บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทความ: อากงตายเพราะตัวเลข

ที่มา Thai E-News


โดย ปาแด งา มูกอ
26 พ.ย.2554

ก่อน อื่นต้องขออภัยท่านผู้อ่านที่หายหน้าหายตาไปห้วงระยะที่น้องน้ำมาเยี่ยม ก็อ่วมอรทัยเหมือนๆกับ กทม.ล่ะครับ แต่ทางใต้มันอ่วมอรทัยแบบซ้ำซากทุกๆปี ไม่เหมือนทางเมืองหลวง กทม.โดยเฉพาะเขตชั้นใน กทม.ที่โคตรจะดัดจริตเสียเหลือเกิน กับไอ้เรื่องของน้องน้ำที่หลงทาง ไม่รู้จะหลากไปที่ไหน ก็ขอเป็นกำลังใจแบ่งปันกันน่ะครับสำหรับพี่น้องที่ถูกน้องน้ำไปเยือนที่บ้าน ขอเพียงมีสตินิดเดียวทุกท่านที่ประสบกับปัญหาน้ำท่วม ก็พอจะมีกำลังสู้ต่อ นั่นก็คือ ให้นึกถึงผู้คนที่เขาถูกน้ำท่วมซ้ำซากทุกปีอย่างผม และพี่น้องทางจังหวัดชายแดนใต้ รวมถึงเงินเยียวยาข้ามปี เท่านี้พี่น้องทาง กทม.ที่ถูกน้ำท่วมก็น่าจะทำใจได้ในระดับหนึ่งน่ะครับ ไม่ต้องถึงกับไปปรึกษาหมอโรคจิตให้เสียเวลา เพราะแค่เจอเรื่องหมอตุลย์คนเดียวก็โคตรที่จะรำคาญอยู่แล้ว

จากที่ หายหน้าไปนาน วันนี้ก็เลยถือโอกาสนำเรื่อง “อากง” มาร่วมสนทนาเสียหน่อย แล้วหลังจากนี้ หากมีเวลาผมจะนำเรื่องปัญหาชายแดนใต้ มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งถือเป็นปัญหาที่ร้ายแรงยิ่งกว่า อุทกภัย ก็ขอเริ่มเรื่องเลยน่ะครับ


หนังสือพิมพ์มติชนรายงานในบทความ - ปัญหาเรื่องหมายเลข "อีมี่" ในฐานะ "หลักฐานสำคัญ" ที่ใช้ฟ้องร้องคดี "อากง" - วันที่ 25 พ.ย. 54 ว่า

"ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล" ผู้บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัทซอฟท์แวร์ FireOneOne ได้เขียนข้อความตั้งข้อสังเกตถึงปัญหาในการใช้หมายอีมี่ในโทรศัพท์มือถือมา เป็นหลักฐานสำคัญในการดำเนินคดีกับนายอำพล (สงวนนามสกุล) หรือ "อากง" ซึ่งเพิ่งถูกศาลพิพากษาให้จำคุก 20 ปี ฐานกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผ่านทางเฟซบุ๊ก Shakrit Chanrungsakul

มติชนออนไลน์เห็นว่าข้อสังเกตของชาคริตมี เนื้อหาน่าสนใจ และน่าจะกระตุ้นให้เกิดการถกเถียงทางปัญญาอย่างสร้างสรรค์ในสังคมไทยได้ จึงขออนุญาตนำสาระสำคัญของข้อถกเถียงดังกล่าวมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ ดังนี้

โจทก์ แถลง : ข้อพิสูจน์ในคดีนี้คือ IMEI ประจำเครื่อง 14+1 หลักที่มีความสำคัญ โดยในคดีนี้ เลข 14 หลักแรก + หลักสุดท้ายที่เป็นเลข 6 สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นยี่ห้อ Motorolla ส่วนถ้าเปลี่ยนหลักสุดท้ายไปเป็นเลขอื่นจะพบว่าไม่ตรงกับยี่ห้อใดเลยในท้อง ตลาด (ใช้การพิสูจน์ด้วยการค้น IMEI ในเว็บแห่งหนึ่ง)

ผู้ รู้แถลง : เลข IMEI 15 หลักถูกก็อปปี้ขายกันเป็นล้านเครื่อง ตามมาบุญครองและเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้าทั่วไป โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือราคาถูก โดยเลข IMEI ที่ว่านี้จะประกอบไปด้วยเลข 14+1 หลัก ซึ่งหลักสุดท้ายจะไม่มีเลขอื่นนอกจาก checksum ของ 14 หลักแรก

ดัง นั้นการที่มี IMEI 591154203237516 จะไม่มี 591154203237517 หรือลงท้ายด้วยเลข 8 หรือ 9 หรือ 0 หรือเลขอื่น ๆ นอกจากเลข 6 เนื่องจากมันเป็น checksum ของสิบสี่หลักแรก โดยคำนวนจาก Luhn Algorithm ดังนี้
เริ่มต้นจากเลขสิบสี่หลักแรกของ IMEI
59115420323751

ให้คูณ 2 เฉพาะตัวเลขที่เป็นหลักคู่
5(18)1(2)5(8)2(0)3(4)3(14)5(2)

แล้วค่อยนำมารวมกันเป็น
5+1+8+1+2+5+8+2+0+3+4+3+1+4+5+2 = 54

เพื่อทำให้ 54 หารด้วย 10 ลงตัว ต้องเพิ่มไปอีก 6 เพื่อให้เป็น 54+6 = 60

เอา 60 มาหาร 10 ตัวเลขสุดท้ายจึงต้องเท่ากับ 6

ดัง นั้น การที่โจทก์ไปเสิร์ชหา 591154203237516 จึงตรงกับโมโตโรลล่ารุ่นที่อากงใช้ (และตรงกันกับโมโตโรลล่ารุ่นเดียวกันอีกหลายแสนเครื่องที่ขายกันอยู่ทั่วไป)
591154203237517 จึงไม่มีผลลัพธ์ตรงกับยี่ห้อไหนรุ่นไหนเลย
591154203237519 จึงไม่มีผลลัพธ์ตรงกับยี่ห้อไหนรุ่นไหนเลย
591154203237510 จึงไม่มีผลลัพธ์ตรงกับยี่ห้อไหนรุ่นไหนเลย
591154203237512 จึงไม่มีผลลัพธ์ตรงกับยี่ห้อไหนรุ่นไหนเลย

สรุป จากข้อมูลนี้ได้ว่า : IMEI ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้ เนื่องจากหมายเลข IMEI นั้น ไม่ใช่ Unique Number มีมือถือหลายเครื่องที่มี IMEI ซ้ำกันได้ โดยมีทั้งการที่ซ้ำกันมาตั้งแต่โรงงานผู้ผลิต และซ้ำกันเพราะมาแก้ไข IMEI เองในภายหลัง (คนนำเข้าโทรศัพท์เถื่อน, คนประกอบโทรศัพท์ ต่างก็รู้กันแล้วว่ายี่ห้อไหนรุ่นไหนที่จะต้องใช้ IMEI อะไรจึงจะถูกต้อง)

สิ่งที่เราในฐานะประชาชนผู้อยู่ภายใต้กฎหมายควรที่จะรู้ และต้องการจะรู้ก็คือ "ประจักษ์พยานหรือหลักฐาน" ที่ชี้ชัดได้ว่า

1. SMS ดังกล่าวมาจากเครื่องของจำเลยจริง
2. จำเลยเป็นคนส่งข้อความด้วยตัวเองจริง
3. จำเลยมีสายสัมพันธ์หรือสามารถติดต่อโดยตรงกับเลขานุการนายกรัฐมนตรีทางโทรศัพท์มือถือได้จริง
ความยุติธรรมจะเกิด ถ้าหากโจทก์สามารถหาข้อพิสูจน์ดังกล่าวมาใช้เป็นหลักฐานปรักปรำได้จริง ซึ่งจำเลยต้องรับโทษตามกฎหมาย

แต่ ถ้าโจทก์ไม่สามารถหาหลักฐานอื่นมาได้นอกเหนือจาก IMEI ที่มีโทรศัพท์รุ่นเดียวกันอีกนับหมื่นนับแสนเครื่อง และยืนยันที่จะใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการปรักปรำจำเลยในคดีนี้ ...

โจทก์ จะต้องตอบคำถามกับสังคมให้ได้ว่าต่อจากนี้ไปสังคมไทยจะยอมรับการใช้ IMEI เป็นบรรทัดฐานในการหาตัวผู้กระทำผิดทุกคดีที่เกี่ยวข้องกับโทรศัพท์มือถือ ด้วยหรือไม่ ...

ถ้าคำตอบคือ "ใช่" ผมเชื่อว่าจะมีความวุ่นวายตามมาอีกหลายคดีอย่างแน่นอน -

อ้างอิง:
http://www.gsm-security.net/faq/imei-international-mobile-equipment-identity-gsm.shtml
http://en.wikipedia.org/wiki/International_Mobile_Equipment_Identity
http://en.wikipedia.org/wiki/Luhn_algorithm
http://propakistani.pk/2011/04/27/blocking-handsets-with-duplicate-imei-can-go-ugly/
http://news.bbc.co.uk/2/hi/8387727.stm
http://www.facebook.com /notes/tong-gallus-spadiceus/imei-และ-อากงอำพล-กับ-หลักฐานที่ยืนยันความ บริสุทธิ์-กลับถูกใช้ปรักปรำว่ามีความผิด/296278550404494

สรุปประเด็นสำคัญ ในประชาไท เรื่อง รายงาน: เปิดคำแถลงปิดคดี ‘อากง SMS’ ต่อจิ๊กซอว์จากเบอร์ต้นทางถึงชายแก่ปลายทาง

1. หมายเลขโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อความ คือ xxxxx15 (ระบบเติมเงินของDTAC) และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลย คือ xxxxx27 (ระบบเติมเงินของ TRUE) เป็นคนละหมายเลขกัน แต่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีหลายเลขอีมี่ตรงกัน

2. หมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นเลขหมายใดก็ได้ และเมื่อแก้ไขเแล้วก็จะไปปรากฏยังระบบของผู้ให้บริการ การตรวจสอบและเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากหมายเลขอีมีจึงไม่มีความน่าเชื่อ ถือในการนำมาใช้ลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่ามีการกระทำความผิดได้ เพราะหมายเลขอีมี่ไม่เหมือนดีเอ็นเอที่สามารถระบุความเป็นตัวตนของเครื่อง โทรศัพท์ได้

>พยานโจทก์ เจ้าหน้าที่ TRUE ได้ให้การว่า “ข้าฯเคยได้ยินมาว่ามีการเปลี่ยนหมายเลขอีมี่กลางโดยการจ้างช่างโทรศัพท์ เป็นเลขอีมีอย่างอื่นได้” และ “อีมี่กลางนั้นสามารถใช้กับโทรศัพท์หลายๆ เครื่องได้”

>พยานโจทก์ เจ้าหน้าที่ ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ได้ให้การว่า “หมายเลขอีมี่สามารถให้ช่างเครื่องซ่อมโทรศัพท์มือถือที่เชี่ยวชาญเปลี่ยน ได้ ซึ่งจะทำให้หมายเลขอีมี่ที่ถูกเปลี่ยนนั้นไปปรากฏยังฐานข้อมูลของบริษัทผู้ ให้บริการเปลี่ยนแปลงด้วย”

>เอกสารที่ทนายจำเลยนำส่งศาลระบุว่า มีความแพร่หลายในวิธีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหมายเลขอีมี่ทั้งจากข้อมูลใน อินเตอร์เน็ตและมีเปิดสอนหลักสูตรในโรงเรียนสอนซ่อมมือถือดังกล่าว “เลขหมายอีมี่สามารถเปลี่ยนใหม่สำหรับเครื่องที่ถูกขโมยมาได้ และ 10% ของหมายเลขอีมี่ก็ไม่ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะ”

3. โจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบอีมี่จากทั้ง 3 บริษัทของผู้ให้บริการโทรศัพท์ในประเทศไทย (ไม่ได้ตรวจของเอไอเอส) จึงไม่อาจอ้างได้ว่าอีมี่นี้มีผู้ใช้เพียงเบอร์เดียว

4. กระบวนการสืบสวนตามพยานเอกสารที่นำส่งศาลไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากเริ่มต้นขอความร่วมมือจาก TRUE โดยนำเบอร์ xxxxx27 ของจำเลยมาตรวจสอบข้อมูลการโทร ทั้งที่ยังไม่ทันได้เลขอีมี่จากเบอร์ xxxxx15 ซึ่งเป็นเบอร์ใช้ก่อเหตุ แสดงให้เห็นว่าเป็นการเจาะจงขอข้อมูลจากหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยมาตั้งแต่ ต้น โดยที่ยังไม่มีความเชื่อมโยงจากหมายเลขอีมี่เป้าหมายแต่อย่างใด และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยก็ไม่ใช่หมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิด

5. คดีนี้มีความผิดพลาดในการสอบสวน สืบสวน มีที่มาของพยานหลักฐานโดยมิชอบ เนื่องจากพยานหลักฐานส่วนใหญ่ในคดีเป็นพยานเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ศาลจะสามารถรับฟังได้นั้นต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ แต่พยานหลักฐานของโจทก์กลับขัดแย้งกับคำเบิกความของพยานโจทก์อย่างชัดแจ้ง ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่เบิกความ ซึ่งทำให้ไม่มีความสมเหตุสมผลในการเชื่อมโยง ติดตามหาตัวจำเลยว่าเป็นผู้กระทำผิด เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทราบหมายเลขอีมี่ของหมายเลขที่กระทำความผิดเป็นลำดับ ท้ายสุด

ในการสืบจำเป็นต้องทราบหมายเลขอีมี่ก่อนจึงจะทำการตรวจสอบได้ แต่เอกสารดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามีการตรวจสอบจากหมายเลขของจำเล (xxxx27) ซึ่งไม่ใช่หมายเลขในการส่งข้อความโดยตรง พยานหลักฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการสืบสวนสอบสวนมุ่งโดยตรงมาที่จำเลย ตั้งแต่ต้นโดยไม่ได้ตรวจสอบมาจากอีมี่ตั้งแต่แรกตามที่โจทก์กล่าวอ้าง
(รายละเอียดขั้นตอนที่ขัดแย้งกันระหว่างพยานเอกสารกับคำเบิกความ กรุณาดูผังด้านล่าง)

6. บันทึกคำให้การผู้ให้ถ้อยคำของบุตรสาวจำเลย ก่อนจะมีการจับกุมตัวจำเลยก็ไม่ปรากฏหมายเลขอีมี่

7. หนังสือแจ้งผลการตรวจข้อมูลโทรศัพท์จากดีแทคระบุวันที่ไม่ตรงกับวันเกิดเหตุ “ทางบริษัทได้แจ้งข้อมูลการโทรให้ทราบแล้ว แต่ยังมีประเด็นเรื่องรหัสประจำเครื่อง(IMEI)ที่ขณะนั้นยังไม่สามารถตรวจสอบ ได้ บริษัทได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าในช่วงวันที่ 10-15 มิถุนายน 2553 โทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข xxxxx15 ใช้คู่กับโทรศัพท์(IMEI)หมายเลข xxxxxxxxxxxxxx 0” เจ้าหน้าที่บริษัทให้การว่าใส่วันที่ผิด แต่พบข้อพิรุธว่า มีการระบุว่า “ยังตรวจสอบไม่ได้” , ไม่มีการแนบข้อมูลการโทรมีเพียงการระบุอีมี่ อีกทั้งในการส่งเอกสารมาครั้งแรกไม่มีการเซ็นรับรองเอกสาร แต่เพิ่งมาเซ็นรับรองเอกสารในครั้งที่สอง จึงไม่มีความน่าเชื่อถือ

8. โจทก์ยังไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะแสดงได้ว่าจำเลยเป็นคนกดข้อความ หรือส่งข้อความดังกล่าวไม่มีพยานเอกสารหรือพยานบุคคลใดยืนยันได้ว่าจำเลย ซึ่งอายุหกสิบเอ็ดปีแล้ว สามารถส่งข้อความได้ มีเพียงพยานเอกสารซึ่งพยายามเชื่อมโยงว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความ ความและเครื่องโทรศัพท์ของจำเลยเป็นเครื่องเดียวกัน

9. คำให้การพยานโจทก์จากทรู ยังให้การต่อศาลว่า “จากข้อมูลการใช้โทรศัพท์ [หมายเลข xxxxx27 ซึ่งเป็นของนายอำพล-ประชาไท] ไม่ปรากฏว่ามีการส่งข้อความ sms จากเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าว”

10. โจทก์ยังไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลที่ก้าวร้าว ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีมูลเหตจูงใจในการกระทำความผิด ในทางตรงกันข้ามจำเลยไม่เคยมีประวัติอาชญากร มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และแสดงออกโดยไปลงนามถวายพระพรอยู่ เสมอทุกครั้งที่มีโอกาส รวมทั้งได้ไปร่วมงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้า ฟ้ากัลยานิวัฒนาด้วย
ปัญหานี้ต้องพุ่งเป้าไปยังสามีแม่เลี้ยงติ๊กแห่งพรรคแมลงสาบที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ (พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู )

ขอ ส่งท้ายเรื่องที่เป็นประโยชน์สำหรับพี่น้องทุกท่าน เรามาตรวจสอบ “ตัวเลขหฤโหด อี...มี่” ในโทรศัพท์ของเรา ว่ามันมีเลขอะไรบ้าง แล้วจดเก็บไว้ เพื่อป้องกันบุคคล/กลุ่มบุคคล ที่โคตรจะเทอดทูนสถาบัน นำเลข อีมี่ ของเราไปสร้างเรื่อง แบบอากง ซึ่งนับเป็นแผนการณ์หนึ่งที่ฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาลชุดปัจจุบันและมวลชนคน เสื้อแดง กำลังปฎิบัติการอยู่ในขณะนี้ เพราะมันไม่มีหนทางใดอีกแล้วที่จะโค่นล้มรัฐบาลชุดปัจจุบันและกลุ่มมวลชนคน เสื้อแดงให้พังพินาศย่อยยับได้ นอกจากเรื่อง 112 โปรดระวัง..!!??

การตรวจสอบเลข “อี...MEI” ในเครื่องโทรศัพท์ของเรา ด้วยตัวเราเอง โดยการกด *#06# เลขอีมี่เครื่องก็จะปรากฎขึ้น ซึ่งจะตรงกับด้านหลังเครื่องเมื่อถอดแบตเตอรี่ออกครับ

สวัสดีครับ โอกาสหน้าจะนำเรื่อง “ไฟใต้” มาเล่าสู่กันฟังครับ......

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker