ชนันดา ทวีสิน เป็นบุตรสาวคนสุดท้อง ของคุณเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) กับแพทย์หญิงพักตร์พิไล ทวีสิน
ก่อนหน้านี้ เธอเป็นตัวแทนเยาวชนของยูนิเซฟประเทศไทย ยื่นหนังสือสนับสนุนการลงทุนในเด็กเพื่ออนาคตของประเทศไทย พร้อมเข้าชี้แจงเรื่องโอกาสการเข้าถึงการศึกษา และคุณภาพการศึกษา ให้กับ นายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ลองมาดูว่า สิ่งที่เธอค้นพบและยื่นข้อเสนอถึงนายกรัฐมนตรี
คุณอาจไม่เชื่อว่า เธออายุ แค่ 17 ปี
เธอพูดว่า .....
“อย่าลืมว่า ผู้นำที่ยิ่งใหญ่คนแรกของประเทศชาติ ก็คือผู้รู้ คนแรกเหมือนกันนี่เป็นคำพูดของจอห์น เอฟ เคนเนดี้
มันน่าเศร้าใจนะคะ ที่คุณจะคาดหวังนักวิชาการที่ฉลาดปราดเปรื่องจากระบบการศึกษาที่บกพร่องของเราตอนนี้ได้อย่างไร?
รู้ไหมคะ? มีเด็กในประเทศไทยเพียง 54%ที่ได้เข้าเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนจบถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ ในการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ Program for International Student Assessment (PISA) เมื่อปี 2552 ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 50 จากจำนวนประเทศทั้งสิ้น 65 ประเทศ สำหรับวิชาคณิตศาสตร์และการอ่าน และได้อันดับที่ 49 สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ สถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าระบบการศึกษาไทยนั้นกำลังเจอปัญหา อยู่
หนึ่งในปัญหาเหล่านั้นก็คือ “การไม่ไปโรงเรียน” ของเด็ก ๆ ในวัยระหว่าง 6 ถึง 11 ปี “การไม่ไปโรงเรียน”นี้รวมไปถึงเด็กที่ไม่ได้เข้าเรียนเลย และเด็กที่เข้าโรงเรียนล่าช้ากว่าเกณฑ์ด้วยตอนนี้ครึ่งหนึ่งของเด็กที่ไม่ไป โรงเรียนทั้งหมดในโลกอาศัยอยู่ใน 15 ประเทศเท่านั้น ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งใน 15 ประเทศเหล่านี้
ในประเทศไทยมีจำนวนเด็กที่ไม่ไปโรงเรียนอยู่ประมาณ 620,000 ถึง 720,000 คน และในจำนวนนี้มีมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเด็กที่เข้าโรงเรียนล่าช้ากว่าเกณฑ์ กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาของไทยระบุไว้ว่า เด็กทุกคนที่อายุ 6 ปีต้องไปโรงเรียน(เริ่มต้นที่ชั้นประถม 1) และบทลงโทษกรณีฝ่าฝืนก็คือการจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับจึงเป็นเรื่อง สำคัญมากที่จะต้องเข้าโรงเรียนในอายุที่ถูกต้อง เพราะในระหว่างอายุ 1 ปีถึง 6 ปีนั้นสมองเราได้รับการพัฒนาไปมากถึง 80% แล้ว เพราะฉะนั้น การเข้าเรียนประถม 1 ในวัย 7ปีจึงไม่เป็นประโยชน์มากเท่ากับการเข้าเรียนตอนอายุ 6 ปี
มีปัญหาหลัก ๆ อยู่ 3 ประการ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเข้าโรงเรียนล่าช้าปัญหาแรกก็คือ ผู้ปกครองเข้าใจผิดและยังคิดว่าอายุของการเข้าเรียนชั้นประถม 1 นั้นยังเป็น 7 ขวบอยู่ แม้ว่าเมื่อสองสามปีที่แล้วกฎหมายการศึกษาของเราได้เปลี่ยนแปลงจาก 7 ปี เป็น 6 ปีแล้วก็ตามและถ้าผู้ปกครองไม่ส่งลูกหลานเข้าโรงเรียนตามอายุที่ถูกต้องก็ เท่ากับทำผิดกฎหมายนั่นเองค่ะ ส่วนปัญหาถัดมาก็คือคุณครูบางท่านรู้สึกว่าหากเด็กคนไหนไม่ได้เข้าศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก Early Childhood Development (ECD) Centre มาก่อน เด็กคนนั้นก็ยังไม่พร้อมที่จะเข้าเรียนในระดับประถม
มีเด็กประมาณ 40% ที่ไม่ได้เข้า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม และมีเพียง 34% ของจำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเหล่านี้ที่เข้าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต้นขัดกับความ เชื่อของคุณครูบางท่าน กระทรวงศึกษาธิการระบุไว้ว่าเด็กเหล่านี้ไม่ต้องผ่านการทดสอบใดๆ ในการเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา เพราะโรงเรียนชั้นประถมได้รับการออกแบบมาเพื่อเด็กทุกคน ซึ่งรวมถึงเด็กที่ไม่ได้เข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วย
ดังนั้น คุณครูต้องรับเด็กทั้งหมดเข้าเรียนเมื่ออายุเด็กถึง 6 ปีแล้วมีเด็กเกือบ 2 ล้านคนในประเทศไทยที่อยู่ในฐานะยากจน ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลที่บางครอบครัวไม่มีเงินพอส่งเด็กเข้าโรงเรียนจริงอยู่ ที่การเรียนในชั้นประถม 1 เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาภาคบังคับและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ค่าใช้จ่าย ในการส่งเด็กไปโรงเรียนไม่ได้มีแค่ค่าเล่าเรียนเท่านั้นนะคะ แต่ยังรวมไปถึงค่ารถไปกลับ ค่าเครื่องแบบนักเรียน หนังสือ และอุปกรณ์เครื่องเขียนด้วยเพราะฉะนั้น ในการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง (การศึกษาภาคบังคับฟรี) ทางรัฐบาลน่าจะรองรับการสนับสนุนผู้ปกครองให้ครบทุกด้านเพื่อให้เด็กทุกคน สามารถไปโรงเรียนได้
ในฐานเยาวชนไทย พวกเราหวังว่าสิ่งที่รัฐบาลสามารถทำได้ในตอนนี้ก็คือ ส่งเสริมให้ทั้งผู้ปกครองและคุณครูให้มั่นใจว่า เด็กทุกคนที่อายุ 6 ปีต้องเข้าโรงเรียนชั้นประถม 1และผลักดันให้มีการดำเนินตามนโยบายอย่างแท้จริง ยิ่งไปกว่านั้นยังต้องทำให้เด็กสามารถเข้าถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้มากกว่านี้เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมและสามารถเข้ากับเด็กอื่น ๆ ได้ดีถึงแม้ว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไม่ใช่โปรแกรมการศึกษาภาคบังคับ แต่ก็มีความสำคัญมากนะคะ เนื่องจากสมองเด็กจะมีการพัฒนาสูงสุดในช่วงวัยนี้ ถ้าหากประเทศไทยสามารถทำให้เด็กจำนวน 350,000 คนเข้าโรงเรียนได้ตรงเวลา
เราก็สามารถนำให้ประเทศเราหลุดจากโผกลุ่ม 15 ประเทศดังกล่าวได้ และ ว่าสำคัญมากกว่านั้นก็คือ เด็กเหล่านี้และคนรอบข้างอื่นๆก็จะได้รับประโยชน์อีก10 หรือ 20 ปีข้างหน้า เนื่องจากเยาวชนเหล่านี้จะเป็นผู้ที่ดูแลคุณและนำพาประเทศก้าวไปข้างหน้า ถ้าหากประเทศไทยยังนิ่งเฉยและไม่ทำอะไรในตอนนี้ก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าจะ ต้องมีภาระหนักมากเท่าไรในอนาคตเช่นเดียวกับที่เด็กจำนวนนับหมื่นนับแสนใน วันนี้ ในฐานะตัวแทนเยาวชนไทยคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมงานศึกษาข้อมูลเรื่อง นี้ร่วมกับยูนิ้ซฟประเทศไทย ขอฝากข้อความนี้ไปถึงรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อช่วยกันใส่ใจมาตรการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ด้วยนะคะ
................................................
รู้จัก ชนันดา ทวีสิน หรือ น้องนุ้บ สาวน้อยอายุ 17 ปี
ชนันดา ทวีสิน หรือ น้องนุ้บ ปัจจุบันอายุ 17 ปี เป็นบุตรสาวคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของคุณเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) กับแพทย์หญิงพักตร์พิไล ทวีสิน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผิวพรรณและ Anti-Aging
น้องนุ้บเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลและประถมต้นที่โรงเรียนจิตรลดา จนถึงอายุ 9 ขวบแล้วจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่ Vinehall School ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ปีสุดท้ายที่ Downe House School และมีความสนใจที่จะศึกษาต่อในสาขาวิชา Biomedical Science ในระดับมหาวิทยาลัยระหว่างศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ
น้องนุ้บคิดว่าการมีประสบการณ์การทำงานในช่วงวันหยุดเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ทำให้ได้รู้สึกถึงบรรยากาศการทำงาน ที่แท้จริง และได้เรียนรู้ถึงประสบการณ์จากการทำงานเพื่อสังคมกับองค์กรยูนิเซฟประเทศ ไทย และจากการที่น้องนุ้บได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดี จึงคิดอยู่เสมอว่าการทำสิ่งดีๆเพื่อตอบแทนผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าตนเป็นเรื่อง สำคัญ จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมฝึกงานกับองค์กรยูนิเซฟ โดยได้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการการพัฒนานโยบายการศึกษาในประเทศไทยร่วมกับคณะ ทำงานชุดใหม่ของรัฐบาลใหม่
จากการฝึกงานในครั้งนี้ ทำให้ได้เรียนรู้ประสบการณ์สำคัญจากการทำงานเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่งในการฝึกงานกับองค์กรขอสหประชาชาติ แล้วยังเป็นอีกหนึ่งเยาวชนตัวอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ได้มา ร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมที่อาศัยอยู่ให้ดียิ่งขึ้นโดยปราศจากข้อจำกัดทางอายุ ถึงแม้ว่าอายุยังน้อย แต่ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้อื่นได้เช่นกัน ในยามว่าง น้องนุ้บมีความสนใจในการเล่นกีฬาประเภทว่ายน้ำ และ ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการปิดภาคเรียนอยู่กับครอบครัว