บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ว่าด้วยความอยู่รอดของระบอบกษัตริย์ในโมร็อคโค

ที่มา Thai E-News


โดย พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
ที่มา เฟสบุค Pipob Udomittipong

ผล พวงจากการลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตยในตะวันออกกลางและแอฟริกา หรือที่เรียกกันว่า Arab Spring เป็นเหตุให้โมร็อคโค ประเทศในแอฟริกาเหนือที่มีประชากรประมาณ 30 ล้านและมีกษัตริย์เหมือนไทย กำลังเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งภายหลังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อถ่ายโอนอำนาจ จากกษัตริย์มาสู่ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง

เมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา กษัตริย์โมฮัมเหม็ดที่ 6 (King Mohamed VI) แห่งโมร็อคโคได้มีพระราชดำรัสเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของโมร็อคโค จากเดิมที่กษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเหนือกิจการต่าง ๆ ของประเทศ ทั้งในทางบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ ให้มีการถ่ายโอนอำนาจและมีการจัดการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตยขึ้น ข้อเสนอที่สำคัญมีห้าข้อได้แก่ (http://moroccansforchange.com/2011/03/09/king-mohamed-vi-speech-3911-full-text-feb20-khitab/)

ให้ มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างเสรีและเป็นธรรม และให้สส.มีบทบาทหน้าที่มากขึ้นในการทำงานด้านนิติบัญญัติและควบคุมกำกับการ บริหารรัฐกิจ

ให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กษัตริย์มีหน้าที่เพียงลงนามรับรองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องมาจากพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งได้รับที่นั่งสูงสุด

กำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจอย่างแท้จริงในฐานะผู้นำฝ่ายบริหาร

ให้ยึดเอาหลักการตามรัฐธรรมนูญเป็นใหญ่

ใน เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมามีการลงประชามติและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปที่ มีการแก้ไขให้ตอบสนองเจตนารมณ์ข้างต้น และในวันนี้ (ศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2554) จะเป็นวันที่ประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง 13.6 ล้านคนในโมร็อคโคจะออกมาเลือกตั้งสส.ซึ่งจะทำหน้าที่จัดตั้งรัฐบาล

นับ เป็นครั้งแรกที่กษัตริย์ของโมร็อคโคต้องลงนามแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่มาจาก พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลใดก็ได้อย่างในอดีต

นัก ประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยราบัดบอกว่า “เป็นครั้งแรกในโมร็อคโคที่มีการวิพากษ์วิจารณ์องค์พระมหากษัตริย์อย่างเปิด เผย และพวกเขาไม่ยิงประชาชน”

ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อย่างเช่นใน มาตรา 46 ระบุว่า กษัตริย์ไม่ได้เป็น “ผู้ศักดิ์สิทธิ์” อีกต่อไป แต่ก็มีบูรณภาพที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้ (The king is no longer "sacred" but the "integrity of his person" is "inviolable") เดิมกษัตริย์โมร็อคโคเป็นทั้งผู้นำทางการเมืองและศาสนา ประกาศตนเป็นตัวแทนของพระศาสดา และมีการใช้พิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อสถาปนาและหนุนเสริมสถานะแห่ง “สมมติเทวะ” ของตน

กษัตริย์องค์ ก่อนคือกษัตริย์ฮัสซันที่สอง (Hassan II) ซึ่งเป็นพระราชบิดาของกษัตริย์องค์ปัจจุบันได้เคยปกครองประเทศมุสลิมแห่งนี้ อย่างโหดร้ายตั้งแต่ปี 2504 จนถึงปี 2542 ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการทรมานและปราบปรามผู้ประท้วงอย่างโหดร้าย ว่ากันว่าในสมัยนั้นถึงขั้นที่รัฐมนตรีมหาดไทยซึ่งเป็นทหารขึ้นเฮลิคอปเตอร์ และยิงกราดใส่ฝูงชนด้วยตนเอง

มีรายงานว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่ ประชาธิปไตยในครั้งนี้ ซึ่งปรากฏในรูปของการถ่ายโอนอำนาจจากกษัตริย์ไปสู่ระบอบตัวแทนของประชาชน เป็นทางออกอย่างหนึ่งเพื่อความอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์ในประเทศแห่งนี้ แต่คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าจะเป็นการผ่องถ่ายพระราชอำนาจอย่างแท้จริง หรือทำกันพอเป็นพิธีเพื่อความอยู่รอดของสถาบัน

ราละเอียดเพิ่มเติม อ่านได้จาก Why has Morocco’s king survived the Arab Spring? Aidan Lewis http://www.bbc.co.uk/news/world-middle-east-15856989

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker