บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

เฉลิมมอบนโยบาย'3ก.'ให้ตำรวจ เร่งสางปม13ศพเสื้อแดง

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



"เฉลิม" บุก บช.น. มอบนโยบาย 3 ก.เร่งสางปมฆ่า 13 ศพแดง

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี
ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์
ถึงความคืบหน้าในการเคลียร์คดีการชันสูตรพลิกศพ 13 ศพเสื้อแดง ว่า
เย็นวันเดียวกัน จะเดินทางไป บช.น.
ตนไม่อยากทำงานแบบไฟไหม้ฟาง ต้องถามทำได้หรือไม่
ทำได้เพราะอะไร หลักกฎหมายถูกต้องหรือไม่
หรือทำไม่ได้เพราะอะไร
อย่าเอาไปเก็บ แล้วอย่าไปแกล้งและอย่าไปกลัว
ตนจะมอบนโยบาย 3 ก. ให้แนวทางแก่ บช.น.
ในฐานะเคยเป็นพนักงานสอบสวนเก่า คือ

1.อย่าเอาเรื่องไปเก็บ

2.อย่าไปแกล้ง

3.อย่าไปกลัว

ซึ่งคาดว่าในเร็วๆ นี้มีความคืบหน้าแน่นอน
เพราะก่อนที่ตนจะส่งเรื่องไปตนตรวจสอบแล้วว่าหลักฐานใช่.


http://www.thairath.co.th/content/pol/205721

นิติราษฎร์ที่ไม่กลัวใคร ลุยสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ (หม่อมปลื้ม)

ที่มา thaifreenews

โดย NuDang




เราควรให้บทเรียน กับคณะ ปฏิวัติ....

ว่าอย่าได้มากล่าวอ้างเอาสถาบันมาบังหน้า

เพื่อเป็นเหตุผลในการปฏิวัติ

นิติราษฎร์พร้อมนั่งส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญผลักดันล้างรัฐประหาร

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



นักวิชาการในคณะนิติราษฎร์ประกาศพร้อมร่วมเป็น ส.ส.ร. ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ระบุไม่มีเหตุผลที่จะปฏิเสธ เพราะเป็นการทำงานทางนิติศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
แต่จะไม่ขอเข้าร่วมงานที่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือพรรคการเมืองโดยตรง
ยันพร้อมดีเบตกับผู้ที่คัดค้านข้อเสนอลบล้างผลพวงรัฐประหารวันที่ 19 ก.ย. 2549 ทุกเวที
“วรเจตน์” ย้ำรัฐธรรมนูญใหม่มีสิทธิประกาศโมฆะสิ่งที่เกิดขึ้นทางกฎหมายได้
อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ข้อเสนอจะเป็นจริงได้หากรัฐบาลรับเป็นเจ้าภาพ
โดยต้องเริ่มต้นจากแก้มาตรา 291 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. แต่รัฐบาลคงคิดหนักเพราะมีแรงเสียดทานมาก
โดยเฉพาะจากกองทัพที่ไม่เห็นด้วย

นายธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หนึ่งในแกนนำคณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ยืนยันว่า ไม่ได้ออกมาเคลื่อนไหว
เพื่อให้มีตำแหน่งในคณะกรรมการต่างๆที่รัฐบาลจะตั้งขึ้น
โดยเฉพาะการเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)

“ถ้าเป็นเรื่องการเมืองแท้ๆพวกเราไม่เข้าไปยุ่ง
แต่หากเป็นการเข้าไปทำงานทางด้านนิติศาสตร์ เช่น
การยกร่างรัฐธรรมนูญ เราไม่ได้ปิดกั้นว่าสมาชิกจะไปหรือไม่” นายธีระกล่าวพร้อมย้ำว่า
งานที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง พรรคการเมือง
แต่เป็นงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเราพร้อมเข้าไปทำ
แต่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสมาชิกแต่ละคน เรื่องยกร่างรัฐธรรมนูญเรามีข้อเสนออยู่แล้ว
หากมีคนเชิญไปทำงานนี้ไม่มีเหตุผลที่จะปฏิเสธ



http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=12244

สำนึก สำเหนียก เตือนจาก "นิติราษฎร์" ต่อ "รัฐประหาร"

ที่มา มติชน



(ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 30 กันยายน 2554 หน้า3)



ไม่ได้แปลกใจกับอาการอันมาจาก พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ไม่ได้แปลกใจกับอาการอันมาจากนายสกลธี ภัททิยะกุล

ต่อแถลงการณ์ 5 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ของ "คณะนิติราษฎร์"

เพราะคนเหล่านี้ล้วนเสพเสวยผลพวงของการรัฐประหารไม่โดยตรงก็โดยผ่านทางบุพการีจึงล้วนมีความจำเป็นต้องอ้าขาผวาปีก

ทั้งไม่ได้แปลกใจกับอาการอันมาจากหลายคนในพรรคประชาธิปัตย์

ทั้งไม่ได้แปลกใจกับน้ำเสียงและท่าทีอันปรากฏผ่านพาดหัวและการแสดงความคิดเห็นของสื่อบางสื่อ บางคน

แม้ว่าจะเป็นการออกมาให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหารก็ตาม

คน เหล่านี้ลืมไปแล้วว่าเคยเจ็บปวดกับประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17 ในยุค จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อันพัฒนามาเป็นประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 42 ในยุค จอมพลถนอม กิตติขจร อย่างไร

คนเหล่านี้ลืมไปแล้วว่าเคยคัดค้าน ต่อต้านกระทั่งได้รับการยกเลิกไปแล้ว

การ ยกเลิกประกาศและผลพวงอันเนื่องแต่การรัฐประหารมิได้เป็นเรื่องเหลือเชื่อ มิเช่นนั้นประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 คงไม่ถูกที่ประชุมผู้พิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยในลักษณะเสียของ

กระนั้น คำถามยังอยู่ที่ว่าแล้วรัฐประหารเมื่อ 5 ปีก่อนเป็นความสำเร็จจริงละหรือ

ณ วันนี้ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม อาจได้เป็น ส.ว.ในซีกสรรหา ณ วันนี้ นายสกลธี ภัททิยะกุล อาจได้เป็น ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์

เช่นเดียวกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ได้เป็น ส.ส.พรรคมาตุภูมิ

แล้วถามว่ากระบวนการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 สามารถ "ขจัด" พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกไปได้ตามเป้าหมายหรือไม่

อาจ "กำจัด" ให้พ้นไปจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

อาจ "กำจัด" ให้มีการยุบพรรคไทยรักไทยโดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งแต่งตั้งโดยอำนาจของคณะรัฐประหาร

อาจ "กำกัด" มิให้เดินทางเข้ามาในประเทศได้

แต่ทุกฝ่ายแม้กระทั่ง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หรือ พล.อ.วินัย ภัททิยะกุล ก็ยอมรับว่ายังไม่สามารถ "ขจัด" ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

หากขจัดได้เมื่อกำจัดพรรคไทยรักไทยไปแล้วเหตุใดยังมีพรรคพลังประชาชน

หากขจัดได้เมื่อกำจัดพรรคพลังประชาชนไปแล้วเหตุใดยังมีพรรคเพื่อไทย

หาก ขจัดได้เมื่อกำจัดและกำกัด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไปแล้ว เหตุใดยังมี นายสมัคร สุนทรเวช ยังมี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และแม้กระทั่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

รัฐประหารจึงเหมือนกับ "ชนะ" แต่ก็มิได้เป็นชัยชนะอย่างแท้จริง

ไม่ ต้องให้พรรคเพื่อไทย ไม่ต้องให้ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ไม่ต้องให้คณะนิติราษฎร์หรอกที่จะมาสำแดงให้เห็นถึงความสูญเปล่าของการรัฐ ประหารเมื่อ 5 ปีก่อน

แม้กระทั่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็สรุปว่า "เสียของ"

เสียของเมื่อมีการผลักดัน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ภายในร่มเงาของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)

เพราะในที่สุดเลือกตั้งทั่วไปเดือนธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนก็ชนะ

เสีย ของเมื่อมีความพยายามทุกอย่างเพื่อล้มรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ กระทั่งในที่สุดยุบพรรคพลังประชาชน แล้วจัดตั้งรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในค่ายทหาร

โอบอุ้มแม้ว่าจะนำไปสู่ความสูญเสียชีวิตของประชาชนกว่า 90 บาดเจ็บพิการร่วม 2,000 ถูกจับกุมคุมขังด้วยข้อหาร้ายแรงสารพัดเกือบ 300 คน

แต่เมื่อเลือกตั้งทั่วไปเดือนกรกฎาคม 2554 ก็พ่ายแพ้พรรคเพื่อไทยอย่างยับเยิน

ถาม ว่าพรรคเพื่อไทยมิได้ต่อยอดมาจากพรรคพลังประชาชน มิได้เป็นผลพวงความสำเร็จมาจากพรรคไทยรักไทยหรอกหรือ ยิ่งกว่านั้น ทั้ง นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มิได้เป็นการเสกปั้นจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรอกหรือ

ชัยชนะทั้งหมดนี้มาจากการตัดสินใจเลือกของประชาชนอันเป็นเสียงส่วนใหญ่

หากต้องการดำรงและรักษา "อำนาจ" เอาไว้ให้ยืนยาวมีความจำเป็นต้องศึกษา สรุปอย่างจริงจัง

สรุป ว่าเหตุใดรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 จึงล้มเหลว สรุปให้รู้ถึงสาเหตุ มูลเชื้อและความคิดชี้นำอันเป็นเครื่องกำหนดเป้าหมายในทางยุทธศาสตร์และ ยุทธวิธี

แล้วบทสรุปก็จะนำไปสู่สำเหนียกแห่งเสียงเตือนว่า-อย่าทำอีกเลย

“ปู” เรียกประชุมรมต.พรรค พท. แก้น้ำท่วม สั่งกระจาย รมต. ลงพื้นที่

ที่มา ข่าวสด

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ในช่วงเช้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังบ้านพิษณุโลก เพื่อเรียกประชุมรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ทั้ง 22 คน โดยมีรัฐมนตรีของพรรคทยอยเดินทางเข้าร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง อาทิ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล รมว.ศึกษาธิการ เป็นต้น

ต่อ มา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เผยว่านายกรัฐมนตรีเรียกประชุมรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยหารือเรื่องการแก้ไข ปัญหาน้ำท่วม เรื่องการเตรียมตัวเข้าประชาคมอาเซียน และเรื่องงบประมาณทั่วไปที่แต่ละกระทรวงตั้งไว้นั้นนายกฯย้ำว่าต้องใช้ได้ จริง โดยหากปรากฏว่าครึ่งปีงบประมาณแล้วไม่สามารถบรรลุเป้าหมายหรือผลงานได้จะให้ ตัดและเรียกคืน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ทุกกระทรวงจะได้ขยันทำงาน

สำหรับนโยบายที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีต่างๆลงพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมนั้น มีกำหนดการลงพื้นที่ ดังนี้

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะลงพื้นที่จ.สิงห์บุรีในวันที่ 2 ต.ค. เพื่อไปดูการระบายน้ำ ที่ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี และเดินทางไปเยี่ยมประชาชนที่จ.พระนครศรีอยุธยา

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน ลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก


นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.พาณิชย์ ลงพื้นที่จังหวัดพิจิตร


พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก. รมช. คมนาคม พร้อมกับนายพายัพ ปั้นเกตุ และนายสุรสาล ผาสุก ส.ส.สิงห์บุรี พรรคเพื่อไทยลงพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี


นายวิทยา. บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นพ.สุรวิทย์. คนสมบูรณ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดนครราชสีมา


นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดชัยนาท และอุทัยธานี

น.ส. กฤษณา สีหลักษณ์ รมต. ประสำนักนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดอ่างทอง

วันกลับบ้านเลี้ยงหลาน

ที่มา มติชน



โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน

(ที่มา คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 30 กันยายน 2554)

ถึง วันสิ้นปีงบประมาณ 30 กันยายน และย่างเข้าสู่วันเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ 1 ตุลาคมแล้ว โดยระบบราชการไทยนั้น ถือเป็นวันเริ่มต้นตำแหน่งหน้าที่ใหม่สำหรับผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งโยกย้าย ในวาระประจำปี

สำหรับข้าราชการที่ครบอายุ 60 ปี วันนี้ถือกันว่าเป็นวันกลับบ้านไปเลี้ยงหลาน

หลัก ของการแต่งตั้งโยกย้ายนั้น เริ่มต้นจากการที่มีข้าราชการเกษียณอายุ ทำให้เกิดตำแหน่งว่าง จึงต้องมีการแต่งตั้งคนไปทดแทน จากนั้นก็มีคนอื่นเลื่อนตามขึ้นมาเป็นลูกระนาด

พร้อมๆ กันก็จะมีการปรับย้ายในกลุ่มคนที่ยังไม่ครบเกษียณ แต่อาจครบวาระในเก้าอี้นั้น หรือย้ายเพื่อความเหมาะสม

ดังนั้น กันยายน-ตุลาคมของทุกปี จึงเป็นช่วงที่เรียกว่าฤดูแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ

ขณะที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ชนะเลือกตั้งเมื่อ 3 กรกฎาคม กว่าจะจัดรัฐบาล กว่าจะได้รับโปรดเกล้าฯ กว่าจะแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา

เริ่มมีอำนาจหน้าที่เริ่มทำงานได้จริงๆ ก็สิ้นเดือนสิงหาคม

เข้าสู่ฤดูแต่งตั้งโยกย้ายพอดี

แต่พอเริ่มลงมือโยกย้ายข้าราชการ ก็โดนถล่มแหลกลาญด้วยข้อหาใช้อำนาจการเมืองล้างแค้นข้าราชการ

ทั้งที่การใช้อำนาจอย่างผิดๆ นั้น ต้องมองอย่างแยกแยะเป็นรายบุคคล

ขณะที่รวมๆ เป็นช่วงแห่งการโยกย้ายที่ต้องเป็นไป

แล้วเอาเข้าจริงๆ ขณะนี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังลงมือโยกย้ายข้าราชการไปแค่จิ๊บๆ เท่านั้น

อย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พูดกันไปพูดกันมา ด่าพี่เมียญาติโกโหติกาจนหูอื้อ สุดท้ายยังไม่โยกย้ายเลยแม้แต่ตำแหน่งเดียว

แม้แต่ ผบ.ตร. ที่ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เล่นบทสุภาพบุรุษลุกจากเก้าอี้ให้

วันนี้ พล.ต.อ.วิเชียรได้แค่ไปจ่อเลขาธิการ สมช. ส่วน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ได้แค่จ่อ ผบ.ตร.

แต่เก้าอี้เลขาฯ สมช.นั้นว่างลงแน่นอนแล้ว เหลือรอขั้นตอนทางกฎหมาย จึงจะโอนย้าย พล.ต.อ.วิเชียรข้ามหน่วยราชการไปนั่งได้

แล้วนั่น ก.ต.ช.จึงจะแต่งตั้ง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์เป็นผู้นำตำรวจ

เพียงแต่ในทางปฏิบัติ ทุกคนยอมรับแล้วว่า พล.ต.อ.วิเชียรกำลังจะป็นผู้นำ สมช.คนใหม่ และ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์เสมือนเป็น ผบ.ตร.ไปแล้ว

รวมๆ แล้วคาดกันว่า ตลอดเดือนตุลาคมคงเป็นฤดูโยกย้ายตำรวจระดับนายพลทั้งหมด ซึ่งถือว่าล่าช้ากว่าปกติ

ส่วนการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารประจำปี เอาเข้าจริงๆ ก็ล่าช้า

แม้ว่า 3 เหล่าทัพเร่งจัดทำบัญชีจนเสร็จสิ้นผ่านสภากลาโหมก่อนรัฐบาลใหม่จะเข้ามาทำหน้าที่ด้วยซ้ำ

แถมมีคำสำทับด้วยว่า เมื่อเป็นมติออกมาแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีกฎหมายคุ้มครองอยู่

เล่นเอาเกือบยุ่ง เพราะฝ่ายการเมืองรู้สึกว่ากองทัพไม่ควรเป็นหน่วยราชการอิสระ

อีกทั้งรัฐบาลถือว่าแรงสนับสนุนประชาชนกว่า 15 ล้านเสียงนั้น เป็นหลักประกันให้รัฐบาลน่าจะเข้าไปแตะต้องบัญชีทหารได้

แถมยังมีแรงผลักดันจากม็อบเสื้อแดง ที่มีภาพคนตายด้วยกระสุนเจ้าหน้าที่รัฐเป็นสิ่งเร่งเร้า

สุดท้ายผู้นำเหล่าทัพยอมปรับเปลี่ยนชื่อปลัดกระทรวงกลาโหมตามคำขอ

บัญชีทหารจึงจบลงด้วยการรอมชอม

ท่ามกลางเสียงบ่นพึมของเสื้อแดงที่ไม่มีการเปลี่ยนตัวเสนาธิการทหารบก

"ข่าวสด" พิชิตรางวัลภาพข่าวการเมืองยอดเยี่ยม-นายกฯ ปู คว้าขวัญใจสื่อมวลชน

ที่มา มติชน






เวลา 17.00 น. วันที่ 29 ก.ย. ที่โรงแรมโซฟิเทลเซ็นทาราแกรนด์ลาดพร้าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลภาพข่าวสื่อมวลชนยอดเยี่ยมครั้งที่ 15 ประจำปี 2553-2554 จัดโดยสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย มีบุคคลแวดวงการสื่อสารมวลชนทั้งผู้บริหารสื่อสำนักต่างๆ นักข่าว ช่างภาพ และบุคคลในวงการการเมืองเมืองมาร่วมงานคับคั่งทั้งจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่าย รัฐบาล อาทิ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ฯลฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การมอบรางวัลของทางสมาคมฯ ครั้งนี้ ทางสมาคมตั้งรางวัลขึ้นมาเป็นรางวัลพิเศษในปีแรก โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ได้รับรางวัล "ขวัญใจช่างภาพสื่อมวลชน" ประจำปี 2553-2554 ขณะที่นายกิตติรัตน์ ได้รางวัล "มิสเตอร์ลดค่าครองชีพ" นายวิทยา บูรณศิริ รมว.สาธารณสุข รับรางวัล "รมต.แก้โรคน้ำท่วม" นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน รับรางวัล "จอมกระชากราคาน้ำมัน"

สำหรับ "ภาพข่าว" ที่ได้รางวัลในปีนี้ ประกอบด้วย รางวัลภาพข่าวสาขาภาพข่าวพระราชกรณียกิจชนะเลิศ ภาพข่าวการเมืองสังคมทั่วไป รางวัลภาพข่าวต่อเนื่อง รางวัลภาพข่าวเศรษฐกิจ รางวัลภาพข่าวกีฬา รางวัลภาพข่าวอาชญากรรมชื่อภาพ ซึ่งในส่วนของรางวัลภาพข่าวการเมืองสังคมทั่วไปภาพพิชิตรางวัลชนะเลิศ คือ ภาพ "หยิกแรง" ของนายสุรินทร์ สรรพคุณ จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด

นอก จากนั้น ภายในงานนี้ยังมีการมอบรางวัลให้กับนายศรวิชัย คงตันนิกูล อดีตช่างภาพททบ.5 ที่ประสบอุบัติเหตุ ฮ.แบล็คฮอว์กตก ก็ได้รับรางวัลพิเศษเช่นกัน โดยชื่อรางวัลว่า "งานสุดท้ายของศรวิชัย" ซึ่งมีบิดาของนายศรวิชัยมารับรางวัลแทน

นายกรัฐมนตรี กล่าวหลังมอบรางวัล ตอนหนึ่ง ว่า ยินดีที่มาร่วมงานในวันนี้ ซึ่งการจัดงานถือว่าเป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ช่างภาพที่ทำหน้าที่ ทั้งปี และเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแขง่ขันให้ข่าวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทั้งนี้ ช่างภาพมีความสำคัญและมีบทบาทในการถ่ายทอดภาพไปยังประชาชนเพื่อให้ทราบข่าว สารตนจึงขอยกย่องสื่อทุกท่านที่ปฏิบัติหน้าที่เต็มที่ อย่างไรก็ตาม แม้ระยะเวลาที่ตนร่วมเดินทางไปกับสื่อก็พบว่าท่านทำหน้าที่เต็มและตนเสียใจ ที่บางเหตุการณ์เราต้องสูญเสียช่างภาพและพบอุบัติเหตุต่างๆ แต่นั่นเป็นจิตวิญญาณในการทำหน้าที่ ซึ่งขอยกย่องชื่นชม

“ส่วนตัว วันนี้ตื่นเต้นเพราะตั้งแต่สัมผัสกับช่างภาพมา วันนี้ถือว่ารวมช่างภาพและสื่อมวลชนเยอะที่สุดเยอะจริงๆ ซึ่งตื่นเต้นและดีใจ และภูมิใจที่ได้มามอบรางวัลด้วยทั้งนี้ ขอบคุณที่มอบรางวัลให้เพื่อเป็นกำลังใจและจะนำกำลังใจเป็นแรงผลักดันในการทำ หน้าที่รับใช้พี่น้องประชาชน” น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

เปิดบัญชีมหาดไทยแต่งตั้ง 239 นายอำเภอ

ที่มา มติชน


พระนาย สุวรรณรัฐ
หมายเหตุ - เมื่อ วันที่ 29 กันยายน 2554 นายพระนาย สุวรรณรัฐ ว่าที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ลงนามในบัญชีเสนอแต่งตั้ง (เลื่อน) ข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งอำนวยการระดับสูง หรือนายอำเภอ 9 รวม 239 ตำแหน่ง โดยในจำนวนนี้มีอยู่ 234 ตำแหน่ง ที่เป็นการเลื่อนจากนายอำเภอ 8 ขึ้นเป็นนายอำเภอ 9 ตามมติคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หลังมีการยกระดับอำเภอให้ใหญ่ขึ้น ทำให้มีหัวหน้าหน่วยงานถูกยกระดับตำแหน่งจากนายอำเภอ 8 ขึ้นเป็นนายอำเภอ 9

นาย เสริม อุ่นชู นอภ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เป็น นอภ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี นายธวัช ศิริวัธนนุกูล นอภ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร เป็น นอภ.นาแก จ.นครพนม นายสานิต เขมวัฒนา นอภ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ เป็น นอภ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ นายกนกพล ศักดิ์วิเศษ ศรีนุกูล นอภ.พังโคน จ.สกลนคร เป็น นอภ.พังโคน จ.สกลนคร นายสาธิต ธรรมประดิษฐ์ นอภ.ควนโดน จ.สตูล เป็น นอภ.หนองจิก จ.ปัตตานี นายจักร์พงษ์ เปี่ยมเมตตา นอภ.บ้านค่าย จ.ระยอง เป็น นอภ.บ้านค่าย จ.ระยอง นายชาญชัย บุญเสนอ นอภ.กุดจับ จ.อุดรธานี เป็น นอภ.กุดจับ จ.อุดรธานี นายประกาศิต มหาสิงห์ นอภ.พร้าว รักษาการในตำแหน่ง นอภ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เป็น นอภ.ฝาง จ.เชียงใหม่ นายทรงทรัพย์ พิริยคุณธร นอภ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ เป็น นอภ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ นายพินิจ บุญวรรณ นอภ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ เป็น นอภ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ นายศักดิ์ชัย ชัยเชื้อ นอภ.นาทวี จ.สงขลา เป็น นอภ.นาทวี จ.สงขลา นายเกรียงศักดิ์ เชาวน์ประยูรชัย นอภ.แม่ลาว จ.เชียงราย เป็น นอภ.ปง จ.พะเยา นายพงษ์พัฒน์ วงศ์ตระกูล ผอ.กองการเจ้าหน้ารักษาการในตำแหน่ง นอภ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท เป็น นอภ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท นายบุญไทย กาฬศิริ นอภ.รามัน จ.ยะลา เป็น นอภ.รามัน จ.ยะลา นายทินกร มุสิกวัตร นอภ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช เป็น นอภ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช นายธวัชชัย วิสมล นอภ.ละแม จ.ชุมพร เป็น นอภ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

นายสุรัตน์ อัครวิโรจน์กุล นอภ.คุระบุรี จ.พังงา เป็น นอภ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา นายสฤษดิ์ ไสยโสภณ นอภ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็น นอภ.บ้านผือ จ.อุดรธานี นายชัยยงค์ ฮมภิรมย์ นอภ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เป็น นอภ.โชคชัย จ.นครราชสีมา นายทวีพล ปัญญาวัฒนานนท์ นอภ.คง จ.นครราชสีมา เป็น นอภ.จักราช จ.นครราชสีมา นายศุภกิจ จตุรพิตร นอภ.ตะโหมด จ.พัทลุง เป็น นอภ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี นายชัชวาลย์ ศิริพันธ์ นอภ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็น นอภ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด นายวินัย จงวัฒนบัณฑิตย์ นอภ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว เป็น นอภ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ นายโกสินทร์ ศรีเพชรพงษ์ นอภ.บ้านม่วง จ.สกลนคร เป็น นอภ.วานรนิวาส จ.สกลนคร นายประกิต วงษ์วิสิทธิ์ นอภ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เป็น นอภ. บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา นายจำลอง ไกรดิษฐ์ นอภ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา เป็น นอภ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา นายประมณฑ์ สุจริต นอภ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เป็น นอภ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี นายวิษณุ บูรณะกิจภิญโญ นอภ.นาทม จ.นครพนม เป็น นอภ.บรบือ จ.มหาสารคาม นายสมเกียรติ รัตนเมธาธร นอภ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด เป็น นอภ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด นายพิษณุวัตร วรรธนะกุล นอภ. วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว เป็น นอภ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว นายปรีชา ดำเกิงเกียรติ นอภ.กงหรา จ.พัทลุง เป็น นอภ.เทพา จ.สงขลา นายไพศาล บุญล้อม นอภ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เป็น นอภ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช นายบุญยัง เรือนกูล นอภ.แม่สรวย จ.เชียงราย เป็น นอภ.แม่สรวย จ.เชียงราย นายประวิทย์ ประวัติเมือง นอภ.ทับคล้อ จ.พิจิตร เป็น นอภ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์

นาย ศิริพงศ์ ประทุมรัตน์ นอภ. แหลมงอบ จ.ตราด เป็น นอภ.เขาสมิง จ.ตราด นายเศรษฐการย์ ทิพย์สุวรรณ นอภ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ เป็น นอภ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี นายวีรพล บูรณะพานิช นอภ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เป็น นอภ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม นายเลิศพรไชย ไชยฤทธิ์ นอภ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี เป็น นอภ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี นายยุทธนา พันธุ์ศรีรวิลาส นอภ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็น นอภ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท นายวิจักขณ์ ชินโคตรพงศ์ นอภ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็น นอภ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร นอภ.กรงปินัง จ.ยะลา เป็น นอภ.บันนังสตา จ.ยะลา นาย นิวัฒน์ เรืองเดช นอภ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ เป็น นอภ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ นายวีระศักดิ์ ศิริสิทธิ์ นอภ.เด่นชัย จ.แพร่ เป็น นอภ.สูงเม่น จ.แพร่ นายชาติชาย เพชระบูรณิน นอภ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ เป็น นอภ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ นายเรวัต อัมพวานนท์ นอภ.แพงแสน จ.นครปฐม เป็น นอภ.กำแพงแสน จ.นครปฐม นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ นอภ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว เป็น นอภ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว นายขจรชัย วัฒนาประยูร นอภ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น นอภ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา นายเมฑา ศิริรำไพวงษ์ นอภ.น้ำโสม จ.อุดรธานี เป็น นอภ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายศรัณย์ จันทร์ดี นอภ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี เป็น นอภ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี นายปิยะศักดิ์ คำสีลา นอภ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู เป็น นอภ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู นายพจน์ รักความสุข นอภ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี เป็น นอภ.นายายอาม จ.จันทบุรี นายจำนัล เหมือนคำ นอภ.ไหงปาดี จ.นราธิวาส เป็น นอภ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส

นาย นพดล ชินะจิตร นอภ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น นอภ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา นายสิทธิพร สำลีรัตน์ นอภ.เสาไห้ จ.สระบุรี เป็น นอภ.บ้านหมอ จ.สระบุรี นายสิทธิชัย ทัศนานุกุลกิจ นอภ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี เป็น นอภ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี นายเชิดชาย พิบูลย์วุฒิกุล นอภ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เป็น นอภ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย นายนิพนธ์ อินทรสกุล นอภ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็น นอภ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี นายสุทธิลักษณ์ รักษ์เจริญ นอภ.เวียงชัย จ.เชียงราย เป็น นอภ.ปัว จ.น่าน นายวรทัศน์ วานิช อังกูร นอภ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน เป็น นอภ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน นายณรงค์ เชาวน์ลิลิตกุล นอภ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เป็น นอภ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี นายเดชา ใจยะ นอภ.สากเหล็ก จ.พิจิตร เป็น นอภ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร นายชัยวัฒน์ อิทธิวรรณพงศ์ นอภ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด เป็น นอภ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด นาย วิฑูรย์ ปิลาวงษ์ นอภ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น นอภ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา นายเกรียงเดช วัฒนวงษ์สิงห์ นอภ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เป็น นอภ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ นายวิชัย นิมิตรมงคล นอภ.เบญจลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เป็น นอภ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ นาย สมชัย รุ่งสาคร นอภ.สบปราบ จ.ลำปาง เป็น นอภ.งาว จ.ลำปาง นายสมศักดิ์ เวชพาณิชย์ นอภ.สำทับ จ.กระบี่ เป็น นอภ.เขาชัยสน จ.พัทลุง นายอดิศักดิ์ วรรณลักษณ์ นอภ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เป็น นอภ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ นายบำเพ็ญ บินไทยสงค์ นอภ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เป็น นอภ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ นายธวัฒน์ชัย ม่วงทอง นอภ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี เป็น นอภ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี

นายพิษณุ เสนาวิน ผู้อำนวยการโรงเรียนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รักษาราชการแทนเลขานุการกรม กรมการปกครอง เป็น นอภ.บางกรวย จ.นนทบุรี นายจำเริญ สวนทอง นอภ.หนองฮี จ.ร้อยเอ็ด รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองคลัง กรมการปกครอง เป็น นอภ. บางเสาธง จ.สมุทรปราการ นายมงคล คำเพราะ นอภ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เป็น นอภ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ นายเธียรชัย อัจฉริยพันธุ์ นอภ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี เป็น นอภ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี นายนิยม ดวงส้ม นอภ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช เป็น นอภ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี นายสุชาติ ธีระวงษ์พิทักษ์ นอภ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ เป็น นอภ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ นายสุรพล สัตยารักษ์ นอภ.หางดง จ.เชียงใหม่ เป็น นอภ.หางดง จ.เชียงใหม่ นายสุมิตร เกิดกล่ำ นอภ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เป็น นอภ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ นายอำนาจ พวงสำลี นอภ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็น นอภ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย นายลือชัย เจริญทรัพย์ นอภ.สายบุรี จ.ปัตตานี เป็น นอภ.สายบุรี จ.ปัตตานี นายชัยภัค สุนทรหงส์ นอภ.แก้งสนามนาง จ.นครราชสีมา เป็น นอภ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา นายจิตตวีร์ ภูมิวุฒิสาร นอภ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น นอภ.องครักษ์ จ.นครนายก นายพงศว์เทพ จิรสุขประเสริฐ นอภ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็น นอภ.ควนขนุน จ.พัทลุง เรือโท ครรชิต บุญสิทธิ์ นอภ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี เป็น นอภ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี นายชัยรัตน์ สุทธิธรรม นอภ.คำชะอี จ.มุกดาหาร เป็น นอภ.คำชะอี จ.มุกดาหาร นายสุรสันติ์ เพชรสุวรรณรังษี นอภ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร เป็น นอภ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

นายพีระ ศักดิ์ องกิตติกุล นอภ.ดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี เป็น นอภ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี นายสุวัจชัย สังคพัฒน์ นอภ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เป็น นอภ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี นายธำรง เขมะรัตน์ นอภ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช เป็น นอภ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี นายเถกิงศักดิ์ ยกศิริ นอภ.แว้ง จ.นราธิวาส เป็น นอภ.รือเสาะ จ.นราธิวาส นายธนพล อันติมานนท์ นอภ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ เป็น นอภ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ นายสุวัสส์ ศังขจันทรนันท์ นอภ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด เป็น นอภ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด นายชนาญวัต จิตร์ภิรมย์ศรี รองอธิการวิทยาลัยการปกครอง วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง เป็น นอภ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี นายจิรศักดิ์ ศรีคชา นอภ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ เป็น นอภ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ นายสัมฤทธิ์ พุฒศรี นอภ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร เป็น นอภ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร นายออมสิน สุขภิการนนท์ นอภ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร เป็น นอภ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร นายนิรุช ศรีสวัสดิ์ นอภ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี เป็น นอภ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี นายณัฐ ชาติวัฒนศิริ นอภ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เป็น นอภ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี นายวีระวัฒน์ วงศ์ว่องไว นอภ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เป็น นอภ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ นายวรนิติ์ มุตตาหารัช นอภ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา เป็น นอภ.บ้านนา จ.นครนายก นายวิวัฒน์ ฉันทนานุรักษ์ ผู้อำนวยการส่วนยุทธการและการข่าว สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง เป็น นอภ.ปากท่อ จ.ราชบุรี นายประทีป ศิลปเทศ นอภ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ เป็น นอภ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น นายสมศักดิ์ สิทธิวรการ นอภ.ยี่งอ จ.นราธิวาส เป็น นอภ.ตากใบ จ.นราธิวาส

นาย อภิรัฐ สะมะแอ ผู้อำนวยการส่วนประสานราชการ สำนักกิจการความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง เป็น นอภ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี นายจตุพร ชนะศรี นอภ.สามโคก จ.ปทุมธานี เป็น นอภ.สามโคก จ.ปทุมธานี นายชวพล พันธุมรัตน์ นอภ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เป็น นอภ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี นายชาญชัย กุลมงคล นอภ.สวี จ.ชุมพร เป็น นอภ.สวี จ.ชุมพร นายศิริศักดิ์ ภิญโญพานุวัฒน์ นอภ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เป็น นอภ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น นายปัญญา นาคฉ่ำ นอภ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ เป็น นอภ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ นายวชิระ อัลภาชน์ นอภ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็น นอภ.ยะรัง จ.ปัตตานี นายวัลลพ เรืองพรเจริญ นอภ.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์ เป็น นอภ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม นายวุฒิพงศ์ จัตุรัตน์ นอภ.ลี้ จ.ลำพูน เป็น นอภ.ลี้ จ.ลำพูน นายณรงค์ชัย ทิพกนก นอภ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ เป็น นอภ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ นายประทีป พิทักษ์ นอภ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร เป็น นอภ.บางมูลนาก จ.พิจิตร นายวัฒนา เที้ยวพันธ์ นอภ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร เป็น นอภ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร นายวิสิทธิ์ ศรีบรรเทา นอภ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เป็น นอภ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ นายอภิชาติ ทิมเจริญ นอภ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ เป็น นอภ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ นายประถม ประเมินดี นอภ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ เป็น นอภ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ นายณรงค์ ไพศาลทักษิน นอภ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็น นอภ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี นายภิรมย์ มีรุ่งเรือง นอภ.ย่านตาขาว จ.ตรัง เป็น นอภ.ย่านตาขาว จ.ตรัง นายวีระศักดิ์ ภูครองหิน นอภ.นามน จ.กาฬสินธุ์ เป็น นอภ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์

นายโสภณ ชุ่มชูจันทร์ นอภ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ เป็น นอภ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ นายสุรชัย อุทัยรัตน์ นอภ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เป็น นอภ.ท่าแซะ จ.ชุมพร นายสกล จันทรักษ์ นอภ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช เป็น นอภ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช นายหัสนัย จิตอารีย์ นอภ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี เป็น นอภ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี นายอุทัย ลือชัย นอภ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็น นอภ.สารภี จ.เชียงใหม่ นายกฤษณ์ อุไรรัตน์ นอภ.ปากพะยูน จ.พัทลุง เป็น นอภ.สิงหนคร จ.สงขลา นายธวัชชัย ดิษยนันทน์ นอภ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท เป็น นอภ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี นายศุภวริศ เพชรกาฬ นอภ.ระแงะ จ.นราธิวาส เป็น นอภ.ระแงะ จ.นราธิวาส นายสมชาย พลานุเคราะห์ นอภ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา เป็น นอภ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี นายระวีวงศ์ วงศ์ปราชญ์ นอภ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เป็น นอภ.พร้าว จ.เชียงใหม่ นายสุชาติกิตติ์ สุทธิกาศนีย์ธร นอภ.สีชมพู จ.ขอนแก่น เป็น นอภ.สีชมพู จ.ขอนแก่น นายนิเวศน์ พูลสวัสดิ์ นอภ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ เป็น นอภ.สันทราย จ.เชียงใหม่ นายมนัสวรรธ บุญสมวัฒนวงศ์ นอภ.ท่าลี่ จ.เลย เป็น นอภ.ภูเรือ จ.เลย นายประพฤทธิ์ ยูถนันท์ นอภ.ท้ายเหมือง จ.พังงา เป็น นอภ.ท้ายเหมือง จ.พังงา นายบุญฤทธิ์ งานสม นอภ.คลองท่อม จ.กระบี่ เป็น นอภ.สิเกา จ.ตรัง นายมาลัยวรณ์ ตั้งอรุณสวัสดิ์ นอภ.หนองหาน จ.อุดรธานี เป็น นอภ.หนองหาน จ.อุดรธานี นายประกิต ตันติวาลา นอภ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี เป็น นอภ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี นายวิชชา จิรภิญญากุล นอภ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่ เป็น นอภ.สอง จ.แพร่

นายวีระ เกิดศิริมงคล นอภ.เกาะลันตา จ.กระบี่ เป็น นอภ. ปะเหลียน จ.ตรัง นายจิตวัฒน์ วิกสิต นอภ.ชุมตาบง จ.นครสวรรค์ เป็น นอภ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ นายศุภโชค สังขวณิช นอภ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น เป็น นอภ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น นายวัชรินทร์ รักชาติเจริญ นอภ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น นอภ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ ผอ.ส่วนกำลังพลและส่งกำลังบำรุง สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง เป็น นอภ.จอมบึง จ.ราชบุรี นายเลิศบุศย์ กองทอง นอภ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ เป็น นอภ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม นายประสิทธิ์ ภูชัชวนิชกุล นอภ.อ่าวลึก จ.กระบี่ เป็น นอภ.อ่าวลึก จ.กระบี่ นายศิลปชัย คำสวัสดิ์ นอภ.ลานสัก จ.อุทัยธานี เป็น นอภ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี นายสนิท ศรีวิหค นอภ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี เป็น นอภ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ว่าที่ ร.ต.ธรรมศิฑชัย สามกษัตริย์ นอภ.ปางศิลาทอง จ.กำแพงเพชร เป็น นอภ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย นายณรงค์พร ณ พัทลุง นอภ.รัตภูมิ จ.สงขลา เป็น นอภ.จะนะ จ.สงขลา นายอนุรัตน์ ลีธีระประเสริฐ นอภ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ เป็น นอภ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ นายธนพัฒน์ บูรณศักดิ์ภิญโญ นอภ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ เป็น นอภ.โพทะเล จ.พิจิตร นายรักษ์ ลี้ทรงศักดิ์ นอภ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ เป็น นอภ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ นายทรงศักดิ์ จันทรสาขา นอภ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เป็น นอภ.บ้านแพง จ.นครพนม นายสุรพันธุ์ กองวารี นอภ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี เป็น นอภ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี นายศักดิ์ชาย วงศ์กนิษฐ์ นอภ.ขุนตาล จ.เชียงราย เป็น นอภ.ท่าวังผา จ.น่าน นายสุริยัณห์ จิรสัตย์สุนทร นอภ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็น นอภ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

นายกิตติ แสงประดิษฐ นอภ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี รักษาการในตำแหน่ง นอภ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร เป็น นอภ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร นายสุรชัย มณีประกร นอภ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็น นอภ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ นายธนา บุษปวนิช นอภ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี เป็น นอภ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี นายปรีชาวัฑฒน์ ปลอดทอง นอภ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี เป็น นอภ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี นายวัฒนา พุฒิชาติ นอภ.เลิงนกทา จ.ยโสธร เป็น นอภ.เลิงนกทา จ.ยโสธร นายพรชัย ถมกระจ่าง นอภ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู เป็น นอภ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม นางสาววรรณา กำเหนิดงาม นอภ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี เป็น นอภ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี นายแพน พรไตรศักดิ์ นอภ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ เป็น นอภ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ นายสมชัย อมรวัฒนสวัสดิ์ รองอธิการวิทยาลัยการปกครอง รักษาราชการแทน ผอ.กองวิชาการและแผนงาน กรมการปกครอง เป็น นอภ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ นอภ.ดอนตูม จ.นครปฐม รักษาราชการแทน ผอ.กองการเจ้าหน้าที่ กรมการปกครอง เป็น นอภ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม นายสมศักดิ์ พัวพันธุ์ ผอ.ส่วนการเมืองและการเลือกตั้งสำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง เป็น นอภ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ นายประเสริฐ จันทร์แยง นอภ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย เป็น นอภ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย นายภูริรัตน์ ธีรอรรถ นอภ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี เป็น นอภ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี นายสัญญา ประเสริฐวิทย์ นอภ.เมยวดี จ.ร้อยเอ็ด เป็น นอภ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

นายทรงฤทธิ์ แก้วสุทธิ นอภ.ร้องกวาง จ.แพร่ เป็น นอภ.วังชิ้น จ.แพร่ นายพงษ์พันธ์ วิเชียรสมุทร นอภ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็น นอภ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายณรงค์ศักดิ์ พลศักดิ์ นอภ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ เป็น นอภ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ นายมนิต ตั้งสกุล นอภ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี เป็น นอภ.เพ็ญ จ.อุดรธานี นายวีรัส ประเศรษโฐ หน.กลุ่มงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบศูนย์อำนวยการบริหาร จ.ชายแดนภาคใต้ เป็น นอภ.สทิงพระ จ.สงขลา ร.ท.ศักดิ์ชัย หงษ์ทอง นอภ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เป็น นอภ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ร.ท.กฤษณ์ จินตะเวช นอภ.บางเลน จ.นครปฐม เป็น นอภ.บางเลน จ.นครปฐม นายสุรพล บุรินทราพันธุ์ นอภ.แม่พริก จ.ลำปาง เป็น นอภ.เถิน จ.ลำปาง นายพันธุ์เลิศ มีวุฒิสม นอภ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น นอภ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา นายธรรมศักดิ์ รัตนธัญญา นอภ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว เป็น นอภ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ นายฉลองชัย วรสิงห์ นอภ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน เป็น นอภ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย นายประภาส รักษาทรัพย์ นอภ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เป็น นอภ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา นายวิสิษฎ์ พวงเพชร ผอ.กองวิชาการและแผนงานรักษาการในตำแหน่ง นอภ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็น นอภ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นายสมเพชร สร้อยสระคู นอภ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร เป็น นอภ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร นายสุวิทย์ เล็กกำแหง นอภ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เป็น นอภ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง นายอมรฤทธิ์ เอมะปาณ ผอ.ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3 สำนักการสอบสวนและนิติกร กรมการปกครอง เป็น นอภ.สตึก จ.บุรีรัมย์

นายสุรพงษ์ สายโอภาศ ผู้อำนวยการส่วนอำนวยความเป็นธรรมสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง เป็น นอภ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด นายวิบูลย์ ปั้นศิริ รองอธิการวิทยาลัยการปกครอง วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง เป็น นอภ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี นายถาวร คงแก้ว นอภ.เชียรใหญ่ เป็น นอภ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช นายภัลลพ พิลา นอภ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ เป็น นอภ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ นายบุญเติม เรณุมาศ นอภ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ เป็น นอภ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก นายมานิต อนรรฆมาศ นอภ.ตากฟ้า เป็น นอภ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ นางสาวปาณี นาคะนาท นอภ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น นอภ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี นายไชยันต์ ปฏิยุทธ นอภ.กระบุรี เป็น นอภ.กระบุรี จ.ระนอง นายศักดิ์ประเสริฐ เจริญประสิทธิ์ นอภ.เกาะช้าง จ.ตราด เป็น นอภ.ปลวกแดง จ.ระยอง ว่าที่ ร.ต.นิรันดร์ ดุจจานุทัศน์ ผู้อำนวยการส่วนรักษาความสงบเรีบบร้อย 1 สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง เป็น นอภ.ครบุรี จ.นครราชสีมา นายโชคดี อมรวัฒน์ นอภ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี เป็น นอภ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี นายสุรพร พร้อมมูล นอภ.ทุ่งหว้า เป็น นอภ.ละงู จ.สตูล นายบรรลือ สง่าจิตร ผู้อำนวยการส่วนกิจการชายแดนและผู้อพยพ สำนักกิจการความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง เป็น นอภ.แม่ระมาด จ.ตาก นายสุเทพ วงษ์พานิช นอภ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ เป็น นอภ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง นายสัมฤทธิ์ สวามิภักดิ์ นอภ.ดอยสะเก็ด เป็น นอภ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ นายวิสิฐ ตั้งปอง นอภ.กันตัง เป็น นอภ.กันตัง จ.ตรัง

นายคมสัน เจริญอาจ ผู้อำนวยการโรงเรียน นอภ. วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง เป็น นอภ.สังขะ จ.สุรินทร์ นายสรธร สันทัด นอภ.พญาเม็งราย เป็น นอภ.เชียงของ จ.เชียงราย นายสุวัฒน์ สุวรรณภาชน์ ผู้อำนวยการส่วนการสอบสวนและรักษาความสงบ สำนักการสอบสวนและนิติการ เป็น นอภ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ นายอรรถสิทธิ์ สุขธรรมนิยม ผู้อำนวยการส่วนกำกับและตรวจสอบ สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง เป็น นอภ.พานทอง จ.ชลบุรี นายอภิชาติ ชุ่มเชื้อ นอภ.บ้านธิ จ.ลำพูน เป็น นอภ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ นายสุริยะ วิริยะสวัสดิ์ รองอธิการวิทยาลัยการปกครอง วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง เป็น นอภ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี นายวงเทพ เขมวิรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนบัตรประจำตัวประชาชน สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง เป็น นอภ. โนนสูง จ.นครราชสีมา นายสรวิศ ทำเนาว์ นอภ.พรเจริญ เป็น นอภ. เซกา จ.บึงกาฬ นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร นอภ.บางใหญ่ เป็น นอภ. บางใหญ่ จ.นนทบุรี ว่าที่ ร.ต.ณรงค์ โรจนโสทร นอภ.ป่าซาง เป็น นอภ.ป่าซาง จ.ลำพูน นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ นอภ.สันป่าตอง เป็น นอภ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ นายสุขสันติ์ บุณยากร นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ โรงเรียนปลัดอำเภอ กลุ่มงานบริหารการฝึกอบรม วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง เป็น นอภ.ประทาย จ.นครราชสีมา นายสุนทร มหาวงศนันท์ นอภ.บ้านหลวง เป็น นอภ.เวียงสา จ.น่าน นายกิตติศักดิ์ ศรีนพคุณ นอภ.วัดโป่ง เป็น นอภ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์

นาย ธนิต กุลสุนทร ผอ.ส่วนการข่าวสำนักกิจการความมั่นคงภายในกรมการปกครอง เป็น นอภ.เมืองระนอง จ.ระนอง นายประจวบ กันธิยะ นอภ.แม่ทา จ.ลำพูน เป็น นอภ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ นายศรีโรจน์ นิมมานพัชรินทร์ นอภ.เกาะคา จ.ลำปาง เป็น นอภ.เกาะคา จ.ลำปาง ว่าที่ ร.ต.พิเชียน ลิมป์หวังอยู่ นอภ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี เป็น นอภ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี นายเฉลิมพล มั่งคั่ง นอภ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ เป็น นอภ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการนายคณะกร เครือวรรณ นอภ.ปากชม จ.เลย เป็น นอภ.โพนพิสัย จ.หนองคาย นายล้ำ เลิศศรีมงคล นอภ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก เป็น นอภ.บางระกำ จ.พิษณุโลก นายเรวัต ประสงค์ นอภ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น นอภ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา นายเฉลิม รัตนเกื้อ นอภ.หนองหิน จ.เลย เป็น นอภ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ นายเกรียงวิชญ์ ไกรพวิมล นอภ.จุน จ.พะเยา เป็น นอภ.นครไทย จ.พิษณุโลก นายวิสา ยัญญลักษณ์ นอภ.เอราวัณ จ.เลย เป็น นอภ.บ้านดุง จ.อุดรธานี นายไกรสร กองฉลาด นอภ.ซำสูง จ.ขอนแก่น เป็น นอภ.กระนวน จ.ขอนแก่น นายเสริมศักดิ์ สีสันต์ นอภ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็น นอภ.เชียงแสน จ.เชียงราย นายประพันธ์ บุญคุ้ม นอภ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เป็น นอภ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี นายธีรพล ศิรินานุวัฒน์ นอภ.คลองหาด จ.สระแก้ว เป็น นอภ.คลองใหญ่ จ.ตราด นายยุทธนา นุชนารถ นอภ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เป็น นอภ.ตาพระยา จ.สระแก้ว นายสุชัย บุตรสาระ นอภ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น เป็น นอภ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ นอภ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู เป็น นอภ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู

นายอุดม จันตาใหม่ นอภ.เมืองปาน จ.ลำปาง เป็น นอภ.อุ้มฝาง จ.ตาก นายทิวา วัชรกาฬ นอภ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เป็น นอภ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช พ.อ.อ.นิพันธ์ บุญหลวง นอภ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน เป็น นอภ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา นายอนันต์ ไชยศักดิ์ รองอธิการวิทยาลัยการปกครอง วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง เป็น นอภ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์

ระดับน้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูง ทะลักท่วมท่าพระจันทร์

ที่มา มติชน



ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนชนและร้านค้าที่อยู่ภายในตลาดพระ เครื่อง ย่านท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน

ปชป.เมาหมัด

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ เหล็กใน
สมิงสามผลัด



โซซัดโซเซเหมือนกันเมื่อพรรคประชาธิปัตย์โดนหนักทั้งกรณี "กล้องกลวง-คณะนิติราษฎร์"

ฝ่ายค้านมือฉมังที่กำลังเพลิดเพลินกับการเล่นงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์

โดนสวนเต็มเปาจนเมาหมัด

กรณีกล้องกลวงที่กระหึ่มเมืองขณะนี้

เริ่มจากมีการเปิดโปงกล้องวงจรปิดในกรุงเทพฯ ที่ดันไปพบว่ามี "หลายตัว" เป็นกล้องแหกตา

มีแต่กล่อง-ไม่มีกล้อง

ทำให้ผู้ว่าฯ กทม.คนปัจจุบันกับอดีตผู้ว่าฯ กทม. ที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์เหมือนกัน

ปัดไปมากันพัลวัน

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องแก้เกมด้วยการโยนบาปให้รัฐบาลทักษิณ (อีกแล้ว) เป็นคนอนุมัติติดตั้งกล้องแหกตาที่ภาคใต้

สุดท้ายก็ต้องหน้าแหกเสียเอง

เพราะ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐระบุว่าโครงการติดกล้องใน 5 จังหวัดภาคใต้ เกิดขึ้นใน ครม.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อนุมัติจัดซื้อในวงเงิน 970 ล้าน

ตามด้วยหลักฐานการสอบสวนของสตง.ที่ระบุว่าการจัดซื้อจัดจ้างไม่โปร่งใส เห็นควรให้ดำเนินคดีอาญากับ ขรก.หลายราย

โดนแบบนี้ก็เป๋เหมือนกัน

เช่น เดียวกับกรณีที่ปชป.ต่อต้านข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ที่หาทางออกให้สังคมที่ กำลังขัดแย้งกันรุนแรง ด้วยการเสนอให้ล้มล้างผลพวงจากการรัฐประหาร 19 กันยา 2549

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรค และนายสกลธี ภัททิยกุล รองโฆษกพรรค ดาหน้าออกมาคัดค้านแบบสุดลิ่ม

ไม่รับฟังเหตุผลของคณะนิติราษฎร์ที่พยายามชี้แจงว่าผลพวงจากรัฐประหาร 19 กันยาก่อให้เกิดความเสียหายอะไรบ้างในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา

ชี้ให้เห็นว่าการปฏิวัติยึดอำนาจเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย

กระบวนการต่างๆ ก็บิดเบี้ยวไปหมด

ที่สำคัญที่สุดยิ่งตอกย้ำให้สังคมแตกแยกยิ่งขึ้น !

แต่นายอภิสิทธิ์นอกจากไม่รับฟังแล้ว ยังโจมตีว่ามีจุดมุ่งหมายล้างผิดให้ทักษิณคนเดียว

ตรงนี้ถือว่าพลาดครั้งใหญ่หลวง

ยิ่งทำให้สังคมคลางแคลงใจแนวคิดของนาย อภิสิทธิ์และปชป.ว่ายังยึดมั่นในระบอบประชาธิป ไตยจริงหรือ !?

การออกมาโจมตีกลุ่มนักวิชาการที่มีแนวคิดต่อต้านการรัฐประหาร

รังแต่จะเจ็บตัวเปล่าๆ

เท่ากับไปยอมรับว่าเห็นด้วยกับการรัฐประหาร

ตอกย้ำอดีตรัฐบาลที่เคยรับมรดกอำนาจกลุ่มเผด็จการ

เป็นข้อเท็จจริงที่ยากจะปฏิเสธได้

นายกฯ ซ้อมจัดรายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน” ยอมรับตื่นเต้น

ที่มา ข่าวสด


วันที่ 30 ก.ย. ที่ห้องสีเหลือง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ซักซ้อมเสมือนจริงเพื่อจัดรายการสด “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน” โดยมีเจ้าหน้าที่จากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย มาดำเนินการซักซ้อมด้วย ทั้งนี้การจัดรายการครั้งแรก วันที่ 1 ต.ค. นั้น จะจัดขึ้นที่ห้องสีเหลือง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลและลิงค์สัญญานไปยังสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดี

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวยอมรับว่ารู้สึกตื่นเต้นนิดหน่อยในการจัดรายการครั้งแรก แต่ก็มีเรื่องที่อยากจะเล่าให้ฟัง ส่วนเวลาในการจัดรายการ 30 นาทีจะเพียงพอหรือไม่นั้นก็ต้องรอดู แต่ตนจะใช้เวลาให้คุ้มค่ามากที่สุดในการชี้แจงการทำงานของรัฐบาล ทั้งนี้ในการจัดรายการดังกล่าวจะเป็นการจัดสดในทุกๆครั้ง แต่บางครั้งอาจจะใช้วิธีการโทรศัพท์เข้าไปในรายการ รวมทั้งจะดูที่สถานการณ์ปัจจุบันด้วยว่าในช่วงนั้นๆมีงานหรือเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับกระทรวงใดก็อาจมอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ชี้แจง ผ่านรายการดังกล่าว ส่วนในอนาคตจะ ส่วนอนาคตจะมีการจัดสดทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยหรือไม่นั้น ก็ต้องขอดูตามความเหมาะสมอีกครั้ง

ก่อนหน้านั้น ในช่วงเช้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ค ในชื่อ Yingluck Shinawatra เมื่อเวลาไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมาว่า "พรุ่งนี้เช้า เวลา 08.30 พบกันในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชนนะคะ รายการนี้จะเป็นการให้ข่าวสารและรายงานความคืบหน้านโนยายต่างๆ ในภาพรวมของรัฐบาลกับพี่น้องประชาชนค่ะ รัฐบาลเน้นทำงานแบบบูรณาการ ประสานงานทุกภาคส่วน บางเสาร์จะมีรัฐมนตรีมาคุยเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจด้วยค่ะ พรุ่งนี้เช้าเราพบกันทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยนะคะ"

ด้านนางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" ว่าจะเริ่มในวันที่1ต.ค.นี้ ในเวลา 08.30-09.00น. ทางเครือข่ายของวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ผ่าน FM 102.75 MHz และในอนาคตอาจจะมีการปรับขยายเวลาเพิ่มได้ หลังจากที่ทุกอย่างเข้าที่เข้าทางแล้ว

สำหรับรูปแบบของรายการนั้น ในวันพรุ่งนี้จะเป็นแบบจัดรายการคนเดียว ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบตามความเหมาะสม เช่น อาจจะมีการเชิญพิธีกรเข้ามาร่วมซักถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งเนื้อหาในวันแรกน่าจะเป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วม ส่วนการเปิดโอกาสให้กับฝ่ายค้านร่วมจัดรายการด้วยหรือไม่นั้น ต้องรอดูรายละเอียดในเรื่องของผังรายการของสถานีก่อน ว่าจะจัดสรรเวลาให้ได้หรือไม่ แต่เบื้องต้นคาดว่าไม่น่ามีปัญหา

ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเงา กล่าวว่าที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีคนก่อนๆมักจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงเพื่อให้การสื่อสารกับประชาชนครบถ้วนทุกประเด็น จึงอยากเสนอให้นายกฯมีการขยายระยะเวลาที่เหมาะสม และเพื่อให้เกิดความเป็นบรรทัดฐานเหมือนกับที่สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำไว้ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรเวลาสื่อสารกับประชาชนให้กับฝ่ายค้านบ้าง โดยใช้ชื่อว่า “ผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน” ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งระยะเวลาในการจัดรายการนั้นฝ่ายค้านของเวลาอย่าง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่จะเปลี่ยนจากวันเสาร์เป็นวันอาทิตย์

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี: ชาตินิยมในการเมืองไทย

ที่มา ประชาไท

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี



ดูท่าพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคการเมืองเก่าและแก่เกินไปกว่าจะเรียนรู้ ความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆของโลกได้ เพราะยังมีความพยายามจะเข็นประเด็นชาตินิยมสมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม ขึ้นมาเล่นอย่างเมามัน (อยู่คนเดียว) แม้ว่าพรรคการเมืองพรรคนี้จะประกอบไปด้วยคนหนุ่มสาวหัวสมัยใหม่และการศึกษา สูงมากมาย แต่พวกเขากลับตกอยู่ภายใต้การครอบงำของแนวคิดเก่าแบบนักการเมืองรุ่นก่อตั้ง พรรคแบบโงหัวไม่ขึ้น

เพลงแหล่เสียดินแดนที่ขับกล่อมพลพรรคประชาธิปัตย์ในงานเลี้ยงคืนหนึ่ง เมื่อเร็วๆนี้คงบอกความจริงได้อย่างหนึ่งว่า พรรคการเมืองเก่าแก่แห่งนี้คงจะกอดวาทกรรม “เสียดินแดน” ที่บรรพบุรุษของพวกเขาร่วมกับจอมพล ป พิบูลสงครามสร้างขึ้นต่อไปอีกนานหรือในทางหนึ่งถ้าพรรคการเมืองแห่งนี้ยังมี ชีวิตอยู่ต่อไปวาทกรรมเสียดินแดนก็จะยังคงอยู่ต่อไป ถ้าพรรคนี้ทิ้งเรื่องนี้ไปหมายความว่าพวกเขาหมดเครื่องมือทำมาหากินอย่างแน่ นอน แม้ว่าจะรู้อยู่เต็มอกแล้วว่า มันขายไม่ออกแล้วในยุคสมัยปัจจุบัน แต่ในเมื่อยังหาอะไรทดแทนไม่ได้ก็จำต้องใช้ไปพลางก่อน

หรือหากจะมองอีกมุมหนึ่ง ความสัมพันธ์ของพรรคประชาธิปัตย์กับความคิดชาตินิยมแบบนี้อาจจะเป็นดั่ง ปราสาทหินร้างกับต้นไทรที่รากของมันชอนไชไปทั่วทุกอนุของก้อนหินที่ประกอบ กันเป็นตัวปราสาท เราไม่ค่อยแน่ใจนักว่าใครเป็นฝ่ายโอบอุ้มใครกันแน่ รากไทรที่ชอนไชไปทั่วปราสาทดูเหมือนจะแทรกให้เนื้อหินแตกแยกออกจากกัน แต่มันก็กำลังโอบอุ้มก้อนหินเหล่านั้นไม่ให้พังคืนลงมาด้วยในเวลาเดียวกัน ขาดต้นไทร ปราสาทคงพัง ทำนองเดียวกันขาดปราสาทต้นไทรคงตาย

ลัทธิชาตินิยมในบริบทการเมืองไทยเกิดขึ้นจริงๆจังๆในช่วงสงครามโลกครั้ง ที่สองเป็นต้นมา เฉพาะอย่างยิ่งหลังจากพวกคณะราษฎร์มองหาสิ่งยึดเหนี่ยวใหม่ให้กับสังคมแทน ความคิดนิยมเจ้าพวกเขาจึงพากันสร้างแนวคิดเกี่ยวกับ “ชาติ” ขึ้นมาใหม่โดยการสร้างแนวคิดนิยมไทยขึ้นมาแทน รัฐบาลในสมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทยและอีกหลายๆอย่างที่แสดงออกถึงความเป็นไทย ประการสำคัญคือความพยายามในการ “รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย” เข้าด้วยกัน อาศัยจังหวะของความอ่อนแอของฝรั่งเศสในอินโดจีนเข้ายึดดินแดนหลายส่วนทาง ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงที่เคยเชื่อว่าเป็นของสยามมาก่อนตั้งยุคต้นรัตน โกสินทร์ ดินแดนที่ได้มาใหม่ในระหว่างปี พ.ศ. 2484-2489 คือบัตตำบอง (พระตะบอง) เสียมเรียบ (เสียมราฐ) ศรีโสภณ หลวงพระบาง จำปาสัก ถูกทำให้กลายเป็นจังหวัดของไทยและเมื่อมีการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2489 ปรากฎว่ามีคนในตระกูลอภัยวงศ์หลายคนได้เป็นส.ส.จากเขตปกครองใหม่ของไทย เช่น ชวลิต อภัยวงศ์ เป็น ส.ส.จังหวัดพิบูลสงคราม (เสียมเรียบเดิม) ประยูร อภัยวงศ์ เป็นส.ส.จำปาสัก เป็นต้น

ประเทศไทยสูญเสียดินแดนเหล่านั้นกลับคืนไปให้ฝรั่งเศสเมื่อญี่ปุ่นแพ้ สงครามโลกครั้งที่สองและรัฐบาลอมาตย์ชาตินิยมของจอมพล ป ก็หมดอำนาจลงไปพร้อมๆกับการขึ้นสู่อำนาจของปีกซ้ายในคณะราษฏร์คือกลุ่ม ปรีดี พนมยงค์ กระทั่งราวปี พ.ศ. 2490 การรัฐประหารของจอมพลผิน ชุณหวัณโดยความร่วมมือของควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในเวลานั้นด้วยข้อหาคลาสสิกที่พวกเขาถนัดคือป้ายสี ปรีดี เรื่องการสิ้นพระชนม์ของรัชกาลที่ 8 แล้วนำเอาจอมพล ป กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่ง แต่มาคราวหลังนี้ รัฐบาลอมาตย์ชาตินิยมมีกำลังไม่เข้มแข็งเท่าใดนักพวกเขาทำได้อย่างมากเพียง แอบยึดเขาพระวิหารเอาไว้ในปี พ.ศ. 2497 แล้วส่งต่อให้เป็น “สมบัติชาติ” มาจนกระทั่งสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจจากจอมพล ป ในปี 2500 และสฤษดิ์ประสบความสำเร็จอย่างมากในการรวมแนวคิดนิยมชาติและนิยมเจ้าเข้า ด้วยกันสืบทอด “ราชาชาตินิยม” มาได้จนกระทั่งปัจจุบัน และปราสาทพระวิหารกลายมาเป็นศูนย์รวมของการต่อสู้ภายใต้แนวคิดนี้ในยุคสมัย ของสฤษดิ์เมื่อเขาแต่งตั้งให้ เสนีย์ ปราโมช เป็นผู้แทนฝ่ายไทยต่อสู้แย่งชิงปราสาทพระวิหารกับกัมพูชาในระยะปี 2502-2505 จนพ่ายแพ้อย่างยับเยินในที่สุด แต่ก็ยังไม่วายทิ้งมรดกแห่งความแค้นจากความอับยศอดสูในความปราชัยครั้งนั้น มาถึงลูกหลานของพรรคประชาธิปัตย์จนปัจจุบันด้วยวาทะของสฤษดิ์ที่ว่า วันหนึ่งข้างหน้าเราจะต้องเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมาเป็นของชาติไทยให้จง ได้ และพรรคประชาธิปัตย์ก็กอดจดหมายของ ถนัด คอร์มันต์ ที่ส่งถึงสหประชาชาติหลังแพ้คดีว่า เป็นหนังสือขอสงวนสิทธิในการทวงคืนปราสาทพระวิหารเอาไว้อย่างเหนียวแน่น ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่า มันเป็นแค่วาทะลมๆแล้งๆที่หาข้อผูกพันทางกฎหมายอะไรไม่ได้เลย เพราะไม่เช่นนั้นพรรคประชาธิปัตย์คงไม่รอช้าที่จะยื่นเข้าไปเป็นพยานหลักฐาน ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อกัมพูชาร้องขอให้มีการตีความคำพิพากษาปี 2505 เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานั่นแล้ว แต่ในความเป็นจริงเรื่องนี้กลับเป็นแค่อาการหลอนข้ามศตวรรษเท่านั้นเอง

พรรคประชาธิปัตย์มีความสามารถเพียงแค่นำถ้อยแถลงนี้มาละเลงในฟองน้ำลาย ของพวกเขาเพื่อโจมตีใครก็ตามที่ยอมรับว่าปราสาทพระวิหารได้กลายเป็นของ กัมพูชาไปแล้วโดยสมบูรณ์ พวกเขาเชื่อว่าวาทกรรมราชาชาตินิยมนี้ทรงพลังอยู่มาก เมื่อประสบความสำเร็จในการร่วมมือกับ ตุลาการภิวัตน์ คว่ำ นพดล ปัทมะ ลงจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศได้ในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช แต่ไม่ค่อยเฉลียวใจนักว่า การต่อสู้ครั้งนั้นไม่ได้เป็นอิทธิฤทธิ์ของวาทกรรมราชาชาตินิยมล้วนๆ แต่มันเจือไปด้วยความเกลียดและกลัวการกลับมาของทักษิณ ชินวัตรไม่น้อย

มาถึงวันนี้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ น่าจะได้รู้แล้วว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาต้องกลายมาเป็นฝ่ายค้านโดยไม่เต็มใจ เพราะความคิดชาตินิยมล้าหลังที่สืบทอดกันมาแต่ในอดีตของพรรคประชาธิปัตย์ นั้นสิ้นมนต์ขลัง อภิสิทธิ์ พรรคประชาธิปัตย์ และ คนที่เกาะกระแสนี้อย่างเหนียวแน่น คือ สุวิทย์ คุณกิตติ พ่ายแพ้อย่างหมดรูปในการเลือกตั้งที่จัดขึ้นระหว่างที่ศึกการต่อสู้เรื่อง ปราสาทพระวิหารกำลังข้นเคี่ยวในเวทีศาลโลกและเวทีคณะกรรมการมรดกโลก นี่เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมของวาทกรรมชาตินิยมแบบเก่าเป็น อย่างดี

แต่ก็อีกนั่นแหละ แม้ว่านักสื่อสารมวลชนแนวประสบสอพลอจะเห่กล่อมว่าอภิสิทธิ์และแกนนำพรรคประ ชาธิปัตย์ มีความสามารถและปราดเปรื่องเพียงใด แต่ข้อเท็จจริงก็คือ พวกเขายังคิดไม่ออกจนกระทั่งปัจจุบันนี้ว่าจะหาอะไรมาต่อสู้กับกลุ่มทักษิณ ได้ในยุคสมัยปัจจุบัน เวลานี้ก็ได้แต่วิ่งกลับไปฉวยเอาดาบผุๆและเพลงกระบี่เดิมๆของพวกชาตินิยม มากวัดแกว่ง อ้างว่าพวกทักษิณสมคบกับกัมพูชา ทำลายผลประโยชน์ของชาติ โดยไม่ยอมพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ได้เลยสักนิดว่า อย่างไร?

พวกเขาอาศัยอารมณ์ริษยาของคนอกหักในยามรักคุดมาเป็นแรงบันดาลใจในการขับ เคลื่อนประเด็นทางการเมืองด้วยการกล่าวหาว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาที่ทำท่าว่าจะดีขึ้นหลังจากที่พวกเขาหมด อำนาจนั้นมีผลประโยชน์ส่วนตัวเกี่ยวข้องมากมาย พรรคประชาธิปัตย์พยายามจะชวนให้คนเชื่อว่า ทักษิณ จะขนเอาทรัพยากรในอ่าวไทยและดินแดนรอบๆปราสาทพระวิหาร (ซึ่งก็ยังไม่แน่นักว่าเป็นของใคร) ไปประเคนให้กัมพูชา (หรือที่จริงแล้วพวกเขาอยากพูดให้ชัดกว่านั้นว่าเอาไปให้ฮุนเซนเป็นการส่วน ตัว) เพื่อแลกกับความสัมพันธ์ที่ดี หรือ ในทางกลับกันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีจะเอื้อประโยชน์ในธุรกิจส่วนตัว ของทักษิณ

อภิสิทธิ์พูดเสมอว่า ความสัมพันธ์กับกัมพูชาที่เสื่อมทรุดในยุคสมัยของเขาเป็นเพราะเขาไม่ยอมตาม ฮุนเซน สิ่งที่อภิสิทธิ์ไม่เคยยอมรับเลย คือ ความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่างประเทศของเขาเองต่างหากที่เป็นปัญหา

พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาว่า ทักษิณมีผลประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลี่ยมในอ่าวไทย แต่ระยะเวลาสองปีกว่าในอำนาจพวกเขากลับไม่ยอมแสดงให้เห็นเลยว่ามีผลประโยชน์ เช่นว่านั้นมีอยู่แค่ไหนเพียงใด แต่ถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่วายพูดแล้วพูดอีก ด้วยหวังว่า จินตนาการของพวกเขาคงเป็นจริงขึ้นมาสักวัน ทั้งๆที่ก็รู้อยู่เต็มอกแล้วว่า พื้นที่ในเขตทับซ้อนนั้นถูกจองเอาไว้แล้วโดยบริษัทต่างชาติ ประเทศไทยให้สัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่บริเวณนั้นตั้งแต่ทักษิณยัง ไม่ประสีประสาทางการเมืองเลยด้วยซ้ำ กัมพูชาเองก็ให้ไปตั้งแต่ก่อนจะลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลทักษิณ และประการสำคัญการเจรจาเรื่องการแบ่งผลประโยชน์ทางทะเลนั้นไม่สามารถทำได้ ชั่วข้ามคืน กรณีไทยมาเลเซียนั้นไม่มีประเด็นทางการเมืองมาเกี่ยวข้องเลยยังใช้เวลานับ เป็นสิบๆปี ถ้าหากทักษิณและพวกของเขาต้องการจะมีผลประโยชน์เรื่องนี้จริงๆ ก็มีวิธีที่ทำได้ง่ายกว่าโดยการขอแบ่งหุ้นจากบริษัทเชฟรอน ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่อยู่นอกกรอบการเจรจาระหว่างสองประเทศ

สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีสมัยอภิสิทธิ์ที่ถูกฮุนเซน กล่าวหาว่าพยายามจะขอเจรจานอกรอบกับกัมพูชาเรื่องผลประโยชน์ทางทะเลนั้นออก มาพูดว่า ไม่มีใครสามารถจะตกลงเรื่องนี้นอกรอบกันได้เพราะประเทศไทยมีขั้นตอนตาม กฎหมายมากมายในการตรวจสอบสัญญากับต่างประเทศ แต่สุเทพพูดแบบนี้คงลืมไปว่า พรรคของเขากำลังกล่าวหาคนอื่นอยู่ หรือ อาจจะพยายามทำให้เข้าใจว่าคนที่เขากล่าวหาอยู่นั้นไม่ได้อยู่ในระเบียบ กฎหมายอันเดียวกันกับเขา

เรื่องผลประโยชน์ทักษิณมีอยู่หรือไม่เพียงใดนั้นก็เป็นเรื่องสมควรที่จะ ต้องมีการตรวจสอบแน่นอน คงเป็นเรื่องที่น่าสรรเสริญหากพรรคประชาธิปัตย์จะตั้งอกตั้งใจตรวจสอบเรื่อง ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ แต่เกรงว่าพวกเขาคงจะไม่ทำอะไรให้มันกระจ่างขึ้นมา เพราะพวกเขาคิดจะแสวงประโยชน์ทางการเมืองจากความคลุมเครือเหล่านี้มากกว่า

รัฐบาลอภิสิทธิ์ตัดสินใจที่จะยกเลิกบันทึกความเข้าใจเรื่องเขตทับซ้อนทาง ทะเลปี 2544 ที่ทำขึ้นสมัยรัฐบาลทักษิณแต่น่ากลัวว่าแรงจูงใจในการยกเลิกนั้นกลับไม่ใช่ เรื่องการรักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างที่กล่าวอ้าง หากแต่เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของพรรคการเมืองเก่าแก่ของเขาเสียมากกว่า เพราะรัฐบาลอภิสิทธิ์เพียงประกาศและมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ว่าให้ยกเลิกทว่ากลับไม่ยอมบอกกล่าวต่อกัมพูชาอย่างเป็นทางการเลย และไม่ยอมเอาเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภา อภิสิทธิ์อ้างว่าไม่มีเวลา ทั้งๆที่เขามีเวลาเป็นปีๆก่อนที่จะยุบสภา ถ้ามันเป็นเรื่องเสียหายร้ายแรงอย่างที่เขากล่าวอ้าง จะปล่อยไว้ทำไมเนิ่นนานเพียงนั้น

สรุปแล้วบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ เวลานี้พรรคประชาธิปัตย์ทำเป็นมาท้าทายให้รัฐบาลใหม่นำหนังสือสัญญาฉบับนี้ กลับมาใช้ โดยพยายามจะทำให้คนเข้าใจว่า พวกเขาเลิกมันไปแล้ว ถ้านำกลับมาใช้ใหม่เท่ากับเป็นการเอื้อประโยชน์ทักษิณ พรรคการเมืองที่เป็นที่นิยมของพวกชนชั้นสูง พยายามพูดเรื่องที่มีความกระจ่างแจ้งอยู่แล้ว ให้มีความคลุมเครือ เพียงหวังว่าจะอาศัยเหตุแห่งความคลุมเครือนั้นมาเล่นงานคู่แข่งทางการเมือง ของตัวเองได้อีก แต่ดูๆไปก็ออกจะเพ้อเจ้อเสียมากกว่า

เมื่อเรื่องผลประโยชน์เรื่องปิโตรเลี่ยมพิสูจน์อะไรไม่ได้เป็นชิ้นเป็น อัน แถมยังโดนฮุนเซน คนเก๋าเกมกว่าชิงลงมือเปิดประเด็นเรื่องความคลุมเครือในการดำเนินงานต่าง ประเทศ เรื่องนี้ทำท่าจะกลายเป็นมุกแป๊ก สิ่งต่อไปที่พรรคประชาธิปัตย์จะทำคือ พูดเรื่องเกาะกูด ในทำนองที่ว่าบันทึกความเข้าใจปี 2544 เป็นการรับรองการอ้างไหล่ทวีปของกัมพูชา ดังนั้นรัฐบาลใหม่นี้จะต้องทำในสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีปัญญาทำคือ ยกเลิกหนังสือสัญญานี้เสีย ไม่เช่นนั้นประเทศไทยต้องเสียอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูดแน่นอน อันที่จริงบางคนพูดว่าเสียไปแล้วด้วยซ้ำไป

ข้อเท็จจริงคือ กัมพูชาขีดเส้นอ้างไหล่ทวีปตั้งแต่ปี 2515 จากหลักเขตทางบกที่ 73 ค่อนลงทางตะวันตกเฉียงใต้เล็กน้อยตรงมายังเกาะกูดและอ้อมตัวเกาะไม่ได้อ้าง เอาเกาะกูด และสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสปี 1907 เขียนว่า เกาะทั้งหลายใต้แหลมสิงห์ไปถึงเกาะกูดเป็นของสยาม หมายความว่าต่อให้กัมพูชาอ้างเอาเกาะกูดจริงๆพื้นฐานการโต้แย้งเรื่องนี้ของ ไทยชัดเจนมั่นคงมากกว่าการเถียงเอาปราสาทพระวิหารของเขาเป็นไหนๆ

แต่บรรดาผู้รักชาติก็ห่วงอยู่ดีเพราะเส้นที่กัมพูชาอ้างไหล่ทวีปนั้นขีด อ้อมเกาะกูด ทำไมไม่ขีดหนีเกาะกูดไปเสียเลย ทำไมต้องไปทำเอ็มโอยูรับรองเส้นนี้อีก? ที่จริงแล้วไม่มีความตอนไหนในเอ็มโอยูนั้นให้การรับรองเส้นอะไรของใครทั้ง สิ้น เพราะในความเป็นจริงไทยอ้างพื้นที่ไหล่ทวีปในปี 2516 ก็ขีดเส้นเข้าไปใกล้เขตกัมพูชามาก ถ้าอาศัยตรรกของผู้รักชาติทั้งหลายที่ว่าเอ็มโอยูรับรองเส้นที่กัมพูชาอ้าง ด้วยหลักเดียวกันหนังสือฉบับนี้ต้องรับรองสิทธิ์ของไทยด้วยเช่นกัน ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงเราก็ได้ดินแดนมหาศาลไปแล้วจะเลิกเอ็มโอยูนี้ทำไมให้ เสียประโยชน์

โลกของความเป็นจริงคือเรามองอะไรข้างเดียวแบบนั้นไม่ได้ หลักกฎหมายบอกว่าแต่ละประเทศอ้างไหล่ทวีปได้ไปจนถึงความลึก 200 เมตร แต่อ่าวไทยนั้นส่วนที่ลึกสุดแค่ 80 กว่าเมตร เมื่อทุกประเทศอ้างเหมือนกันเขตที่อ้างมันก็ต้องทับซ้อนกันแน่นอน เมื่อมันทับซ้อนกันแล้วถ้าไม่มีปัญญาเอาเรือรบไปตีเอามา ก็คงจะต้องนั่งลงเจรจากัน เอ็มโอยู ปี 2544 ก็ไม่ได้บอกให้ทำอะไรมากไปกว่าให้นั่งลงเจรจาแบ่งกันเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นตราบเท่าที่ยังเจรจาตกลงกันไม่ได้ ก็ยังพูดไม่ได้อยู่ดีว่าของใครเป็นของใคร แต่นักการเมืองเอาเรื่องนี้มาโจมตีกันว่าอีกฝ่ายหนึ่งทำเสียดินแดนไปเรียบ ร้อยแล้ว เรื่องแบบนี้ไปพูดที่ไหนในโลกเขาก็คงขำๆ แต่ในประเทศไทยมีคนเชื่อว่า ทำแบบนี้เราเสียดินแดนไปแล้วด้วย วุฒิสมาชิกบางคนถึงกับเอาเรื่องนี้ไปพูดในสภาด้วยซ้ำไป ถ้าการได้หรือเสียดินแดนมันทำได้แค่ขีดเส้นบนกระดาษ กองทัพเรือคงไม่ต้องดิ้นรนหาเรือดำน้ำกระมัง เพราะนักการเมืองไทยดำน้ำเก่งกันทุกคน ที่สำคัญพวกเขาสามารถไปกันได้แบบน้ำขุ่นๆด้วย

Design by นิติราษฎร์

ที่มา ประชาไท

อีกครั้งที่ประเด็นทางการเมืองกลับสะท้อนอย่างอื่นออกมาให้แจ้งคาตา แล้วบอกว่ามันอาจไม่ใช่ปัญหาการเมืองในความหมายที่พวกผู้ใหญ่เชยๆมักกล่าว เตือนในความสกปรกของมัน จนเด็กดีๆอย่างเราควรไปสนใจทำอย่างอื่นเสียดีกว่า ซึ่งข้าพเจ้าก็เชื่อฟังมาจนทุกวันนี้ ยิ่งนานวันก็ยิ่งพบว่าสิ่งนั้นมิได้ทั้งสกปรกหรือสะอาด ชะรอยว่ามันอาจมิใช่ปัญหาหรือปริศนาทางการเมืองเสียทีเดียวอีกตะหาก

ข้อเสนอของนิติราษฎร์มิใช่การประกาศข้อโต้แย้งทางการเมืองของความคิดฟาก ฝั่งใด(ในความหมายที่ว่ามันมีอยู่แค่ 2 ฟากในแบบปัจจุบัน) แต่มันเป็นผลงานการออกแบบโดยนักกฏหมาย ที่productของมันคือกฏเกณฑ์ข้อตกลงทางสังคม

ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตว่า เหตุหนึ่งที่มันเขย่าการถกเถียงได้อย่างอึกทึก ก็อาจเพราะตัววิธีการคิดแบบใช้ creativity นำหน้าเข้าไปทลายกฏเกณฑ์ และบางอย่างที่คล้ายกระบวนการออกแบบนั้นเอง ที่อาจเป็นสิ่งใหม่สำหรับระเบียบวิธีก่อร่างสร้างกฏของวงการกฏหมายแบบไทยๆ ที่คงจะยังมีpatternตามจารีตบางอย่างกำหนดไว้

กฏหมายอีกนัยหนึ่งก็คือจารีตที่แข็งตัว ว่ากฏก็คือกฏ จะเปลี่ยนอะไรต้องอยู่ในกรอบของกฏเดิมที่ใหญ่กว่า, ศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่กว่า นิติศาสตร์ดูเป็นอาชีพที่น่าเบื่อ ที่เข้าไปเรียนท่องกฏหมาย และไม่เคยมีหนังไทยเรื่องไหนมีบทสนทนามันส์ๆบนฉากการโต้กันระหว่าง ทนาย-อัยการ-ศาลเท่าหนังอเมริกันอย่าง JFK หรือ A few good men เป็นต้น

ผู้เขียนจะลองไล่ทีละประเด็นโดยเปรียบเทียบวิธีคิดที่แสดงออกมาในข้อเสนอ ของนิติราษฎร์ กับกระบวนการออกแบบ เท่าที่สมองมนุษย์เคยคิดค้นวิธีการหรือจดบันทึกกันเอาไว้ โดยละเนื้อหาของข้อเสนอไว้ในฐานที่เข้าใจว่าได้อ่านและฟังกันมาแล้ว (และเข้าใจเท่าที่ประชาชนเข้าใจ ไม่ใช่อย่างนักเทคนิคทางกฏหมาย)

หนึ่ง เมื่อสิ่งใดๆเริ่มใช้การได้ไม่ดี ไม่สะดวก ไปจนถึงเป็นอันตราย มนุษย์ก็จะเริ่มออกแบบสิ่งนั้นๆใหม่ ไม่ว่าจะโดยผู้ออกแบบผู้มีชื่อเสียงหรือนิรนามก็ตาม

อันนี้ท่านคงพอเข้าใจได้เอง ว่าการใช้การได้ของกฏหมาย หรือกระบวนการยุติธรรมไทยในช่วง 5ปีที่ผ่านมานั้น ไม่ได้ผลิตอะไรเพิ่มให้แก่สังคมนอกจากจำนวนมาตรฐานและคดีหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ นั่นหมายความว่ามันมีสิ่งผิดปกติที่สมควรเปลี่ยนแปลงหรือได้รับการออกแบบ เสียใหม่ นักออกแบบอาจมองเห็นอะไรแบบนี้ในระดับการโค้งงอของแปรงสีฟันในปาก แต่เหล่าท่านอ.นิติราษฎร์เห็นขี้ฟันที่ตกค้างอยู่ในซอกหนึ่งหรือหลายซอกของ กฏหมายรัฐธรรมนูญ เนื่องเพราะรูปร่างของแปรงสีฟันและยาสีฟันที่ใช้ หรือแม้กระทั่งท่าทีและนิสัยของตัวผู้ใช้ เป็นต้น

ข้อนี้มีทั้งผู้ที่ตระหนักว่ารัฐประหารนั้นเป็นขี้ฟัน ส่วนบางท่านยังคิดว่ามันเป็นทองที่เลี่ยมฟัน(ปกปิดฟันผุ ฟันหลอ)จึงมิควรต้องทำการออกแบบใดๆ เลยไม่อ่านผลงานออกแบบให้เข้าใจ เขวี้ยงแบบทิ้งแล้วปากไวด่าเลย (เสียหมาปลาหมอไปหลายท่าน)

สอง ในกระบวนการออกแบบ หลังการค้นพบในข้อที่หนึ่ง สิ่งที่ทำต่อไปคือการสร้างทางเลือกหรือทำ alternative design เพราะเราอยู่ในยุคสมัยที่รู้ว่าพระเจ้าหรือกษัตริย์จะไม่ส่งนิมิตหรือคำตอบ จากสวรรค์เพียงคำตอบเดียวมาสู่ศิลปินอีกต่อไปแล้ว เราก็จะร่างsketchรูปแบบทางเลือก แล้วทำการวิเคราะห์แจกแจงข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกจนมันเหลือน้อยที่สุด จนประกอบร่างใหม่เป็นแบบที่ต้องการนำเสนอที่คิดว่าเข้าท่าที่สุด

อาจกล่าวได้ว่าเราทุกคนเหมือนติดกับดักกันอยู่ในข้อที่หนึ่ง เราพูดถึงภาวะไม่น่าสบาย แล้วก็มีเพียงคำ”ปรองดอง”เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ ราวกับว่าสวดคำนี้ออกมาบ่อยๆแล้วมันจะบรรเทาทุกสิ่ง ทำให้ขี้ฟันหายไปฟันไม่ผุโดยไม่ต้องทำการแปรงฟัน ยิ่งสวดก็ยิ่งเหม็นขี้ฟัน...แล้วคนที่คิดออกว่าจะเริ่มทำอะไรก็อาจเป็นเพราะ เลิกหมกมุ่นวิเคราะห์กับคำนี้ แต่สำรวจจ้องมองเรื่อง “รัฐประหาร”และสิ่งที่รายรอบมัน

ข้อเสนอนิติราษฎร์เป็นเหมือนการทำ alternative design sketch ที่ยังมิได้ทำการผลิตออกมาเป็นproduct (และก็เสนอกระบวนการเพื่อที่จะผลิตมันออกมาในขั้นต่อไป) เขาออกมาเสนอแนวความคิดหลักแต่สังคมคุณพ่อรู้ดีก็รีบตอบรับความแหลมคมทาง ความคิดด้วยการทิ่มมันกลับไปหาคนคิด หรือวิธีการเก่าๆที่ว่าแค่เพียงความคิดก็เป็นภัยต่อความมั่นคง(ทาง ใจ)บางอย่างไปต่างๆนานาเสียแล้ว เช่น เสนอมาแล้วสังคมจะแตกแยก, ทักษิณกำลังจะคืนชีพ, อ. ฉลาดๆอย่างอ.วรเจตน์จะได้เป็น สสร.(มันน่ากลัวตรงไหน(ฟระ)?)

สาม การพบว่าโจทย์ในการออกแบบนั่นแหละคือปัญหา และกฏที่มีอยู่ต่างหากที่เป็นอุปสรรค แล้วนำไปสู่แนวความคิดหลักในการออกแบบหรือข้อเสนอของเขา

อาการ panicดังกล่าวยืนยันว่าเรามีปัญหาในข้อที่หนึ่ง ซึ่งมันคือตัวโจทย์เองกำลังบอกเราว่า...เรามีปัญหาใหญ่หลวงให้แก้ แต่ห้ามคิดหรือทำอะไรใหม่ๆ(ที่ไปแตะ 1 2 3 4....) มาร่วมแก้โจทย์กันเถิด?.... หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการตั้งโจทย์ลักษณะนี้ขึ้นมานี่แหละที่ทำให้การแก้ ปัญหานั้นๆเป็นไปไม่ได้ และนั่นก็หมายความว่าต้องทลายโจทย์แบบนี้ทิ้งเสียก่อน! ...

นิติราษฎร์เลือกเสนอalternativeที่ทลายกฏเดิม(ที่เป็นกฏหมายจริงๆ! ) หรือที่จริงแล้วมันลวง เพราะมันคือกฏหมายที่อุปโลกน์ตัวเอง ประกาศว่าตัวฉันเองคือกฏหมายจริงนะ เสนอลบทิ้งกฏหมายลวง(ประกาศนิรโทษกรรมตัวเองคณะปฏิวัติ) ที่ล็อคกฏหมายตัวที่ลวงต่อๆกันมาทิ้งเสียก่อน (บนการมีฐานคิดที่ว่ารัฐประหารเป็นตัวปัญหา ไม่ใช่แก้ปัญหาเสียก่อน แล้วไล่ตรรกะเชื่อมโยงกันมา)

มันทลายกฏเดิมและขยายจินตนาการความเป็นไปได้ออกไปได้อย่างไร?...อ่านราย ละเอียดแถลงการณ์ ในประเด็นเช่น ความไม่เป็นรัฐาธิปัตย์ของรัฐประหารนั้น หลายคนไม่อาจทลายความคิดนี้ด้วยเหตุที่รู้ว่าใครสนับสนุนรัฐประหาร ไม่ใช่เพราะไม่เชื่อว่าอำนาจประชาชนนั้นสูงสุด (เหตุผลแบบนี้อาจเป็นคุณสมบัติแปลกๆ แต่ดำรงอยู่จริงและมีความงามอย่างไทย!), ประเด็นที่ว่าโดย logicของข้อเสนอนี้เองควรปรับใช้กลับไปเยียวยาผลกระทบของรัฐประหารที่ผ่านมา ทุกครั้ง เช่น กรณี6ตุลา ที่คนผู้ยังไม่เคยได้รับการเยียวยาพูดกันอยู่เงียบๆอย่างสิ้นหวังมาตลอด35ปี ว่าคดีหมดอายุความ และได้รับ(แผลเป็น)นิรโทษกรรมกันไปหมดแล้ว เป็นต้น)

สี่ แกเป็นใครจึงมาเสนอแบบร่างในการออกแบบ? ต้องมีผู้ว่าจ้างแกมาแน่ๆ

ผู้เขียนไม่มีความรู้ทางกฏหมายแต่จับใจความได้ว่า วงการนิติศาสตร์ไทยไม่ต้อนรับ”การคิดค้น“ หรือข้อเสนอแก้ไขกฏหมายใดๆที่ไม่ได้มาตามลำดับขั้นตอน เช่น ความคิดสร้างสรรค์ทางกม.นั้นอาจจะควรไหลมาจากทิศทางมาตรฐาน เช่นองค์กรสมาคมทนายความที่มีอยู่, รัฐสภา, คณะทำงานที่รัฐบาลตั้งให้ศึกษาชงเรื่อง, ฯลฯ ซึ่งก็อาจไม่มีอะไรที่น่าสนใจไหลออกมาอย่างเป็นเรื่องปกติกันไปเสียแล้ว นอกจากนี้ผู้เขียนก็ยังประหลาดใจที่ว่า ถ้าไม่ใช่นักวิชาการทาง นิติศาสตร์ที่น่าจะเป็นคนที่เสนอนวัตกรรมทางกฏหมายเสียแล้ว มันควรจะเป็นใคร? เราไม่ควรถามว่าเขาไปรับเงินใคร แต่ควรถามว่าสังคมแบบไหนกัน ปล่อยให้เขาต้องทำงานเหล่านี้กันโดยไม่ได้เงิน แถมโดนป้ายสีว่าอาจมีคุณสมบัติตามสูตรผู้ร้ายทั้งมวลอีกตะหาก?

เมื่อตอนไอน์สไตน์คิดทฤษฎีสัมพันธภาพก็ไม่มีใครจ้างแกซักหน่อย อย่าลืมว่าคนแบบนี้ยังมีอยู่ในโลก และอยู่กันอย่างเป็นปกติทั้งที่ดังและไม่ดังเท่าไอน์สไตน์ แต่มนุษย์อย่างกลุ่มนิติราษฎร์กลับกลายเป็นของแปลกของวงการกฏหมายไทยที่ เสือกเกิดมามีและใช้ความสามารถสร้างสรรค์ในทางกฏหมายโดยไม่มีคนจ้าง

หรือมันอาจมีลำดับชั้นบางอย่างในวงการนี้ ที่ความสร้างสรรค์ของนิติราษฎร์กระโดดข้ามหัวสังคมorganic หรือผิดสิ่งที่มักอ้างกันว่ามันคือ กาละเทศะ

ห้า ข้อเสนอของนิติราษฎร์ยังเป็นsketch design ไม่ใช่ Product บังคับซื้อบังคับใช้แบบที่ประกาศคณะปฏิวัติทำไว้กับเรา หรือสร้างจารีตการบังคับใช้productที่เรียกว่ากฏหมายเอาไว้กับเรา มันไม่ใช่ของแจกฟรีโดยพวกเราไม่ต้องออกแรงใดๆอีกต่อไป มันจะใช้การได้หรือไม่(หรือจะได้ถูกเอามาใช้ไหม)”ควร”ขึ้นอยู่กับการตัดสิน ใจของผู้ใช้ และแน่นอนที่ว่ากฏหมายนั้นเครียด ละเอียดอ่อนและแหลมคมกว่าขนแปรงสีฟัน ที่หากแค่สวยก็มีsupplierอยากซื้อแบบไปผลิตได้ทันที productใดๆมักผ่านการทำแบบร่างทางเลือกเป็นร้อยพันครั้ง ไม่นับว่าบางตัวผลิตออกมาเป็นseriesดัดแปลงไปตามผลตอบรับผู้ใช้ หรือบ้างก็งอกออกมาเป็นหลายversionในหนึ่งรุ่น เช่น แค่จะขายของอย่างชุดเก้าอี้พลาสติกของphillippe starkเขายังคิดกันหัวแตกเป็นปีๆ แต่สำหรับข้อเสนอขนาดเรื่องของกฏหมายรัฐธรรมนูญขนาดนี้ สังคมไทยห้าวเป้ง จ้องล้มschemeกันได้ตั้งกะยังไม่เข้าใจแบบกันเลยทีเดียว

นิติราษฏร์เสนอผ่านสาธารณะว่าให้นำข้อเสนอนี้ไปให้เหล่า สสร.ในอนาคตใคร่ครวญ ผลักดันมันออกมาเป็นการทำประชามติซะ ว่าประชาชนต้องการมีproductนี้ไว้ใช้ในครัวเรือนกันอย่างสามัญชนหรือไม่ คือเอาความคิดไปทดสอบกับผู้ใช้โดยตรง(ซึ่งคือประชาชนมิใช่ผู้รู้ ผู้อาวุโสมากบารมีใดๆ) คล้ายกับทำmarket test

และในระหว่างกระบวนการแบบสาธารณะนี้ หากมันจะทำให้เกิดไอเดียเป็นalternativeใหม่ๆที่แตกออกมาจากคนอื่นๆก็ยิ่งจะ ดีเข้าไปใหญ่เสียด้วยซ้ำ นิติราษฎร์เขาเสนอทางเลือกและประเด็น ไม่ได้ประกาศกฏหมายหรืออุปโลกน์ตัวเองเป็นผู้ประกาศกฏหมาย

การรับ-ไม่รับข้อเสนอนี้ในอนาคตก็ไม่ใช่เพื่อการพิสูจน์ฟาดฟันเอาชนะทาง ความคิดของฟากไหนทั้งสิ้น เสียงส่วนใหญ่อาจไม่รับ แล้วถึงแม้ถ้าคนคิดเขาจะเอาแบบกลับไปปรับใหม่ มาเสนอใหม่ก็น่าจะดำเนินกันต่อไปได้มิใช่หรือ? ทำไมความคิดสร้างสรรค์จึงจะกลายเป็นสิ่งน่ารังเกียจไม่สมควร หรือคู่ควรแก่การรับรู้ของสาธารณะล่ะหรือ? มีแต่วิถีแบบนี้เท่านั้นจึงจะเป็นสังคมที่เราเรียกว่าเปิดกว้างและเป็น ประชาธิปไตยไปพร้อมๆกับมีความปรองดองแบบที่ท่านโหยหากันมิใช่หรือ?

หก และแน่นอนวันใดที่มันเสื่อมประโยชน์ใช้สอย สินค้าใหม่ หรือกฏกติกาที่ทันสมัยกว่าย่อมสมควรถูกผลิตมาเสนอทดแทนวนเวียนไปจนกว่าโลกจะ แตก ผู้เขียนจึงไม่เข้าใจจริงๆว่าข้อตอบโต้ที่ไม่เป็นวิชาการ แต่แตกตื่นกับความคิดของนิติราษฎร์จะตกใจอะไรกันนักหนา เช่น ถ้าเราจะมีสสร.ที่เป็นนักนิติศาสตร์ที่ฉลาดๆกันเสียที ก็เป็นเรื่องน่ายินดีเป็นโชคแก่ประเทศชาติเสียยิ่งกว่าการได้นายกคนก่อน หรือได้สสร.เกรียนๆในชุดก่อนอย่างสมคิดเสียด้วยซ้ำ

แน่นอนที่สุดว่าสังคมไม่ได้ต้องการแค่ความคิดสร้างสรรค์จากนิติศาสตร์ เหาะลงมาช่วยเราปรองดอง....แต่แค่ต้องการเงื่อนไขที่ยอมให้ความคิดสร้าง สรรค์ไม่ว่าจะของศาสตร์ไหนๆเกิด...มีชีวิต...และแก่ตายไปจนกว่าจะมีอันใหม่ มาเกิด

ไม่ใช่สังคมที่ทำแท้งมันเสียตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิเป็นแบบร่าง

นักปรัชญาชายขอบ: นิติราษฎร์กับคำถามท้าทายสังคมไทย

ที่มา ประชาไท

น่าสังเกตว่า “ปฏิกิริยา” ต่อข้อเสนอ 7 ข้อ เพื่อล้างรัฐประหารของนิติราษฎร์ แทนที่จะถกเถียงใน “ประเด็นหลัก” กลับไปถกเถียง “ประเด็นรอง” เช่น เรื่องเทคนิคทางกฎหมายว่าจะทำได้หรือไม่ จะเอื้อประโยชน์แก่ทักษิณหรือไม่ จะทำให้เกิดความแตกแยก เป็นชนวนให้เกิดรัฐประหารรอบใหม่หรือไม่ ระบอบทักษิณ และลัทธิรัฐประหารอะไรเลวกว่ากัน กระทั่งเสียดสีว่านิติราษฎร์ คือ “นิติเรด” ฯลฯ

ยิ่งกว่านั้นเหตุผลคัดค้านของบรรดาสื่อ นักการเมือง ทหาร นักวิชาการ นักกฎหมาย ทนาย หรือบรรดาผู้อ้างว่ารักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ทั้งหลาย ทำให้เรารู้สึกได้ชัดแจ้งว่า สำหรับประเทศนี้การลบล้างรัฐประหารเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญกว่าการล้ม ประชาธิปไตยอย่างเทียบกันไม่ได้
ประเด็นหลักที่นิติราษฎร์เสนอคือ “การล้างรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” เป็นการล้างรัฐประหารบนจุดยืนที่ว่า รัฐประหารล้มระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ผิดในตัวของมันเอง ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลใดๆ ก็ตาม เช่น อย่างที่ สัก กอแสงเรือง อ้างว่า รัฐประหาร 19 กันยาเป็นรัฐประหารขจัดการโกงชาติบ้านเมือง ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่ควรยอมรับ เพราะหากมีการโกงชาติบ้านเมืองจริงก็ต้องขจัดการโกงนั้นตามกระบวนการ ยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่แก้ด้วยรัฐประหาร
ถ้าจะโต้ข้ออ้างแบบสัก กอแสงเรือง โดยไม่ต้องคิดอะไรซับซ้อนนัก แค่เรามองตามข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ถ้าทักษิณโกงชาติบ้านเมืองจริงตามที่คณะรัฐประหารและฝ่ายสนับสนุนกล่าวหา ถามว่าผลเสียหายจากการโกงของทักษิณ กับผลเสียหายที่ตามมาหลังใช้วิธีรัฐประหารขจัดทักษิณ อันไหนเสียหายแก่ชาติบ้านเมืองมากกว่า
ความแตกแยกและความรุนแรงทางสังคมที่เกิดขึ้นกว่า 5 ปีที่ผ่านมา เราจะโยนความผิดให้ทักษิณคนเดียวได้อย่างไร ฝ่ายที่ใช้วิธีรัฐประหารขจัดทักษิณจะรับแต่ “ชอบ” ไม่ยอมรับ “ผิด” ใดๆ เลยเช่นนั้นหรือ?
ที่สำคัญในเชิงหลักการ หากถือว่ารัฐประหารควรเป็นวิถีทางที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ประเทศของเราจะไม่ต้องทำรัฐประหารเป็นรายปีงบประมาณกันเลยหรือ?
แต่ประเด็นของนิติราษฎร์ ไม่ใช่การชวนถกเถียงว่ารัฐประหารกับทักษิณใครผิดกว่า มันเป็นข้อเสนอที่ “ฟันธง” ไปเลยว่า แม้ทักษิณจะผิดจริงตามข้อกล่าวหาของคณะรัฐประหาร การกระทำรัฐประหารนั้นก็เป็นสิ่งที่ผิด และสมควรถูกลบล้างไป โดยให้ถือเสมือนว่าการทำรัฐประหารและการเอาผิดทางการเมืองกับฝ่ายที่ถูกทำ รัฐประหารเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น คือไม่มีสถานะและอำนาจที่ชอบธรรมทางกฎมายของรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร หรือสภาพนิติรัฐ นิติธรรมภายใต้ระบบอำนาจที่มาจากรัฐประหารอยู่จริง
เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็หมายความว่า คดีที่ดินรัชดา คดียึดทรัพย์ทักษิณก็ไม่มีผลทางกฎหมาย แต่ไม่ได้หมายความว่าทักษิณไม่ได้เคยทำผิดในทางความเป็นจริง ฉะนั้น ข้อกล่าวหาในเรื่องดังกล่าวของทักษิณจึงสามารถนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ปกติในระบอบประชาธิปไตยได้ ทักษิณก็ไปสู้คดีภายใต้กระบวนการยุติธรรมที่มีความเป็นกลางต่อไป
ฉะนั้น ข้อเสนอของนิติราษฎร์จึงเป็นการชวนให้สังคมมาตั้งคำถามพื้นฐานที่สุดในทาง สังคมการเมือง คือคำถามที่ว่า สังคมเราควรจะอยู่ร่วมกันภายใต้ระบบสังคมการเมืองแบบไหน และภายใต้ระบบสังคมการเมืองแบบนั้น เราจะอยู่ร่วมกันด้วยกฎกติกาอะไร จึงจะถือว่ายุติธรรมแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม
แน่นอนว่า ข้อเสนอให้ล้างรัฐประหาร หรือปฏิเสธรัฐประหารอย่างถาวร ก็คือข้อเสนอที่ว่าเราต้องอยู่ร่วมกันภายใต้ระบบสังคมการเมืองที่เป็น ประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของราษฎรอย่างแท้จริง และภายใต้ระบบสังคมการเมืองเช่นนี้ กฎหมายหรือกติกาใดๆ ที่ถือเป็นข้อผูกพันที่สมาชิกของสังคมการเมืองทุกคนต้องปฏิบัติร่วมกัน จะต้องเป็นกฎหมายหรือกติกาที่สร้างขึ้นบน “หลักความยุติธรรม” (the principles of justice) ที่เป็นธรรมแก่ทุกคน นั่นคือหลักเสรีภาพและหลักความเสมอภาค อันเป็นหลักการพื้นฐานของระบบนิติรัฐประชาธิปไตย
รัฐประหารคือการล้มนิติรัฐประชาธิปไตย กฎหมายหรือกติกาใดๆ ที่คณะรัฐประหารกำหนดขึ้น และการดำเนินการใดๆ ที่เป็นการเอาผิดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย จึงไม่ได้ยึดโยงอยู่กับหลักความยุติธรรมอันเป็นพื้นฐานของนิติรัฐ ประชาธิปไตย ฉะนั้น ถ้าเรายืนยันว่าสังคมของเราควรเป็นสังคมการเมืองแบบประชาธิปไตย ก็หมายความว่าเรายืนยันหลักความยุติธรรมหรือนิติรัฐประชาธิปไตย เมื่อยืนยันเช่นนี้ การล้างรัฐประหารจึงเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ
ความจริงไม่ใช่แค่การล้างรัฐประหารเท่านั้นที่เป็นสิ่งจำเป็น ต้องทำ กฎหมายหรือกติกาใดๆ ที่ขัดแย้งกับหลักเสรีภาพ และหลักความเสมอภาค เช่น ม.112 เป็นต้น ก็ต้องถูกยกเลิกหรือแก้ไขปรับปรุงด้วย
ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. บอกว่า “กฎหมายมาตรา 112 ไม่ผิด แต่คนละเมิดกฎหมายดังกล่าวต่างหากที่ผิด” แสดงว่า เขาไม่เข้าใจว่ากฎหมายดังกล่าวลิดรอนเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ บุคคลสาธารณะของประชาชน จึงเป็นกฎหมายที่ผิด เพราะเป็นกฎหมายที่ขัดกับหลักความยุติธรรมคือหลักเสรีภาพ และหลักความเสมอภาค ส่วนที่ว่าคนผิดนั้น เพราะกฎหมายไปบัญญัติให้การกระทำที่ถูก (ตามหลักเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ) ของประชาชนกลายเป็นการกระทำที่ผิด ฉะนั้น กฎหมายที่ผิดเช่นนี้ (เป็นต้น) จึงควรยกเลิก หรือแก้ไขปรับปรุงไม่ให้ขัดต่อหลักความยุติธรรมแห่งนิติรัฐประชาธิปไตย
ปรากฏการณ์ “คณะนิติราษฎร์” ไม่ว่าจะเรื่องรณรงค์ให้แก้ไข ม.112 หรือข้อเสนอ 7 ข้อ เพื่อล้างรัฐประหาร ถึงที่สุดแล้วก็คือการตั้งคำถามกับสังคมนี้ว่า เราจะอยู่ร่วมกันภายใต้ระบบสังคมการเมืองที่เป็นนิติรัฐประชาธิปไตยไหม หากจะอยู่เราจำเป็นต้องปฏิเสธรัฐประหารให้เด็ดขาด ซึ่งจำเป็นต้องล้างรัฐประหาร และให้มีกฎหมายเอาผิดผู้ที่กระทำรัฐประหารได้ เมื่อฝ่ายทำรัฐประหารนั้นๆ หมดอำนาจไป หรือบ้านเมืองคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตย
ข้อเสนอดังกล่าวนี้ จึงเป็นการบังคับอยู่ในตัวของมันเองว่า ฝ่ายที่คัดค้านข้อเสนอจะกลายเป็นฝ่ายที่เอารัฐประหาร หรือสนับสนุนรัฐประหารไปโดยปริยาย และฝ่ายที่สนับสนุนข้อเสนอนี้คือฝ่ายที่เอาระบบสังคมการเมืองที่เป็นนิติรัฐ ประชาธิปไตยโดยปริยาย มันจึงไม่ใช่คณะนิติราษฎร์จะไปกล่าวหาฝ่ายคัดค้านว่าสนับสนุนรัฐประหาร แต่หลักการของข้อเสนอมันบังคับอยู่ในตัวของมันเองว่าต้องเป็นเช่นนั้น
โดยข้อเสนอนี้ไม่เกี่ยวโดยตรงกับเรื่องเอา-ไม่เอาทักษิณอีกแล้ว เพราะแม้คดีที่ดินรัชดาและคดียึดทรัพย์จะไม่มีผลทางกฎหมาย แต่การกระทำของทักษิณที่ถ้าเป็นความผิดจริงก็ยังสามารถดำเนินการตามกระบวน การยุติธรรมปกติในระบอบประชาธิปไตยต่อไปได้
ถามว่าทักษิณได้ประโยชน์ไหม ก็ได้ประโยชน์ในแง่ว่าได้รับโอกาสที่จะต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมที่ เป็นกลางจริงๆ ซึ่งโอกาสดังกล่าวนี้ก็เป็นโอกาสที่ทุกคนพึงได้รับอยู่แล้ว ภายใต้หลักความเสมอภาคตามกฎหมายในระบอบประชาธิปไตย
โดยสรุป หากสังคมเราไม่ใช่สังคมหลอกตัวเอง หรือไม่ถูกทำให้ติดกับดักการหลอกตัวเอง แต่เป็นสังคมที่ชัดเจนแล้วว่า เราจะอยู่ร่วมกันภายใต้ระบบสังคมการเมืองแบบนิติรัฐประชาธิปไตย ก็ไม่มีใครสามารถมีเหตุผลเพียงพอที่จะปฏิเสธหรือคัดค้าน “ประเด็นหลัก” ของข้อเสนอแห่งคณะนิติราษฎร์ได้
เมื่อเรายอมรับ “ประเด็นหลัก” ร่วมกันได้ “ประเด็นรอง” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคนิคทางกฎหมาย (น่าโมโหไหมที่เวลาเกิดรัฐประหารแล้วบรรดา “เนติบริกร” ต่างเสริฟ “เทคนิคทางกฎหมาย” แก่คณะรัฐประหารอย่างเอาการเอางาน) หรือเรื่องทักษิณ (และ ม.112 ฯลฯ) ก็เป็นเรื่องที่สามารถปรับ หรือแก้ไขให้สอดคล้องกับประเด็นหลักได้อยู่แล้ว

"ใจ อึ๊งภากรณ์" ตอบโจทย์ "สมคิด เลิศไพฑูรย์"

ที่มา ประชาไท

คำถามเรื่องการต่อสู้นอกระบบกฎหมายเพื่อเอาอำนาจรัฐคืนจาก "สมคิด เลิศไพฑูรย์" อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อ่านย้อนหลัง)

ใจ อึ๊งภากรณ์ขอตอบ....

ถาม: ถ้านาย ก.ทำรัฐประหารและได้อำนาจรัฐมา. เราจะต่อสู้นอกระบบกฏหมายเพื่อเอาอำนาจรัฐกลับคืนมาได้หรือไม่?

ตอบ: ต้องดูว่ากฏหมายมาจากไหนและมีความเป็นธรรมและส่งเสริมประชาธิปไตยหรือไม่ ในระบบประชาธิปไตยการต่อสู้นอกรัฐสภา เช่นการนัดหยุดงานหรือการประท้วงมีความชอบธรรมเต็มที่ และนอกจากนี้กลุ่มนิติราษฏร์กำลังสู้ในกรอบกฏหมาย

ถาม: ถ้านาย ข. ได้อำนาจรัฐมาโดยถูกต้อง แต่ต่อมานาย ข.เป็นเผด็จการ ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ไม่มีหนทางตามกฏหมายจะเอานาย ข. ออกจากตำแหน่งได้ เราจะต่อสู้นอกระบบกฏหมายเพื่อเอาอำนาจรัฐกลับคืนมาได้หรือไม่"?

ตอบ: เราจะใช้ทุกวิธีทางในกรอบอุดมการณ์ประชาธิปไตย เช่นรณรงค์ไม่เลือกในการเลือกตั้งครั้งต่อไป การเดินขบวน และการนัดหยุดงาน โดยเป้าหมายคือประชาธิปไตย แต่การทำรัฐประหารเป็นเรื่องอื่น เพราะไม่ได้สร้างประชาธิปไตย ตรงข้ามกัน

ในกรณีทักษิณ คนที่ไม่เห็นด้วยสามารถรณรงค์ตามกรอบประชาธิปไตยได้ แต่ปรากฏว่าพวกนักวิชาการเสื้อเหลืองมองว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่เลือกไทยรัก ไทย "โง่" "เข้าไม่ถึงข้อมูล" และ "ถูกจูงเหมือนควาย" ซึ่งเป็นการป้ายร้ายประชาชนไทย และมันนำไปสู่ความคิดว่าควรลดเสียงประชาชนตามสูตรพันพธมิตรฯ หรือการแต่งตั้ง สว. ครึ่งหนึ่งโดยทหาร

สมคิด เลิศไพฑูรย์ กำลังขยันแก้ตัวสำหรับการทำรัฐประหาร 19 กันยา และคัดค้านข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฏร์

000

เบื้องหลังพวกเสื้อเหลืองที่คัดค้านข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฏร์

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

กลุ่มพลังหลักที่อยู่เบื้องหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา ประกอบไปด้วย กลุ่มที่ไม่พอใจกับประชาธิปไตย โดยเฉพาะในกองทัพ เครือข่ายองค์มนตรี หมู่ข้าราชการชั้นสูง นักธุรกิจที่โกรธทักษิณ และปัญญาชนกับนักการเมืองเสรีนิยม กลุ่มพลังที่อยู่เบื้องหลังรัฐประหารมีจุดร่วมในการดูถูกและเกลียดชังคนจน สำหรับเขา การมีประชาธิปไตย “มากไป” ให้อำนาจ“มากเกินไป”กับคนจน ที่ลงคะแนนเสียงและส่งเสริมให้รัฐบาลใช้เงินอย่าง “ไม่ระมัดระวัง” ในการให้สวัสดิการ สำหรับคนเหล่านี้ที่สนับสนุนรัฐประหาร ประเทศไทยแบ่งแยกระหว่าง “ชนชั้นกลางที่มีจิตสำนึกประชาธิปไตย” และ “คนจนในชนบทและเมืองที่โง่และขาดความรู้” แต่ความจริงตรงกันข้าม คนจนเข้าใจและสนับสนุนประชาธิปไตย ในขณะที่คนที่ใครๆ เรียกว่าเป็นคนชั้นกลางใช้ทุกวิถีทางที่จะปกป้องอภิสิทธิ์ของตนเอง พวกที่เรียกหารัฐประหารหลงคิดว่าตัวเองคือ “ชาติ” โดยดูถูกและหันหลังให้พลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ

สิ่งที่แนวร่วมเผด็จการอนุรักษ์นิยมนี้ไม่พอใจคือ การขึ้นมาเป็นรัฐบาลของไทยรักไทย ได้เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการเมือง โดยที่ไทยรักไทยทำสัญญาทางสังคมกับประชาชนว่าจะมีนโยบายที่เป็นประโยชน์กับ ประชาชนเป็นรูปธรรม เช่นนโยบาย “สามสิบบาทรักษาทุกโรค” นโยบาย “กองทุนหมู่บ้าน” และนโยบายที่พักหนี้เกษตรกร ซึ่งรัฐบาลไทยรักไทยนำมาทำจริงๆ หลังจากที่ชนะการเลือกตั้ง เป้าหมายของไทยรักไทยคือการพัฒนาเศรษฐกิจกับสังคมไทย เพื่อให้ประเทศไทยแข่งขันในเวทีโลกได้ โดยเฉพาะหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลแรกที่มองว่าคนจนควรจะเป็น “ผู้ร่วมพัฒนา” โดยไม่มองว่าคนจนเป็น “ภาระ” หรือเป็น “คนโง่” สรุปแล้ว ไทยรักไทย สามารถทำแนวร่วมประชาธิปไตยกับประชาชนส่วนใหญ่ และครองใจประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นคนจน อย่างไรก็ตาม พรรคไทยรักไทย ไม่ใช่พรรคสังคมนิยม เพราะเป็นพรรคของนายทุนใหญ่ และเป็นพรรคที่มองว่าทุนนิยมไทยจะได้ประโยชน์จากการดึงประชาชนส่วนใหญ่เข้า มามีส่วนร่วมมากขึ้นทางเศรษฐกิจ

นี่คือสาเหตุที่ไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง และยังชนะจนถึงทุกวันนี้ภายใต้ชื่อพรรคเพื่อไทย การครองใจประชาชนด้วยนโยบายตามกระบวนการประชาธิปไตยนี้ คือสิ่งที่พวกนักวิชาการชนชั้นกลาง พวกเอ็นจีโอ พวกทหาร พวกข้าราชการชั้นสูง พวกนายทุนหัวเก่า และพรรคประชาธิปัตย์รับไม่ได้ ความไม่พอใจของแนวร่วมเผด็จการอนุรักษ์นิยม ไม่สามารถนำไปสู่การคัดค้าน ไทยรักไทย ด้วยวิธีประชาธิปไตยได้ เพราะถ้าจะทำอย่างนั้นสำเร็จ พวกนี้จะต้องตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาที่เสนอประโยชน์กับคนจนมากกว่าที่ ไทยรักไทย เคยเสนออีก คือต้องเสนอให้เพิ่มสวัสดิการและเร่งพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ ด้วยการเพิ่มงบประมาณรัฐและการเก็บภาษีจากคนรวย แนวร่วมเผด็จการอนุรักษ์นิยมนี้ เคยชินมานานกับการมีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ผ่านเครือข่าย “ผู้มีอิทธิพลนอกรัฐธรรมนูญ” เช่นทหาร องค์มนตรี เจ้าพ่อ และนายทุนใหญ่ หรือผ่านระบบการเลือกตั้งที่ใช้เงินซื้อเสียงอย่างเดียว โดยไม่มีการเสนอนโยบายอะไรเป็นรูปธรรม และไม่มีการให้ความสนใจกับคนจนแต่อย่างใด

วัฒนธรรมดั้งเดิมของชนชั้นปกครองไทย คือ “วัฒนธรรมคอกหมู” ที่มีการร่วมกันหรือพลัดกันกินผลประโยชน์ที่มาจากการขยันทำงานของประชาชน ชั้นล่างล้านๆ คน เวลาอำมาตย์ คนชั้นกลาง หรือพันธมิตรฯ พูดถึง “การคอร์รับชั่น” “การผูกขาดอำนาจและผลประโยชน์” “การมีผลประโยชน์ทับซ้อน” หรือ “การใช้อำนาจเกินหน้าที่” ของทักษิณ เขาไม่ได้พูดถึงการเอารัดเอาเปรียบประชาชนธรรมดาที่มีมานาน หรือการที่ประชาชนไม่เคยมีส่วนร่วมเท่าที่ควร หรือการโกงกินของนักการเมืองทุกพรรค หรือของทหาร เขาหมายถึงปัญหาเฉพาะหน้าของพวกอภิสิทธิ์ชนที่เริ่มถูกเขี่ยออกจากผล ประโยชน์ในคอกหมูมากกว่า นี่คือสาเหตุที่เขาทำรัฐประหาร แล้วแก้รัฐธรรมนูญจากที่เคยเป็น เพื่อลดอำนาจของรัฐบาลและพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมาก เขาอยากหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุค “ประชาธิปไตยคอกหมู”

ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้เขียนสนับสนุนทักษิณหรือไทยรักไทย เพราะรัฐบาลทักษิณนอกจากจะไม่ยอมกระจายรายได้สู่คนส่วนใหญ่เท่าที่ควร ผ่านระบบรัฐสวัสดิการและการเก็บภาษีจากคนรวยแล้ว ยังเป็นรัฐบาลที่ใช้ความรุนแรง และละเมิดสิทธิมนุษยชน ในภาคใต้และสงครามยาเสพติด แต่การทำลายประชาธิปไตยของพวกที่สนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยาและผลพวงทั้งหมดที่ตามมา ทำให้เราไม่สามารถกำจัดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการคอร์รับชั่นในสังคมไทยไป อีกนาน ทำให้ประชาชนเสื้อแดงถูกฆ่าตายอย่างเลือดเย็นเมื่อเรียกร้องประชาธิปไตย อย่างสันติ และเป็นการหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคมืดแห่งเผด็จการและอิทธิพลของโจรในกองทัพ

ทำงานสังคมสงเคราะห์ ยกไว้ขึ้นหิ้ง: อนาคต “ซูจี” หลังเลือกตั้งพม่า

ที่มา ประชาไท

-09-29 19:57

เนื่องในโอกาสครบรอบ 4 ปีของเหตุการณ์ปฏิวัติชายจีวร คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) และมูลนิธิร่วมมิตรไทย-พม่า ร่วมกับ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Alternative ASEAN on Burma (ALTSEAN-Burma) ได้ จัดบรรยายสาธารณะหัวข้อ "รัฐบาลใหม่ใต้เสื้อคลุมพลเรือน, ออง ซาน ซูจี : อนาคตเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมพม่า" เมื่อ 27 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ ห้อง 301 ชั้น 3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

โดยมีวิทยากรประกอบด้วย ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Ko Zaw Aung หลัก สูตรการพัฒนาระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสุภลักษณ์ กาญจนขุนดีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ดำเนินรายการโดย ดร.นฤมล ทับจุมพล, กรรมการ กรพ. และผู้อำนวยการหลักสูตรการพัฒนาระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยในช่วงท้ายของการเสวนา สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ได้อภิปรายถึงอนาคตทางการเมืองของออง ซาน ซูจีหลังรัฐบาลทหารพม่าจัดการเลือกตั้งเมื่อ 7 พ.ย. 2553 โดยสุภลักษณ์เสนอว่าทหารพม่าพยายามที่จะยกออง ซาน ซูจี “ขึ้นหิ้ง” เป็น “ลูกสาววีรบุรุษแห่งชาติ ทำงานสังคมสงเคราะห์” และอภิปรายเรื่องทิศทางที่กองทัพพม่ามีต่อกองกำลังชนกลุ่มน้อยในประเทศ โดยประชาไทจะทยอยนำเสนอการอภิปรายทั้งหมดต่อไป ในส่วนการอภิปรายช่วงท้ายของสุภลักษณ์มีรายละเอียดดังนี้

000





สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี

สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่อนุญาตให้ออง ซาน ซูจี เข้าไปมีบทบาทในทางการเมืองในฝ่ายบริหารอีกต่อไปแล้ว ซึ่งสถานภาพแบบนี้ ความจริงก็มีไอเดียมากในหมู่คณะทหารว่า ทหารพม่านะ ทหารไทยเล่าให้ฟัง ฟังหูไว้หูละกัน ทหารพม่าถ่ายทอดเรื่องนี้มาผ่านทหารไทย ผ่านรัฐบาลไทยมาถึงหูนักข่าวไทยว่า สิ่งที่เขาต้องการจะเห็นจากออง ซาน ซูจี คือฐานะของลูกสาววีรบุรุษแห่งชาติ ทำงานสังคมสงเคราะห์ ยกไว้ขึ้นหิ้ง นั่นคือสิ่งที่เขาต้องการ

ออง ซาน ซูจี ซึ่งผมเข้าใจว่าในระยะหลังๆ เธอก็ประนีประนอมกับแนวความคิดนี้ไม่น้อย คือออง ซาน ซูจี ดื้อเรารู้ เพราะคนอายุมากกว่าแม่เราดื้อทั้งนั้นแหละ แต่ว่าความดื้อรั้นเช่นว่านั้น อาจจะไม่สามารถ คือเนื่องจากด้วยวัยวุฒิที่ผ่านเลยไปมาก และก็ Back Up (ผู้ สนับสนุน) ของออง ซาน ซูจีคือพรรค NLD (พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD) ก็ถูกทำลายมากและไม่เข้มแข็งพอ นี่ไม่นับว่าในกองทัพระบบราชการของพม่าเองมีใครบ้างอยากให้ออง ซาน ซูจี บริหารประเทศ

เพราะฉะนั้นมองในแง่นี้ แน่ล่ะ ในการคุย 1 ชั่วโมงกับเต็ง เส่ง ผมไม่คิดว่าเขาแค่ยิ้มให้กัน Yes No OK How are you? คง ไม่ คงพูดมากกว่านั้น อย่างน้อยที่สุดคงพูดว่า จะ Engage กับบริบทสังคม การเมืองพม่าอย่างไร ถึงจะสมฐานะ และสมศักดิ์ศรี และมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีในสังคมเพียงพอ โดยที่ไม่สร้างความกระทบกระเทือนให้โครงสร้างทางอำนาจของระบอบทหาร หรือระบอบราชการ และ Arrangement ทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

สภาพที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้คือการหาดุลยภาพระหว่างความสัมพันธ์ ของออง ซาน ซูจีกับกลุ่มอำนาจว่าจะทำอย่างไร ซึ่งบทบาทที่อาจจะเป็นไปได้ "Senior Citizen" (ราษฎรอาวุโส) เป็นยังไง อะไรประมาณนั้น ฟังดูคุ้นๆ แต่ออง ซาน ซูจี อาจจะมีบทบาทมากกว่านั้น เพราะออง ซาน ซูจี มีนานาชาติพยายามจะให้บทบาทออง ซาน ซูจี อย่างน้อยเท่าๆ กัน ถ้าดูสุ้มเสียงคือทุกคนไปพบเต็ง เส่งและออง ซาน ซูจี ขณะที่เมื่อก่อนนี้รัฐบาลพม่าไม่ให้พบออง ซาน ซูจี

เดี๋ยวอีกหน่อยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร) ก็จะไปพบออง ซาน ซูจีเช่นกัน คงไปขอบคุณที่ออง ซาน ซูจีที่พูดจาสนับสนุนเธอ

แต่นั่นเป็นสัญลักษณ์ว่าการ Request พบออง ซาน ซูจี เป็นการบอกอย่างหนึ่งว่าทุกคนที่ Engage กับพม่า พยายาม Establish ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่งในทางการเมืองให้ออง ซาน ซูจีรับได้ ทั้งในแง่ผู้อยู่ในอำนาจ ตัวออง ซาน ซูจี และสังคมพม่า ว่าจะจัดความสัมพันธ์แบบนี้กันอย่างไร

ต่อสภาพแบบนี้ผมเข้าใจว่าความพยายามที่จะรื้อฟื้นความแข็งแกร่งของพรรค NLD คง ไม่มี อาจจะไม่จำเป็น หรือถ้าหากพรรค NLD จะทำในอนาคตอาจจะแยกตัวเองจากออง ซาน ซูจีให้ขาดกันไปเลยว่า การดำเนินงานของพรรค NLD ในฐานะพรรคการเมืองซึ่งก็ประสงค์อำนาจรัฐในที่สุด ก็ต้องดำเนินการเหมือนพรรคการเมืองทั่วๆ ไป ซึ่งมีจำนวนมากในพม่า แต่มีขนาดเล็กมาก นี่คือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น ผมอาจจะผิด แต่ผมตัดสินในการวิเคราะห์จากสภาพที่เป็นอยู่ หรือออง ซาน ซูจี อาจจะอยากเป็นประธานาธิบดีก็ได้ แต่รัฐธรรมนูญห้ามไว้ ต้องแก้รัฐธรรมนูญก่อน ประธานาธิบดีคนต่อไป ถ้าเต็ง เส่งไม่ลงสมัยที่สอง อาจจะเป็นฉ่วย มาน (ประธานรัฐสภาพม่า) เขาเล็งกันไว้ขนาดนั้นแล้ว หรืออาจจะเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด นี่ก็จะเป็นการวาง Arrangement (ข้อตกลง) ทางอำนาจ เพราะฉะนั้นไม่มีออง ซาน ซูจีในสมการทางอำนาจหลังการเลือกตั้ง

หรือช่วงนี้ไม่มีแน่ หลังการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีไหม ถ้าสมมติว่ามันราบรื่นถึงขั้นนั้น เพราะฉะนั้นนี่คือปัญหาของออง ซาน ซูจี

ปัญหาชนกลุ่มน้อย ผมคิดว่าอาจารย์ดุลยภาพ อาจจะลังเลเวลาวิเคราะห์ว่า พวก Hardliner (สาย แข็ง) กับพวก Reformer (นิยมปฏิรูป)จะจัดการอย่างไร ผมเข้าใจว่ามันเป็นอย่างนี้มานานแล้วล่ะคือเป็น "Carrot and Stick" ตลอดเวลาสำหรับพวกนี้ พวกที่แข็งขืนไม่ยอมวางอาวุธก็เล่นมัน แล้วก็แบ่งแยกพวกที่ยอมวางอาวุธและสวามิภักดิ์ อาจจะใช้สูตรขิ่น ยุ้นต์ แต่มีการวิจารณ์กันมากว่าขิ่น ยุ้นต์โมเดลไม่ทำงานในบางกรณี ในบางกรณีไม่ทำงาน แต่ในแง่การเมืองมันทำงานนะ ทำให้ชนกลุ่มน้อยได้อภิสิทธิ์บางอย่างในโซนของเขา เช่น พวกคะฉิ่น เป็นพวกที่เคยได้ ได้กลุ่มแรกเลย ได้สัมปทาน ในกิจการหยกและพลอย พวกว้าเคยได้ ไทใหญ่บางกลุ่มเคยได้ แต่เมื่อสิ้นขิ่น ยุ้นต์ ความคิดที่จะให้พวกนี้อยู่ก็เปลี่ยน คือพวกชนกลุ่มน้อยเมื่อปกครองตัวเองในเขตตัวเอง อย่างเช่นว้า ไม่ยอมพูดภาษาพม่า ไม่ใช้เงินจ๊าต คือพูดภาษาจีน ใช้เงินหยวน คุณคิดว่าในฐานะที่เป็นรัฐคุณยอมได้หรือเปล่า คุณยอมไม่ได้ คะฉิ่นก็เหมือนกันสนิทกับฝั่งจีนกว่าฝั่งพม่าอีก

เพราะฉะนั้น ความพยายามที่จะจัดการเรื่องนี้ อาจจะทำในหลายๆ อย่างพร้อมๆ กัน เราอาจจะมองว่านี่เป็นความแตกแยกในวิธีคิดนายพล แต่นี่เป็นวิธีหนึ่งที่จะ Ultimate Goal (เป้าหมายสูงสุด) ให้ชนกลุ่ม น้อยสยบยอม ความคิดความฝันที่จะทำเรื่องเขตปกครองตนเองอาจเหลืออยู่ไม่มากนัก อาจจะเหลืออยู่ในคนรุ่นเก่าๆ หรือพวกที่ได้รับการถ่ายทอดจากศูนย์กลางอำนาจการต่อสู้อาจจะมี แต่ไกลออกไปอาจจะไม่มีก็ได้

สูตรที่ออง ซาน ซูจีเสนอคือปางโหลง 2 ที่มีการนำเสนอช่วงหลังเลือกตั้งใหม่ๆ ผมก็ดีใจไปกับเขาด้วยนะ ที่เขามีการแอบพบกันระหว่างตัวแทนพรรค NLD กับชนกลุ่มน้อย และออง ซาน ซูจีให้สัมภาษณ์อย่างมีความหวังราวตัวเองชนะการเลือกตั้งมา เสนอการประชุมปางโหลง 2 แต่เรื่องนี้หายไปกับสายลม เข้าใจว่าออง ซาน ซูจียังคงซีเรียสกับเรื่องนี้อยู่ ผมถามนักการทูตหลายคน ที่ไปพบออง ซาน ซูจีก็บอกว่ายังพูดเรื่องนี้ ไอเดียยังมีอยู่ แต่จังหวัดที่จะ Implement (ทำให้มีผล) อันนี้ ถ้าไม่ได้รับความเห็นดีเห็นงามจากผู้มีอำนาจ ซึ่งผมไม่ได้ยินใครพูดเลย เต็ง เส่งก็ไม่เคยพูด เถ่ง เท (Thein Htay) รัฐมนตรีกระทรวงชายแดนก็ไม่เคยพูดเลยว่าปางโหลง 2 เป็นไปได้ไหม และใครจะเป็นตัวแทนใครในปางโหลง 2 ซึ่งยากในหมู่ชนกลุ่มน้อยด้วยกัน

ถ้าจะให้เดา ผมคิดว่ารัฐบาลจะจัดการกับชนกลุ่มน้อยไปเรื่อยๆ ถ้ายอมวางอาวุธก็กลับเข้าเป็น BGF (กองกำลังพิทักษฺ์ชายแดน) ถ้าไม่วางอาวุธก็ลุยกัน พอพม่ามีความมั่นใจว่าเขาลุยได้แน่ ซึ่งเขาก็ทำว่าเขาลุยได้แน่ เขาก็จะทำ

เปิดใจคนเขียน “สุภาพบุรุษไพร่”

ที่มา ประชาไท

เปิดใจคนเขียน “สุภาพบุรุษไพร่”

“สุภาพบุรุษไพร่” เป็นหนังสือจากค่ายมติชนที่กำลังจะวางแผงทั่วประเทศ แม้ว่าเจ้าของเรื่อง “ณัฐวุฒ ใสยเกื้อ” จะเกริ่นไว้ในหนังสืออย่างถ่อมตัวว่า “มันจะขายได้หรือ” แต่กวาดตาดูแฟนคลับเสื้อแดงแล้ว เชื่อแน่ว่าว่าหนังสือเล่มนี้จะต้องขายดีอย่างยิ่ง

ประชาไทคุยกับ “ฟ้ารุ่ง ศรีขาว” ผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เจ้าของงานเขียนเล่มนี้ ถึงข้อสังเกตของเธอต่อแกนนำเสื้อแดงและขบวนการประชาธิปไตยไทยในช่วงเวลาอัน ใกล้ ทำไมเธอจึงทำหนังสือเล่มนี้ และทำไมเลือกเขียนเรื่องของ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำเสื้อแดงที่อายุน้อยที่สุด รากเหง้าทางการเมืองสั้นที่สุดในบรรดาแกนนำเสื้อแดง

“เพราะณัฐวุฒิรับสาย(โทรศัพท์)ง่ายที่สุด แต่คนอื่นไม่ค่อยรับสาย ฮ่าๆๆ” เจ้าของหนังสือกล่าวกลั้วหัวเราะ เหมือนพูดเล่น แต่ในฐานะนักข่าวด้วยกัน เราทราบดีว่า นั่นคือเรื่องจริง ที่ว่าณัฐวุฒินั้นเป็นแหล่งข่าวที่เข้าถึงง่ายมาก แม้แต่เมื่อเปรียบเทียบกับแกนนำด้วยกันเอง ก่อนที่เธอจะกล่าวตอบคำถามต่อไปอย่างจริงจัง

ทำไมณัฐวุฒิ?

เพราะเราเห็นความขัดแย้งกันระหว่างจุดเริ่มต้นที่เขาเริ่มจากความเป็นตลก ที่ไม่มีราคา คนไม่สนใจ คนไปสนใจจักรภพ (เพ็ญแข) วีระ (มุสิกพงศ์) เพราะความอาวุโสหรือบทบาทก่อนหน้านั้น ขณะที่เรารู้สึกว่าเราฟังวีระไม่เข้าใจ เราไม่ได้เห็นในยุคที่คุณวีระยิ่งใหญ่ ต่อมาหลังจากณัฐวุฒิ พูดเรื่องไพร่ อำมาตย์ ก็เลยรู้สึกว่าการนำของณัฐวุฒิเปลี่ยนไปจากความตลกมาสู่ทฤษฎีที่เราเคยเรียน ตอนเป็นนักศึกษา (รัฐศาสตร์ มธ.) มันคงเกี่ยวกับแบกกราวด์ความรู้สึกของเราด้วยตอนที่เราเรียนมหาวิทยาลัย และครูบาอาจารย์ก็ชอบพูดประชดประชันทำนองภูมิใจในความเป็นไพร่ ก็เลยแปลกใจว่าถ้าจักรภพพูดเราก็เฉยๆ เพราะเขาจัดว่าเป็นปัญญาชน แต่ณัฐวุฒิ เหมือนคนตลก ขำๆ บางทีก็ดุดันแล้วมาพูดในเนื้อหาที่เรารู้สึกอยู่เป็นทุนเดิม ก็เลยสนใจเขา

และจากการรู้จักกันโดยส่วนตัวก็เห็นความเปลี่ยนแปลง เช่น หลังจากเหตุการณ์หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ เราก็ตามไปคุยกับเขาหลังแถลงข่าว โดยถามว่าในฐานะแกนนำจะรับผิดชอบอย่างไรที่คนบาดเจ็บและทรัพย์สินคนอื่นเสีย หาย แต่ณัฐวุฒิเหมือนคนมีความรู้สึกไม่ดีกับเราและเสียงแข็งใส่เราว่า ใครจะอยากให้มวลชนเจ็บตัว คือ เขาไม่เก็บความรู้สึกว่าเขาไม่อยากให้เป็นแบบนี้

ต่อมาเราก็ไปทำข่าวสายอื่น ไม่ได้มาตามม็อบทุกวันเหมือนช่วงตั้งเวทีสนามหลวง เมื่อฝ่ายเสื้อแดงได้เป็นรัฐบาล มีช่วงที่ไม่ได้ทำข่าวณัฐวุฒิ มาเจออีกทีตอนที่มีเวทีผ่านฟ้า เจอกันหลังเวที ณัฐวุฒิก็คุยกับเราแล้วถามว่ามีอะไรจะคอมเมนต์ หรือวิจารณ์เขาไหม และท่าทีเหมือนใจเย็นลง รู้สึกว่าจากปี 2550 มาปี 2553 เขาเปลี่ยนไปในระยะเวลาไม่กี่ปี เปลี่ยนทั้งในแง่ที่คนอื่นคิดกับเขาและทั้งที่ตัวเรารู้สึกว่าเขาเปลี่ยน แปลง

เปิดใจคนเขียน “สุภาพบุรุษไพร่”

ความประทับใจจากการทำหนังสือเล่มนี้

ตอนที่เขาคิดว่าจะตอบตกลงกับเราที่จะเขียนเรื่องราวของเขา เราคิดว่าเขาไม่ได้มั่นใจว่าเราจะเขียนถึงเขาในทางบวกหรือลบ ที่ประทับใจมากคือเขาบอกว่าให้เขียนได้ ไม่ว่าเขาจะเป็นตัวตลกหรือผู้ร้ายก็ให้สะท้อนออกมาตามที่เรามอง "เป็นหนังสือของน้อง ให้ใช้เสรีภาพของสื่อมวลชนในการทำงาน" ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาพูดระหว่างที่เขาอยู่ในห้องขัง เราเดาว่าเขาไม่มั่นใจว่าเราจะเขียนถึงเขาอย่างไร เพราะเราก็ไม่ใช่คนสนิทกับเขาในความหมายที่ว่าจะทำให้เขามั่นใจได้ว่าจะเข้า ข้างเขา

อีกอย่างที่ประทับใจคือ (หัวเราะ) ระหว่างที่เรากำลังทำหนังสือเล่มนี้ คือช่วงเวลาที่ณัฐวุฒิอยู่ในคุก และมีหลายคนถามเราว่า “มันมีค่าขนาดนั้นเลยหรือ”

อีกสิ่งหนึ่งที่ประทับใจคือ เพื่อนๆ สื่อมวลชนให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล ขณะที่การเมืองไทย “ความจริง” เป็นสิ่งที่รัฐบอกว่าอยากจะหาออกมาให้ได้ มีการตั้งคณะกรรมการและงบประมาณใหญ่โตมโหฬาร เหมือนสังคมนี้โหยหาความจริง ขณะที่เพื่อนนักข่าวหลายคนเล่าความจริงให้เราฟังโดยไม่มีเงื่อนไขอะไร ไม่มีอะไรต้องเอามาแลกเปลี่ยนกัน เราได้ฟังเหตุการณ์จริงโดยที่ไม่ต้องเสียงบประมาณรัฐไม่ต้องผ่านกระบวนการ อะไรอันซับซ้อน แต่แน่นอนการให้คุณค่าข้อเท็จจริงอันเดียวกันคนที่มีพื้นฐานความคิดต่างกัน ก็คงจะแปรความหรือให้น้ำหนักต่อข้อเท็จจริงนั้นต่างกันไป

ตอนที่ชอบที่สุดในหนังสือคือ “สว่างแสงชาดอาภรณ์” ซึ่งเป็นเรื่องราวช่วงท้ายของการชุมนุม ขณะที่ลูกสาวของณัฐวุฒิ “ชาดอาภรณ์” ถือกำเนิดขึ้นมาในเช้าวันที่ 10 พ.ค. 2553 ที่ชอบเพราะว่ามันเหมือนฉากในหนังดีน่ะ เพราะในช่วงเวลาเดียวกันเขาต้องคิดทั้งเรื่องส่วนตัว เรื่องครอบครัว แต่อีกแง่หนึ่งก็มีเรื่องขบวนการ นึกภาพตัดไปตัดมา ระหว่างที่ชุมนุมกับโรงพยาบาล ขณะเดียวกันก็ได้รับโทรศัพท์ว่าเจ้าหน้าที่รัฐรู้แล้วว่าคุณอยู่ตรงไหน ทำให้เขาต้องหนี

วันนั้นมีอีกคู่ความสัมพันธ์ที่ไปกันไม่ได้คือ แกนนำกับแกนนำ

อุปสรรคของงานเขียน

เวลา เรามีงานประจำต้องทำ ตอนทำไม่มีใครรู้เยอะ ในแง่การเขียนการเรียบเรียงยากตอนวางโครงเรื่องที่เราต้องตัดสินใจว่า เรื่องอะไรน่าจะบ่งบอกเรื่องราวของคนเสื้อแดงและณัฐวุฒิ อีกอย่าง เวลาที่จะคุยกับเขาก็มีระยะเวลาจำกัด เพราะเขาอยู่ในเรือนจำ ก็เพิ่งมาทราบภายหลังว่าคุณศิริสกุลและญาติๆ แกนนำแต่ละคนเป็นคนระบุว่าให้เยี่ยมเวลานี้ทุกวัน ทั้งที่ครอบครัวสามารถเปลี่ยนได้ตามสะดวก แต่คุณศิริสกุลเห็นว่าคนเสื้อแดงมาเยี่ยม ก็จะได้รู้ตรงกันว่ามาตอนกี่โมง เราก็เลยไปเยี่ยมพร้อมๆ คนเสื้อแดงจำนวนมาก ต้องก้มผ่านซี่กรง เราก็เกรงใจคนเสื้อแดงที่เขาอยากจะคุยกับแกนนำด้วยว่าเขาอุตส่าห์มาไกลก็ อยากจะคุย เราไม่ได้คิดจะถือตัวว่าเรามาเขียนหนังสือให้เขาต้องได้อภิสิทธิ์ เพราะคนที่มาเยี่ยมก็เท่ากันหมดคือทุกคนอยากสื่อสารกับแกนนำ

มีคนแซวไหมว่าหลงเสน่ห์แกนนำหรือรับตังค์เขามาเขียน

(หัวเราะร่วน) มีคนแซวเหมือนกัน เพราะพี่เต้นแกเคยแซวว่าเราเป็นแฟนเก่าแก แต่คนฟังไม่รู้ที่มาที่ไป จริงๆ คือแกเคยปล่อยมุก แซวเพราะแกเคยเห็นเราตัวเล็กกว่านี้ แกเลยแซวว่า เราเป็นแฟนเก่าแต่ถูกผู้ใหญ่กีดกัน พอแกไปแต่งงานกับพี่แก้มเราเลยเสียใจจนตัวโตขนาดนี้ เดาว่าบุคคลที่สามได้ยินก็เลยเอาไปตีความใหญ่โต จริงๆ คือแกจะเล่นมุกว่าเราเปลี่ยนไปคือตัวโตขึ้นมาก

ส่วนเรื่องเงิน เราตกลงกับณัฐวุฒิตอนที่ขอเขียนเรื่องเขาว่าเขาจะคิดค่าเรื่องหรือเปล่า เขาบอกว่า “ถ้าขายได้ก็เป็นความสำเร็จของน้อง เป็นผลงานของน้อง” ส่วนค่าเรื่องนี่ หนังสือพิมพ์เสร็จแล้วเรารับเงินค่าเรื่องจากสำนักพิมพ์มติชน

เปิดใจคนเขียน “สุภาพบุรุษไพร่”

นัยยะสำคัญทางการเมืองของหนังสือเล่มนี้

วิธีการเล่าของเราคือไม่ตัดสินคุณค่าว่าถูกผิด ดีเลว เป็นสิ่งที่เราได้มาจากการเรียนหนังสือในสายคิดที่ให้ความสำคัญกับการแสวงหา ความจริง แต่ไม่ได้บอกว่าความจริงมีชุดเดียว เพราะแค่การพูดถึงข้อเท็จจริง ว่าสิ่งนั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่มันก็ยากแล้ว ยังไม่ต้องไปพูดเรื่องการชี้วัดตัดสิน

หนังสือเล่มนี้คงไม่สร้างแรงกระเพื่อมอะไรมากไปกว่าคนที่ไม่เคยรู้ประ วัติของณัฐวุฒิได้รู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเขา เพราะเราตั้งใจจะมองเรื่องด้วยความเป็นคนธรรมดา เหมือนชีวิตคนที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของการเมืองในสเกลใหญ่ แต่เราก็ไม่ใช่คนโรแมนติก หรือมีอุดมการณ์ขนาดที่ประชาไททำหนังสือ “คนที่ตายมีใบหน้า คนที่ถูกฆ่ามีชีวิต” เวลาเราพูดถึงณัฐวุฒิเราก็ยังลังเลว่าเขาเป็นอะไรกันแน่ คือเป็นคนธรรมดาที่ไม่ถูกให้ราคา หรือเขาเป็นคนระดับนำอยู่แล้ว ตั้งแต่ความเป็นนักการเมืองท้องถิ่น คงพูดได้แค่ว่าเขาเป็นปัจเจกบุคคลที่อยู่ในส่วนประกอบของเหตุการณ์ใหญ่ แต่เขาเป็นคนธรรมดาหรือเปล่าเราก็ไม่แน่ใจ

แต่ท้ายที่สุดก็คงไม่พ้นที่เราจะเลือกให้คุณค่าด้านใดด้านหนึ่งเพราะที่ สุดแล้วเราก็เลือกชื่อหนังสือ “สุภาพบุรุษไพร่” ที่บอกอยู่แล้วว่าบวกหรือลบ

คุณเคยบอกว่า การติดตามขบวนการเสื้อแดงมาตลอดทำให้มุมมองคุณเปลี่ยนไป ถึงวันนี้มองขบวนการเสื้อแดงอย่างไร

มีหลายคู่ความสัมพันธ์ว่าระหว่างแกนนำกับทักษิณเขารับเงินกันหรือเปล่า เราก็ไม่ได้ไปเจาะ เพราะไม่ใช่ประเด็นที่เราสนใจ แต่อาจเป็นประเด็นของนักข่าวที่ชอบสืบสวนสอบสวนเขาคงสนใจ แต่เรามองว่ามีคู่ความสัมพันธ์อื่นๆ อีกที่น่าสนใจ เช่น คู่ความสัมพันธ์ระหว่างแกนนำกับมวลชน ซึ่งในสายสัมพันธ์อันนี้มวลชนกับแกนนำเขาผูกพันกันด้วยความคิดร่วมกัน บางอย่างอันนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าใครรับเงินจากใคร เพราะว่าต่อให้ทักษิณใช้เงินจ่ายให้แกนนำจริงหรือใช้เงินหว่านกับมวลชนจริงๆ ต่อให้เป็นอย่างนั้น เราคิดว่าถ้าพวกเขาไม่มีความคิดความเชื่อบางอย่างร่วมกัน เขาก็คงไม่อดทนเดินในขบวนนี้ที่ต้องเผชิญการดูถูกดูแคลนสารพัดข้อกล่าวหา ไม่ว่าคุณจะอยู่ตรงจุดไหนของขบวนการก็ตาม

"สมคิด" ลบเกลี้ยง-โพสต์พาดพิงนิติราษฎร์-ปรีดี

ที่มา ประชาไท

"สมคิด เลิศไพฑูรยฺ์" ลบความเห็นที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอของนิติราษฎร์ และบทสนทนาระหว่างทายาทปรีดี พนมยงค์แล้ว โดยให้เหตุผลว่าเคารพต่อปรีดีและครอบครัวเสมอ "ผมไม่ยอมให้ใครเอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็นเล่นกันครับ"

ตามที่ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ ตั้งคำถาม 15 ข้อหลังการแถลงข่าวของกลุ่มนิติราษฎร์ และตอนหนึ่งมีข้อความพาดพิงนายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎร "...ถ้าเรายกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้ เราจะล้มเลิกการกระทำทั้งหลายและลงโทษคณะรัฐประหารกี่ชุด สุจินดา ถนอม ประภาศ สฤษฏ์ จอมพล ป. อ.ปรีดี หรือจะลงโทษเฉพาะคณะรัฐประหารที่กระทำต่อนายกทักษิณ" จนนางดุษฎี บุญทัศนกุล บุตรีของนายปรีดีต้องเข้ามาตั้งคำถามนั้น (อ่านข่าวย้อนหลัง [1], [2], [3])

ล่าสุดมติชนออนไลน์ รายงานว่า ข้อความสนทนาโต้ตอบระหว่าง ศ.ดร.สมคิดกับนางดุษฎี รวมทั้งข้อความคำถาม 15 ข้อถึงคณะนิติราษฎร์ และข้อความสนทนาเกี่ยวกับประเด็นทางวิชาการที่สืบเนื่องจากข้อเสนอของคณะ นิติราษฎร์อื่นๆ ได้ถูกลบทิ้งออกจากหน้ากระดานเฟซบุ๊กของอธิการบดีธรรมศาสตร์เกือบทั้งหมด

ในคืนวันที่ 29 กันยายน นายวินัย ผลเจริญ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาโทและเอกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ตั้งคำถามบนหน้ากระดานเฟซบุ๊กของนายสมคิดว่า

"ท่านอธิการบดีครับ ท่านหรือผู้ที่ดูแล facebook ของท่าน (ถ้ามี) ได้ลบโพสต์บางโพสต์ที่อยู่ในกระดานข้อความ FB ของท่านทิ้งไปหรือครับ เพราะผมสังเกตเห็นว่าโพสต์ที่ ดร.อลงกรณ์ (นายอลงกรณ์ อรรคแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม - มติชนออนไลน์) ได้โพสต์ถามท่านซึ่งผมร่วมแสดงความเห็นด้วยนั้นหายไป และโพสต์ที่ อ.ดุษฎี บุญทัศนกุล โพสต์ไว้ก็หายไปเหมือนกัน ถ้าลบจริง ผมอยากทราบเหตุผลครับ เพราะผมเชื่อว่าการคงไว้จะก่อให้เกิดประโยชน์ทางวิชาการมากกว่าครับ"

ซึ่งนายสมคิดได้เข้ามาตอบคำถามของนายวินัยว่า "ผมลบเองครับ เพราะเป็น face ของผม ถ้าคุณวินัยยังสนุกอยู่ก็เอาประเด็นไปตั้งที่ face ของคุณวินัยเองก็ได้ครับ ผมเคารพอ.ปรีดีและครอบครัวท่านเสมอ ผมไม่ยอมให้ใครเอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็นเล่นกันครับ"

นายวินัยจึงตั้งคำถามต่อว่า "แต่เรื่องที่ ดร.อลงกรณ์ถามก็ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับ อ.ปรีดีนะครับ" นายสมคิดชี้แจงว่า "ผมต้องตอบใช่ไหมครับ"

นายวินัยจึงพิมพ์ข้อความเพิ่มเติมว่า "ผมไม่ได้มองว่ามันสนุกหรอกครับ แต่ผมอยากตามความคิดเห็นของคนอื่นๆ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาสติปัญญาครับ และคนอื่นก็หวังอย่างผมเหมือนกันครับ" "ท่านอาจจะไม่ตอบก็ได้ แต่ท่านน่าจะเปิดให้คนอื่นได้แสดงความเห็นกันต่อไปครับ"

นายสมคิดจึงเข้ามาตอบอีกครั้งว่า "อ.น่าจะรู้ว่าทุกอย่างมีขอบเขต และผมเข้าใจตอนนี้มันเลยขอบเขตไปแล้ว แทนที่จะทำให้ความเข้าใจที่ดีต่อกัน มันกลับเป็นตรงกันข้าม" สุดท้ายนายวินัยจึงตอบว่า "ครับ ผมจะพยายามเข้าใจครับ"

มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า เมื่อกลับมาตรวจสอบหน้ากระดานเฟซบุ๊ก ของอธิการบดีธรรมศาสตร์อีกครั้งในช่วงบ่ายของวันที่ 30 กันยายน ปรากฏว่าข้อความสนทนาโต้ตอบระหว่างนายสมคิดกับนายวินัยได้ถูกลบทิ้งไปเช่น กัน

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 30/09/54 อัศวินผู้กล้า..กับขี้ข้าเผด็จการ

ที่มา blablabla

โดย



อัศวิน ผู้กล้า เปิดหน้าสู้
ให้โลกรู้ พวกคนระยำ ทำรัฐประหาร
คือผลพวง ความชั่วช้า สุดสามานย์
สืบสันดาน อมนุษย์ สุดแสนเลว....


พอคิดแพ้ แล้วพาล..เหมือนมารขย้ำ
กี่ระยำ ที่เร่งรุด ฉุดลงเหว
ใช้เขี้ยวเล็บ รุกไล่ สุมไฟเปลว
จนแหลกเหลว นิติรัฐ ขัดคุณธรรม....


พวกขี้ข้า เผด็จการ พวกมารสถุน
รุ่นสู่รุ่น หวังจงใจ ใฝ่ถลำ
อย่าถามหา สัจจะชน คนใจดำ
แค่เพ้อพร่ำ ซ้ำซาก ทาสกากเดน....


ผ่านกี่ยุค กี่สมัย ใครเหลวแหลก
สร้างแตกแยก กี่สมัย ใครก็เห็น
สร้างระยำ กี่สมัย ใครเบี่ยงเบน
สร้างทุกข์เข็ญ กี่สมัย ใครรุกราน....


ให้กำลังใจ นิติราษฎร์ ผงาดสู้
ยืนหยัดอยู่ เพื่องัด พวกรัฐประหาร
ประชาชน พร้อมสนอง ตามต้องการ
ล้างบางมาร จนดับดิ้น หมดสิ้นไป....


๓ บลา / ๓๐ ก.ย.๕๔

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker