ยล่าง เช่นเคย

นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย  ณรงค์ เพรชประเสริฐ   ขึ้นเวทีองค์กรพิทักษ์สยามได้บอกว่า “มนุษย์เงินเดือนเป็นพนักงาน 17 ล้านคน ต้องเสียภาษี   แต่ชาวนาไม่ต้องจ่ายภาษีดังกล่าว “

ไม่ทราบว่า 17 ล้านคน  เป็นคนงานพนักงานการผลิต  ซึ่งล้วนเป็นลูกลานชาวนาจำนวนมากจำนวนส่วนใหญ่  ที่มิใช่มนุษย์เงินเดือนแบบคนชั้นกลางระดับผู้บริหาร  ระดับหัวหน้างาน หรือเจ้าหน้าที่ราชการ

ขณะที่ ณรงค์  เพชรประเสริฐ เขายังตั้งใจหลอกลวงว่าชาวนาไม่ต้องจ่ายภาษี ทั้งๆที่ชาวนาและลูกหลานชาวนาล้วนเป็นจำนวนผู้จ่ายภาษีมากที่สุดก็ว่าได้

4.  เนื่องเพราะ ไม่นานมานี้   อาจารย์นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึง การปฏิรูปทางทางการคลังนั้นหมายรวมถึงการปฏิรูปทั้งทางด้านรายได้และรายจ่าย ทางด้านรายได้นั้นจะต้องมีการปฏิรูประบบภาษีเพื่อให้สามารถรองรับระบบ สวัสดิการได้อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันก็ต้องมีการปฏิรูปงบประมาณทางด้านรายจ่าย เพื่อตัดรายจ่ายประเภทไม่จำเป็นมาใช้จ่ายด้านระบบสวัสดิการมากขึ้น

ใน การปฏิรูประบบภาษีนั้น มีข้อเสนอซึ่งไม่ใช่ใหม่ แต่แม้ผลักดันกันมานานก็ไม่ปรากฏเป็นจริง คือการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดก รัฐบาลปัจจุบันได้เสนอว่าควรจะมีการดำเนินการอย่างจริงจัง สอดคล้องกับข้อเสนอของภาคประชาสังคม ทั้งนี้เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง

จาก ข้อมูลการกระจายรายได้ พบว่าความแตกต่างทางด้านรายได้ระหว่างคนจนและคนรวย (เปรียบเทียบ 20% ของประชากรที่มีรายได้สูงที่สุดกับ 20% ของประชากรที่มีรายได้ต่ำที่สุด) อยู่ที่ประมาณ 13 เท่า แต่ถ้าเปรียบเทียบในเชิงของการครอบครองทรัพย์สิน มีการประเมินว่าน่าจะสูงกว่านี้มากทีเดียว

 ฐานการจัดเก็บภาษีใน ประเทศต่างๆ มักจะมาจากฐานทางด้านรายได้ การบริโภค และทรัพย์สิน สำหรับประเทศไทย ฐานการจัดเก็บภาษีหลักมาจากฐานการบริโภค รองลงมาคือฐานทางด้านรายได้ สำหรับฐานทรัพย์สิน มีการจัดเก็บน้อยมากๆ จึงคงถึงเวลาที่จะต้องมีการจัดเก็บภาษีฐานทางด้านทรัพย์สินขึ้นมาเสียที

เหตุผล ในการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน สำหรับกรณีของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นเกี่ยวข้องกับหลักของการได้รับ ประโยชน์จากภาครัฐ และหลักความสามารถในการจ่าย ดังนั้น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นการจัดเก็บอยู่บนฐานของมูลค่าที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีราคาที่สูงขึ้น ถ้ามีการพัฒนาความเจริญเข้าสู่พื้นที่ดังกล่าว เช่นยิ่งมีระบบสาธารณูปโภคเข้าไปมากเท่าไร ราคาของสินทรัพย์ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นผู้เป็นเจ้าของจึงควรมีการจ่ายภาษีกลับคืนมาให้กับรัฐ และเป็นการสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างผู้จ่ายภาษีในเขตเมืองและชนบท

นอก จากนี้แล้ว ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังควรมีการแบ่งแยกประเภทของการใช้ที่ดินด้วย เช่นถ้าเป็นการใช้เพื่อเกษตรกรรม อัตราการจัดเก็บควรจะต่ำกว่า การใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย หรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือเชิงพาณิชย์อื่นๆ และสำหรับที่ดินที่รกร้าง กล่าวคือเป็นการซื้อที่ดินเพื่อการเก็งกำไร ซึ่งมีผลให้ปัจจัยการผลิตถูกนำไปครอบครองไว้เฉยๆ ไม่ทำประโยชน์ ควรจะมีการจัดเก็บในอัตราที่สูงเพื่อเป็นการสร้างต้นทุนในการเก็งกำไร เพื่อผลักดันให้มีการนำที่ดินไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ส่วน ภาษีมรดก เป็นภาษีที่ถือว่าเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพราะความไม่สมบูรณ์ของตลาดและประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี จึงเปิดโอกาสให้คนบางกลุ่มสามารถสะสมทรัพย์สินหรือโภคทรัพย์จนมากเกินไป การจัดเก็บภาษีมรดกถือเป็นการคืนกำไรหรือผลผลิตส่วนเกินให้กับสังคม ซึ่งมีเป็นจำนวนมากที่การสร้างรายได้เหล่านี้มักจะมาควบคู่กับการการสร้าง ต้นทุนทางสังคม ประเทศต่างๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงมีการจัดเก็บภาษีมรดกทั้งสิ้น

ระบบโครงสร้างการเก็บภาษีปัจจุบัน จึงไม่อาจบิดเบือนได้ว่า คนชั้นกลางเท่านั้นที่จ่าย  แต่ผู้จ่ายจำนวนมากกลับเป็นคนชั้นล่าง

มี การเป็นห่วงว่า นโยบายจำนำข้าวนี้ใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวนมาก  แต่คำถามก็คือ หากงบประมาณจำนวนมากเพื่อคนจำนวนมาก รัฐควรกระทำหรือไม่ ?  หากงบประมาณจำนวนไม่น้อย เช่น งบกองทัพ  โครงการไม่จำเป็นต่างๆ  องค์กรไม่จำเป็นต่างๆ ที่คนจำนวนน้อยได้ประโยชน์  รัฐควรกระทำหรือไม่ ?  ในทางตรงกันข้าม สมัยวิกฤติฟองสบู่ ปี 40 รัฐบาลได้ช่วยเหลือสถาบันการเงินบางแห่ง  ด้วยงบประมาณจำนวนมหาศาล เป็นการล้มบนฟูก  “อุ้มคนรวย” ซึ่งมีไม่กี่ตระกูลด้วยงบประมาณแผ่นดิน มิใช่หรือ?

การออกมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายจำนวนข้าว ครั้งนี้ บางคนกระทำด้วยความตั้งใจ เพื่อนำสู่การปรับปรุงแก้ไข  บางคนหลงใหลกับกลไกตลาดเสรีผูกขาด

แต่บางคนกระทำการทำลายความชอบธรรมเป้าหมายขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อแช่แข็งประเทศไทยเท่านั้นเอง ?

5 . อย่างไรก็ตาม  การแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของชาวนาในระยะยาวและระดับรากเหง้าของปัญหาชาว นา  อย่างน้อยรัฐ ต้องมีการปฏิรูปที่ดิน กระจายการถือครองที่ดิน   มีการเก็บภาษีที่ก้าวหน้า  ปลดหนี้สินของเกษตรกร  มีมาตรการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมและเกษตรกรรายย่อย   ขจัดการผูกขาดปัจจัยการผลิต  ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มของชาวนา   สนับสนุนให้ประชาชนมีอำนาจควบคุมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เพราะ  “ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ” มิใช่หรือ ?


ที่มาภาพ : วิวาทะ

ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ต้องผ่านสภาตาม ม. 190 หรือไม่

ที่มา ประชาไท



ชื่อ บทความเดิม
การทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศตามข้อ 12(3) ต้องผ่านสภาตามมาตรา 190 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่


ข้อความเบื้องต้น
ประเด็นเรื่องการทำคำแถลงยอมรับ เขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไม่ใช่ประเด็นเรื่องการให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม) ตามข้อที่ 12 (3) นั้นกำลังเป็นประเด็นสำคัญขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่นางฟาทู เบนซูดา (Fatou Bensouda) อัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ มาเยือนประเทศไทยและเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น เชื่อแน่ว่าจะต้องเกิดคำถามตามมาว่า การทำคำแถลงหรือคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศดังกล่าวเป็น หนังสือสัญญาตามมาตรา 190 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 หรือไม่อันจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน  สำหรับประเด็นดังกล่าวผู้เขียนมีความเห็นทางกฎหมายดังต่อไปนี้
1. มาตรา 190 แห่งรัฐธรรมนูญนั้นเป็นมาตราที่เกี่ยวกับการทำหนังสือสัญญาหรือสนธิสัญญา ซึ่งตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ 1969 เป็น “ความตกลงระหว่างประเทศ” (international agreement) ส่วนการทำ “คำประกาศ” (Declaration) ยอมรับเขตอำนาจศาลของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ตามข้อที่ 12(3) นั้นเป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ (unilateral act) แม้ในข้อที่ 12 (3) จะมิได้ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการกระทำฝ่ายเดียวก็ตาม แต่โดยลักษณะของคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลนี้ย่อมเป็นการกระทำฝ่ายเดียวของ รัฐอยู่ในตัวแล้ว คำตอบยืนยันว่าคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเป็นการกระทำฝ่ายเดียวปรากฎอยู่ ในคดี Fisheries case ระหว่างประเทศ Spain กับประเทศ Canada ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกตามมาตรา 36 วรรค 2 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นการกระทำฝ่ายเดียว โดยศาลย้ำอย่างชัดเจนว่า “a declaration of acceptance of the compulsory jurisdiction of the Court, whether there are specified limits set to that acceptance or not, is a unilateral act of State sovereignty.” [1] และศาลโลกกล่าวอีกว่า “since a declaration under Article 36, paragraph 2, of the Statute, is a unilaterally drafted instrument, [2]
ฉะนั้น ถ้าหากการทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” (International Court of Justice: I.C.J) เป็นการกระทำฝ่ายเดียว การทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจ “ศาลอาญาระหว่างประเทศ” (International Criminal Court: I.C.C) ก็ต้องมีลักษณะเป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐเหมือนกันเพราะต่างก็เป็นศาล ระหว่างประเทศเหมือนกันและทั้งสองศาลก็ยอมรับการทำ “คำประกาศ” ว่าเป็นวิธีการยอมรับเขตอำนาจศาล เหมือนกันด้วย [3] ผู้ เขียนยังมองไม่เห็นเหตุผลทางกฎหมายที่จะมาอธิบายว่าคำประกาศยอมรับเขตอำนาจ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกเป็น “การกระทำฝ่ายเดียว” แต่พอคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศกลายเป็น “สนธิสัญญา”
นอกจากคำพิพากษาของศาลโลกที่ยืนยันว่าคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลเป็นการกระทำฝ่ายเดียวแล้ว ในรายงานของนาย Victor Rodríguez-Cedeño ซึ่งเป็น Special Rapporture ของคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ  (International Law Commission) เรื่อง Unilateral act ก็ได้ยกตัวอย่างเรื่องคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล (ระหว่างประเทศ)  ว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ [4] ซึ่งเรื่องนี้ใช่เรื่องใหม่ ทั้งศาลโลกเก่าและใหม่ต่างก็ยอมรับช่องทางในการเสนอให้ศาลโลกพิจารณาไว้ถึง 3 ทางและหนึ่งในนั้นก็คือ คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล [5]  ยิ่ง กว่านั้นในคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกมีเขตอำนาจศาลก็เป็นเพราะประเทศไทยทำ คำประกาศฝ่ายเดียวนั่นเอง  ยังไม่เคยมีหลักฐานว่าประเทศไทยทำสนธิสัญญายอมรับเขตอำนาจศาลโลกแต่อย่างใด
2.  การทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลอาญาระหว่าง ประเทศขาดคุณลักษณะหรือองค์ประกอบของหนังสือสัญญาหรือสนธิสัญญา เนื่องจากว่าสนธิสัญญาต้องเป็นความตกลงระหว่างรัฐกับรัฐหรือรัฐกับองค์การ ระหว่างประเทศ แต่การทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลนั้น ศาลมิได้แสดงเจตนาตอบรับหรือตอบสนองคำประกาศของรัฐแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวโดยลำพังของรัฐที่จะยอมรับเขตอำนาจศาล เท่านั้น ศาลมิได้มาร่วมเจรจาตกลงหรือลงนามในคำประกาศนั้นแต่อย่างใด คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลนั้นลงนามแต่เฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศหรือผู้ที่มีอำนาจเท่านั้น ศาลหาได้มาร่วมลงนามด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อขาดองค์ประกอบของคู่ภาคีเสียแล้ว คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลจึงมิใช่เป็น “ความตกลงระหว่างประเทศ” แต่อย่างใด
3. ส่วนข้ออ้างที่ว่า คำประกาศตามข้อ 12 (3) นั้นก่อให้เกิดพันธกรณีทางกฎหมายหรือความผูกพันฉะนั้นจึงเข้าข่ายเป็นสนธิ สัญญา ข้ออ้างนี้ปราศจากเหตุผลทางกฎหมายรองรับเนื่องจากพันธกรณีตามกฎหมายระหว่าง ประเทศไม่จำเป็นต้องมาจากสนธิสัญญาอย่างเดียว การกระทำฝ่ายเดียวของรัฐก็ก่อให้เกิดพันธกรณีตามกฎหมายได้ดังเช่น ที่ศาลโลกเคยตัดสินในคดี Ihren Declaration และคดี Nuclear Test case ซึ่งทั้งสองคดีต่างก็เป็นคำประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและ ศาลก็ตัดสินว่าคำประกาศดังกล่าวเป็นการกระทำฝ่ายเดียวที่ก่อให้เกิดพันธกรณี ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ในตราสารระหว่างประเทศที่เรียกว่า “Guiding Principles applicable to unilateral declarations of States capable of creating legal obligations” ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ก็ใช้คำว่า “capable of creating legal obligations” อย่าง ชัดเจนอยู่แล้ว อีกทั้งในในข้อแรกของ Guiding Principles ก็บัญญัติว่า “1. Declarations publicly made and manifesting the will to be bound may have the effect of creating legal obligations…..” นอกจากนี้นักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงอย่างศาสตราจารย์ Paul Reuter ก็ยังเห็นว่า กากระทำฝ่ายเดียวเป็นที่มาพันธกรณีสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศ[6]
สรุปก็คือ คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศตามข้อที่ 12 (3) เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ ไม่ใช่หนังสือสัญญาหรือสนธิสัญญาตามกรุงเวียนนา ค.ศ.1969 แต่ประการใด หากจะยกคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญมาหักล้างเหตุผลข้างต้น
4. การทำคำประกาศฝ่ายเดียวเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่แล้ว โดยข้อ 4 ของ Guiding Principles applicable to unilateral declarations of States capable of creating legal obligations” ระบุชัดเจนว่า “ 4. A unilateral declaration binds the State internationally only if it is made by an authority vested with the power to do so. By virtue of their functions, heads of State, heads of Government and ministers for foreign affairs are competent to formulate such declarations…..” การทำคำประกาศดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องได้รับการมอบหมายจากผู้ใดอีกหรือไม่ จำเป็นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะมอบหมายให้ผู้ใดกระทำแทนตน
5. ศาลรัฐธรรมนูญของไทยเคยมีคำวินิจฉัยในคดีหนังสือแสดงเจตจำนงขอรับความช่วย เหลือที่เรียกว่า Letter of Intent ที่รัฐบาลไทยมีไปยังกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) โดยศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าหนังสือแสดงเจตจำนงดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็น หนังสือสัญญาตามมาตรา 224 แห่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 เพราะว่า การทำหนังสือดังกล่าวมีลักษณะเป็นการแสดงเจตจำนงฝ่ายเดียวของประเทศไทยโดย ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศไม่ได้มีการเสดงเจตนาตอบรับอันจะเข้าข่ายเป็น ควาตกลงระหว่างประเทศ [7] กล่าวอีกนัยหนึ่ง การทำหนังสือ LOI เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐบาลไทย
บทสรุป
การทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่าง ประเทศตามข้อที่ 12 (3) เป็น “การกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ” ไม่ใช่เป็นการ “ทำหนังสือสัญญาหรือสนธิสัญญา” ตามมาตรา 190 แห่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 เพราะฉะนั้นจึงไม่ตกอยู่ภายใต้มาตรา 190 แต่อย่างใดย่อมหมายความว่า รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารสามารถทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลได้โดยไม่ต้องได้รับ ความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติตามมาตรา 190

เชิงอรรถ
[1] Fisheries Jurisdiction (Spain v. Canada), I.C.J. Reports 1998, para. 46
[2] Ibid., para. 48
[3] ในมาตรา 36 วรรค 2 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใช้คำว่า “declare.” และใช้คำว่า “The declarations” ถึง 3 ครั้ง ส่วนมาตรา 12 (3) แห่งธรรมนูญกรุงโรม ใช้คำว่า “acceptance” และ “ by declaration”
[4] Declarations made under Art. 36 (2) Statute of the International Court of Justice related to the acceptance of the jurisdiction of the court …. are unilateral acts…” โปรดดู Víctor Rodríguez Cedeño, Max Planck Encyclopedia of Public International Law, www.mpepill.com
[5] โปรดดูมาตรา 36 วรรค 2 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
[6] Reuter, “Principes de droit international public”, Collected Courses ..., vol. 103 (1961-II), p. 531 อ้างโดย Victor Rodríguez-Cedeño, First report on unilateral acts of States, A/CN.4/486,1998, หน้า 13
[7] คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 11/542 หน้า 10

บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้มันส์ ตอนที่ 4 (ตอนจบ)

ที่มา ประชาไท



ตอนสุดท้ายของซีรีย์ "ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้มันส์" พบกับการพูดคุย วิเคราะห์วิจารณ์การเมืองสหรัฐอเมริกาในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง ประธานาธิบดี ยังอยู่กับ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิจัยจากสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งมาวิเคราะห์ถึงผลการดีเบตรอบที่ 3 ซึ่งเป็นสุดท้ายของ 2 ผู้ท้าชิงตำแหน่งผู้นำสูงสุดอเมริกัน บารัค โอบามา และมิต รอมนีย์ และมาดูโพลล์ของสำนักต่างๆ ที่สำรวจคะแนนนิยมของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งแนะนำเว็บไซต์ของสองว่าที่ประธานาธิบดีใหม่ ของสหรัฐอเมริกาว่ามีอะไรเด็ดๆ กันบ้าง





"เอแบคโพลล์" ครม.ใหม่ 6.67 เต็ม10 - 87.4% จี้ "ปู" แจงศึกซักฟอกด้วยตัวเอง/สวนดุสิตโพล ชี้ ปชช.ชื่นชม "ปู"ตั้งใจทำงาน

ที่มา ประชาไท



"สวนดุสิตโพล" ชี้ ปชช.ชื่นชอบ "ปู"ตั้งใจทำงาน ยี้ ฝ่ายค้าน ค้านทุกเรื่อง
4 พ.ย.2555 สวนดุสิตโพล  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้เปิดเผยผลสำรวจ “จุดแข็งและจุดอ่อนของ รัฐบาล และ ฝ่ายค้าน ในสายตาประชาชน” เพื่อสะท้อนความสอดคล้องของการปฏิบัติงานในความคิดเห็นของประชาชน โดยได้สารวจความคิดเห็นของประชาชนทั่ว ประเทศ จานวน 2,209 คน ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม –3 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งสรุปผลดังนี้

ในหัวข้อประชาชน คิดว่า “รัฐบาล” ที่นำโดยนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ณ วันนี้ เป็นอย่างไร  พบว่าจุดแข็งของรัฐบาลคือ  อันดับ 1 การเข้าถึงประชาชน มีนโยบายประชานิยมที่เป็นรูปธรรม 41.00% อันดับ 2 การทำงานรวดเร็ว /บุคลากรเก่ง มีความรู้ โดยเฉพาะนายกฯที่ประชาชนชื่นชอบ 33.18% และ อันดับ 3 ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนระดับรากหญ้าและกลุ่มเสื้อแดง 25.82% ขณะที่จุดอ่อนของรัฐบาลคือ อันดับ 1 ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเร่งด่วนหรือทาตามสัญญาที่ให้ไว้ได้อย่างครบถ้วน 49.90% อันดับ 2 การทุจริต คอรัปชั่น ต่างๆโดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว 31.34% และอันดับ 3 ไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองได้ 18.76%

ส่วน หัวข้อ เรื่องใดที่ประชาชนชื่นชอบรัฐบาลมากที่สุดพบว่า  อันดับ 1 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการทำงาน  48.73% อันดับ 2 การปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล 32.99% อันดับ 3 การขึ้นเงินเดือน ขึ้นค่าแรง 18.28% ส่วนเรื่องที่ประชาชนเบื่อรัฐบาลคือ อันดับ 1 การเล่นพรรคเล่นพวก โดยเฉพาะการแต่งตั้ง เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง 37.82% อันดับ 2 ยังไม่สามารถทำตามสัญญาที่ให้ไว้ได้อย่างครบถ้วน /โครงการประชานิยมยังไม่สาเร็จเป็นรูปธรรม 32.18% และอันดับ 3 การแก้ปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใส การทุจริตของนักการเมืองยังไม่เด็ดขาด 30.00%

ขณะที่หัวข้อเรื่องใดที่ทำให้ประชาชน “ชื่นชอบฝ่ายค้าน” มากที่สุด ผลปรากฎว่า อันดับ 1 ผู้นำฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 44.53% อันดับ 2 ความพยายามในการติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 41.70% และอันดับ 3 มีหลักการ จุดยืน แนวคิดและการทำงานที่ชัดเจน 13.77% ส่วนหัวข้อเรื่องใดที่ทำให้ประชาชน “เบื่อฝ่ายค้าน” มากที่สุด พบว่าอันดับ 1 ค้านทุกเรื่อง /การกล่าวหารัฐบาลย่างเลื่อนลอย ไม่มีข้อมูลหลักฐาน 46.87% อันดับ 2 เล่นเกมการเมืองมากไป คอยจุดกระแส สร้างประเด็นทางการเมือง 28.12% อันดับ 3 ไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ปัญหาของประเทศ 25.01%


"เอแบคโพลล์" เผย ปชช. ให้คะแนน ครม.ใหม่ 6.67 เต็ม 10 - ร้อยละ 87.4 จี้ "ปู" แจงศึกซักฟอกด้วยตัวเอง

สำนัก วิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ผลของการปรับคณะรัฐมนตรี การชุมนุมทางการเมือง และการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสายตาของสาธารณชน จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ลพบุรี ปทุมธานี ชลบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ มุกดาหาร หนองคาย ชัยภูมิ สุรินทร์ อุดรธานี ขอนแก่น พัทลุง สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,189 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน  2555 ที่ผ่านมา พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 85.2 ทราบข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยระดับการยอมรับคณะรัฐมนตรีหลังปรับคณะรัฐมนตรีอยู่ที่ 6.67 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.3 ระบุความเป็นผู้นำของ นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 43.7 ระบุว่า ลดลง อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการปรับตัวของคนไทยหลังการปรับคณะรัฐมนตรี พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.9 ระบุควรทำใจปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ลดอคติ อย่าคิดล่วงหน้าไปเอง ให้โอกาสคน ใช้กฎหมายตัดสินถูกผิด

นอกจากนี้ ในหัวข้อการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้านพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.9 ทราบข่าว และเกินครึ่งหรือร้อยละ 55.2 คิดว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในครั้งนี้ของฝ่ายค้านจะมีข้อมูลที่น่า สนใจ ในขณะที่ร้อยละ 44.8 ไม่คิดว่ามี อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.6 ไม่คิดว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลครั้งนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาย ในรัฐบาล แต่ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.4 ระบุนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร ควรออกมาชี้แจงตอบคำถามในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลครั้งนี้ด้วยตนเอง และร้อยละ 87.1 ระบุนายกรัฐมนตรีควรให้ความสำคัญต่อการใช้ระบบรัฐสภาในการแก้ปัญหาบ้านเมือง ในเวลานี้


ที่มา:,มติชนออนไลน์

สงครามล้างเผ่าพันธ์ในราวันดา ..ขออย่าให้เกิดในเมืองไทยเลย

ที่มา thaifreenews



การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา 
โศกนาถกรรมที่ไม่ควรเกิดขึ้นในเมืองไทย
เมื่อหลายสิบปีก่อน มีข่าวใหญ่สะท้านโลกข่าวหนึ่งคือ 
ข่าวเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศรวันดา 
ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ ในแอฟริกา 
ข่าวการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ค่อนข้างสะเทือนขวัญชาวโลก 
ที่แม้แต่เพื่อนบ้านกันเองที่มีความคุ้นเคยสนิทสนมกันมานาน  
ก็ยังจับอาวุธขึ้นมาฆ่ากันเองกระจายไปทั่วประเทศ 
แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นคนไทยส่วนใหญ่อาจลืมเลือนไป 
เพราะหลังจากนั้นไม่นาน 
ประเทศไทยก็เจอกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ
เล่นงานเสียงอมแหงม แล้วเรื่องรวันดาก็จางหายไป


เรื่องรวันดามาสะกิดใจชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง 
เมื่อมีภาพยนต์ดังเรื่อง Hotel Rwanda ออกฉาย 
ซึ่งภาพยนต์เรื่องนี้ได้สร้างจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประเทศรวันดา 
ที่ผู้จัดการโรงแรมชาวฮูตูได้ช่วยชีวิตชาวตุ๊ดชี่ไว้หลายพันคน 
จากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนชาติเดียวกันเอง 

Rwanda คือชื่อของประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา
ล้อมรอบไปด้วยประเทศ ยูกันดา บุรุนดี คองโก และแทนซาเนีย ปัจจุบันประเทศ Rwanda มีเมืองหลวงชื่อว่า กรุง Kigali
เดิมทีดินแดนนี้เคยเรียกว่า Ruada-Urundi 
เคยรวมอยู่กับ Burundi 
แล้วตกเป็นอาณานิคมของเยอรมัน พศ. 2433  
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเยอรมันแพ้สงคราม 
ทำให้รวันดา ตกอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การสหประชาชาติ 
โดยมีเบลเยี่ยมเป็นผู้ดูแลแทนองค์การสหประชาชาติ 
โดยในขณะนั้นรวันดามีการปกครองแบบมบูรณาญาสิทธิราชย์ 
ประชาชนของรวันดา ประกอบด้วยคนสองเผ่าคือ 

เผ่าตุ๊ดชี่ (Tutsi) ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ 
มีประมาณร้อยละ 15 แต่เป็นกลุ่มที่
มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี 
มีการศึกษาดีและส่วนใหญ่เป็นพวกนักรบ 

อีกเผ่าหนึ่งซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศคือ 
เผ่าฮูตู (Hutu) ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน 
มีอาชีพทางด้านกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่




เมื่อปี พศ.2502 ได้เกิดสงครามระหว่างประชากรทั้งสองเผ่าขึ้น 
ซึ่งผลของสงครามทำให้ชนเผ่าตุ๊ดชี่ หมดอำนาจลง 
และ 2 ปีต่อมา เบลเยี่ยมได้จัดให้มีการลงประชามติ 
เกี่ยวกับเอกราชของรวันดา 
และผลของประชามติ คือ ชาวรวันดา
ต้องการที่จะปกครองตนเอง 
เบลเยี่ยมจึงให้เอกราชแก่รวันดา 
ในวันที่ 1กรกฎาคม 2505 (1962) 
รวันดาจึงได้กลายเป็นสาธารณรัฐ 
มีการร่างรัฐธรรมนูญและจัดให้มีการเลือกตั้ง


ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคของชาวเผ่า ฮูตู (Hutu) 
ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล 
มีนาย Gregoire Kayibanda 
เป็นประธานาธิบดีคนแรกของรวันดา 

แต่อย่างไรก็ตาม ในปี พศ.2506 – 2507 
ก็ได้เกิดสงครามระหว่างชนทั้งสองเผ่าอีกครั้งหนึ่ง 
ซึ่งผลของสงครามทำให้เผ่าตุ๊ดชี่ถูกฆ่าตายไปหลายพันคน 
และอีกหลายหมื่นคนต้องหนีไปอยู่ยูกันดาและบุรุนดี




ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2516  
พลเอกJuvenal Habyarimana 
ทำรัฐประหาร ขับไล่ประธานาธิบดี Kayibanda 
ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรก
ออกจากตำแหน่ง 

ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนั้นทำ
ให้พรรคของชนเผ่าฮูตูหมดอำนาจลง 
โดยพรรคของเผ่าตุ๊ดชี่ ซึ่งควบคุมโดยกองทัพ 
เข้ามามีอำนาจแทนประธานาธิบดี 
พลเอก Juvenal Habyarimana 
มีนโยบายขจัดลัทธิเผ่านิยม 
เพื่อสร้างความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศ 
ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2521 
ทำให้พรรค MRND ซึ่งควบคุมโดยกองทัพ 
เป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฎหมายเพียงพรรคเดียว 
นโยบายสำคัญของพรรค MRND คือ 
ขจัดความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์ 
และสร้างเอกภาพให้แก่ชาติ 
โดยอำนาจตุลาการใช้ผ่านทางศาลและ 
คณะรัฐมนตรี (Council of State)
       
2 เดือนของการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ

ภายหลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดี 
พลเอก Juvenal Habyarimana 
ซึ่งเป็นชนเผ่าฮูตู โดยมี่สาเหตุมาจากเครื่องบินตก 
ในวันที่ 6 เมษายน 2537 ซึ่งได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญ 
และการเริ่มต้นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 
โดยพวกฮูตูได้โฆษณาชวนเชื่อว่า 
ประธานาธิบดีของชนเผ่าฮูตูตายนั้น
เกิดจากฝีมือของชนเผ่าตุ๊ดชี่ 

และในวันที่ 8 เมษายน 2537  
Dr.Theodore Sindikubwabo ชนเผ่าฮูตู 
ก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทน


การปลุกระดมและการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ 
เพื่อยุยงให้มีการฆ่าชนเผ่าตุ๊ดซี่
ก็เริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นตนมา 

ซึ่งพวกอาสาสมัครที่ ของเผ่าฮูตู
ที่มีการจัดตั้งขึ้นมาอย่างลับๆ ทั่วประเทศ 
มีมีดขนาดใหญ่เป็นอาวุธ 
ก็ได้รวมกลุ่มกันสังหารหมู่ชาวตุ๊ดชี่ 
เป็นจำนวนมาก แม้ในขณะนั้น 
จะมีทหารขององค์การสหประชาชาติ 
ประจำอยู่ในประเทศรวันดาก็ตาม 
แต่ทหารเหล่านั้นก็ไม่สามารถป้องกัน
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขนานใหญ่นี้ได้เลย 
ผลของการฆ่าที่ดำเนินไปเป็นเวลากว่า 2 เดือน 
ทำให้ชาวตุ๊ดชี่สังเวยชีวิตถึง 800,000 คน 
รวมทั้งชาวฮูตู มากกว่า50,000 คน



เรื่องเล่าที่เป็นโศกนาฎกรรมคือ 
บางครอบครัวหัวหน้าครอบครัวต้องลงมือสังหารบุตร 
และภรรยาของตนเอง เพียงเพื่อให้ลูกๆ 
และภรรยาไม่ต้องตายอย่างทรมาณ 
เพราะหากปล่อยให้พวกอาสาสมัครฮูตูฆ่าเอง 
พวกนั้นจะตัดมือตัดแขน และปล่อยให้ตายเองอย่างทรมาน 
หลายครอบครัวจึงขอลงมือสังหารเอง เนื่องจากไม่มีทางรอดแล้ว
   
 เมื่อเราเทียบเหตุการณ์ในครั้งนั้น
กับเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว 
โดยฮิตเลอร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว 
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใน รวันดา 
กลับมีจำนวนคนตายมากกว่าถึง 3 เท่า
ภายในระยะเวลาอันรวดเร็วเพียงสองเดือนเท่านั้น...!!

และเหตุใดทำไม ชนเผ่าฮูตู ถึงได้ ฆ่าชนเผ่าตุ๊ดชี่ 
ได้อย่างรวดเร็วและมากมายได้ขนาดนั้น 
ทั้งที่ช่วงนั้นประเทศ รวันดา 
ก็อยู่ภายใต้การดูแลการเลือกตั้งของทหารสหประชาชาติ 
(ฝรั่งเศส เป็นผู้นำในการดูแลประเทศรวันดาในขณะนั้น) 
ในขณะที่โลกเราขณะนั้นก็มีการสื่อสารที่ไร้พรมแดน...
ในขณะที่อเมริกา มีประธานาธิบดีที่ชื่อ Bill Clinton ......?.....


เสียงเรียกร้องแห่งประวัติศาสตร์

ที่มา thaifreenews



รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
มีแนวโน้มที่จะลงนามในเอกสาร
ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ไทย

หลังจากที่เจ้าหน้าที่จากศาลอาญาระหว่างประเทศ 
(ไอซีซี) มาเยือนกรุงเทพมหานคร 
ในขณะนี้ รัฐบาลกำลังพิจารณาว่าจะประกาศ
ยอมรับอำนาจพิจารณาคดีไอซีซี
ในกรณีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
ก่อขึ้นในประเทศไทยเดือน
เมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 หรือไม่ 
                                 



ยุติวงจรอุบาทว์ทำผิดแล้วลอยนวลเสวยสุข 
นี่อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
ที่มีมากกว่า 80 ปี ศ.ธงชัย วินิจจกุล#ICC




แช่แข็งประเทศ ต้องเป็นแบบนี้รับกันได้ไหม ?

ที่มา thaifreenews

 หมุนสมองคนไทยกลับไปเป็นทาส
ม๊อบแช่แข็งประเทศ ต้องเป็นแบบนี้รับกันได้ไหม



   ตัวอย่างเบาะๆ รับกันได้ไหม

1. ยัดข้อหาและจับกุมคุมขังแกนนำเสื้อแดงทุกรูปแบบ 
    เพื่อกวาดจับประชาชนที่ออกมาชุมนุมต่อต้านพวกมัน
2. สั่งปิดสื่อเสื้อแดงทั้งหมดด้วยกฎหมายข้างต้น 
    เล่นงานทุกสื่อที่สนับสนุนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ทั้งตัวบุคคลและองค์กร
3. ยกเลิกทุกโึครงการที่จะทำให้ประชาชนคนชั้นกลางลงมามีความสุข
4. เปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของไทยให้กลับไป

     สู่การเผชิญหน้ากับเพื่อนบ้าน 
    พื่อให้ประเทศวุ่นวายด้วยเรื่องชาตินิยมแบบบ้าคลั่ง
5. พวกนี้ะพยายามทำให้การเปลี่ยนผ่านของผู้ครองแผ่นดิน 

    ให้เป็นไปในแนวทางที่หัวเรือใหญ่ของมันคือไอ้กระเทยสี่เสา 
    และสมุนอย่างพวกมันไม่เจ็บตัว
6. พวกนี้จะเข้ามาสร้างระบบรัฐเผด็จการสมบูรณ์แบบ อย่างที่ 

    เยอรมัน อิตาลี จีน พม่าสหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันออก อาหรับ 
    และโดยเฉพาะแบบที่ประเทศไทยเคยเป็น 
    ในยุคสฤษดิ์ ถนอมประภาส ธานินทร์ กรัยวิเชียร มาก่อน 
    และถ้าสำเร็จ มันจะไม่ใช่แค่แช่แข็ง 5 ปีแบบที่พวกมันบอกหรอก
    แต่จะยาวนานไปชั่วกัลปาวสาน ฯลฯ

ขอประเมินแค่นี้ทั้งที่ยังน่าจะมีอีกมาก 

และถามว่าพวกเราคนไทยผู้รักประชาธิปไตย
และคนเสื้อแดงรับกันได้ไหม ?

http://www.tfn5.info/board/index.php?topic=42786.0

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker