บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ประชาชนตื่นแล้ว ต่อให้ใช้ตุลาการวิวัฒน์ ก็ไปไม่รอด


บทความ โดย ลูกชาวนาไทย

ช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้ รู้สึกว่าคนไทยจะเจ็บปวดกับคำว่า ตุลาการวิวัฒน์ไม่น้อย หลักของตุลาการวิวัฒน์ คือ การตัดสินคดีความต่างๆ ไม่ได้ยืนอยู่บนหลักของนิติธรรม แต่ตัดสินต่างๆ ตามธงที่ได้ตั้งไว้แล้ว ดังนั้นมันจึงขึ้นอยู่กับว่าธงที่ตั้งไว้นั้น เป็นอย่างไร

มีตัวอย่างที่คนสงสัยการตัดสินของตุลาการหลายคดี เช่น การจำคุก กกต. การยุบพรรคพลังประชาชน และคดีความที่เกี่ยวของกับ อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตรทั้งหลาย ซึ่งสองสามวันมานี้มีคดีดังคดีหนึ่งคือ กรณีสินบน 2 ล้านบาท ที่ตัดสินออกมาแล้วทำให้คนเคลือบแคลงและเกิดคำถามค่อนข้างมาก แม้โดยกฎหมาย ประชาชนจะยอมรับการตัดสินของศาลก็ตาม แต่การยอมรับไม่ได้หมายถึงว่า ประชาชนจะวิพาร์กวิจารณ์หรือเคลือบแคลงสงสัยไม่ได้ เพราะมันมีข้อสงสัยหลายประการเช่น มีคนสงสัยที่ผมยกเอามาจากเว็บบอร์ดเช่น

----------

- เงินของกลาง ที่สามารถตรวจสอบลายนิ้วได้ กลับไม่มี
- ทีวีวงจรปิด ที่หน่วยงานทั่วไป ถ้ามีเขาก็เปิดไว้ 24 ชม. แต่ที่นี้ดันไม่ได้เปิดในวันเกิดเหตุ

- คนระดับเป็นทนาย จะไม่รู้เหรอว่า ทำแบบนี้ จะไม่โดน
- อาจรู้กันกับ อีกฝ่าย ก็ได้

- อาจเพราะรู้แล้วว่า ไม่ได้ สาหัส อะไร 6 เดือน แลกกับเงิน หาที่ไหนก็ได้ 2 ล้าน
- การตัดสิน เร็วยังว่าสายฟ้าฟาด
- อาจมีเกม อะไร ถูกวางไว้
- อาจถูกกล่าวหาว่าถูกใส่ร้าย ทักษิณ ในภายหลังก็ได้
- สาเหตุ แลผลที่ปรากฏ คนระดับพวกนี้ ถ้าโง่ ในเรื่องเด็กๆแบบนี้ หาไม่ได้
- ลักษณะแบบนี้ พยามให้เห็นว่า ทักษิณ ใช้อำนาจเงินฟาด อะไรก็ได้ ในนี้
- จะบอกว่า ทักษิณ คิดและทำเลว แบบนี้ได้ ทุกเรื่อง ให้ภาพการยุบพรรคไทยรักไทยให้เป็นแบ็กกราว ว่าผิดอย่างไร ก็ยอมผิดแบบนั้น

----------


คือ คนยุคนี้ไม่ไว้ใจกระบวนการตุลาการวิวัฒน์ทั้งหลาย เพราะการกระทำต่างๆ มันมีพิรุธให้คนคิดได้มากมาย แม้จะปิดปากประชาชนอย่างไร แต่ไม่สามารถปิดใจคนไม่ให้คิดและมองอย่างเคลือบแคลงได้

และการที่ศาลรีบรับนาย สุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนพิเศษกลับ กรณีมีเรื่องหมายจับ ทั้งๆ ที่นายสุนัย ได้เข้ามาอยู่ฝ่ายบริหารแล้ว และมีความขัดแย้งกับฝ่ายการเมือง เมื่อกลับเข้าไปเป็นผู้พิพากษา และต้องตัดสินคดีทางการเมืองเหล่านี้ จะเชื่อได้อย่างไรว่าดำรงตนเป็นกลาง และรักษาความยุติธรรมได้

ผมคิดว่าขณะนี้ ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้วจะรั้งกลับมันก็ไม่มีทางเหมือนเดิม ประชาชนเขาตื่นแล้ว จะทำให้หลับใหล โดยการโฆษณาชวนเชื่อนั้นอย่าหวังเลยครับ

ดังนั้น การที่จะใช้ตุลาการวิวัฒน์ ต่อต้านอำนาจประชาชน สุดท้ายก็เสื่อมทั้งคนสั่ง และตุลาการทั้งหลาย

ผมไม่ได้กังวลเลยว่า พวกอำมาตย์จะใช้กลยุทธ์อะไรอีก เพราะหากมีเลือกตั้งใหม่ ผมก็เลือกพรรคที่อยู่ตรงข้ามกับพวกอำมาตย์ และพวกพอเพียงทั้งหลาย ยิ่งดิ้นมันก็ยิ่งพันตัวมากขึ้นไปเรื่อย ๆ

ผมอยากรู้นักว่า จะดิ้นไปได้อีกนานสักเท่าใด

เมื่อศรัทธามันหายไป ต่อให้มีเลห์เพทุบายอย่างไร ก็ยิ่งนำไปสู่ความเสื่อมมากยิ่งขึ้น

แต่หากทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ความศรัทธาก็จะกลับมาอีก แต่การจะให้ประชาชนอยู่ดีกินดี เศรษฐกิจต้องเติบโต ต้องเปิดประเทศ ต้องพัฒนาอุตสาหกรรม ค้าขายกับทั่วโลก ต้องใช้ "ระบอบทักษิโณมิกส์เท่านั้น จึงจะทำอย่างนี้ได้ เพราะระบอบทักษิณมันคือ ระบอบทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ ที่เป็นกระแสหลักของสังคมโลกในศตวรรษที่ 21

จะมาโฆษณาให้ประชาชนทำไร่นาสวนผสมอยู่ คงเหลือคนเชื่อน้อยเต็มที

ดังนั้น ระบอบทุนนิยมโลกาภิวัฒน์มีแต่คนอย่างทักษิณ เท่านั้นที่ทำได้ดี พวกอำมาตย์นั้นไม่สามารถทำอย่างที่ทักษิณเคยทำให้กับประชาชนแน่นอน

แรงบีบจากคนชั้นล่างหรือคนชั้นรากหญ้านั้น เขาก็จะเลือกพรรคที่ทำให้เขากินดีอยู่ดี เท่านั้น ไม่เลือกพรรคที่ให้เขาจนอย่างไรก็จนอยู่อย่างนั้นอย่างแน่นอน

จะใช้ตุลาการวิวัฒน์ ต่อสู้กับกระแสการเปลี่ยนแปลง สวนกระแสโลกไปได้นานสักเท่าใด ถึงอย่างมันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางใดทางหนึ่งอย่างแน่นอน และสุดท้ายมันก็เลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับกระแสโลก ดังนั้นผมจึงไม่ได้ใจร้อน หรือทุรนทุรายแต่อย่างใด ผมทนรอดูได้อย่างใจเย็นได้ ทนดูลิเกโรงนี้ว่าจะไปได้นานสักเท่าใด

ชีวิตย่อมมีหนทางของมัน

Life has its way.

ผมไม่ได้มองการเมืองว่าเป็นเรื่องของ "อุดมการณ์" แต่เพียงอย่างเดียว แต่การเมือง เป็นเรื่องของ ผลประโยชน์ของผู้เลือกตั้ง"

ดังนั้น คำกล่าวของผมที่ว่า ประชาชนตื่นแล้ว ผมหมายถึงเขาตื่นขึ้นเพราะรับรู้อำนาจของพวกเขา ว่ามีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเขา ดังนั้น พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน จึงเปลี่ยนแปลงไป คือ ประชาชนจะเลือกแบบเหมารวมเป็นพรรค และเลือกพรรคที่ "เสนอนโยบายเป็นประโยชน์แก่พวกเขา" สุดท้าย พรรคที่จะชนะเลือกตั้งคือ พรรคที่เสนอนโยบาย "เศรษฐกิจนิยม เศรษฐกิจก้าวหน้า รายได้ประชาชาติโตขึ้น รายได้คนดีขึ้น

พรรคที่มีนโยบายแบบนี้คือ พรรคทุนนิยมโลกาภิวัฒน์คือ พรรคระบอบทักษิณครับ

สำหรับพรรคที่เสนอแต่นามธรรม ปฏิบัติไม่ได้ ไม่ทำให้ชีวิตประชาชนดีขึ้น ประชาชนก็จะไม่เลือก

เมื่อแนวโน้มเป็นอย่างนี้ ต่อให้พวกนิยมประชาธิปไตยแตกกัน มันก็ไม่มีความหมายแต่อย่างใด เพราะคนรากหญ้า 70% มีพฤติกรรมการเลือกตั้งแบบนี้ คนรากหญ้าตลาดการเมืองขนาดใหญ่ เป็นตลาดที่ซื้อแบบ "เหมาโหล" พรรคที่มีนโยบายถูกใจ ปฏิบัติได้ จะได้คะแนนเสียงประชาชน 70% นี้ ทั้งหมด

หาก ปชป. ปรับนโยบายมาแบบนี้ และมีคนมีฝีมือเท่าทักษิณ ปชป. ก็จะชนะเลือกตั้ง แต่นั้นมันก็คือ "วิญญาณพรรคไทยรักไทย" เข้าสิงนั่นเอง หากเป็นแบบนั้นผมก็ไม่ว่าอะไร แต่หมายถึง ปชป. ต้อง Reengineering พรรคแบบถอนรากถอนโคนทีเดียว

ผมจึงไม่กลัวฝ่ายประชาธิปไตยเสียงแตก เพราะมันคือ Mega trend หรือแนวโน้มใหญ่ครับ ถึงอย่างไรทิศทางและกระแสของผู้เลือกตั้งก็จะไปในทิศทาง

ต่อให้ "ผู้มีบารมี มีบารมีมากเท่าใด ก็ทานกระแสไม่ไหว ยิ่งทานกระแสก็จะยิ่งแตกหักมากยิ่งขึ้น และประชาชนจะไม่มีทางแพ้แน่นอน เพราะประชาชนคือเจ้าของประเทศตัวจริง ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประเทศ

การเปลี่ยนแปลงของประชาชนในระดับรากหญ้า มันเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ Paradigm Shift คือ โลกทรรศ์ของประชาชนเปลี่ยนไป เมื่อโลกทรรศ์ เปลี่ยนพฤติกรรมคนก็เปลี่ยนตามโลกทรรศ์แบบใหม่ ตามทฤษฎีของ Paradigm Shift ของ Thomas Kuhn นั้น เมื่อ Paradigm ใหม่มาแทนที่ Paradigm เก่า มันจะแทนที่อย่างช้าๆ คนรุ่นเก่าจะรับไม่ได้ แต่คนรุ่นใหม่จะเปลี่ยนไปรับแนวคิดใหม่ โลกทรรศ์ใหม่

คนบางคนอยู่นานเกินไป อุปมาอุปไมยเหมือน เขาเกิดในยุคที่คนเชื่อว่า "โลกแบน" แต่ในบั้นปลายชีวิต ดันมีคนเสนอว่าโลกกลม พวกเขาย่อมรับไม่ได้ การต่อสู้ดิ้นรนย่อมมี แต่สุดท้าย Paradigm เก่า ความเชื่อเก่า ๆ ก็จะตายไปพร้อมกับพวกเขา

------------

มีคนกล่าวว่า

ทำอย่างไรเราจะได้พบความชั่ว ร้ายกาจ กับไอ้ที่ร้ายยิ่งขึ้นไปกว่า เพื่อจะได้กล่าวว่า นี่คือกฎหมาย องสู้ความขี้ฉ้อด้วยความคดโกงที่เหนือกว่า แล้วประกาศออกมาว่า นี่ละคือศีลธรรม ทำไฉนเราจะได้ผ่านพบอาชญากรรม ด้วยอาชญากรที่ร้ายกาจกว่า แล้วเรียกมันว่า นี่สิคือ ความยุติธรรม

(บางส่วนจากความยุติธรรมอยู่ที่ไหน)
...................................................
คำเตือน ความยุติธรรมข้างต้น คือคำประกาศสงครามกลางเมือง

จาก thaifreenews

บทนี้ได้ใจลูกน้องเต็มๆ

ให้รู้กันไปเลยว่า เซียนตัวจริง

กับลีลาของ “ลุงหมัก” นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้จังหวะจัดรายการ “ชิมไปบ่นไป” แนะสูตรผสมข้าวเก่ากับข้าวใหม่หุงให้นุ่มอร่อยขึ้นหม้อ

โชว์ความเป็นเจ้าตำรับข้าวถุงยี่ห้อประชากรไทย

ลงลึกถึงแก่นว่าด้วยปัญหาราคาข้าวที่ฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ เปิดฉากถล่มนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกฯและ รมว.พาณิชย์ ในคิวอภิปรายไม่ไว้วางใจวันสุดท้าย

พูดกันแบบเปิดอก เอาข้อมูลลึกออกมาแฉ

ประเภทไปตกลงกับผู้นำอาเซียน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จะขายข้าวให้ในฐานะเพื่อนบ้าน แต่ถึงเวลาจริงโดนเล่ห์เหลี่ยมพ่อค้าหักหน้า โก่งราคาทำกำไร ไม่รักษาเครดิตผู้นำประเทศ หรือกับคิวข้าวถุงธงฟ้าที่ต้องสั่งยกเลิกเพราะฟังข้อมูลจากข้าราชการประจำมากเกินไป

บ่นไป ก็ตำหนิพวกเดียวกันเองไป

“ลุงหมัก” พูดตรงๆ รมว.พาณิชย์ ดำเนินการผิดอยู่บ้าง เพราะฟังข้าราชการประจำมากเกินไป รวมทั้งยอมรับว่า การดำเนินการขายข้าวถุงธงฟ้า ทำให้ราคาข้าวตกจริง จึงได้สั่งหยุดขายข้าวถุงธงฟ้าที่ 300,000 ถุง

เจอมุกนี้เข้าไป ประชาธิปัตย์ได้แต่พยักหน้าหงึกๆ

ไม่ใช่แค่ชกฉาบฉวย “ลุงหมัก” พูดแบบคนทำการบ้านมาดี

เอาเป็นว่า เรื่องข้าวเป็นประเด็นที่ชาวไร่ชาวนา ชาวบ้านร้านตลาดสนใจมากกว่าเรื่องไหน ในคิวอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะเป็นอะไรที่ใกล้ตัวที่สุด

ฟังแล้วเข้าใจได้ง่ายๆเลย

“ลุงหมัก” ออกหมัดได้แต้มก็แล้วกัน

และยังได้ใจกันไปเต็มๆ โดยเฉพาะคิวนายมิ่งขวัญ คนที่ถูกจับตากันว่าจะได้คะแนนโหวตไว้วางใจน้อยที่สุด เพราะไม่มี ส.ส.หางเครื่องอยู่ในสังกัด แถมยังมีเรื่องหักดิบกับนายกฯสมัครหลุดเป็นข่าวออกมา

ห่วงว่า “มือใหม่” จะคว่ำกลางสภา

ปรากฏถึงเวลา “ลุงหมัก” เล่นบทลูกพี่ใหญ่ลุกขึ้นกางปีกป้อง รมว.พาณิชย์ ย้ำแล้วย้ำอีก 3-4 รอบ “รัฐมนตรีมิ่งขวัญเป็นพวกผม”

แต่ไปหลงเชื่อข้าราชการประจำมากไป

ไม่ใช่แค่นายมิ่งขวัญ “ลุงหมัก” ยังถือโอกาสประกาศเลยว่า รัฐมนตรีทั้ง 35 คน เป็นพวกเดียวกัน ถึงจะขัดขากันบ้าง แต่สุดท้ายก็คุยกันรู้เรื่อง

โชว์ความเป็นปึกแผ่นใน ครม.

แต่คนที่ตัวลอยก็คือ “เสี่ยตือ” นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรและสหกรณ์ ลูกน้องสายตรงของ “บิ๊กเติ้ง” นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่ “ลุงหมัก” เอ่ยปากชมดังๆกลางสภา ยอให้เป็นกุนซือเรื่องข้าวประจำรัฐบาล

ทำผลงานได้เข้าตานายกฯ

“ลุงหมัก” ยังยกให้ฝั˜งตรงข้ามอย่าง “สามสี ภูเขาทอง” นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี อภิปรายได้โดนใจที่สุด และมีแนวทางตรงกับรัฐบาลในการรับไปดำเนินการ

ปกป้องลูกน้องในสังกัด ยกก้นคนของพรรคร่วมรัฐบาล ยอวาทีฝ่ายตรงข้าม

สรุปคิวนี้ “ลุงหมัก” ได้ไปทั้งแต้ม ได้ทั้งใจ

แต่ที่รู้ว่าคงไม่ได้ดั่งหวัง “เทพเทือก” นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ยอมรับว่า เป็นเรื่องยากที่รัฐบาลจะมีการปรับเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี รวมถึงรัฐมนตรีที่ถูกฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ เพราะรัฐมนตรีทั้ง 7 คน ถือเป็นสายตรงของนายใหญ่

อย่างไรก็ตาม ถ้านายกฯตัดสินใจปรับเปลี่ยน ก็เชื่อว่าจะช่วยยืดอายุการทำงานของรัฐบาลออกไปได้อีกระยะหนึ่ง

แต่ก็เหมือนจะรับมุกกันทันควัน

ล่าสุด “บิ๊กเติ้ง” นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย สั่งเรียกประชุมลูกพรรคในเวลา 08.00 น. วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน ก่อนลงมติที่รัฐสภา โดยพูดเป็นนัยๆ

“คิดว่ามีความจำเป็นต้องปรับ ครม. เพราะมีหลายอย่างที่ควรปรับปรุงแก้ไข ส่วนจะปรับกี่ตำแหน่งนั้นคงบอกไม่ได้ แต่ต้องดูว่าการอภิปรายครั้งนี้มีผลกระทบอะไรบ้าง อีกทั้งขณะนี้ก็มีตำแหน่งรัฐมนตรีว่างอยู่ 1 ตำแหน่ง คือ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี”

ส่งซิกบี้เกลี่ยโควตากันใหม่แล้ว.

ทีมข่าวการเมือง รายงาน




ลงมติไว้วางใจนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วย 7 รัฐมนตรี

รัฐสภา 27 มิ.ย.- ในที่สุดเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติไว้วางใจนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วย 7 รัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้คะแนนน้อยที่สุด

ติดตามรายงานจากรัฐสภา. สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-06-27 11:21:36







ประชาธิปัตย์คือใคร?

แต่สิ่งที่ไม่ตลกคือความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านถูกกระทบอย่างแรงไปแล้วจากปากของคนประชาธิปัตย์ ซึ่งถ่ายน้ำลายมาจากเวทีพันธมิตรฯอีกต่อหนึ่ง ยังไม่รู้จะทำอย่างไรกันต่อไป

ใครจะว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลรอบนี้จืดชืดหรือขาดความเร้าใจอย่างไรก็ตาม ผมกลับเห็นว่ามีประโยชน์ยิ่งต่อการปฏิรูปการเมืองในระยะยาว เพราะทำให้คนทั่วไปตาสว่างและได้รู้กันทั่วสักทีว่าพรรคประชาธิปัตย์คือใคร

ก็เนื้อหาและประเด็นที่หยิบมาอภิปรายนั่นล่ะครับเป็นตัวบอก

บอกว่าเป็นฝ่ายค้านของรัฐบาลที่นำโดยพรรคพลังประชาชน หรือเป็นฝ่ายที่คอยคัดค้านระบอบประชาธิปไตยของบ้านเมืองกันแน่

ตรายี่ห้อเก่าๆว่าเป็นพรรคที่ต่อสู้กับเผด็จการเพื่อประชาธิปไตยนั้น อย่ายกขึ้นมาอีกเลยครับ จะอายเขาเสียเปล่าๆ

เพราะมันจบสนิทไปตั้งแต่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพวกตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ และประกาศต่อสาธารณชนว่าพรรคประชาธิปัตย์จะกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๗ ของรัฐธรรมนูญของประชาชน พ.ศ. ๒๕๔๐ นั่นแล้วล่ะครับ

จำได้ไหมว่าเรื่องหลังนี้จบอย่างไร

รบกวนเบื้องพระยุคลบาทถึงขนาดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงมีพระราชดำรัสว่าอย่าขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๗ ขึ้นมา เพราะจะทำให้คนเขาค่อนได้ว่าพระเจ้าอยู่หัว "ไม่เป็นประชาธิปไตย"

ครับ แนวคิดของคุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์มันถึงขนาดนั้นทีเดียว

คนที่มียางอายแม้แต่เพียงบางๆ เขาคงจะกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและผู้นำฝ่ายค้านฯ และคงหลบหน้าผู้คนไปเสียนานแล้ว

แต่อย่างที่เขาว่าล่ะครับ...สมัยนี้เก่งไม่กลัว กลัวหน้าด้าน

การอภิปรายของฝ่ายค้านที่ผ่านมา คงจะอ้างได้ยากว่าเป็นการทำงานเพื่อระบอบประชาธิปไตยเพราะเหตุที่เตือนความจำมานี้ แถมยังต้องไม่ลืมว่าระหว่างที่บ้านเมืองยังอยู่ใต้ท็อปบู๊ตทหารหลัง ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ นั้น พรรคการเมืองที่ได้รับโอกาสให้ขึ้นป้ายหาเสียงและออกสื่อของรัฐอย่างเอิกเกริกเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย คือพรรคประชาธิปัตย์

มิหนำซ้ำเมื่อทุกอย่างซาลง คนอย่างคุณสกลธี ลูกชายของพลเอกวินัย ภัททิยกุล เลขาธิการคณะรัฐประหาร ยังลงสมัครรับเลือกตั้งและได้เป็น ส.ส.ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์มาจนวันนี้

คนอย่างคุณสมเกียรติ พงศ์ไพบูลย์ ซึ่งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ ก็ออกไปเป็นแกนนำและขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ของสนธิลิ้มและพลตรีจำลอง ซึ่งเป็นขบวนการการเมืองนอกสภาอย่างโจ่งแจ้ง แถมยังผิดกฎหมายอีกหลายข้อ สร้างความเดือดร้อนกับผู้คนในแถบนั้นโดยไม่สนใจเขาเลย แล้วยังกลับเข้ามาลอยหน้าลอยตาใช้ระบบรัฐสภาเป็นเครื่องมือ จนถูกคนที่หมั่นไส้เขากระโดดถีบกลางสภามาแล้ว

ประวัติส่วนตัวของพรรคประชาธิปัตย์แบบนี้ ไปขอต่อแถวประชาธิปไตยกับใครเขาในโลกก็คงจะถูกถ่มถุยออกมา

เมื่ออภิปรายเรื่องเขาพระวิหาร ซึ่งเป็นเรื่องเก่าสมัยที่อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คือคุณเสนีย์เป็นทนายไปว่าความแพ้เขาในศาลโลก โดยวกมาบอกว่าเห็นไหมว่ารัฐบาลนี้ไม่รักชาติรักแผ่นดิน โดยขาดข้อเท็จจริงที่จะบอกได้ว่าเป็นความผิดหรือแม้แต่ความไม่สมควร พรรคประชาธิปัตย์ก็กลายเป็นตัวตลกทางการเมืองไป

แต่สิ่งที่ไม่ตลกคือ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านถูกกระทบอย่างแรงไปแล้วจากปากของคนประชาธิปัตย์ ซึ่งถ่ายน้ำลายมาจากเวทีพันธมิตรฯอีกต่อหนึ่ง ยังไม่รู้จะทำอย่างไรกันต่อไป นี่ยังไม่ได้พูดถึงประเทศที่สามอีกหลายร้อยประเทศที่เขามองไทยอย่างสังเวชใจว่าก่อเรื่องแบบนี้ขึ้นมาได้อย่างไรกัน

และเมื่ออภิปรายเรื่องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ขนาดอดีตรัฐมนตรีที่เขาลาออกไปแล้วและไม่ได้นั่งอยู่ในสภาด้วย ยังไปงัดมาพูดจนนายกรัฐมนตรีต้องลุกขึ้นตอบแทน ก็ยิ่งเกิดคำถามขึ้นในใจว่าเรื่องเบื้องสูงขนาดนี้กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองของบางพรรคไปแล้วหรืออย่างไร เพราะเจ้าตัวต้องรู้ดีว่าเรื่องแบบนี้ยิ่งพูดยิ่งเสีย ไม่เป็นประเด็นได้ถือว่าดีที่สุด

พรรคการเมืองในยุคนี้ไม่ควรเป็นเพียงตัวแทนของใบไม้เก่าๆที่จะปลิดร่วงไปตามกาลเวลา แต่ควรเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างเก่ากับใหม่เพื่อให้ต้นไม้นั้นยืนต้นงอกงามต่อไป

แต่พรรคการเมืองที่ว่ามานี้คงจะสายเกินแก้แล้ว


กาหลิบ


////////////////////////////

คอลัมน์: เลือกคบ ไม่เลือกข้าง:...จากหนังสือพิมพ์โลกวันนี้ 27/06/2551


กาหลิบ

จาก thai-grassroots

‘ทักษิณ'เตรียมชี้แจงทนายความถูกศาลลงโทษ

อดีตนายกฯทักษิณเตรียมชี้แจงกรณีทีมทนายความผู้ดูแลคดีซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก ต้องคำพิพากษาฐานละเมิดอำนาจศาล

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา โฆษกประจำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เตรียมออกแถลงการณ์ในวันนี้ กรณีทีมทนายความผู้ดูแลคดีซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก ต้องคำพิพากษาฐานละเมิดอำนาจศาล เนื่องจาก บุคคลที่เข้าไปเกี่ยวข้องเป็นทนายความทำคดีของอดีตนายกรัฐมนตรีอยู่ จึงต้องมีการชี้แจงในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ กำลังรอสำเนาคำสั่งศาล ถ้าได้มาแล้ว พ.ต.ท. ทักษิณจะออกแถลงการณ์ในเรื่องนี้ได้ หลังจากที่ เมื่อวานนี้ องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา แผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาให้จำคุกทีมทนายความ รวม 3 คน คนละ 6 เดือน กรณีมีการนำถุงกระดาษบรรจุเงิน 2 ล้านบาทไปมอบให้เจ้าหน้าที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ซึ่งถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาล โดยหนึ่งในทีมทนายดังกล่าว มี นายพิชิฏ ชื่นบาน ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมทนายความของพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ซึ่งถูกกล่าวหาในคดีซื้อที่ดินรัชดาฯ รวมอยู่ด้วย


thailand

จาก thai-grassroots

สื่อเทศจวกยับ‘สนธิ'ทำลายไทย

วอลล์ สตรีทเจอร์นัล พาดหัวหน้า1 ความอาฆาตของอดีตพันธมิตรสร้างความเสียหายต่อประเทศไทย ในขณะที่มีการต่อสู้ระหว่างสนธิและทักษิณ นักลงทุนมองประเทศอื่น

การประท้วงที่ทำให้เกิดความวุ่นวายในประเทศไทย และก่อให้เกิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาเป็นตัวแทนของการต่อสู้ระหว่างพวกหัวเก่าที่ชอบการเมืองแบบดั้งเดิมกับกลุ่มที่สนับสนุนเศรษฐียอดนิยม และยังอาจจะเรียกได้ว่าเป็นการต่อสู้รอบสองในการแข่งขันรุ่นเฮวี่เวตระหว่างสนธิ ลิ้มทองกุล กับทักษิณ ชินวัตร

ความบาดหมางระหว่างชายสองคนนี้ได้ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทยเป็นเวลานานเกือบ 2 ปี และความไม่แน่นอนก็ได้สร้างความเสียหายหลายอย่าง ผู้ผลิตซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติกำลังมองหาที่อื่นเพื่อสร้างโรงงานเมื่อแรงกดดันเงินเฟ้อก่อตัวขึ้นในประเทศจีน และบางบริษัทกำลังเลือกประเทศที่มีเสถียรภาพมากกว่าอย่างเช่นเวียดนาม และแม้แต่ฟิลิปปินส์

นักลงทุนที่มีความวิตกกังวลเทขายหุ้นไทยโดยส่วนหนึ่งเกิดมาจากมีความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่กำลังก่อตัวมากขึ้น

เบื้องหลังการต่อต้านทุกอย่างที่เกี่ยวกับทักษิณของสนธิคือประวัติของการทะเลาะส่วนตัวของพันธมิตรที่เปลี่ยนไปเป็นศัตรู

เมื่อทั้งสองคนเป็นนักธุรกิจในช่วงปีพ.ศ. 2533 สนธิและทักษิณถือหุ้น 17% ในบริษัทอินเตอร์เนชันแนล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) ซึ่งในขณะนั้นเป็นซัพพลายเออร์โทรศัพท์มือถือของโนเกียให้กับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของทักษิณ

ทักษิณเทขายหุ้นทันทีเพื่อทำกำไรเป็นจำนวนมากทันทีที่บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น และทั้งสองคนก็เริ่มแข่งกันสร้างอิทธิพล เมื่อทักษิณตั้งบริษัทดาวเทียมโทรคมนาคมสนธิทำตามทันทีและพยายามที่จะสร้างอาณาจักรสื่อระดับโลก และเริ่มเผยแพร่ไปทั่วเอเชีย

จากนั้นในปี 2540 วิกฤติการเงินเกิดขึ้นในประเทศไทย ทักษิณอยู่รอด โดยสามารถบริหารความเสี่ยงจากการล่มสลายของเงินบาทได้สำเร็จ แต่สนธิสูญเสียเกือบทุกอย่าง ศาลสั่งให้เขาล้มละลายหลังจากที่เจ้าหนี้ยื่นฟ้องจนสนธิใช้เวลาช่วงหนึ่งในวัดแห่งหนึ่ง

ในปี 2543 สนธิเริ่มสร้างอาณาจักรของเขาอีกครั้ง โดยใช้ธุรกิจสื่อที่ยังเหลืออยู่เพื่อสนับสนุนทักษิณอย่างออกนอกหน้า ในขณะนั้นทักษิณกำลังลงสมัครเลือกตั้งเพื่อเป็นนายกฯ

หลังจากพรรคของเขาชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย และได้ครองอำนาจ รัฐบาลของเขาได้มอบหมายให้บริษัทของสนธิจัดรายการทางสถานีของรัฐ แต่เมื่อสนธิเริ่มวิจารณ์นโยบายของทักษิณ สถานีโทรทัศน์ก็สั่งให้ปลดสนธิออก ในขณะเดียวกันทักษิณอนุญาตให้ธนาคารกลางปลดที่ปรึกษาทางการเงินที่ใกล้ชิดกับสนธิมากที่สุดออกจากธนาคารของรัฐแห่งหนึ่งเพราะอนุญาตให้ธนาคารดังกล่าวขยายเงินกู้ต้นทุนต่ำให้ สนธิกล่าวว่า เขารู้สึกโกรธที่เพื่อนทำเช่นนั้น

สนธิเริ่มทำรายการทีวีใหม่ตามสวนสาธารณะในใจกลางกรุงเทพฯเพื่อวิจารณ์ทักษิณอย่างรุนแรง เขาได้ถ่ายทอดรายการผ่านเครือข่ายทีวีดาวเทียมและเว็บเพจของหนังสือพิมพ์ของเขา ผู้ฟังได้ค่อยๆเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นฝูงชนมากว่า 100,000 คน ในขณะเดียวกันสนธิได้ขายเสื้อยืดและดีวีดีการปราศัยของเขา ในตอนนั้นเขาให้สัมภาษณ์ว่า ทักษิณโกรธมากต่อกิจกรรมประท้วงต่างๆ

หลังจากที่ทักษิณถูกขับพ้นจากอำนาจ ผู้นำทหารได้เชิญสนธิมาเป็นพิธีกรรายการทีวีเพื่ออธิบายว่าทำไมจึงปลดผู้นำ ในปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ผู้สนับสนุนทักษิณชนะเลือกตั้ง 15 เดือนหลังจากที่ปฏิวัติ ศาลอาญาตัดสินจำคุกสนธิ 3 ปี ฐานหมิ่นประมาทหลังจากที่ได้กล่าวหาทักษิณว่าไม่จงรักภักดีต่อราชวงค์

ขณะนี้ทักษิณเป็นนายกสมาคมกอล์ฟ และเป็นเจ้าของสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ในอังกฤษ เขาต้องเจอข้อหาคอรัปชั่นหลายคดีในขณะที่รัฐบาลของทหารปกครองประเทศ

สนธิและคนอื่นๆกล่าวว่า พวกเขาเห็นมือทักษิณอยู่เบื้องหลังรัฐบาลใหม่ โดยที่เห็นได้ชัดที่สุดคือในการหาเสียงของนายสมัครที่ได้กล่าวว่าเขาเป็นตัวแทนของทักษิณ

กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนธิตั้งขึ้นร่วมกับฝ่ายตรงข้ามทักษิณคนอื่นๆ อีก 4 คน ได้ชุมนุมบนถนนในเดือนที่ผ่านมา และโทรทัศน์ดาวเทียมของสนธิก็ถ่ายทอดสดในขณะที่เขาขึ้นเวที รัฐบาลขู่ว่าจะระงับผู้ประกอบการเคเบิ้ลที่ถ่ายทอดสัญญาณต่อ

นักวิเคราะห์การเมืองกล่าวว่า เป้าหมายที่แท้จริงของสนธิคือเพื่อถอนรากถอนโคนในสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นอิทธิพลของทักษิณที่มีต่อรัฐบาลอย่างต่อเนื่องแม้ว่าผู้ลงคะแนนจำนวนมากยังคงชอบทักษิณและนโยบายของเขา นั่นทำให้แนวโน้มที่จะเกิดความสมานฉันท์ริบหรี่ระหว่างพวกหัวเก่า กับ พวกที่คิดว่าประเทศชาติต้องมีการกำหนดนโยบายสไตล์ทักษิณเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ


จาก thai-grassroots

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551

กู้ชาติหรือแยกชาติ

บ่อยครั้งที่นักคิดนักเขียนต้องใช้จินตนาการให้เป็นประโยชน์ แม้ หลายคนจะบอกว่า นักคิดนักเขียนเป็นพวกชอบเพ้อฝัน แต่ความจริง นักคิดนักเขียนมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ นั่นก็คือ การใช้จินตนาการเพื่อพัฒนาสังคมมนุษย์

ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัว หากไม่มีนักคิดนักเขียนคอยใช้จินตนาการวาดภาพเตือนสังคมไทยให้รู้ตัวล่วงหน้าว่า การใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย จะทำให้บ้านเมืองถึงกลียุค ดีไม่ดีอาจถึงขั้นนองเลือด เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดชุมนุมตั้งเวทีปราศรัยกลางถนนด่ากราดหมิ่นประมาทคนไปทั่วได้ อีกฝ่ายก็ทำได้เช่นกัน

โดยเฉพาะการปลุกระดมคนมาล้อมทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของบ้านเมือง และเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการใช้อำนาจปกครองประเทศของประชาชนเสียงข้างมาก

หากไม่แสดงความเห็นคัดค้านเอาไว้ ก็จะทำให้ทุกคนเข้าใจว่า การปลุกระดมประชาชนด้วยการด่ากราดหมิ่นประมาทบุคคลไปทั่วบ้านเมือง เพื่อให้มาล้อมสถานที่ราชการ กีดขวางการจราจร ละเมิดสิทธิของประชาชนส่วนใหญ่ เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย และเป็นแบบอย่างที่ดีของประชาชนทุกคน

เพราะถ้าใครทำเช่นนั้น จะถือว่า เป็นการใช้หนี้แผ่นดิน และเป็นการกู้ชาติ

แต่ความจริงแล้ว ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ เป็นกลวิธีในการสร้างม็อบของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการบริหารประเทศของรัฐบาลสมัคร ซึ่งจะทำให้แผ่นดินไทยลุกเป็นไฟเผาผลาญทุกคนในบ้านเมือง ให้พินาศวอดวายภายในพริบตาเดียว

ผมอยากให้ทุกคนลองจินตนาการกันดู เพราะไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงๆ ก็เลยต้องขอให้ใช้จินตนาการให้เป็นประโยชน์

หากประชาชนเสียงส่วนใหญ่ที่เลือกรัฐบาลชุดนี้ เกิดพฤติกรรมเลียนแบบอยากเอาอย่างบ้าง พวกเขาก็สามารถตั้งแกนนำม็อบกู้แผ่นดิน จัดชุมนุมกลางถนนทั่วประเทศ ปลุกระดมกันเต็มที่ โจมตีหมิ่นประมาทแกนนำม็อบอีกฝ่ายอย่างรุนแรง หาว่าเป็นฝ่ายทำลายชาติ ต้องการล้มล้างมติเสียงข้างมาก

รวมทั้งตั้งข้อกล่าวหาว่า จงใจทำตัวเป็นชนวนล่อให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร

จากนั้น พอปลุกระดมกันได้ที่ ก็ประกาศเดินทางมุ่งหน้ามาล้อมกลุ่มคน ที่ปักหลักล้อมทำเนียบอยู่ด้วยจำนวนคนที่มากกว่าหลายเท่าตัว

ถามว่า หากเป็นเช่นนั้นอะไรจะเกิดขึ้นกับแผ่นดินไทย

ผมถึงอยากให้คนไทยทุกคนคิดให้รอบคอบ ลองทบทวนกันให้ดี หากเราไม่ยึดกฎหมายเป็นที่ตั้ง กลับไปยึดถือกฎหมู่บ้าบอคอแตกอะไรก็ไม่รู้นำมาเป็นหลักการสำคัญของการดำเนินชีวิต

บ้านเมืองก็จะเละ แผ่นดินก็จะถึงคราวกลียุค

และขอให้จำไว้ว่า ถ้าพูดถึงการกู้ชาติ จะต้องเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญของคำว่า “ชาติ” เสียก่อน นั่นก็คือ คน กับ แผ่นดิน

ถามว่า ถ้าไม่มีแผ่นดิน จะยังเป็นชาติอยู่ได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ได้ เพราะคนยังสามารถไปหาแผ่นดินมาเป็นชาติได้ แต่หากไม่มีคนแล้วไซร้ ความเป็นชาติก็จะสิ้นสุดลงทันที

ดังนั้น หากต้องการกู้ชาติจริงๆ ก็ต้องปลุกระดมให้ทุกคนผนึกใจเป็นหนึ่งเดียวกัน

แต่เมื่อใดก็ตามที่มีการปลุกระดมให้เกิดความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เข่นฆ่ากันเอง จะไม่เรียกว่า กู้ชาติ แต่จะเรียกว่า แยกชาติ เพราะเป็นการแยกคนออกจากแผ่นดินเดียวกัน

ฉะนั้น ก่อนออกจากบ้านไปร่วมกับฝ่ายใดก็ตาม ขอให้ ถามตัวเองให้แน่ใจเสียก่อนว่า จะไป กู้ชาติ หรือ แยกชาติ กันแน่.

“สายล่อฟ้า”



นายกรัฐมนตรีชี้แจงในประเด็นเอกสารที่นำมาอภิปรายฯ


รัฐสภา 25 มิ.ย. - การอภิปรายไม่ไว้วางใจวันที่ 2 ที่ทำท่าว่าจะเริ่มขึ้นสุดท้ายก็ยังไม่ได้เริ่ม เพราะว่ามีการถกเถียงกันว่าเอกสารที่นำมาชี้แจงนั้นเป็นเอกสารจริงหรือเอกสารเท็จ ล่าสุดนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ลุกขึ้นชี้แจงในประเด็นนี้.

ชมรายละเอียด สำนักข่าวไทย

อัพเดตเมื่อ 2008-06-25 11:18:04




นิ่งมานาน

คอลัมน์ : รายงานพิเศษ

ในที่สุดก็ถึงคิวของ “เสธ.หนั่น” พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทย ออกมาแสดงความคิดเห็น

เป็นความคิดเห็นท่ามกลางรายชื่อ ‘รัฐมนตรีของพรรคพลังประชาชน’ ที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจทีเดียวรวด 7 คน

ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลอีก 5 พรรค ไม่โดนแตะต้องสักปลายเล็บข่วน

ฝ่ายค้าน “เป้าชัด” ขนาดนี้ เป็นใครก็ต้องอยากรู้ว่า เป็นการ “เผื่อทางลง” ให้พรรคร่วมใช่หรือไม่ อย่างไร

ที่สำคัญ แล้วบรรดาพรรคร่วมจะยังเหนียวแน่นแค่ไหน กับพรรคพลังประชาชนที่เป็นแกนนำ

แต่ถ้าเอาไมค์ไปจ่อถาม ก็ได้คำตอบงามๆ ว่า “ไม่ทิ้งเพื่อน” กันทุกคน

ล่าสุด เป็นทีของเซียนการเมืองอย่าง “เสธ.หนั่น” ที่ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ข่าวคราวก็นิ่งสนิท ไร้แรงกระเพื่อม

จนหลายคนที่อ่านข่าวแบบผ่านๆ ก็ยังงงว่า “เสธ.” หายไปไหน

ออกมาให้สัมภาษณ์คราวนี้ ตอบตรงมาตรงไปถึงเกมอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ฝ่ายค้านดูเหมือนจะคัดปลาแยกน้ำ กันพรรคร่วมออกมา

ระดับเซียนจึงตอบแบบไม่มีอะไรให้ตื่นเต้นว่า “เรื่องปกติ เป็นแท็กติกของเขา”

ส่วนที่ว่า แล้วจะยกมือ “ผ่าน” ให้ “นายกฯ กับรัฐมนตรีทั้ง 7 คน” ด้วยหรือเปล่า...

“มันก็ต้องรอดูข้อมูลฝ่ายค้านก่อน (สิวะ)” สุ่มสี่สุ่มห้าการันตีไปตอนนี้ เกิดฝ่ายค้านมีข้อมูลอภิปรายออกมาจนรัฐมนตรียับเยินดูไม่จืด พรรคร่วมก็มีหวังหน้าแหก

อีกข้อที่บรรดากระจอกข่าวอยากรู้จาก เสธ. ที่สุด ก็คือ ระดับ เสธ.หนั่น ประเมินว่าการเมืองถึงทางตันหรือยัง

แบบนี้ไม่ต้องถามถึง เสธ. หรอก เพราะต่อให้มองว่า “ตัน” แล้วใครจะไปตอบว่า “ตัน”

งานนี้ พล.ต.สนั่น จึงไม่มีคำว่า “ทางตัน” โดยเฉพาะเมื่อยังร่วมรัฐนาวาลำเดียวกันอยู่ ทั้งในทางปฏิบัติ และในทางสัจจะ

ใครหวังเขย่าลำเรือให้คนบนเรือหวาดเสียว ต้องกระโดดชิ่งออกมาก่อน เห็นทีจะยังไม่ได้ผล

กับ “ลมฝน” ทางการเมือง ที่ไม่เข้าข่าย “มรสุม” ด้วยซ้ำ ถ้าแค่นี้ทำให้ใครไหวหวั่น ถอดใจ ถึงขั้นเห็นว่าไม่มีทางออกแล้ว

ก็แสดงว่าคงอ่อนหัดเต็มที

เพียงแต่งานนี้ ไม่มีเมฆฝน มีแต่ “แมลงหวี่”

ตอมจนได้ดี ขยันได้โล่ ลุกมาปิดทำเนียบ

ล่าสุดแว่วมาอีกว่ายัง “ก่อเรื่อง” ไม่เลิก เตรียมขนคนไปชนกับเพื่อนบ้านแถวชายแดนเขมร

ใครได้ยินเป็นต้องส่ายหน้า แค่ “บ้า” ไม่พอ ต้อง “หอ สระ เอี้ย” ด้วยจึงจะคิดทำแบบนี้ได้

ตำรวจไทยก็แสนดี นอกจากคอยเฝ้าดูแลม็อบเช้าเย็นจนไม่เป็นอันกินอันนอนแล้ว ก็ยัง “เตือน” แนวร่วมป่วนคลั่งชาติกลุ่มนี้ด้วยว่า ทหารเพื่อนบ้านอาจไม่มีน้ำอดน้ำทนได้เท่าตำรวจไทยนะเออ

เพราะใครที่คิดเล่นเรื่อง “ชาติ” เรื่อง “ความมั่นคง” เป็นฝั่งเราก็ไม่เห็นความจำเป็นต้องเก็บไว้เหมือนกัน

จึงเตือนด้วยความห่วงใย อยากจะกวนจะอะไร ก็มาทำต่อได้ที่ทำเนียบก็แล้วกัน

คนถ่อยก็ใช้วิธีเถื่อน

ผู้ดีเขาก็กำลังใช้วิถีทางในสภา

เพียงแต่ว่าผลลัพธ์ที่ทั้ง “ถ่อย” และ “ผู้ดี” ต้องการ มันมา “ป๊ะ” กันพอดีก็เท่านั้นเอง


การสร้างประชาธิปไตยในทรรศนะ “คุณปลื้ม”

คอลัมน์ : รายงานพิเศษ

ในงานเปิดตัวมูลนิธิสภาบันประชาธิปไตย ซึ่งมีหลักการและเหตุผลสอดคล้องหลังจากการทำรับประหาร 19 กันยายน 2549 โดยมูลนิธิดังกล่าวมี นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ดำรงตำแหน่งเป้นประธาน ซึ่งในวันนั้นมีการเชิญ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือ “คุณปลื้ม” สื่อรุ่นใหม่ไฟแรง ที่กำลังลงสนามการเมืองโดยการลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครในสมัยที่กำลังจะถึงนี้ ร่วมบรรยายพิเศษมนหัวข้อ “การสร้างประชาธิปไตย ในทรรศนะคนรุ่นใหม่” โดยมีสาระสำคัญในแง่มุมมองทางการเมืองดังนี้

....ผมมาวันนี้ อยากเรียนให้ทุกท่านเข้าใจความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองในบ้านเรา มันเป็นเรื่องที่สามารถจะทำกันได้ คือไม่จำเป็นที่จะต้องแบ่งเป็นกลุ่มเฉพาะว่าเห็นด้วยกับผู้พูด น่าที่จะสามารถทำได้โดยที่ไม่จัดเป็นจะต้องเชิญคนที่เป็นตัวแทนของคนกลุ่มนั้นขึ้นพูด สิ่งที่ผมได้ค่อยๆ เห็นใน 3-4 ปีที่ผ่านมาก็คือ คนไทยที่ไม่เห็นด้วนกับการเมือง ไม่สามารถนั่งอยู่ในโต๊ะเดียวกันได้หรือนั่งอยู่ในที่ประชุมเดียวกันได้ หรือนั่งอยู่ในที่เสวนาเดียวกันได้ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่แย่มาก

มันเริ่มมาตั้งแต่ปี 2547 ตอนนั้นทางคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เชิญไปพูดเกี่ยวกับเศรษฐกิจในปี 2547 ที่หอประชุมเล็กมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากผมก็ยังมี คุณสุกัญญา กรานณรงค์ ที่เป็นผู้ฟ้องคดีหุ้นชินคอร์ป มี สุริยะใส กตะศิลา ซึ่งตอนนั้นเป็นครั้งแรกที่ได้เจอ และ พิภพ ธงไชย และก็มี ส.ส. จากพรรการเมืองจำนวนหนึ่งที่เข้ามานั่งฟัง คนกลุ่มนี้ก็วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวนโยบายเศรษฐกิจทำงานของรัฐบาลในสมัยคุณทักษิณ ก็มี ส.ส. ท่านหนึ่งถามผมว่า “คุณมานั่งตรงนี้ทำไม...ไม่รู้ว่าคนกลุ่มนี้จ้องเล่นงานคุณทักษิณ” ผมก็ตอบว่าเวทีนี้มันเป็นเวทีเสวนานี่ เป็นที่ที่เราจะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันไม่ใช่หรือ??

เรื่องนี้คือสิ่งที่น่าเสียดายที่สุดในไทยคือว่า เมื่อคุณมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมือง คุณไปนั่งอยู่ที่เดียวกันไม่ได้ มาถึงในปัจจุบันคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.จรัส สุวรรณมาลา ไปขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ก็เจอรองคณบดีมาวิพากษ์วิจารณ์ ว่าคุณไปขึ้นเวทีได้อย่างไร มันมาจุดหนึ่งที่ชัดเจน ว่าเราแบ่งสังคมออกเป็นซีกๆ เพราะจริงๆ เราก็ไม่ใช่จุดยืนทางการเมืองที่มีความแตกต่างกัน แต่มันเป็น ลักษณะนิสัยของคนไทยกันเองที่รู้สึกว่าถ้าคุณคิดอย่างนั้น คุณก็ไม่ต้องมานั่งกับเรา

ที่ผมมาวันนี้อยากสร้างความเข้าใจให้กับทุกๆ คนที่นั่งอยู่ที่นี้และสื่อมวลชนได้ทราบว่า ลักษณะของการที่เคลื่อนไหวหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่ไม่ได้ไปเกี่ยวกับการที่จะหาเสียงเลือกลงสมัครเป็น ส.ส. จะตั้งพรรคการเมืองหรือการแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง ถ้าทำอะไรที่เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมันไม่มีอะไรที่เสียหายเลย ตราบใดที่ไม่มีการละเมิดสิทธิผู้อื่น

เรื่องพันธมิตรฯ มันมีผลกระทบตรงที่การเคลื่อนไหวส่งผลกระทบต่อคนอื่น นักเรียนมาเรียนหนังสือโรงเรียนก็ต้องมาปิด วิธีการเคลื่อนไหวแบบดาวกระจาย ที่มันส่งผลกระทบต่อการจราจร หรือความปลอดภัยของข้าราชการ การเคลื่อนไหวที่ไม่หยุดไม่ยั่ง แล้วก็สร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้น กับการทำงานของตำรวจหรือการรักษาความสงบ สิ่งนี้ในที่สุดก็เป็นปัญหา

ที่ผ่านเขาก็ได้ไปตั้งเวทีที่สวนลุมฯ สนามหลวง มีการเสวนาทางวิชาการ มีการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน อันนั้นผมสนับสนุนเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นมันอยู่กรอบในสิ่งที่จะทำ การแลกเปลี่ยนความคิดทางการเมืองไม่ใช่สิ่งที่เสียหายไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นสิ่งที่คุณเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย การที่จะแสดงความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของความสงบ และไม่ใช่ไปเพ่งเล็งที่จะมาโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือแม้แต่จะมาถอดถอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง

ที่ผ่านมาไม่มีใครรู้มากนักว่าผมเคยทำงานที่ ASTV ในช่วงตอนต้นปี 2548 ตอนนั้นผมทำงานอยู่ที่ช่อง 11 เฉยๆ และก็ทำรายการภาษาอังกฤษตอนกลางคืน ส่วนทาง ASTV นั้นทางคุณสโรชาดูแลทางช่องข่าวภาษาอังกฤษ ผมไม่ได้คิดอะไรที่ทำ ซึ่งตอนนั้นผมประเมินว่าเป็นเพียงช่องโทรทัศน์ที่วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมือง พอได้ทำงานก็เริ่มชัดเจนขึ้นว่าจะเป็นการขับเคลื่อนเพื่อโค้นล้มรัฐบาล จากรายของคุณสนธิ มีเพื่อนร่วมงานจากช่อง 11 เตือนผมว่าผู้ใหญ่ไม่แฮปปี้กับการที่ผมทำงานที่นั่น แต่ผมคิดว่า บทบาทสื่อก็คือบทบาทสื่อ ผมจึงทำงานไปสักระยะและออกตอนหลังปฏิวัติ เพราะบทบาทมันเปลี่ยนไป เนื่องจากไม่ได้เป็นสื่อมวลชนแบบเพียวๆ สื่อยุ่งกับการเมือง การเมืองยุ่งกับสื่อจนแยกกันไม่ออก

ผมคิดว่าเราเข้าใจผิดในบทบาทการเคลื่อนไหวของประชาชน การเคลื่อนไหวเพื่อโค้นล้มรัฐบาล โดยการใช้สื่อปลุกระดมคนออกมาแล้วขับไล่รับบาล นี่คืออารมณ์ค้างจากอดีตในสมัยที่ไทยมีรัฐบาลแบบเผด็จการจริงๆ แบบยุคของจอมพลสฤษดิ์ ในไทยเราผ่านช่วงนั้นมาแล้ว แต่ความรู้สึกของคนไทย และสื่อมวลชน เรายังเจอกับรับบาลที่ไม่ได้ให้สิทธิและเสรีภาพเท่าที่ควร เราจะอยู่ในบรืบทว่าพอมีรับบาลไหน แสดงท่าทีว่ามีอำนาจการบริหารอย่างเต็มที่ ทุกคนที่ต่อต้านรับบาลที่มาจากการรับประหาร ก็คิดว่าพวกนี้ทำตัวเหมือนเผดก็จการ เป็นอารมณ์ค้างที่ปลุกขึ้นมาได้ เป็นการจุดความรู้สึกในอดีต และคิดว่านักการเมืองนายทุน หรือนัการเมืองที่โกงกิน ในที่สุดก็จะบริหารแบบทหาร ฉะนั้นหากอารมณ์ค้างนี้ยังเหลืออยู่ โดยเชื่อว่านักการเมืองที่ได้มาโดยการซื้อเสียงก็มไม่ต่างจากทหารที่บริหารประเทศแบบเผด็จการ

ดังนั้นกลุ่มมวลชนที่ชุมนุมพันธมิตรฯ มีการปลุกความรู้สึกของตนเองว่า รัฐบาลมีการยึดอำนาจโดยการซื้อเสียง และอยู่ในอำนาจรวมทั้งบริหารราชการแผ่นดินโดยที่ไม่ให้ความยุติธรรมของประชาชน จึงต้องใช้วิธีโค่นแบบเดียวกับอดีต ซึ่งมันเป็นบริบทเดิมจนคุณลืมนึกไปว่า เราอยู่ในยุคสมัยที่หากต้องการให้ใครออกจากตำแหน่ง มันต้องทำในระบบ ในเกมรัฐธรรมนูญ เพราะนายกสมัยนี้มาจากการเลือกตั้ง อย่างน้อยต้องใช้วิธีระบบตุลาการ ระบบรัฐสภา และระบบบริหาร แต่ผมเชื่อว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองหลายคนที่เคยหนุนให้เกิดการรัฐประหาร 2549 ก็เริ่มจะเข้าใจแล้วว่าต้องทำในกรอบระบบ เพราะคนที่เป็นนายกมาจากกระบวนการความเป็นประชาธิปไตยจริงๆ

อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเชื่อว่าในตอนนี้เราอยู่ในช่วงที่ทิ้งอารมณ์ค้างในอดีต และกำลังกลับเข้าสู่จุดยืนที่เข้าใจแล้วว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แม้จะซื้อเสียงก็ต้องทำการโค้นล้มตามกระบวนการ กกต. ต้องพิจารณา สภาอภิปรายไม่ไว้วางใจเอาจนลงให้ได้ แต่ ณ ตอนนี้ผมได้มีการพูดคุยกับนายทหารหลายคนแล้ว ต่างก็คิดว่าต้องมีการทำตามระบบ นี่คือความเชื่อของผมที่ว่าจะไม่มีการปฏิวัติอีกแแล้ว ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่ว่าใครอยู่ในตำแหน่ง ผบ.ทบ แต่ผมก็มั่นใจใน ผบ.ทบ. คนปัจจุบัน ซึ่งหามีการปฏิวัติอีกรอบ ก็ต้องเผชิญกับสิ่งที่อาจคาดไม่ถึง

ส่วนการเคลื่อนไหวใในสภา ซึ่งสอดคล้องกับเกมนอกสภา และชูให้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่หากอยู่ในสภาก็ต้องยอมรับในความเป็นจริง แน่นอนว่านอกสภาเป็นตัวกดดัน และอาจเกิดสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น ตอนนี้ผมเริ่มที่จะเรียนรู้ และติตามการการเมืองแบบไทย จึงเข้าใจแล้วว่าบทบาทการเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศนี้ยากกว่าการเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศอื่น คุณต้องทันเกมทุกฝ่าย ในระบบรัฐสภาของประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างไทยเรา ที่พรรคการเมืองส่วนใหญ่เป็นผู้ล้อมรอบคนไม่กี่คนที่เป็นผู้นำของพรรคการเมืองนั้น ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือ ส.ส. ค่อนข้างจะอยู่ในอาณัติของหัวหน้าพรรค และหัวหน้าพรรคที่เป็นนายกฯ หรือเป็นรัฐมนตรี ก็สามารถควบคุมผ่ายนิติบัญญัติ ส.ส. ได้ในระดับหนึ่ง ฝ่ายนิติบัญญัติในที่สุดจะทำงานใต้ฝ่ายบริหาร

แต่นายกรัฐมนตรีในไทย คุณต้องสู้กับ 3 กิ่งแห่งอำนาจ รีแอ็กติ้งเอเจน คือ 1. สื่อมวลชน ในแต่ละประเทศจะมีวัฒนธรรมที่ต่างกัน ในสำหรับไม่แอ็กทีฟในการตรวจสอบนักการเมือง วัฒนธรรมของสื่อไทยแอ็กทีฟมาก ซึ่งผมมองว่าอยู่ในระดับเหมาะสม แต่ก็ขึ้นอยู่กับบางฉบับ ซึ่งไม่ว่าใครเป็นนายกรัฐมนตรี หากนายกฯ กระตุ้นให้สื่อโมโห สื่อก็จะเล่นอย่างนั้นไม่ว่าจะกี่ปีกี่ชาติ นี่คือปัญหาในการบริหารประเทศ

ซึ่งสื่อต้องนำข้อมูลมานำเสนอ แต่วัฒนธรรมจะทำหน้าที่สวนทางในทางข้อมูลหน่วยงานที่กลั่นกรองความคิด และตอบโต้จุดยืนของนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกฯ ต้องดูการคานอำนาจจากฝ่ายตุลาการ และพยายามควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติด้วย การพูดคุยของนายกรัฐมนตรีจะเป็นตัวชี้วัดการตอบโต้ความรุนแรงของสื่อ ซึ่งเป็นเรื่องดีในการตรวจสอบ แต่ยากในการที่รับบาลจะขยับเขยื่อน เพราะต้องสู้ทุกวัน

อันดับ 2 คือ กลุ่มเอ็นจีโอบางกลุ่มที่จะโค้นล้มรัฐบาล การเคลื่อนไหวของมวลชนในไทย จะสอดคล้องกับสื่อมวลชน บางฉบับมีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มเคลื่อนไหวบางกลุ่ม หาก ครป. แถลงข่าว ไทยโพสต์อาจจะลงหน้าหนึ่งให้มากกว่าเล่มอื่น หนังสือพิมพ์ไทยจะให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวของมวลชน เพราะมีความเชื่อลึกๆ ว่าสื่อของตนเองมีบทบาทในการคานอำนาจของรัฐบาล หากอยู่ในความพอดีก็จะดี นอกจากนี้กลุ่มมวลชนเอ็นจีโอมีการคานอำนาจรัฐบาลในยามที่ควรและไม่ควร แต่สมมติว่า

ในปัจจุบันพันธมิตรฯ เคลื่อนไหวตามแผนดาวกระจายทุกมุม และพาดหัวทุกวัน ผมก็สงสัยว่าทำไมต้องให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ในทุกรูปแบบของมวลชนกลุ่มหนึ่งขนาดนั้น ซึ่งจะถือเป็นความชอบธรรมหรือไม่ขึ้นอยู่กับคนที่ตัดสิน แต่ผมกำลังบอกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับมวลชน อยู่ที่สื่อเลือก สังคมจะมองในบริบทที่มีความชอบธรรมหรือไม่อยู่ที่หนังสือพิมพ์หลักๆ ของประเทศ ซึ่งหากสื่อบางกลุ่มกับเอ็นจีโอบางกลุ่มทำการร่วมมือกันเพื่อโค่นล้มรัฐบาล จะเป็นเรื่องที่เหนื่อย

สิ่งที่ทำให้ชาวต่างชาติมาถามผมว่าทำไมถึงมีการชุมนุม และเป็นเรื่องใหญ่เหลือเกิน จริงๆ แล้วมันก็อยู่ที่สื่อให้ความสำคัญ และเล่นเป็นข่าวหน้าหนึ่งทุกวัน ก็ชัดว่าต้องการกดดันรัฐบาล ซึ่งแสดงว่าสื่อมีอำนาจมากในการที่จะกำหนดว่านายกฯคนหนึ่งสามารถอยู่ได้กี่ปี ซึ่งเมื่อก่อนผมไม่เชื่อ แต่ตอนนี้เพิ่มเริ่มเข้าใจแล้วว่า หากทำให้หนังสือพิมพ์เป็นศัตรูก็ยากที่จะมีอนาคตในทางการเมือง นอกจากฐานเสียงจะแข็งจริง ตอนนี้ผมพยายามจะปรับตัวให้เข้าใจกับระบบอย่างนี้ สำหรับประเทศไทย จะไม่มีวันที่คุณจะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ แล้วคิดที่จะมาครอบงำกลุ่มเอ็นจีโอ และหนังสือพิมพ์ได้ หากคิดอย่างนั้นในที่สุดไปไม่รอด ก็ต้องมีการประนีประนอมกัน หากมีการฆ่า ดังนั้นผมคิดว่าทั้งสองฝ่ายคือ นายกรัฐมนตรี และ สื่อต้องเรียนรู้ที่จะทำงานซึ่งกันและกัน

ส่วนอันดับสุดท้ายคือกองทัพ กองทัพไทยมีบทบาทที่แตกต่างจากประเทศอื่น เช่น บทบาทในการปกป้องเขตแดน ซึ่งเรื่องเขาพระวิหารน่าจะจบได้แล้ว เมื่อ ผบ.ทบ. บอกว่าเราไม่เสียดินแดน แต่ทหารนอกจากที่จะปกป้องแผนดินไทยแล้ว ยังมีบทบาทที่เข้ามาคานอำนาจฝ่ายบริหาร ที่ไม่ควรจะมี ซึ่งถือว่าเปลี่ยนยาก

แต่หากจะมีการลดบทบาทนี้ลง ก็ถือว่าเป็นเป้าหมายที่ถูกต้อง แต่ต้องขึ้นอยู่กับความเป็นจริง แต่ต้องไม่ลืมว่า วิธีการลดบทบาท ต้องทำให้ทหารไม่รู้สึกว่าบทบาทลดลงไป ซึ่งเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีที่ต้องทำให้ทหารไม่รู้สึกว่าเขากำลังถูกลดบทบาท คือต้องทำการสื่อสารผ่านยังสื่อมวลชน และกลุ่มเอ็นจีโอสายหลักๆ เหล่านี้ ภาพรวมของปัญหาหลักเหล่านี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีส่วนใหญ่ที่ยังไม่สามารถปรับตัวเข้าหาได้

อย่างไรก็ตาม ในแต่ละประเทศที่จะวิวัฒนาการขั้นตอนไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มากขึ้น ต้องเจอกับความวุ่นวายจากการเรียกร้องของมวลชนอย่างแน่นอน ในที่สุดแล้วก็จะเจอกับรูปแบบของประชาธิปไตยที่เข้ากับวัฒนธรรมของสังคมนั้น ซึ่งความจริงมันไม่ควรเป็นอย่างนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปถ้าประชาธิปไตยแบบไหนจะอยู่ได้นานจริง ต้องสามารถเข้ากันได้รับวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ

แม้ว่าผมบอกว่าอยากที่จะเปลี่ยนนั่นเปลี่ยนนี่ แต่ผมก็เข้าใจว่ามันเปลี่ยนทุกอย่างไม่ได้ มันต้องเป็นไปในรูปแบบพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป ไปในจุดที่มีความเท่าเทียมกันให้มากขึ้น

จุดไฟเผาบ้าน

คอลัมน์: โต๊ะข่าวประชาทรรศน์

การอภิปรายของฝ่ายค้านในวันที่ผ่านมา ใครอย่ามากล่าวหาเด็ดขาดว่าเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่มีข้อมูล เพราะตลอดเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ออกมาเปิดประเด็น โดยเฉพาะกรณีเขาพระวิหาร มากไปด้วยสาระ

แต่เป็นสาระทางประวัติศาสตร์ เมื่อคราวเสียเขาพระวิหารจากการแพ้คดีความที่ศาลโลก ที่มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช แห่งพรรคประชาธิปัตย์ เป็นหนึ่งในทีมทนายความ

แถมยังย้อนความไปก่อนหน้านั้นอดีกราว 50 ปี เมื่อคราวมีการทำแผนที่เขตแดนในบริเวณดังกล่าว

ขณะเดียวกันญัตติ ที่ระบุเอาไว้ว่าจะเป็นการอภิปราย นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ทำไมทำมากลับเป็นการออกมาแก้ต่าง ปกป้องอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

จนฟังไปฟังมาก็ยังไม่เห็นข้อชัดเจนว่ารัฐบาลนี้จะมีความผิดในกรณีเขาพระวิหารที่ตรงไหน

หากจะเลวจะร้ายสุดๆ ก็คงเป็นการที่ไม่ยอมออกหน้าทวงคืน หรทืออุทธรณ์ต่อศาลโลก ซึ่งหากจะเป็นความบกพร่องของรัฐบาล ก็เป็นความบกพร่องอันเดียวกันกับหลายต่อหลายรัฐบาลที่ผ่านมา ไม่เว้นแม้แต่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ถึง 2 ครั้ง 2 หน

ยังไม่รวมถึงคราวที่พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล และอีกหลายครั้งที่คนของพรรคประชาธิปัตย์ เป็น รมว.ต่างประเทศ

และนอกเหนือไปจากความพยายามกล่าวหารัฐบาลในเรื่องเขาพระวิหาร ที่พยายามชี้ชวนให้ประชาชนทั้งบ้านทั้งเมืองเข้าใจผิด

เป็นการพูดจาที่ส่อให้กระทบกระเทือนความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ที่มีนักธุรกิจไทย ไปลงทุนมูลค่ามหาศาล เป็นการเผาบ้านเผาเมืองตัวเอง

นอกเหนือไปจากนั้นก็ล้วนแล้วแต่เป็นข้อกล่าวหาที่เป็นนามธรรม อย่างเช่น ไร้ฝีมือ เอาคนไม่มีความรู้เข้ามาทำงาน เอานักเลงมาทำงาน แต่กลับไม่กล้าชีชัดว่าเป็นใคร

รวมทั้งยังไม่มีการแจกแจงว่าคนที่พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอ้างว่าเขาไม่มีความรู้นั้น ได้ทำงานตกหล่น บกพร่อง สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นในบ้านในเมืองอย่างไรบ้าง

จนอาจจะพอตั้งข้อสังเกตุได้ว่าการที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พยายามลากเอาเรื่องประวัติศาสตร์มาอวดภูมิความรู้ด้วยหวังว่าจะมีคนตามทันไม่กี่คนนั้น แท้จริงแล้วเป็นเพราะไม่มีข้อมูลใหม่ หรือไม่มีข้ออมูลอะไรที่จะชี้ความผิดของรัฐบาลได้อย่างนั้นหรือเปล่า

หรือการที่ออกมากลาวหาความบกพร่องของฝ่ายบริหารอย่างเลื่อนลอย จะเพราะพยายามดิสเครดิต ลดความชอบธรรม เพื่อหวังทำลายรัฐบาล และสร้างโอกาสให้ตัวเองสามารถเข้ามาบริหารประเทศ ด้วยหนทางใดหนทางหนึ่งอย่างัน้นหรือเปล่า

เพราะเมื่อฟังคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรี แล้ว สิ่งที่ผู้นำฝ่ายค่านพูดก็แทบจะหมดราคา

แม้ว่าจะพูดด้วยลีลาประสา “สมัคร” แต่เนื้อหาก็ครบถ้วน ทั้งควงามสัมพันธ์กับนานาชาติ ที่เดินทางไปพบปะมาแล้ว 8 ประเทศ จนเป็นผลด้านความร่วมมือต่อเนื่อง ทั้งด้านการค้าขาย การแลกเปลี่ยความรู้ และเปลี่ยนเทคโนโลยี ไปจนถึงความร่วมมือในการแก้ปัญหาพลังงาน

และที่สำคัญที่ผมเชื่อว่าเป็นคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่คนฟังเข้าใจและเห็นภาพชัดเจนที่สุดก็คือว่า “ขนาด 4 เดือนยังทนไม่ได้ต้องของเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็คงจะรอให้ถึง 4 ปีไม่ไหว”

ยอมรับว่าคำพูดทิ้งท้ายคำชี้แจงของท่านายกฯ โดนใจมากที่สุด เพราะอาการกระเหี้ยนกระหือรือขแองปะชาธิปัตย์ ตามศัพท์แสงท่านายกฯ ไม่สามารถมองได้เป็นอย่างอื่น

การสอดประสานกันของม็อบหน้าทำเนียบรัฐบาล ท่วงท่าของ สว.รากตั้ง จากกรรมการรากเหง้าเผด็จการ และพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายค้านเพียงหนึ่งเดียว ก็ชวนให้คิดได้อย่างนั้น

และในช่วงเย็นอีกหนึ่งคนที่ออกมาย้ำความ “หาเรื่อง” ของพรรคประชาธิปัตย์ ก็คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ออกมากล่าวหารัฐบาล กล่าวหากระทรวงการต่างประเทศ ว่าเพิกเฉยต่อการดูแปลเรื่องเขาพระวิหาร

จนตัว ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ เอง ก็คงจะลืมไปแล้วว่าตัวเองก็เคยนั่งเก้าอี้ รมว.ต่างประเทศ มาก่อน สามารถแสดงบทบาททวงคืนเขาพระวิหารได้ อย่างที่กำลังต่อว่าต่อขานคนอื่น

แต่ทำไมไม่ทำ หรือว่าท่านมัวเอามือไป “กำ” เอาปากไป “อม” อะไรไว้ จึงเพิ่งจะมาคิดออก เพิ่งหวงแหนเขาพระวิหารกันจนน้ำลายไหล ในวันที่ตัวเองตกกระป๋อง และมีพรรคการเมืองอื่นเข้ามาบริหารประเทศ

การอภิปรายไม่ไว้วารงใจรัฐบาลยังจะมีในวันนี้อีกวัน ผมไม่แน่ใจว่าจะมีเนื้อหาสาระอะไรมาถล่มรัฐบาลได้มีน้ำหนักกว่าวันที่ผ่านมาบ้าง หรือจะเปิดหน้าให้รัฐบาลสอนมวยเป้นคำรบสอง ก็คงเป็นเรื่องที่จะต้องติดตามกันต่อไป

และนอว่าหากมีข้อมูลใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง รัฐบาลก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องน้อมรับเอาไปจัดการ แก้ปัญหาอย่างไม่คิดเขา คิดเรา

จะกลัวก็แต่ว่าหาก “ทำการ” ไม่สำเร็จในเวทีนี้ ปชป. จะหวนกลับไปใช้เวทีนอกสภา สร้างความวุ่นวายให้บ้านเมืองไม่รู้จบ เพราะแม้รัฐบาลจะเปิดเวทีให้ซักฟอกกันเต็มเหนี่ยว แต่บทบาทของผู้คนพรรคประชาธิปัตย์ ก็ยังพัวพันกับม็อบพันธมิตรฯ ไม่เลิก

เรียกว่าทำอย่างไรก็ได้ เพื่อให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกฯ อย่างนั้นหริอเปล่า...!?

บิ๊กโบ๊ต



วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551

พล.อ.ชวลิต ชี้ปัญหาการชุมนุมที่เกิดขึ้นยังไม่ใช่วิกฤติ

กรุงเทพฯ 24 มิ.ย.- “พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ” ชี้ปัญหาการชุมนุมของพันธมิตรฯ ยังไม่ถือเป็นวิกฤติ ยังมีโอกาสที่จะเจรจากันได้ และทางที่ดีที่สุดคือ ให้คู่กรณีเจรจากันเอง เรียกร้องเร่งยุติปัญหาแล้วมุ่งแก้ปัญหาใต้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (24 มิ.ย.) พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางไปทำบุญเลี้ยงพระร่วมกับคุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ ภริยา เนื่องในโอกาสครบรอบวันแต่งงานปีที่ 43 มีคนใกล้ชิดจำนวนหนึ่งมาร่วมงานที่วัดอาวุธวิกสิตาราม จากนั้นให้สัมภาษณ์ถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล ขณะนี้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่ขยายวงกว้างกลายเป็นวิกฤติการเมือง เพราะวิกฤติจะไม่ใช่รูปแบบนี้ และนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้รับผิดชอบก็คงไม่ปล่อยไปอย่างนี้

“สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้แสดงให้เห็นว่ามีความเข้าใจกันในระดับหนึ่ง มีทีท่าจะแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้น ใครมองว่าเป็นวิกฤติ แต่ผมคิดว่าไม่ใช่ เพราะยังพูดจากันได้ และการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งก็ไม่มีอะไรดีไปกว่าให้ผู้ขัดแย้งจัดการกันเอง พูดกันเอง การไปหาคนกลาง เคยบอกไปแล้วว่าเป็นหนทางแรก แต่ก็ทำไม่ได้ การหาคนกลางลำบาก เพราะต้องเป็นผู้ที่ถือดุลได้จริง ๆ มีความรู้ ความเข้าใจ และต้องมีพลังสูงจริงๆ” พล.อ.ชวลิต กล่าว

ส่วนที่มีความเป็นห่วงว่า พันธมิตรฯ จะเคลื่อนการชุมนุมไปที่รัฐสภา ในการช่วงที่มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า เขาก็ไปหลายที่แล้ว จะไปอีกที่ก็คงไม่มีปัญหาอะไร พร้อมกับย้ำว่า สิ่งที่เกิดขึ้นยังไม่ใช่วิกฤติ ถ้าวิกฤติเขาจะไม่ประพฤติแบบนี้ รัฐบาลจะต้องมีแอ็คชั่น แต่นี่ก็ไม่มี เพราะรู้ว่าไม่มีอะไร พันธมิตรฯ ก็รู้ว่ารัฐบาลไม่มีอะไรเหมือนกัน และต้องการเจรจา ส่วนตัวเชื่อว่าจะไม่มีอะไรรุนแรง เพราะเป็นคนไทยด้วยกัน

พล.อ.ชวลิต เรียกร้องให้ทุกฝ่ายเร่งยุติความขัดแย้ง และหันมาดูแลปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ เพราะข้อเท็จจริง ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่มีอะไร ขบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การระเบิดในตลาดสด จ.ยะลา หรือการลอบยิงเจ้าหน้าที่ ถ้าล้วงไปลึก ๆ ก็จะทราบว่าเป็นการแก้แค้นกันไปมา ประเด็นอยู่ตรงนี้ และในฐานะที่ผ่านการแก้ปัญหามา เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ก็คงพอจะทราบ และถ้าจะแก้ไขปัญหาจริง ๆ ตกลงกันจริง ๆ วิเคราะห์ให้ดี ก็แก้ไขไม่ลำบาก เพียงแต่ต้องรอคนที่เข้าใจมาแก้ไข เพราะฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามส่วนลึกก็เป็นคนไทย มีความจงรักภักดี และต้องการอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร มีความปรารถนาจะสร้างสันติของสังคมเขาที่มีความพิเศษ เป็นสังคมเฉพาะของคนที่อยู่ในพื้นที่ ทั้งไทยพุทธ มุสลิม และคนจีน เขาไม่ได้พูดถึงตัวเขาเอง หรือคนเดียว. -สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-06-24 14:52:31

ครม.ปรับปรุงมติเขาพระวิหารให้รัดกุมมากขึ้น

ทำเนียบฯ 24 มิ.ย.-การประชุม ครม.วันนี้ มีการปรับปรุงมติเรื่องเขาพระวิหารให้รัดกุมมากขึ้น ป้องกันกัมพูชานำพื้นที่พิพาทไปรวมกันในอนาคต ด้าน "พล.อ.ชวลิต" กล่าวถึงการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ว่ายังไม่ถึงขั้นวิกฤติ เชื่ออยู่ระหว่างเจรจาหาข้อยุติ คงไม่ขยายวงกว้าง

ชมรายละเอียด สำนักข่าวไทย



อัพเดตเมื่อ 2008-06-24 14:22:33


นายกฯนำครม.ประชุม ไม่สนพันธมิตรฯปิดล้อม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (24 มิ.ย.) มีขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาลตามปกติ แม้จะมีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปักหลักอยู่บริเวณนั้นก็ตาม โดยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางออกจากบ้านพักซอยนวมินทร์ 81 ไปถึงทำเนียบฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ บรรยากาศภายในทำเนียบฯ คึกคักตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เสริมกำลังในเส้นทางที่คณะรัฐมนตรีจะเดินทางเข้าร่วมประชุม โดยเฉพาะประตู 5 ด้านฝั่งกระทรวงศึกษาธิการ และประตูทางเข้าบริเวณสะพานอรทัย

ขณะเดียวกัน มีกลุ่มพระสงฆ์และองค์กรชาวพุทธ 43 องค์กร ญาติวีรชน 14 ตุลาฯ นำกระเช้าดอกไม้มาให้กำลังใจนายกรัฐมนตรี ให้ทำงานต่อไป โดยรัฐมนตรีคนแรกที่เดินทางมาถึงคือ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่เพิ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

ส่วนการจราจรบริเวณแยกนางเลิ้ง มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่สัญจรไปมา เนื่องจากสถาบันการศึกษาในละแวกดังกล่าวเพิ่งเปิดเรียนเป็นวันที่ 2 ซึ่งนักเรียนนักศึกษาจะได้รับผลกระทบจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในช่วงบ่ายวันนี้ นายกรัฐมนตรียังจะเข้ารับฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคฝ่ายค้าน ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จะนำทีมซักฟอกนายกรัฐมนตรีเป็นคนแรก ก่อนที่จะถึงคิวของรัฐมนตรีในสังกัดพรรคพลังประชาชน อีก 7 คน



ถึงสงครามเชียวหรือ

ไม่แน่ใจว่าจะเป็นลางอะไรหรือเปล่า กับคิวล่าสุดที่ “ลุงหมัก” นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เดินทางไปร่วมชมนิทรรศการของกระทรวงแรงงาน และได้ถือโอกาสทดสอบระบบจัดหางานอัตโนมัติในคอมพิวเตอร์

ปรากฏผลประมวลออกมาว่า ไม่มีงานสำหรับคนอายุ 73 ปี

โดยอารมณ์ที่พอดิบพอดีกับกระแสข่าวลือข่าวปล่อย “ลุงหมัก” กำลังโดนไล่บี้ไล่ต้อนให้ถอนสมอ นายใหญ่ส่งซิกโละออกจากเก้าอี้นายกฯ

มีโอกาสตกงานตอนแก่

แต่ที่แน่ๆ โดยรายการข้าวราดหมูป่าผัดเผ็ด ไข่ต้ม 2 ฟอง แกงจืดหัวไชเท้า 1 ถ้วย น้ำส้มไบเล่ 1 ขวด ที่ร้าน “คุณวรรณ” โรงอาหารรัฐสภา แล้วยังมาต่อด้วยกล้วยหอมครึ่งลูก ลองกอง แคนตาลูป ตบท้ายด้วยน้ำรากบัว ที่กระทรวงแรงงาน

โซ้ยกันเต็มคราบเลย

“ลุงหมัก” ยังกินได้นอนหลับ โดยอาการสะท้อนว่า ไม่ได้เครียดกับมรสุมการเมืองที่ถาโถมเข้าใส่ ไม่ได้ใส่ใจกับเสียงเย้วๆของม็อบพันธมิตรฯบุกล้อมทำเนียบรัฐบาล ยื่นคำขาดให้ลาออกใน 3 วัน 7 วัน

พร้อมวัดใจใครจะอึดกว่ากัน

แม้จะถึงขั้นที่ตำรวจต้องเตรียมเส้นทางเข้าออกให้นายกฯและรัฐมนตรี ในการประชุม ครม. วันที่ 24 มิถุนายนนี้ ใช้ตำรวจ 14 กองร้อย กระจายกำลังรักษาความปลอดภัยภายในและรอบบริเวณทำเนียบฯ

เตรียมประตูฉุกเฉินไว้ให้หนีม็อบ

เพราะจากรายงานข่าวกรอง ภายใน 1 สัปดาห์นี้ ม็อบพันธมิตรฯจะเพิ่มมาตรการกดดันรัฐบาลมากขึ้น โดยอาจจะมีการปิดทางเข้าออกทำเนียบฯมากจุดกว่าเดิม เพื่อทำลายความสง่างามของนายกฯ

อย่างไรก็ตาม หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ผู้ชุมนุมปิดทางเข้าออกทำเนียบฯไว้ทุกประตู จนนายกฯไม่อาจเข้ามาทำงานได้ ตำรวจก็ได้มีการเตรียมแผนฉุกเฉินไว้

โดยจะมีการนำแผ่นเหล็กขนาดใหญ่มาพาดคลองผดุงกรุงเกษม ริมทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้นายกฯเดินข้ามมาทำงาน

ทำอย่างกับพวกแอบลักลอบ

แค่นึกภาพก็ตลกเต็มที

แต่ก็เป็นอะไรที่เสียงแข็งขึ้นตามลำดับ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ประกาศตำรวจจะรักษาทำเนียบรัฐบาล ยอมให้ม็อบเข้าไม่ได้

ถ้าบุกรุกจะกลายเป็นกบฏ

ตำรวจงัดข้อหาแรงๆดักคอเกมม็อบบุกยึดทำเนียบฯ

และนั่นก็ยังไม่เร้าใจเท่าข้อมูลแหลมๆล่าสุดของ พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่พูดหลังการหารือกับ ผบช.น.

อ้างรายงานการข่าว กลุ่มพันธมิตรฯกำลังเตรียมคนจำนวนหนึ่งไปลุยกับประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่ทับซ้อนใกล้เขาพระวิหาร โดยคนเหล่านั้นเป็นชาวเขมรที่เข้ามาอาศัยในเมืองไทยตั้งแต่ปี 2543 สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย

เพื่อต้องการให้เกิดปัญหา

“ขอเตือนว่าทหารกัมพูชาไม่เหมือนตำรวจไทยที่อดทนอดกลั้นสูง หากทางการกัมพูชาต้องการปกป้องคนของเขาขึ้นมาจะเกิดปัญหา หรืออาจจะเป็นสงครามขึ้นมาได้ จึงขอเตือนไว้ก่อนว่าอย่าทำอย่างนั้นเลย”

ดักทางม็อบเตรียมก่อชนวนสงคราม

คนระดับโฆษกประจำสำนักนายกฯออกมาพูดเอง แรงตกกระทบย่อมไม่ธรรมดา

ที่แน่ๆก็มีปฏิกิริยาจากทางการกัมพูชา ล่าสุดได้สั่งปิดปราสาทเขาพระวิหาร โดยไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมเป็นการชั่วคราว

หวั่นมือที่สามเข้าไปทำลาย ก่อสถานการณ์

เนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยกำลังมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน และอาจจะกระทบต่อการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก

เขมรรับมุกการข่าวของทางการไทย

แหยงม็อบจุดไฟปลุกชาตินิยม.

ทีมข่าวการเมือง รายงาน




เราจะสู้ใช่มั้ย......????


" พี่ พี่ พวกเขาจะเอาอะไร..." เสียงจากแม่ค้าร้านสะดวกซื้อแถว ๆ พุทธมนทลสาย ๓ ถามผมขณะนำเงินทอนมาให้กับผม "ล้มรัฐบาลมั้ง " ผมตอบแบบเซ็ง ๆ โดยไม่มองหน้าแต่สายตายังมองไปที่โทรทัศน์ในร้านฯ ที่กำลังถ่ายทอดสดเหตุการณ์ ม๊อบพันธมิตรเพื่อประชาชน กำลังส่งเสียงไชโยโห่ร้องยินดีในชัยชนะของการยึดถนน หน้าทำเนียบรัฐบาล แบบคนไร้สติ และบ้าคลั่ง

" ก็คนเขาเลือกเข้าไป แล้วจะไปไล่ได้อย่างไร" ผมมองหน้าแม่ค้าที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนยังทันตอบอะไร เพราะตัวผมเองก็ไม่รู้จะหาเหตุอะไรมาปลอบประโลมกันในยามบ้านเมืองเป็นแบบนี้ แม่ค้าคนนั้นยิงประโยคโดนใจมาอีกประโยคหนึ่งว่า "จริง ๆ หนูไม่ได้รักหรือชอบรัฐบาลนี้ หนูไม่ชอบเฉลิม หนูไม่ค่อยชอบสมัคร แต่หนูคิดว่าวิธีการไล่รัฐบาลแบบนี้มันเป็นแบบพวกอันธพาล"

"คอยดูนะพี่ ถ้านายกสมัครลาออกหรือยุบสภา ตามคำเรียกร้อง หนูจะเลิกการไปเลือกตั้งตลอดชีวิต เพราะเลือกไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร....." ผมนับเงินทอนในมือแล้วส่งยิ้มแห้ง ๆ ไปให้แม่ค้าคนนั้นด้วยความเข้าใจในอารมณ์ ความรู้สึกของไพร่ ธรรมดาสามัญในบ้านนี้เมืองนี้ แทบไม่ต้องอธิบายอะไรในความรู้สึกของไพร่เจ้าของร้านสะดวกซื้อคนหนึ่ง เฉกเช่นเดียวกันกับไพร่คนหนึ่งที่กำลังถ่ายทอดความรู้สึกอยู่ในบทความนี้

เราจะเลือกตั้งกันไปเพื่ออะไร ? ? ? การปกครองแบบระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แบบไทย ๆ เขาต้องทำกันแบบนี้หรือ แบบนี้หรือที่เขาเรียกว่าระบบรัฐสภา วันนี้โจทย์ข้อใหญ่ที่นักวิชาการเลือกข้าง บุคคลที่เห็นดีเห็นงามกับการสร้างความเดือดร้อนวุ่นวายให้แก่บ้านแก่เมืองจะต้องตอบต่อสังคมว่าต่อไปนี้สังคมไทยจะต้องอยู่กับระบบ ข่มขืนธิปไตย ที่กำลังทำกันแบบนี้ตลอดไปใช่หรือไม่

การเมืองภาคประชาชน ที่เราเรียกร้องนักเรียกร้องหนาว่าเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมโดยการปิดถนน ไม่เสียภาษี (ซึ่งก็ยังไม่รู้จะทำแบบใด) ตัดน้ำตัดไฟ ปิดสนามบิน ปิดล้อมที่ทำการของส่วนราชการ ฯลฯ ตกลงว่ามันเป็นวิธีการที่การเมืองภาคประชาชนต้องใช้หรือ ถ้าการเมืองภาคประชาชนต้องใช้วิธีการป่าเถื่อนแบบนี้ เอาคืนไปเถอะครับ เอาไปใช้ที่บ้านอื่นเมืองอื่น กรุณาอย่านำมาสั่งสอนลูกหลานในบ้านนี้เมืองนี้เลย

แบบนี้เขาไม่เรียกการเมืองภาคประชาชนหรอกครับ วิธีการแบบนี้น่าเรียกการเล่นการเมืองแบบอันธพาล มากกว่า

พันธมิตรเพื่อประชาชนของกลุ่มท่าน และผลประโยชน์กันเฉพาะในพวกพ้องของท่าน กรุณาอย่าอ้างประชาชน อย่าเอาประชาชนมาบังหน้า ผมคนหนึ่งที่ไม่ได้แต่งตั้งท่าน ผมไม่ได้มอบหมายให้ท่านหน้าด้านเอาพวกเราไปอ้าง ท่านจะมุดหน้าซุกกระโปรงอยู่ กลางกลุ่มเด็กและสตรีโดยเขาเต็มใจมันก็เป็นเรื่องส่วนตัวของท่าน มันไม่ใช่สาเหตุที่เขายอมให้ท่านซุกกระโปรงแล้ว ท่านจะมั่วนิ่มอ้างว่าประชาชนทั้งประเทศเห็นด้วยกับการกระทำของท่าน ข้อนี้ไม่ใช่อย่ามั่ว

วันนี้การเมืองในระบบรัฐสภา เขาใช้วิธีการนอกทำเนียบควบคู่ไปกับ เกมในสภา ฯ พรรคประชาธิปัตย์ คงปัดความรับผิดชอบการเดินเกมนอกสภาในครั้งนี้ไม่ได้ เพราะวิธีการรวมกันเดินแยกกันตี ระหว่างวิธีการกรรโชกทรัพย์ข้างถนนของพันธมิตรเพื่อประชาชนฯ กับการเดินเกมใต้ดินของพรรคประชาธิปัตย์ สอดคล้องกันมาตลอด การบีบให้พรรคร่วมรัฐบาลอีก ๕ พรรค มาร่วมกันอุ้มชูให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีทั้งในสภาและนอกสภาครั้งนี้ ถ้าพูดกันแบบภาษากฎหมาย เขาเรียกว่า "กรรมเป็นเครื่องส่อเจตนาอย่างชัดเจน" ประชาธิปัตย์จะให้ลิ่วล้อภายในพรรคมาบอกปัดตามวิธีถนัดเหมือนหักหลังคนทุศีล เรื่องพาคนไปตายในเหตุการณ์พฤษภาทฬิม ๒๕๓๕ มันฟังไม่ขึ้นเสียแล้ว

แค่ผมอยากถามนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ว่านายไม่เคยรู้สึก ละอายใจ แม้แต่นิดเชียวหรือ การมุ่งหวังขึ้นสู่เก้าอี้ฯ ในครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ไม่ได้ทำลายเฉพาะกฎกติกาบ้านเมืองที่เขียนไว้ตามธรรมนองคลองธรรมเพียงอย่างเดียว วันนี้นักการเมืองหนุ่ม ที่ครั้งหนึ่งผมเคยมองว่าน่าจะฝากบ้านผากเมืองไว้ได้ ได้ทำลายการปกครองในระบบรัฐสภาอย่างบัดซบที่สุด นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ มีส่วนอย่างยิ่งกับการทำลายระบอบประชาธิปไตย ที่บ้านนี้เมืองนี้พยายามทำกันขึ้นมากว่า ๗๐ ปีนับแต่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง กรุณาอย่ามาขอร้องให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กรุณาอย่ามาออดอ้อนประชาชนว่า พวกท่านเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง กรุณาอย่ามาหลอกลวงชาวโลกอีกว่าประเทศไทยปกครองในระบอบรัฐสภา มันไม่ใช่หรอกครับ เลิกลวงชาวโลกกันได้แล้ว แล้วบอกกับเขาไปตรง ๆ ว่า รัฐนี้ ประเทศนี้ แค่ใส่หน้ากากประชาธิปไตยไว้ไม่ให้โลกเสรี บอยคอตแค่นั้นเอง

วันนี้ วิธีการร่วมกันปล้นอำนาจของประชาชน มันเปลี่ยนรูปแบบจากวิธีการรัฐประหารมาเป็น เป็นอารยะข่มขืนบ้านเมืองกันข้างถนนแล้ว บ้านนี้เมืองนี้จะเดินหน้าไปอย่างไรกัน ผมไม่รู้ หากมีการเลือกตั้งขึ้นมาใหม่ แล้วคนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงยืนยันที่จะเลือกพรรคการเมือง ที่ผู้ยิ่งใหญ่ข้างถนนทั้ง ๕ ขยะแขยง ขึ้นมาอีก จะทำอย่างไรดีครับ จับพวกเขาไปฆ่าทิ้ง เอาพวกเขาไปขังคุก หรือจะออกกฎหมายให้คนที่เลือกพรรคการเมืองนี้เป็นคนระดับล่างสุดในสังคม ไม่สมควรมีสิทธิมีเสียงในการบริหารบ้านเมือง แบบนี้ใช่มั้ยครับ

พรรคประชาธิปัตย์สาขาหนึ่งที่กำลังจะยื่นอภิปราย และพรรคประชาธิปัตย์สาขาสองที่ยึดถนนทำเนียบรัฐบาลเอาไว้ในขณะนี้ จงพึงสำเหนียกเอาไว้ว่าวันนี้ ไพร่ที่นิ่งเงียบ ไพร่ที่ไม่แสดงความในใจอะไรออกมา ไม่ใช่ว่าพวกเขาเป็นคนโง่ ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่รับรู้ และที่สำคัญอย่าคิดว่าพวกเขาไม่สู้ พวกเขาได้สั่งสอนพันธมิตรเพื่อประชาชนและพรรคประชาธิปัตย์ มาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๙ ในอนาคตข้างหน้า หากคนในชาติจะลุกขึ้นมาต่อต้านกันแบบรุนแรงให้รู้สำนึกกันจริง ๆ บางทีอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาชนฯ ยังไม่หยุดการสร้างความเสียหายให้บ้านเมือง

พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย ฯ พวกคุณไม่มีทางได้รับชัยชนะจากประชาชนอย่างแท้จริง ตราบใดที่คุณยังมองเห็นคุณค่าและความรู้สึกของประชาชนอย่างแท้จริง และยังคิดว่าพวกเขาเป็นไพร่ที่ถูกจูงจมูกได้ง่ายเหมือนกับที่พวกท่านทำอยู่ ยิ่งพวกคุณข่มขืนจิตใจพวกพวกเขามากเท่าไหร่ พวกเขาก็ยิ่งสู้มากเท่านั้น

วันนี้ผมได้แต่ภาวนาให้อารมณ์ไพร่ที่คุกกรุ่นสะสมขึ้นมาทั้งประเทศ อย่าได้เกินขีดความอดทนจนลุกขึ้นมาก่อสงครามกลางเมือง เพราะคงหาคนที่จะแสดงความรับผิดชอบไม่ได้เหมือนกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นองเลือดที่ผ่าน ๆ มา ผมหวังว่าไพร่ทุกคนคงยังคงอดทนไม่ถอดใจ กับสิ่งที่น่าเอือมระอาของวิธีการข้างถนนแบบนี้ จงเก็บความรู้สึกนี้อย่างสงบแล้วบอกกับพวกเขาอีกครั้ง เหมือนกับที่เราเคยบอกพวกเขาแล้วครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม

----------------------------

บทความ โดย สายลมรัก

www.thaifreenews.com

Thai Free News

ปลุก “พลังเงียบ” กู้ชาติคืน จากพันธมาร–พรรคการเมืองอัปยศ!


คอลัมน์: ตะแกรงข่าว

พอดีได้นั่งดูมอนิเตอร์ข่าวเจอรายละเอียดงานเสวนาของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่ได้จัดเสวนา "4 เดือนรัฐบาลสมัคร สอบผ่านหรือสอบตก" แล้วรู้สึกว่า อย่างน้อยก็มีนักวิชาการใจกล้ากลุ่มหนึ่ง ที่มองเห็นความเลวร้ายของพันธมิตรฯ

ในวันนั้นมี อ.วรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อ.กิตติ ลิ่มสกุล อาจารย์เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผอ.สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมเสวนา

หลังจากอ่านเนื้อหาจากข่าวแล้ว ก็คิดว่าวันรุ่งขึ้นประเด็นนี้น่าจะถูกขยายความตามสื่อมวลชนกระแสหลักบ้าง เพราะถือเป็นนักวิชาการใจกล้าที่ออกมาพูดโดยไม่เกรงกลัวว่าจะถูกด่าตามหลัง

รวมทั้งเวทีดังกล่าวก็จัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เครดิตน่าจะดีในแง่ของความเป็นกลาง

แต่ปรากฏว่าก็ต้องผิดหวังอย่างรุนแรง เพราะหนังสือพิมพ์เบอร์หนึ่งไม่ได้นำเสนอข่าวนี้เลย ส่วนเบอร์สองก็ตัดทอนถ้อยคำเอาเฉพาะประเด็นด่ารัฐบาลมานำเสนอ

ส่วนหนังสือพิมพ์ที่เลือกข้างอย่างชัดเจน ก็นำเสนอแค่ภาพข่าวแอบอยู่ในหลืบแทบมองไม่เห็น ซึ่งก็ไม่รู้ว่าคิดอะไรกันอยู่

งานในวันนั้นมีนักข่าวหลายสำนักไปร่วมฟัง เพราะแต่ละคนก็อยากได้ข่าวไปนำเสนอ ซึ่งผมเชื่อว่าแต่ละคนก็มีธงในใจแล้วว่าจะต้องข่าวมัน(ส์)ๆ

สื่อที่อยู่ในกลุ่มพันธมิตรฯ ก็จัดแจงส่งนักข่าว ช่างภาพ ไปทำข่าวกันใหญ่โต เพราะเห็นหมายข่าวกับเจ้าภาพที่จัดงานด้วยแล้ว บรรณาธิการข่าวก็ยิ้มกรุ้มกริ่มแล้วว่า งานนี้มีประเด็นให้โจมตีรัฐบาลแหงๆ แถมเป็นวันอาทิตย์อีกด้วย ข่าวยิ่งไม่ค่อยมี

แต่ปรากฏว่า งานเสวนาในวันนั้นเนื้อหากลับออกมาตรงกันข้าม เพราะบรรดานักวิชาการเริ่มมีความรู้สึกไม่พอใจพันธมิตรฯ กันบ้างแล้ว

โดยเฉพาะกับ ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านแสดงความคิดเห็นอย่างน่ารับฟัง

ที่ผมบอกว่าที่น่ารับฟังไม่ใช่ว่า ดร.ฐิตินันท์ ชื่นชมรัฐบาล แต่ท่านพูดเป็นกลาง นำเสนอวิธีคิดเป็นไปตามหลักวิชาการ ผ่านการคิดวิเคราะห์มาแล้ว

ท่านบอกว่า รัฐบาลถูกท้าทายจากปัญหาเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอก บวกกับปัญหาการเมืองนอกสภา ทำให้รัฐบาลไม่มีสมาธิในการแก้ปัญหา ทำงานเพียง 4 เดือน มีคนที่ไม่พอใจรัฐบาลออกมาประท้วง ปิดถนน เอาคนไปชุมนุมปิดล้อมทำเนียบ ไม่กลับบ้าน แล้วบอกว่า หมดเวลาสอบแล้ว เอาข้อสอบคืนมา

ดร.ฐิตินันท์ บอกว่า ถ้าการกระทำของพันธมิตรฯ ประสบผลสำเร็จ จะเป็นความเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย

ผมถือว่าเป็นประโยคที่โดนใจที่สุด เพราะการกระทำของพันธมิตรฯ ถือว่าเลวร้ายและทุเรศที่สุดเท่าที่เคยมีม็อบขับไล่รัฐบาล

นอกจากนี้ ดร.ฐิตินันท์ ยังบอกอีกว่า แม้ตัวของท่านจะไม่ได้เลือกพรรคพลังประชาชน แต่ท่านก็เคารพคนอื่นที่เลือกพรรคนี้เข้ามา กลุ่มพันธมิตรฯ เองไม่เคยพูดถึงคนส่วนใหญ่ที่เลือกพรรคนี้มาเลย มีแต่พูดถึงวาระแคบๆ ของตัวเอง มันเป็นการยึดระบอบประชาธิปไตยไทยด้วยคนกลุ่มน้อยที่มีฐานอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งจะยอมไม่ได้

สิ่งที่ รศ.ดร.ฐิตินันท์ พูดได้ถูกต้องมากที่สุดคือ ท่านรู้สึกเสียดายที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เสนอทางออก การชูวาระประชาชนก็เป็นเพียงคำโฆษณาผิวเผิน และฉาบฉวยเพื่อชนะการเลือกตั้งเท่านั้น

รศ.ดร.ฐิตินันท์ ยังแสดงความเห็นถึงการสลับขั้วเปลี่ยนรัฐบาลโดยชู นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกฯ ว่าเป็นสิ่งที่น่าสมเพชเวทนา น่าอับอาย และน่าละอายใจมากที่สุด

นอกจากนี้ท่านยังบอกว่า ประชาธิปัตย์เคยคว่ำบาตรการเลือกตั้งมาครั้งหนึ่ง และการเลือกตั้งที่ผ่านมาก็แพ้ แต่ก็ยังบอกว่าได้ ส.ส. มากสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งๆ ที่กรรมการก็อยู่ข้างพวกเขา กติกาก็อยู่ข้างพวกเขา คู่ต่อสู้ก็ถูกมัดมืออยู่ข้างหลัง แต่ก็ยังแพ้ขนาดนี้

หลายคนได้อ่านข่าวงานเสวนาแบบนี้แล้ว ก็ทำให้ใจชื้น ยังมีความรู้สึกว่า ประเทศไทยยังน่าอยู่ แม้บรรยากาศจะอึมครึมก็ตาม

และแม้ว่าข่าวลักษณะนี้จะไม่ได้ถูกนำเสนอเป็นประเด็นใหญ่โตนัก เหมือนกับครั้งที่ คุณวันชัย จงจรูญหิรัญ หัวหน้ากลุ่มติดตามการปฏิรูปการเมืองและต่อต้านการคอร์รัปชั่น (PRAC) ที่สาวลึกข้อมูล "คฤหาสน์หญิงเป็ด"

คุณวันชัยพานักข่าวไปดูถึงพื้นที่ แต่ก็มีสื่อกระแสหลักนำเสนอข่าวเพียงเล็กน้อย แถมยังเบี่ยงประเด็นแก้ข่าวให้ "หญิงเป็ด" อีกด้วย

ก็ไม่เป็นไร ไม่ว่ากัน เพราะวันนี้สื่อมวลชนยังมัวเมากับอำนาจมืดบางสิ่งบางอย่าง และมัวเมากับลัทธิหนึ่งที่คอยพูดจาโน้มน้าวให้คนทั้งหลายเชื่อ

แต่วันนี้ก็ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี เพราะมีสัญญาณที่ดีขึ้นบ้างแล้ว

พลังเงียบที่ไม่ได้มีปากมีเสียงนัก เริ่มจะออกมาเรียกร้องสิทธิของตัวเองกันมากขึ้น

พลังเงียบทั้งหลาย ถ้าคุณรำคาญกับสิ่งไม่ถูกต้อง ควรจะลุกขึ้นมาประกาศให้ทั่วโลกได้รู้ว่า เมืองไทยไม่ได้ถูกครอบงำเพียงแค่คนกลุ่มเดียว เมืองไทยยังเป็นประชาธิปไตยอยู่

เวลานี้ ถึงเวลากู้ชาติของจริงแล้ว อย่าเอาแต่บ่นอยู่ในบ้าน อย่ามัวแต่รำคาญอยู่ในใจ

ตอนนี้พวกเราต้องเร่งทำการ "กู้ชาติ" โดยด่วน ก่อนที่ประเทศชาติจะพังพินาศย่อยยับเสียหายไปมากกว่านี้

กู้ชาติ คืนกลับมาจากพันธมารทั้งหลาย

กู้ชาติ คืนกลับมาจากพรรคการเมืองอัปยศ

กู้ชาติ คืนกลับมาจากอำนาจมืด ที่ไม่มีความเป็นธรรม!

------------------------------

ลวดหนาม

จากหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ 24/06/2551

ลวดหนาม

จาก thai-grassroots

“เขาพระวิหาร” เรื่องร้อนเร่าของคนสวม “เขา(ควาย)”

สงสัยแค่ “ไฟใน” จะยังไม่พอ...

จึงได้เห็นความพยายามของคนบางกลุ่ม ที่จะดึง “ไฟนอก” เข้ามาเผาบ้านด้วย

ด้วยข้อหาว่ารัฐบาลกำลังจะ “ขายชาติ” (อีกแล้ว)

ยกเรื่อง “เสียดินแดน” มาตีไข่ใส่น้ำปลาหวังให้เป็นเรื่องเป็นราวฉาวโฉ่

ดูแล้วก็รู้ว่าไม่เกี่ยวอะไรกับความ “รักชาติ” หากแต่เป็นพฤติกรรม “คลั่งชาติ” ที่จะนำบ้านเมืองไปสู่ความเสียหายได้เห็นๆ

เป็นประเด็นบ้าๆ บอๆ ของ “พวกคลั่ง” ที่กระทั่ง “กัมพูชา” ก็ยังไม่กล้าไว้วางใจ

ต้องปิด “เขาวิหาร” เพราะหวาดระแวงว่าจะมีพวกคลั่งสวมรอยเป็นนักท่องเที่ยวไปก่อความวุ่นวาย

ไม่บอกก็เดาได้ ว่าความหวาดระแวงก่อตัวมาจากฝั่งไทย

รู้ไปถึงไหนอายไปถึงนั่น

จากที่เคยประกาศจะก้าวกระโดด เป็นประเทศชั้นนำของอาเซียน

ตั้งแต่รัฐประหาร ก็กลับลดความสง่างาม และการพัฒนาลงไปเยอะ

มาบัดนี้ “ประเทศไทย” ด้วยฝีมือคนล้าหลังบางกลุ่ม กำลังจะกลายเป็นเพียงประเทศของมนุษย์ถ้ำที่เอาประเด็นเชื้อชาติมาปลุกเป็นกระแสรุนแรงได้

ทั้งที่โลกวันนี้ ทุกประเทศทุกเชื้อชาติ มีการติดต่อเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างทันสมัย มุ่งสร้างมิตรไม่ใช่สร้างศัตรูอย่างเมื่อก่อนอีกแล้ว

เห็นแล้วน่าอนาถใจ เพียงเพราะต้องการ “ทำลายความน่าเชื่อถือ” ของรัฐบาล จึงพยายามหาทางทำลายในทุกวิถีทางไม่เว้นแม้แต่เรื่อง “เขาพระวิหาร” ที่ “ศาลโลก” ก็ตัดสินไปแล้วตั้งแต่ปีมะโว้

กลุ่มที่คิดเอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็น แสดงถึงความสิ้นไร้ไม้ตอก หมดหนทางในการชุมนุม จึงต้องหาเรื่องขึ้นมาเรื่อยๆ

น่าหัวเราะ...ที่ก็ยังอุตส่าห์มีอีกหลายคน หลายกลุ่ม “บ้าจี้” เต้นไปกับเขาด้วย

“เพี้ยนจัด” ถึงขนาดจะให้รัฐไทยเรียกร้องเอาดินแดนตั้งแต่สมัย “ขี้ม้าจับดาบทำศึก” คืนมาเป็นของสยาม

เพี้ยนขนาดนั้น ถ้าจู่ๆ “สหภาพพม่า” จะเอาอย่างมั่ง ลุกขึ้นมาเรียกร้องว่า “อยุธยา” ก็เคยเป็นของเขา อยากได้คืน มีหวังคงยุ่งพิลึก

เรื่องนี้จึงไม่มีอะไรมากไปกว่า “คนบ้า” ที่พยายามสร้างเรื่อง “เพี้ยน”

อย่างที่บอกว่า เห็นแค่ความวุ่นวายภายในประเทศมันยังเสียหายไม่สะใจ ต้องลากเอาประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงมาร่วมตอกลิ่มด้วย

ถ้าคนที่มีสติดีหน่อย ก็น่าจะมองออกได้แล้วว่า ใครกันแน่กำลังคิดคดทรยศต่อชาติของจริง.

76 ปีที่ยังสั่นคลอนพันธมิตรบิดเบือน ปชต.

คอลัมน์ : รายงานพิเศษ

24 มิถุยายน 2475 เป็นวันที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย เป็นครั้งแรก แต่จนถึงขณะนี้ ผ่านไป 76 ปี การตีความคำว่าประชาธิปไตยก็ยังไม่แตกฉาน เหมือนคนบางกลุ่มที่ออกมาเกะกะระราน ด้วยการอ้างสิทธิประชาธิปไตยอยู่ในขณะนี้...

ย้อนไปเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 เกิดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของการเมืองไทย ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎรได้นำทหารบกและทหารเรือ มารวมตัวกันบริเวณรอบพระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2,000 คน โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม

จากนั้น นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือนประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปจับกุมบุคคลสำคัญ เช่น ผู้สำเร็จพระนคร พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี และเข้ายึดจุดยุทธศาสตร์ของกรุงเทพฯ เพื่อทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย

หลักฐานหนึ่งที่บอกเล่าเรื่องราวได้เป็นอย่างดีคือ “หมุดคณะราษฎร” ที่ถูกฝังไว้บนถนนหน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่คณะราษฎรยืนอ่านแถลงการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันเป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยในประเทศไทย ดังข้อความที่ปรากฏบนหมุดคณะราษฎรว่า “ณ ที่นี้ คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ ๒๔ มิถุนายน เวลาย่ำรุ่ง”

แม้จะเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองมาแล้วกว่า 76 ปี แต่การต่อสู้ทางการเมือง ทางความคิดอุดมการณ์ ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่นำไปสู่การทำรัฐประหารแล้วถึง 10 ครั้ง ความบอบช้ำครั้งแล้วครั้งเล่าจากกิจกรรมทางการเมืองเกิดขึ้น ณ ถนนสายประวัติศาสตร์ราชดำเนิน สร้างความสะบักสะบอมมาอย่างต่อเนื่องจวบจนถึงปัจจุบัน และกลิ่นอายคราบเลือด คราบน้ำตา ก็ไม่เคยเหือดแห้งไปจากถนนสายนี้เลย...

เพราะปัญหาความแตกแยกความคิดเห็นทางด้านการเมือง ยังคงเกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย และทวีความรุนแรง จนน่าจะนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด หรืออาจกลายเป็นสงครามกลางเมืองได้ โดยที่มิได้นำประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเป็นบทเรียนเลยแม้แต่น้อย

เมื่อวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติ ได้ออกประกาศ เรียกว่า ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 อ้างเหตุผลความจำเป็นในการต้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยระบุถึงการจัดรูปแบบการปกครองอย่างเป็นระบบแบบเดียวกับนานาอารยประเทศ

พร้อมทั้งให้คำมั่นว่า “ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ”

ในครั้งนั้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งความเสียหายแก่บ้านเมือง และเนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงไม่ทรงขัดความปรารถนาของคณะราษฎร ที่ได้กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

โดยในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม...

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เหตุการณ์ความขัดแย้งทางความคิดที่รุนแรงจนเป็นเหตุให้คนไทยต้องจับอาวุธขึ้นมาห้ำหั่นกันเอง เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการรัฐประหารที่เกิดขึ้นแล้วถึง 11 ครั้ง เหตุการณ์ที่เรียกว่า กบฏ และเหตุการณ์ก่อความไม่สงบ อาทิ เหตุการณ์วันเสียงปืนแตก หรือการก่อการร้ายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2508 จนถึงสิ้นปี 2531 เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในวันที่ 17-20 พฤษภาคม 2535 และเหตุการณ์ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2517 จนถึงปัจจุบัน

เวลาที่ผ่านล่วงเลยมาถึง 76 ปี ความยากลำบากกว่าจะได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยของขุนพลคนกล้า มิได้นำพามาซึ่งความเจริญก้าวหน้า หากแต่วันนี้สถานการณ์บ้านเมืองดังเช่นที่คณะราษฎรได้หยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุผลในการปฏิวัติ ก็ยังคงมีอยู่อย่างครบถ้วนทุกประการ โดยเฉพาะการทำตนอยู่เหนือกฎหมายของคนบางกลุ่มบางพวก

การที่คณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เรียกชื่อกันต่อมาว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้ตัดสินใจร่วมกันก่อรัฐประหารล้มรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 นั้น มีข้ออ้างว่า ทหารจำเป็นต้องดำเนินการดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้คนไทยที่มีความคิดเห็นทางด้านการเมืองแตกต่างกันจับอาวุธขึ้นมาฆ่ากันเอง ระหว่างฝ่ายที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ กับฝ่ายสนับสนุนที่เป็นพวกของ พ.ต.ท.ทักษิณ

เมื่ออำนาจรัฐที่มาจากระบอบเผด็จการทหาร ไร้ความชอบธรรมในการบริหารประเทศ มิได้เป็นอำนาจที่มาจากประชาธิปไตยที่แท้จริง จึงจำเป็นที่จะต้องคืนอำนาจให้กับประชาชน

ซึ่งภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 23 ธันวาคม 2550 เมื่อพรรคพลังประชาชนได้เสียงข้างมากจากประชาชนให้เข้ามาบริหารประเทศ โดย นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ความคิดเห็นทางการเมืองได้เกิดความแตกแยกขึ้นอีกครั้ง ระหว่างกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มคัดค้านอย่างกลุ่มพันธมิตรฯ ที่กล่าวหาและมองว่า พรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ และดูเหมือนความขัดแย้งดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงขึ้น และอาจจะเป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่สงครามกลางเมือง

เพราะจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 สถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลสมัครที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ต่างกันกับการขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ กลุ่มพันธมิตรฯ ที่นำโดย นายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายพิภพ ธงไชย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานกลุ่ม ได้ใช้มาตรการ “ชุมนุมใหญ่” เพื่อกดดันและขับไล่นายกรัฐมนตรี และคนกลุ่มนี้ไม่เคารพซึ่งกติกาบ้านเมือง ไม่รู้จักคำว่า “ความพ่ายแพ้” แม้คนกลุ่มนี้จะขับไล่รัฐบาลได้สำเร็จ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็จะเปลี่ยนได้แต่รัฐบาล

ซึ่งก็เป็นเพียงผู้บริหารระบอบเท่านั้น ไม่ได้นำมาสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะในเมื่อผู้ที่พยายามขับเคลื่อนไม่เคารพกฎหมายของบ้านเมือง การต่อสู้ของพันธมิตรฯ ก็จะไม่ได้ประชาธิปไตยตามที่ต้องการ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจจะซ้ำรอยประวัติศาสตร์การเมือง เฉกเช่นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พฤษภาทมิฬ และรัฐประหาร 19 กันยายน สุดท้าย ประชาชนคือผู้ที่ได้รับความบอบช้ำทางการเมืองมากที่สุด

สิ่งที่กลุ่มพันธมิตรฯ กำลังดำเนินการ ถือเป็นองค์การมวลชนของระบอบเผด็จการรัฐประหาร ที่เคลื่อนไหวเพื่อให้ทหารทำรัฐประหารโค่นรัฐบาล ก็เท่ากับเผด็จการชนะ แต่ประชาชนก็ยังคือผู้พ่ายแพ้อยู่ดังเดิม

ความพยายามของกลุ่มพันธมิตรฯ เริ่มต้นที่การรวมตัวชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2550 รวมทั้งมีการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อถอดถอน ส.ส. ส.ว. ที่เข้าชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 พร้อมทั้งกล่าวหาถึงขบวนการสาธารณรัฐ ที่ต้องการล้มล้างสถาบันกษัตริย์

จากนั้นได้เคลื่อนขบวนไปปักหลักยังหน้าทำเนียบรัฐบาล แต่ติดอยู่เพียงแค่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กั้นไว้ อีกทั้งท้ายขบวนยังมีการปะทะกับกลุ่มผู้ต่อต้านกลุ่มพันธมิตรฯ ด้วย จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย

ต่อมา กลุ่มพันธมิตรฯ ประกาศเปลี่ยนเป้าหมายในการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสมัครลาออกทั้งคณะ เพื่อรับผิดชอบต่อปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้น และยังกล่าวหาด้วยว่า รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลังจากนั้น นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ขึ้นเวทีปราศรัย แล้วประกาศต่อสู้กับรัฐบาลสมัครขั้นแตกหัก ด้าน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก็ออกมาย้ำจุดยืนว่า จะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และจะไม่ย้ายสถานที่ชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ไปที่ทำเนียบรัฐบาล แม้ตำรวจจะเปิดทางให้ก็จะไม่ไป

ต่อมา วันที่ 6 มิถุนายน 2551 พันธมิตรฯ ประกาศใช้ยุทธศาสตร์ดาวกระจาย นายสุริยะใส กตะศิลา และผู้ร่วมชุมนุม 300 คน เดินทางไปที่สำนักงานอัยการสูงสุด แล้วยื่นจดหมายถึง นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด จากนั้นเคลื่อนขบวนมุ่งหน้าสู่กระทรวงมหาดไทย เพื่อยื่นหนังสือถึง ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้ดูแลและแก้ปัญหาของประชาชนมากกว่าการโต้ตอบทางการเมือง

รวมทั้งยังเดินทางไปชุมนุมประท้วงที่ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อถามหาความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ จากนั้นมาชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศ เพื่อขับไล่ นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร

และล่าสุด พันธมิตรฯ ประกาศสงคราม 9 ทัพ เคลื่อนพลฝ่าด่านเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยึดพื้นที่ปักหลักด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล ฝั่งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เป็นผลสำเร็จ โดยผู้ชุมนุมบางส่วนได้เข้ายึดพื้นที่หน้าทำเนียบรัฐบาลได้ก่อน ซึ่งนำโดย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข และ นายพิภพ ธงไชย ได้เข้าไปสมทบกับขบวนชุมนุมที่แยกนางเลิ้ง ที่มี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เข้ากดดันเจ้าหน้าที่ตำรวจจนถอนกำลังออกไป

จากนั้นได้รวมพลทั้งหมดมายังสะพานชมัยมรุเชฐ จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องล่าถอยออกไปอีกจุดได้เป็นผลสำเร็จ ล่าสุด แกนนำได้ขึ้นเวทีประกาศชัยชนะต่อการเคลื่อนขบวนในครั้งนี้ และปราศรัยอย่างต่อเนื่องทั้ง 2 เวที โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตรึงกำลังอยู่อย่างใกล้ชิด

ความต้องการที่จะเอาชนะทางการเมืองโดยไม่เคารพกฎหมายใดๆ ของบ้านเมืองเช่นนี้ มีเหตุอันเชื่อได้ว่า เป็นการกระทำของพวกที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ของบ้านเมือง และไม่เคารพในทั้ง 3 สถาบัน

ครั้งหนึ่งเราเคยเสียเลือดเสียเนื้อเพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย เหตุใดเล่า เราจึงไม่ทำให้ประชาธิปไตยดำเนินไปตามครรลองแห่งรัฐธรรมนูญ

จงหยุดคุกคามกระบวนการประชาธิปไตย


จ๋อย (คอลัมน์ : โต๊ะข่าวประชาทรรศน์)

คอลัมน์ : โต๊ะข่าวประชาทรรศน์

ใครที่ได้ชมการถ่ายทอดสดการอภิปรายไม่ไว้วางใจของสมาชิกวุฒิสภา 61 คน แล้วน่าจะคิดเหมือนผมว่า ถึงแม้จะไม่ได้มีสาระอะไร แต่ก็ออกจะเพลิดเพลินดี

อาจจะเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่บันเทิงที่สุด ตั้งแต่ผมริอ่านติดตามข่าวสารการเมืองมาเลยทีเดียว

เอาเฉพาะแค่เห็น ส.ว. 2 ท่านแรกอภิปราย ก็ได้ฮากันเสียแล้ว เพราะทั้ง คำนูณ สิทธิสมาน และ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ออกมาอ่านคำอภิปรายชนิดคำต่อคำ ครบถ้วนทุกตัวอักษร

ทีแรกก็แอบขัดใจอยู่ว่า ทำไมประธานวุฒิสภาถึงได้ปล่อยให้สมาชิกออกมาอ่านบทความได้เป็นนานสองนาน เพราะมันผิดข้อบังคับสภา

ด้วยประการหนึ่ง การจะนำอะไรมาอ่านจะต้องขออนุญาตจากประธานในที่ประชุมเสียก่อน และอีกประการหนึ่งคือ จะอนุญาตให้อ่านได้เฉพาะเอกสารอื่นที่นำมาอ่านอ้างอิงประกอบคำอภิปรายเท่านั้น

ไม่ใช่เป็นการเขียนบทมาอ่าน หรือมาพูดตามโผที่อาจจะมีใครร่างมาให้

ที่สำคัญ ท่านเป็นวุฒิสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ไม่ใช่นกแก้ว นกขุนทอง ที่จะออกมาพูดจาเจื้อยแจ้วไร้อารมณ์เช่นนี้

โดยเฉพาะในราย ม.ร.ว.ปรียนันทนา ท่านอ่านไปมือก็สั่น เสียงก็สั่น ไม่รู้จะด้วยวัยของท่าน หรือเป็นเพราะประหม่าก็ไม่รู้ได้ เพราะในบางท่อนบางตอน ก็ยังอ่านโผที่ท่านนำมาเองผิดๆ ถูกๆ เอาดื้อๆ

ส่วนในรายของ คำนูณ สิทธิสมาน ได้เห็นสีหน้าตอนที่นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ลุกขึ้นมาชี้แจง พร้อมทั้งสอนมวยเข้าให้แล้ว ก็สุดจะเดาความรู้สึก

พรรคพวกที่ดูการอภิปรายอยู่ด้วยกันบอกว่า หน้านิ่งๆ อย่างนั้นสงสัยจะเคียดแค้นน่าดู

แต่สำหรับผมกลับมองว่า อาการอย่างนี้ เป็นอาการหน้าถอดสีที่ออกอาการหงอย และ “จ๋อย” อย่างเห็นได้ชัด

เพราะเรื่องที่อ่านให้ที่ประชุมสภาฟัง พร้อมทั้งถ่ายทอดไปทั่วประเทศนั้น โดนตอกกลับด้วยเหตุด้วยผลอย่างชัดแจ้งจนถึงกับหน้าหงาย

ลำพังแค่เรื่องพื้นๆ อย่างที่ท่านนายกฯ ย้อนที่มาที่ไปของ “นายคำนูณ” ก็โดนใจผมเสียแล้ว

เพราะคงเป็นที่รู้กันดีว่า นายคำนูณ เป็นคนจากค่ายผู้จัดการ ที่ฝังรากอยู่กับ สนธิ ลิ้มทองกุล มายาวนาน

มีอาชีพในการเขียนบทความ และจัดรายการทางสถานีโทรทัศน์ ASTV ด่ารัฐบาล ตามแนวทางเดียวกันกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ได้ดิบได้ดีเข้ามาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หลังการปฏิวัติรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และมีโอกาสอันสำคัญในการร่วมผ่าน รธน.50 ท่ามกลางบรรยากาศเผด็จการ

และเมื่อมีการสรรหาวุฒิสมาชิกกึ่งหนึ่งเข้าสู่สภา โดยกรรมการสรรหาที่เป็นผลพวงจากการรัฐประหาร ก็มีชื่อของคำนูณกลับเข้ามามีบทบาทในสภาอีกครั้ง

เป็นที่มาแบบเดียวกันกับ ส.ว. เกือบทั้งหมด ที่ร่วมกันลงชื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ผมเชื่อว่าการอภิปรายครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีคงไม่ได้รู้สึกหนักใจอะไรที่จะต้องตอบคำถามที่มีความพยายามกล่าวหาเหล่านี้ แต่อาจจะดูเป็นเรื่องน่ารำคาญใจมากกว่า ในความพยายามที่มีการดำเนินการกันเป็นขบวนการ

ขณะเดียวกัน ในการอภิปรายช่วงบ่าย ที่วุฒิสมาชิกบางคนออกมาติงว่า เป็นเวทีอภิปรายรัฐบาล ไม่ใช่การให้รัฐบาลอภิปรายสมาชิกวุฒิสภานั้น

ผมกลับมองกลับกันว่า การตอบคำถาม และย้อนกลับไปที่ความไม่ถูกต้อง ความคลาดเคลื่อนในการอภิปราย ก็เป็นเพียงคำชี้แจง

หรือหากจะมองให้มากไปกว่านั้น ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นการสอนมวย ที่เกิดจากการเปิดช่องโหว่ หรือการอ่อนซ้อมของผู้อภิปรายเอง

เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ที่บรรดา ส.ว. ทั้งหลาย มีข้อมูลเพียงบางๆ จะถูกตอบโต้ หรือบางเรื่องก็เข้าขั้นรู้ไม่จริง จะถูกตอกกลับไปบ้าง

ส่วนประเด็นที่จั่วเอาไว้ข้างต้นนั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายความคำว่า “จ๋อย” ไว้ว่า เป็นอาการ ซีดเซียว หงอยเหงา สลด อย่างเช่น “หน้าจ๋อย”

เป็นคำอธิบายกิริอาการของ คำนูณ สิทธิสมาน ในยามฟังการชี้แจงของ สมัคร สุนทรเวช ได้เป็นอย่างดี

และไม่เห็นมีท่าทีเก่งกาจเหมือนเวลาที่แสดงบทบาทอยู่นอกสภาแม้แต่น้อย

ทางที่ดี ลาออกไปร่วมกับเวทีม็อบนอกสภา ดูท่าจะมีอนาคตกว่ากันเยอะ...!!

บิ๊กโบ๊ต



วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ทำไมยุทธวิธีก่อม็อบล่อให้ยิงที่ พล.ต. จำลอง ใช้ กับรัฐบาลสมัคร จึงไม่ได้ผล

บทความ โดย ลูกชาวนาไทย


ยุทธวิธีการใช้ม็อบต่อต้านกับรัฐบาลพลเรือนนั้น มันไม่มีทางได้ผลหรอกครับท่าน "แม่ทัพจำลอง ศรีเมือง" มันเป็นการใช้ยุทธวิธีที่ผิดประเภท

ผมเพิ่งตกผลึกทางความคิดเมื่อคืนนี้เองว่าทำไม คนที่ชำนาญทางยุทธวิธีอย่าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง" จึงล้มเหลวในการต่อสู้กับรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช

จุดสำคัญมันอยู่ที่ "ยุทธวิธี
ที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ใช้ ยุทธวิธีแบบนี้ (คือล่อให้ตี) มันจะใช้ได้ผลกับรัฐบาลทหารเท่านั้น แต่กับรัฐบาลพลเรือนแล้ว มันจะใช้ไม่ได้ผลอย่างสิ้นเชิงเลย แต่ พล.ต.จำลอง ก็ก็อบปี้ เอายุทธวิธีที่เคยใช้ได้ผลในช่วงพฤษภาทมิฬ ในการต่อต้านรัฐบาลทหารของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร มาใช้อีก ไม่ได้มีอะรพัฒนาขึ้นมาใหม่เลย เรียกว่าขั้นตอนต่างๆ เหมือนเดิมเด๊ะ

เราจะเห็นได้ว่า การล้อมปราบม็อบ การสลายม็อบ นั้นมักเกิดกับรัฐบาลทหาร หรือรัฐบาลที่มีรากฐานมาจากทหาร เช่น สมัยจอมพลถนอม 14 ตุลาคม 2516 สมัยสุจินดา พฤษภาทมิฬ 2535 และรัฐบาลทหารพม่า ในหลายๆ ครั้ง รวมทั้งรัฐบาลจีน ที่มักจะปราบม็อบ สลายม็อบด้วยการวิธีรุนแรง และทำให้เลือดนองแผ่นดินเสมอ

เพราะรัฐบาลทหารเหล่านี้ มักมีความอดทนต่อม็อบต่ำมาก และผู้มีอำนาจมักคิดในใจ รวมทั้งการตั้งกองบัญชาการ ขึ้นมาเพื่อสลายม็อบให้ได้ รากฐานความคิดของทหารคือ ม็อบคือภัยคุกคาม จะต้องปราบหรือสลาย ให้สิ้นซาก ต้องขับให้สลายให้ได้ และการสลายม็อบ รัฐบาลทหารมักจะใช้ กำลังทหารเป็นเครื่องมือสำคัญ คือ ผิดทั้งแนวคิดที่คิดสลายม็อบ ผิดทั้งการใช้กำลังทหาร

ทหารนั้นถูกฝึกมาให้ ฆ่าและทำลาย เป็นความเชี่ยวชาญของทหาร เมื่อรัฐบาลใช้ทหารให้ไปสลายม็อบ ทหารก็จะวางยุทธวิธี เหมือนรบกับข้าศึกว่า จะใช้กำลังเข้าบดขยี้ในขั้นตอนใด การสั่งทหารออกมารับมือกับม็อบ เราย่อมคาดการณ์ได้เลยว่า นองเลือดแน่ เพราะเครื่องมือที่ กองทหารเหล่านี้เอามาสลายม็อบ คือ ปืนกลยิงเร็ว รั้วลวดหนาม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ควรใช้กับอริราชศัตรูของประเทศ ไม่ใช่เอามาทำลายล้างประชาชนของตนเอง


นอกจากนี้ ทหารมักหยิ่งในศักดิ์ศรีว่า "จะถอยไม่ได้แม้แต่ก้าวเดียว" เพื่อม็อบดันเข้ามา ทหารจะไม่ยอมถอย ไม่ยอมเปิดทางให้ เพราะคิดว่า การถอย การเปิดทาง คือความพ่ายแพ้ ชายชาติทหารจะไม่ยอมแพ้คนที่ไม่มีอาวุธเด็ดขาด มันเสียศักดิ์ศรี และทหารก็จะใช้กำลังอาวุธที่เหนือกว่าเข้าบดขยี้ม็อบในทันทีทันใด

และนั้นก็คือ ความพ่ายแพ้ทางการเมืองของรัฐบาลทหาร เพราะทันทีที่นองเลือดผลต่อเนื่องจะตามมาทันที

แต่รัฐบาลพลเรือนนั้นตรงกันข้าม รัฐบาลพลเรือนไม่ได้มีความคิดในใจตั้งแต่ต้นว่า จะสลายม็อบ หรือม็อบไม่ได้เป็นภัยคุกคามแต่ประการใด เมื่อมีม็อบก็ต้องมีการเจรจา ม็อบจะบุกยึดสถานที่ใด เป็นระยะเวลานานๆ รัฐบาล พลเรือน ไม่ได้รู้สึกว่ามันจะเสียหน้าแต่ประการใด อยากยึด อยากอยู่นานๆ ก็อยู่ไป และรัฐบาลพลเรือน จะตั้งผู้แทนเข้าเจรจากับม็อบ และผู้เจรจาส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีอำนาจสั่งการใช้กำลังอยู่ในมือ ดังนั้น เมื่อเจรจาไม่สำเร็จ ก็เจรจากันต่อไปเท่านั้น ไม่ได้รู้สึกเสียหน้าแต่อย่างใด

กำลังที่รัฐบาลพลเรือนใช้ มักเป็นตำรวจ ตำรวจได้รับการฝึกให้ทำงานกับประชาชน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับราชการ เพราะงานของตำรวจคือ การบริการประชาชน ตำรวจต้องเจรจากับประชาชนตลอดเวลา ต้องติดต่อ กับประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง

ตำรวจต้องเผชิญหน้ากับผู้ต้องหาที่ยียวนกวนประสาทมากมาย ต้องเผชิญกับผู้ร้าย เผชิญกับการหลอกล่อ กับเกมตลอดเวลา ดังนั้น การเจรจากับม็อบ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ไม่ใช่ผู้ร้ายแต่ประการใด ตำรวจจึงรับมือได้ง่ายกว่ามาก

เมื่อม็อบบุกเข้ามา ตำรวจถอย ก็ไม่ได้ถือว่าเสียศักดิ์ศรีแต่อย่างใด ตำรวจไม่ได้ถูกสอนให้ "รักษาพื้นที่ไว้ แม้ตัวจะตายก็ตาม" ตำรวจถูกสอนให้เจรจากับคน ไม่ใช่ป้องกันพื้นที่ การถอยจึงทำได้ง่ายๆ เพื่อไปเปิดที่ใหม่

ดังนั้น การรับมือกับม็อบ โดยตำรวจจะไม่มีการเสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด อย่างมากก็ตีกันบาดเจ็บหัวร้างข้างแตกกันไปบ้าง แต่ไม่มีการยิงกันแบบเลือดนองแผ่นดินอย่างแน่นอน


ยุทธวิธีที่ พล.ต.จำลอง เคยใช้ได้ผล กับรัฐบาลสุจินดา ในการยั่วยุเพื่อให้เกิดการนองเลือด เพื่อให้มี "นายหน้า" มาพาจำลองกับนายกฯ สมัครไปให้พ่ออบรมสั่งสอน จึงไม่มีทางเกิดขึ้นได้


พล.ต.จำลอง ใช้ยุทธวิธีที่เหมือนกัน กับศัตรูที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ใช้ยุทธวิธีเดียวกับที่เคยใช้กับศัตรูอีกกลุ่มหนึ่งได้ผล มาใช้กับศัตรูอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีพื้นฐานพฤติกรรมที่แตกต่างกัน

รัฐบาลพลเรือน ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จสลายม็อบ ไม่ได้ใจร้อนเหมือนรัฐบาลทหาร ที่ต้องการกำจัดม็อบให้สิ้นซากเสียโดยไว รัฐบาลพลเรือนไม่แคร์ หากตึกโดนม็อบเผา เพราะโดนเผา ก็ประมูลสร้างใหม่ได้ เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้เสียอีก

ดังนั้น พล.ต.จำลอง จึงเป็นผู้ที่ หลงกับดักความสำเร็จของตนในอดีต แล้วเอายุทธวิธีเดิมๆ ที่ตนเคยใช้สำเร็จในสงครามในอดีต มาใช้กับสงครามครั้งใหม่ กับศัตรูใหม่

แม่ทัพที่ยึดติดกับความสำเร็จของตนในอดีต เช่นนี้ จะเป็นอันตรายต่อกองทัพอย่างยิ่ง เพราะเขาจะไม่ยอมเปิดใจ รับอะไรใหม่ๆ เลย และยุทธวิธีของเขานั้น ศัตรูทุกคนก็คาดการณ์ออก ต่อให้เป็นนายทหารจบใหม่ ก็เดาออกว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จะใช้ยุทธวิธีใดอีก ในขั้นตอนต่อไป

ม็อบเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เราจะเห็นว่า พล.ต. จำลองจะทำเหมือนเดิมทุกอย่าง เช่น การนั่งอยู่ท่ามกลาง กลุ่มผู้หญิงและเด็ก เพื่อไม่ให้ หน่วยคอมมานโด ชาร์จ เข้าถึงตัวได้โดยง่ายๆ (แต่ครั้งนีไม่มีคอมมานโดคนไปสนใจ)


การล้มรัฐบาลสมัคร โดยยุทธวิธีใช้ม็อบกดดัน มันไม่มีทางสำเร็จแล้วล๊ะครับ ต่อให้ม็อบอยู่ยาวนานเป็นเดือนเป็นปีก็ตาม เพราะเมื่อรัฐบาลพลเรือน ไม่ปราบม็อบ การนองเลือด ก็ไม่มี และผลต่อเนื่องของการนองเลือดก็จะไม่มี การใช้เป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารก็ไม่เกิดขึ้นได้ หรือการสร้างกระแสประณาม ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้

และ "คนกลางบ้านสี่เสา" ก็จะแต่งตัวเก้อ ไม่มีโอกาสเป็นนายหน้า พา พล.ต.จำลอง ไปพบใครอีก

ผู้กำกับคนเดิม ฉากเหมือนเดิม แต่นี่มันเป็นปี 2008 แล้ว ไม่มีใครโง่ เดินตามเกมของ พล.ต. จำลองไม่ทันหรอกนะครับ

ผมไม่เชื่อว่า พล.ต. จำลองจะฉลาดกว่าทุกคนในประเทศนี้ จำลองก็แค่คนหัวดื้อ ซึ่งในบางสถานการณ์การใช้คนหัวดื้อ ดันทุรังก็ได้ผล บางสถานการณ์ หัวดื้อและดันทุรังไปมันก็ไม่มีประโยชน์ ทำให้เสียหายหนักขึ้นไปอีก

สุดท้ายเกมการเมือง "หากไม่มีรัฐประหาร" มันก็จะไปตัดสินกันที่สภา

ประธานาธิบดีมาปากัล คอโรโยแห่งฟิลิปปินส์ เผชิญหน้ากับม็อบมาหลายปีแล้ว ก็ไม่เห็นม็อบจะล้มล้างลงไปได้เลย เพราะไม่มีทหารทำรัฐประหาร ดังนั้น เมื่อมีม็อบก็ต้องเจรจา ไม่เจรจา ม็อบก็ต้องรอ และหากคนเจรจาไม่ตกลง ม็อบก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะม็อบไม่มีอำนาจบังคับให้รัฐบาลต้องทำตาม เมื่อรัฐบาลไม่ทำตามม็อบ การขู่ว่าจะเผาสถานที่ราชการ ก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด เมื่อสมัครไม่ลาออก ม็อบก็ได้แต่แสดงความ "บ้าคลั่ง" ฟาดงวงฟาดงาไปเท่านั้น แต่ก็ไม่มีปืนไปจี้ให้สมัครลาออกได้

ยกเว้นว่า "ม็อบนั้นจะเป็น ฐานเสียงของรัฐบาล" รัฐบาลกลัวเสียคะแนนเสียง เช่นม็อบชาวนาเรียกร้องเรื่องข้าว รัฐบาลก็จะยอมเจรจา

แต่ม็อบพันธมิตร ไม่ใช่ฐานเสียงของพรรคพลังประชาชน ตรงกันข้ามเป็นศัตรูทางการเมืองกันด้วยซ้ำ

ผมจึงไม่เห็นประโยชน์ที่จะไปเจรจา และหากไม่เจรจา ม็อบก็ทำอะไรเราไม่ได้ นอกจากคลั่งเผาสถานที่ราชการ หากเป็นอย่างนั้น ก็ใช้คอมมานโด บุกจับแกนนำ และตั้งข้อหา ก่อจลาจล

ผมคิดว่าม็อบที่หน้าทำเนียบรัฐบาลขณะนี้ เป็นม็อบน่าสงสารที่สุด มองอนาคตไม่เห็น และหาทางลงไม่ได้เลย


จาก thaifreenews

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker