บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ชูธง 30-11-2011

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

speedhorse



http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=696

ที่นี่ความจริง อ.ตุ้ม อ.หวาน 29-11-2011

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

กาแฟ



http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=694

เปิดศึกใหญ่ แก้ ก.ม.เลือกตั้งตัดอำนาจ กกต./แก้ รธน. ใช้ กรณีจตุพรเปิดสงคราม

ที่มา thaifreenews

โดย ลูกชาวนาไทย

กรณีจตุพร ผมเบื่อที่จะเล่นตามเกมอำมาตย์ สู้แก้ ก.ม.เลือกตั้งตัดอำนาจ กกต.ดีกว่า

คือ เราไปเล่นตามเกมของเขา ก็ต้องเป็นเบี้ยล่างอยู่วันยังค่ำ พวกอำมาตย์คุมองค์กรอิสระต่างๆ ต่อให้ต่อสู้อย่างไรก็แพ้ไม่มีประโยชน์ที่จะสู้ตามเกมของอำมาตย์ พวกเขาควบคุมคนในองค์กรอิสระ เขาได้เปรียบตรงนี้

แต่ใช่ว่าพวกเขาจะได้เปรียบทุกอย่าง

เพราะพรรคเพื่อไทยคุมสภา คุมเสียงข้างมากเด็ดขาด คุมการออกกฎหมายทั้งหมด
อำนาจของอำมาตย์เหล่านี้ มีต้นทางมาจากกฎหมายที่ร่าง โดยคณะรัฐประหาร

การ แก้เกมอำมาตย์ คือ ลุยแก้กฎหมายเหล่านั้น ไม่ต้องไปสนใจการต่อรองใดๆ พวกเขาไม่เคยแคร์เราอยู่ในสายตา ทำไมต้องแคร์อำมาตย์ ดังนั้น เมื่อเราคุมเสียงฝ่ายนิติบัญญัติกว่าครึ่ง ก็สามารถออกกฎหมายได้ แก้กฎหมายได้ แก้รัฐธรรมนูญได้

กรณีคุณจตุพร ผมว่าหาก สส.พรรคเพื่อไทย เสนอ พรบ.แก้ไข กฎหมายเลือกตั้ง ตัดอำนาจเถื่อน ของ กกต.ทั้งหมด สร้างระบบให้เป็นสากล ผมว่าเกมนี้สะเทือน กกต.แน่นอน

เหล็กกำลังร้อน พวกเขามุ่งฆ่าคนของเรา

เราก็รื้อนั่งร้านพวกเขาให้หมด เกลือจิ้มเกลือ ภายในไม่ถึงสองเดือน หากจะผ่านกฎหมาย กกต.ก็กลายเป็นเสือกระดาษทันที

Revenge of the Jedi

การแก้แค้นของอัศวินเจได ก็ต้องทำให้เลือดกระจาย ล้างบางอำนาจอำมาตย์ในองค์กรอิสระเสียให้หมดสิ้น

พวกเขาเปิดเกมก่อน เราก็ต้องเปิดเกมสู้ แรงกว่า เด็ดขาดกว่า และได้ผลกว่าอำมาตย์ด้วย

เกมต่อไปคือ เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญทันที
และ รุกในการแก้ไข พรบ. จัดระเบียบกระทรวงกลาโหมทันที

เป็นการสั่งสอนเลยทีเดียว หากพวกเขายังเล่นเกมไม่จบ เราก็ลุยให้หนักกว่า

เกลือก็ต้องจิ้มเกลือ

เราอาจเสียคุณจตุพรไปจากการเป็น สส. หากเราไปสู้ในเกมนี้ในศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไร คุณจตุพรก็หลุด สส.แน่นอน

แต่หากเราจัดทัพใหญ่ ประจันบานเสียเลย ลุยแก้กฎหมายให้หมด เพราะมันเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม พวกเขาอาจกำจัดคุณจตุพรจากสภาได้ชั่วคราว

แต่พวกเขาเสียพื้นที่ทั้งหมด เพราะคนเสื้อแดงเริ่มเดือดแล้ว

เกมการแก้กฎหมาย แก้รัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายล้างผลพวงของรัฐประหาร ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์

เกมพวกนี้อำมาตย์สู้เราไม่ได้แน่นอน พวกเขามีวิธีสู้ได้อย่างเดียวคือ การทำรัฐประหาร

แต่หากจะทำรัฐประหารในวันนี้ ก็เลือดนองแผ่นดิน

พวกเขาเปิดเกมขึ้นมาก่อน ช่วยไม่ได้ จุดอ่อนของอำมาตย์มีมากกว่า

งานนี้ หากลุยกันจริง ๆ ก็ล้างบางอำนาจของอำมาตย์ได้ทั้งหมด

ก็ใช้ "น้ำผึ้งหยดเดียว" กรณีจตุพรนี่แหละ เปิดสงครามล้างบางกฎหมายของอำมาตย์ให้หมด

เมื่ออำมาตย์จุดไฟสงครามขึ้นแล้ว ก็ช่วยไม่ได้

เกมไปถึงจุดนั้นแน่นอน

ขอใช้คำหยายนิดว่า

"ลุยแม่งเลย !"

เมื่อมันอยากเปิดศึก เราก็เปิดสงครามให้ใหญ่กว่า บู้ล้างผลาญกันให้จบ อย่างน้อยก็ต้องสั่งสอนว่า อำนาจของประชาชนนั้นใหญ่ที่สุด

ไม่ต้องไปสนใจพวก พธม./พวกสลิ่ม จะออกมาสู้

เราเสื้อแดงพร้อมลุย และหากเสนอ "เป้าหมายที่สูงกว่าการช่วยคุณจตุพร" เป็น แก้กฎหมาย กำจัดอำนาจของอำมาตย์

ศึกนี้สนุกแน่

แล้วพวกอำมาตย์ จะเสียใจว่า ไม่น่าเปิดศึกนี้ขึ้นมาเลย

การโจมตีจตุพรก่อน ทำให้เหมือนเหยียบหาง "คนเสื้อแดง" ศึกการเมืองรอบใหม่ปะทุขึ้นมาแน่

คราวนี้พวกอำมาตย์เสียเปรียบ

กรณี ของจตุพร แสดงให้เห็นความไม่เป็นธรรมชัดเจน เป็นการท้าทายอำนาจระบอบประชาธิปไตย เพราะศาลไม่ให้เขาออกไปเลือกตั้ง แล้วใช้ประเด็นนี้มาทำลายอำนาจปวงชนที่เลือกเขามา อำนาจเช่นนี้ย่อมไม่ชอบธรรม กลายเป็นเงื่อนไขสงครามการเมืองได้อย่างดี

นปช.แถลงข่าว 30-11-2011

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

RuMi CBR


นปช.แถลงข่าว อิมพิเรียล ลาดพร้าว
ทางสถานีโทรทัศน์ Asia Update
ประจำวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2554

mp3

http://www.mediafire.com/?b08ame1khbr98by

http://www.4shared.com/audio/d26lRHum/_30-11-2011.html




http://www.thaivoice.org/board/index.php?

ประเทศไทยกับศาลอาญาระหว่างประเทศ

ที่มา Thai E-News

ต่อ ให้มีการสัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมวันนี้ ประเทศไทยก็ยังไม่มีสถานะเป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศอยู่ดี และต่อให้เป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศวันนี้ ศาลอาญาระหว่างประเทศก็ไม่มีเขตอำนาจอยู่ดี เนื่องจากเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่ไทยจะเป็นสมาชิกเพราะกรณีราชประสงค์นั้น เกิดขึ้นเมื่อพฤษภาคม พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ดี ธรรมนูญกรุงโรมข้อที่ 12 (3) ก็เปิดช่องไว้ให้

โดย ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่มา เว็บไซต์นิติราษฎร์


บทนำ

อนุสนธิจากการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทยแถลงข่าวเกี่ยวกับการยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศกรณี 91 ศพ

โดยในเนื้อข่าวได้ปรากฏมีเนื้อหาว่า จากประเทศไทยได้ให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม พ.ศ. 2543 โดยคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2552 เรียบร้อยแล้วมีผลทำให้ประเทศไทยเป็นภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศเรียบร้อย แล้ว เนื่องจากเรื่องการฟ้องคดีต่อศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น เป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อกฎหมายระหว่างประเทศโดยตรง

จึงสมควรอธิบายทั้ง “ข้อเท็จจริง” และ “ข้อกฎหมาย” เพื่อมิให้สาธารณชนเข้าใจคลาดเคลื่อนดังต่อไปนี้

ประการแรก ประเทศไทยยังมิได้เป็นภาคีธรรมนูญก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศหรือที่เรียกว่าธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (The Rome Statute of the International Criminal Court: ICC) แต่อย่างใด

ประเทศไทยได้ “ลงนาม” (Sign) อนุสัญญากรุงโรมเท่านั้น แต่ยังมิได้ให้ “สัตยาบัน” (Ratification) หรือให้ความยอมรับ หรือให้ความเห็นชอบแต่ประการใด

ตามข้อบทของอนุสัญญากรุงโรมข้อที่ 126 ระบุว่า การมีผลบังคับใช้ของอนุสัญญาแก่รัฐนั้น รัฐสามารถแสดงเจตนาเข้าผูกพันพันธกรณีของอนุสัญญาได้ด้วยการให้สัตยาบัน หรือให้ความยอมรับ หรือให้ความเห็นชอบหรือภาคยานุวัติ

ดังนั้น ลำพังการลงนามเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นภาคี อนุสัญญานี้แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงในเรื่องการเป็นภาคีของประเทศไทยนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ หรือค้นหาไม่ยากเพราะสามารถตรวจสอบได้จากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่าง ประเทศหรือข้อมูลจากอินเตอร์เนต1

นอกจากนี้แล้ว การให้สัตยาบันแก่อนุสัญญากรุงโรมเป็นเรื่องสำคัญยิ่งจึงเป็นไปไม่ได้ที่สาธารณชนจะไม่ทราบ และเท่าที่ทราบประเทศไทยติดขัดประเด็นสำคัญที่ละเอียดอ่อนอยู่ จึงยังมองไม่เห็นว่าการเข้าเป็นภาคีในเร็ววันนี้จะเป็นไปได้อย่างไร

มิพักต้องพูดถึงมาตรา 190 วรรคสองที่กำหนดว่า การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาที่จะต้องตราพระราชบัญญัติอนุวัติการสนธิสัญญาดัง กล่าว ฝ่ายบริหารจะต้องเสนอต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้แต่อย่างใด อีกทั้งที่ผ่านมา NGOs ของต่างประเทศอย่าง The Coalition for the International Criminal Court ได้เคยมีจดหมายลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ไปยังนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อเรียกร้องให้ประเทศไทยเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม2 ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่ประเทศไทยจะเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว

ประการที่สอง โดยหลักกฎหมายพื้นฐานของสนธิสัญญาเกี่ยวกับการมีผลผูกพันของรัฐภาคีในแง่ของ เวลานั้นบัญญัติว่า โดยหลักทั่วไปแล้ว หากมิได้ปรากฏเจตนาของรัฐภาคีเป็นอย่างอื่น การมีผลผูกพันของสนธิสัญญาจะไม่มีผลย้อนหลัง (non-retroactivity of treaties) โดยข้อบทที่ 28 ของอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญากำหนดว่า พันธกรณีของสนธิสัญญาจะไม่มีผลผูกพันรัฐภาคีหากว่า การกระทำใดๆหรือข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์ได้เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงก่อนที่ สนธิสัญญาจะเริ่มมีผลผูกพันต่อรัฐนั้น3

พูดง่าย ๆก็คือ หากเหตุการณ์ราชประสงค์เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงก่อนที่ไทยจะเข้าเป็นภาคี อนุสัญญากรุงโรม ไทยก็ไม่สามารถอ้างพันธกรณีตามอนุสัญญาได้ ในทางตรงกันข้าม ไทยจะเริ่มตกอยู่ภายใต้อนุสัญญานี้หลังจากที่อนุสัญญานี้เริ่มมีผลผูกพันกับ ประเทศไทยแล้ว

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ยิ่งนานวันเข้าเท่าใด วันที่อนุสัญญาเริ่มมีผลผูกพันประเทศไทย(หรือวันที่ไทยสามารถอ้างอนุสัญญา ได้ในฐานะรัฐภาคี) ก็ยิ่งทอดนานเท่านั้น

นอกจากนี้ในข้อบทที่ 126 ของอนุสัญญากรุงโรมก็ระบุไว้ชัดเจนว่า
“สำหรับ รัฐแต่ละรัฐที่ให้สัตยาบัน….ต่อธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศนี้ หลังจากการมอบสัตยาบันสารแล้ว….. ให้ธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประทศนี้มีผลใช้บังคับในวันแรกของเดือนถัดไปจากวัน ที่หกสิบหลังจากการยื่นสัตยาบันสาร…..”
และ ข้อที่ 11 บัญญัติว่า
“ หากรัฐเข้าเป็นภาคีธรรมนูญศาลนี้ หลังจากที่ธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ ศาลอาจใช้เขตอำนาจของตนเฉพาะกับอาชญากรรมที่กระทำขึ้นหลังจากที่ธรรมนูญศาล นี้มีผลบังคับใช้สำหรับรัฐนั้น….”
จากข้อบทดังกล่าวที่ยกมาอ้าง อิงนั้นแสดงให้เห็นชัดว่า รัฐจะเป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศได้ก็ต่อเมื่อครบวันแรกของเดือนถัดจาก วันที่หกสิบหลังจากที่ได้มอบสัตยาบันไปแล้ว

พูดง่ายๆก็คือ ต่อให้มีการสัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมวันนี้ ประเทศไทยก็ยังไม่มีสถานะเป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศอยู่ดี เพราะต้องพ้นระยะเวลาดังกล่าวไปก่อน

และต่อให้เป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศวันนี้ ศาลอาญาระหว่างประเทศก็ไม่มีเขตอำนาจอยู่ดี เนื่องจากเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่ไทยจะเป็นสมาชิกเพราะกรณีราชประสงค์ นั้นเกิดขึ้นเมื่อพฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประการที่สาม วัตถุประสงค์สำคัญที่ประชาคมระหว่างประเทศได้ก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ ขึ้นมานั้น มิได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อมาแทนที่ศาลภายในของรัฐสมาชิกแต่มีขึ้นเพื่อมาเสริม เขตอำนาจของศาลภายใน ซึ่งผู้ร่างอนุสัญญากรุงโรมเรียกว่า หลักการเสริมเขตอำนาจศาลภายใน (complementary)4

กล่าวคือ ศาลอาญาระหว่างประเทศจะมีเขตอำนาจพิจารณาคดี ก็ต่อเมื่อศาลภายในของรัฐสมาชิกไม่สามารถที่จะฟ้องร้องดำเนินคดี (Unable to prosecute) หรือไม่เต็มใจที่จะฟ้องร้องดำเนินคดี (Unwilling to prosecute)5 ที่จะดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาได้เท่านั้น

พูดง่ายๆก็คือ ก่อนที่จะส่งเรื่องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณา รัฐภาคีจะต้องให้เหตุผลอธิบายได้ว่า รัฐไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะดำเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาได้ด้วยเหตุใด

หากประเทศไทยไม่ได้ให้สัตยาบันจะมีหนทางใดหรือไม่ที่จะเสนอเรื่องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศได้ ?

คำถามข้างต้นเป็นประเด็นที่น่าสนใจและหลายคนคงอยากทราบ อนุสัญญากรุงโรมเองมิได้ปิดประตูตายเสียทีเดียวสำหรับรัฐที่มิได้เป็นภาคี (Non-party) ที่จะเสนอเรื่องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณา

โดยข้อบทที่ 12 (3) ได้เปิดช่องให้รัฐที่มิได้เป็นภาคีอนุสัญญาสามารถทำ “คำประกาศ” (Declaration) ยอมรับอำนาจศาลได้ เฉพาะฐานความผิดที่เป็นปัญหาเท่านั้น6 โดยรัฐสามารถส่งมอบคำประกาศให้แก่นายทะเบียน เขตอำนาจของศาลตามมาตรา 12 (3) นี้มีลักษณะเป็น เฉพาะคดี (ad hoc)7 ไม่มีลักษณะถาวรเป็นการทั่วไป

กล่าวคือ เป็นกรณีที่รัฐประกาศยอมรับเขตอำนาจเฉพาะฐานความผิดใดความผิดหนึ่ง หรือเฉพาะเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลดังกล่าวมิได้มีผลทางกฎหมายที่จะให้อัยการสอบสวน สืบสวนโดยทันที8 อำนาจการสอบสวนเป็นดุลพินิจของอัยการและจะต้องผ่านการกลั่นกรองจากองค์คณะ ตุลาการพิจารณาเบื้องต้น (Pre-Trial Chamber) เสียก่อน

อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า การทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลนี้ ในทางกฎหมายระหว่างประเทศถือว่าเป็น “การกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ” (Unilateral act of state)9 มิใช่เป็นการทำสนธิสัญญา ดังนั้น การทำคำประกาศดังกล่าวจึงไม่อยู่ในข่ายของมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญเนื่องจากมาตรา 190 เป็นเรื่องของการทำหนังสือสัญญา (หรือสนธิสัญญา)

ที่ผ่านมาในอดีตมีบางประเทศที่ใช้ช่องทางนี้เพื่อให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ พิจารณาคดี เช่น ประเทศไอวอรี่ โคส เป็นประเทศแรกที่ทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาล เมื่อปีค.ศ. 2003(10) หรือกรณีของปาเลสไตน์ รัฐบาลของปาเลสไตน์ที่เรียกว่า Palestinian National Authority (PNA) ได้ทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาลเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2009

อย่างไรก็ตาม การทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาลก็ยังสร้างปัญหาข้อกฎหมายสำคัญอีก ประการหนึ่งก็คือ คำประกาศฝ่ายเดียงดังกล่าวจะมีผลย้อนหลังหรือไม่

กล่าวอีกนัยหนึ่ง รัฐจะทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาลให้พิจารณาฐานความผิดที่เกิดขึ้น ก่อนที่รัฐจะทำคำประกาศฝ่ายเดียวได้หรือไม่ ดังเช่นกรณีที่ปาเลสไตน์ได้ทำคำประกาศเมื่อปี ค.ศ. 2009 ให้ศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณาความผิดที่ได้กระทำขึ้นบนดินแดนของปาเลสไตน์ ตั้งแต่ค.ศ. 2002 เป็นต้นมา

ประเด็นนี้ยังคงเป็นประเด็นที่นักกฎหมายถกเถียงกันอยู่11 โดยนักกฎหมายส่วนใหญ่เห็นว่า หากเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่เป็นความผิดต่อเนื่องที่เรียกว่า continuing crime นั้น หากความผิดเกิดขึ้นก่อนที่รัฐจะทำคำประกาศแต่ความผิดดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด ลงยังคงดำเนินติดต่อกันมาเรื่อยจนกระทั้งถึงวันที่ทำคำประกาศนั้น นักกฎหมายเห็นว่า ศาลยังมีเขตอำนาจ

แต่หากเป็นความผิดที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงไปแล้วก่อนที่รัฐจะทำคำประกาศยัง เป็นประเด็นที่ขาดความชัดเจน แต่นักกฎหมายส่วนใหญ่เห็นว่า ศาลมีเขตอำนาจนับแต่วันที่ทำคำประกาศ


บทสรุป

ธรรมนูญกรุงโรมก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศจะมีผลผูกพันกับรัฐภาคีเมื่อรัฐ นั้นได้ให้สัตยาบันหรือรับรองหรือยอมรับ โดยจะมีผลบังคับกับรัฐดังกล่าวในวันแรกของเดือนถัดจากวันที่หกสิบหลังจากวัน ยื่นสัตยาบันสาร

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ธรรมนูญกรุงโรมไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลัง สำหรับสถานะของประเทศไทยในปัจจุบันยังมิได้เป็นสมาชิกแต่อย่างใดเนื่องจาก ไทยเพียงแค่ “ลงนาม” เท่านั้นแต่ยังมิได้ให้ “สัตยาบัน”

อย่างไรก็ดี ธรรมนูญกรุงโรมข้อที่ 12 (3) ก็เปิดช่องให้รัฐที่มิได้เป็นภาคีสามารถทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจ ศาลได้ซึ่งเขตอำนาจของศาลนั้นมีลักษณะเป็นเฉพาะคดี มิได้เป็นการยอมรับเขตอำนาจศาลเป็นการทั่วไป

____________________________

เชิงอรรถ

1 ข้อมูลจากอินเตอร์เนต ระบุว่า ประเทศไทยลงนามเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2000 โดยที่ยังมิได้ให้สัตยาบัน

2 โปรดดู ข้อมูลใน http://thaingo.org/web/2011/10/04/global-coalition-calls-on-thailand-to-join-the-international-criminal-court/ นอกจากนี้ โปรดอ่านคำสัมภาษณ์รองประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ นาย Hans-Peter Kaul ที่มีโอกาสมาประเทศไทยให้สัมภาษณ์ในประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลอาญาระหว่าง ประเทศกับประเทศไทยได้ใน http://www.bangkokpost.com/news/local/217418/icc-has-no-jurisdiction-over-crimes-on-thai-territory

3 โปรดดูข้อบทที่ 28ของอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 สถานะของอนุสัญญานี้มีสถานะเป็นกฎหมายประเพณีระหว่างประเทศ (Customary international law) ด้วย ฉะนั้น อนุสัญญานี้จึงมีผลผูกพันประเทศไทยแม้ว่าไทยจะมิได้เป็นภาคีอนุสัญญานี้ก็ ตาม

4 โปรดดูอารัมภบทวรรคที่ 10 และข้อที่ 1 ของธรรมนูญกรุงโรม

5 โปรดดูข้อที่ 17 ของธรรมนูญกรุงโรม

6 ปัจจุบัน ฐานความผิดที่ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจพิจารณามีอยู่ด้วยกัน 4 ฐานคือ อาชญากรรมอันเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมอันเป็นการรุกราน

7 Carsten Stahn (et al), The International Criminal Court’s Ad Hoc Jurisdiction Revisited, The American Journal of International Law, vol.99:421, 2005,p.422

8 Ibid,p. 423

9 Morten Bergsmo, 6 European Journal of Crime, Criminal Law and Criminal Justices, 1998, p.347 นอกจากนี้แล้ว ยังมีตัวอย่างของคำประกาศของปาเลสไตน์ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ด้วย โปรดดูใน http://www.icc-cpi.int/NR/rdonlyres/74EEE201-0FED-4481-95D4-C8071087102C/279777/20090122PalestinianDeclaration2.pdf

10 โปรดดูตัวอย่างของคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศของประเทศไอวอ รี่ โคส ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ใน http://www.icc-cpi.int/NR/rdonlyres/74EEE201-0FED-4481-95D4-C8071087102C/279844/ICDEENG.pdf

11 โปรดดูใน Yael Ronen, ICC Jurisdiction over Acts Committed in the Gaza Strip, Journal of International Criminal Justice, 8 (2010),p. 10

*******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:เอาจริงซะที!เพื่อไทยยื่นฟ้องICCฟันฆาตกร91ศพ

เบื้องหลังการอภิปราย

ที่มา การ์ตูนมะนาว



‘ความอยุติธรรมทางศีลธรรม’ และกรรมของ ‘อากง’

ที่มา ประชาไท

ในหมู่ชาวพุทธบ้านเรา เวลาเกิดปัญหาหรือเรื่องร้ายๆ ในชีวิตและสังคม ผู้คนมักจะพูดว่าเป็นเรื่องของ “กรรม” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทักษิณที่ต้องระหกระเหินไปอยู่ต่างประเทศก็บอกว่าเป็น เรื่องของกรรม อาจจะเป็นทั้งกรรมในชาติปัจจุบัน หรืออดีตชาติก็ว่ากันไป ความขัดแย้งแบ่งสีก็บอกเป็นกรรมของสังคม น้ำท่วมใหญ่ก็บอกเป็นกรรมที่มนุษย์ทำกับธรรมชาติ ฯลฯ

แน่นอนว่าเรื่องของ “อากง 20 ปี” ก็ไม่พ้นที่จะพูดกันว่าเป็นเรื่องของ “กรรม” เช่น อากงเองก็พูดถึงการติดคุก 20 ปี ของตนเอง (ขออนุญาตนำข้อความบนสเตตัสของ คุณอานนท์ นำภา มาเผยแพร่ต่อ) ดังข้างล่างนี้

ขณะที่เลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็บอกว่าที่ตนต้องแจ้งความ เพราะจำเป็นต้องเลือก “ความถูกต้อง” และกรณีนี้มันก็เป็นเรื่อง “กรรมใดใครก่อ”

บางคนอาจมองว่าเรื่องความเชื่อ หรือ “คำทางศาสนา” ไม่ควรนำมาเกี่ยวโยงกับเรื่องทางสังคมการเมืองเพราะมันมีความหมายเฉพาะ สำหรับใช้กับชีวิตทางศาสนามากกว่า แต่ถ้าเรามองตามข้อเท็จจริง “คำทางศาสนา” ไม่ได้ลอยอยู่ในอากาศ หากแต่ถูกหยิบมาใช้ในบริบททางสังคมการเมือง หรือถูกตีความรับใช้สภาพสังคมการเมืองในยุคสมัยต่างๆ มากบ้าง น้อยบ้างเสมอ ไม่เช่นนั้นความเชื่อหรือคำทางศาสนาอาจหายไปจากโลกแล้วก็ได้

โดยเฉพาะในสังคมไทย “คำทางศาสนา” เข้ามาป้วนเปี้ยนกับการเมืองแทบในทุกมิติ ตั้งแต่เรื่องดี ชั่วของตัวบุคคลทางการเมือง เรื่องน่าพึงประสงค์ไม่พึงประสงค์ของระบบการเมือง ไปจนถึงเรื่อง “ชะตากรรม” ของบ้านเมืองเป็นต้น ฉะนั้น การตั้งคำถาม หรือวิพากษ์การใช้คำทางศาสนาในทางสังคมการเมืองจึงมีความจำเป็นอยู่ไม่น้อย

กล่าวเฉพาะคำว่า “กรรม” ที่นิยมใช้กันในบ้านเรามักใช้ในความหมายประมาณนี้ เช่น

1) ใช้เจาะจงกับเรื่องราว หรือเหตุการณ์ร้ายๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตและสังคม เช่น มันเป็นกรรมของอากง เป็นเวรกรรมของแผ่นดิน เป็นกรรมของสังคมไทย ฯลฯ

2) ใช้อธิบายความเป็นไปของชีวิตในปัจจุบันและอนาคตว่าถูกกำหนดอย่างแน่นอนตายตัวโดย “กรรมเก่า”

3) ใช้อธิบายว่า มันยุติธรรมแล้วที่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น “กรรมใดใครก่อ”

4) ใช้ปลอบใจตัวเอง (และคนอื่น) ให้ยอมรับชะตากรรม หรือยอมจำนน เช่น “มันเป็นกรรมของเราเอง”

5) ใช้ปฏิเสธความรับผิดชอบทั้งของตนเอง เช่น อ้างว่า “กรรมใดใครก่อ” เพื่อปฏิเสธความรู้สึกผิดที่ตนเองไปแจ้งความ ทำใช้ชายแก่คนหนึ่งต้องติดคุก 20 ปี (ทั้งที่ถ้าเขามีความเข้าใจว่ากฎหมายไม่ยุติธรรม และข้อความนั้นก็เป็นเพียง “ข้อความ” ที่ปรากฏในโทรศัพท์มือถือส่วนตัวของเขาเท่านั้น เขาก็ย่อมแสดงความรับผิดชอบต่ออิสรภาพของคนอื่นได้ด้วยการไม่ไปแจ้งความ) และปฏิเสธที่จะเรียกร้องความรับผิดชอบจากคนอื่นที่กระทำผิดต่อตนเอง เช่น ลูกถูกรถชนตายก็ไม่เรียกร้องความรับผิดชอบทางกฎหมายจากคู่กรณีอย่างเต็มที่ นึกเสียว่าเป็นการ “ใช้เวรใช้กรรมที่เคยมีต่อกัน” จะได้จบๆ ไม่จองเวรจองกรรมกันอีกต่อไป

การใช้กรรมใน ความหมายดังกล่าวเป็นต้นนี้ ไม่น่าจะตรงกับที่พระพุทธเจ้าใช้ หากศึกษาจากคำสอนเรื่องกรรมในพระไตรปิฎก เราจะพบว่า การใช้คำสอนเรื่องกรรมมีการใช้ภายใต้หลักคิดสำคัญประมาณนี้ เช่น

1) ใช้ปฏิเสธระบบชนชั้น ที่ถือว่า ความประเสริฐไม่ประเสริฐของมนุษย์ถูกกำหนดเอาไว้แล้วอย่างตายตัวโดยชนชั้น ที่คนได้มาโดยกำเนิด เช่น คุณเป็นผู้ประเสริฐโดยชาติ (การเกิด) ถ้าคุณเกิดในวรรณะกษัตริย์ หรือวรรณะพราหมณ์ เป็นสามัญชนถ้าเกิดในในวรรณะแพศย์ และเป็นคนชั้นต่ำถ้าเกิดในวรรณะศูทร สถานะทางชนชั้นโดยการเกิดนี้ถูกกำหนดโดยการเกิดจากพระพรหมอีกที เช่น พราหมณ์เกิดจากปาก กษัตริย์เกิดจากแขน แพศย์เกิดจากสะดือ ศูทรเกิดจากเท้า ของพระพรหม จึงมีสถานะสูง-ต่ำลดหลั่นกันตามโครงสร้างทางร่างกาย (Organism) ของพระพรหม

พระพุทธเจ้าไม่เห็นด้วยกับความเชื่อนี้ จึงใช้เหตุผลโต้แย้ง (arguments) อย่างตรงไปตรงมา สรุปสาระสำคัญได้ 3 ประการ คือ (1) พระพรหมไม่มีจริงเพราะไม่มีใครเคยเห็นพระพรหม (2) คนทุกวรรณะต่างเกิดจากโยนีของมารดา (3) ระบบวรรณะเกิดจากวิวัฒนาการทางสังคม เริ่มจากสังคมก่อนสังคมการเมืองมาเป็นสังคมการเมือง และมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ทางสังคม มีการสร้างความเชื่อสร้างจารีตประเพณีขึ้นมากำกับความคงอยู่ของระบบวรรณะ

จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าอ้าง “ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์” หรือใช้เหตุผลแบบ “ประสบการณ์นิยม” (empiricism) เพื่อปฏิเสธระบบชนชั้น แล้วจึงเสนอว่า “ความประเสริฐไม่ประเสริฐ” หรือคุณค่าของคนขึ้นอยู่กับ “กรรม” หรือการกระทำของคนแต่ละคน

2) ใช้ “กรรม” เพื่อยืนยันความยุติธรรม ตามหลักคิดเรื่องกฎแห่งกรรมที่ว่า “ทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น” ความยุติธรรมตามความหมายนี้มีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ (1) ไม่ว่าใครก็ตามเมื่อกระผิดหรือถูกในสิ่งเดียวกัน ก็ย่อมผิดหรือถูกเสมอภาคกัน เช่น กษัตริย์ฆ่าคน ศูทรฆ่าคนก็ผิดศีลข้อ “ปาณาติบาต” เหมือนกัน เป็นต้น ความยุติธรรมในความหมายนี้เป็นการปฏิเสธ “ระบบอภิสิทธิชนทางศีลธรรม” ของระบบชั้นนั้น และถือว่ามนุษย์มี “ความเสมอภาคทางศีลธรรม” (2) การกระทำสิ่งที่ผิดน้อยย่อมได้รับโทษเบา ทำผิดมากย่อมได้รับโทษหนัก

หากพิจารณาตามความหมายของความยุติธรรม 2 ประการตามหลักคิดเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ดังกล่าว การออกกฎหมายที่กำหนดให้ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งมีอภิสิทธิ์เหนือเพื่อมนุษย์คน อื่น ย่อมเป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม การตัดสินลงโทษคนตามกฎหมายเช่นนั้น เช่น กรณีตัดสินจำคุก 10-20 ปี สำหรับ “กรรมเบา” หรือการกระทำทางศีลธรรมที่มีความผิดเบามาก อย่าง “กรรมทางวาจา” (วจีกรรม) ที่หมิ่นประมาทบุคคลอื่น จึงเป็นการตัดสินที่ไม่ยุติธรรมตามกฎแห่งกรรม หรือเป็นการตัดสินที่ “ไม่ยุติธรรมในทางศีลธรรม”

พึงตระหนักว่า เมื่อพระพุทธเจ้าใช้หลัก “กรรม” ปฏิเสธระบบวรรณะ” ย่อมมีความหมายสำคัญว่าระบบวรรณะไม่ใช่ระบบที่มีความยุติธรรมตามทัศนะของ พระองค์ หลักที่ยุติธรรมกว่าคือหลักกรรม ฉะนั้น สังคมที่มีความยุติธรรมกว่าสังคมระบบชนชั้น คือสังคมที่สร้างกติกาการอยู่ร่วมกันให้สอดคล้องกับความยุติธรรมตามกฎแห่ง กรรมทั้ง 2 ประการดังกล่าว

คำถาม ณ ที่นี้คือ ทำไมสังคมไทยที่อ้างว่าสังคมตนเองเป็นสังคมพุทธ และถึงขนาดบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ” จึงมีกฎหมาย เช่น ม.112 เป็นต้น ที่ขัดแย้งกับหลักความยุติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และมีการใช้กฎหมายนั้นลงโทษประชาชนอย่างขัดต่อ “หลักความยุติธรรมทางศีลธรรม” ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า สังคมนี้ควรเลิกประกาศว่าเป็น “สังคมพุทธ” หรือควรยกเลิกกฎหมายที่ขัดกับคำสอนของพุทธศาสนาดี!

3) ใช้ “กรรม” ปฏิเสธ “ลัทธิกรรมเก่า” (ปุพฺเพกตวาท) ที่เชื่อว่าความเป็นไปทุกอย่างของชีวิตในปัจจุบันและอนาคตถูกกำหนดเอาไว้ แล้วอย่างแน่นอนตายตัวโดย “กรรมเก่า” พระพุทธเจ้าถือว่าความหมายสำคัญของหลักกรรมอยู่ที่คนแต่ละคนมีเสรีภาพในการ เลือกกระทำ และเวลาปัจจุบันคือเวลาที่เราแต่ละคนมีอำนาจตัดสินใจเลือกมากที่สุดว่าจะทำ อะไร เช่น องคุลีมาลย์มีอำนาจตัดสินใจเลือกว่าจะฆ่าคนต่อไป หรือจะเลือกทางชีวิตแบบพระภิกษุ เป็นต้น ฉะนั้น การกระทำในปัจจุบันคือสิ่งสำคัญที่สุดที่กำหนดความเป็นไปในปัจจุบันและอนาคต ของชีวิต (และสังคม) ของเรา

จะเห็นว่าการยืนยันความสำคัญของ “กรรมปัจจุบัน” ย่อมสอดคล้องกับที่พระพุทธเจ้าอ้างเหตุผลเชิงประจักษ์ หรือ “ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้” เพื่อปฏิเสธระบบวรรณะ

ฉะนั้น ถ้าพระพุทธเจ้าปฏิเสธว่าพระพรหมไม่มีเพราะไม่มีใครเคยเห็น แต่กลับยืนยันว่าชีวิตปัจจุบันและอนาคตขึ้นอยู่กับ “กรรมเก่า” ที่ไม่มีใครมองเห็น ย่อมเป็นการยืนยันที่ขัดแย้งในตัวเอง ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงปฏิเสธ “ลัทธิกรรมเก่า” และยืนยืนความสำคัญของ “กรรมปัจจุบัน” ที่พิสูจน์ความเป็นเหตุเป็นผลได้ในเชิงประจักษ์

แต่การสอนเรื่องกรรมในยุคต่อมา รวมทั้งที่นิยมสอนกันมากในบ้านเราเช่นเรื่อง “แก้กรรม” เป็นการสอนตาม “ลัทธิกรรมเก่า” ที่พระพุทธเจ้าเคยปฏิเสธมาก่อน

4) ใช้กรรมเพื่อยืนยัน “ความรับผิดชอบ” โดย ปฏิเสธ “ลัทธิอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ลัทธิรอผลดลบันดาล” พระพุทธเจ้าเรียกตนเองว่าเป็น “กรรมวาที” คือผู้ยืนยันว่าการกระทำด้วยความเพียรของตนเองคือสิ่งที่ทำให้บรรลุความ สำเร็จ กรรมในความหมายนี้มีลักษณะ active คือลักษณะของความเป็น “ผู้กระทำ” เพื่อกำหนดการเปลี่ยนแปลงชีวิต (และสังคม) ให้ก้าวหน้าไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับลักษณะ passive คือความเป็น “ผู้ถูกกระทำ” หรือถูกกำหนดชะตากรรมโดยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (หรืออำนาจกรรมเก่า) ตามลัทธิรอผลดลบันดาล

ความเป็น “กรรมวาที” หรือความเป็นผู้ริเริ่มกระทำสิ่งที่ดีเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต (และสังคม) ให้ดีขึ้นแสดงถึง “ความรับผิดชอบ” ต่อชีวิต (และสังคม) นี่คือสาระสำคัญของคำสอนเรื่อง “กรรม” ในพุทธศาสนา แต่ในบ้านเรากลับอ้างคำสอนเรื่องกรรมเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบ มันจึงกลับตาลปัตรกับที่พระพุทธเจ้าสอน

ฉะนั้น ในกรณีของ “อากง” หากเรามีความรับผิดชอบ (หรือมีความเป็น “กรรมวาที” ตามแบบอย่างที่พระพุทธเจ้าเป็น) ความรับผิดชอบนั้นย่อมแสดงออกด้วยการคัดค้านการลงโทษที่อยุติธรรมแก่อากง ด้วยการเรียกร้องให้ยกเลิก ม.112 และยกเลิกกฎหมายใดๆ ก็ตาม ที่สนับสนุนความอยุติธรรมทางชนชั้นซึ่งขัดกับหลัก “ความยุติธรรมทางศีลธํรรม” ตามคำสอนเรื่องกรรมโดยพื้นฐาน

ปัญหาคือ เมื่อเรายืนยันว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมนี้เป็นชาวพุทธ และสังคมนี้เป็นสังคมประชาธิปไตย เราพร้อมที่จะเป็นชาวพุทธตามที่พระพุทธเจ้าสอน และพร้อมที่จะเปลี่ยนสังคมให้เป็นประชาธิปไตยอย่างอารยประเทศหรือยัง? หรือจะอยู่กันแบบนี้ ซาบซึ้งกับ “การหลอกตัวเอง” เช่นนี้ไปชั่วกัลปาวสาน!

เหตุใดกษัตริย์แห่งโมร็อกโกยังต้านทานกระแสธารแห่งการปฏิวัติอาหรับได้

ที่มา ประชาไท

บทความแปลจากบีบีซี วิเคราะห์ว่าเหตุใดสถาบันกษัตริย์ในโมร็อกโก ยังคงสามารถยืนหยัดต่อกระแสปฏิวัติที่ไหลอย่างเชี่ยวกรากอยู่ในตะวันออกกลาง ในขณะนี้ โดยผู้เขียนชี้ว่า การปฏิรูปที่ริเริ่มโดยกษัตริย์แบบครึ่งๆ กลางๆ นี่เอง ที่ทำให้ผู้ปกครองยังคงรักษาอำนาจนำในสังคมอยู่ได้

0000

ชนชั้นปกครองโมร็อกโกมั่นใจว่าตนเองมีความสามารถมากพอในการรับมือกระแสธาร แห่งการปฏิวัติที่ถาโถมไปทั่วโลกอาหรับได้ โดยการเสนอวิสัยทัศน์แห่งการเปลี่ยนแปลงที่นุ่มนวลและสันติกว่ามาก

หลังการเลือกตั้งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จะเป็นครั้งแรกที่สมเด็จโมฮัมเหม็ดที่หกทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี จากพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุด แทนที่จะทรงโปรดเกล้าฯเลือกใครก็ได้แล้วแต่พระประสงค์ ตามธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติมาตลอด

อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ออกมาเดินขบวนประท้วงบนท้องถนนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาหลาย คนกลับรู้สึกว่า การปฏิรูปของโมร็อกโกนี้ยังห่างไกลจากข้อเรียกร้องของพวกเขาที่ต้องการเห็น สถาบันพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นประชาธิปไตยมากนัก และได้เรียกร้องให้ประชาชนบอยคอตการเลือกตั้งดังกล่าว

ถ้าหากจำนวนผู้มาใช้สิทธิในการเลือกตั้งรัฐสภามีน้อย ความชอบธรรมของสมเด็จโมฮัมเหม็ดในการปฏิรูปประเทศก็จะลดน้อยลงมาด้วยเช่นกัน และอาจจะนำไปสู่ปัญหาในอนาคตด้วย

ในขณะที่โมร็อกโกเข้าใกล้สู่วันเลือกตั้งในวันที่ 25 กันยายน บรรยากาศเงียบสงบในกรุงราบัตถูกแทรกด้วยการเดินขบวนประท้วงเป็นครั้งคราวของ บรรดานักศึกษาที่ไม่มีงานทำ แต่ดูเหมือนว่าสถาบันกษัตริย์อันทรงพลังของโมร็อกโกและระบบที่เป็นฐานอำนาจ สถาบันนั้น ยังปราศจากซึ่งการท้าทายอำนาจที่รุนแรงแต่อย่างใดในขณะนี้


สัญลักษณ์แห่งอำนาจ

อายุอันยืนยาวคือพลังสำคัญแห่งสถาบันกษัตริย์โมร็อกโก ราชวงศ์อลาอุยครองราชย์มาตั้งแต่ปี 1664 และอ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากศาสดาโมฮัมหมัดอีกด้วย

“องค์พระมหากษัตริย์ทรงมีทุนทางศาสนาและการเมืองขนานใหญ่ ไม่ใช่แค่พระองค์เท่านั้น แต่หมายถึงทั้งสถาบันการเมืองทั้งหมดอีกด้วย” โมฮัมเหม็ด ดาดาอุยกล่าวให้สัมภาษณ์ เขาเป็นผู้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์และระบบอุปถัมภ์ภายในชน ชั้นปกครองของโมร็อกโก ที่ออกวางขายเมื่อเร็วๆ นี้

สมเด็จโมฮัมเหม็ดมีเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อมโหฬารเป็นอาวุธ พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ติดอยู่เต็มถนนและตามร้านค้า ทั่วแผ่นดินโมร็อกโก

พิธีกรรมเชิงสัญลักษณ์ต่างๆ เสริมพระราชอำนาจให้แก่พระองค์ด้วย ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณประจำปีที่ถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ โมร็อกโก บรรดาข้าราชการต่างโค้งคำนับพระองค์ท่านขณะเสด็จผ่านบนม้า

ประชาชนโมร็อกโก ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไม่รู้หนังสือ และอาศัยในชนบท “เชื่อว่าองค์พระมหากษัตริย์มีพระบารมีที่นำมาซึ่งพรได้ และพวกเขารู้สึกว่าพวกเขามีความผูกพันทางจิตใจกับพระองค์ท่าน” ดาดาอุย กล่าวกับบีบีซี

อย่างไรก็ตาม ทั้งที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบทางประเพณีเช่นนี้ สถาบันกษัตริย์ภายใต้พระราชาที่มีพระชนมายุ 48 พรรษาพระองค์นี้ได้เริ่มหันมาใช้ภาพลักษณ์ที่สมัยใหม่และหัวปฏิรูปมากขึ้น

พระราชบิดาของพระองค์ หรือสมเด็จฮัสซันที่สอง เป็นพระประมุขแห่งคณะปกครองอันโหดร้ายระหว่างปี 1961-1999 ผู้ต่อต้านต่างถูกทรมานและปราบปรามตามๆ กัน

ในปี 1965 นายพลโมฮัมเหม็ด อุฟเคียร์ ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทยในขณะนั้น เป็นผู้สั่งการการปราบปรามการเดินขบวนในเมืองคาซาบลังก้าจากเฮลิคอปเตอร์ และมีเรื่องเล่าว่าเขาใช้ปืนกลกราดยิงผู้ประท้วงจากเฮลิคอปเตอร์ด้วยตัวเอง อีกด้วย

แต่กระบวนการปฏิรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้เริ่มขึ้นในปีท้ายๆ ของรัชสมัยสมเด็จฮัสซัน และดำเนินต่อมาจนถึงพระประมุของค์ปัจจุบัน

ตัวอย่างของการปฏิรูปคือ กฏหมายครอบครัวที่ให้สิทธิสตรีมากขึ้น และคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงที่สอบสวนการใช้พระราชอำนาจไม่เป็นธรรมภายใต้ รัชสมัยของสมเด็จฮัสซัน อย่างไรก็ตาม ไม่มีการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดแต่อย่างใด


แหวกม่านแห่งการต้องห้าม

การลงจากอำนาจของผู้นำในตูนิเซียและอียิปต์ต้นปีที่ผ่านมาดูเหมือนจะจู่โจม ชนชั้นปกครองของโมร็อกโกโดยไม่ทันตั้งตัว ในขณะที่การปฏิรูปเริ่มเข้าระดับเกียร์ว่างพอดี

เมื่อขบวนการประท้วงในโมร็อกโกเริ่มก่อตัว ม่านแห่งการต้องห้ามก็เริ่มถูกแหวก

“นี่เป็นครั้งแรกในโมร็อกโกที่มีการวิจารณ์กษัตริย์อย่างเปิดเผย แล้วไม่โดนยิงทิ้ง” มาติ โมนจิบ นักประวัติศาสตร์การเมืองจากมหาวิทยาลัยกรุงราบัตกล่าว

ในทางตรงกันข้าม สถาบันกษัตริย์กลับรับมือด้วยการสัญญาที่จะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการรับรองสิทธิประชาชนและให้อำนาจรัฐสภามากยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้ได้รับการบรรจุในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เพิ่งผ่านประชามติเมื่อ เดือนกรกฎาคม

พรรคยุติธรรมและพัฒนาอิสลาม - พีเจดี (Islamist Justice and Development Party) อันเป็นพรรคหัวกลางและได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปในระยะหลังที่ผ่านมา ประกอบกับชัยชนะของกลุ่มนิยมอิสลามอื่นๆ ในภูมิภาค อาจจะชนะการเลือกตั้งและนำมาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้

แต่พรรคพีเจดีนี้ก็ใช่ว่าจะมีสิทธิชนะอย่างหมูๆ

เช่นเดียวกับพรรคเอนนาฮ์ดาในตูนิเซีย และพรรคยุติธรรมและพัฒนา -เอเคพี (Justice and Development Party) ในตุรกี พรรคพีเจดีวางตัวอยู่ในขบวนการร่วมสมัย โดยการผสมผสานอิสลามกับประชาธิปไตย

ดาดาอุยกล่าวว่า กลุ่มพรรคนิยมเจ้าและมีลักษณะที่ปราศจากอิทธิพลศาสนาต่างๆ ได้พยายามกำจัดพรรคพีเจดี และกลุ่มนิยมอิสลามก็ประสบกับความยากลำบากในการที่จะท้าทายอำนาจของพระมหา กษัตริย์ เพราะพระองค์มีฐานะเป็น “ศาสนูปถัมภก” หลายคนมองว่านี่เป็นอีกหนึ่งทุนทางอำนาจของพระราชสำนัก

“พีเจดีพยายามนำเสนอ ‘ทางเลือกที่สาม’ ในโมร็อกโกระหว่างการปฏิวัติกับความไม่แน่นอนของระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน” มุสตาฟา คัลฟี่ หัวหน้าฝ่ายนโยบายของพรรคพีเจดี กล่าว

“เราต้องการนำเสนอทางที่จะปฏิรูปประเทศ โดยหลีกเลี่ยงการสูญเสียความมั่นคงและความสามัคคีของชาติ แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องผลักดันประชาธิปไตยให้เดินหน้าในโมร็อกโก”

‘การปฏิวัติอันนุ่มนวล’

สารที่เน้นย้ำถึงการผลักดันประชาธิปไตยและปฏิรูปนี้ นับเป็นที่พึงพอใจสำหรับพันธมิตรของโมร็อกโกในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

“โลกอาหรับกำลังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง” วาฮิด คูจา สมาชิกอาวุโสของพรรคจิตวิญญาณแท้และความสมัยใหม่ - พีเอเอ็ม (Party of Authenticity and Modernity) กล่าว ซึ่งพรรคพีเอเอ็มนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2008 โดยอดีตรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยและเป็นพระสหายของพระมหากษัตริย์อีกด้วย

“เรายังไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร และอะไรจะเกิดขึ้นกับอียิปต์ ตูนิเซีย ซีเรีย หรือเยเมน แต่เราจะแสดงให้ตะวันตกเห็นว่าโมร็อกโกสามารถนำมาซึ่งการปฏิวัติที่นุ่มนวล และประชาธิปไตยที่แท้จริงได้”

ตามจริงแล้ว มีการวิเคราะห์ว่าการปฏิรูปที่รับรองมาในปีนี้ล้วนแล้วแต่เป็นผักชีโรยหน้า ทางการเมืองเท่านั้น และไม่มีการรับรองเลยว่าจะมีการนำไปปฏิบัติจริง

พระมหากษัตริย์ยังคงไว้ซึ่งพระราชอำนาจเด็ดขาด และถึงแม้รัฐสภาจะมีอำนาจมากขึ้น แต่พรรคการเมืองยังคงอ่อนแอ

“การเลือกตั้งในโมร็อกโกไม่เคยถึงขนาดชี้ชัดได้หรอก” โมนจิบกล่าว

“รู้ไหมว่าทำไม ก็เพราะว่าระบบเลือกตั้งถูกสร้างมาเพื่อไม่ให้มีใครชนะขาดได้เพราะฉะนั้นไม่ มีทางที่ใครจะได้ที่นั่งเกิน 20% ในสภา และนี่คือเหตุผลว่าทำไมสถาบันกษัตริย์ยังสามารถครอบงำการเมืองอยู่ได้”

เขาชี้ว่าการปู้ยี้ปู้ยำระบบพรรคการเมืองเช่นนี้เป็นเพียงยุทธวิธีคร่ำครึหนึ่งที่ถูกใช้เพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจเก่าเท่านั้น

ระหว่างการฉลองอิด ซึ่งเป็นวันสำคัญในศาสนาอิสลามที่ผ่านมา มีการแจกแกะให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และในช่วงไม่กี่เดือนผ่านมา ขบวนการประท้วงต้องถูกโจมตีป้ายสี จับกุม และข่มขู่โดยกลุ่มอันพาลมือมืดนิยมเจ้ามาตลอด

ในการเลือกตั้งปี 2007 มีผู้มาใช้สิทธิเพียง 37% และตัวเลขที่น้อยขนาดนั้นถูกมองว่าเป็นภัยโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือของคณะ ปกครองโมร็อกโก

โจ สตอร์ก รองผู้อำนวยการแผนกตะวันออกกลางและอัฟริกาเหนือ แห่งองค์การฮิวแมนไรท์ วอทช์ เปิดเผยว่า ผู้ที่เรียกร้องการบอยคอตเลือกตั้งถูกข่มขู่โดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยมีผู้ถูกเรียกไปให้ปากคำเกือบร้อยคนแล้วในเดือนที่ผ่านมา

นี่ยิ่งทำให้บรรดาผู้ประท้วงบางส่วนมีจิตใจมุ่งมั่นในการเรียกร้องความ เปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมเข้าไปอีก แต่ก็สามารถช่วยให้เกิดความแตกแยกในหมู่ผู้ประท้วงได้ โดยที่องค์พระมหากษัตริย์ที่ทรงได้รับสถานะอยู่เหนือการเมืองอันวุ่นวายในชี วีตประจำวัน ยังทรงอยู่ยั้งยืนยงต่อไป

ที่มา: แปลจาก Aidan Lewis. Why has Morocco’s king survived the Arab Spring?, BBC. 24/11/54.

เจ้าชาย “อากิชิโน” มีพระดำริให้กำหนด “อายุเกษียณ” สำหรับจักรพรรดิญี่ปุ่น

ที่มา ประชาไท

เจ้าชาย "อากิชิโน" พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิ ทรงเสนอให้กำหนดอายุเกษียณ เนื่องมาจากพรรษาที่มากขึ้นและพลานามัยที่อ่อนแอของพระจักรพรรดิ หลายฝ่ายมองว่า เป็นวิธีหนึ่งเพื่อรักษาสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ได้ในโลกสมัยใหม่

วันนี้ (30 พ.ย. 54) ผู้จัดการออนไลน์รายงาน จากเอเอฟพีว่า เจ้าฟ้าชายอากิชิโนแห่งญี่ปุ่นทรงพระดำริให้กำหนดอายุเกษียณสำหรับพระ จักรพรรดิ หลังจากพระราชบิดาทรงพระประชวร และต้องประทับรักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลเป็นเวลาหลายวัน

เจ้าชายอากิชิโน พระราชโอรสองค์รองในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและจักรพรรดินีมิจิโกะ ทรงมีพระดำรัสพระราชทานต่อผู้สื่อข่าว ก่อนจะถึงวันคล้ายวันประสูติครบ 46 พรรษา

“ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งจำเป็น” พระองค์ตรัสตอบ เมื่อผู้สื่อข่าวทูลถามเกี่ยวกับพระดำริที่ให้กำหนดอายุเกษียณสำหรับจักรพรรดิญี่ปุ่น

พระดำรัสของเจ้าชายอากิชิโนที่เผยแพร่ผ่านสื่อญี่ปุ่นในวันนี้ (30 พ.ย.) มีขึ้น หลังจากที่พระจักรพรรดิซึ่งมีพระชนมายุ 77 พรรษา ทรงหายจากอาการประชวร และกลับมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้อีกครั้ง

เจ้าชายตรัสว่า “คนเราเมื่อวัยล่วงเลยมาถึงระดับหนึ่ง ก็ยากที่จะทำหลายสิ่งหลายอย่างได้ ข้าพเจ้าคิดว่านั่นคือประเด็นสำคัญ” ที่สมควรให้มีการกษียณอายุสำหรับพระมหากษัตริย์ และทรงแนะให้ทุกฝ่ายหารือเรื่องนี้โดยละเอียด

ไม่บ่อยนักที่พระบรมวงศานุวงศ์ญี่ปุ่นจะมีพระดำรัสต่อสาธารณชนในเรื่อง การเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชวงศ์เอง

อย่างไรก็ดี พระดำรัสของเจ้าชายอากิชิโนนับว่าประจวบเหมาะกับช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นกำลัง แสวงหาวิธีปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดำรงอยู่ได้ในโลกยุคใหม่

เจ้าชายฮิซาฮิโตะ โอรสของเจ้าชายอากิชิโนในวัย 5 ชันษา ทรงเป็นทายาทชายเพียงพระองค์เดียวที่ประสูติในราชวงศ์อิมพีเรียลในรอบหลาย ทศวรรษ ซึ่งสร้างความหวั่นวิตกแก่กลุ่มอนุรักษ์นิยมที่ยึดถือการสืบสันตติวงศ์ผ่าน รัชทายาทที่เป็นชาย

หลังจากสถานะเทวราชาของจักรพรรดิสูญสิ้นไปพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่ 2 จักรพรรดิญี่ปุ่นจึงทรงมีบทบาทแต่ในเชิงพิธีการในฐานะที่ทรงเป็นประมุขรัฐ แม้กระนั้นชาวญี่ปุ่นก็ยังถวายความเคารพต่อสถาบันพระจักรพรรดิอย่างลึกซึ้ง เสมอมา

เดือนที่แล้ว จักรพรรดินีมิจิโกะทรงแสดงความกังวลเกี่ยวกับพระพลานามัยของพระจักรพรรดิ แต่ก็ตรัสด้วยว่า ทรงยืนเคียงข้างพระราชสวามีระหว่างที่คณะแพทย์ถวายคำแนะนำ

จักรพรรดิอากิฮิโตะทรงรับการผ่าตัดมะเร็งพระอัณฑะ เมื่อปี 2003 และปัจจุบันก็ยังทรงรับการรักษาอยู่เป็นระยะ

พระองค์มิได้เสด็จฯออกในพิธีต้อนรับกษัตริย์และราชินีแห่งภูฏานเมื่อกลาง เดือนที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ไม่ทรงร่วมงานเลี้ยงต้อนรับแขกของรัฐบาล นับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ เมื่อปี 1989

เครือข่ายพลเมืองเน็ต: กดไลค์ ไม่ใช่อาชญากรรม

ที่มา ประชาไท

เครือข่ายพลเมืองเน็ต ออกแถลงการณ์ กดไลค์ ไม่ใช่อาชญากรรม ชี้กระทรวงไอซีทีต้องทบทวนมาตรการจัดการ "เฟซบุ๊กหมิ่น" พร้อมข้อแนะนำต่อพลเมืองเน็ตเมื่อเจอหน้าเว็บที่ไม่ถูกใจ




แถลงการณ์เครือข่ายพลเมืองเน็ต:
กดไลค์ ไม่ใช่อาชญากรรม กระทรวงไอซีทีต้องทบทวนมาตรการจัดการ
"เฟซบุ๊กหมิ่น" และ ข้อแนะนำต่อพลเมืองเน็ตเมื่อเจอหน้าเว็บที่ไม่ถูกใจ

จากกรณี น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้กล่าว เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 ว่าการกดถูกใจ (Like) หรือแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊ก ถือเป็นการเผยแพร่เนื้อหาทางอ้อม อาจต้องรับผิดเช่นเดียวกับผู้เขียน และกล่าวด้วยว่า ทางกระทรวงกำลัง "ขอความร่วมมือ" ไปยังเฟซบุ๊กและยูทูบ เพื่อปิด "เพจหมิ่น" "วิดีโอหมิ่น" และสืบหาตัวผู้เขียนเนื้อหา

นอกจากนี้ ต่อมาในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 น.ส. มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังได้เสนอให้ปิดเฟซบุ๊กและยูทูบทั้งเว็บไซต์ หากกระทรวงไอซีทีไม่สามารถ จัดการไม่ให้มีเนื้อหาพาดพิงสถาบันกษัตริย์ในเว็บไซต์ดังกล่าวได้

ท่าทีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีและรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ มีปัญหาต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ใช้เน็ตหลายประการ ดังนี้

1. กดไลค์ ไม่ใช่อาชญากรรม
====================

1.1 รัฐธรรมนูญไทยรับรองสิทธิของประชาชนในการแสดงออกถึงความคิดความรู้สึก

ข้อความที่อาจ "หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย" พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อาจถูกตัดสินโดยศาลว่าผิดตามมาตรา 112 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา
แต่การแสดงออกถึงความรู้สึกต่อข้อความดังกล่าว ไม่ผิดกฎหมายใดๆ พลเมืองไทยมีสิทธิที่จะแสดงออกถึงการชอบ ไม่ชอบ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยทุกประการ


1.2 อินเทอร์เน็ตคือการลิงก์ รัฐต้องไม่เอาผิดการแบ่งปันลิงก์

ในประเทศที่กฎหมายปกป้องสิทธิพลเมือง เช่น แคนาดา ศาลได้พิพากษาว่า การแบ่งปันลิงก์ไม่นับเป็นการสร้างหรือเผยแพร่เนื้อหาและ ไม่ต้องถูกระวางโทษ เพราะเนื้อหาในลิงก์อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอโดยผู้แบ่งปัน ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้แบ่งปันลิงก์จึงได้รับการปกป้องออกจากความรับผิด

ในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายตีความว่าการแบ่งปันลิงก์คือการเผยแพร่ข้อมูล และต้องรับผิด ซึ่งสมควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

การทำลิงก์ ส่งลิงก์ และเผยแพร่ลิงก์ เป็นหัวใจสำคัญของอินเทอร์เน็ต การเชื่อมโยงในเครือข่ายจะเกิดขึ้นไม่ได้หาก ไม่มีลิงก์ การทำให้การแบ่งปันลิงก์เป็นอาชญากรรม จึงเป็นการขัดขวางหลักการ พื้นฐานของอินเทอร์เน็ต และกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ


1.3 เครือข่ายสังคมออนไลน์ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ ผู้ใช้ไม่สามารถล่วงรู้และควบคุมการใช้งานได้ทั้งหมด

เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก มีซอฟต์แวร์ที่ทำการคัดเลือกเนื้อหาและลิงก์ เพื่อแสดงในหน้าเว็บกลาง (วอลล์: wall) และหน้าส่วนตัว (โพรไฟล์: profile) โดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอนุมัติหรือรับรู้ อีกทั้งการคัดเลือก ดังกล่าวพิจารณาจากองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งผู้ใช้ไม่สามารถควบคุมวิธีได้ โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กจะทราบดีว่า ซอฟต์แวร์ของเฟซบุ๊กนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา

การระวางโทษกับการกดถูกใจ แสดงความเห็น หรือการกระทำอื่นใด ซึ่งผู้ใช้ไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าจะทำให้เกิดการเผยแพร่ต่อ หรือไม่ จึงขัดกับธรรมชาติของระบบ ทำให้ผู้ใช้ตกอยู่ในความกลัว และไม่สามารถใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้อย่าง ปกติ

2. รัฐไทยควรจัดการอย่างไร เมื่อเจอหน้าเฟซบุ๊กหรือคลิปวิดีโอ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม
===========================================================

2.1 ตระหนักถึงราคาที่สาธารณะต้องจ่ายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด สำหรับความพยายามที่ไม่สามารถสำเร็จได้

ไม่มีการปิดกั้นแบบใดที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า แม้รัฐบาลไทยจะลงทุน ระดับ The Great Firewall ของประเทศจีน ซึ่งเริ่มต้นด้วยงบประมาณราว 24,000 ล้านบาท ก็ไม่สามารถปิดกั้นให้เนื้อหาใด ๆ ให้หายไปจากอินเทอร์เน็ตได้ ในขณะเดียวกัน การกีดขวางการจราจรอินเทอร์เน็ตยังกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและนวัตกรรม อีกด้วย


2.2 ต้องใช้วิธีตามกฎหมาย หยุดการ "ขอความร่วมมือ" อย่างไม่เป็นทางการจากผู้ให้บริการ

วัฒนธรรมการ "ขอความร่วมมือ" อย่างไม่เป็นทางการ ส่งผลเสียในทางปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน เนื่อง จากหลักฐานการขอความร่วมมือและข้อมูลที่ได้ จะไม่ถูกจัดเก็บในสารบบของ ราชการ ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิ เช่น สิทธิตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อขอข้อมูลเพื่อตรวจสอบการทำงาน
ทำให้การพิทักษ์สิทธิของประชาชนเป็นไปได้ยาก และเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล


2.3 หากรัฐยืนยันว่าจำเป็นต้องปิดเว็บไซต์หรือข้อความที่ "ไม่เหมาะสม" การกระทำดังกล่าวควรเป็นไปโดยไม่สร้างภาระความรับผิดที่เกิน สมควรให้กับตัวกลางหรือผู้ให้บริการ

เครือข่ายพลเมืองเน็ตขอเสนอข้อปฏิบัติในภาพรวมดังนี้

  • แยกชนิดผู้ให้บริการและผู้ดูแล ออกเป็นส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาและไม่เกี่ยวกับเนื้อหา
  • กำหนดให้ผู้ให้บริการและผู้ดูแลที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา ("ท่อข้อมูล") ไม่ต้องมีความรับผิด
  • กำหนดระดับชั้นของผู้ให้บริการและผู้ดูแลที่เกี่ยวกับเนื้อหา ตามความใกล้กับเนื้อหา
  • จำกัดขนาดของผลกระทบต่อผู้ไม่เกี่ยวข้องให้เล็กที่สุด ในการส่งหนังสือ เพื่อให้ระงับการเข้าถึงเนื้อหาชั่วคราว ควรแจ้งไปที่ผู้ให้บริการหรือผู้ดูแล ในระดับที่ใกล้กับเนื้อหาที่สุด ก่อนจะไล่ไปสู่ผู้ให้บริการหรือผู้ดูแล ระดับที่ห่างออกไป เนื่องจากผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลระดับที่ใกล้เนื้อหาที่ สุดจะมีความสามารถในการจัดการเนื้อหาได้ง่ายกว่า และผลจากการกระทำมีโอกาส น้อยกว่าที่จะกระทบผู้ใช้บริการรายอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • ต้องถือว่าการระงับการเข้าถึงเป็นมาตรการบรรเทาความเสียหาย ในลักษณะการ คุ้มครองชั่วคราว คำสั่งปิดกั้นจะมีได้ต่อเมื่อมีการแจ้งความหรือฟ้องคดี ระยะเวลาการปิดกั้น ต้องมีวันสิ้นสุด (สามารถขยายได้ อย่างมีขอบเขต)
  • ในการระงับการเข้าถึงเนื้อหา ผู้ให้บริการต้องแสดงหมายเลขคำสั่งที่ชัดเจนบนหน้าเว็บ เพื่อให้สาธารณะตรวจสอบได้
  • การปิดกั้นต้องสิ้นสุดทันทีเมื่อเจ้าหน้าที่ไม่ส่งฟ้อง หรือศาลยกฟ้อง หรือคดีสิ้นสุดโดยศาลพิพากษาว่าเนื้อหาไม่ผิดกฎหมาย หลังจาก นั้นรายละเอียดของคำสั่งทั้งหมดต้องเผยแพร่สู่สาธารณะ

3. พลเมืองเน็ตควรจัดการอย่างไร เมื่อเจอหน้าเฟซบุ๊กหรือคลิปวิดีโอ
ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม

==============================================================

3.1 พิจารณาว่า เนื้อหาดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอย่างแท้จริงหรือไม่

ควรไตร่ตรองว่าเนื้อหาดังกล่าวเข้าตามเกณฑ์ในดังต่อไปนี้
ก) การวิพากษ์วิจารณ์ (criticism)
ข) การแสดงความดูหมิ่น เกลียดชัง ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ลดค่าความเป็นมนุษย์ (hate speech)
ค) การยุยงให้ใช้ความรุนแรงหรือทำร้ายร่างกาย (fighting speech)
ง) ข้อมูลส่วนบุคคลที่เมื่อเปิดเผยแล้วอาจเกิดอันตรายต่อบุคคลดังกล่าว (sensitive personal data)

ข้อความในข้อ (ค) และ (ง) เท่านั้น ที่อาจจะสามารถทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินได้
และจำเป็นต้องจัดการอย่างทันท่วงที ส่วนข้อความในข้อ (ข) แม้เป็นการละเมิดสิทธิเช่นกัน แต่ก็มีวิธีอื่นในการจัดการได้ โดยไม่จำเป็นต้องระงับการเข้าถึง

พลเมืองเน็ตควรตระหนักว่า อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่สำหรับความรู้และความ คิดเห็นอันหลากหลาย อินเทอร์เน็ตมีทุกสิ่งที่ใครคนหนึ่งเกลียด การปิดสิ่ง ที่คนกลุ่มหนึ่งทนไม่ได้ จะนำไปสู่การปิดทุกอย่างในอินเทอร์เน็ต วิธีที่ เหมาะสมกับความเป็นจริงที่สุด เมื่อเจอสิ่งที่คุณไม่ชอบในเน็ต คือ อดทนกับมัน


3.2 รายงานเนื้อหาที่เห็นว่าไม่เหมาะสม ไปยังผู้ให้บริการ ด้วยเหตุผลที่ชัดเจน

เครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ รวมถึงเฟซบุ๊กและยูทูบ ใช้แนวคิด "notice and takedown" ซึ่งหมายถึง การเปิดให้สร้างเนื้อหาอย่างเสรี แต่หากมีรายงานการละเมิดสิทธิ ผู้ให้บริการก็จะพิจารณาลบเนื้อหาดังกล่าว

การรายงานการละเมิดจึงควรเป็นไปด้วยความรับผิดชอบ รายงานให้ตรงหรือใกล้ เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด และไม่พยายามปั่นระบบรายงาน เพื่อลดภาระแก่ ผู้ให้บริการและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น

หากท่านต้องการรายงานว่าหน้าเฟซบุ๊กใด "หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" เนื่องจากเฟซบุ๊กไม่มีเหตุผลดังกล่าวให้เลือก
ขอแนะนำให้เลือกเหตุผลที่ใกล้เคียงที่สุดคือ "มันก่อกวนเพื่อนของฉัน: It harrasses my friend" คือเป็นการหมิ่นประมาทบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวผู้รายงาน

การระดมคนเพื่อรายงานซ้ำๆ อาจทำให้ผู้ให้บริการไม่สามารถตอบสนองต่อ รายงานกรณีอื่น ๆ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความไม่ปลอดภัยในชีวิตของผู้อื่นได้อย่างทันท่วง ที (เทียบได้กับกรณีคนโทรไปป่วน 191)

อินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทางสังคมที่เราทุกคนอยู่ ร่วมกัน ทั้งภาครัฐ ผู้ให้บริการ และพลเมืองเน็ตจะต้องมีบทบาทร่วมกันในการรักษาพื้นที่นี้เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ บนพื้นฐานของการรักษาสิทธิพลเมืองและปกป้องสิทธิมนุษยชน

เครือข่ายพลเมืองเน็ต
30 พฤศจิกายน 2554
contact@thainetizen.org

---------------------------------------------------------------------

ภาคผนวก

นโยบายการรายงานการละเมิดของเฟซบุ๊กมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความ รู้สึกปลอดภัย โดยจะดำเนินการกับกรณีการคุกคามความเป็นส่วนตัว ความรุนแรง และถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง (hate speech) ซึ่งครอบคลุมการแบ่งแยกบุคคลตาม ชาติพันธุ์ เพศสภาพ ความพิการ และศาสนา

บางส่วนจากมาตรฐานชุมชนของเฟซบุ๊ก

คัดลอกจาก https://www.facebook.com/communitystandards

เราประสงค์ให้สมาชิกของเรารู้สึกถึงความปลอดภัยเมื่ออยู่ในไซต์ การคุกคามที่เชื่อได้ว่าเป็นอันตรายต่อผู้อื่นจะถูกลบ เราอาจต้องถอดการสนับสนุนสำหรับองค์กรที่ก่อให้เกิดความรุนแรงนั้นออกด้วย เช่นกัน

ในฐานะที่เป็นชุมชน เราให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเคารพซึ่งกันและกัน รวมทั้งให้ความสำคัญกับรายงานเกี่ยวกับการล่วงละเมิดอย่างจริงจัง เราดำเนินการเมื่อมีการคุกคามความเป็นส่วนตัวของบุคคล หรือบุคคลนั้นได้รับการติดต่อโดยไม่พึงประสงค์อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเราสนับสนุนให้คุณสร้างความสัมพันธ์อันดีใหม่ๆ โปรดพึงระลึกว่าการติดต่อบุคคลแปลกหน้า หรือบุคคลที่คุณไม่เคยพบหน้ามาก่อนอาจถือได้ว่าเป็นการล่วงละเมิดอย่างหนึ่ง

Facebook ไม่อนุญาตให้ใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง โปรดเคารพซึ่งกันและกันเมื่อคุณติดต่อสื่อสารผ่าน Facebook แม้ว่าเราสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น, สถาบัน องค์กร, กิจกรรม และการฝึกปฏิบัติต่างๆ แต่การแบ่งแยกบุคคลตามเชื้อชาติ, เผ่าพันธุ์, ถิ่นที่ถือสัญชาติ, ศาสนา, เพศ, เพศสภาพ, รสนิยมทางเพศ, ความทุพพลภาพ หรือโรคภัย ถือเป็นการละเมิดเงื่อนไขของเราอย่างร้ายแรง

เนื่องจากชุมชนของเรามีความหลากหลาย อาจมีบางอย่างที่คุณไม่เห็นด้วยหรือเป็นการรบกวนคุณ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะลบหรือบล็อคได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีการควบคุมส่วนบุคคลในสิ่งที่คุณเห็น เช่น คุณสามารถซ่อน หรือตัดการเชื่อมต่อโดยไม่เปิดเผยกับบุคคล เพจ หรือแอพพลิเคชั่นที่เป็นเหตุให้คุณไม่พึงพอใจได้

อดีตผู้นำไอวอรีโคสต์ถูกจับและดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ

ที่มา ประชาไท

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 อดีตประธานาธิบดีไอวอรีโคสต์ นายโลรองต์ บากโบ (Laurent Gbagbo) กลายเป็นอดีตผู้นำประเทศคนแรกที่ถูกจับตัวส่งไปดำเนินคดีที่ศาลอาญาระหว่าง ประเทศ ณ กรุงเฮก เขาถูกจับตัวและกักบริเวณไว้ในบ้านตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา แม้ว่าไอวอรีโคสต์จะยังไม่ให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม

ข้อกล่าวหาต่อเขาประกอบด้วยเรื่องอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม โดยพนักงานอัยการของศาลระบุว่ามีประชาชนอย่างน้อย 3,000 คนเสียชีวิต 72 คนหายตัวไป และอีก 520 คนที่ถูกจับกุมและควบคุมตัวโดยพลการ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2553 ที่มีการเลือกตั้งทั่วไป

แม้ว่านายบากโบจะแพ้การเลือกตั้งดังกล่าว แต่เขากลับไม่ยอมลงจากอำนาจ เป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงที่ทำให้คนเสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งสูญหายจำนวนมาก

นายบากโบนับเป็นอดีตผู้นำประเทศคนแรกที่ถูกหมายจับของศาลอาญาระหว่าง ประเทศที่ถูกจับกุมตัวเพื่อมาดำเนินคดี ก่อนหน้านี้ศาลก็เคยออกหมายจับประธานาธิบดีโอมาร์ อัล บาเชียร์ (Omar al-Bashir) ประธานาธิบดีของซูดาน และนายโมฮัมมา กัดดาฟี (Moammar Gadhafi) อดีตผู้นำประเทศลิเบียในข้อหาที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่คนแรกยังจับตัวไม่ได้ ส่วนคนที่สองเสียชีวิตไปก่อนจะถูกนำตัวขึ้นสู่ศาล

ที่น่าสนใจก็คือ เช่นเดียวกับประเทศไทย ไอวอรีโคสต์ได้ลงนามในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศในปี 2541 (Rome Statute of the International Criminal Court) แต่ที่ผ่านมาทั้งสองประเทศยังไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองธรรมนูญดังกล่าว

แต่ที่ต่างจากประเทศไทยคือ ในปี 2546 รัฐบาลไอวอรีโคสต์ได้ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ทั้งนี้โดยเป็นไปตามมาตรา 12(3) ของธรรมนูญกรุงโรม* ทำให้เกิดความหวังในขณะนั้นว่าจะมีการให้สัตยาบัน แต่รัฐบาลไอวอรีโคสต์ก็ยังไม่ให้สัตยาบันเสียที

แต่ผลจากการประกาศรับรองเขตอำนาจศาลของไอวอรีโคสต์ เป็นเหตุให้มีการฟ้องคดีต่ออดีตประธานาธิบดีกาโบในครั้งนี้ และเป็นเหตุนำไปสู่การออกหมายจับและมีการส่งตัวเพื่อเข้ารับการไต่สวนที่ กรุงเฮก ทั้ง ๆ ที่กำลังจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในอีกหนึ่งสัปดาห์ข้างหน้านี้เอง

ในกรณีของประเทศไทย หากต้องการให้ผู้นำซึ่งรับผิดชอบต่อการสังหารประชาชนในการปราบปรามการชุมนุม เมื่อปี 2553 ไปดำเนินคดีที่ศาลอาญาระหว่างประเทศที่กรุงเฮก แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่ให้สัตยาบันรับรองธรรมนูญกรุงโรม แต่ถ้ารัฐบาลไทยประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลตามมาตรา 12(3) ของกรุงโรม ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะใช้กลไกศาลอาญาระหว่างประเทศจับกุมตัวและดำเนินคดีต่อ อดีตผู้นำประเทศที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ดังกล่าวได้

*มาตรา 12 ของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ระบุถึงเงื่อนไขเบื้องต้นในการใช้เขตอำนาจศาลดังนี้

ข้อ 3 ในกรณีที่รัฐใด ๆ ไม่ได้เป็นภาคีต่อธรรมนูญกรุงโรมตามข้อกำหนดในย่อหน้า 2 รัฐดังกล่าวก็อาจยอมรับการปฏิบัติตามเขตอำนาจศาลของศาลอาญาระหว่างประเทศตาม ความผิดที่มีขึ้นได้ ทั้งนี้โดยการแจ้งความจำนงต่อนายทะเบียนของศาล...

‘อานันท์’ รับ กฎหมายหมิ่นฯ รุนแรงไป เสนอแก้กระบวนการฟ้องร้องและบทลงโทษ

ที่มา ประชาไท

เปิดตัวหนังสือ“King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work” ที่สมาคมนักข่าวตปท. อานันท์ ปันยารชุน ยอมรับ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีปัญหาการใช้ที่รุนแรงเกินไป แนะควรแก้ไขที่กระบวนการฟ้องร้องและบทลงโทษให้เหมาะสม

เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2554 ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย มีการเปิดตัวหนังสือชีวประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉบับภาษาอังกฤษ โดยสำนักพิมพ์ Editions Didier Millet ชื่อ “King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work” โดยมีอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯ เป็นที่ปรึกษากองบรรณาธิการ ซึ่งในงานดังกล่าวได้รับความสนใจแก่ชาวต่างชาติและผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เป็นอย่างมาก

อานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากองบรรณาธิการหนังสือเล่มนี้ กล่าวว่า งานเขียนซึ่งมีความยาวกว่า 500 หน้านี้ เป็นการรวบรวมบทความและข้อเท็จจริงที่ผ่านการถกเถียงระหว่างผู้เขียนที่หลาก หลายโดยประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญไทยและต่างประเทศ โดยเขาหวังว่าจะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นอิสระ เป็นกลางและรอบด้านแก่ผู้อ่านมากที่สุด

หนังสือดังกล่าวยังได้รวบรวมประเด็นอันเป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน เช่น กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และการสืบรัชทายาทด้วย

ธีรวัต ณ ป้อมเพชร อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในคณะกรรมการที่ปรึกษากองบรรณาธิการ กล่าวในงานแถลงข่าวว่า หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมในช่วงการปกครองสมัยรัชกาลที่ 9 โดยตั้งใจให้เป็นคล้ายหนังสืออ้างอิงเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์ของรัชกาลที่ 9 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านชาวต่างชาติที่ต้องการเข้าใจประเทศไทยดีขึ้น

ทั้งนี้ ในช่วงท้ายของงาน ผู้สื่อข่าวถามว่า อานันท์เห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้สอดคล้อง กับหลักสิทธิมนุษยชนสากล เนื่องจากหนังสือดังกล่าวได้ระบุถึงปัญหาของกฎหมายอาญาม. 112 ด้วย ซึ่งอดีตนายกฯ ได้ตอบว่า แท้จริงแล้วกฎหมายนี้ต้องพิจารณาในบริบทของประเทศไทย ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์ไทยกับประชาชนเป็นเอกลักษณ์จากที่ อื่นๆ ในโลก อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่า การบังคับใช้ของกฎหมายนี้รุนแรงเกินไปโดยเฉพาะในแง่ของการฟ้องร้องที่เปิด โอกาสให้ใครก็ได้สามารถกล่าวโทษ ทั้งนี้ เขาเสนอแนะว่า อาจมีการตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่สั่งฟ้องโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้กฎหมายดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง รวมถึงพิจารณาลดบทลงโทษให้ผ่อนคลายลงกว่าเดิมด้วย

ผู้สื่อข่าวจากนิตยสารฟอร์บส์ ได้ถามอานันท์ว่า คิดว่ากรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่น คดี ’อากง’ หรือคดี ‘โจ กอร์ดอน’ จะทำให้ความรับรู้ของต่างชาติเกี่ยวกับสถาบันไปในทางลบ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่หนังสือเล่มนี้ได้พยายามนำเสนอหรือไม่ ซึ่งเขาได้ตอบว่าไม่ได้สนใจมากนักว่าสื่อต่างชาติจะมองอย่างไร เขาเพียงต้องการให้หนังสือเล่มนี้นำเสนอข้อมูลที่เป็นกลาง และให้คนอ่านได้ตัดสินด้วยตัวเอง

นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ ได้ตั้งคำถามในงานแถลงข่าวว่า จริงหรือไม่ที่หนังสือเล่มนี้ตั้งใจพิมพ์ออกมาเพื่อต้านกับหนังสือต้องห้าม “The King Never Smiles” ของพอล แฮนด์ลีย์ ซึ่งเป็นชีวประวัติของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งอานันท์ได้ตอบว่า หนังสือเล่มนี้มิได้มีวาระแอบแฝงใดๆ เพียงแต่เป็นการผลิตเนื้อหาที่น่าสนใจและรอบด้านเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เพิ่มขึ้นให้กับสาธารณะเท่านั้น

เฟซบุ๊กเผย ภาพดาวเทียม ญี่ปุ่นก่อน-หลังสึนามิ เป็นข่าวที่ถูกแชร์มากที่สุดในรอบปี

ที่มา ประชาไท

30 พ.ย. เฟซบุ๊กเผย รายชื่อ 40 ข่าวที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กแชร์มากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา อันดับแรกคือภาพข่าวจากนิวยอร์กไทมส์ ซึ่งเปรียบเทียบพื้นที่ก่อนและหลังประสบภัยสึนามิในญี่ปุ่น ขณะที่อันดับสุดท้ายคือ รายงานเรื่องสิทธิบัตรของสตีฟ จ็อบส์ จากนิวยอร์กไทมส์เช่นกัน

สำหรับ 40 อันดับข่าวที่ผู้เล่นเฟซบุ๊กแชร์มากที่สุดมีดังนี้

1. Satellite Photos of Japan, Before and After the Quake and Tsunami (New York Times)

2. What teachers really want to tell parents (CNN)

3.No, your zodiac sign hasn't changed (CNN)

4. Parents, don't dress your girls like tramps (CNN)

5. (video) - Father Daughter Dance Medley (Yahoo)

6. At funeral, dog mourns the death of Navy SEAL killed in Afghanistan (Yahoo)

7. You'll freak when you see the new Facebook (CNN)

8. Dog in Japan stays by the side of ailing friend in the rubble (Yahoo)

9. Giant crocodile captured alive in Philippines (Yahoo)

10. New Zodiac Sign Dates: Ophiuchus The 13th Sign? (The Huffington Post)

11. Parents keep child’s gender under wraps (Yahoo)

12. How to Talk to Little Girls (The Huffington Post)

13. Stop Coddling the Super-Rich (New York Times)

14.Why Chinese Mothers Are Superior (Wall Street Journal)

15. (video) - Twin Baby Boys Have A Conversation! (Yahoo)

16. Man robs bank to get medical care in jail (Yahoo)

17. Why You're Not Married (The Huffington Post)

18. A Sister’s Eulogy for Steve Jobs (New York Times)

19. Ryan Dunn Dead: 'Jackass' Star Dies In Car Crash (The Huffington Post)

20. Scientists warn California could be struck by winter ‘superstorm’ (Yahoo)

21. Notes From a Dragon Mom (New York Times)

22. A Message to Women From a Man: You Are Not "Crazy" (The Huffington Post)

23. Obama’s and Bush’s effects on the deficit in one graph (Washington Post)

24. Penn State, my final loss of faith (Washington Post)

25. Golden-Voiced Homeless Man Captivates Internet (Yahoo)

26. The most typical face on the planet (Yahoo)

27. Widespread destruction from Japan earthquake, tsunamis (CNN)

28. Permissive parents: Curb your brats (CNN)

29. A father's day wish: Dads, wake the hell up! (CNN)

30. (video) - Laughing Baby Loves Ripping Paper! (Yahoo)

31. Epic Cover Letter: How To Get Hired For Your Dream Job (PICTURE) (The Huffington Post)

32. New Zodiac sign dates: Don't switch horoscopes yet (Washington Post)

33. Things Babies Born in 2011 Will Never Know (Yahoo)

34. The Psychology of Revenge: Why We Should Stop Celebrating Osama Bin Laden's Death (The Huffington Post)

35. (photo gallery) - ‘Where Children Sleep’ (New York Times)

36. Quake moved Japan coast 8 feet, shifted Earth's axis (CNN)

37. Steve Jobs, Apple founder, dies (CNN)

38. China's latest craze: dyeing pets to look like other wild animals (CNN)

39. Grant Hill’s Response to Jalen Rose (New York Times)

40. Steve Jobs’s Patents (New York Times)

มติกกต.4-1ฟันจตุพรพ้นส.ส.เหตุไม่ไปเลือกตั้งในวันติดคุก

ที่มา ประชาไท

กกต.ลงมติ 4 ต่อ 1 ชี้จตุพรขาดคุณสมบัติเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง ส่งผลให้ขาดสมาชิกภาพ ส.ส. เนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 3 ก.ค. เนื่องจากถูกขังในเรือนจำ
มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (29 พ.ย.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. เป็นประธานการประชุม มีการพิจารณากรณีคุณสมบัติของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ว่า การขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ตาม พ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 20(3) จะส่งผลให้สมาชิกภาพของความเป็น ส.ส. สิ้นสุดลงตามมาตรา 106 หรือไม่จากกรณีที่นายจตุพรไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำนั้น

นายสมชาติ เจศรีชัย รองเลขาธิการ กกต. ในฐานะรักษาการเลขาธิการ กกต. เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุม กกต.ได้มีมติ 4 ต่อ 1 เห็นว่า นายจตุพรขาดจากสมาชิกภาพความเป็น ส.ส. ตามมาตรา 106(4) และ (5) จึงสมควรที่ส่งเรื่องไปให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยความสิ้นสุดลงของสมาชิกภาพต่อไป

ด้านนางสดศรี สัตยธรรม กกต.เปิดเผยว่า เป็น กกต.เสียงข้างน้อยที่เห็นว่าไม่ต้องส่งศาล เพราะเห็นว่านายจตุพรจะเข้าลักษณะตามมาตรา 106 ถ้าจะนำเอากฎหมายของ พ.ร.บ.มาใช้ประกอบการพิจารณาก็เห็นว่า ยังมีความขัดกันของกฎหมายอยู่

กสท.ต่อเวลาทดลองออกอากาศวิทยุชุมชน อีก 300 วัน

ที่มา ประชาไท

บอร์ดกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ใน กสทช. มีมติขยายระยะเวลาการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวของสถานีวิทยุ จำนวน 6,601 สถานี ต่อไปอีก 300 วัน รอออกหลักเกณฑ์ใบอนุญาต

วันนี้ (29 พ.ย.54) นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะโฆษก กสทช.กล่าวว่า คณะกรรมการกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท.ใน กสทช.มีการประชุมครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พ.ย.54 ณ สำนักงาน กสทช. และมีมติให้ขยายระยะเวลาการทดลองออกอากาศ ในลักษณะชั่วคราวสำหรับกลุ่มผู้แจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียง และได้รับสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวที่ผ่านมา จำนวน 6,601 สถานี ให้สามารถทดลองออกอากาศ ในลักษณะชั่วคราวต่อไปอีก 300 วัน นับตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค.55 หรือจนกว่า กสทช. จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการให้กลุ่มผู้ทดลองออก อากาศในลักษณะชั่วคราวดำเนินการตามกรอบ กติกา หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบกิจการภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 โดย กสท.จะเร่งรัดให้มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวโดยเร็วต่อไป
การเปิดให้ทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวข้างต้น สืบเนื่องจากประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการประกอบ กิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) ซึ่งประกาศตามความในบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 ที่กำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ดำเนินการเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนรับใบอนุญาตเป็นการ ชั่วคราว ในระหว่างที่การจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 ยังไม่แล้วเสร็จ
ที่ผ่านมา กทช.ได้ขยายเวลาการทดลองออกอากาศไปแล้ว จำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ 21 พ.ค.53 และครั้งที่สองเมื่อ 17 มี.ค.54 ซึ่งจะสิ้นสุดการคุ้มครองการทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราวในวันที่ 10 ม.ค.55 ที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ตามการขยายระยะเวลาทดลองออกอากาศข้างต้นถือว่าเป็นครั้งแรกนับแต่ กสทช.เข้ามารับตำแหน่ง เมื่อ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า กสท.เตรียมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อยระดับภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อผู้ประกอบกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ เกี่ยวกับเรื่องการเรียกคืนคลื่นความถี่ โดยกำหนดระยะเวลา 5 ปี สำหรับวิทยุ 10 ปี สำหรับโทรทัศน์ และ 15 ปี สำหรับโทรคมนาคม โดยจะเริ่มที่ตรังเป็นจังหวัดแรกในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ จากนั้นวันที่ 22 ธ.ค.54 ที่ จ.เชียงใหม่ 12 ม.ค.55 ที่ จ.ขอนแก่น และ 24 ม.ค.55 ที่ จ.กรุงเทพ
ส่วนคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. เตรียมจัดเสวนาร่างหลักเกณฑ์การกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบ งำกิจการ โดยคนต่างด้าว พ.ศ.2554 ในวันที่ 2 ธ.ค.นี้

มาเลเซียประท้วงกม.ควบคุมการชุมนุม

ที่มา ประชาไท

ทนายความมาเลเซียและผู้สนับสนุนนับพันเดินขบวนอยู่นอกรัฐสภามาเลเซียเพื่อ ต่อต้านการออกกฎหมายควบคุมการชุมนุมฉบับใหม่ แต่รัฐสภามาเลเซียยังลงมติคลอดกฎหมายฉบับดังกล่าว ท่ามกลางการวอล์คเอาท์ของฝ่ายค้าน





ที่มา: Malaysiakini.tv/youtube.com

วานนี้ (29 พ.ย.) สมาชิกสภาทนายความมาเลเซีย (Malaysian Bar Council) พร้อมผู้สนับสนุนนับพันคน รวมกันเดินขบวนจากเดอะรอยัลเลคคลับมายังรัฐสภามาเลเซีย เพื่อประท้วงร่างกฎหมายควบคุมการชุมนุมฉบับใหม่ "กฎหมายว่าด้วยการสมาคมโดยสันติ" หรือ "Peaceful Assembly Bill" ที่เตรียมลงมติในสภาในวันนี้

สำหรับกฎหมายว่าด้วยการสมาคมโดยสันติของมาเลเซีย กำหนดว่าการชุมนุมจะต้องแจ้งตำรวจมาเลเซียอย่างน้อย 30 วันล่วงหน้า และมีข้อห้ามไม่ให้ประท้วงบนถนน ห้ามชุมนุมใกล้ที่ทำการของรัฐบาล ศาสนสถาน และปั๊มน้ำมันด้วย

โดยก่อนหน้านี้ นายลิมกิตเสียง นักการเมืองฝ่ายค้านของมาเลเซียเคยให้สัมภาษณ์ประชดให้รัฐมนตรีมหาดไทย มาเลเซียไปดูงานที่พม่า เนื่องจากมีกฎหมายควบคุมการชุมนุมที่มีมาตรการใกล้เคียงกับที่มาเลเซีย เตรียมใช้ (อ่านข่าวก่อนหน้านี้ [1])

ทั้งนี้นายนาจิป ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย พยายามปกป้องกฎหมายควบคุมการชุมนุมฉบับใหม่ ซึ่งเขาอธิบายว่าเป็นการ “ปฏิวัติ” และเป็นก้าวสำคัญในการปรับปรุงเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคล และยืนยันด้วยว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวพยายามควบคุมเสียยิ่งกว่ากฎหมายที่ใช้ใน ปัจจุบัน และเรียกร้องให้รัฐบาลถอนร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวจากสภา

ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวจะถูกนำมาแทนที่มาตรา 27 ใน กฎหมายว่าด้วยตำรวจ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการปฏิรูปที่นายนาจีปสัญญาไว้กับประชาชนในสุนทรพจน์ที่ เขากล่าวในวันมาเลเซีย เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา (อ่านข่าวก่อนหน้านี้ [2], [3])

ทั้งนี้ มาเลเซียกินี รายงานว่า ก่อนหน้าการลงมติกฎหมายดังกล่าวมีการอภิปรายในสภาโดย ส.ส. 6 คน เป็นเวลากว่า 4 ชั่วโมง และต่อมามีความวุ่นวายเกิดขึ้นเมื่อมีการวอล์คเอาท์โดย ส.ส. ฝ่ายค้านที่ไม่เห็นด้วยกับการผ่านกฎหมายดังกล่าว

อย่างไรก็ตามการวอล์คเอาท์ไม่เป็นผล โดยเมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. ตามเวลามาเลเซีย รัฐสภามาเลเซียได้ลงมติผ่านกฎหมายดังกล่าวแล้ว

คุณยายคาลิฟอร์เนีย:กรณีอากงทำให้เสียแรงศรัทธา

ที่มา Thai E-News





คลิปเสวนาแสวงหาความยุติธรรมจากฝ่ายตุลาการในระบอบประชาธิปไตย" โดยวิทยากรร่วมเสวนา คุณประเวศ ประภานุกูล ทนายความของดา ตอร์ปิโด และคุณอานนท์ นำภา ทนายความของอากงSMS ดำเนินรายการโดยคุณเบญจมินทร์ เมื่อวันอังคารที่ 29 พ.ย. เวลา 13.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา อัพโหลดโดย fazhi2006

หรือ MP3 http://www.4shared.com/audio/B_5VCwUy/_14_29-11-2011.html

นอกจากนั้นเครือข่ายประชาธิปไตยจะจัดงานเสวนาคดีหมิ่นฯของอากง เพื่อตีฆ้องร้องป่าวปัญหาของคดีนี้ในวันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2554 ตามกำหนดการ

กำหนดการ 3 ธ.ค.54 ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา (ห้องใต้ดิน) ถ.ราชดำเนิน สี่แยกคอกวัว

12.00-12.30 น. ลงทะเบียน
12.30-12.45 น. เปิดการเสวนาโดยภรรยาอากง
12.45-14.00 น. วิทยากรนำเสนอปัญหากระบวนการยุติธรรมไทยกับก.ม.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ : กรณีคดีของอากง
1. ทนายอานนท์ นำภา ทนายความคดีอากง
2. อดีตผู้พิพากษา (กำลังติดต่อ)
3. ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวเนชั่น

14.00-15.30 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
15.30-16.00 น. แถลงข่าืวโดยเครือข่ายประชาธิปไตย เพื่อประกาศจุดยืนต่อกรณีคดีอากงและกิจกรรมรณรงค์ต่อไปปิดการเสวนา
..........

โดย คุณยายศรีลัดดา คาลิฟอร์เนีย
พากษ์ไทย ไทยอีนิวส์


เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ยายยังมีความหวังอันสดใสต่ออนาคตที่รุ่งเรืองของประเทศไทย..เมื่อพรรคเพื่อ ไทยนำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ยายคิดนะแน่นอนเลย..ก็ตอนนี้พวกเราชนะการเลือกตั้ง หนทางข้างหน้า่ย่อมอยู่ในกำมือของพวกเรา พวกเราจะนำพาประเทศไปสู่ความรุ่งโรจน์ และปลอดภัยภายใต้ระบบยุติธรรมที่จะปกป้องพลเมืองไทยทุกคนจากทรราชย์...แต่ แล้วอนิจจากรณีตัดสินจำคุกอากง 20 ปี ก็ทำลายความหวังและความฝันของยายลงย่อยยับ

มันเป็นความจริงที่น่าเจ็บปวดที่อากงตกเป็นเหยื่ออยุติธรรมที่ยังไม่มีใคร สามารถช่วยอะไรอากงได้ แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรีเองก็ตามที รัฐบาลนี้ดูอ่อนแอราวลูกแกะเกิดใหม่ ทุกความเคลื่อนไหวของเธอล้วนถูกต่อต้านโดยพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเปรียบเสมือนสุนัขจิ้งจอกแก่เจ้าเล่ห์ ไม่น่าแปลกหรอกที่ประชาธิปัตย์ปรามาสว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะอยู่ได้ไม่พ้น 6 เดือน

สิ่งที่จะช่้วยรักษารัฐบาลนี้เอาไว้ได้คงต้องเป็น"ปาฎิหาริย์" และยายก็ได้แต้่สวดภาวนาให้มีปาฏิหาริย์ด้วย หากทุกคนช่วยกับยายภาวนา ก็อาจกลา่ยเป็นความจริงขึ้นมา

อย่างไรก็ดีอยากบอกว่ายายเองก็ชักสิ้นศรัทธาต่อคุณยิ่งลักษณ์และคณะรัฐมนตรี ของเธอ ยายรู้ดีว่าเธอพยายามแล้ว แต่ผู้สนับสนุนจำนวนหลายล้านคนต่อรัฐบาลนี้ก็ไม่ใช่แค่เพียงคนเสื้อแดงเท่า นั้น ดังนั้นจึงต้องต่อสู้ขับเคี่ยวกับระบอบอันฉ้อฉลเดิมๆที่ดำรงอยู่...กรณีของ อากงนับเป็นฟางเส้นสุดท้ายบนหลังของพลเมืองไทย...คนไทยนั้นกลัวกับการ"ขาย หน้า"หรือเสียหน้า แต่กรณีอากงนั้นทำให้ประเทศไทยได้หวนไปสู่ยุคมืด พวกเขายังภาคภูมิใจได้ยังไงกันกับการกระทำเลวๆเช่นนี้ หรือไม่รู้สึกละอายบ้างเลย?

นับแต่วันที่อากงถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ยายก็ยังรู้สึกเศร้าทุกครั้ง แต่ค่อยรู้สึกดีขึ้นแล้ว เพราะเมื่อได้อ่านรายงานข่าวในไทยอีนิวส์พบว่า มีประชาชนจำนวนมากเหลือเกินที่ก็รู้สึกไม่ต่างไปจากยาย ไม่ว่าเป็นองค์กรต่างประเทศ องค์กรด้านสิทธิมนุษชน ประชาชนทั่วไปที่ต่างพากันประณามคำตัดสินจำคุก 20 ปี ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรเลย นอกจากจะให้ตายอยู่ในคุก ที่ประเทศสหรัฐนั้น คุณยังไม่ผิด ตราบที่คุณยังพิสูจน์ตัวได้ว่าคุณเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ที่เมืองไทยคนละเรื่อง ยังไงซะคุณก็ผิดวันยังค่ำ แม้ได้พิสูจน์ตัวแล้วว่าคุณบริสุทธิ์..!!

ยายหละกลัวว่าการอยู่อาศัยในเมืองไทยนั้นจะไม่ต่างไปจากเขตสงคราม ที่คนไทยต้องระมัดระวังทุกย่างก้าว เพราะไม่รู้จะไปเหยียบทุ่นระเบิดที่ใครวางกับดักเอาไว้เข้าเมื่อไหร่ เหมือนกรณีของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปแจ้งความดำเนินคดีกับอากงแล้วจบลงด้วยคำตัดสินของผู้พิพากษาหนักหนาสาหัส อย่างนี้ทั้งที่ไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าอากงได้ก่ออาชญากรรมจริงหรือไม่

ยายหละนึกประหลาดๆว่าหากนายสมเกียรติกับผู้พิพากษาเข้านอนแล้วหลับไปโดย ปราศจากความสำนึกผิด และเป็นคนจำพวกเกิดมาโดยไร้สำนึก ผู้ที่ไม่รู้ความแตกต่างระหว่างผิดชอบชั่วดี หากพวกนี้ได้อ่านเรื่องไดอารีของแอนน์ แฟรงค์ เด็กสาวชาวยิวและครอบครัวของเธอที่ได้ซ่อนตัวจากการพยายามเข่นฆ่าของพวกนาซี ในยุคสมัยฮิตเลอร์เรืองอำนาจ บางทีคงได้รับรู้ว่าในเมืองไทยเวลานี้ช่างเหมือนกันเหลือเกินของขบวนการล่า แม่มด

ยายหวังว่าหลานๆในเมืองไทยจะโชคดีและต้องระแวดระวังตัวเวลาจะพูดหรือทำอะไร เพราะพวกหลานๆไม่มีทางรู้หรอกว่า ใครจะทรยศพวกคุณแล้วก็ออกล่่าแม่มด ให้กลายเป็นเหยื่ออยุติธรรมแบบกรณีของอากง

(ภาคภาษาอังกฤษ)

For a few months I was elated with hope for a bright future of Thailand..with Puathai party led by MS.Yinglick as PM, I thought ..surely now that we have won the election, the path to the future is in our hands, we will lead the country to prosperity, and security under the justice system that will protect every Thai citizen from tyranny...But alas, the recent case of Argong dashed my hopes and dreams completely. The sad truth is that Ar Gong is the victim of injustice, yet nobody can do anything to help him, not even the Prime Minister herself.This government is as weak as a new born lamb, every move she makes is thwarted by the democrat party who is like an old fox. No wonder the democrats said Yingluck will not last more than six months.The only thing that will save this government is a MIRACLE...and I am praying for one.If everybody prays with me, may be it will come true.


I have lost faith and hope in Yingluck and her cabinet.I know her hands are tied but surely with millions of people not just the redshirts supporting her,there must be ways and means to fight the old corrupted system..The case of Ar Gong is the last straw on the back of Thai citizen. Thai people are afraid of..."kai na" or losing face, but now the case of Ar Gong has made Thailand looks like it has gone backward to the dark age. Are they pround of being infamous or are they ashame of their action?


I am still heartsick every time I think about Ar Gong, but today I feel better because I could see on Thaienews that there are a lot of people who feel the same way as I do.To comdemn an old, frail man to jail for twenty years is nothging but a death sentence. In US of America, you are innocent until you proved guilty..but in Thailand it is the opposit..you are guilty until you proved innocent..!!! I am afraid that living in Thailand is like living in a war zone..you have to watch every step you take because you might unknowingly step on a landmineAs for Nai Somkiat who reported Ar Gong to the authority and the judge who comdemn Ar Gong without enough evidence of his crime, I wonder if both of them could go bed and sleep without quilty conseience. but again there are people who were born without conseince, who do not know the differnce between right and wrong, good and evil. If you have read Diary of Ann Frank , a Jewish young girl and her family who had to hide from the Nazi who tried to kill off the Jews during Hitler regime, you can see the similarity of the witch-hunt this country. I wish you, all Thai citizen, good luck ka and be careful of what you say and do from now on because you never know who will and can betray you. Sawasdee ka.

*******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:จดหมายจากคุณยายคาลิฟอร์เนียถึงหลานสลิ่มเมืองกรุง

Big Question for this government (3): When will the terrorists seizing the airports going to jail? This is ‘Solving Problem, Not Revenge’

ที่มา Thai E-News

Solving Problem, Not Seeking Revenge: 3 months had passed since Yingluck became Prime Minister. No sign from the government that the injustice problems were being corrected. The Judicial process related to People’s Alliance for Democracy, PAD, seizure of airports stalled. In the past 3 years, the PAD airport seizure case never reached any criminal court. The Judicial process that related to terrorism act of airport seizure by PAD got stuck in neutral after two and a half years of police investigation and half a year in the prosecutor’s office while the Red Shirts got ‘short end of the stick’--- arrests made, jail term handed out rapidly and bails hardly came by, it was a true ‘Double standard’.

By Thai E-News
อ่านพากษ์ภาษาไทย คำถามตัวโตๆต่อรัฐบาลนี้(3):เมื่อไรผู้ก่อการร้ายยึดสนามบินจะติดคุกซะที นี่คือ"การแก้ไขไม่ใช่แก้แค้น"
Today at 5 PM (25 November 2011), marked the third anniversary, or one thousand and ninety five days, had passed since the PAD’s seizure of the Suvarnnabhumi International airport. None of them served any jail term, all still free.

Their serious crime could constitute ‘terrorism’ act, which punishable by death. However, the charge had never been filed and was withheld by the police investigators for two and a half years.

Once reached the prosecutor office on 11 May 2011, the prosecutor kept it for another half a year. In all, 3 years had passed; no charge filed.

The Big Questions for the Thai Judicial system are--- when will the prosecutor office file charge against the PAD? When will the criminal court proceed with the case? How long would the court take to render verdict? And when or whether the terrorists who seized and blockaded the airports will ever face jail term?

Another Big Question is why the Red Shirts were treated differently comparing to Yellow Shirt PAD? Their ‘terrorism’ charge went to court right away. No bail allowed. They had been in jail since.

If the answer for not granting Red Shirts bails because it was too serious of a crime, a capital charges, afraid of escape, and so on, then why the Yellow Shirts PAD did not face the same thing.

Is it because there's a ‘State within a State’ in Thai society where the ‘Hidden hands’ of the ‘Hidden state’ helped protect this gang? If it is then those ‘Hidden hands’ ought to be brought to justice too as ‘Partner in Crime’.

And if there is no ‘State within State’, then the question is why the government did not pay attention to this issue? The government behaves just like two-and-a-half-years of Abhisit Vejjajiva government. Is this government crippled, weak; felt powerless even though 15.7 million Thais gave them mandate to run the government in a landslide victory?

The Abhisit government kept this case for two and a half years. The Yingluck government promised to people that it would ‘fix the problem, not seek revenge’. This is the opportune time for this government to ‘Fix the Problem’. This is not a Revenge!

When will the government going to be serious?


The third anniversary of the PAD seizure of the airport falls on 25 November 2011. The case is still pending, and has not reached any criminal court. This ‘political gang’ has reactionary idea with right-wing-fascist-like ideology. They are going to cause trouble again to the elected government.

3 Years of PAD Case



2008

On the evening of 25 November 2008, the People’s Alliance for Democracy (PAD) seized the airport. The PAD issued a statement stating the reason:
“In order to force Somchai Wongsawat and his cabinet to resign, PAD needs to escalate our protest and our civil disobedience by taking the airports. We issued this statement to the people in hope that it reaches the People’s Power Party (PPP) government”.

Government declared state of emergency around the two occupied airports and ordered police, with assistance from the military, to clear out the PAD forces. The order had been approved by the court but the military refused to help; PAD ignored the order. It was well known that PAD had ‘High level’ backing, no one dared saying.

Read more:People's Alliance for Democracy Announcement 26/2008

It was estimated that 600,000 people stranded. Virtually all of Thailand’s international air connections stopped. Farmer Bank Research Center estimated that the damage was in the ball park of 200 billion baht, not to mention damaging to Thailand image.

3 December 2008, court ordered the dissolution of the PPP and two other coalition parties from election irregularity which resulted in the dissolution of the Somchai government. PAD declared victory, and Major Gen Chamlong Srimuang held ‘Returning the Airport to Authority’ Ceremony. No arrests were made to any PAD.

2009

13 January 2009, Pol Gen Jongrak Chutanont, Deputy Director-General of Police, who was responsible for investigation the PAD incident, said the case had 70% progress.

18 February 2009, the government of Abhisit Vejjajiva transferred Pol Gen Jongrak from the investigation unit. Suthep Thaugsuban assumed responsibility.

20 February 2009, Pol Gen Chalong Sonchai, the 2nd Head of the investigators, stated that the case progressed at 80%

21 April 2009, Pol Gen Chalong stated the progress was at 95%. He gave the reason for taking so long because it was a case of terrorism which punishable by death.

27 April 2009, there was a change to the head of the Investigation unit again; this time was Pol Gen Voot Puavate.

4 July 2009, Pol Gen Voot charged PAD with Terrorism and issued summons for the first time.

16 July 2009, not only PAD said they would not report to the authority, they held protest in front of the Police club declaring that they would not accept the charge and demanded change to charge. Pol Gen Voot joined the PAD stage and declared PAD were ‘Do Good-ers’.

9 September 2009, there was another change to the head of the investigation unit. This was the fourth time. Pol Gen Somyote Phumpanmuang, Assistance Director General of the Police, who was close to Newin Chidchop, said he would issue another subpoena but would not issue arrest warrants.

2010

26 August 2010, 69 PAD who were charged with the airport seizure, reported to the authority. All were out on bails. Threats were made to Pol Gen Somyote, while another 45 PAD did not show up. The Police requested court approval to issue arrest warrants, the request was denied on the ground that it lacked ‘clear’ evidence, and the court did not believe the accused would flee.

3 November 2010, Director-General of Police, Pol Gen Wichian Pojphosri said he would file charge in one week, then silence.

19 November 2010, the case went back to Pol General Somyote. Meeting was held at 10 am to finalize the case. The consensus was to file terrorism charge against those 114 people. The recommendation would be made to the Director-General of Police.

25 November 2010, the 2nd anniversary of PAD’ seizure of airports, PAD demonstrated in front of the Parliament to voice against 2007-Constitution Amendments plan. The 2007 Constitution came from the military coup.

2011

26 March 2011, the Civil Court ordered 13 leaders of PAD to pay 522 million baht in damage to Airport Authority of Thailand.

3 July 2011, the PAD campaigned for a ‘No Vote’ failed miserably, one million ‘No Vote', while Pheu Thai Party received 15.7 million votes, a landslide victory.

Back to 11 May 2011, Police sent the case to Prosecutor’s office requesting them to file terrorism charge against 15 PAD leaders. The names of 15 PAD leaders follow:

Major Gen Chamlong Srimuang, Sondhi Limthongkul, Pipop Thongchai, Somsak Kosaisuuk, Suriyasai Katasila, Somkiat Pongpaiboon, Naranyo or Saranyu Wongkrachang, Sirichai Maingarm, Samran Rodpet, Maneerat Kaewka, Sub lieutenant Royal Navy Samdin Lertbuud, Police Lt Col Santana Prayoonrat, Chana Parsooksakul, Surawit Weerawan, Rachayut or Amornthep or Amorn Siriyothinpakdi or Amornrattananon.

The Prosecutor’s office kept postponing no less than 10 times. Latest, on 20 October 2011, there supposed to be a hearing but nothing happened. Massive Flooding problem faced the government, and it took over the news. PAD’s case ‘drowned’ in flooding news.

22 July 2011, former Foreign Minister Kasit Piromya reported to authority. Kasit was charged but not on terrorism.

15 August 2011, Human Right Watch sent a letter to Prime Minister Yingluck expressing concerned about the progress of human rights situation in Thailand. The letter read in part:

“To date, there has been no independent and impartial investigation into the politically motivated violence that the PAD committed during its 2008 protests, including unlawful use of force, violence in street battles after the march to Parliament on October 7, and forcible occupation of Government House and Bangkok’s airports. Prosecutions of PAD leaders and members have stalled, as have efforts to seek financial compensation for damages caused by their protest, amid a growing public perception that the PAD is immune from legal accountability”.

4 September 2011, police made the first PAD arrest, Chaiporn Kerdmongkol, 59, or Jume Dankian.

7 September 2011, Pramote Nakornsup arrested, later free on bail. He did not face terrorism charge.

21 November 2011, PAD met at Sondhi Limthongkul’s residence. Chamlong, the number 2 PAD, declared intention to oust the current government which won elections in a landslide.

In summary, since 11 May 2011, the day in which the police sent the case to prosecutor’s office, no charge had been filed against PAD. No less than 10 times, the prosecutors kept delaying. Ever since 20 October 2011 the case disappeared in the flooding news.

3 years had passed no case for court. How did they do it?

G O O D B Y E Thailand!

…..

‘Talk VS. Evidence’, is the Death penalty too harsh for PAD Terrorism Act?


The Thai version of this article first published on 10 July 2009

The Thaienews developed question-and-answer for our readers to judge for themselves in respond to PAD’s complaint that ‘Terrorism’ charge against them was too extreme.

Q- Was it too extreme to place the core leaders of PAD with ‘Terrorism’ charge for seizing the airports?

A- The issue was not whether the charge was extreme or not, but had to do with what crime committed and what the laws said.

First, please be clear that there were two charges, one for Donmuang airport seizure and another for Suvarnnabhumi airport seizure. On Donmuang, there was no terrorism charge against the PAD because Donmuang is not an International airport. So, the charge for Donmuang was related to ‘trespassing’, while Suvarnnabhumi was a different story. Suvannabhumi is an international airport protected by Thai laws and the International Agreement.


On 14 May 1996, Thailand agreed to sign as part of signatories to the ‘Montreal Convention’, which designed to suppress unlawful acts against the safety of Civil Aviation. It requires parties to the Convention to make offences punishable by ‘sever penalties’; and requires parties that have custody of offenders to either extradite the offenders or submit the case for prosecution.

Thailand also has laws that related to Aviation Protection. Criminal law Article 135/1 violators can be punishable by death.

So the PAD’s accusation that the charge was ‘extreme’ not warranted. It was the matter of laws and the International Agreement.

Q- Well--- it still excessive

A- Remember--- PAD occupied the airport--- PAD’s action disrupted air travelling. Over four hundred thousands, including Crown Prince of Denmark visited Thailand at the time as guest of His Majesty the King, all stranded for weeks.

PAD also stopped all flights. In all, about 88 planes affected. The U.S. Government and the European Union asked the Thai government to end the seize and asked not to let this happen again.

Hundreds of thousPAD also attacked peopleands of visitors and Thais would like to visit Thailand could not. The Bank of Thailand estimated the damage to Thailand directly or indirectly amounted to 270 billion baht.

Related Aviation agencies and companies such as Airport authority, Thai Airline, Foreign Airlines, asked the Thai government to pay them 19 billion baht for damages.

PAD attacked people. They also prevent the airport security from doing their jobs.

So, if this is not excessive, what is? Please explain.

Q- Kasit Piromya just stood up on stage, why was he charged with terrorism?

A- According to the Thai law that related to Aviation Protection of 1978, amended in 1995, stated that any person who supported the criminal offense under Section 5, Section 6, shall be liable as the offender.

Was it not, the reason Kasit joined the PAD on stage was to provide moral support? Airport during the time of PAD seizure was not the place, nor the time of ‘enjoying free food’ or for ‘music appreciation’ as claimed by Kasit.

Q- PAD did not close the airport, Airport director did

A- Well, let us look at PAD statement after the seizure.

On the evening of 25 November 2008, PAD issued a statement number 26/2551 explaining reason why they had to escalate their action. In part, it said:

“PAD needs to escalate our protest and our civil disobedience by closing the Suvarnnabhumi airport. We issued this message to the people around the country and around the world in hope that it reaches Somchai Wongsawat and his government. This is the ultimatum; they have to resign immediately and with no conditions”.

Through their action, the court was pressured to come out with verdict on election irregularity. The PPP and three other coalition parties were dissolved on 2 December 2008. That spelled the end of Somchai government. The following day at 09.20 am, Major Gen Chamlong Srimuang held ‘Giving Back Airport’ Ceremony to Vutipat Vichairat, Chairman of the Board of Airport authority in front of His Majesty the King Portrait.

It’s a ‘No-brainer’. Any person with common sense would know that, if the PAD did not take over the Suvarnnabhumi airport, why would they issue the statement they would close it? If they did not occupy and control it, why would they give it back to the authority?

**********
Related Topics:

-Series of ‘Big Questions’ for this Government: First question, Do you have any heart? Why you ignoring the Red Shirts still in Prisons

-Big Questions for this government (2): When will you bring those responsible for ordering the killing to justice? What is the difficulty in acceding to International Criminal Court (ICC)?

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker