บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี: ชาตินิยมในการเมืองไทย

ที่มา ประชาไท

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี



ดูท่าพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคการเมืองเก่าและแก่เกินไปกว่าจะเรียนรู้ ความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆของโลกได้ เพราะยังมีความพยายามจะเข็นประเด็นชาตินิยมสมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม ขึ้นมาเล่นอย่างเมามัน (อยู่คนเดียว) แม้ว่าพรรคการเมืองพรรคนี้จะประกอบไปด้วยคนหนุ่มสาวหัวสมัยใหม่และการศึกษา สูงมากมาย แต่พวกเขากลับตกอยู่ภายใต้การครอบงำของแนวคิดเก่าแบบนักการเมืองรุ่นก่อตั้ง พรรคแบบโงหัวไม่ขึ้น

เพลงแหล่เสียดินแดนที่ขับกล่อมพลพรรคประชาธิปัตย์ในงานเลี้ยงคืนหนึ่ง เมื่อเร็วๆนี้คงบอกความจริงได้อย่างหนึ่งว่า พรรคการเมืองเก่าแก่แห่งนี้คงจะกอดวาทกรรม “เสียดินแดน” ที่บรรพบุรุษของพวกเขาร่วมกับจอมพล ป พิบูลสงครามสร้างขึ้นต่อไปอีกนานหรือในทางหนึ่งถ้าพรรคการเมืองแห่งนี้ยังมี ชีวิตอยู่ต่อไปวาทกรรมเสียดินแดนก็จะยังคงอยู่ต่อไป ถ้าพรรคนี้ทิ้งเรื่องนี้ไปหมายความว่าพวกเขาหมดเครื่องมือทำมาหากินอย่างแน่ นอน แม้ว่าจะรู้อยู่เต็มอกแล้วว่า มันขายไม่ออกแล้วในยุคสมัยปัจจุบัน แต่ในเมื่อยังหาอะไรทดแทนไม่ได้ก็จำต้องใช้ไปพลางก่อน

หรือหากจะมองอีกมุมหนึ่ง ความสัมพันธ์ของพรรคประชาธิปัตย์กับความคิดชาตินิยมแบบนี้อาจจะเป็นดั่ง ปราสาทหินร้างกับต้นไทรที่รากของมันชอนไชไปทั่วทุกอนุของก้อนหินที่ประกอบ กันเป็นตัวปราสาท เราไม่ค่อยแน่ใจนักว่าใครเป็นฝ่ายโอบอุ้มใครกันแน่ รากไทรที่ชอนไชไปทั่วปราสาทดูเหมือนจะแทรกให้เนื้อหินแตกแยกออกจากกัน แต่มันก็กำลังโอบอุ้มก้อนหินเหล่านั้นไม่ให้พังคืนลงมาด้วยในเวลาเดียวกัน ขาดต้นไทร ปราสาทคงพัง ทำนองเดียวกันขาดปราสาทต้นไทรคงตาย

ลัทธิชาตินิยมในบริบทการเมืองไทยเกิดขึ้นจริงๆจังๆในช่วงสงครามโลกครั้ง ที่สองเป็นต้นมา เฉพาะอย่างยิ่งหลังจากพวกคณะราษฎร์มองหาสิ่งยึดเหนี่ยวใหม่ให้กับสังคมแทน ความคิดนิยมเจ้าพวกเขาจึงพากันสร้างแนวคิดเกี่ยวกับ “ชาติ” ขึ้นมาใหม่โดยการสร้างแนวคิดนิยมไทยขึ้นมาแทน รัฐบาลในสมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทยและอีกหลายๆอย่างที่แสดงออกถึงความเป็นไทย ประการสำคัญคือความพยายามในการ “รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย” เข้าด้วยกัน อาศัยจังหวะของความอ่อนแอของฝรั่งเศสในอินโดจีนเข้ายึดดินแดนหลายส่วนทาง ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงที่เคยเชื่อว่าเป็นของสยามมาก่อนตั้งยุคต้นรัตน โกสินทร์ ดินแดนที่ได้มาใหม่ในระหว่างปี พ.ศ. 2484-2489 คือบัตตำบอง (พระตะบอง) เสียมเรียบ (เสียมราฐ) ศรีโสภณ หลวงพระบาง จำปาสัก ถูกทำให้กลายเป็นจังหวัดของไทยและเมื่อมีการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2489 ปรากฎว่ามีคนในตระกูลอภัยวงศ์หลายคนได้เป็นส.ส.จากเขตปกครองใหม่ของไทย เช่น ชวลิต อภัยวงศ์ เป็น ส.ส.จังหวัดพิบูลสงคราม (เสียมเรียบเดิม) ประยูร อภัยวงศ์ เป็นส.ส.จำปาสัก เป็นต้น

ประเทศไทยสูญเสียดินแดนเหล่านั้นกลับคืนไปให้ฝรั่งเศสเมื่อญี่ปุ่นแพ้ สงครามโลกครั้งที่สองและรัฐบาลอมาตย์ชาตินิยมของจอมพล ป ก็หมดอำนาจลงไปพร้อมๆกับการขึ้นสู่อำนาจของปีกซ้ายในคณะราษฏร์คือกลุ่ม ปรีดี พนมยงค์ กระทั่งราวปี พ.ศ. 2490 การรัฐประหารของจอมพลผิน ชุณหวัณโดยความร่วมมือของควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในเวลานั้นด้วยข้อหาคลาสสิกที่พวกเขาถนัดคือป้ายสี ปรีดี เรื่องการสิ้นพระชนม์ของรัชกาลที่ 8 แล้วนำเอาจอมพล ป กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่ง แต่มาคราวหลังนี้ รัฐบาลอมาตย์ชาตินิยมมีกำลังไม่เข้มแข็งเท่าใดนักพวกเขาทำได้อย่างมากเพียง แอบยึดเขาพระวิหารเอาไว้ในปี พ.ศ. 2497 แล้วส่งต่อให้เป็น “สมบัติชาติ” มาจนกระทั่งสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจจากจอมพล ป ในปี 2500 และสฤษดิ์ประสบความสำเร็จอย่างมากในการรวมแนวคิดนิยมชาติและนิยมเจ้าเข้า ด้วยกันสืบทอด “ราชาชาตินิยม” มาได้จนกระทั่งปัจจุบัน และปราสาทพระวิหารกลายมาเป็นศูนย์รวมของการต่อสู้ภายใต้แนวคิดนี้ในยุคสมัย ของสฤษดิ์เมื่อเขาแต่งตั้งให้ เสนีย์ ปราโมช เป็นผู้แทนฝ่ายไทยต่อสู้แย่งชิงปราสาทพระวิหารกับกัมพูชาในระยะปี 2502-2505 จนพ่ายแพ้อย่างยับเยินในที่สุด แต่ก็ยังไม่วายทิ้งมรดกแห่งความแค้นจากความอับยศอดสูในความปราชัยครั้งนั้น มาถึงลูกหลานของพรรคประชาธิปัตย์จนปัจจุบันด้วยวาทะของสฤษดิ์ที่ว่า วันหนึ่งข้างหน้าเราจะต้องเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมาเป็นของชาติไทยให้จง ได้ และพรรคประชาธิปัตย์ก็กอดจดหมายของ ถนัด คอร์มันต์ ที่ส่งถึงสหประชาชาติหลังแพ้คดีว่า เป็นหนังสือขอสงวนสิทธิในการทวงคืนปราสาทพระวิหารเอาไว้อย่างเหนียวแน่น ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่า มันเป็นแค่วาทะลมๆแล้งๆที่หาข้อผูกพันทางกฎหมายอะไรไม่ได้เลย เพราะไม่เช่นนั้นพรรคประชาธิปัตย์คงไม่รอช้าที่จะยื่นเข้าไปเป็นพยานหลักฐาน ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อกัมพูชาร้องขอให้มีการตีความคำพิพากษาปี 2505 เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานั่นแล้ว แต่ในความเป็นจริงเรื่องนี้กลับเป็นแค่อาการหลอนข้ามศตวรรษเท่านั้นเอง

พรรคประชาธิปัตย์มีความสามารถเพียงแค่นำถ้อยแถลงนี้มาละเลงในฟองน้ำลาย ของพวกเขาเพื่อโจมตีใครก็ตามที่ยอมรับว่าปราสาทพระวิหารได้กลายเป็นของ กัมพูชาไปแล้วโดยสมบูรณ์ พวกเขาเชื่อว่าวาทกรรมราชาชาตินิยมนี้ทรงพลังอยู่มาก เมื่อประสบความสำเร็จในการร่วมมือกับ ตุลาการภิวัตน์ คว่ำ นพดล ปัทมะ ลงจากตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศได้ในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช แต่ไม่ค่อยเฉลียวใจนักว่า การต่อสู้ครั้งนั้นไม่ได้เป็นอิทธิฤทธิ์ของวาทกรรมราชาชาตินิยมล้วนๆ แต่มันเจือไปด้วยความเกลียดและกลัวการกลับมาของทักษิณ ชินวัตรไม่น้อย

มาถึงวันนี้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ น่าจะได้รู้แล้วว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาต้องกลายมาเป็นฝ่ายค้านโดยไม่เต็มใจ เพราะความคิดชาตินิยมล้าหลังที่สืบทอดกันมาแต่ในอดีตของพรรคประชาธิปัตย์ นั้นสิ้นมนต์ขลัง อภิสิทธิ์ พรรคประชาธิปัตย์ และ คนที่เกาะกระแสนี้อย่างเหนียวแน่น คือ สุวิทย์ คุณกิตติ พ่ายแพ้อย่างหมดรูปในการเลือกตั้งที่จัดขึ้นระหว่างที่ศึกการต่อสู้เรื่อง ปราสาทพระวิหารกำลังข้นเคี่ยวในเวทีศาลโลกและเวทีคณะกรรมการมรดกโลก นี่เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมของวาทกรรมชาตินิยมแบบเก่าเป็น อย่างดี

แต่ก็อีกนั่นแหละ แม้ว่านักสื่อสารมวลชนแนวประสบสอพลอจะเห่กล่อมว่าอภิสิทธิ์และแกนนำพรรคประ ชาธิปัตย์ มีความสามารถและปราดเปรื่องเพียงใด แต่ข้อเท็จจริงก็คือ พวกเขายังคิดไม่ออกจนกระทั่งปัจจุบันนี้ว่าจะหาอะไรมาต่อสู้กับกลุ่มทักษิณ ได้ในยุคสมัยปัจจุบัน เวลานี้ก็ได้แต่วิ่งกลับไปฉวยเอาดาบผุๆและเพลงกระบี่เดิมๆของพวกชาตินิยม มากวัดแกว่ง อ้างว่าพวกทักษิณสมคบกับกัมพูชา ทำลายผลประโยชน์ของชาติ โดยไม่ยอมพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ได้เลยสักนิดว่า อย่างไร?

พวกเขาอาศัยอารมณ์ริษยาของคนอกหักในยามรักคุดมาเป็นแรงบันดาลใจในการขับ เคลื่อนประเด็นทางการเมืองด้วยการกล่าวหาว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาที่ทำท่าว่าจะดีขึ้นหลังจากที่พวกเขาหมด อำนาจนั้นมีผลประโยชน์ส่วนตัวเกี่ยวข้องมากมาย พรรคประชาธิปัตย์พยายามจะชวนให้คนเชื่อว่า ทักษิณ จะขนเอาทรัพยากรในอ่าวไทยและดินแดนรอบๆปราสาทพระวิหาร (ซึ่งก็ยังไม่แน่นักว่าเป็นของใคร) ไปประเคนให้กัมพูชา (หรือที่จริงแล้วพวกเขาอยากพูดให้ชัดกว่านั้นว่าเอาไปให้ฮุนเซนเป็นการส่วน ตัว) เพื่อแลกกับความสัมพันธ์ที่ดี หรือ ในทางกลับกันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีจะเอื้อประโยชน์ในธุรกิจส่วนตัว ของทักษิณ

อภิสิทธิ์พูดเสมอว่า ความสัมพันธ์กับกัมพูชาที่เสื่อมทรุดในยุคสมัยของเขาเป็นเพราะเขาไม่ยอมตาม ฮุนเซน สิ่งที่อภิสิทธิ์ไม่เคยยอมรับเลย คือ ความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่างประเทศของเขาเองต่างหากที่เป็นปัญหา

พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาว่า ทักษิณมีผลประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลี่ยมในอ่าวไทย แต่ระยะเวลาสองปีกว่าในอำนาจพวกเขากลับไม่ยอมแสดงให้เห็นเลยว่ามีผลประโยชน์ เช่นว่านั้นมีอยู่แค่ไหนเพียงใด แต่ถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่วายพูดแล้วพูดอีก ด้วยหวังว่า จินตนาการของพวกเขาคงเป็นจริงขึ้นมาสักวัน ทั้งๆที่ก็รู้อยู่เต็มอกแล้วว่า พื้นที่ในเขตทับซ้อนนั้นถูกจองเอาไว้แล้วโดยบริษัทต่างชาติ ประเทศไทยให้สัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่บริเวณนั้นตั้งแต่ทักษิณยัง ไม่ประสีประสาทางการเมืองเลยด้วยซ้ำ กัมพูชาเองก็ให้ไปตั้งแต่ก่อนจะลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลทักษิณ และประการสำคัญการเจรจาเรื่องการแบ่งผลประโยชน์ทางทะเลนั้นไม่สามารถทำได้ ชั่วข้ามคืน กรณีไทยมาเลเซียนั้นไม่มีประเด็นทางการเมืองมาเกี่ยวข้องเลยยังใช้เวลานับ เป็นสิบๆปี ถ้าหากทักษิณและพวกของเขาต้องการจะมีผลประโยชน์เรื่องนี้จริงๆ ก็มีวิธีที่ทำได้ง่ายกว่าโดยการขอแบ่งหุ้นจากบริษัทเชฟรอน ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่อยู่นอกกรอบการเจรจาระหว่างสองประเทศ

สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีสมัยอภิสิทธิ์ที่ถูกฮุนเซน กล่าวหาว่าพยายามจะขอเจรจานอกรอบกับกัมพูชาเรื่องผลประโยชน์ทางทะเลนั้นออก มาพูดว่า ไม่มีใครสามารถจะตกลงเรื่องนี้นอกรอบกันได้เพราะประเทศไทยมีขั้นตอนตาม กฎหมายมากมายในการตรวจสอบสัญญากับต่างประเทศ แต่สุเทพพูดแบบนี้คงลืมไปว่า พรรคของเขากำลังกล่าวหาคนอื่นอยู่ หรือ อาจจะพยายามทำให้เข้าใจว่าคนที่เขากล่าวหาอยู่นั้นไม่ได้อยู่ในระเบียบ กฎหมายอันเดียวกันกับเขา

เรื่องผลประโยชน์ทักษิณมีอยู่หรือไม่เพียงใดนั้นก็เป็นเรื่องสมควรที่จะ ต้องมีการตรวจสอบแน่นอน คงเป็นเรื่องที่น่าสรรเสริญหากพรรคประชาธิปัตย์จะตั้งอกตั้งใจตรวจสอบเรื่อง ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ แต่เกรงว่าพวกเขาคงจะไม่ทำอะไรให้มันกระจ่างขึ้นมา เพราะพวกเขาคิดจะแสวงประโยชน์ทางการเมืองจากความคลุมเครือเหล่านี้มากกว่า

รัฐบาลอภิสิทธิ์ตัดสินใจที่จะยกเลิกบันทึกความเข้าใจเรื่องเขตทับซ้อนทาง ทะเลปี 2544 ที่ทำขึ้นสมัยรัฐบาลทักษิณแต่น่ากลัวว่าแรงจูงใจในการยกเลิกนั้นกลับไม่ใช่ เรื่องการรักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างที่กล่าวอ้าง หากแต่เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของพรรคการเมืองเก่าแก่ของเขาเสียมากกว่า เพราะรัฐบาลอภิสิทธิ์เพียงประกาศและมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ว่าให้ยกเลิกทว่ากลับไม่ยอมบอกกล่าวต่อกัมพูชาอย่างเป็นทางการเลย และไม่ยอมเอาเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภา อภิสิทธิ์อ้างว่าไม่มีเวลา ทั้งๆที่เขามีเวลาเป็นปีๆก่อนที่จะยุบสภา ถ้ามันเป็นเรื่องเสียหายร้ายแรงอย่างที่เขากล่าวอ้าง จะปล่อยไว้ทำไมเนิ่นนานเพียงนั้น

สรุปแล้วบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ เวลานี้พรรคประชาธิปัตย์ทำเป็นมาท้าทายให้รัฐบาลใหม่นำหนังสือสัญญาฉบับนี้ กลับมาใช้ โดยพยายามจะทำให้คนเข้าใจว่า พวกเขาเลิกมันไปแล้ว ถ้านำกลับมาใช้ใหม่เท่ากับเป็นการเอื้อประโยชน์ทักษิณ พรรคการเมืองที่เป็นที่นิยมของพวกชนชั้นสูง พยายามพูดเรื่องที่มีความกระจ่างแจ้งอยู่แล้ว ให้มีความคลุมเครือ เพียงหวังว่าจะอาศัยเหตุแห่งความคลุมเครือนั้นมาเล่นงานคู่แข่งทางการเมือง ของตัวเองได้อีก แต่ดูๆไปก็ออกจะเพ้อเจ้อเสียมากกว่า

เมื่อเรื่องผลประโยชน์เรื่องปิโตรเลี่ยมพิสูจน์อะไรไม่ได้เป็นชิ้นเป็น อัน แถมยังโดนฮุนเซน คนเก๋าเกมกว่าชิงลงมือเปิดประเด็นเรื่องความคลุมเครือในการดำเนินงานต่าง ประเทศ เรื่องนี้ทำท่าจะกลายเป็นมุกแป๊ก สิ่งต่อไปที่พรรคประชาธิปัตย์จะทำคือ พูดเรื่องเกาะกูด ในทำนองที่ว่าบันทึกความเข้าใจปี 2544 เป็นการรับรองการอ้างไหล่ทวีปของกัมพูชา ดังนั้นรัฐบาลใหม่นี้จะต้องทำในสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีปัญญาทำคือ ยกเลิกหนังสือสัญญานี้เสีย ไม่เช่นนั้นประเทศไทยต้องเสียอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูดแน่นอน อันที่จริงบางคนพูดว่าเสียไปแล้วด้วยซ้ำไป

ข้อเท็จจริงคือ กัมพูชาขีดเส้นอ้างไหล่ทวีปตั้งแต่ปี 2515 จากหลักเขตทางบกที่ 73 ค่อนลงทางตะวันตกเฉียงใต้เล็กน้อยตรงมายังเกาะกูดและอ้อมตัวเกาะไม่ได้อ้าง เอาเกาะกูด และสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสปี 1907 เขียนว่า เกาะทั้งหลายใต้แหลมสิงห์ไปถึงเกาะกูดเป็นของสยาม หมายความว่าต่อให้กัมพูชาอ้างเอาเกาะกูดจริงๆพื้นฐานการโต้แย้งเรื่องนี้ของ ไทยชัดเจนมั่นคงมากกว่าการเถียงเอาปราสาทพระวิหารของเขาเป็นไหนๆ

แต่บรรดาผู้รักชาติก็ห่วงอยู่ดีเพราะเส้นที่กัมพูชาอ้างไหล่ทวีปนั้นขีด อ้อมเกาะกูด ทำไมไม่ขีดหนีเกาะกูดไปเสียเลย ทำไมต้องไปทำเอ็มโอยูรับรองเส้นนี้อีก? ที่จริงแล้วไม่มีความตอนไหนในเอ็มโอยูนั้นให้การรับรองเส้นอะไรของใครทั้ง สิ้น เพราะในความเป็นจริงไทยอ้างพื้นที่ไหล่ทวีปในปี 2516 ก็ขีดเส้นเข้าไปใกล้เขตกัมพูชามาก ถ้าอาศัยตรรกของผู้รักชาติทั้งหลายที่ว่าเอ็มโอยูรับรองเส้นที่กัมพูชาอ้าง ด้วยหลักเดียวกันหนังสือฉบับนี้ต้องรับรองสิทธิ์ของไทยด้วยเช่นกัน ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงเราก็ได้ดินแดนมหาศาลไปแล้วจะเลิกเอ็มโอยูนี้ทำไมให้ เสียประโยชน์

โลกของความเป็นจริงคือเรามองอะไรข้างเดียวแบบนั้นไม่ได้ หลักกฎหมายบอกว่าแต่ละประเทศอ้างไหล่ทวีปได้ไปจนถึงความลึก 200 เมตร แต่อ่าวไทยนั้นส่วนที่ลึกสุดแค่ 80 กว่าเมตร เมื่อทุกประเทศอ้างเหมือนกันเขตที่อ้างมันก็ต้องทับซ้อนกันแน่นอน เมื่อมันทับซ้อนกันแล้วถ้าไม่มีปัญญาเอาเรือรบไปตีเอามา ก็คงจะต้องนั่งลงเจรจากัน เอ็มโอยู ปี 2544 ก็ไม่ได้บอกให้ทำอะไรมากไปกว่าให้นั่งลงเจรจาแบ่งกันเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นตราบเท่าที่ยังเจรจาตกลงกันไม่ได้ ก็ยังพูดไม่ได้อยู่ดีว่าของใครเป็นของใคร แต่นักการเมืองเอาเรื่องนี้มาโจมตีกันว่าอีกฝ่ายหนึ่งทำเสียดินแดนไปเรียบ ร้อยแล้ว เรื่องแบบนี้ไปพูดที่ไหนในโลกเขาก็คงขำๆ แต่ในประเทศไทยมีคนเชื่อว่า ทำแบบนี้เราเสียดินแดนไปแล้วด้วย วุฒิสมาชิกบางคนถึงกับเอาเรื่องนี้ไปพูดในสภาด้วยซ้ำไป ถ้าการได้หรือเสียดินแดนมันทำได้แค่ขีดเส้นบนกระดาษ กองทัพเรือคงไม่ต้องดิ้นรนหาเรือดำน้ำกระมัง เพราะนักการเมืองไทยดำน้ำเก่งกันทุกคน ที่สำคัญพวกเขาสามารถไปกันได้แบบน้ำขุ่นๆด้วย

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker