ในสังคมไทยความจริงและการยอมรับสิ่งที่เห็นอยู่โทนโท่ มักถูกปิดทับไว้ใต้นิยายปรัมปราอันหนักอึ้งและการปฏิเสธความจริง
ตัวอย่าง ล่าสุด: การกลับมาชุมนุมของคนเสื้อแดงที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2553 เพื่อระลึกการครบรอบสี่ปีรัฐประหาร และสี่เดือนของการใช้ทหารปราบประชาชน คนเสื้อแดงออกจากพื้นที่ราชประสงค์
การ รายงานข่าวของสื่อกระแสหลักในวันนั้นขาดซึ่งประเด็นสำคัญยิ่งไปหนึ่ง ประเด็นอันได้แก่ ข้อความเคียดแค้นที่ขีดเขียนโดยคนเสื้อแดงเต็มกำแพงสังกะสีที่กั้นเขตก่อ สร้าง ซ่อมแซมตึกเซ็นทรัลเวิลด์และเซ็น ซึ่งคนเสื้อแดงถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้เผาเมื่อสี่เดือนที่แล้ว
ก่อนวัน อาทิตย์นั้น กำแพงสังกะสีสูงสองเมตร ยาวกว่าประมาณ 70 – 80 เมตร เต็มไปด้วยหลากข้อความโฆษณาชวนเชื่อ ชวนให้คนไทยมารัก ลืมและปรองดองกัน แต่พอพลบค่ำของเย็นวันที่สิบเก้า ข้อความบนกำแพงที่ทางเจ้าของเซ็นทรัลเวิลด์จัดไว้ก็ถูกเขียนทับด้วยข้อความ อันเคียดแค้นต่อชนชั้นนำเก่า แบบที่ไม่สามารถนำมาอ้างได้ในที่นี้โดยไม่เสี่ยงผิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ
ราวหนึ่งทุ่มเศษคืนนั้น คนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยจับกลุ่มหลายกลุ่ม ยืนพูดคุยวิจารณ์ข้อความและระบายความโกรธแค้นคับข้องใจทางการเมืองอยู่หน้า กำแพง หากทว่าพอถึงวันรุ่งขึ้น ข้อความเหล่านั้นก็ถูกลบทิ้งไปสิ้น ราวกลับว่า เหตุการณ์คืนก่อนหน้านั้นมิได้เคยเกิดขึ้น กำแพงยังคงอยู่ แต่ข้อความไม่เหลือให้ห็น คงเหลือเพียงกำแพงสังกะสีอันว่างเปล่าสีเทา ถึงแม้เพียงคืนเดียวก่อนหน้านั้น มันจะได้ทำหน้าที่เก็บบันทึกความในใจจากก้นบึ้งของคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง
คน บางคนได้ตัดสินใจว่า ข้อความเหล่านี้ไม่ควรถูกบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทยปี 2553 ช่างภาพชาวตะวันตกผู้หนึ่ง ซึ่งพอเข้าใจความหมายของบางข้อความ กล่าวกับผู้เขียนในคืนนั้นว่า เขาไม่แน่ใจว่าจะนำรูปของข้อความบนกำแพงที่ถ่ายไปลงที่ไหนได้บ้าง และไม่แน่ใจว่าควรทำอย่างไรดีกับรูปเหล่านั้น
ช่องว่างระหว่างสิ่งที่คน ไทยจำนวนมากอยากเชื่อเกี่ยวกับบางเรื่องกับความ เป็นจริงที่ว่า คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งมีความเชื่อบางอย่างแตกต่างไป ไม่เคยกว้างแตกต่างเท่าทุกวันนี้ เหตุการณ์ 10 เมษา และ 19 พฤษภาคม 53 ซึ่งนำมาซึ่งความตายของ 91 ชีวิต ยิ่งทำให้ช่องว่างนี้กว้างขึ้น เต็มไปด้วยความโกรธแค้นในหมู่คนเสื้อแดงและวิตกจริตในหมู่ชนชั้นนำเก่า
ช่อง ว่างระหว่างสิ่งที่พูดและยอมรับในที่ลับ กับสิ่งที่ท่องและปฏิเสธในที่สาธารณะดูจะกว้าง ห่างจากกันมากขึ้นทุกที กลายเป็นราคาค่างวดที่สังคมไทยต้องแบกรับหนักอึ้งขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อ วันอังคารที่ผ่านมา ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีต รมว.ต่างประเทศยุคทักษิณผู้ซึ่งทิ้งทักษิณไปก่อนเกิดรัฐประหารกล่าวใน สุนทรพจน์ที่มหาวิทยาลัยสยามว่า การโจมตีสถาบันกษัตริย์ได้มีเพิ่มมากขึ้นและเห็นชัดขึ้น แถมเขายังบอกว่า นี่เป็นหนึ่งในสองรากปัญหาวิกฤติสังคมการเมืองไทยปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สุรเกียรติ์ไม่ได้พยายามแม้กระทั่งจะอธิบายว่า ทำไมคนจำนวนไม่น้อยถึงรู้สึกเช่นนั้นต่อสถาบัน
การเขียนข้อความเช่น นั้นจำนวนมากบนกำแพงซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ ไม่เคยมีมาก่อน ในขณะที่การลบข้อความเหล่านั้นอย่างรวดเร็ว เป็นอาการป่วยของสังคม “เซ็นเซอร์นิยม” แถมคนที่ไม่เอาเสื้อแดงก็มักไม่ยอมที่จะตั้งคำถามว่าทำไมคนเสื้อแดงจำนวนไม่ น้อยถึงเชื่ออย่างที่เขาเชื่อ
การปฏิเสธไม่ยอมรับฟังความเห็นและความเชื่อของราษฏรจำนวนหนึ่ง จะไม่ช่วยให้ประเทศนี้ผ่าปัญหาทางตันทางการเมือง
รัฐ ประหาร 19 กันยา เมื่อสี่ปีที่แล้วได้สร้างปัญหาใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึงและซับซ้อน เสมือนการเปิดกล่องแพนโดร่าของชาวกรีก และ ณ วันนี้หลัง 91 ศพต้องสังเวยเหตุการณ์ต้นปี ผู้คนควรเริ่มยอมรับความจริงเสียทีว่า คนจำนวนหนึ่งคิดอย่างไร และหันมาถามอย่างจริงจังว่า ทำไมพวกเขาถึงคิดและรู้สึกเช่นนั้น
--------------------------------
หมายเหตุ: แปลและเรียบเรียงจาก It’s time to take off the blind fold.
http://www.nationmultimedia.com/home/2010/09/23/politics/It-may-be-time-to-take-off-the-bilindfold-30138569.html ตีพิมพ์ครั้งแรกใน นสพ.เดอะเนชั่น ฉบับวันที่ 23 ก.ย.53