บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

รัฐประหาร=อัตวินิบาตกรรม

ที่มา มติชน



โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

การ ชุมนุม "ฟ้องฟ้า" ของคุณสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่สี่แยกราชประสงค์ เป็นเรื่องที่น่าสำเหนียกแก่กลุ่มชนชั้นนำที่ร่วมกันชักใยการเมืองไทยอยู่ใน เวลานี้


จำนวนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากเกินคาดของทุกฝ่าย แม้แต่ของผู้จัดการชุมนุมเอง การจราจรถูกปิดไป "โดยปริยาย" โดยไม่มีใครเจตนา แต่เกิดขึ้นจากจำนวนคนที่เข้าร่วมมากเกินคาด


คุณ ฌอน บุญระคง ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นโฆษกยืนยันว่า คนจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุมโดยสมัครใจและเกิดขึ้นอย่างไม่ได้วางแผนมาก่อน ทั้งไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ ทั้งทางลับหรือเปิดเผยจากคุณทักษิณ ชินวัตร โดยสิ้นเชิง คุณฌอนประเมินว่า เกือบทั้งหมดของผู้ชุมนุมคือคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ภาพข่าวในทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ดูจะส่อไปในทางเดียวกับการประเมินของคุณ ฌอน คำให้การของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนอื่นก็ตรงกัน


ทั้งหมดนี้เกิด ขึ้นท่ามกลางการใช้ พ.ร.บ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่รัฐบาลได้ตัดสินใจมาแต่ต้นแล้วว่า จะปล่อยให้มีการทำกิจกรรมทางการเมืองที่ "ไม่นำไปสู่การจลาจล หรือการละเมิดกฎหมาย" แปลว่า จะใช้อำนาจตามตัวอักษรใน พ.ร.บ.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมทางการเมืองนั้นอยู่ในวิสัยที่ผู้มีอำนาจ "คุม" อยู่หรือไม่ หรือพูดให้ชัดกว่านั้นคือสะเทือนอำนาจของตนเองมากน้อยเพียงไร


ท่า ทีอย่างนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ในบรรดาผู้ถืออำนาจของบ้านเมืองทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในเวลานี้ (อันมิได้เป็นเนื้อเดียวกัน แต่แยกออกเป็นหลายกลุ่มมาก) ยอมรับว่า จะต้องประคองตัวอยู่ท่ามกลางพลังสองชนิด คือพลังของอำนาจดิบอันมี พ.ร.บ.ฉุกเฉินและกองทัพเป็นฐาน กับพลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชน (ซึ่งมักเรียกกันว่า "ประชาธิปไตย") ระหว่างพลังทั้งสองนี้ ยังไม่มีฝ่ายใดล้มอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างราบคาบ จะประคองโครงสร้างอำนาจทางการเมืองในปัจจุบันให้อยู่รอดต่อไปได้ ก็ต้องสร้างสมดุลให้ดีระหว่างอำนาจทั้งสอง


แต่เรื่องนี้พูดง่าย ทำยาก เพราะสังคมไทยไม่ได้หยุดนิ่งกับที่ หากเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา และเปลี่ยนเร็วในบางมิติด้วย จนบางครั้งอำนาจที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังเวลานี้คาดไปไม่ถึง


เช่นการชุมนุมของชาวเสื้อแดงในวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน ดังที่กล่าวมาเป็นต้น


การ ตัดสินใจใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมอย่างเหี้ยมโหดในเดือน พฤษภาคม ตามมาด้วยการไล่ล่าและปิดปากกลุ่มเสื้อแดง คือการใช้พลังของอำนาจดิบเพื่อลดทอนกำลังของพลัง "ประชาธิปไตย" ลง ด้วยความหวังว่าอำนาจที่ไม่ถูกตรวจสอบในช่วงนี้ จะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ถืออำนาจพอที่จะเผชิญกับการเลือกตั้ง และการกลับมาของบรรยากาศประชาธิปไตยได้ใหม่ สมดุลก็จะกลับมาเอง


แต่ ผู้คนจำนวนมากที่เข้าร่วมชุมนุม โดยไม่มีการจัดตั้งกันอย่างรัดกุมนัก บวกกับท่าทีที่ไม่เป็นมิตรของผู้คนในภาคเหนือ-อีสาน ทำให้ไม่อาจแน่ใจได้ว่า การเลือกตั้งจะส่งนักการเมืองกลุ่มเก่ากลับคืนสู่ตำแหน่งได้อีก ไม่ว่าการเลือกตั้งจะมาเมื่อไร จากนี้ไปจนถึงปลายปีหน้า


อันที่ จริง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของชนชั้นนำ ไทย ว่ากันไปแล้วโครงสร้างอำนาจเคยดำรงรักษาตนเองไว้ได้อย่างราบรื่นภายใต้ รัฐบาลหลายแบบ และพรรคการเมืองที่เป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาลได้หลายพรรค พรรคการเมืองต่างๆ นั้นก็หาใช่ใครที่ไหน แต่เป็นสมาชิกในกลุ่มชนชั้นนำด้วยกันเอง พรรค ทรท.เองก็เป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำ เพียงแต่เป็นกลุ่มของชนชั้นนำที่กำลังจะใช้ความสำเร็จทางการเมืองไปรวบอำนาจ ทั้งหมดไว้ภายใต้การนำของตนแต่ผู้เดียว ผิดกติกาของการต่อรองอำนาจในหมู่ชนชั้นนำไทย ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง และไม่มีกลุ่มใดได้อำนาจนำไปอย่างเด็ดขาด แม้แต่กลุ่มที่มีโอกาสสร้างเครือข่ายได้กว้างขวาง ก็ยังต้องยืดหยุ่นให้แก่กลุ่มอื่นบ้างเป็นครั้งคราว


พรรคทายาท ของ ทรท.ต่างหากที่เป็นปัญหามากกว่า ไม่ใช่เพราะกลุ่มนี้เป็นคนหน้าใหม่จากที่อื่นและปราศจากโครงข่ายโยงใยกับชน ชั้นนำกลุ่มอื่นเสียเลย (คุณสมัคร, คุณสมชาย, คุณยงยุทธ, คุณปลอดประสบ, พลเอกชวลิต ฯลฯ เป็นใคร? ก็คนหน้าเก่าในแวดวงทั้งนั้นไม่ใช่หรือ?) แต่เพราะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมต่างหาก ที่ทำให้พรรคทายาทต้องไปเกาะเกี่ยวกับฐานมวลชน

ทั้งๆ ที่พรรคเหล่านี้หาได้มีความพร้อมจะเล่นการเมืองที่มีฐานมวลชนแม้แต่น้อย


และ เพราะไปเกาะเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่มีฐานมวลชน ทำให้พรรคทายาททั้งหลาย โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ไม่อาจยืดหยุ่นในการต่อรองกับชนชั้นนำกลุ่มอื่นได้ ดังเช่นที่พรรคการเมืองไทยมักทำได้เสมอมา ยิ่งพรรคเพื่อไทยขาดการนำที่ชัดเจน ก็ยิ่งทำให้ยากที่จะผนวกพรรคเพื่อไทยเข้ามาในโครงสร้างอำนาจของชนชั้นนำ และด้วยเหตุดังนั้น หากพรรคเพื่อไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็อาจกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างอำนาจได้มาก


ทุกกลุ่มชนชั้นนำ เวลานี้ ดูเหมือนได้ตัดสินใจไปแล้วว่า อย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาอันใกล้นี้


ผบ.ทบ.คนใหม่ซึ่งสามารถอยู่ใน ตำแหน่งได้ต่อเนื่องถึง 4 ปี คงจะหวั่นไหวต่อการมี รมว.กลาโหมที่ไม่ได้เป็นมิตรต่อตน อย่าลืมว่าการปราบปรามประชาชนในเดือนพฤษภาคมจนมีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก นั้น ยังไม่มีการสืบสวนสอบสวนอย่างจริงจังและเที่ยงธรรมใดๆ แม้นายทหารผู้สั่งการอาจไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพราะกระทำอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ฉุกเฉิน แต่ยังมีความรับผิดชอบทางการเมืองและสังคมซึ่งไม่มีกฎหมายใดๆ คุ้มครอง ด้วยการยกเหตุเพียงเท่านี้ก็สามารถ "แขวน" ผบ.ทบ.เสียได้ไม่ยากนัก


สายที่วางกันเอาไว้ตลอดเส้นในกองทัพจะ ขาดรุ่งริ่งอย่างไร กองทัพทั้งกองทัพนั่นแหละที่ไม่อาจรับพรรคเพื่อไทยเป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาล ได้


นักการเมืองในพรรคเพื่อไทยรู้จักการเมืองไทยดีพอที่ทำให้ ไม่อยากไป ยุ่งกับกองทัพ แต่พรรคเพื่อไทยจะมีทางเลือกอื่นหรือ มวลชนจำนวนมากที่เผชิญการปราบปรามอย่างเหี้ยมโหดจะยอมให้พรรคเพื่อไทยขาย ทิ้งกระนั้นหรือ

ฉะนั้นถึงอย่างไรพรรคเพื่อไทยก็ต้องเข้ามาจัดการกับกองทัพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ปีกว่า ในตำแหน่ง ไม่ได้ทำให้โอกาสทางการเมืองของประชาธิปัตย์ดีขึ้นมากนัก แม้เศรษฐกิจของทุนระดับใหญ่ (ซึ่งที่จริงแล้วก็เป็นของต่างชาติเสียมากมาย) ส่งสัญญาณเงยหัวเพราะการส่งออกที่ดีขึ้น แต่เงินไม่ได้กระจายไปถึงผู้คนมากนักนอกจากข้าราชการซึ่งจะได้ปรับเงินเดือน ยิ่งกว่านี้ความแตกร้าวในสังคมยิ่งหนักมากขึ้น โดยไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาเบาบางลงแต่อย่างใด คาถาล้มเจ้านั้นปลุกไม่ขึ้น ทำให้ต้องใช้มาตรการปิดหูปิดปากประชาชนอย่างหนาแน่นเหมือนเดิม (ทั้งโดยเปิดเผยและโดยลับ) ทำให้ประชาชนที่เชิดชูเจ้าพลอยเดือดร้อนไปด้วย และเริ่มวิตกว่าการนำเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ประโยชน์ทางการเมืองเช่น นี้ ผลเสียย่อมตกอยู่แก่ตัวสถาบันเองมากกว่า


นายทุนเดือดร้อนกับ การชะลอตัวของการลงทุน เพราะนโยบายที่ไม่ชัดเจน และบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่สงบ นับวันก็เห็นได้ชัดขึ้นว่าไม่สามารถฝากผลประโยชน์และอนาคตของตนไว้กับพรรค ประชาธิปัตย์ได้


ฝ่ายนิยมเจ้าอย่างสุดขั้วมองเห็นแต่ความอ่อนแอ ของประชาธิปัตย์ เพราะไม่อาจปิดกั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างได้ผล ไม่ว่าในทางเทคโนโลยีหรือในทางกฎหมาย (หรือนอกกฎหมาย)


ท่ามกลาง สภาวการณ์เช่นนี้ นักการเมืองประชาธิปัตย์ก็รู้ดีว่าไม่ว่าพรรคจะถูกยุบหรือไม่ หากหลุดจากรัฐบาลในครั้งนี้ โอกาสที่จะกลับมาเป็นรัฐบาลผ่านการเลือกตั้งอีกคงริบหรี่ไปอีกนาน


ควร กล่าวด้วยว่า ในท่ามกลางอนาคตที่ดูไม่ราบเรียบของชนชั้นนำนี้ ชนชั้นนำก็แตกแยกกันเองอย่างหนักด้วย ตามปกติชนชั้นนำก็ประกอบขึ้นจากหลายกลุ่มอยู่แล้ว แต่เวลานี้แม้ในกลุ่มเดียวกันก็แตกแยกกันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นในกองทัพ, ฝ่ายนิยมเจ้า, ตำรวจ, นักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล, นักวิชาการ, คนในวงการตุลาการ ฯลฯ จึงยิ่งทำให้ชนชั้นนำไทยในขณะนี้ไม่พร้อมจะผนึกกำลังกันเข้ามาต่อรองความ เปลี่ยนแปลงของสังคมได้ดีนัก


และนี่คือที่มาของข่าวการรัฐประหาร

เพราะ ดูเหมือนเป็นคำตอบเดียวที่ชนชั้นนำบางกลุ่มมีอยู่ในกระเป๋า เพราะไปคิดว่ารัฐประหารจะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาทุกอย่าง นับตั้งแต่ความแตกร้าวภายในของชนชั้นนำเอง, การดำเนินนโยบายที่ทันท่วงทีต่อความเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก, ฟื้นฟูสมดุลทางการเมืองระหว่างพลังดิบและพลัง "ประชาธิปไตย" กลับคืนมาได้อย่างมั่นคง, ให้อำนาจที่ค่อนข้างเด็ดขาดมากขึ้นแก่ชนชั้นนำที่จะประคับประคองการเปลี่ยน ผ่านของสถาบันทางการเมืองและวัฒนธรรมทุกสถาบัน ฯลฯ


รัฐประหารอาจ เคยทำอย่างนั้นได้สำเร็จ แต่รัฐประหารครั้งสุดท้ายทำไม่สำเร็จ ไม่ใช่เพราะตัวบุคคลที่เข้ามาเป็นรัฐบาล เท่ากับว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว รัฐประหารไม่สามารถผนวกพลังใหม่ของประชาชนระดับล่างให้เข้ามาร่วมอยู่บนเวที การเมืองอย่างเสมอภาคได้ รัฐประหารทำให้เกิดความแตกร้าวในสังคมหนักขึ้น รัฐประหารทำให้ชนชั้นนำที่เคยอยู่แต่เบื้องหลังถูกดึงมาร่วมในการปะทะขัด แย้งกันเบื้องหน้า รัฐประหารไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจจำเริญมากขึ้น หรือการแบ่งปันทรัพย์สินดีขึ้น ฯลฯ


รัฐประหารครั้งใหม่ก็จะให้ผล อย่างเดียวกัน และอาจเลวร้ายกว่า เช่นความแตกร้าวในกองทัพซึ่งแสดงออกให้เห็นได้แต่เพียงระเบิดไม่กี่ลูก ก็จะกลายเป็นระเบิดกันทุกวัน และวันละหลายครั้ง อำนาจรัฐอาจไม่ถูกท้าทายที่ราชประสงค์ แต่อาจถูกท้าทายไปทั่วทุกตารางนิ้วของประเทศ ฉะนั้นแม้ไม่มีศาลากลางใดถูกเผา แต่ศาลากลางอาจกลายเป็นศาลาวัด คือไม่มีอำนาจเหลือให้ทำอะไรได้สักอย่างเดียว พลังใดจะแพ้หรือชนะเดาไม่ถูก แต่จะไม่เหลือระเบียบทางการเมืองและสังคมใดๆ ไว้ให้ใครนำมาปะติดปะต่อกลับขึ้นมาใหม่ได้อีกเลย


ฉะนั้น ถ้าคิดผิด ก็คิดใหม่ได้ เพราะรถถังยังไม่ได้เติมน้ำมัน

กรณี คลิปวิดีโอ กับ จตุพร พรหมพันธุ์ ร้อนแรง อย่างยิ่ง

ที่มา ข่าวสด

ถึงแม้การปล่อยข่าวเรื่อง คลิปวิดีโอ ล่าสุดจากปาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ จะมีการออกตัวเอาไว้ด้วยว่า

"เรื่องนี้ไม่ได้แบล็กเมล์ แต่เป็นเรื่องจริยธรรม"

แต่ก็ล่อแหลมเป็นอย่างยิ่งว่า หาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ แถลงเสร็จแล้วก็ไม่ทำอะไรต่ออาจทำให้เข้าใจได้ว่า

มีความโน้มเอียงที่จะถลำเข้าสู่กระบวนการ "แบล็กเมล์"

เพราะภายในถ้อยความที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้แถลงต่อสาธารณะนั้นดำเนินไปอย่างมีเงื่อนไข

นั่น ก็คือ "ถ้าได้สัญญาณว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายเหมือน ที่ตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย คนไทยจะได้เห็นคลิปนี้แน่ ซึ่งจะนำไปสู่หายนะของศาลรัฐธรรมนูญแน่"

ถ้อยความเหล่านี้มีความ "ล่อแหลม" และ "หวาดเสียว" ยิ่ง



ที่ว่าล่อแหลมเพราะถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติต่อคดีพรรคประชาธิปัตย์เหมือนกับปฏิบัติต่อคดีพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย

คือ ยุบ

นั่น หมายความว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ จะเก็บคลิปวิดีโอซึ่งอ้างว่าแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท่านหนึ่ง กระนั้นหรือ

อ้าว! แล้วที่ระบุว่าเป็นเรื่องในทาง "จริยธรรม" หมาย ความว่าอย่างไร

ขณะ เดียวกัน ที่ว่า "หวาดเสียว" เพราะพลันที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้แถลงกรณีนี้ปรากฏต่อสาธารณะ เป็นไปได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจักต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อมิให้เกิด ความเสียหายมากยิ่งไปกว่านี้

เพราะว่าถ้อยแถลงของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ขาดความแจ่มชัด หากแต่ดำเนินไปอย่างคลุมๆ ไม่ระบุว่าเป็นใคร ระบุเพียงเป็น 1 ในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น

เรื่องคลุมๆ เครือๆ อย่างนี้หากปล่อยผ่านเลยไปย่อมเสียหาย



แนว โน้มและความเป็นไปได้ที่จะต้องเกิดขึ้นติดตามมาก็คือ นายจตุพร พรหมพันธุ์ จะเงื้อง่าราคาแพงในเรื่องล่อแหลมและหวาดเสียวเช่นนี้ไม่ได้

จำเป็นต้องเดินหน้า

เชื่อ ได้เลยว่า คล้อยหลังการเปิดเรื่องคลิปวิดีโอของ นาย จตุพร พรหมพันธุ์ เพียงไม่กี่ชั่วโมง จะต้องได้รับคำถามจากฝ่ายตรงข้ามในพรรคประชาธิปัตย์อย่างไม่ต้องสงสัย

เพราะเรื่องนี้มิได้กระทบแต่กับศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น หากแต่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งตกเป็นจำเลยในคดีนี้ก็รับเข้าไปเต็มพิกัด

ปล่อยไว้ไม่ได้หรอก

อย่างนี้แหละที่ปราชญ์ท่านสรุปเอาไว้อย่างรวบรัดยิ่งว่า ก่อนพูดเราเป็นนาย แต่ภายหลังจากพูดออกไปแล้ว คำพูดนั่นแหละจะกลายเป็นนาย

ตอนนี้คำพูดเรื่องคลิปวิดีโอกำลังเป็น "นาย" เหนือ นาย จตุพร พรหมพันธุ์



ระหว่างคำพูดกับการกระทำเป็นเส้นบางๆ ที่จะแบ่งความเป็นจริงของคนและของนักการเมือง

ก่อนหน้านี้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ เคยพูดอะไรไว้มากมาย ทั้งที่เป็นความจริง ทั้งที่พิสูจน์ว่าเสมอเป็นเพียงความเชื่อ ความรู้สึก

แต่กรณีคลิปวิดีโออันเกี่ยวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญถือว่าล่อแหลมและหวาดเสียวยิ่ง

ไม่เป็นสุข

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน




นับ วันแต่จะยิ่งแจ่มชัดและตาสว่างขึ้นเรื่อยๆ สำหรับภาพเหตุการณ์และหลักฐาน ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใช้กำลังสลายม็อบเสื้อแดง

ทั้งการปะทะกันเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว และการใช้กำลังทหารและยุทโธปกรณ์บดขยี้กลุ่มผู้ชุมนุม ราชประสงค์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.

แม้ที่ผ่านมาจะใช้อำนาจพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน บิดเบือนและปิดกั้นข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง

แรกๆ สังคมก็อาจรู้สึกคล้อยตาม หลงใหลไปตามกระแสแห่งการโฆษณาชวนเชื่อ

ทั้งกรณีชายชุดดำบ้าง หรือกองกำลังไม่ทราบฝ่ายบ้าง

เพราะรัฐบาลใช้สื่อของรัฐออกข่าวสารด้านเดียว โหมประโคมใส่ร้ายผู้ชุมนุม จนละเลยข้อเท็จจริง

กล่าวหาเป็นผู้ก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมือง และล้มล้างสถาบัน

สร้างภาพป้ายสีผู้ชุมนุมให้คนบางกลุ่มเห็นพ้องว่าเป็นพวกไม่รักชาติ ไม่เคารพสิทธิคนเมืองหลวง

เพื่อสร้างความชอบธรรมในการกวาดล้าง เข่นฆ่า และจับกุม

นายอภิสิทธิ์ยืนกระต่ายขาเดียวอ้างตลอดเวลาว่าไม่เคยสั่งให้ปราบปรามประชาชน

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ยืนยันทุกครั้งว่าไม่เคยสั่งให้ทหารลั่นกระสุนใส่ผู้ชุมนุม

ล่าสุด พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสธ.ทบ. ก็ยืนกรานอ้างว่าไม่เคยสั่งการให้หน่วยสไนเปอร์ขึ้นบนตึกสูง ยิงเด็ดหัวผู้ชุมนุม

แต่เมื่อมีการล้มตายที่เกิดจากคมกระสุนเกือบ 100 ศพ บาดเจ็บอีกเกือบ 2 พันชีวิต

ใครจะออกปฏิเสธอย่างไร โยนผิดเช่นใด ก็ย่อมมิอาจปกปิดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้

กาลเวลาผ่านล่วงเลยไป

การสังหาร การตาย และความรุนแรงที่แยกราชประสงค์ ผ่านมา 4 เดือนกว่าแล้ว

การที่ฝูงชนพากันหลั่งไหลออกมาร่วมกันรำลึกกว่า 1 หมื่นคน ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าไม่มีใครลืมเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น

อีกไม่นานก็จะถึงวันที่ 10 ต.ค. ซึ่งนัดหมายกันว่าจะออกมาร่วมรำลึกครบรอบ 6 เดือนเหตุการณ์อำมหิตที่สี่แยกคอกวัว

ก็จะพิสูจน์อีกครั้งว่า ผู้คนจะลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่

สำหรับผู้ที่อีกไม่กี่วันก็จะหมดอำนาจ แม้จะบอกว่าไม่ยุ่งกับการเมือง และจะอยู่ให้ห่างจากสื่อ

แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะตามหลอกหลอนไปตลอดชีวิต

ส่วนนายอภิสิทธิ์ ซึ่งอีกไม่กี่เดือนก็มีเค้าว่าอาจจะต้องลงจากเก้าอี้

เหตุการณ์ที่นายอภิสิทธิ์ปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้อง ไม่ได้สั่งการ ก็จะตามหลอนหลอกตลอดชีวิตเช่นกัน

รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในส่วนอื่นๆ ที่มีส่วนทำให้ประชาชนล้มตายและได้รับบาดเจ็บ

ก็ยากจะมีชีวิตอยู่อย่างสุขสงบตามปกติ

อย่างน้อยก็ทางใจ

สามก๊ก

ที่มา ไทยรัฐ

รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชักออกอาการ จับตานโยบายอภิมหาประชานิยมที่จะออกมาอีกกระทอกใหญ่ ขณะเดียวกันในด้านมืดแต่ละกระทรวงเตรียมทิ้งทวนกันมันหยด

การทุจริต คอรัปชันการแต่งตั้งข้าราชการที่ไม่อยู่กับร่องกับรอย ชี้ให้เห็นถึงการขาดภาวะผู้นำอย่างรุนแรง ภาพลักษณ์รัฐบาลมีตำหนิตั้งแต่บุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง รมต.ในปัจจุบัน ต้องคดีสำคัญระดับชาติ ขาดคุณสมบัติ ขาดจริยธรรมและพัวพันเรื่องของการทุจริต อาศัยตัวช่วยประคับประคองถูลู่ถูกังกันไป

วิธีการใช้อำนาจอย่างบิด เบือนทำลาย ระบบคุณธรรมและจริยธรรม โดยสิ้นเชิง กฎกติกาไม่ใช่กลไกในการชี้ผิดชี้ถูก ส่วนใหญ่มักจะใช้อำนาจตามอำเภอใจเสียมากกว่า

กรณีการลงรับสมัครเลือก ตั้งซ่อม ส.ส.สุราษฎร์ธานี แทน ชุมพล กาญจนะ ที่เจอข้อหาแจ้งบัญชีเท็จตามรัฐธรรมนูญระบุ ชัดว่า จะต้องลาออกจากการเป็นข้าราชการประจำ หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ใช้อำนาจอิทธิพลเอาเปรียบผู้สมัครรายอื่นๆ

ดัง นั้น ที่ประชาธิปัตย์จะส่ง สุเทพ เทือกสุบรรณ ลงสมัครทั้งที่ยังคาเก้าอี้รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง พิลึกกึกกือชอบกล เอาแค่ตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ก็ใหญ่คับฟ้าแล้ว นี่ยังควบตำแหน่งรองนายกฯและผู้จัดการรัฐบาล คงไม่ต้องอธิบายอะไรให้เมื่อยตุ้ม

จึงมีคำถามตามมาว่า ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชาธิปัตย์จะส่งใครลงสมัครก็แบเบอร์ตั้งแต่ยังไม่ลงคะแนน ทำไมต้องเป็นสุเทพ แสดงว่างานนี้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไรหรือไม่

คาด เดากันไปล่วงหน้าว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ นี่แหละจะขึ้นมาเป็น นายกฯขัดตาทัพ แทนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมมติถ้าเจอกับอุบัติเหตุทางการเมืองและจะได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของพรรค ประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมรัฐบาลได้เต็มไม้เต็มมือ

งานนี้ถ้ารองนายกฯ สุเทพจะลงรับสมัครเลือกตั้งซ่อมจริง ก็ต้องลาออกจากตำแหน่งรองนายกฯ ในสิ้นเดือนนี้ แต่ถ้าไม่ลาออกลงสมัครทั้งที่ยังคาเก้าอี้ สังคมก็ต้องอนุโมทนา

ให้รู้ว่าบ้านนี้เมืองนี้ใครใหญ่

รอง นายกฯสุเทพอาจจะอ้างข้อกฎหมายว่าข้าราชการการเมืองได้รับการยกเว้นไม่ต้องลา ออกจากตำแหน่ง แต่เมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แม้แต่ข้าราชการหรือผู้บริหารส่วนท้องถิ่นยังต้องลาออกก่อน รวมทั้งมีการตีความจากศาลรัฐธรรมนูญไว้แล้วว่า ตำแหน่งนายกฯ หรือ ครม.ก็ให้ถือว่า เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ จะหาข้ออ้างอย่างไรก็ไม่ถูกต้องและไม่สง่างาม

เผอิญชวรัตน์ ชาญวีรกูล ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยไปหลุดปากว่าพร้อมที่จะจับมือกับพรรคชาติไทย พัฒนาในการจัดตั้งรัฐบาล ก็เลยต้องจินตนาการต่อไปว่า สมมติประชาธิปัตย์ถูกยุบจัดขั้วรัฐบาลใหม่ ภูมิใจไทย พรรคร่วมรัฐบาลอื่น และบรรดา ส.ส.กาฝากก็พร้อมที่จะแสดงพลังเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

บ้านเมืองแบ่งเป็น 3 ขั้ว 3 ก๊กทันที.

หมัดเหล็ก

การ์ตูน เซีย 29/09/53

ที่มา ไทยรัฐ

Pic_114612

การ์ตูน เซีย 29/09/53

อย่าลืมเรา..วันที่ 10 เดือน 10 ปี 10 รำลึกวีรชน10 เมษา เสียสละครบ 6 เดือน ที่...

ที่มา thaifreenews

โดย Porsche






อย่าลืมเรา..

วันที่ 10 เดือน 10 ปี 10 รำลึกวีรชน10 เมษา เสียสละครบ 6 เดือน

ที่สี่แยกคอกวัว และ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย..อย่าลืมเรา

แถลงการณ์เสนอโรดแม็ป 5 ข้อของแดงสยาม

ที่มา thaifreenews

โดย namome






วาน นี้ (27 ก.ย. 53) "แดงสยาม" นำโดยนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ได้เปิดการเสวนาและแถลงข่าวเรื่อง"โรดแม็ปเพื่อแก้ปัญหาประเทศไทย" ณ ห้างอิมพีเรียล เวิล์ด ลาดพร้าว ชั้น 5 ท่ามกลางมวลชนเสื้อแดงที่สนใจไปรอฟังอย่างคับคั่ง สาระสำคัญของโรดแม็ป 5 ข้อมีดังต่อไปนี้ :

1. สังคมไทยมาถึงจุดเปลี่ยนไม่อาจจะปฏิรูปซ่อมแซมได้อีกต่อไป ต้องปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความเป็นสังคมสมัยใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์

2. การปรองดองไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยรัฐบาลที่ปราบปรามเข่นฆ่าประชาชน ดังนั้นจะต้องเปลี่ยนรัฐบาลจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นรัฐบาลที่เป็นกลาง ที่ยอมรับได้ทุกฝ่ายทำหน้าที่เป็นรัฐบาลเพื่อความปรองดองแห่งชาติ

3. ความปรองดองจะต้องร่วมกันทุกฝ่ายไม่ใช่ทำฝ่ายเดียว และจะต้องทำในทุกระดับ ตั้งแต่ชนชั้นล่างจนถึงชนชั้นบนสุดของสังคม เพราะความขัดแย้งหลักเป็นความขัดแย้งของชนชั้นบนสุดของสังคม ระหว่างชนชั้นบนใหม่กับชนชั้นบนเก่า ที่เป็นชนชั้นสูงซึ่งเป็นด้านหลักของความขัดแย้ง

4. เมื่อมีรัฐบาลเพื่อความปรองดองแห่งชาติเกิดขึ้นแล้วจะต้องออกกฏหมายนิรโทษ กรรมให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาและถูกตัดสินลงโทษอันเนื่องมาจากวิกฤติความขัด แย้งทางสังคมและการเมือง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมาทุกคนทุกฝ่าย

5. เพื่อป้องกันมิให้เกิดวิกฤติซ้ำซ้อนอีกในอนาคตจะต้องมีการปฏิวัติรัฐธรรมนูญ เปลี่ยนแปลงแก้ไขในหมวด 2 ว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์โดยศึกษาจากประเทศต่างๆ ที่เจริญแล้ว และมีการปกครองเช่นเดียวกับประเทศไทย ที่มีสถาบันกษัตริย์เป็นประมุข เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ สวีเดน เดนมาร์ก และเบลเยี่ยม เพื่อป้องกันมิให้มีบุคคลใดๆ ดีงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาแสวงหาผลประโยชน์และแสวงหาอำนาจอีกต่อไป
มีแต่จะต้องดำเนินการเช่นนี้ จึงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางปฏิวัติ เปลี่ยนผ่านแบบสันติเกิดขึ้นและรอดพ้นจากสงครามกลางเมือง

แดงสยาม
27 ก.ย. 2553

นปช.ภูพาน รำลึก อัครเดช ขันแก้ว อาสาพยาบาลเหยื่อกระสุนวัดปทุมฯ

ที่มา ประชาไท

คน เสื้อแดงกาฬสินธุ์-มุกดาหาร-สกลนคร-นครพนมหลายพันร่วมเวทีรำลึกวีรชน ที่ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ประกาศเจตนารมณ์ “สืบสานปณิธานวีรชน ทวงอำนาจของปวงชนคืนกลับมา”

เมื่อ วันที่ 25 ก.ย. กลุ่ม นปช.ภูพาน จัดงานบุญร้อยวันอุทิศส่วนกุศลแด่อัครเดช ขันแก้วและผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมในเดือนเมษา-พฤษภา 2553 ที่บ้านหนองผือ ต.หนองผือ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ อันเป็นบ้านของอัครเดช ขันแก้ว (อ๊อฟ) หรือชื่อ”ตัวเล็ก” อาสาสมัครพยาบาล หนึ่งในหกรายที่เสียชีวิตอยู่ในเขตอภัยทานวัดปทุมวนาราม ในคืนวันที่ 19 พฤษภาคม หลังการประกาศยุติการชุมนุมของแกนนำ

ในช่วงกลางวันมีคนเสื้อ แดงในเขตต่างๆ ทยอยเดินทางมา เพื่อนำซองบุญมามอบแก่คณะกรรมการจัดงาน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ว่าจะนำไปช่วยเหลือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจาก การสลายการชุมนุม และเป็นกองทุนการดำเนินกิจกรรมของ นปช.ภูพาน โดยบรรยากาศช่วงกลางวันประชาชนที่เดินทางมาพบปะกันก็นั่งล้อมวงคุยกัน ระบายความรู้สึก และแลกเปลี่ยนข่าวสารที่รับรู้มา โดยในงานได้มีการจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายในช่วงการเหตุการณ์สลายการชุมนุม และนิทรรศการสายธารประชาธิปไตย จัดโดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาอีสาน (สนนอ.) ตลอดจนมีการเปิดให้พี่น้องประชาชนเขียนไว้อาลัยแด่วีรชนที่เสียสละชีวิตใน ช่วงเหตุการณ์ ทั้งนี้มีประชาชนที่มาร่วมงานให้ความสนใจพอสมควร

ช่วง เย็นเวลาของเวทีปราศรัย มีประชาชนมาร่วมมากขึ้นบรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกคัก มีการแสดงดนตรีของนักศึกษาจากอุบลราชธานี สลับกับการปราศรัยของแกนนำจากอำเภอต่างๆ ของ จ.กาฬสินธุ์-สกลนคร-มุกดาหาร โดยเฉพาะเมื่อแกนนำจากกรุงเทพฯ ได้แก่ จตุพร พรหมพันธ์ วรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ และสมหวัง อัสราษี เดินทางมาถึงและขึ้นเวทีปราศรัย มีเสียงโห่ร้องขานรับเป็นระยะๆ โดยเฉพาะ เมื่อแกนนำประกาศสู้ต่อไปจนกว่าบ้านเมืองจะมีความยุติธรรม ดังเป็นการประกาศ เจตนารมณ์ร่วมกัน ตามเจตนารมณ์ของการจัดงานในครั้งนี้ว่า “สืบสานปณิธานวีรชน ทวงอำนาจของปวงชนคืนกลับมา”

หลังการกล่าวปราศรัย ของแกนนำ พิธีกรบนเวทีประกาศเชิญชวนให้ทุกคนจุดเทียนและยืนสงบนิ่งเพื่อเป็นการไว้ อาลัยให้แก่วีรชนที่เสียสละชีวิตในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้มีการจัดงานของคนเสื้อแดงในอีสานเหนือและกลางถึง 3 งาน นอกจากงานรำลึกวีรชนที่ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ แล้ว ก็มีเวทีสัมมนาที่ จ.ร้อยเอ็ด และงานคอนเสิร์ตที่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ซึ่งมีคนเข้าร่วมจำนวนมาก นับเป็นการกลับมาชุมนุมของคนเสื้อแดงในภาคอีสานรอบใหม่ หลังการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์โดยใช้เวลาเพียง 4 เดือน

ประวิตร โรจนพฤกษ์: ภาระของการปฏิเสธความจริงเรื่องวิกฤติการเมือง

ที่มา ประชาไท

ในสังคมไทยความจริงและการยอมรับสิ่งที่เห็นอยู่โทนโท่ มักถูกปิดทับไว้ใต้นิยายปรัมปราอันหนักอึ้งและการปฏิเสธความจริง

ตัวอย่าง ล่าสุด: การกลับมาชุมนุมของคนเสื้อแดงที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2553 เพื่อระลึกการครบรอบสี่ปีรัฐประหาร และสี่เดือนของการใช้ทหารปราบประชาชน คนเสื้อแดงออกจากพื้นที่ราชประสงค์
การ รายงานข่าวของสื่อกระแสหลักในวันนั้นขาดซึ่งประเด็นสำคัญยิ่งไปหนึ่ง ประเด็นอันได้แก่ ข้อความเคียดแค้นที่ขีดเขียนโดยคนเสื้อแดงเต็มกำแพงสังกะสีที่กั้นเขตก่อ สร้าง ซ่อมแซมตึกเซ็นทรัลเวิลด์และเซ็น ซึ่งคนเสื้อแดงถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้เผาเมื่อสี่เดือนที่แล้ว

ก่อนวัน อาทิตย์นั้น กำแพงสังกะสีสูงสองเมตร ยาวกว่าประมาณ 70 – 80 เมตร เต็มไปด้วยหลากข้อความโฆษณาชวนเชื่อ ชวนให้คนไทยมารัก ลืมและปรองดองกัน แต่พอพลบค่ำของเย็นวันที่สิบเก้า ข้อความบนกำแพงที่ทางเจ้าของเซ็นทรัลเวิลด์จัดไว้ก็ถูกเขียนทับด้วยข้อความ อันเคียดแค้นต่อชนชั้นนำเก่า แบบที่ไม่สามารถนำมาอ้างได้ในที่นี้โดยไม่เสี่ยงผิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ

ราวหนึ่งทุ่มเศษคืนนั้น คนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยจับกลุ่มหลายกลุ่ม ยืนพูดคุยวิจารณ์ข้อความและระบายความโกรธแค้นคับข้องใจทางการเมืองอยู่หน้า กำแพง หากทว่าพอถึงวันรุ่งขึ้น ข้อความเหล่านั้นก็ถูกลบทิ้งไปสิ้น ราวกลับว่า เหตุการณ์คืนก่อนหน้านั้นมิได้เคยเกิดขึ้น กำแพงยังคงอยู่ แต่ข้อความไม่เหลือให้ห็น คงเหลือเพียงกำแพงสังกะสีอันว่างเปล่าสีเทา ถึงแม้เพียงคืนเดียวก่อนหน้านั้น มันจะได้ทำหน้าที่เก็บบันทึกความในใจจากก้นบึ้งของคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง

คน บางคนได้ตัดสินใจว่า ข้อความเหล่านี้ไม่ควรถูกบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทยปี 2553 ช่างภาพชาวตะวันตกผู้หนึ่ง ซึ่งพอเข้าใจความหมายของบางข้อความ กล่าวกับผู้เขียนในคืนนั้นว่า เขาไม่แน่ใจว่าจะนำรูปของข้อความบนกำแพงที่ถ่ายไปลงที่ไหนได้บ้าง และไม่แน่ใจว่าควรทำอย่างไรดีกับรูปเหล่านั้น
ช่องว่างระหว่างสิ่งที่คน ไทยจำนวนมากอยากเชื่อเกี่ยวกับบางเรื่องกับความ เป็นจริงที่ว่า คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งมีความเชื่อบางอย่างแตกต่างไป ไม่เคยกว้างแตกต่างเท่าทุกวันนี้ เหตุการณ์ 10 เมษา และ 19 พฤษภาคม 53 ซึ่งนำมาซึ่งความตายของ 91 ชีวิต ยิ่งทำให้ช่องว่างนี้กว้างขึ้น เต็มไปด้วยความโกรธแค้นในหมู่คนเสื้อแดงและวิตกจริตในหมู่ชนชั้นนำเก่า

ช่อง ว่างระหว่างสิ่งที่พูดและยอมรับในที่ลับ กับสิ่งที่ท่องและปฏิเสธในที่สาธารณะดูจะกว้าง ห่างจากกันมากขึ้นทุกที กลายเป็นราคาค่างวดที่สังคมไทยต้องแบกรับหนักอึ้งขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อ วันอังคารที่ผ่านมา ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีต รมว.ต่างประเทศยุคทักษิณผู้ซึ่งทิ้งทักษิณไปก่อนเกิดรัฐประหารกล่าวใน สุนทรพจน์ที่มหาวิทยาลัยสยามว่า การโจมตีสถาบันกษัตริย์ได้มีเพิ่มมากขึ้นและเห็นชัดขึ้น แถมเขายังบอกว่า นี่เป็นหนึ่งในสองรากปัญหาวิกฤติสังคมการเมืองไทยปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สุรเกียรติ์ไม่ได้พยายามแม้กระทั่งจะอธิบายว่า ทำไมคนจำนวนไม่น้อยถึงรู้สึกเช่นนั้นต่อสถาบัน

การเขียนข้อความเช่น นั้นจำนวนมากบนกำแพงซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ ไม่เคยมีมาก่อน ในขณะที่การลบข้อความเหล่านั้นอย่างรวดเร็ว เป็นอาการป่วยของสังคม “เซ็นเซอร์นิยม” แถมคนที่ไม่เอาเสื้อแดงก็มักไม่ยอมที่จะตั้งคำถามว่าทำไมคนเสื้อแดงจำนวนไม่ น้อยถึงเชื่ออย่างที่เขาเชื่อ

การปฏิเสธไม่ยอมรับฟังความเห็นและความเชื่อของราษฏรจำนวนหนึ่ง จะไม่ช่วยให้ประเทศนี้ผ่าปัญหาทางตันทางการเมือง

รัฐ ประหาร 19 กันยา เมื่อสี่ปีที่แล้วได้สร้างปัญหาใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึงและซับซ้อน เสมือนการเปิดกล่องแพนโดร่าของชาวกรีก และ ณ วันนี้หลัง 91 ศพต้องสังเวยเหตุการณ์ต้นปี ผู้คนควรเริ่มยอมรับความจริงเสียทีว่า คนจำนวนหนึ่งคิดอย่างไร และหันมาถามอย่างจริงจังว่า ทำไมพวกเขาถึงคิดและรู้สึกเช่นนั้น

--------------------------------

หมายเหตุ: แปลและเรียบเรียงจาก It’s time to take off the blind fold.
http://www.nationmultimedia.com/home/2010/09/23/politics/It-may-be-time-to-take-off-the-bilindfold-30138569.html ตีพิมพ์ครั้งแรกใน นสพ.เดอะเนชั่น ฉบับวันที่ 23 ก.ย.53

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์:แดงแท้ แดงเทียม แดงสลิ่ม แดงมือใหม่ แดงมือโปร แดงมหาเทพ แดงซูเปอร์แดง ฯลฯ

ที่มา ประชาไท

ภาย หลังจากที่งาน"เราไม่ทอดทิ้งกัน"ลุล่วงไปได้มีข้อถกเถียงเรื่องของการ ให้คุณค่าและการจัดวางบทบาทของตนเองในขบวนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงของนัก กิจกรรมทางสังคมกลุ่มหนึ่ง บันทึกสั้นๆในเฟซบุ๊คชิ้นนี้เป็นทัศนะหนึ่งที่น่าสนใจศึกษาและแลกเปลี่ยน เพื่อนำไปสู่ความชัดเจนข้างหน้า

อ่าน ที่หลายคนพูดกันไปมาหลังจากงานเรา"ไม่ทอดทิ้งกัน"แล้วมีข้อสังเกตว่า เรื่องแดงแท้แดงสลิ่มเป็นคำที่คนชั้นกลางอยากแดงสร้างขึ้นมาเองทั้งนั้น คำนี้มีคนทั่วไปใช้ที่ไหน เวลาไปงานในพื้นที่ต่างๆ ก็ไม่เคยได้ิยิน คำนี้เกิดจากความอึดอัดในสังคมคนชั้นกลางเอง โดยเฉพาะหลังการปราบปี 53 จนเกิดความต้องการอัตลักษณ์ใหม่เพื่อแยกตัวเองจากคนชั้นกลางอื่นๆ อัตลักษณ์นี้ไม่ผิด ควรมี แต่การมีอัตลักษณ์นี้ไม่ควรนำไปสู่การคิดเองเออเองว่าึคนทั้งหมดต้องเป็นแบบ เดียว ใครเป็นแบบอื่นผิด ไม่แจ๋ว ไม่แน่จริง คนแต่ละคนมีเงื่อนไขมีความถนัดมีรสนิยมต่างกัน ว่ากันไม่ได้ ไม่เห็นประโยชน์ของการว่ากันแบบนี้ เห็นแต่ผลที่จะทำให้คนอยากทำอะไรร่วมกันน้อยลง 

นี่ไม่ได้ หมายความว่าเราไม่ควรวิจารณ์หรือตั้งคำถามกันเอง แต่การวิจารณ์หรือการตั้งคำถามที่ดีในความเคลื่อนไหวทางการเมืองก็เหมือนการ วิจารณ์หรือตั้งคำถามในเรื่องศิลปะหรือเรื่องอื่นๆ การวิจารณ์ที่ดีต้องช่วยให้อีกฝ่ายเปลี่ยนผ่านจากข้างใน ให้เขาเ็ห็นปัญหาเห็นข้อจำกัดของวิธีคิดต่างๆ ให้เขาเลือกเองตามความถนัดหรือเงื่อนไขที่แวดล้อมตัวเขา ไม่ใช่วิจารณ์แบบตั้งตัวเองเป้นศาสดาหรือเจ้าพ่อศีลธรรมที่รู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด และทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงตามที่ข้าพเจ้าเห็นว่าดี

อ่านความ เห็นต่อไปยิ่งพบว่ากระแสคำแบบนี้เลยเถิดไปขนาดไล่ล่าคนที่ไม่ เหมือนกัน ว่าเป็นแดงเทียม แดงหากิน แดงมือใหม่ แดงฟันน้ำนม ฯลฯ คุณบุญชิตพูดไว้ดีว่าเอียงแดงแล้วมีอะไรให้หากินได้ที่ไหน ในทางตรงข้าม คือทำให้ไม่มีจะกินมากกว่า เรื่องแดงมือใหม่แดงฟังน้ำนมนี่ยิ่งเลอะเทอะ มีใครในโลกนี้เป็นแดงตั้งแต่ต้น ความเป็นเสื้อแดงเพิ่งเกิดไม่กี่ปีนี้ ซ้ำหลายคนทีไล่ล่าคนอื่นว่าแดงน้อยไปก็ไม่ได้พูดอะไรเมื่อเกิดรัฐประหาร 2549 ที่เคยเห็นด้วยกับรัฐประหารมากบ้างน้อยบ้างก็มี

เมื่อตอนที่ ไทยรักไทยถูกยุบพรรค เท่าที่จำได้ก็คือแทบไม่มีนักวิชาการคนไหนแสดงความคิดเห็นคัดค้าน ตอนเกิดสิบเมษา 52 หรือ 53 หลายคนหายไปแม้กระทั่้งการโพสท์ข้อความในเว็บ แล้วอย่างนี้จะเอาอะไรมาวัดว่าแดงแท้แดงเทียม? ประโยชน์ของการวัดแบบนี้คืออะไรนอกจากทำให้ขบวนการที่มีคนหลายกลุ่มเข้าร่วม กลายเป็นขบวนการผูกขาดคลั่งคัมภีร์

บางคนบอกว่าของแท้ ต้องกล้าแตะบางเรื่อง แต่เมื่อมีหลายคนในอดีตทำแล้วเดือดร้อน มีใครคุ้มครองหรือช่วยเหลือพวกเขาได้? อันที่จริงถ้าใช้เกณฑ์นี้วัดความเป็นของแท้แล้วก็จะยิ่งพบว่าคนเป็นของแท้ แทบไม่เหลือสักราย

ในอดีตแม้แต่คนที่ radical มากๆ อย่างปรีดีก็หลีกเลี่ยงไม่พูดเรื่องนี้อีกหลัง 2475 แม้กระทั่งงานปรีดีช่วงอยู่จีนหรือฝรั่งเศสก็แตะเรื่องแบบนี้เบาบาง อ้อมค้อม และต้องมีความเข้าใจบางแบบมากพอจึงจะเข้าใจสารของปรีดี อย่างนี้แปลว่าแท้หรือไม่แท้? นักการเมืองฝ่ายที่คิดว่าเป็นพวกเดียวกันส่วนใหญ่ก็ระมัดระวังในเรื่องทำนอง นี้ คำถามคือคนเหล่านี้แท้หรือเทียม? หรือจริงๆ คำถามนี้ผิดเพราะคำตอบคือเราวัดใครแบบฉาบฉวยไม่ได้นอกจากต้องประเมินกันใน ระยะยาว การโฉ่งฉ่างไล่ล่าไล่ประนามคนจึงไม่มีความจำเป็น และการวิจารณ์ไม่ควรล้ำเส้นจนกลายเป็นการทำอะไรแบบนี้

ความกล้าเป็น เรื่องดี แต่ความไม่กล้าหรือความกลัวก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะคนแต่ละคนมีเงื่อนไขหรือมีเหตุไม่เหมือนกัน คนที่เรียกร้องให้คนอื่นกล้าหาญอาจไม่ใช่้คนกล้าที่สุดในวันที่มีความสูญ เสียเกิดขึ้นจริงก็ได้ ลองย้อนกลับไปทบทวนความจำเดือนเมษาและพฤษภาก็จะเห็นเองว่าใครอยู่ที่ไหนและ ทำหรือไม่ทำอะไรเลยในขณะนั้น ใครแสดงตัว ใครหายไปเฉยๆ

การเอาวาทกรรม ความกล้าไว้แบล็คเมล์คนอื่นนั้นเป็นเรื่องเหลวไหล เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องของการอุทิศตัวเอง ไม่ใช่การเรียกร้องคาดคั้น ถึงคาดคั้นก็เปลี่ยนคนไม่ได้ ไม่มีประโยชน์อะไรจากการคาดคั้น ยิ่งกว่านั้นคือทุกคนมีสิทธิถูกคนอื่นประณามแบบนี้ได้ตลอดเวลา

โจทย์ ใหญ่ที่เป็นปัญหาร่วมของคนทั้งหมดมากที่สุดในตอนนี้คือ การไม่มีประชาธิปไตย เสียงประชาชนและการเลือกตั้งถูกทำให้อยู่ใต้เสียงเหนือประชาชนและสถาบันนอก การเลือกตั้ง โจทย์อื่นเป็นประเด็นสำคัญแต่ไม่ได้แปลว่าทุกคนในฝั่งเดียวกันมีคำตอบเดียว กันทั้งหมด การจัดลำดับผิดหรือการประเมินอะไรเข้าข้างตัวเองจะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ อย่างไม่มีความจำเป็น

ที่มา:http://www.facebook.com/note.php?note_id=478600134809&id=600452703

"สรรเสริญ" โต้ ตาย 91 ศพ เป็นการบิดเบือน

ที่มา ประชาไท

แจง มีผู้เสียชีวิตต่างกรรมต่างวาระ แต่มีความพยายามนำมาผูกเป็นประโยคให้สั้น เพื่อให้เกิดความสนใจ ปัดเรื่องมีสไนเปอร์ แจงพื้นที่พบศพทั้งหมดอยู่ใต้อิทธิพลของผู้ชุมนุม ฟังแค่บางกลุ่มจะสับสน ยัน ศอฉ. ยึดหลักกฎหมาย หลักสากล ปฏิบัติตามคำสั่งศาล มีความเหมาะสม หลีกเลี่ยงความรุนแรง คิดเสมอว่าเป็นคนไทยด้วยกัน เพียงแต่เห็นต่างทางการเมือง ด้าน "พล.ท.ดาวพงษ์" เข้าพบ "สมชาย หอมละออ" แจงข้อมูลสลายชุมนุม

"พล.ท.ดาวพงษ์" เข้าพบอนุกรรมการสอบฯ "สมชาย หอมละออ"
หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน ฉบับวันที่ 28 ก.ย. 53 รายงานว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ย. ที่กองบัญชาการกองทัพบก นายสมชาย หอมละออ ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นช่วงเดือนเม.ย.-พ .ค.2553 พร้อมด้วย พล.ท. พีระพงษ์ มานะกิจ คณะอนุกรรมการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการอยู่ในชุดของนายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เดินทางเข้าพบ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.เพื่อรับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสลายผู้ชุมนุมเสื้อแดง

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า พล.อนุพงษ์ ติดภารกิจไปอำลาหน่วยในกองทัพภาคที่ 4 โดยลงไปตรวจเยี่ยมและอำลาตำแหน่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าที่ผบ.ทบ. ร่วมคณะไปด้วย จึงมอบหมายให้ พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสธ. ทบ. เป็นผู้ชี้แจงแทน ขณะเดียวกัน ยังมี พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้ช่วยผบ.ตร. พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน รองผบช.น. และพ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมชี้แจงด้วย

นายสมชาย เปิดเผยภายหลังเข้ารับฟังข้อมูลว่า ผลการประชุมน่าพอใจ แต่การหารือมีเวลาน้อย โดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) อธิบายภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ และหน่วยงาน ศอฉ.ว่าดำเนินการอย่างไร และข้อมูลที่ศอฉ.รับรู้มีอะไรบ้าง ในช่วงชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยข้อมูลที่ ศอฉ.นำมาเปิดเผย เป็นข้อมูลที่เคยถูกสื่อนำเสนอมาแล้ว แต่เรียบเรียงให้เกิดความเข้าใจ และการหารือจะมีอีกครั้งในช่วงกลางเดือนต.ค. แต่ครั้งหน้าคณะกรรมการจะขอเวลาหารือมากขึ้น เพราะศอฉ.ยังไม่ได้ตอบคำถาม และยังมีข้อมูลจำนวนมากที่สลับซับซ้อน จึงยังไม่สามารถสรุปได้ในขณะนี้ ยังต้องหารือมากกว่า 1 ครั้ง รวมถึงการขอข้อมูลจากหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆ เพื่อมาประกอบด้วย

ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ กล่าวว่า พล.ท.ดาว์พงษ์ พูดถึงนโยบายชี้แจงการปฏิบัติกำลังพลเจ้าหน้าที่ช่วงกระชับพื้นที่ และอธิบายเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบริเวณสี่แยกคอกวัว และแยกราชประสงค์ อย่าง ไรก็ตาม คณะกรรมการส่งเจ้าหน้าที่ไปสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องช่วงเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค. เพื่อเก็บข้อมูลอีกทางหนึ่ง และประมวลเป็นข้อมูล เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เราไม่สามารถรับฟังความข้างเดียวได้ โดยวันที่ 30 ก.ย.นี้ คณะกรรมการเชิญแกนนำนปช.เข้าให้ข้อมูลที่ศูนย์ราชการ แจ้ง วัฒนะ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการจะนำข้อมูลรายงานฉบับเฉพาะกาลให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบความคืบหน้าในเดือนม.ค.ต่อไป คาดว่าไม่น่ามีปัญหารวบรวมข้อมูลแต่อย่างใด

ด้าน พล.ท.พีระพงษ์ หนึ่งในอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ กล่าวว่า เป็นการเข้ารับฟังข้อมูลครั้งแรกจากศอฉ. โดยพล.ท.ดาว์พงษ์ เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดในภาพรวม บรรยากาศเป็นไปด้วยดี เน้นรับฟังข้อมูลวิธีคิด การวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์แก้ไขเหตุการณ์ที่ผ่านมา รวมทั้งรับทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังชี้แจงถึงนโยบายการปฏิบัติงาน การจัดกำลัง ตั้งแต่ช่วงไม่มีเหตุรุนแรง จนถึงการกระชับพื้นที่ โดยศอฉ.พร้อมตอบทุกคำถามและข้อสงสัย ไม่ได้ปิดบังข้อมูล ทำให้คณะอนุกรรมการทราบว่า การทำงานของศอฉ.ยึดหลักกฎหมาย และตั้งใจแก้ไขสถานการณ์ให้คลี่คลาย

หนึ่ง ในอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ กล่าวต่อว่า ศอฉ.มีข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ผ่านมามาก จึงประ สานขอรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆ ด้วย ทั้งจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ และตำรวจ เบื้องต้นจะนัดกันอีกครั้งวัน ที่ 14-15 ต.ค.นี้ การชี้แจงของศอฉ.ให้คณะอนุกรรมการทราบในวันนี้ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที โดยคณะอนุกรรมการจะนำข้อมูลที่ได้ ไปตั้งคำถามในประเด็นอื่นๆ กับ ศอฉ.ในครั้งต่อไป รวมทั้งจะรับฟังข้อมูลจากหลายฝ่ายที่อยู่ในเหตุการณ์ ทั้งกลุ่มผู้ชุมนุม และสื่อมวลชนด้วย

สรรเสริญแุถลง คนตาย 91 ศพเป็นการบิดเบือน เพราะเสียชีวิตต่างกรรมต่างวาระ
ส่วน พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า ศอฉ.ได้ชี้แจงกับคณะอนุกรรมการได้ทราบข้อเท็จทั้งหมด สิ่งที่เราได้ตรวจสอบหน่วยกำลัง ฝ่ายอำนวยการ และฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ถึงการปฏิบัติเมื่อไหร่ อย่างไร และไล่ลำดับตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างไรก็ตาม มีความพยายามของคนบางกลุ่มนำเสนอให้สังคมได้เห็นว่า จำนวนคนตายทั้ง 91 ศพ อยู่ในห้วงและเวลาที่มีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะเหตุการณ์กระชับวงล้อมในวันที่ 19 พ.ค. ที่มีคนเสียชีวิตมากที่สุด ทั้งที่ไม่เป็นความจริง ในวันกระชับวงล้อม 19 พ.ค.ที่ผ่านมา มีคนตายไม่เยอะ การไปบิดเบือนว่ามีคนตายถึง 91 ศพ เป็นสิ่งที่ไม่จริง เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต ต่างกรรมต่างวาระกัน เพียงแต่เวลานี้มีความพยายามนำมาผูกเป็นประโยคให้สั้น เพื่อให้เกิดความสนใจ

โฆษก ศอฉ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ศอฉ.ยังชี้แจงกรณีที่มีคนบางกลุ่มบิดเบือนข้อมูล ว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารแอบยิงประชาชนที่มาร่วมชุมนุม โดยเฉพาะการใช้อาวุธสงคราม และสไนเปอร์ แต่ ศอฉ.ชี้แจงให้เห็นรายละเอียดรวมถึงสถานที่พบศพว่าอยู่ตรงไหนบ้าง อีกทั้งพื้นที่ที่พบศพ เกือบทั้งหมดก็อยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยเราพยายามให้ข้อมูลข้อเท็จจริง หากไปฟังแค่บางกลุ่มจะเกิดความสับสนได้ ยืนยันว่า ศอฉ. ปฏิบัติงานโดยยึดหลักตามกฎหมายและหลักสากล การปฏิบัติไปตามข้อกฎหมาย ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล บนพื้นที่ความเหมาะสม หลีกเลี่ยงความรุนแรง คิดเสมอว่าประชาชนที่มาชุมนุมเป็นคนไทยด้วยกัน เพียงแค่คิดเห็นแตกต่างกันทางการเมืองเท่านั้น ไม่มีทหารคนไหนคิดทำลายประชาชน

ทนาย19นปช.ไม่ลงชื่อรับรองรายงานศาลคดีก่อการร้าย–ญาติคนตาย10เม.ย.เศร้า ศาลยกคำร้องขอชันสูตรศพ

ที่มา ประชาไท

28 ก.ย.53 นายคารม พลกลาง ทนายความ นปช. ให้สัมภาษณ์ว่า ในการตรวจพยานหลักฐานคดีก่อการร้ายของแกนนำ 19 คนเมื่อวานนี้ (27 ก.ย.) นั้น ทนาย 19 คนของจำเลยทั้งหมดไม่ลงนามรับรองรายงานกระบวนพิจารณาของศาล เนื่องจากไม่เห็นด้วยในหลายประการ และจะทำยื่นคำร้องของเพิกถอนรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวภายในสัปดาห์นี้
นาย คารม กล่าวถึงรายละเอียดว่าสาเหตุที่กลุ่มทนายไม่ยอมลงนามในรายงานกระบวนพิจารณา นั้น กรณีแรกตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการทนายได้ขอให้ศาลเปลี่ยนจากห้องพิจารณาคดี 908 เป็นห้องขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องมีจำนวนมาก มีจำเลย 19 คน ทนาย 19 คน ไม่รวมอัยการและญาติของจำเลยบางส่วน แม้ว่าคนเสื้อแดงหลายสิบคนที่มาให้กำลังใจออกไปอยู่หน้าห้องพิจารณาคดีแล้ว ก็ตาม แต่ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน ทำให้ดำเนินการอย่างอึดอัด ทนายไม่มีที่นั่ง ต้องพากันนั่งพื้น
นอกจากนี้ยังมีการตัดพยานจำเลยออกเป็นจำนวนมาก แม้ว่าพยานฝ่ายอัยการจะมีกว่า 300 ปาก ฝ่ายจำเลยกว่า 200 ปาก แต่ก็ถือเป็นสิทธิของจำเลยที่จะได้สืบพยานเพื่อต่อสู้กันในศาล อีกทั้งยังมีการระบุในรายงานว่าหากภายใน 2 เดือนไม่ส่งพยานหลักฐานเอกสารต่างๆ ให้โจทก์ตรวจ ให้ถือว่าฝ่ายจำเลยไม่ติดใจสืบพยานอีก ซึ่งทนายความต้องการให้ชี้ชัดว่าเป็นคำสั่งของศาล ไม่ใช่ความต้องการของฝ่ายจำเลย
สำหรับกรณีคำร้องของจำเลยบางส่วนรวมถึงกลุ่มญาติผู้เสียชีวิต 10 เม.ย. ที่ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา เพื่อขอให้มีการไต่สวนเรื่องชันสูตรพลิกศพ 9 ผู้เสียชีวิตที่ยังไม่ได้ฌาปนกิจนั้น นายคารมระบุว่า ในช่วงเย็นวันเดียวกัน (27 ก.ย.) ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้อง เนื่องจากผู้ที่มีอำนาจยื่นขอไต่สวนชันสูตรพลิกศพคือพนักงานอัยการเท่านั้น ทำให้ญาติผู้เสียชีวิตทั้ง 9 รายซึ่งมารอตั้งแต่ช่วงเช้าแสดงความผิดหวังก่อนแยกย้ายกันกลับ
"ตอน แรกเราคิดว่าไม่น่ามีปัญหา เพราะนี่เป็นลูกของเรา เราอยากจะให้ชันสูตรให้ถูกต้อง จะได้นำข้อมูลไปเพื่อพิสูจน์ความจริง เรียกร้องความเป็นธรรมได้ แล้วจะได้เผาให้จบไป สงสารลูก" นางสุวิมล ฟุ้งกลิ่นจันทร์ มารดาของเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ วัย 29 ปี หนึ่งในผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมวันที่ 10 เม.ย.53
นาย ปรีดา นาคผิว ทนายความจากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นทนายของจำเลยคนหนึ่งในนั้น กล่าวถึงการไม่ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่า เนื่องจากมีการตัดพยานที่จะนำสืบออกไปจำนวนมากเพื่อให้รวบรัด และในวันนั้นไม่ได้ดำเนินการพิจารณาโดยให้จำเลยมาต่อหน้าศาลในช่วงบ่าย อีกทั้งนัดหน้า (27 ธ.ค.) ศาลก็ระบุว่าจะไม่ให้นำจำเลยมาศาลด้วย โดยอ้างว่าเป็นเพียงการตรวจพยานหลักฐาน ห้องพิจารณาคดีก็คับแคบ ไม่ต้องการให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าร่วมฟัง ทั้งที่ความจริงประชาชนมีสิทธิเข้าร่วมฟังการพิจารณาและการพิจารณาต้องเป็น ไปโดยเปิดเผย
นอกจากนี้นายปรีดายังกล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการกว่า 30 รายขอเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการเนื่องจากได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความวุ่นวายและต้องการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายด้วย

ครม.ตั้งผู้ว่า 48 จังหวัด "มล.ปนัดดา ดิศกุล" นั่งผู้ว่าฯ เชียงใหม่

ที่มา ประชาไท

มติ ครม.ตั้งผู้ว่า 48 จังหวัด เป็นคำสั่งสุดท้ายก่อนปลัดกระทรวงเกษียณอายุ ส่วนเชียงใหม่ได้ "มล.ปนัดดา ดิศกุล" นั่งผู้ว่าฯ

วาน นี้ (28 ก.ย.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง และผู้ว่าราชการจังหวัดจำนวน 48 ราย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ทั้งนี้ได้ต่ออายุราชการให้ นายสมศักดิ์ ภูรีศรีศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อไปอีก 1 ปี หลังจากทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าว ครบ 4 ปี เนื่องจากมีผลการปฏิบัติราชการดีเยี่ยม เป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการของจังหวัดสุพรรณบุรี

สำหรับโยกย้าย ผู้ว่าฯทั้ง 48 ตำแหน่งมีดังนี้ 1.นายสมชัย หทยะตันติ พ้นผู้ว่าฯพิจิตร เป็น ผู้ว่าฯ เชียงราย 2.นายเชิดศักดิ์ พ้นผู้ว่าฯ พะเยาเป็นผู้ว่าฯ สมุทรปราการ 3.นายปรีชา บุตรศรี พ้นผู้ว่าฯปทุมธานี เป็นผู้ตรวจราชการฯ 4.นายธวัชชัย ฟักอังกูร พ้นผู้ว่าร้อยเอ็ด เป็นผู้ตรวจราชการฯ 5.นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ พ้นผู้ว่าฯสกลนคร เป็นผู้ว่าขอนแก่น

6.นายอำนาจ ผการัตน์ พ้นผู้ว่าฯ อุดรธานี เป็น ผู้ว่าฯ สกลนคร 7. นายคมสัน เอกชัย พ้นผู้ว่าฯ หนองคาย เป็นผู้ว่าอุดรฯ 8. นายธีรเทพ ศรียะพันธ์ พ้นผู้ว่าปัตตานี เป็นผู้ว่าจันทบุรี 9. มล.ปนัดดา ดิศกุล พ้นผู้ว่าฯ นครปฐม เป็นผู้ว่าฯเชียงใหม่ 10.นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ พ้นผู้ว่าฯ สิงห์บุรี เป็นผู้ว่าฯนครปฐม

11. นายระพี ผ่องบุพกิจ พ้นผู้ว่าฯสุรินทร์ เป็นผู้ว่าฯ นครราชสีมา 12.นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี พ้นผู้ว่ากาญจนบุรี เป็นผู้ว่าฯ นครพนม 13.นายเสนีย์ จิตตเกษม พ้นผู้ว่าฯ ชลบุรี เป็นผู้ว่าน่าน 14.นายชวน ศิรินันท์พร พ้นผู้ว่าฯ อุบลราชธานี เป็นผู้ว่าฯแพร่ 15. นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย พ้นผู้ว่าเพชรบูรณ์ เป็นผู้ว่าฯ ระยอง

16.นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ พ้นผู้ว่าศรีษะเกษ เป็น ผู้ว่าฯ เพชรบูรณ์ 17.นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต พ้นผู้ว่าฯ หนองบัวลำภู เป็น ผู้ว่าศรีษะเกษ 18.นายวินัย บัวประดิษฐ์ พ้นผู้ตรวจราชการฯ เป็น ผู้ว่าฯ หนองบัวลำภู 19.นายวันชัย สุทธิวรชัย พ้นผู้ว่าฯ ชัยภูมิ เป็น ผู้ตรวจราชการฯ 20.นายวินัย ครุวรรณพัฒน์ พ้นผู้ว่าฯ พัทลุง เป็นผู้ว่าฯสตูล

21.นายแก่นเพชร ช่วงรังษี พ้นผู้ว่าฯ ตราด เป็นผุ้ว่าอำนาจเจริญ 22.นายศุภกิจ บุญญฤทธิพงษ์ พ้นผู้ว่าฯ ลำปาง เป็นผู้ตรวจราชการฯ 23.นายอธิคม สุพรรณพงศ์ พ้น ผู้ตรวจราชการฯ เป็นผู้ว่าฯลำปาง 24.นายพินิจ เจริญพานิช รองอธิบดีกรมการปกครอง เป็น ผู้ว่าฯ ชุมพร 25.นายชาญวิทย์ วสยางกูร พ้นที่ปรึกษาด้านบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ เป็นผู้ว่าฯ มุกดาหาร

26. นายวิชิต ชาตไพสิฐ สำนักงานปลัดกระทรวงฯ เป็นผู้ว่าฯ ชลบุรี 27.นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ พ้นผู้ว่าฯ มุกดาหาร 28.นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร พ้นรองผู้ว่าฯ พิจิตร เป็น ผู้ว่าฯ พิจิตร 29. นายกิตติ ทรัพยวิสุทธิ์ พ้นรองผู้ว่าฯ ราชบุรี เป็นผู้ว่าฯ ฉะเชิงเทรา 30.นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ พ้นรองผู้ว่าฯ พะเยา เป็นผู้ว่าฯ พะเยา

31.นายวันชัย โอสุคนธ์ทิพย์ พ้นรองผู้ว่าฯ สุพรรณบุรี เป็นผู้ว่าฯ อุทัยธานี 32.นายธานี สามารถกิจ พ้นรองผู้ว่าฯ ชลบุรี เป็นผู้ว่าฯ ปทุมธานี 33.นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม พ้นรองผู้ว่าฯ กาฬสินธุ์ เป็น ผู้ว่าฯ ร้อยเอ็ด 34.นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล พ้นรองผู้ว่าฯ นราธิวาส เป็นผู้ว่าปัตตานี 35.นายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ พ้นรองผู้ว่าฯ นครนายาก เป็นผู้ว่าฯ สิงห์บุรี

36.นาย เสริม ไชยณรงค์ พ้นรองผู้ว่าฯบุรีรัมย์ เป็น ผู้ว่าฯ สุรินทร์ 37.นายชัยโรจน์ มีแดง พ้นรองผู้ว่า นครสวรรค์ เป็น ผู้ว่าฯ นครสวรรค์ 38.นายณฐพลษ์ วิเชียรเพริศ พ้นรองผู้ว่าฯ ร้อยเอ็ด เป็นผู้ว่ากาญจนบุรี 39.นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ พ้นรองผู้ว่าฯ นครนายก เป็น ผู้ว่าฯ นครนายก 40.นายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ พ้นรองผู้ว่าอุดรธานี เป็นผู้ว่าฯ หนองคาย

41.นาย ธำรงค์ เจริญกุล พ้นรองผู้ว่าฯ สงขลา เป็น ผู้ว่าพังงา 42.นายสุรพล สายพันธ์ พ้นรองผู้ว่าฯอุบลราชธานี เป็น ผู้ว่าฯอุบลราชธานี 43.นายตรี อัครเดชา พ้นรองผู้ว่าฯ ภูเก็ตเป็นผู้ว่าฯภูเก็ต 44.นายพิสิษฐ์ บุญช่วง พ้นรองผู้ว่าฯอุทัยธานี เป็นผู้ว่าฯพัทลุง 45.นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล พ้นรองผู้ว่าฯภูเก็ต เป็นผู้ว่าฯสุราษฎร์ธานี

46.น.ส.เบญจวรรณ อ่านเปรื่อง พ้นรองผู้ว่าฯ กำแพงเพชร เป็นผู้ว่าฯตราด 47.นายจุลภัทร แสงจันทร์ พ้นรองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นผู้ว่าฯสมุทรสาคร 48.นายจรินทร์ จักกะพาก พ้นรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้ว่าฯชัยภูมิ ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2553 เป็นต้นไป

โดย การแต่งตั้งดังกล่าวเป็นการออกคำสั่งในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายน ก่อนนายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย เกษียณอายุราชการ และมีรองผู้ว่าฯ และรองอธิบดีระดับนักปกครองต้น ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้ว่า 21 ตำแหน่ง ขณะที่ข้าราชการระดับ 10 ในตำแหน่งผู้ว่าฯ และผู้ตรวจ ย้ายสลับกันจำนวน 21 ตำแหน่ง และผู้ว่าฯ ที่ถูกย้ายกรณีเผาศาลากลาง คือ อุบลราชธานี มุกดาหาร อุดรธานี ขอนแก่น ที่ถูกย้ายมาช่วยราชการกระทรวงมหาดไทย มีนายชวน ศิรินันทพร อดีตผู้ว่าฯ อุบลราชธานี มาเป็นผู้ว่าฯ แพร่ และนายอำนาจ ผการัตน์ อดีตผู้ว่า อุดรธานี ไปเป็นผู้ว่าฯ สกลนคร ขณะที่ นายปราโมทย์ สัจจรักษ์ ผู้ว่าขอนแก่น เกษียณอายุราชการในปีนี้ และนายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ มุกดาหาร ยังต้องช่วยราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยต่อไป

สำหรับ การโยกย้ายตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่น่าสนใจ ได้แก่รายของ มล.ปนัดดา ดิศกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย (ฝ่ายข้าราชการ) ซึ่งย้ายจากผู้ว่าฯ นครปฐม มาเป็นผู้ว่าฯ เชียงใหม่ โดย มล.ปนัดดา ถือเป็นผู้มีแนวคิดคัดค้านการกระจายอำนาจสู่การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดย มล.ปนัดดา เป็นผู้หนึ่งที่แสดงความเห็นในการบรรยาย หรือการประชุมคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ

ครั้งหนึ่งในปี 2549 ได้เขียนบทความหัวข้อ สาเหตุใดกัน ที่ไม่ควรเลือกตั้ง"ผวจ." ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 5 ก.ย. 2549 ตอนหนึ่งของข้อเขียนระบุว่า "ผวจ. คือ ข้าราชการประจำผู้ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งหน้าที่เช่นเดียวกับเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม พิพากษา ฯลฯ และเป็นผู้ทำหน้าที่เชื่อมโยงจังหวัดในส่วนภูมิภาคกับส่วนกลาง รักษาไว้ซึ่งปรัชญาทางการบริหาร คือ ความเป็นราชอาณาจักร ที่เป็น "รัฐเดี่ยว" หรือ "Unitary State" มิใช่ระบบ "สหรัฐ" หรือ "Federation" แต่อย่างใด"

และล่าสุดในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 23 ก.ย. (กรอบบ่าย) ตีพิมพ์คำสัมภาษณ์ มล.ปนัดดา ที่ระบุว่า กระแสให้ยกเลิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)และให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นทั่วประเทศ ตามที่นักการเมืองนำเสนอข้อคิดเห็นดังกล่าวต่อ ส.ส.บางส่วนขณะนี้เป็นเรื่องน่าห่วงอย่างยิ่ง เพราะในยามประเทศชาติกำลังประสบปัญหา โดยเฉพาะความเป็นเอกภาพและความสงบเรียบร้อยคนไทยต้องช่วยกันนำเสนอข้อคิด เรื่องการเสริมสร้างทัศนคติความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง ไม่ใช่เวลาคิดค้นกระบวนวิธีการแบ่งแยกรูปแบบการบริหารของจังหวัด

สมเด็จพระเทพฯเสด็จเปิดโรงแรมสยามเคมปินสกี้

ที่มา Thai E-News



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์

สำนักข่าวแห่งชาติ กรม ประชาสัมพันธ์รายงานว่า เมื่อวันที่ 27กันยายน เวลา 18.24 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากวังสระปทุม ไปทรงเปิดโรงแรมสยามเคมปินสกี้ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

โดย มีมร.ไมเคิล เซลบี้ ประธานกลุ่มโรงแรมเคมปินสกี้ พร้อมด้วยมร. เรโต้ วิตเวอร์ ประธานและประธานกรรมการบริหาร โรงแรมเคมปินสกี้ เฝ้ารับเสด็จ โดยแขกผู้มีเกียรติจะได้ท่องไปในประวัติศาสตร์ของเคมปินสกี้กับกิจกรรม ไฮไลท์ภายในงาน อาทิ นักรบเผ่ามาไซ จากประเทศแทนซาเนีย การแสดงจากแอนนิก้า ลุนด์ และแองเจิล อีมาร์ ผู้ปลุกวิญญาณดาวค้างฟ้า “มาลีน ดีทริค” และ “ชาลี แชปลิน” นักแสดงตลกชื่อก้องโลก

เวบไซต์วิกิพิเดีย รายงาน ว่า Kempinski เป็นเจ้าของโรงแรมระดับ5 ดาวจำนวน 62 แห่ง ใน 41 ประเทศ และอีก 43 โรงแรมอยู่ระหว่างการพัฒนาขั้นสุดท้าย หรือการก่อสร้างในยุโรป, ตะวันออกกลาง,แอฟริกา, เอเชีย

ปัจจุบัน Kempinski มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

เวบไซต์ของKempinskiระบุ ว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใหญ่และเป็นเจ้าของKempinskiโดย ทางอ้อมการสนับสนุนอย่างมั่นคงของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็น คำมั่นว่าการขยายตัวของบริษัทในระดับนานาชาติจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


สำหรับ โรงแรมสยามเคมปินสกี้นั้น ทางโรงแรมระบุข้อมูลว่า โรงแรมสยาม เคมปินสกี้" เป็นโรงแรมในรูปแบบรีสอร์ทหรูในใจกลางเมืองติดกับวังสระปทุม ภายใต้เครือโรงแรม “เคมปินสกี้” ที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป มีห้องพักสวีทกว่า 303 ห้อง ห้องพักทุกห้องสามารถมองเห็นสวนที่รายล้อมด้วยน้ำ อีกทั้งมีห้องพัก 22 ห้อง เชื่อมต่อกับสระว่ายน้ำที่อยู่ในบริเวณสวนโดยตรง พร้อมห้องบอลรูมไร้เสาขวางกั้นขนาด 900 ตารางเมตร รองรับการจัดงานมากที่สุด 1,200 คน นอกจากโรงแรมยังมีเรสซิเดนส์รองรับลูกค้าพำนักระยะยาวอีก 98 ห้อง

สยาม เคมปินสกี้ ถูกออกแบบและตกแต่งด้วยมรดกทางศิลปะของไทยอันสวยงามอ่อนช้อย โดยได้รวบรวมงานศิลปะกว่า 1,500 ชิ้นมาจัดแสดง รวมถึงภาพวาดต้นฉบับกว่า 200 ภาพและงานประติมากรรมจากจากศิลปินไทยที่รังสรรค์เพื่อโรงแรมสยาม เคมปินสกี้โดยเฉพาะ

ชื่อของเคมปินสกี้นั้นคือความภาคภูมิใจที่ได้จากการการเติบโตและการขยายตัว ของโรงแรมในหลายๆประเทศทั่วโลก และจากที่ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มโรงแรมหรูหราที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป จึงทำให้เรามุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การเดินทางที่น่าจดจำให้แก่แขกผ่าน แรงบันดาลใจด้านการบริการแบบยุโรป เราเชื่อว่าเราควรมีชีวิตอยู่อย่างมีสไตล์

ในแต่ละปี จำนวนแขกที่เข้าพักในโรงแรมของเคมปินสกี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเนื่องจากเคมปิน สกีได้ขยายโรงแรมสูจุดหมายปลายทางใหม่ๆที่น่าตื่นเต้น อาทิ ยุโรป, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา และเอชีย และในขณะที่จำนวนโรงแรมที่เพิ่มมากขึ้น

สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความสำเร็จของแบรนด์เคมปินสกี้ โรงแรมแต่ละแห่งของเคมปินสกี้นั้นก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์และเต็มไปด้วย ความพิเศษเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ยากจะหาใครเหมือน

จักรภพเศร้าใจไฟไหม้บ้านพ่อ-แม่

ที่มา Thai E-News





ที่มา เวบไซต์Democracy 100 percent

ข่าว เศร้านี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงสาย ของวันอังคารที่ 28 กันยายน 2553 โดยคุณแม่ของคุณจักรภพ เพ็ญแข เล่าว่า "นั่งดูทีวีอยู่ในบ้านกับคุณพ่อ ซึ่งอยู่กันแค่ 2 คน น้องสาวไปทำงาน มีเพื่อนบ้านวิ่งมาบอกว่าเห็นควันขึ้นที่ชั้นบน พ่อกับแม่พยายามจะดับไฟ แต่ก็ไม่สามารถดับได้ เพราะเพลิงได้ลุกโหมขึ้นอย่างรวดเร็ว ความตกใจหอบทีวีได้เครื่องเดียว หนีเอาตัวรอดออกมานอกบ้าน" ส่วนสาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด กำลังอยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่

ด้าน "คุณจักรภพฯ" ทราบข่าวด้วยความเศร้าใจ แต่ก็ต้องเข้มแข็ง บอกว่า "บ้านหลังนี้ คุณพ่อปลูกสร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงมา 44 ปีแล้ว ตัวเองก็เกิดและโตที่นี่ เห็นรูปแล้วใจหาย เมื่อตั้งสติได้ก็บอกว่า พ่อกับแม่ปลอดภัย ก็สบายใจแล้ว เรื่องอื่นก็ค่อยๆ คิดแล้วมาว่ากันใหม่ เป็นห่วงความรู้สึกทางด้านจิตใจของพ่อกับแม่มากกว่า"

พวกเรามวลชนคนเสื้อแดงขอแสดงความเสียใจอย่างมากกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ค่ะ

ถูกใจให้กระจาย'ป้ายไพร่'ทั่วไทยทั่วโลก

ที่มา Thai E-News


ป้าย ที่ติดบนเกาะกลางถนนในจังหวัดน่าน เจ้าของป้ายเผยไม่สงวนลิขสิทธิ์ พี่น้องอยากทำซ้ำเลียนแบบไปติดตามถนนหนทางที่จังหวัด อำเภอ เทศบาล อบต. หมู่บ้าน หรือซอยไหนตามสะดวก เพราะไม่ได้ผิดกฎหมาย ไม่ได้หมิ่นประมาทใคร เว้นแต่ใครจะเดือดร้อนไปเอง ก็คงช่วยอะไรไม่ได้

ที่มา เฟซบุ๊ค
28 กันยายน 2553










One world One poster-RED USA เสื้อแดงอเมริกาจัดทำโปสเตอร์อันหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษเพื่อเผยแพร่ฟ้องประจาน ต่อชาวโลก ขอเชิญพี่น้องเสื้อแดงทุกท่านช่วยเอาไปแปะตามเวปต่างๆ หรือดาวน์โหลดภาพไปทำป้ายโปสเตอร์เพื่อขึ้นป้ายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ งานนี้เป็นการร่วมมือของเครือข่ายแดงทั่วโลก( "RED AROUND THE WORLD")

และ ถ้าเป็นไปได้ให้บอกชื่อประเทศ และเมืองต่างๆทั่วโลกที่โปสเตอร์แผ่นนี้จะไปปรากฎ เพื่อเป็น One World One Poster ประจานความโหดเหี้ยมป่าเถื่อน ของรัฐบาลอำมาตย์ ที่ไล่ล่าเข่นฆ่าประชาชนของตนเอง

ท่านที่อยากได้เป็นไฟล์PDFต้นฉบับเพื่อจัดทำโปสเตอร์ ขอไปได้ที่RED USA อีเมล์ tiffyseedang@gmail.com

”เสื้อแดง” อย่าทำผิดซ้ำซาก.!!!

ที่มา Thai E-News


'ตูน Gag Lasvegas:เสียดายคนตายไม่ได้ปรองดอง

โดย Schopenhauer
28 กันยายน 2553

วันเสาร์ที่ 25 ที่ผ่านมา มีกิจกรรม "เราไม่ทอดทิ้งกัน" ผู้ จัด : ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณีเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.)จัดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ได้ ฟังอภิปรายเรื่อง “การแสวงหาข้อเท็จจริงกับกระบวนการรับผิด: กรณีการสลายการชุมนุม เม.ย. – พ.ค. 53” ดำเนินรายการโดย อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มธ. – อ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มช. พ.ต.ท.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ – อ. สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มธ.

รายละเอียดการอภิปราย อ่านได้ที่นี่ และที่นี่

ช่วง ท้ายของการอภิปราย ได้เปิดโอกาสให้ “พี่น้องเสื้อแดง” ที่เข้าร่วมรับฟังได้แสดงความคิดเห็น มีผู้แสดงความคิดเห็นร่วม 10 คน – ประเด็นสำคัญที่พี่น้องเสื้อแดง ได้พูดเชิงตัดพ้อ (ต่อผู้อภิปราย)ว่า

“ทำไม นักวิชาการ หรือใคร (พรรคเพื่อไทย/แกนนำเสื้อแดง) ที่มีศักยภาพในทางกฎหมาย ทำไมไม่มาช่วยชาวเสื้อแดงโดยตรง – ทำไมปล่อยให้ชาวบ้านต้องดิ้นรนด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากมาก”
(หัวข้ออภิปรายวันนั้น มีการลงรายละเอียดในเรื่องการที่ประชาชนผู้เสียหายจากเหตุการณ์มีสิทธิ์ที่จะฟ้องคดีต่อรัฐ)

หลัง จากช่วงเวลาแสดงความคิดเห็นของพี่น้องเสื้อแดงผ่านไป แบบน่าอึดอัดสำหรับผู้ที่อยู่บนเวที ผมก็รู้สึกเห็นใจพี่น้องเสื้อแดง พร้อม ๆ กับเข้าใจความรู้สึกของ อาจารย์ 3 ท่าน โดยเฉพาะ อ. สาวตรี สุขศรี

เรื่องทำนองนี้ แบบนี้ มันเคยเกิดขึ้นแล้วในท่ามกลางการต่อสู้ของคนเสื้อแดง

เพียงแต่ว่า ใครจะได้รับผลกระทบอย่างไร – อึดอัดใจอย่างไร ลำบากใจขนาดไหน ในท่ามกลางสถานการณ์ของการต่อสู้ ที่ผ่าน ๆ มา

จน เลยกลายเป็นฝ่ายพันธมิตรเสื้อเหลืองเอา “สัญญาณนี้” ไปสร้างวาทกรรม (จอมวาทกรรมอยู่แล้ว)ว่า พวกเราเสื้อเหลือง ไม่มีทิ้งกัน - - ใครเจ็บป่วย พิการอย่างไร เราดูแลเต็มที่ - - ใครมีข้อหาคดีความ เรามีทนายความช่วยเหลือพี่น้องเราทุกคดี - - - ไม่เหมือนพวกเสื้อแดง ทุกวันนี้เป็นอย่างไง มีใครไปช่วยเหลือบ้าง ที่บาดเจ็บก็เจ็บไป ที่ติดคุกก็ไม่มีใครเหลียวแล – มีคดีความก็ต้องช่วยตัวเอง!!!

ถ้าเรื่องจริงเป็นเช่นนี้ จะไม่ให้ “พี่น้องเสื้อแดง” ตัดพ้อด้วยความช้ำจำได้อย่างไร???

พันธมิตร เสื้อเหลือง ยึดทำเนียบฯ เพราะอะไร? – ยึดสนามบินเพราะอะไร? เพราะกำลัง “มวลชนมีเท่านั้น” - - จึงต้องวางยุทธศาสตร์ไว้อย่างนั้น – สุดท้ายจะรุนแรงก็รุนแรง ดังนั้น จึงต้องมี “การ์ด” รักษาความปลอดภัย แต่จริง ๆ แล้วคือกองกำลังหน่วยลุยเสื้อแดง – ถึงเวลาชุมนุมก็ลอกเอาวิธีการนั้นมา – เรื่องการ์ด เป็นความผิดพลาดที่สุด!!!

เมื่อพันธมิตรเสื้อเหลือง มีกำลัง “มวลชนเท่านั้น” (ขยายฐานเพิ่มยากแล้ว)ดังนั้น จึงต้องใช้วิธีการใช้กำลัง – ใช้ความรุนแรง (ใช้กองกำลัง/เรียกชื่อให้น่าฟังว่าการ์ด)การยึดสถานที่สำคัญต่าง ๆ เชิงสัญลักษณ์ เป็นการประกาศให้รู้ทางนัยอยู่แล้ว

แต่สำหรับ “เสื้อแดง” ในบริบทของพลังมวลชน – ไม่ใช่เช่นนั้น มวลชนเสื้อแดงยังขยายฐานเพิ่มได้ตลอดเวลา

สิ่ง ที่ผิดพลาดไปแล้วไปแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่สิ่งที่วันนี้จะต้องทำ – เพื่อรักษาบาดแผล เพื่อเยียวยาจิตใจพี่น้องเสื้อแดง - - เป็นสิ่งที่ต้องรีบทำ!!!

อย่าทำผิดซ้ำซาก.!!!
...

“ขอคาราวะจิตวิญญาณการต่อสู้ของ ‘การ์ดเสื้อแดง’ ทุก ๆ คน ที่ได้อุทิศชีวิตให้กับการต่อสู้ของคนเสื้อแดง.”

*********

เรื่องเกี่ยวเนื่อง:อ่านข่าวและบทความชุด ปรับขบวนก้าวรุดไปมุ่งสู่ชัยชนะ

ตำรวจชี้ช่องเสื้อแดงใช้สิทธิ์ฟ้องศาลโลก สื่อออสซี่ทึ่งขบวนการต่อสู้ฟื้นเติบใหญ่โดยไม่พึ่งแกนนำ

ที่มา Thai E-News


ที่มา บางกอกโพสต์ และเวบไซต์greenleft
แปลและเรียบเรียงโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
28 กันยายน 2553

อภิปราย: เสื้อแดงควรจะฟ้องศาลโลก

บางกอก โพสต์รายงานว่า กลุ่มผู้สนับสนุนเสื้อแดงที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมของการประท้วง ต่อต้านรัฐบาลในช่วง เมษายน-พฤษภาคม ได้รับการสนับสนุนให้ยื่นเรื่องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ในการ อภิปรายในเรื่องการใช้กำลังทางทหารเข้าสลายการชุมนุมต่อแนวร่วมเพื่อ ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) พ.ต.ท.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ผู้ร่วมอภิปรายจากสำนักงานอุทธรณ์และฎีกาคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวเมื่อวานว่า ญาติของผู้ตายในเหตุการณ์สามารถยื่นเรื่องร้องทุกข์ต่อศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศ แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้เป็นสมาชิกของศาลโลก

นายตำรวจท่าน นี้กล่าวว่า คดีอาญาต่อมนุษยชน (crimes against humanity) ไม่มีอายุความ และเขาเชื่อว่าเหตุการณ์เสื้อแดงจะส่งฟ้องได้เพราะเป็นการสังหารหมู่ของ พลเรือนจำนวนมาก เป็นกรณีที่ปฏิเสธไม่ได้

การอภิปรายนี้ มีผู้ร่วมเข้าฟังเป็นคนเสื้อแดงประมาณพันคน ซึ่งจัดโดยศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบในการสลายการชุมนุมในช่วงเมษายนถึง พฤษภาคม 2553 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์นี้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มผู้ที่เห็นใจกลุ่มเสื้อแดง นักเคลื่อนไหวทางสังคม และนักวิชาการ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคนตายทั้ง 92 คน ในช่วงหลายเดือนที่มีการชุมนุม

พ.ต.ท. ศิริพล กล่าวว่าคนชนชั้นกลางที่ยังไม่ได้พูดเรียกร้องความยุติธรรมให้กับคนเสื้อแดง เพราะว่าสื่อกระแสหลักเขียนภาพกิจกรรมของเสื้อแดงให้ออกมาในรูปที่ไม่เหมาะ สม

ผู้ร่วมอภิปรายอีกราย สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าคนเสื้อแดงและครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตที่ร่วมชุมนุมจะต้องใช้ เวลายาวนานในการฟ้องร้องคดีสู้กับคนที่ทำร้ายพวกเขา หากคนชนชั้นกลางที่มีการศึกษาที่มีอำนาจทางสังคมไม่เรียกร้องให้พวกเขา

อาจารย์ สมชายแนะนำให้คนเสื้อแดงที่ได้รับบาดเจ็บและครอบครัวของเหยื่อที่เสียชีวิต รวบรวมหลักฐานและคำให้การของพยานที่รู้เห็นเหตุการณ์การสลายชุมนุมของทหาร ให้เป็นระบบ

หลักฐานและข้อมูลจะเป็นประโยชน์ต่อการฟ้องร้องผู้ที่ทำร้ายพวกเขาในอนาคต

เวบออสเตรเลีย:ข้อพิสูจน์ต่อชนชั้นกลางว่าเสื้อแดงไม่ได้ต่อสู้เพื่อคนๆเดียว


โดย ปีเตอร์ บอยล์ รายงานในเวบไซต์greenleftในออสเตรเลีย ว่า เมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมานี้ ผู้ชุมนุมประท้วงประมาณหนึ่งหมื่นคน ของการฟื้นคืนชีพของการเคลื่อนไหวเสื้อแดงในประเทศไทย (เป็นที่รู้จักในนามของแนวร่วมเพื่อประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ) บนท้องถนนท้าทายต่ออำนาจปกครอง

สำนักข่าว Green Left Weekly รายงานว่า “เป็นประสบการณ์ที่น่าทึ่งจริง ๆ ตั้งแต่ 9 โมงเช้า ค่อนข้างที่จะแน่ชัดว่าจะเริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ”

“ประมาณเที่ยง ค่อนข้างแน่ชัดว่าจะมีคนเข้าร่วมประมาณ 10,000 คน และสี่แยกจะมีคนเต็มไปหมด โดยบรรยากาศเต็มไปด้วยความเบิกบานและสันติตลอดทั้งวัน คุณสามารถพบกลุ่มคนมาร้องเพลงและเต้นรำทำเพลง”

“ไม่ มีใครถูกจ้างมา ทุกคนมาด้วยความตั้งใจโดยไม่มีการชักนำเรียกให้พวกเขามาที่นี่ เสื้อแดงหลายคนตอนนี้ทำตามคำขวัญ ‘ทุกคนคือผู้นำของตนเอง’ ”


“ข้อ กล่าวหาของชนชั้นนำที่ว่า คนพวกนี้ไม่ใช่ผู้ประท้วงที่แท้จริง เพราะเสื้อแดงเป็นพวกที่ถูกจ้างมาช่วย [อดีตนายกรัฐมนตรี] ทักษิณ ชินวัตร ถูกพิสูจน์ว่าไม่เป็นความจริง”

“ความคิดเดียวที่ผมเป็นห่วงตอนนี้คือ ชนชั้นนำจะนึกขึ้นได้ว่า พวกเขาไม่มีโอกาสในการเลือกตั้งทั่วไปในอนาคตอีกต่อไป อาจจะมีการรัฐประหารจากพวกโบราณสุดโต่งรอบ ๆ ผบ.ทบ. คนใหม่”

“สิ่งเดียวที่จะเกิดขึ้นคือ เสื้อแดงจะสู้ต่อไป!”

คลิปร้อนเสื้อแดงนิวยอร์คตะโกนไล่ฆาตกรGo to hell

ที่มา Thai E-News



ชาวไทยในนิวยอร์ค สหรัฐฯรวมพลังประท้วงขับไล่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หน้าที่พักขณะไปประชุมUNเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

บทบาทของนักกฎหมายไทยต่อการรัฐประหาร และการจัดการกับคณะรัฐประหารแบบตุรกี

ที่มา มติชน



โดย คุณนรินทร์ อิธิสาร

รัฐ ประหารครั้งล่าสุดของประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 19 กันยายน 2549 นั่นคือเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนในฐานะนักเรียนกฎหมายที่พอจะได้ติดตามข่าวสาร ข้อมูลเกี่ยวกับการรัฐประหารดังกล่าวอยู่บ้างเกิดความฉงนและจับต้นชนปลายไม่ ถูกคือ พฤติกรรมของนักกฎหมายบางคนบางกลุ่มในประเทศไทยซึ่งหลายคนเคยเป็นครูบา อาจารย์ของผู้เขียนที่ได้มีพฤติกรรมไปในทางสนับสนุนการทำรัฐประหาร


พฤติกรรม ดังกล่าวทำให้ผู้เขียนนึกถึงตอนที่ผู้เขียนเริ่มเรียนวิชา กฎหมายในปีแรกๆ ของการศึกษาในระดับปริญญาตรี อาจารย์คนหนึ่งได้พูดไว้อย่างน่าคิดว่า “เมื่อเสียงปืนดังขึ้น นักกฎหมายต้องนั่งลง” ซึ่งหากเปรียบกับการรัฐประหารเป็นเสียงปืนเมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นนักกฎหมายก็ต้องนั่งลง

กรณี นี้ก็ไม่มีเหตุใดๆ ที่จะต้องไปตำหนิติเตียนหรือว่ากล่าวนักกฎหมายนั้นๆ หรือเรียกร้องให้พวกเขาเหล่านั้นออกมาดำเนินการต่อต้านการทำรัฐประหารแต่ อย่างใดได้เพราะเป็นธรรมดาของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่จะรักชีวิตร่างกายของตน การที่จะไปเรียกร้องให้ทุกคนกระทำการต่อต้านรัฐประหาร เช่น ขับรถไปชนรถถังเพื่อต่อต้านการรัฐประหารเหมือนคุณลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ก็ย่อมเป็นไปได้ยาก

สิ่ง ที่น่าผิดหวังคือนักกฎหมายของไทยบางกลุ่ม เมื่อเสียงปืนดังขึ้นหรือหลังจากที่เสียงปืนได้สงบลงแล้ว นักกฎหมายบางคนบางกลุ่มไม่ได้แค่นั่งลงเฉยๆ แต่กลับเข้าไปนั่งให้ความร่วมมือช่วยเหลือเป็นเครื่องมือให้กับคณะรัฐประหาร แล้วยังสามารถมากล่าวอ้างว่าเป็นคนที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยได้อย่างเต็ม ปาก


บาง คนบางกลุ่มก็เป็นครูบาอาจารย์สอนกฎหมายใน มหาวิทยาลัยที่สอนหลักประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ หลักการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ฯลฯ ซึ่งนักกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ต่างไปจากคนที่เอาดอกไม้ ข้าวปลาอาหาร หรือแต่งชุดยอดมนุษย์ หรือส่งสาวพริตตี้ไปเต้นให้กำลังใจผู้ทำรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือก ตั้งแต่ประการใด เพราะบุคคลเหล่านี้ก็คือกลุ่มบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยและสนับสนุนรัฐประหารนั่นเอง

กลุ่ม นักวิชาการไทยบางกลุ่มโดยเฉพาะนักกฎหมายไทยที่เข้าไปร่วมกับคณะรัฐ ประหารภายหลังการล้มรัฐบาลสำเร็จแล้วไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการตรา หรือร่าง ประกาศคณะรัฐประหาร, ร่างกฎหมาย หรือร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว ฯลฯ หรือเข้าไปทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ(พิเศษ) ที่คณะรัฐประหารได้จัดตั้งขึ้นมา หรือยอมรับและรับรองการกระทำของคณะรัฐประหารว่าเป็นการกระทำของ “รัฐาธิปัตย์” โดยไม่มีปากเสียง ไม่ว่าจะเป็นด้วยข้ออ้างประการใดก็ตามการกระทำทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นการ สนับสนุนการทำรัฐประหารและเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย ซึ่งพฤติกรรมของนักกฎหมายไทยบางกลุ่มในลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นประจำซ้ำ แล้วซ้ำอีกโดยถือเป็นเรื่องปกติ

หลายครั้งหลายคราที่เกิดการรัฐประหารและนักกฎหมายเข้าไปสนับสนุนให้การรัฐประหารนั้นดำเนินไปได้ด้วยดีโดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานา

เหตุผล ประการหนึ่งคือ “ถ้าตนไม่เข้าไปดำเนินการต่างๆ ดังกล่าว ก็จะส่งผลให้เสียให้เกิดความเสียหายหรืออาจจะเกิดความวุ่นวายต่อประเทศชาติ บ้านเมืองได้” ซึ่งเป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง เพราะกรณีที่น่าพิจารณาคือถ้าคณะรัฐประหารไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักกฎหมาย ในการเข้าไปเป็นเครื่องมือให้กับคณะรัฐประหาร ผลเสียจากการทำรัฐประหารก็คงจะมีความชัดเจนมากขึ้น และประชาชนชาวไทย คงได้เห็นข้อเสียของการทำรัฐประหารชัดเจนมากขึ้น และไม่เกิดความเคยชินกับรัฐประหาร และเห็นว่าเป็นเรื่องปกติเพราะตนไม่ได้มีความเดือดร้อนอะไรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

ปัญหา ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมาคือปัญหาเกี่ยวกับ ผลในทางกฎหมายของการทำรัฐประหารที่เกิดนั้นว่าจะมีผลในทางกฏหมายอย่างไร?


นัก กฎหมายไทยเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการทำรัฐประหาร หรือวิธีการดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ทำรัฐประหารโดยวิธีการทางกฎหมายภาย หลังการทำรัฐประหารอย่างไร? ปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการทำรัฐประหารเกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย คือการที่ไม่มีผลในทางกฎหมายใดๆ เกิดขึ้นกับคณะรัฐประหารเลย ด้วยเหตุผลที่ว่าคณะรัฐประหารได้ออกกฎหมายซึ่งมานิรโทษกรรมการกระทำของตนเอง เพื่อไม่ให้ตนเองได้รับผลในทางกฎหมายที่จะตามมาจากการล้มล้างรัฐบาลนั่นเอง


เมื่อได้นิรโทษกรรมการกระทำของตนไปแล้วทุกอย่างก็ จบสิ้นลงไม่มีใครหยิบยก กล่าวโทษหรือเอาผิดกับการทำรัฐประหารได้อีก นักกฎหมายที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่างก็ยินยอมน้อมรับคำสั่ง ประกาศ ฯลฯ ของคณะรัฐประหารโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ความเคยชินในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยวิธีการแบบนักการเมืองหรือ กลุ่มรัฐประหาร ที่ “ชอบ” นิรโทษกรรม เห็นได้ชัดเจนจากปรากฏการณ์ในปัจจุบันที่มีการเสนอแนะให้มีการ “นิรโทษกรรม” การดำเนินการดังกล่าวก็เป็นการเพิ่มความเคยชินและสร้างความเป็นธรรมดาของ

หรือ กล่าวอีกประการหนึ่งคือการลดความร้ายแรงของเหตุการณ์ทางการเมืองที่ เกิดขึ้นให้เป็นเรื่องปกติ ทำนองว่าหลับหูหลับตากวาดขยะไว้ใต้พรมแล้วหลอกตัวเองว่าไม่มีขยะอยู่แล้ว พร้อมกันนั้นก็ปิดกั้นการพิสูจน์ความจริงที่จะเป็นบทเรียนของคนไทยทุกคน

มุม มองในทางกฎหมายต่อปัญหาดังกล่าวข้างต้นนั้น ชาวตุรกีได้มีวิธีการทางกฎหมายในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารไว้อย่างน่า สนใจ ซึ่งเมื่อประมาณหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาประชาชนชาวตุรกีได้แสดงให้เห็นถึงทาง เลือกหนึ่งในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ประชาชนชาวตุรกีได้ลงประชามติเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐ ธรรมนูญฉบับใหม่

ซึ่งก็มีประเด็นหนึ่งที่เป็นประเด็นที่ น่าสนใจที่ประชาชนหรือพรรคการ เมืองในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศไทยที่ประสบปัญหาการรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าแบบซ้ำซาก และเป็นวงจรอุบาทว์ของการเมืองไทยมาตลอดเวลา คือ ประชาชนเลือกตั้ง-รัฐบาลบริหารประเทศ-บุคคลบางกลุ่มเข้ามาทำรัฐประหารล้ม รัฐบาล-ล้มรัฐธรรมนูญ-นิรโทษกรรมตัวเอง-ออกรัฐธรรมนูญใหม่(หรือชั่ว คราว)-จัดการเลือกตั้งใหม่-ประชาชนเลือกตั้ง.....เป็นอย่างนี้อยู่เรื่อยไป เป็นวัฏสงสาร วนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่มีทางได้หลุดพ้นไปจากวงจรอุบาทว์ดังกล่าวได้

ประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับการลงประชามติของชาวตุรกีที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ถือกันว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของประเทศตุรกีที่ในการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ ประชาคมยุโรป และแสดงให้เห็นถึงความเป็นประชาธิปไตยของประเทศตุรกี ในการลงประชามติเห็นด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของชาวตุรกีนั้นมี หลายประเด็นด้วยกัน ทั้งนี้โดยมีประเด็นที่สำคัญๆ คือ

1. การจำกัดอำนาจของอำนาจศาลทหาร ในส่วนของการพิจารณาคดีพลเรือนเช่นในกรณีข้อกล่าวหาว่ากระทำการอันเป็นผล กระทบต่อความมั่นคง และนอกจากนั้นยังให้อำนาจศาลพลเรือนในการพิจารณาคดีกองทัพในกรณีที่มีข้อ สงสัยว่ากองทัพจะทำการล้มรัฐบาล

2. การปฏิรูปคณะกรรมการสูงสุดของผู้พิพากษาและอัยการ เดิมคณะกรรมการดังกล่าวซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาและอัยการ โดยประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 5 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีโดยแต่งตั้งจากบัญชีรายชื่อที่เสนอโดย ศาลสูง ผลจากการปฏิรูปคณะกรรมการดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 21 คน ที่มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และการเลือกตั้งโดยผู้พิพากษาและอัยการทั้งประเทศ

3. การปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญ จำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะเพิ่มขึ้น จากเดิม 10 คน เป็น 19 คน ที่มาจากเดิมมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีโดยบัญชีเสนอจากศาล และดำรงตำแหน่งจนถึงเกษียณอายุ เปลี่ยนมาเป็นสภาแต่งตั้ง 3 คน และที่เหลือประธานาธิบดีแต่งตั้งโดยเลือกจากบัญชีที่เสนอจากสภาทนายความ จากสภาสูงการศึกษา และศาล โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 12 ปี

4. การปฏิรูปการปิดพรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาปิดพรรคการเมืองได้ก็แต่โดยมีเหตุว่าพรรคการเมือง นั้นเรียกร้องให้มีการใช้กำลัง ไม่ใช่โดยเหตุว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

5. การคุ้มครองข้อมูล มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความเข้ม ข้นมากขึ้น และให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น

6. สิทธิสตรี และสิทธิสำหรับกลุ่มพลเมืองที่มีความอ่อนแอให้มากขึ้น โดยเพิ่มสิทธิสตรี, คนพิการ, ลูกจ้าง และสหภาพแรงงาน

7. การปฏิรูปสภาทหารสูงสุด ในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งในการปลด โดยให้สามารถร้องขอให้ทบทวนคำสั่งปลดดังกล่าวได้

8. ความรับผิดทางอาญาของสมาชิกของคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญเดิมสมาชิกของคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้รับความคุ้มครองโดย ไม่ให้ได้รับการดำเนินการทางอาญา นั่นหมายถึงบรรดานายพลทั้งหลายที่ทำรัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 (ซึ่งได้ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลในขณะนั้น) จะถูกแตะต้องและถูกดำเนินคดีไม่ได้ แต่ด้วยผลของการลงประชามติครั้งนี้ ความคุ้มครองดังกล่าวจะถูกลบล้างไป และบรรดานายพลทั้งหลายสามารถถูกดำเนินคดีในศาลได้

9. ให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อรับผิดชอบคำร้องทุกของประชาชน และดำเนินแก้ไขปัญหาโดยวิธีการที่ไม่ใช่การดำเนินคดีทางศาล

จาก เนื้อหาสาระสำคัญในการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญของประเทศตุรกีดังกล่าว ข้างต้น นานาประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประชาคมยุโรปต่างก็ออกมาแสดงความเห็นยอมรับและชม เชย ถึงการลงประชามติดังกล่าวของชาวตุรกีโดยเห็นว่าเป็นการก้าวสู่สังคม ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง แม้ว่าเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาก็มีข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการจับ กุมกลุ่มนายทหารโดยข้อหาว่าเตรียมการล้มล้างรัฐบาล ก็ตามที

และนอกจากนั้นการที่รัฐบาลของนาย Erdogan ได้กำหนดเลือกเอาวันที่ 12 กันยายน 2553 เป็นวันลงประชามติในครั้งนี้นั้นเป็นการที่มีเจตนาประสงค์ที่จะให้การลง ประชามติดังกล่าวเกิดขึ้นในวันครบรอบ 30 ปี ของการเกิดการรัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 นั่นเอง

ผลของการลงมติของชาวตุรกีที่ได้ ยกเลิกการนิรโทษกรรมของคณะรัฐประหารดัง กล่าวข้างต้นนั้น ส่งผลให้ภายหลังจากรับทราบผลของการลงประชามติ ก็ปรากฏว่ามีประชาชนชาวตุรกีบางส่วนได้เริ่มเข้าแจ้งความเพื่อให้ดำเนินคดี อาญาต่อคณะรัฐประหารเมื่อ 30 ปีก่อนโดยทันทีแล้วเช่นกัน

วิธี การในการจัดการกับคณะรัฐประหารของชาวตุรกีที่ได้ใช้วิถีทาง ประชาธิปไตยและวิธีการในทางกฎหมายในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารดังกล่าว เป็นวิธีการที่น่ายกย่องชมเชยและถือเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะว่าได้แสดงให้เห็นว่าการทำรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลนั้นผู้กระทำย่อมจะ ได้รับผลร้ายตามกฎหมาย

แม้ ว่าเหตุการณ์จะพ้นมาแล้ว 30 ปี และมีการออกรัฐธรรมนูญออกมานิรโทษกรรมการทำรัฐประหาร แต่ระยะเวลาที่ยาวนานและการนิรโทษกรรมดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้การกระทำของคณะ รัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 เป็นสิ่งที่มีความถูกต้องชอบธรรมขึ้นมาแต่ประการใด


ดัง นั้นการให้มีการยกเลิกการให้ความคุ้มครองโทษ ทางอาญาต่อคณะรัฐประหารดังกล่าวย่อมเป็นหนทางหรือวิธีการหนึ่งในการดำเนิน การต่อการรัฐประหารที่เกิดขึ้น


หาก บางประเทศที่มีการทำรัฐประหารบ่อยๆ และจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำแนวความคิดนี้ไปดำเนินการบ้างก็ย่อมจะดีไม่ น้อย เพราะจะได้แสดงให้เห็นถึงความคงอยู่ของระบอบประชาธิปไตย การคงอยู่ของอำนาจอธิปไตยตามวิถีประชาธิปไตยที่แท้จริงของประเทศนั้นๆ


เพราะ เมื่ออำนาจอธิปไตยกลับมาอยู่ในมือของ ประชาชนอย่างแท้จริงแล้ว ประชาชนผู้ทรงอำนาจดังกล่าวย่อมสามารถตัดสินและดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ได้ ประเทศไหนที่อยากจะนำเอาแนวความคิดดังกล่าวของชาวตุรกีไปใช้บ้าง คิดว่าชาวตุรกีคงไม่สงวนวิธีการดังกล่าวแต่ประการใด


-----------------
( บทความทางวิชาการจาก เว๊บไซต์ www.pub-law.net 27 กันยายน 2553 )

“เอกกษัตริย์ ใต้รัฐธรรมนูญ” โฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ไทยเริ่มต้นขึ้นง่ายดาย เงียบงำ

ที่มา มติชน









เช้า วันที่ 24 มิถุนายน 2475 ณ ลานพระที่นั่งอนันตสมาคม ... ในนามของหัวหน้าคณะผู้ยึดอำนาจพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา รองจเรทหารบกในขณะนั้น ได้เป็นผู้อ่านประกาศแถลงการณ์อันจะเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดินขึ้นในสยามประเทศ ในเวลาต่อมา...


เรื่อง ราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองตั้งแต่สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 มาจนถึงปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ถูกถ่ายทอดโดย วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ผู้สื่อข่าวที่ผ่านประสบการณ์ร้อนหนาวมายาวนาน ปัจจุบันเป็นคอลัมน์นิสต์แห่งหนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์

ประสบการณ์ ที่สั่งสมนี้เอง เป็นผลให้ผู้ใหญ่หลายคนร้องขอให้คุณติ๋ม-วิมลพรรณ ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองและพัฒนาการทางการเมืองตลอดรัช สมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี

27 กันยายน ถือเป็นจังหวะดีในการเปิดตัวหนังสือ ซึ่งใช้เวลาค้นคว้ากว่า 3 ปี และอีก 1 ปีสำหรับการร้อยเรียงตัวอักษรออกมาเป็นหนังสือทรงคุณค่า ด้านประวัติศาสตร์ หนึ่งชุดจำนวน 3 เล่ม ที่โรงแรมโฟร์ ซีซั่น งานนี้คึกคักไปด้วยผู้มีเกียรติ ทุกระดับ ให้ความสนใจกับเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้อย่างคับคั่ง


การเปิดตัวหนังสือเรื่อง “เอกกษัตริย์ ใต้รัฐธรรมนูญ” โดย วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ณ โรงแรมโฟร์ ซีซั่น โดยมีแขกผู้มีเกียรติเดินทางมาร่วมเปิดตัวหนังสืออย่างคับคั่ง

วิมล พรรณ เปิดใจก่อนถึงช่วงเสวนาว่า มีหนังสือหลายเล่มที่เขียนถึงพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในลักษณะเฉลิมพระเกียรติมากกว่า เขียนถึงบริบททางประวัติศาสตร์ หนังสือ”เอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ”นี้ อยากให้เห็นถึงรัชสมัยของพระองค์ท่านว่า ทรงครองราชย์อย่างไร ทรงพระราชกรณียกิจในฐานะกษัตริย์อย่างไร โดยเน้นย้ำถึงการทำงานของพระองค์ท่านภายใต้รัฐธรรมนูญ


“ทรง เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงกำหนดบทบาท ของพระบาทกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเอง ที่ผ่านมาเราปล่อยให้ฝรั่งเขียนเอกสาร ข้อมูลเละเทะ หรือแม้แต่นักวิชาการสมัยใหม่ ถอดเรื่องราวเล่าแต่ละช่วงวิกฤต สถานการณ์ นับแต่พ.ศ.2500 มาถึงเหตุการณ์เดือนตุลาคม การปฏิวัติระยะหลังๆ ไม่มีใครเขียนว่า พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญผ่านอะไรมาบ้าง บทบาทที่ทรงทำ มีอย่างไรบ้าง ยิ่งนักวิชาการเล่าเรื่อง โดยนำข้อมูลจากเอกสารของคนต่างชาติมาใช้ นำข้อมูลมาเพียงบางส่วน หรืออาจไม่ได้สอบทานข้อเท็จจริง และนำข้อมูลนั้นมาอ้างอิงต่อ อาจคลาดเคลื่อน”

วิมลพรรณ ชี้ความตั้งใจของการเขียนหนังสือเล่มนี้ว่า ตนเองก็ค้นคว้าเอกสาร หลักฐานจากประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา แม้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องอาศัยค่าใช้จ่ายดำเนินการที่สูงมาก ได้มีโอกาสไปค้นคว้าในห้องสมุด State of Congress ของสหรัฐฯ เป็นคนไทยคณะแรกที่ได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ ผ่านเอกสารบันทึกต่างๆ ซึ่งเก็บรักษาไว้ภายใน นำมาสู่การสอบทานความถูกต้องของเอกสารมากมาย โดยเฉพาะกรณี การสวรรคตของรัชกาลที่ 8

“หนังสือเล่มนี้ ต้องการให้คนไทยเห็นข้อเท็จจริงของสังคมไทยในแต่ละยุคสมัย แต่ผู้อ่านจะต้องพิจารณาเอาเองว่า เรื่องราวต่างๆ เป็นอย่างไร เพราะตัวเองไม่อยากจะใช้คำว่าเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ แต่เป็นบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัยของบ้านเมือง”


“สิ่ง สำคัญที่สุด ถ้าเราอ่านทั้งหมด จะรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับบ้านเมือง หรือใครก็ตามที่กระทำต่อบ้านเมือง มีบางคนที่เราอาจจะให้อภัยได้ มีบางคนเราไม่อาจให้อภัยได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นกับวิจารณญาณของคนอ่าน เพราะดิฉันมีหน้าที่ข้อมูลให้กับคน ไม่ไปวิเคราะห์หรือตัดสินแทนคนอ่าน หรือใครทั้งสิ้น”


วิมลพรรณ ยังกล่าวว่า ข้อมูลบางส่วนอาจไม่ใช่ข้อมูลใหม่ เพียงแต่นำมาเรียงร้อยให้ผู้อ่านได้เห็นว่าตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ได้เกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมืองบ้าง แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงทำหน้าที่ในฐานะพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญได้ถูกต้อง และรักษาบ้านรักษาเมืองมาได้อย่างไร ซึ่งอยากให้อ่านและพิจารณา


“ฉะนั้น หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือเฉลิมพระเกียรติ แต่เป็นหนังสือบอกข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในยุคสมัยว่า ท่ามกลางความเป็นไป การอยู่รอดของบ้านเมือง มันมีใครบ้าง ที่ได้ทำอะไรไว้ที่เราควรจะให้อภัยหรือไม่ให้อภัย"


วิมลพรรณ เล่าเบื้องหลังว่า หนังสือเล่มนี้ ใช้เวลากว่า 3 ปี ก่อนจะออกมาเป็นเล่มอย่างสมบูรณ์ แต่การค้นคว้าทำแค่ปีเดียว ลงมือเขียน 1 ปี ครึ่ง ระหว่างการคว้ารวบรวมข้อมูล มีเจ็บป่วย ไม่สบาย แม้แต่เพื่อนที่ช่วยค้นคว้าก็ป่วยเป็นมะเร็ง ต้องหยุดพักเพื่อรักษาตัวก่อน แต่สุดท้ายก็เขียนจนจบ นับตั้งแต่ปี 2549 รวมเวลากว่า 3 ปี ส่วนลงมือเขียน ปีครึ่ง


กับคำถามที่ว่า หวั่นใจหรือไม่ หากมีการนำเนื้อหาดังกล่าว ไปอ้างอิงหรือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง วิมลพรรณ ตอบชัดเจนว่า ไม่กลัวเลย เนื่องจากเจตนาของการเขียนหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้มีเจตนาทำลายเกียรติของผู้ใด แต่ความแน่วแน่อยู่ที่การค้นคว้าข้อมูล และร้อยเรียงให้ถูกต้องตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากจะถูกนำมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองให้กับใคร หวังใจว่า ผู้อ่านสามารถไตร่ตรอง และใช้วิจารณญาณได้

ตอนหนึ่งของหนังสือ เอกกษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ เล่ม 2 หน้า 29 กรณีข้อเท็จจริงในการสวรรคต

"....การ สอบสวนชันสูตรพระบรมศพของตำรวจในครั้งแรกก็ทำอย่างหยาบๆ ไม่ได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนตั้งแต่แรก เมื่อจะมีการร่างแถลงการณ์ให้เป็นที่รับทราบของประชาชน นายปรีดี พนมยงค์ ถามหลวงนิตย์ฯว่า แถลงว่าสวรรค์เพราะพระนาภี (ท้อง) เสียได้หรือไม่ หลวงนิตย์ฯ ตอบว่า ไม่ได้ หลวงเชวงศักดิ์สงครามถามว่า เพราะโรคหัวใจได้ไหม หลวงนิตย์ฯ ปฏิเสธอีก จะออกแถลงการณ์ว่า ในหลวงปลงพระชนม์เอง กรมขุนชัยนาทนเรนทรทรงคัดค้าน รับสั่งให้แถลงการณ์ตามที่เป็นจริง นายกรัฐมนตรี (นายปรีดี พนมยงค์) จึงแถลงการณ์ว่า "เป็นอุบัติเหตุ" ซึ่งกรมขุนชัยนาทฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ ไม่ได้คัดค้านหรือห้ามการสืบสวนตามกฎหมาย โดยอ้างว่าขัดกับพระราชประเพณีแต่อย่างใด"

อีกตอนหนึ่ง หน้า 40 ระบุว่า .... "หลังการชันสูตรพระบรมศพแล้วแพทย์ลงความเห็นว่า สาเหตุใดมีน้ำหนักว่าจะเป็นไปได้มากที่สุด ปรากำว่า ประเด็นถูกลอบปลงพระชนม์มีน้ำหนักมากที่สุดคือ 16 เสียง ปลงพระชนมเองมีน้ำหนักมากที่สุด 4 เสียง อุปัทวเหตุมีน้ำหนักมากที่สุด 2 เสียง"

"ความเห็นของคณะแพทย์และข้อเท็จจริงบางประการในการ ทดลองในการยิงศพล่วง รู้ไปถึงหนังสือพิมพ์บางฉบับเช่น หนังสือพิมพ์เสรี ฉบับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2489 ได้ลงรูปแสดงวิถีกระสุนและมีความละเอียดว่า คณะกรรมการได้ทดลองยิงในท่าต่างๆ แต่ที่คล้ายคลึงกับบาดแผลในพระบรมศพ คือผู้ยิงยืนเหนือศีรษะจ่อปืนใกล้หน้าผากในระยะ 10 ซม. แล้วยิง"

หนังสือ ดังกล่าว ยังนำรายงานของสถานเอกอัครราชทตูอังกฤษประจำประเทศไทย รายงานไปยังกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษที่ลอนดอน เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2489 เรื่องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยไปเจรจาขอให้ทูตอังกฤษประจำ ประเทศไทยห้ามแพทย์ชาวอังกฤษที่ไปร่วมเป็นกรรมการชันสูตรพระบรมศพออกความ เห็น สาเหตุแห่งการสวรรคต ดังนี้

"โทรเลขฉบับนี้เป็นความลับอย่างที่สุดและควรเก็บไว้โดยผู้รับที่มีอำนาจหน้าที่เท่านั้น ไม่ให้ส่งต่อ ...แจกในคณะรัฐมนตรี

F. 9488 จากกรุงเทพฯ ถึงกระทรวงการต่างประเทศ

Mr.Thompson เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2489

No. 851

ด่วน โทรเลขของผมเลขที่ 834

"...มี การเชื่อกันอย่างกว้างขวาง (ซึ่งก็มีเหตุผล) ว่าคณะกรรมการแพทย์ที่สอบสวนกรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ก่อนกำลังจะรายงานโดยเสียงข้างมากเป็นการถูกลอบปลงพระชนม์ จริงๆ แล้วในการลงคะแนนเสียงวันนี้ เมื่อคณะกรรมการยอมรับถ้อยคำต่างๆ ในรายงานแล้ว 16 เสียงเห็นว่าเป็นการถูกลอบปลงพระชนม์ 4 เสียงเป็นอัตวินิบาตกรรม และ 2 เสียงเป็นอุบัติเหตุ ตัวเลขเหล่านี้ไม่รวมนายทหารอังกฤษ 5 คนผู้ปฎิเสธที่จะออกความเห็นใดๆ"

เปิดตัวเมียคนแรกพระปราโมทย์ไม่ใช่แม่ชี"อรนุช"จดทะเบียนสมรส2ครั้ง-อดีตลูกศิษย์เตรียมเทปแฉแหลก

ที่มา มติชน



ภายหลังจากถูก น.ส.ฐินินาถ ณ พัทลุง ไฮโซนักเขียนชื่อดังยื่นโนติสให้คืนเงินบริจาคจำนวนกว่า 4 ล้านบาท ข้อมูลที่เกี่ยวกับพระปราโมทย์ ปาโมชโช (สันตยากร) เจ้าสำนักสวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ก็ทะยอยถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ ทั้งกรณีกลุ่มชาวพุทธรักษ์ศาสนายื่นเรื่องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ให้ตรวจสอบความโปร่งใสบัญชีเงินฝากธนาคารของสำนักสวนสันติและบัญชีเงินฝาก ที่อยู่ในชื่อของ นางอรนุช (แม่ชีอรนุช) สันตยากร กรณีกลุ่มอดีตลูกศิษย์ยื่นเรื่องต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)ให้ตรวจสอบพฤติกรรมและคำสอนว่าผิดหลักคำสอนของพุทธศาสนาหรือไม่ ไม่เว้นแม้กระทั่งเครือข่ายของเพื่อนสมัยเรียนและการทำงานในอดีต

ในขณะที่ผู้ถูกกกล่าวหาก็ให้ตัวแทนคือนายธนเดช พ่วงพูล ทนายความ ชี้แจงข้อกล่าวหาในทุกประเด็นทั้งในเรื่องเงินบริจาคที่อยู่ในบัญชีนางอรนุช บัญชีเงินบริจาคของสวนสันติธรรม และประเด็นที่พำนักของพระปราโมช และ แม่ชีอรนุช ภรรยาซึ่งพำนักในสวนสันติธรรม แต่แยกกันอยู่

ล่าสุดอีกชิ้นหนึ่งที่ไม่เคยถูกเปิดเผยมาก่อนคืออดีตภรรยาของพระปราโมทย์ "มติชนออนไลน์"ตรวจ สอบพบว่า ก่อนที่พระปราโมทย์จะจดทะเบียนสมรสกับนางอรนุชซึ่งเป็นภรรยาคนปัจจุบัน นายปราโมช (ชณะยังไม่ได้ชวช) ได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยาชื่อ "นางวันสุรีย์ สันตยากร" เมื่อปี 2521 ต่อมาได้จดทะเบียนหย่ากับนางวันสุรีย์ และ กลับมาจดทะเบียนสมรสกับนางวันสุรีย์อีกครั้งในช่วงปี 2524 โดยทั้งสองคนมีทีพำนักอยู่ในที่พักย่านประชาชื่น กระทั่งนางวันสุรีย์ได้ย้ายไปอยู่ในจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ในเวลาต่อมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 28 กันยายน 2553 นายอภิชาติ อัศวเรืองชั อดีตประธานกรรมการสวนสันติธรรม จะเปิดแถลงข่าวเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากของสวนสันติธรรม ในช่วงที่นายอภิชาตดูแลอยู่ จากนี้ยังพร้อมที่จะโชว์หลักฐานการส่ออวดอุตริของพระปราโมทย์ ให้กับสื่อมวลชน โดยจะแถลงเวลา 15.00 น. ที่มูลนิธิบ้านอารีย์ ซ.อารีย 1

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากจะอดีตกรรมการสวนสันติธรรมหลายคน เข้าร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ด้วย อาทิ นายอาร์ม นาครทรรพ ในประเด็นคำสอนของพระปราโมทย์ที่อาจผิดพระธรรมวินัยหรือไม่ โดยจะเปิดเทปบันทึกเสียงที่แสดงคำพูดการทักจิตทายใจ รวมทั้งประเด็นอื่นที่ฝ่ายตัวแทนของพระปราโมทย์แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อวัน เสาร์ 25 กันยายนที่ผ่านมาซึ่งกลุ่มอดีตลูกศิษย์มอว่าให้ข้อมูลไม่ชัดเจน


นายเทิดศักดิ์ เตชะกิจขจ ตัวแทนกลุ่มชาวพุทธรักษ์ศาสนา เปิดเผยว่า ภายหลังทนายความของพระปราโมทย์ระบุว่าได้มอบบัญชีเงินบริจาคของสวนสันติธรรมจำนวน 7 บัญชีให้ดีเอสไอตรวจสอบ แต่ตนมีข้อมูลว่ายังมีบัญชีเงินบริจาคอีก 2 บัญชีที่เป็นชื่อของนางอรนุชแต่กลับยังไม่ยื่นให้มีการตรวจสอบ โดยบัญชีหนึ่งเป็นบัญชีที่อ้างว่าบริจาคให้พระปราโมทย์ ส่วนอีกบัญชีเป็นเงินบริจาคเข้าสวนสันติธรรม ซึ่งตนมองหากจะตรวจสอบแล้วก็ควรเปิดให้ตรวจสอบได้ทุกบัญชี อย่างไรก็ตาม ตนไม่ทราบแน่ชัดว่าบัญชีที่เกี่ยวข้องกับเงินบริจาคของสวนสันติธรรมมีทั้ง หมดกี่บัญชี แต่เท่าที่รู้คือมีอีก 2 บัญชีที่ควรชี้แจงด้วย

นาย เทิดศักดิ์ กล่าวปฏิเสธกรณีที่ทนายความสวนสันติธรรมให้ข่าวผ่านสื่อมวลชนโดยระบุว่าทราบ ผลการตรวจสอบในส่วนของดีเอสไอแล้วว่าข้อเท็จจริงไม่มีมูล โดยยืนยันว่าหลังทราบข่าวดังกล่าวได้ติดต่อสอบถามไปยังดีเอสไอซึ่งให้ข้อมูล ว่าขณะนี้ข้อร้องเรียนของตนยังอยู่ระหว่างการสอบสวนที่ได้อนุมัติให้ดีเอสไอ ภาคตะวันออกไปตรวจสอบและรวบรวมข้อมูล โดยยังไม่มีข้อสรุปว่าเรื่องดังกล่าวผิดหรือถูก ส่วนการร้องเรียนในประเด็นพระปราโมทย์อวดอุตรินั้น ตนได้แยกให้ตัวแทนกลุ่มอีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ติดตามเรื่องที่ได้ยื่นให้สำนัก งานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เป็นผู้พิจารณา

ผู้บริสุทธิ์

ที่มา ข่าวสด

เหล็กใน




กระบวนการนิรโทษกรรมขับเคลื่อนโดยเนวิน ชิดชอบ ครูใหญ่พรรคภูมิใจไทย

กับกระบวนการปรองดอง ผลักดันโดยเสธ.หนั่น กุนซือใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา

ซึ่งกำลังคึกคัก โครมคราม ต่างก็เน้นจุดขายประเด็นเดียวกัน

ช่วยเหลือ 'ผู้บริสุทธิ์' ให้พ้นมลทิน ความผิด

ผู้บริสุทธิ์?

นักการเมืองใหญ่ระดับชี้เป็น ชี้ตายรัฐบาล ออกมาเคลื่อนไหวเต็มตัวขนาดนี้

ย่อมยืนยันข้อเท็จจริงที่ว่า มีผู้บริสุทธิ์ถูกจับกุม คุมขัง จากการชุมนุมทางการเมืองช่วงที่ผ่านมา

ในเมื่อเป็น 'ผู้บริสุทธิ์' ถูกละเมิด ได้อย่างไร?

และในเมื่อเป็น 'ผู้บริสุทธิ์' ก็ต้องไม่มีมลทิน ความผิด มาตั้งแต่ต้น

แล้วจะนิรโทษกรรมให้ใคร ทำไม อย่างไร ไม่ทราบ?

เพราะนิรโทษกรรม ความหมายมันชัดเจน

คือได้กระทำความผิดสำเร็จ เสร็จสิ้นแล้ว แต่ได้รับยกเว้นโทษ ไม่ถูกลงโทษ

ถ้ายอมรับนิรโทษกรรม ก็เท่ากับยอมรับความผิด!

นำมาสู่คำถามข้อต่อไป ในเมื่อไม่ได้กระทำผิดแต่ถูกละเมิด จับกุม คุมขัง แล้วอยู่ๆบอกปรองดองกันดีกว่า

มันเอาเปรียบ เหยียบย่ำ ซ้ำเติมกันเกินไป!!

ทั้งๆที่สิ่งที่ 'ผู้บริสุทธิ์' ควรจะได้รับโดยเร็วที่สุด

ก็คือ การช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชย

ควบคู่กับดูแลขบวนการต่อสู้กับความอยุติธรรม ความไม่เป็นธรรมที่ได้รับ

ภายใต้ข้อเท็จจริง ไม่มีมลทิน ความผิด มาตั้งแต่ต้น

บุคคลใด หน่วยงานไหน กระทำกับ 'ผู้บริสุทธิ์' ต้องเอาผิด และลงโทษ อย่างตรงไปตรงมา

ยิ่งถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานรัฐ กระทำผิดเสียเอง ยิ่งต้องเอาผิด และลงโทษสถานหนัก

บุคคลพิเศษระดับ เนวิน เสธ.หนั่น

หรือพรรคการเมืองระดับ ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา

หากจริงจัง จริงใจ อยากช่วยเหลือจริงๆ

ด้วยปัญญา ความสามารถ ศักยภาพ ช่วยได้อยู่แล้ว

เพียงแต่ไม่ใช่ นิรโทษกรรม ให้ 'ผู้บริสุทธิ์'

หรือเรียกร้อง 'ผู้บริสุทธิ์' ปรองดอง กับผู้กระทำละเมิดพวกเขา

สิ่งควรทำก็คือ ช่วย 'ผู้บริสุทธิ์' ต่อสู้กับความไม่ยุติธรรม อยุติธรรม

ต่อสู้กับบุคคล หน่วยงาน ที่จับกุม คุมขัง 'ผู้บริสุทธิ์'

นำตัวมาลงโทษ!?

นิรโทษฉบับภูมิใจไทย-เพื่อใคร?

ที่มา ข่าวสด

รายงานพิเศษ




1.สิริพรรณ นกสวน

2.กิตติศักดิ์ ปรกติ

3.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

4.ทวี สุรฤทธิกุล

การ ที่ นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ผนึกกับ นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เดินหน้าล่าชื่อประชาชนสนับสนุนร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 ก.ย. 2549 ถึงวันที่ 31 พ.ค. 2553 พ.ศ. ....

เพื่อเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร

ชู ธงเพื่อช่วยเหลือผู้มาร่วมชุมนุมทางการเมืองด้วยบริสุทธิ์ใจ โดยไม่เกี่ยวกับนักการเมืองสมาชิกบ้านเลขที่ 111 และ 109 รวมทั้งแกนนำม็อบต่างๆ

ขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยต่างวิจารณ์ว่าทำโดยมี วาระซ่อนเร้นทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการหาเสียง การช่วยเหลือตำรวจ ทหาร และพวกพ้องของตนเอง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา

และต่อจากนี้คืออีกมุมมองหนึ่งของนักวิชาการต่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับภูมิใจไทย



สิริพรรณ นกสวน

อาจารย์ภาควิชาการปกครอง

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

กฎหมาย นิรโทษกรรมเป็นเกมทางการเมืองที่ไร้ราคามากหากจะนิรโทษกรรมไทยมุงซึ่งเป็น พวกที่ไม่มีความผิดอยู่แล้ว จะไปนิรโทษกรรมทำไม เพราะยังไม่มีกระบวนการทางกฎหมายตัดสินว่าใครผิดใครถูก

เรื่องนี้จึงไร้สาระมาก เป็นเรื่องที่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังว่าการเสนอให้นิรโทษกรรมกำลังทำอะไร เป็นการต่อรองกลบเกลื่อนอะไรอยู่

การนิรโทษกรรมที่เสนอมาจึงเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเนื้อ หายังไม่ชัดเจน ตรรกะก็ยังไม่ชัดเจน อาจมีการหมกเม็ดอะไรอยู่

อีก ทั้งประชาชนไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลือง-เสื้อแดงที่ไปร่วมชุมนุม ยังไม่มีใครถูกตัดสินโทษเลย ซึ่งการนิรโทษกรรมคือต้องเป็นการตัดสินโทษแล้ว แต่นี่ยังไม่มีกล่าวโทษ สังคมตอนนี้กำลังมืดบอด จึงหันมาเสนอ มาพูดถึงเรื่องนี้กัน

ตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาที่จะมาพูดถึง ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้เลย แต่จะพูดเมื่อการดำเนินคดีพิจารณาเสร็จแล้วค่อยมาคิดกัน แต่เท่าที่มองปัญหาขณะนี้แล้ว ไม่น่าจะไปได้

การนิรโทษกรรมต้อง เป็นการเห็นพ้องต้องกัน แต่ในสถาน การณ์ที่เกิดความแตกแยกขัดแย้งแล้วยังนิรโทษกรรม จะทำให้ยิ่งแตกแยกขัดแย้งกันมากขึ้น

เพราะจะไม่ผิดทั้งคู่ไม่ได้ สังคมจะไม่มีทางเดิน



กิตติศักดิ์ ปรกติ

อาจารย์คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การ นิรโทษกรรมทางการเมืองให้กับประชาชนนั้น ขณะนี้คู่กรณีทั้งสองฝ่าย ต่างฝ่ายต่างไม่เรียกร้องให้ตัวเองได้รับนิรโทษกรรม เพราะต้องการพิสูจน์ความถูกผิด

ขณะเดียวกันประโยชน์ของรัฐในเรื่อง ความมั่นคงคืออะไร ถูกก็ว่ากันไปตามถูก ผิดก็ว่าไปตามผิด หากว่าเราไม่ตัดสินถูกผิด จะทำให้ระบบมันเสียหายทั้งหมด

เพราะต่อไป หากว่าใครทำอะไรที่อาจถูกกล่าวหาว่าตัวเองผิด ก็ไปใช้วิธีแบบนักการเมืองแทน นักการเมืองจะเข้ามาแทนที่นักกฎหมาย เข้ามาแทนที่ศาล เข้ามาแทนที่ความถูกผิด

ในที่สุดระบบปกครองที่เราบอกว่าเราปกครองตามกฎหมายก็กลายเป็นปกครองกันตามใจนักการเมือง ทำให้ระบบเสียไป

แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่เห็นชัดเจนว่าไม่เป็นธรรมอย่างร้ายแรง อันนี้อนุญาตให้มีนิรโทษกรรมได้

แต่ การนิรโทษกรรมไม่ใช่ไปป้องกันหรือไปแก้ไขไม่ต้องตัดสินคดีที่มีความผิด แต่ว่ามันตัดสินคดีไปแล้วเกิดความไม่เป็นธรรมที่สามัญชน สามัญสำนึก การนิรโทษกรรมก็เป็นไปได้

โดยทั่วไปการนิรโทษกรรมก็ทำเฉพาะกรณีที่ไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งเท่านั้น

ไม่ มีการนิรโทษกรรมที่บอกว่าเป็นเหตุผลทางการเมือง เพราะหากทำแบบนี้บ่อยๆ เท่ากับว่า การเมืองเข้าแทนที่กฎหมาย ในที่สุดก็ไม่ได้ปกครองโดยกฎหมายแต่ปกครองโดยอำนาจการเมือง เป็นสิ่งที่เราต้องการขจัดออกไป ต้องปกครองโดยหลักถูกผิด

หลัก นิรโทษกรรม คือ เมื่อทำแล้วความเป็นธรรมมันปรากฏขึ้นหรือชัดเจนขึ้น แต่ถ้าทำแล้วทำให้ความเป็นธรรมหรือความถูกผิดมันเลอะเลือน อันนี้มันไม่ใช่การปกครองโดยกฎหมาย

อย่างกรณีมีการตัดสินคดีที่ ผิด คดีมันถึงที่สุดไปแล้ว ปรากฏหลักฐานว่าศาลตัดสินผิด กฎหมายบอกว่าให้ศาลรื้อฟื้นคดีขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้ และอาจต้องใช้เวลา ก็อาจใช้วิธีนิรโทษกรรมได้

แต่นิรโทษกรรมแล้วไม่รู้ว่าใครผิดใครถูก มันก่อให้เกิดผลเสียหาย

ฉะนั้นเหตุผลการนิรโทษกรรมก็คือเหตุผลทางการเมือง ซึ่งผู้ที่เสนอเข้ามาต้องการหาเสียงมากกว่า



อัษฎางค์ ปาณิกบุตร

นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์

ขณะ นี้คนเข้าใจว่าการนิรโทษกรรมคือยกโทษให้ทั้งหมด ลักษณะที่ทำมันเหมือนจะนิรโทษกรรมผู้บริสุทธิ์ หากเป็นผู้บริสุทธิ์ก็ไม่มีโทษอยู่แล้ว มันอยู่ที่ว่าเมื่อบริสุทธิ์จริง ศาลคงไม่ฟ้อง

ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าพรรคภูมิใจไทยคิดอะไร เป็นการโยนหินถามทางแล้วต้องการอะไร ต้องถามนายเนวิน ชิดชอบ และนายบรรหาร ศิลปอาชา ว่าจริงๆ แล้วต้องการอะไร

จะได้ชื่อเสียงกับคนอีสานหรือไม่ หรือผลักดันให้เกิดการนิรโทษกรรมแล้วจะทำให้ภาพพจน์ตัวเองดีขึ้น

คิด ว่าเหตุผลที่อ้างในการเสนอนิรโทษกรรมนั้นไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริง ถ้านิรโทษกรรมจริงๆ ต้องชัดเจนว่าลบทั้งหมดหรือไม่ ตั้งแต่ฝ่ายเสื้อเหลืองบอกว่าไม่ต้องการปรองดอง เพราะมันเลือกปฏิบัติอยู่แล้ว

ดังนั้น ปัญหาอยู่ที่ว่าขณะนี้คนไม่พูดความจริง สื่อนำความไม่จริงมาเสนอ สังคมก็เข้าใจผิดกันใหญ่ อยู่ที่ว่าคนเสนอนิรโทษกรรมมันมีอะไรอยู่ในใจหรือไม่ ต้องทำให้ชัดเจน ขณะนี้มันยังไม่แจ่มชัดในการนำเสนอ

หากประชาชนไม่เกี่ยวข้องเขามา ชุมนุมกัน มันจะผิดได้อย่างไร เรื่องนี้มองว่ามันเป็นการหาเสียง หาคะแนนนิยม และเป็นการหวังดี อยากให้เกิดความสงบสุขในประเทศ แต่มันไม่ชัดเจนคนเลยเข้าใจไม่ตรงกัน เหลืองก็ไม่เอา แดงก็ไม่เอา

ส่วน จะเป็นไปได้หรือไม่นั้น อยู่ที่รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลเพราะมีเสียงมากในสภา และการที่พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกฯ ไปพบแกนนำนปช.ในเรือนจำก็คือแสดงให้เห็นว่าหวังดีกับบ้านเมือง ต้องการปรองดอง

แต่การปรองดองมันต้องพูดความจริงออกมา



ทวี สุรฤทธิกุล

อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

หากมีกฎหมายนิรโทษกรรม จะไปยกเลิกกระบวนการยุติธรรมบางส่วน เพราะมีบางคดีที่ดำเนินการอยู่ ทำให้คนที่จะสนับสนุนรู้สึกลำบากใจ

ถ้า เป็นคดีที่ยังไม่เข้าสู่ศาล คงไม่เป็นไร น่าจะกระทำได้ แต่คดีที่เข้าสู่ศาลก็ต้องพิจารณา แต่หลักกฎหมายเป็นคุณ ส่งผลย้อนหลังให้ผู้เสียหายโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว

ผมเห็นด้วยหาก นิรโทษกรรมประชาชนคนบริสุทธิ์ที่ไปชุมนุมตามกระแส ไปแบบไทยมุง ไปด้วยความเห็นใจกัน ต้องดูว่าเข้ากรอบความผิดหรือไม่ มีการถืออาวุธ ไปตีใครบาดเจ็บหรือไม่

ถ้าอาวุธที่ใช้เป็นอาวุธสงครามก็เป็นความ รุนแรงแน่นอน แต่ถ้าใช้ไม้ หนังสติ๊ก อาจเป็นการแสดงอารมณ์ทั่วไปไม่ร้ายแรง คนที่ไปร่วมเย้วๆ ไม่ได้ตั้งใจเจตนาก่อเหตุความรุนแรง อาจถูกชักจูง ล่อลวงให้กระทำความรุนแรง ไม่น่าเข้าข่ายผิด

แต่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคนมีคดีความ เป็นแกนนำ ตัวการ ส่วนนี้น่าจะได้รับโทษก่อนค่อยขออภัยโทษทีหลัง

การ พยายามออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยบอกว่าไม่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง ไม่มีการนิรโทษกรรมนักการเมือง ผมมองว่าค่อนข้างลำบาก เพราะกลัวจะมีการหมกเม็ด สร้างเงื่อนไขอะไรหรือไม่

เสื้อแดงห่วงว่า จะมีการอภัยโทษเจ้าหน้าที่รัฐ ตำรวจ ทหาร ผู้สั่งการ นายกฯ ศอฉ. ยกโทษให้หมด เพราะหากจะเขียนยกเว้นจะน่าเกลียดและเป็นไปได้ยาก

การ นิรโทษกรรมคนบริสุทธิ์ตอนนี้ หากทำได้เร็วก็น่าจะเหมาะ หากปล่อยไปยิ่งสร้างความขุ่นข้องหมองใจ โดยเฉพาะประชาชนที่ถูกไล่ล่า ไม่เป็นอันกินอันนอน

ถ้ารัฐบาลตกลงกันได้ พรรคภูมิใจไทยคุยกับพรรคประชาธิปัตย์ได้ น่าจะประกาศนโยบายยกโทษให้คนที่ไม่ได้ก่อความรุนแรง ส่วนคนที่ก่อเหตุรุนแรง ยังยืนยันว่าต้องรับผิด ต้องชี้แจงว่ากระบวนการจะทำอย่างไร

รัฐบาลต้องกล้าหาญในการผลักดันให้เกิดความสงบสุข โดยนิรโทษกรรมให้กับคนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วย

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker