บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

ถ้า...มีเลือกตั้ง

ที่มา มติชน



โดย ปราปต์ บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 31 มีนาคม 2554)


ขออนุญาตตั้งสมมติฐานล่วงหน้าแบบมองโลกในแง่ดีไว้ก่อนว่า

จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนภายในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

แล้วถ้ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้นจริง จะมีอะไรเกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้นบ้าง?

นักวิชาการท่านหนึ่งจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพิ่งเสนอเอาไว้เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ว่า

หลังเดือนพฤษภาคม 2553 เป็นต้นมา สถานการณ์ทางการเมืองในภูมิภาคดังกล่าวก็เหมือนกำลังตกอยู่ในยุค "สงครามเย็น"

และคาดว่าจะมีสงครามจริงๆ เกิดขึ้นอีกครั้งผ่านการเลือกตั้งครั้งหน้า

ซึ่งจะเป็นสงครามที่มีการต่อสู้กันอย่างหนักหน่วง

รวมทั้งต้องการการมีส่วนร่วมตรวจสอบจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

เพราะหากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เชื่อมั่นและไม่เชื่อถือในกระบวนการและผลการเลือกตั้งขึ้นมาแล้ว

รัฐบาลชุดใหม่ก็คงจะถูกจัดตั้งขึ้นไม่ได้ง่ายๆ ภายหลังการเลือกตั้ง

นอกจากนี้ ถ้าลองมองโลกในแง่ดีอีกมุมหนึ่ง

การเลือกตั้งครั้งหน้าก็อาจถือเป็นหนทางคลี่คลายหรือปลดปล่อยระบายความขัดแย้งทางการเมือง ที่มักลงเอยด้วยความรุนแรงเสียเลือดเสียเนื้อ ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

เพราะการเลือกตั้งปี 2554 อาจมีอีกสถานะหนึ่งเป็นดัง "การลงประชามติ" ทางการเมืองของประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงว่า

พวกเขาเห็นด้วยหรือไม่กับกระบวนการทางการเมืองไทยที่ถูกขับเคลื่อนโดยเครือข่ายผู้มีอำนาจบางกลุ่มตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา

ตั้งแต่การรัฐประหาร, การยุบพรรคการเมือง, การตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร และระบบยุติธรรมสองมาตรฐาน เป็นต้น

ปัญหาน่าสนใจ คือ ถ้าผลการเลือกตั้ง (หรืออีกนัยหนึ่งคือ "การลงประชามติ") ออกมาว่า

ประชาชนจำนวนมาก (อาจไม่ถึงครึ่งหรือเกินครึ่งก็ได้) แสดงความไม่เห็นด้วยกับกระบวนการทางการเมืองเหล่านั้นผ่านการกาบัตรลงคะแนนเสียง

แล้วอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปอีก?

จะมีใครไม่พอใจและพยายามดึงดันต้านทานผลการเลือกตั้ง ("ประชามติ") ดังกล่าวอีกหรือไม่?

หากมีความพยายามจะกระทำการ "คิดสั้น" เช่นนั้นอีกครั้ง

ไม่ว่าจะอย่างโฉ่งฉ่างหรือแนบเนียน (ซึ่งคนเริ่มรู้ทันกันเกือบหมดแล้ว)

เรื่องราวก็คงไม่คลี่คลายไปสู่วิถีทางที่ดีขึ้นอีกเหมือนกัน

ถ้ามีการเลือกตั้งครั้งหน้าเกิดขึ้นจริง และชนชั้นปกครองไทยโดยรวมมีฉันทามติเห็นชอบด้วยกับการจัดการเลือกตั้งดังกล่าว

ก็อยากฝากเนื้อหาบางส่วนของบทกวีการเมืองชิ้นหนึ่ง ที่ถูกแต่งขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 2552 เอาไว้ว่า

"...ความก้าวหน้าปรากฏในชนชั้นล่าง

การเลือกตั้งปี 50 ยืนยันได้

กองทัพยึดเบ็ดเสร็จกุมกลไก

แต่ไม่สามารถบล็อกโหวตทหารเกณฑ์..."

อย่า"งม งาย"

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน
สมิงสามผลัด



ออกมาปฏิเสธพัลวันรัฐบาลถือฤกษ์ 27 เม.ย.นี้ยุบสภา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ยืนยันว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เคยไปดูฤกษ์ดูวันเวลายุบสภา

หลังพรรคเพื่อไทยออกมาปูดข่าวนี้ อ้างว่ามีส.ส. ประชาธิปัตย์ให้ข้อมูลว่า ถ้ายุบสภา 27 เม.ย.นี้ นายอภิสิทธิ์จะมีโอกาสกลับมาเป็นนายกฯ อีกรอบ

หลายคนอาจไม่เชื่อว่านายอภิสิทธิ์ ซึ่งมีดีกรีนักเรียนนอกจบเกียรตินิยมจากออกซ์ฟอร์ด เป็นนักการเมืองหัวทันสมัยอัพเดตเฟซบุ๊กตลอดเวลา จะงมงายแบบนี้

แต่ถ้าย้อนกลับไปดูช่วง 2 ปีที่นายอภิสิทธิ์เข้ามาเป็นรัฐบาล

มีการปรับฮวงจุ้ยทำเนียบไปแล้วไม่ต่ำกว่า 5-6 ครั้ง

ปี 2553 นำต้นไทรกับต้นปาล์มยะวา 70 ต้นมาปลูกบริเวณตึกไทยคู่ฟ้าและตึกสันติไมตรี

เชื่อว่าเสริมดวงชะตา สร้างความเข้มแข็งให้รัฐบาล

ก่อนปรับเปลี่ยนใหม่อีกครั้ง เพราะซินแสติงว่าไม่ถูกหลัก

ต่อมาไม่นานก็มีปรับอีก นำกระถางต้นโกสนไปตั้งไว้ที่สนามหญ้าหน้าตึกไทยฯ นำเสาธงสีทองไปตั้งตามประตูทำเนียบ

พอปี 2554 ก็เชิญซินแสมาปรับฮวงจุ้ยทำเนียบอีกครั้ง นำกระถางใส่มะขามกับบานบุรีอย่างละ 7 ต้นมาตั้งไว้ที่ประตู 7

เชื่อว่าเสริมชะตา สร้างความน่าเกรงขาม

นำตู้อัญมณีไปวางไว้ในห้องทำงานนายกฯ และที่พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเสริมบารมีทั้งนายกฯ ทั้งพรรค

ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ไม่งมงายเลยหรือ!?

ที่จริงแล้วรัฐบาลในอดีตก็มีการปรับฮวงจุ้ยกันให้เห็น แต่รัฐบาลชุดนี้ดูเหมือนว่าจะปรับเยอะไปหน่อย

ต้องรอดูว่าวันยุบสภาจะเป็น 27 เม.ย.นี้หรือเปล่า

ว่าไปแล้ว จะยุบวันที่เท่าไหร่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

แต่การจะชนะเลือกตั้ง กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งหรือไม่ มันอยู่ที่ผลงานที่ผ่านมามากกว่า

และผลงานของนายอภิสิทธิ์ก็ประจักษ์ต่อสังคมไปแล้ว

ไม่เคยแสดงความรับผิดชอบต่อการสลายม็อบแดง 91 ศพบาดเจ็บอีก 2 พันคนเลย

ยิ่งสะท้อนถึงความบกพร่องทางความคิดเรื่อง ประชาธิปไตยของรัฐบาลเข้าไปอีก

ยิ่งสร้างความแตกแยกในบ้านเมืองเข้าไปใหญ่

การแก้ปัญหาเศรษฐกิจก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า ข้าวยากหมากแพง แถมยังสร้างหนี้มหาศาล

ล่าสุดก็ความอืดอาดล่าช้าในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ทั้งแผ่นดินไหวภาคเหนือ น้ำท่วมภาคใต้

กว่ารัฐบาลจะขยับก็พินาศไปไม่รู้เท่าไหร่แล้ว

ผลงานเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดว่าพรรคประชาธิปัตย์จะมีโอกาสกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งหรือไม่

จะเสริมดวงหรือพึ่งไสยศาสตร์ก็ช่วยอะไรไม่ได้

จดหมายถึงสารคดี “ประเด็นอยู่ที่จรรยาชีพ” ครับท่านบรรณาธิการ

ที่มา ประชาไท

อ้างถึงบทบรรณาธิการในสารคดีฉบับที่ 313 เดือนมีนาคม 2554 หน้า 14-15

ผมรู้สึกสลดใจกับบทบรรณาธิการในฉบับดังกล่าว ซึ่งเข้าใจว่าเขียนโดยอ้างอิงกับการที่มีนักเขียนของสารคดีส่งจดหมายท้วงติงและลาออกประท้วงการลง Advertorial ให้กับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) โดยไม่แจ้งให้ผู้อ่านทราบในฉบับก่อนหน้านี้

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้อ่านบทบรรณาธิการดังกล่าว ที่ใช้ชื่อว่า “ปั้นน้ำเป็นตัว” มีเนื้อหาสรุปโดยสั้นว่า บรรณาธิการเหมารวมว่าทุกคนคงเคยปั้นน้ำเป็นตัว ท่านได้ยกตัวอย่างนักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง หรือแม้แต่สมองของคน คนมักจะเชื่อเรื่องเล่าของแหล่งที่น่าเชื่อถือ และในสังคมมนุษย์ปัจจุบันก็เต็มไปด้วยเรื่องเล่าที่โกหก ดังนั้น บรรณาธิการจึงประกาศว่า โปรดอ่านทุกหน้าใน สารคดี ด้วยความใคร่ครวญ และอย่าเชื่อมั่นว่ามีแต่ความจริงอันเป็นที่สุด ไม่ว่าหน้านั้นจะมีคำว่า “พื้นที่ประชาสัมพันธ์” หรือไม่ก็ตาม’

อ่านบทบรรณาธิการฉบับนี้แล้ว เหมือนโดนตีแสกหน้า

ถึงอยากจะยกประโยชน์ให้จำเลยในแง่ที่ว่า บรรณาธิการอาจจะมีความตั้งใจจริงที่จะให้ผู้อ่านระมัดระวังและใช้วิจารณญาณในการอ่านสารคดีและเรื่องราวต่าง ๆ รอบตัวให้มากขึ้น แต่นัยที่แสดงออกอย่างเด่นชัด ไม่ว่าบรรณาธิการจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตามคือ “การแก้ตัวอย่างขาดความรับผิดชอบ” อันเนื่องมาจาก “ความไม่สำนึกว่าได้กระทำความผิด” เหตุผลและตัวอย่างที่พยายามยกมาอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการดำรงอยู่ของบทโฆษณา ปตท. ในสารคดีฉบับก่อนหน้านั้น ก็มีตรรกะที่บิดเบี้ยว ซึ่งจะขออธิบายยกตัวอย่างในภายหลัง

นัยของบทบรรณาธิการ พยายามจะเตือนทุกท่านด้วยความหวังดีว่า เราอยู่บนโลกแห่งความลวง ดังนั้น ระวังให้ดี แต่ประเด็นของเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่เราอยู่บนโลกแห่งความลวงหรือไม่

ประเด็นอยู่ที่เรื่อง “จรรยาชีพ” และ “ความรับผิดชอบต่อสังคม”

ความลวงของโลกไม่ได้มาเกี่ยวอะไรกับการลงบทโฆษณาดังกล่าวแม้แต่น้อย สิ่งที่เกี่ยวข้องอย่างสำคัญคือ จรรยาชีพของคนทำหนังสือสารคดี และความรับผิดชอบต่อสังคม ในแง่ของการตระหนักรู้ว่าอะไรคือเป้าหมายของการลงโฆษณาด้วยวิธีดังกล่าวของบริษัท ซึ่งตามหลักวิชาชีพได้มีทางออกไว้ให้แล้วด้วยการยินยอมให้รับเงินจากบริษัทเพื่อลงโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยอิงกับความน่าเชื่อถือและของนิตยสาร แต่ต้องแจ้งให้ผู้อ่านรับทราบล่วงหน้าด้วยข้อความว่า “พื้นที่โฆษณา” หรือ “พื้นที่ประชาสัมพันธ์” ไม่ว่ามันจะเขียนด้วยตัวอักษรที่ใช้สีกลมกลืนกับพื้นหลังและด้วยขนาดตัวอักษรที่เล็กเพียงใดก็ตาม

บรรณาธิการทราบดีอยู่แล้วว่ามนุษย์มักจะเชื่อโดยง่าย หากได้ข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ จึงสมควรจะทราบต่อไปอีกด้วยว่าบทความใน “สารคดี” คือแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือด้านสิ่งแวดล้อมการลงโฆษณาด้วยวิธีดังกล่าว โดยไม่แสดงข้อความเตือน ทำให้อาจตีความได้ว่าเป็นความ “จงใจ” ที่จะหลอกลวงผู้สนับสนุนนิตยสาร “เพื่อหวังอามิสสินจ้าง” โดยไม่คำนึงถึงหลักการทางวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสังคม

แน่นอนว่า ผู้อ่านควรจะรับข้อมูลอย่างระมัดระวัง รอบคอบ ไม่ด่วนเชื่อ ไม่ยึดถือว่าสิ่งที่ได้อ่านเป็นความจริงแท้ แม้ว่าโลกจะเต็มไปด้วยความลวง แต่สังคมไม่สามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนรอบด้าน ด้วยข้อจำกัดด้านต่าง ๆ เช่น เวลา ประสบการณ์ การเข้าถึงข้อมูล ฯลฯ จึงต้องมีการสร้างสถาบันทางสังคมที่ทำหน้าที่เสมือนผู้รับรองความน่าเชื่อถือเบื้องต้นของข้อมูลเหล่านั้น และสารคดีเองก็เป็นสถาบันหนึ่งที่สังคมเชื่อว่าสามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้ การละเว้นไม่ทำหน้าที่อย่างจงใจของสารคดีจึงมีผลต่อสังคม

หากใช้ตรรกะของบรรณาธิการที่ว่า เราอยู่บนโลกแห่งความลวง นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ อาจจะลวงเราได้ แล้วสังคมจะอยู่อย่างไรครับ? การที่เราไม่เชื่อ สถาบันที่ทำหน้าที่รับรองความน่าเชื่อถือของข้อมูลก็อาจส่งผลให้เกิดความวุ่นวายในระดับหนึ่ง (ผมไม่ได้หมายความว่าให้เชื่อโดยไม่ตั้งคำถาม แต่หมายถึงหากไม่เชื่ออย่างสุดโต่งและสงสัย ตรวจสอบตลอดเวลา) แต่สังคมจะวุ่นวายและกลียุคกว่านั้น หากสถาบันเหล่านั้นไม่ทำหน้าที่คัดกรอง และตรวจสอบความจริง และปัดภาระด้วยการบอกว่า เราอยู่บนโลกแห่งความลวง ดังนั้น ทุกคนระวังให้ดีก็แล้วกัน!!!

ลองนึกภาพเราไปหาหมอ แล้วหมอก็จ่ายยาให้เราโดยไม่สนว่าจะถูกกับโรคหรือไม่ แต่เน้นจ่ายยาที่บริษัทยาให้ค่าคอมมิสชั่นแพง ๆ คนไข้จะกินยานั้นหรือไม่ หรือไปหายาอื่น ก็แล้วแต่วิจารณญาณดูก็แล้วกัน

ก่อนจะจบจดหมายฉบับนี้ ผมขอกลับไปที่เรื่องตรรกะของบรรณาธิการสักนิด

หลักคิดและตัวอย่างที่บรรณาธิการพยายามยกมาสร้างความชอบธรรมให้กับตนเองนั้น มันไม่ตรงกับประเด็นเรื่องโลกแห่งความลวง ในกรณีของนักดาราศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ ชัดเจนว่า เขาพูดในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งตามธรรมเนียมของวัฒนธรรมของฝรั่ง ถือเป็นวันโกหก ดังนั้นในวันนี้ หากมีอะไรแปลกประหลาด ทุกคนจะระวังไว้ก่อนว่า อาจมีการอำครั้งใหญ่เกิดขึ้น วันที่ 1 เมษายน นี่ล่ะครับ คือ ข้อความ “พื้นที่ประชาสัมพันธ์” ที่จะทำให้ผู้รับสารระแวดระวังข้อมูลข่าวสารที่กำลังจะรับฟัง และควรจะตระหนักไว้ด้วยว่า บรรดานักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ จะไม่มีวันโกหกแบบนี้ในวันอื่น ๆ และต่อให้เป็นวันที่ 1 เมษายน พวกเขาก็จะไม่โกหกเพื่อหาประโยชน์ใส่กระเป๋าตนเอง แต่จะอำ เพื่อกระตุ้นให้คนได้ไปคิดต่อ กรณีของการทดสอบยาก็เช่นเดียวกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือการทดสอบทางการแพทย์ ไม่ใช่การโกหก สิ่งที่เป็นการโกหกเพียงอย่างเดียวน่าจะเป็นการที่คนเรามักจะเคยปั้นน้ำเป็นตัวตอนเด็ก ที่เกิดขึ้นเพราะความเยาว์ ความเขลา และขาดความรับผิดชอบต่อสังคม

ท้ายนี้ หวังว่าสารคดีคงจะรับฟังเสียงหนึ่ง (และคาดว่าจะไม่ใช่เสียงเดียว) ที่พยายามทำตัวเป็น “ป้ายเตือน” โค้งอันตราย ด้วยความไม่อยากเห็นสารคดีแหกโค้งสิ้นชีพลงไปด้วยวัยไม่เต็มสามสิบ

วงเสวนาประเทศไทยจะไปทางไหน เชื่อไม่มีรัฐประหาร เลือกตั้งแน่ ความแตกแยกไม่จบ

ที่มา ประชาไท


30 มี.ค.54 เวลา 13.00 น. กลุ่มจับกระแสเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Siam Intelligence Unit (SIU)จัดงานเสวนาวิชาการเรื่อง “ประเทศไทยจะไปทางไหนกัน”
ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการกล่าวรายงาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษาร่วมเสวนาโดย พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารกองทัพไทย, อุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร, รศ.ดร.โคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
ต้นเหตุปัญหาการเมืองไทยต้องแก้ทั้งที่ “คน” และ “ระบบ”
พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ กล่าวว่า ต้นตอปัญหาต่าง ๆ ในปัจจุบันเกิดจากคนในสังคมแตกแยกกันไปหลายทิศหลายทางโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันว่าในท้ายที่สุดแล้วประชาชนต้องได้อยู่ดีกินดี มีศักดิ์ศรี และประเทศชาติมั่งคั่ง คนที่จะร่วมกันขับดันประเทศได้ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน แต่ตอนนี้หลายฝ่ายขับเคลื่อนกันไปคนละทาง บางฝ่ายไม่ยอมฟังคนอื่นแต่ชอบพูดให้คนอื่นฟัง ประเทศที่เจริญก้าวหน้าแล้วเขาสามัคคีและมีเอกภาพกันมากกว่าเรา ขณะที่เรากำลังชักเย่อกันอยู่ ทางแก้ปัญหาคือเราต้องเตรียมคนให้เหมาะให้มีคุณภาพต่อระบอบการปกครอง โดยต้องให้การศึกษา ให้คนมีความรู้เรื่องประชาธิปไตย หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมจรรยา
ด้านอุทัย พิมพ์ใจชน มองว่า ปัญหาการเมืองในปัจจุบันเกิดจากความไม่เชื่อมั่นในทิศทางประชาธิปไตย จึงเกิดการกลับไปสู่จุดเริ่มที่การยึดอำนาจวนเวียนเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตั้งแต่คณะราษฎร์ปฏิวัติเมื่อ 2475 ถือเป็นหมุดหมายว่าเราจะเดินไปในเส้นทางประชาธิปไตย แต่บางช่วงก็เกิดความไม่มั่นใจในประชาธิไตยจึงปล่อยให้เกิดการรัฐประหาร เช่น 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา ถ้าเราอดทนและปล่อยให้กระบวนการประชาธิไตยเยียวยาตัวมันเอง เราก็คงผ่านช่วงนั้นมาได้โดยไม่เกิดการรัฐประหาร
“เราไม่เอาอะไรสักอย่าง ประชาธิปไตย เผด็จการ คอมมิวนิสต์ จะเอาอะไรก็เอาไปให้มั่นคงไปเลย แล้วจะเอาดีได้อย่างไร ถ้าจะรัฐประหารก็เอาอำนาจเลย อย่าคืนมานะ แต่ถ้าเอาประชาธิปไตยก็ต้องทน” อุทัยกล่าว
ทางออกจากปัญหานี้คือ สังคมต้องแน่วแน่ในหนทางการปกครองประชาธิปไตย ต้องปูทางไปให้ถึงโดยการสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพโดยให้การศึกษาเรื่องประชาธิปไตย เศรษฐกิจ การเมือง ศีลธรรม วินัย ตั้งแต่เด็ก ๆ เหมือนที่ญี่ปุ่นทำ ผ่านไปสิบปีจะได้คนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ
ส่วน รศ.ดร.โคทม อารียา เสนอว่า ปัญหาอยู่ที่ความคิดความเชื่อสองชุดของคนไทยโดยเฉพาะคนกรุงเทพฯที่ขัดแย้งกัน คือ ฝ่ายหนึ่งว่าราชาธิปไตยดี อีกฝ่ายก็ว่าประชาธิปไตยดี ทะเลาะกันมา 79 ปีก็ยังไม่ลงตัว ยังหาจุดพอดีไม่เจอ เพราะว่าฝ่าย “เก่าไม่อยากเปลี่ยน” “ใหม่ไม่ค่อยอยากปรับ” นี่คือลักษณะพหุนิยมของสังคม และตอนนี้สังคมกำลังเผชิญกับวาทกรรมสองอย่างได้แก่ “ประชาธิปไตยขาดคุณธรรม” ใช้อธิบายถึงวงจรอุบาทว์ของนักการเมืองไทย อีกวาทกรรมหนึ่งก็คือ “การเมืองไทยเป็นการเมืองเรื่องอำมาตย์” ซึ่งวาทกรรมสองฝ่ายนี้เป็นปัจจัยนำมาสู่การขัดแย้งทางความคิดที่สำคัญในปัจจุบัน ความขัดแย้งนี้ไม่มีวันจบ เราต้องแก้ปัญหาที่ระบบ เพราะแก้เป็นคน ๆ ไปมันก็เท่านั้น
ด้าร รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ เสริมประเด็นนี้ในด้านเศรษฐกิจว่า ปัญหาด้านเศรษฐกิจของไทยคือยังไม่สามารถเลื่อนชั้นไปสู่เศรษฐกิจภาคบริการ (Service economy) เนื่องจากการเมืองดิ่งลึกเข้าสู่ระบบครอบครัวผ่านทายาททางการเมือง ซึ่งในทางพฤตินัยคืออำนาจอยู่ในมือคนจำนวนน้อย เศรษฐกิจจึงอยากที่จะเกิดพลวัตเลื่อนชั้นไปสู่ภาคบริการ ถ้าคนมีคุณภาพ พลวัตการพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองก็เคลื่อนไปได้ง่าย พร้อมเสนอแนะรัฐบาลในอนาคตควรมี Good Governance Policy ที่จะพัฒนามาตรฐานระบบการเงินไทย เพื่อรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งอาเซียนจะเป็นสมรภูมิที่จีนและญี่ปุ่นจะเข้ามาแข่งขันกันอย่างดุเดือดด้วย
รัฐประหารไม่ใช่ทางออก
จากการร่วมอภิปรายของวิทยากร มีความเห็นตรงกันประการหนึ่งต่อสภาพการเมืองไทยว่า รัฐประหารไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา โดย พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า โดยเหตุโดยผลแล้วคิดว่าไม่น่าจะมี และไม่ควรมีรัฐประหาร ที่ผ่านมาการเมืองไทยอยู่ในสภาพพายเรือในอ่างมานานแล้ว เกิดรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง ขัดแย้งแล้วก็จบที่รัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้สังคมแย่ เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องมุ่งแก้ไปตามวิธีการของระบอบนั้น ๆ ทันที
เช่นเดียวกับนายอุทัย พิมพ์ใจชน มีความเห็นว่ากระบวนการประชาธิปไตยมีหลักการอยู่ตรงที่การวิพากษ์วิจารณ์ การตรวจสอบถ่วงดุลผู้ใช้อำนาจทั้งจากในสภาและจากภาคสังคม ใครจะชั่วดีอย่างไรสังคมก็รู้และตรวจสอบได้ แต่ถ้ารัฐประหารไปแล้วอำนาจมันจะทำให้ปิดเงียบ สังคมไม่รู้
ด้าน รศ.ดร.โคทม อารียา เพิ่มเติมว่า สื่อมวลชนไม่ควรมีปฏิกิริยามากต่อกระแสข่าวรัฐประหาร ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางความคิด ควรเปิดกว้างแนวทางประชาธิปไตบแบบถกแถลง ยอมรับความแตกต่างของคนอื่น และควรปิดประตูรัฐประหารเสีย
เลือกตั้งมีแน่ ความแตกแยกยังไม่จบ
สำหรับประเด็นเรื่องการเลือกตั้งครั้งใหม่หลังการยุบสภาต้นดือนพฤษภาคมนี้เวทีเสวนาเห็นว่า การเลือกตั้งจะมีขึ้นอย่างแน่นอน แม้จะมีข่าวลือว่าไม่มีการเลือกตั้งออกมาเป็นระยะ ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายก็ยังคงดำรงอยู่ เพราะแน่นอนว่าย่อมมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับชัยชนะและฝ่ายตรงข้ามก็จะประท้วงคัดค้าน อาจมีความรุนแรงบ้างประปรายจากลุ่มเล็ก ๆ ที่ไม่พอใจ การเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบสุดท้ายยังมีการทะเลาะกันอยู่เพราะนี่คือพหุนิยม แต่ต้องไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน ต้องเคารพกันและกัน ที่ผ่านมาสังคมไทยมีบทเรียนจากความเสียหายจากความขัดแย้งมาแล้ว คงจะเกิดการเรียนรู้ และอยู่ที่ประชาชนทุกคนเอง ที่จะร่วมมือกันทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีความโปร่งใสเที่ยงธรรม ให้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตยของเราให้ก้าวไปข้างหน้า

สม ศักดิ์ เจียมฯ:บันทึกเปิดผนึก เรียน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ว่าด้วย "ความยุติธรรม"

ที่มา Thai E-News


โดย ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เฟซบุ๊ค สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


[ ผมทราบว่า ในราชาศัพท์ การ "แอ๊ดเดรส" เจ้านายระดับ "เจ้าฟ้า" นั้น ใช้คำประเภท "ขอพระราชทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาท" และ "ใต้ฝ่าพระบาท" และคำเรียกตัวเองว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" แต่ว่า (1) นี่เป็นบทความสำหรับการอภิปรายสาธารณะ ที่ต้องการให้อ่านกันสะดวก และ (2) "ใต้ฝ่าพระบาท" เอง ทรงมีหลายสถานะ รวมทั้งสถานะความเป็น "นักวิชาการ/อาจารย์" แบบเดียวกับผม ผมเลือกทีจะพูดในสถานะแบบนี้ เพื่อความสะดวก ในส่วนอื่นๆของบทความนี้ ผมก็เลือกที่จะใช้ราชาศัพท์เท่าที่จำเป็นเพื่อความสุภาพ แต่ไม่ได้ใช้ในทุกๆประโยค ทุกๆกรณีเพื่อความสะดวก ]

ผมรู้สึกสนใจอย่างยิ่งที่พระองค์ทรงพระราชทานสัมภาษณ์ออกทีวีในรายการ "วู้ดดี้เกิดมาคุย" ตามที่มีรายงานข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะทาง "ข่าวสด" ที่ผมใช้อ้างอิงในบทความนี้ ( http://goo.gl/vv3Rb )

อย่างไรก็ตามมีประเด็นสำคัญพื้นฐานเกี่ยวกับคำสัมภาษณ์นี้ ที่ผมเห็นว่า ควรจะได้แลกเปลี่ยนกับพระองค์และสาธารณะ

ตามรายงานข่าว พระองค์ทรงพระราชทานสัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า

ใจจริงของฉันอยากจะขอเวลาจากรายการทีวีช่วงสั้นๆ แค่ 5 นาที 10 นาที ฉายพระราชกรณียกิจที่ท่านทำ สงสารท่านเถอะ ท่านทุ่มเทเต็มที่ เอาใจใส่ทุกรายละเอียดทุกงานที่ทำทั้ง 2 พระองค์ ซึ่งทั้ง 2 พระองค์ทรงเป็นห่วงเรื่องความสามัคคีของคนไทย อยากให้กลมเกลียว คนไทยต้องเข้มแข็ง ชาติจะได้เจริญก้าวหน้าต่อไป ฉันอยากให้ทั้ง 2 พระองค์ได้รับความยุติธรรมตามที่ท่านควรจะได้รับ


เรื่องที่ทรงเรียกร้อง "ความยุติธรรม" ให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถนี้ได้เป็นประเด็นหลักที่หนังสือพิมพ์ที่รายงานเรื่่องการพระราชทานสัมภาษณ์นี้ นำไปพาดหัว

ในความเห็นของผม ปัญหามีอยู่ว่า การให้สัมภาษณ์ที่ทรงเรียกร้อง "ความยุติธรรม" ให้กับ 2 พระองค์ นี้ โดยการให้สัมภาษณ์เอง เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรม หรือพูดง่ายๆคือ ไม่แฟร์ ถ้าถือตามความหมายของคำนี้ตามที่ยอมรับกันทั่วไป

กล่าวคือ ในขณะที่พระองค์ (ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์) ไม่ได้ทรงอยู่ภายใต้การคุ้มครองของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่เรียกกันว่ากฎหมาย "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ก็จริง

แต่โดยประเพณีของการตีความกฎหมายนี้ในลักษณะครอบจักรวาลที่ผ่านๆมา และในปริบทของการที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้ระบบการประชาสัมพันธ์และอบรมบ่มเพาะพลเมืองตั้งแต่เด็กๆแบบด้านเดียวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระราชวงศ์ทุกพระองค์ไม่ว่าระดับใด (รวมทั้งฟ้าหญิงจุฬาภรณ์) โดยที่การประชาสัมพันธ์และอบรมบ่มเพาะดังกล่าว ไม่เคยเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ โต้แย้ง ได้

ผลก็คือ แม้แต่การให้สัมภาษณ์ของพระองค์ (ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์) เช่นนี้ ก็ยากที่จะมีใครกล้าออกมาวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเมื่อเนื้อหาของการให้สัมภาษณ์นี้ เกี่ยวพันถึงในหลวงและพระราชินี ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอาญามาตรา 112 การจะวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งเนื้อหาการให้สัมภาษณ์ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพาดพิงถึง 2 พระองค์ด้วย (เช่น ทรงไม่ได้รับ "ความยุติธรรม" หรือไม่อย่างไร เป็นต้น)

ตามหลักการที่ทั่วโลกอารยะถือกันในปัจจุบัน การที่บุคคลสาธารณะ แสดงความเห็นต่อสาธารณะในเรื่องที่เป็นสาธารณะ เช่นที่ทรงให้สัมภาษณ์นี้ จะต้องเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้วิพากษ์วิจารณ์ แสดงความไม่เห็นด้วย หรือกระทั่งโต้แย้งได้ การไม่เปิดโอกาสเช่นนั้น ย่อมถือเป็นการ "ไม่แฟร์" หรือ "ไม่ยุติธรรม"

ในปริบทสังคมไทยทั้งทางกฎหมายและทางการประชาสัมพันธ์อบรมบ่มเพาะดังกล่าว ทำให้การพระราชสัมภาษณ์ที่ทรงเรียกร้อง "ความยุติธรรม" นี้ จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการประชาสัมพันธ์ด้านเดียวอบรมบ่มเพาะด้านเดียวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระราชวงศ์ ที่ตรวจสอบไม่ได้ วิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งไม่ได้ ซึ่ง "ไม่ยุติธรรม" ไปโดยปริยาย

........................................

ผู้ "นิยมเจ้า" จำนวนไม่น้อย มักจะโต้แย้งว่า การมี "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" และการห้ามการวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้ง ตรวจสอบการประชาสัมพันธ์และอบรมบ่มเพาะแบบด้านเดียวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระราชวงศ์ทุกพระองค์ เป็นเพราะ พระราชวงศ์ไม่อยู่ในฐานะที่จะมาโต้แย้งหรือตอบโต้การตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ได้ (มักจะพูดกันทำนองว่า "พระองค์ท่านไม่สามารถตอบโต้ได้" จึงต้องให้รัฐทำการ "ตอบโต้" ด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่รุนแรงในระดับที่ไม่มีประเทศอารยะที่ไหนอนุญาตให้มี)

ความจริง "เหตุผล" หรือข้อโต้แย้งนี้ ไม่มีน้ำหนัก ไม่เป็นเหตุผลแต่แรก เพราะ เป็นการให้เหตุผลแบบกลับหัวหลับหาง เอาปลายเหตุมาอ้างเป็นต้นเหตุ

การที่มีผู้เรียกร้องให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ (accountability) เกี่ยวกับพระราชวงศ์นั้น เริ่มมาจากการที่พระราชวงศ์ได้เข้ามามีบทบาททางสาธารณะในทุกด้านอย่างมหาศาล โดยมีระบบการประชาสัมพันธ์ด้านเดียวอบรมบ่มเพาะด้านเดียว เป็นเครื่องพยุงส่งเสริมบทบาทเหล่านั้น ซึงตามบรรทัดฐานที่ยอมรับกันทั่วไปในโลกอารยะ (รวมทั้งในประเทศไทยในกรณีอื่นๆ) บทบาทสาธารณะทุกอย่างของบุคคลสาธารณะและการประชาสัมพันธ์และอบรมบ่มเพาะทีเป็นสาธารณะในลักษณะนี้ จะต้องได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบโต้แย้งกระทั่งเสนอให้เอาผิดได้แต่แรก

ถ้าไม่มีบทบาทและระบบการประชาสัมพันธ์อบรมบ่มเพาะด้านเดียวเกี่ยวกับพระราชวงศ์แต่แรก ก็ไม่มีความจำเป็นหรือการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์หรือเสนอเอาผิด (accountability) แต่แรก

พูดง่ายๆคือ ถ้าไม่ต้องการให้มีการเรียกร้องเรื่อง accountability ไม่ต้องการให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบพระราชวงศ์ ก็ต้องไม่มีบทบาทอันมหาศาลและระบบการประชาสัมพันธ์ด้านเดียวอบรมบ่มเพาะด้านเดียวเกี่ยวกับพระราชวงศ์ แต่แรก


การมีสิ่งเหล่านี้แต่แรก แล้วเมื่อมีคนเรียกร้องเรื่อง accountability ต่อสิ่งเหล่านี้ แล้วฝ่าย "นิยมเจ้า" กลับมาอ้างว่าห้ามไม่ให้ทำ เพราะพระราชวงศ์ "ไม่สามารถออกมาตอบโต้เองได้" จึงเป็นการอ้างที่ภาวะปลายเหตุ อันเป็นภาวะที่เกิดจากการทำผิดหลักการเรื่องนี้แต่แรก

การที่ประเทศประชาธิปไตยทุกประเทศที่ยังมีพระราชวงศ์เป็นประมุข ไม่อนุญาตให้มีบทบาทสาธารณะของพระราชวงศ์และไม่อนุญาตให้มีระบบการประชาสัมพันธ์ด้านเดียว อบรมบ่มเพาะพลเมืองด้านเดียวเกี่ยวกับพระราชวงศ์ ในลักษณะที่ประเทศไทยมี นับแต่สมัยเผด็จการสฤษดิ์ ก็เพราะถือกันว่า การมีบทบาทสาธารณะและระบบประชาสัมพันธ์อบรมบ่มเพาะพลเมืองเกี่ยวกับเรื่องใดๆก็ตามนั้น จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบเอาผิดของสาธารณะได้แต่ต้น

พวก "นิยมเจ้า" ของไทย ยอมให้มีการทำผิดหลักการเรื่องการมีบทบาทสาธารณะและประชาสัมพันธ์อบรมบ่มเพาะซึงเป็นเรื่องสาธารณะ เกี่ยวกับพระราชวงศ์ โดยไม่มีการวิพากษ์ตรวจสอบแต่ต้น ซึ่งการยอมให้มีภาวะนี้ (ถ้ายืมคำที่ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงใช้) ต้องถือเป็นความไม่ "ยุติธรรม" แต่เมื่อมีคนเรียกร้องให้ปฏิบัติให้ถูกตามหลักการนี้ ให้ยุติภาวะ "ไม่ยุติธรรม" นี้ พวกเขาก็มาอ้างเรื่อง "พระราชวงศ์ตอบโต้ไม่ได้" ซึ่งเป็นการอ้างในลักษณะที่ ต้องการรักษาภาวะที่ "ไม่ยุติธรรม" ที่เกิดขึ้นก่อน จึงไม่สามารถเอาเรื่อง "ความยุติธรรม" มาอ้างได้

พูดง่ายๆคือ พวกเขากำลังอ้างว่า "ไม่ยุติธรรม ที่จะให้คนวิพากษ์วิจารณ์ เพราะพระราชวงศ์ตอบโต้ไม่ได้" ความจริงที่มีคนต้องการวิพากษ์วิจารณ์นั้น เกิดจากการที่สังคมไทยยอมให้มีความ "ไม่ยุติธรรม" เกิดขึ้นก่อน คือการยอมให้มีบทบาทสาธารณะอย่างมหาศาลของราชวงศ์ และมีระบบประชาสัมพันธ์อบรมบ่มเพาะแบบด้านเดียวมาพยุงบทบาทนั้น อย่างไม่มี accountability ก่อน ซึ่งไม่มีประเทศอารยะที่ไหน ยอมให้มี "ความไม่ยุติธรรม" เช่นนี้ เกิดขึ้นแต่แรก

เป็นการผิดหลักการที่สังคมไทยเองใช้กับเรื่องสาธารณะทั้งหลายแต่แรก

*******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:ฟ้าหญิงตรัส:ไม่อยากให้ฟังข่าวลือ ฉันอยากให้ในหลวง พระราชินีได้รับความยุติธรรมตามที่ท่านควรจะได้รับ

กองทัพไทย เป็นของใคร ? งบของใคร?

ที่มา Thai E-News


มีความผิดปกติเป็นอย่างมาก ในเดือนมีนาคมนี้ ที่มีแต่เรื่องการจัดตั้งหน่วยกำลังทางทหารค่อนข้างถี่ รวบรัดผิดสังเกต ดูลุกลี้ลุกลนเหมือนคนโดนยาสั่ง



โดย ปาแด งา มูกอ
31 มีนาคม 2554

มีความผิดปกติเป็นอย่างมาก ในเดือนมีนาคมนี้ ที่มีแต่เรื่องการจัดตั้งหน่วยกำลังทางทหารค่อนข้างถี่ รวบรัดผิดสังเกต ดูลุกลี้ลุกลนเหมือนคนโดนยาสั่ง ยังไงชอบกล

ผมจะลำดับคำพูด ของการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารประเทศแต่ละคนก่อนน่ะครับ แล้วจึงค่อยวิเคราะห์ความผิดสังเกตให้ท่านผู้อ่านได้เห็นกันชัดๆว่า แต่ละคนมันพูดอะไรของมัน ดูลุกลี้ลุกลนเหมือนคนโดนยาสั่ง จริงๆ

เริ่มต้นศักราชแห่งปีการผลาญงบประมาณ


วันที่ 6 ม.ค.2554 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เปิดบ้านให้ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. นำทหารม้าจากทั่วประเทศ เข้าขอพรปีใหม่ ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ โดย พล.อ.เปรม สวมเสื้อสีส้ม เป็นสีประจำวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันเกิด (26ส.ค.) ปัจจุบัน พลเอก เปรม อายุ 91 ปี

พล.อ.ทรงกิตติ เปิดเผยว่า พล.อ.เปรม บอกกับทหารม้า ให้มีความรักสามัคคี รวมกันเป็นหนึ่ง เพื่อดูแลชาติบ้านเมืองและปกป้องสถาบัน สำหรับพล.อ. เปรม เป็นนายทหารเหล่าม้า ซึ่งเป็นที่รักเคารพของทหารม้า จนพร้อมกันตั้งฉายาเรียกว่า "ป๋า"

ส่วนการจัดตั้งกองพลทหารม้าที่ 3 ตามแนวคิดของ พล.อ.เปรมนั้น พลเอกทรงกิตติ กล่าวว่า ทางกองทัพบกได้มีการจัดโครงสร้าง หรือการเตรียมกำลัง เราต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เราไม่ได้หมายถึงจะต้องเป็นกองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) หรือกองพลทหารราบ หน่วยบิน หรือกองเรืออะไรต่างๆ แต่เรามองในภาพรวม ดูถึงความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ และภัยคุกคามในโอกาสต่างๆ ทุกอย่างไม่สามารถหยุดนิ่งได้ จะต้องมีการเคลื่อนไหว และปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมของแต่ละสถานการณ์

แหล่งข่าวในกลาโหม กล่าวว่า การตั้งกองพลทหารม้าที่ 3 ที่ จ.ขอนแก่น ได้ผ่านการพิจารณา และอนุมัติของสภากลาโหม ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เป็นประธาน ขณะนี้รอการนำเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยงบประมาณผูกพันปีแรก 1 พันล้านบาท จากโครงการระยะยาว 10 ปี ทั้งหมด 7 หมื่นล้านบาท แต่หากไม่มีงบประมาณ ก็ให้ชะลอการซื้อรถถังไว้ก่อน

วันที่ 2 มีนาคม 2554 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติงบลับ กว่า 2.3 พันล้านบาท (สังเกตคำว่า 2.3 พันล้านบาทน่ะครับ) เพื่อดำเนินการจัดตั้ง กองพลทหารราบที่ 7 (พล.ร.7) จ.เชียงใหม่ และกองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) จ.ขอนแก่น ว่า กระทรวงกลาโหมได้เสนอ ครม.เรื่องความจำเป็นที่จะตั้งกองพลใหม่ขึ้นมาดูแลพื้นที่ความมั่นคงทางภาคเหนือและภาคอีสาน 2 กองพล โดยมีเหตุผลความจำเป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศ และการตั้งกองพลก็ต้องใช้เวลาจึงเริ่มปีนี้

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า การจัดตั้งกองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) จ.ขอนแก่น เป็นเพียงความต้องการของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเพียงคนเดียวที่จะใช้ชื่อตัวเอง ทั้งที่มีกองพลทหารม้าที่มีอยู่เดิม 2 แห่ง ก็ยังบรรจุอัตรากำลังพลไม่เต็ม นายสุเทพ กล่าวว่า ต้องขออภัย พอลงรายละเอียดเรื่องนี้ตนตอบไม่ได้ ต้องถามทาง รมว.กลาโหม

ต้องขออภัย พอลงรายละเอียดเรื่องนี้ตน (เทพเทือก) ตอบไม่ได้ หรือไม่กล้าตอบ

**********


วิเคราะห์บทสัมภาษณ์

นี่ไงครับหลักฐานระดับ “ลับที่สุด” ที่เทพเทือกไม่กล้าตอบ ขืนตอบมีหวังโดนบูทนาบหน้าแน่ๆ

วันที่ 17 มีนาคม 2554 พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลุกขึ้นชี้แจง ในสภา กรณีถูกพาดพิง เรื่องการจัดตั้งกองพลทหารราบที่ 7 และกองพลทหารม้าที่ 3 ว่าใช้เวลาการจัดตั้งทั้งสิ้น 3 ปี แต่ใช้งบประมาณเพียง 2,000 ล้านบาท (สังเกตคำว่า 2,000 ล้านบาทน่ะครับ)ไม่ใช่ 70,000 ล้านบาท ตามที่เข้าใจกันก่อนหน้านี้

ส่วนการจัดตั้ง พล.ร.7 นั้น ก็ใช้งบประมาณเพียง 9,000 ล้านบาท (สังเกตคำว่า 9,000 ล้านบาทน่ะครับ)ไม่ใช่ 10,000 ล้านบาท ซึ่งการจัดตั้งกองพลเหล่านี้ ต้องผ่านการตรวจสอบจากสภากลาโหม อยู่แล้ว

วิเคราะห์บทสัมภาษณ์

งบประมาณของการก่อตั้งทั้งสองกองพล ระหว่างคำพูดของเทพเทือก รองนายกฝ่าย ค.ม.ที่ว่า
“เพื่อดำเนินการจัดตั้ง กองพลทหารราบที่ 7 (พล.ร.7) จ.เชียงใหม่ และกองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) จ.ขอนแก่น 2.3 พันล้าน”
และคำพูดของ พล.อ.ประวิตร รมว.ก.ห. ที่ลุกขึ้นชี้แจงในสภา ว่า
“งบจัดตั้ง พล.ม.3 ใช้งบเพียง 2,000 ล้านบาท ส่วนงบจัดตั้ง พล.ร.7 ใช้งบเพียง 9,000 ล้านบาท”


สรุปแล้วทั้งสองกองพล มันก็เท่ากับใช้งบเพียง 1.1 หมื่นล้านบาท แล้วอีก 1.2 หมื่นล้านบาท มันไปซุกอยู่ที่ไหนว่ะ หือ รองนายกฝ่าย ค.ม. และ รมว.ก.ห.

แต่ที่แน่ๆ งบประมาณเฉพาะของ กองพลทหารม้าที่ 3 กองพลเดียวที่ใช้งบผูกพันปีแรก 1 พันล้านบาท จากโครงการระยะยาว 10 ปี ทั้งหมด 7 หมื่นล้านบาท แต่เพราะประเทศไทยตอนนี้เงินมันไม่มี หมดหน้าตักแล้ว “ก็ให้ชะลอการซื้อรถถังไว้ก่อน” นี่ล่ะครับเจ้าตัวสำคัญ เจ้ารถถังนี่แหล่ะครับ ที่ทำให้งบในการจัดตั้ง กองพลทหารม้าที่ 3 เหลือเพียง 2,000 ล้านบาท แต่ยังไงเสีย ตูก็จะหาเรื่องตั้ง กองพลทหาราบที่ 7 ขึ้นมาเพื่อเอางบอีก 9,000 ล้านบาท ใครจะทำไม กองพลนี้ป๋าไม่เกี่ยว

ความวัวยังไม่ทันหายเหม็น ความควายก็เข้ามาแทรก กองพลใหม่อาณาจักรภาคใต้ ความหวังของใคร? เทพเทือก,ผบ.ทบ.โดนยาสั่งจากใคร?


ผมขออธิบายถึงความเป็นมาของ กองพลทหารราบที่ 15 ( พล.ร.15 ) ให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบก่อนน่ะครับ

ในยุคสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ครม.ในสมัยนั้นได้มีมติเห็นชอบในการจัดตั้ง กองพลทหารราบที่ 15 (พล.ร.15) โดยใช้ค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นที่ตั้งหลัก

ทั้งนี้ไม่ใช่การจัดตั้งกองพลขึ้นใหม่ แต่เป็นการโอนย้ายกองพลทหารราบที่ 16 อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ไปอยู่แทน โดยใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการโครงการเป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2548-2551 โดยที่ประชุม ครม. ได้ให้ทางกระทรวงกลาโหมไปหารือกับสำนักงบประมาณ เพื่อปรับลดงบประมาณที่จัดตั้งอีกครั้งหนึ่ง

ในส่วนของกำลังพลที่โอนย้ายไปอยู่กองพล ที่จัดตั้งขึ้นใหม่คิดเป็นร้อยละ 35 ของกำลังพลในหน่วยเดิม มียศ ร.อ.ขึ้นไป ในส่วนของกำลังพลหลักชั้นประทวนตั้งแต่ร้อยโทลงไปจนถึงทหารเกณฑ์

ทาง ครม.ได้อนุมัติอัตรากำลังพลใหม่รวม 12,000 นาย ภายในระยะเวลา 4 ปี สำหรับกองพลทหารราบที่ 15 นี้มีการจัดแบ่งเป็น 3 กองพันทหารราบเบาประจำใน จ.ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส มีนายทหารยศ พล.ต.เป็น ผบ.พล.ร.15

อยู่ภายใต้การดูแลสั่งการของ ผอ.กอ.สสส.จชต.ในแต่ละกองพันจะประกอบไปด้วย 3 กองร้อยหลัก คือ กองร้อยทหารเสนารักษ์ กองร้อยทหารช่างพัฒนา และกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา ทั้งนี้ ทหารในกองพลทหารราบที่ 15 ยังมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนด้วย

ประวัติ กองพลทหารราบที่ 15 (พล.ร.15) ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย

กองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากร

๑. นามค่ายและสถานที่ตั้ง
๑.๑ นามค่าย : “ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ”
๑.๒ สถานที่ตั้ง : เลขที่ ๘ ถ.เพชรเกษม (กม.ที่ ๒๓๙ – ๒๔๒) ต.หนองแก อ.หัวหิน จว.ประจวบคีรีขันธ์

๒. หน่วยทหารที่ตั้งอยู่ในค่าย

๒.๑ บก.และร้อยบก.พล.พท. โดยแปรสภาพมาจาก บก. และ ร้อย.บก.พล.ร.๑๖
๒.๒ กรม พท.๑ โดยแปรสภาพมาจาก ร.๑๖๑
๒.๓ กรม พท.๑ พัน.๑ โดยแปรสภาพมาจาก ร.๑๖๑ พัน.๑
๒.๔ กรม พท.๑ พัน.๒ เป็นหน่วยจัดตั้งขึ้นใหม่
๒.๕ กรม พท.๒ โดยแปรสภาพมาจาก ร.๑๖๒
๒.๖ กรม พท.๒ พัน.๑ โดยแปรสภาพมาจาก ร.๑๖๒ พัน.๑
๒.๗ กรม พท.๒ พัน.๒ เป็นหน่วยจัดตั้งขึ้นใหม่

๓. ประวัติความเป็นมาของการจัดตั้ง

เดิมเป็นหน่วยกองพลทหารราบที่ ๑๖ ซึ่งได้จัดตั้งตามคำสั่ง ทบ. ที่ ๑๐๒/๒๔ เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๒๔ โดยเป็นหน่วยทหารกองหนุนในระดับกองพลเพื่อเป็นกำลังเสริมตามแผนเผชิญเหตุ ซึ่งได้บรรจุกำลังประจำการ ๓๐% และบรรจุกำลัง สำรอง ๗๐% เมื่อเริ่มจัดตั้งมีที่ตั้งชั่วคราวอยู่ในศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ อ.ปราณบุรี จว.ประจวบคีรีขันธ์ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้ย้ายจากที่ตั้งชั่วคราวมาเข้าที่ตั้งปกติถาวร ณ บริเวณตรงข้ามสวนสนประดิพัทธ์ ต.หนองแก อ.หัวหิน จว.ประจวบคีรีขันธ์

ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี ให้ กองทัพบก ดำเนินการจัดตั้งหน่วยทหารเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ รับผิดชอบการปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายใน และให้ความปลอดภัยแก่ประชาชน โดยน้อมนำแนวทางพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๓ ประการ คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นแนวทางในการดำเนินการ โดยให้ กองพลทหารราบที่ ๑๖ เป็นฐานในการจัดตั้ง /แปรสภาพหน่วย และให้ใช้ชื่อหน่วยว่า “กองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากร” เมื่อ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามคำสั่ง ทบ. ลับ-เฉพาะ ที่ ๒๓/๔๘ ลง ๒๔ มี.ค. ๔๘

ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ได้รับพระราชทานนามค่าย เมื่อวันที่ ๙ พ.ย. ๒๕๓๕ โดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานนามค่ายทหาร ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๒ ลง ๑ ธ.ค. ๓๕ หน้า ๑๓๕๔๒

ประวัติความเป็นมาของนามค่ายได้มาจากพระวีรกรรมของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์สุโขทัย พระอัครมเหสีคู่พระทัยในสนามยุทธหัตถีของ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งทรงเป็นกษัตราธิราช พระองค์ที่ ๑๒ ของราชวงศ์สุพรรณภูมิ แห่งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ด้วยพระวีรกรรมแห่งสมเด็จพระศรีสุริโยทัย คราวทำศึกกับพม่า เมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก พุทธศักราช ๒๐๙๑ ที่ทรงคชาธารตามเสด็จ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิออกศึก โดยทรงเครื่องพิชัยยุทธเป็นชาย ในระหว่างการชนช้างของ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าแปร แห่งพม่า ช้างของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียเชิงแก่ช้างพระเจ้าแปรทำให้ตกอยู่ในอันตราย เห็นดังนั้น สมเด็จพระสุริโยทัย จึงทรงขับช้างเข้าช่วย และเสียทีถูกพระแสงของ้าวของพระเจ้าแปรสิ้นพระชนม์

ด้วยพระวีรกรรมดังกล่าว แสดงออกถึงความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ในการอาสาศึก จนสิ้นพระชนม์ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างของเหล่าทหาร ดังนั้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ แด่พระองค์ท่าน ในฐานะวีรกษัตรี กอปรกับในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีมหามงคล เนื่องในวโรกาสครบรอบสิริพระชนมพรรษา ๕ รอบ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงได้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทาน นามค่ายว่า “ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ”

หมายเหตุ สำหรับ นขต. พล.พท. ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในค่ายธนะรัชต์ อ.ปราณบุรี จว.ประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย

- กรม พท. ๓ โดยแปรสภาพมาจาก ร.๑๖๓
- กรม พท. ๓ พัน ๑ โดยแปรสภาพมาจาก ร.๑๖๓ พัน ๑
- กรม พท. ๓ พัน ๒ เป็นหน่วยจัดตั้งขึ้นใหม่

พล.ร.๑๕

ประวัติหน่วย

“พล.ร.๑๕ ” ถือกำเนิดจากการเปลี่ยนนามหน่วย “กองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากร” เป็น “ กองพลทหารราบที่ ๑๕ ” ตามคำสั่ง กองทัพบก (เฉพาะ) ลับมาก ที่ ๑๘/๕๐ ลง๑๔ มี.ค.๕๐ เรื่องการเปลี่ยนนามหน่วย พล.พท. และ นขต.พล.พท. โดยให้เปลี่ยนนามหน่วย และเครื่องหมายสังกัด จากเดิม พล.พท. เป็น “ พล.ร.๑๕ ” และใช้ อจย. ๗ - ๒๑ เป็นอัตราการจัดอาวุธยุทโธปกรณ์

ที่ตั้งหน่วย

ที่ตั้งปกติชั่วคราว : ค่ายเด็จพระสุริโยทัย ต.หนองแก อ.หัวหิน จว. ประจวบคีรีขันธ์
ที่ตั้งปกติถาวร : ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จว. ปัตตานี
ภารกิจของหน่วย : พัฒนาประเทศ ปฏิบัติการรบรักษาความมั่นคงภายในและรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่
การปฏิบัติที่สำคัญ : จัดตั้ง กองกำลังศรีสุนทร ปฏิบัติงานในพื้นที่ จชต.ห้วงตั้งแต่ ต.ค.๔๘ จนจบภารกิจใน ก.ย.๕๐
เกียรติประวัติของหน่วย :
วันสถาปนาหน่วย : วันที่ ๑ เม.ย. วันสถาปนาหน่วย พล.ร.๑๕

เมื่อท่านผู้อ่านได้รับทราบประวัติความเป็นมาของกองพลนี้แล้ว ทีนี้ก็มาช่วยกันวิเคราะห์กันว่า ในเมื่อปัจจุบัน การปฏิบัติงานของ กองพลทหารราบที่ 17 ที่อยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้บวก 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ก็เป็นไปโดยปกติ อู้บ้าง ขยันบ้าง ขัดขากันเองบ้าง แล้วอยู่ๆวันดีคืนดีก็มาอ้างถึงความจำเป็นที่จะต้องตั้งกองพลนี้ ในพื้นที่ชายแดนใต้ให้ได้ มันอะไรกันหนักหนาที่ต้องร้อนรนให้มันเสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2554 ให้จงได้

ประเด็นนี้มันมีที่มาที่ไปครับ

ประเด็นที่ 1 มีการตั้งคำถามจากนักรบชายแดนใต้ว่า กองพลทหารราบที่ 15 จะเป็นกองพลที่ต้องดูแลสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน คือการก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำไมจึงมีความเร่งด่วนต่ำกว่า กองพลทหารม้าที่ 3 ?

ประเด็นนี้น่าจะเป็นการต่อต้าน “เจ้าของความฝัน พล.ม.3” โดยตรง เพราะกำลังพลส่วนใหญ่ของ พล.ร.15 ไม่ใช่คนใต้ทั้งหมด ดังนั้นกำลังพลเหล่านี้จึงไม่เข้าใจ “เจ้าของความฝัน” เท่าใดนัก

ประเด็นที่ 2 ปัจจุบัน กองพลทหารราบที่15 จะมีที่ตั้งถาวรอยู่ที่ ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ส่วนบริเวณค่ายอิงคยุทธบริหารเป็นที่ตั้งชั่วคราวไปก่อนจนกว่าที่ตั้งถาวรที่ปัตตานีจะเสร็จ ที่พอจะทราบก็มีโรงเรียนนายสิบมาซุ่มดูพื้นที่ กับ หน่วยรักษาพระองค์ พื้นที่กว้างขวางมากครับ

เดิมพื้นที่นี้มี บก.พล.ร.16 กรม ร.161 พัน1 กรม ร.162 พัน1 และมีศูนย์วิวัฒพลเมือง วันนี้ไม่คึกคักเหมือนเก่าเงียบเหงาเพราะบุคคลากรส่วนใหญ่ลงไปปฎิบัติหน้าที่ 3 จชต.กันเกือบหมด

ปัญหาที่จะตามมาหลังจากย้ายไปอยู่ที่ตั้งถาวรกันแล้ว ก็คือเรื่องการย้ายสำมะโนครัวของครอบครัว กำลังพลส่วนใหญ่ที่อยู่ตามบ้านพักต่างๆซึ่งจะต้องย้ายตามสามีไปด้วยวิถีชีวิตที่จะต้องเปลี่ยน

พักหลังๆที่ได้ทราบข่าวมาว่าแนวหลังค่อนข้างดูหดหู่บางครอบครัวก็แตกแยกเพราะหัวหน้าครอบครัวไปอยู่ที่ 3 จชต. ตั้งแต่ปี 48 ไม่ได้เปลี่ยนผลัดเหมือนหน่วยอื่น ไม่มีกำลังพลหมุนเวียนทำให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมา โยกกำลังพลกันสนุกเลยละครับ

ยกตัวอย่าง สิบเอก สุเทพ. ตำแหน่งนายสิบยานยนต์ พัน1 อยู่ไปได้3เดือน โยกไปเป็นหน่วยข่าว จากหน่วยข่าวโยกไปเติมกำลังให้ พัน 2 ที่จัดตั้งใหม่ให้ครบ อจย.เป็นตำแหน่ง หัวหน้าชุดยิง จากนั้นโยกไปอยู่ โครงการพระราชดำริ จากนั้นโยกไปอยู่สาย กร.พัน2 จากนั้นโยกกลับอยู่ พัน1 ตำแหน่งหัวหน้าชุดยิง จากนั้นพอ พัน3 จัดตั้งโยกไปอยู่ พัน3 อีกตำแหน่ง เห็นแล้วเหนื่อยแทนเลยครับ นี้ยกตัวอย่างแค่ นายสิบที่ชื่อสุเทพ คนเดียวนะครับ ส่วนนายทหารไม่ต้องพูดถึงเละยิ่งกว่านี้หลายเท่า

ทีนี้เราก็จะมาดูถึงการตั้ง กองพลทหารราบที่ 15 ทางภาคใต้ ว่ามันลุกลี้ลุกลนกันยังไง

วันที่ 8 มีนาคม 2554 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขา สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการตั้งกองพลทหารราบที่ 15 ( พล.ร.15) เมื่อไหร่จะแล้วเสร็จจะได้ไม่ต้องสับเปลี่ยนกำลัง นายถวิลกล่าวว่า มันไม่ง่าย เป็นเรื่องเร่งด่วน สำหรับการผลิตกำลังพลก็ต้องหมุนเวียนไปก่อน การแต่งตั้งกองพลทหารราบที่ 15 มันต้องใช้เวลา

เมื่อถามด้วยว่า 7 ปีที่ผ่านมาทำไมถึงล่าช้า นายถวิลกล่าวว่า เรื่องสถานการณ์ภาคใต้มันเป็นสถานการณ์ใหม่ มันเปลี่ยนจาก 30-40 ปีที่แล้ว ไม่ใช่การต่อสู้ของคอมมิวนิสต์แล้ว แต่บางอย่างอาจจะนำมาใช้ได้ บางอย่างพัฒนาขึ้นมาใหม่ เจ้าหน้าที่กำลังพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมา จึงจำเป็นต้องหมุนเวียนกำลังพล

วิเคราะห์บทสัมภาษณ์


สำหรับท่านถวิล เปลี่ยนศรี เลขา สมช.ท่านนี้ ท่านน่าจะเป็นสมภารเจ้าวัดเสียมากกว่า เพราะท่านมุสาไม่เป็น มีอะไรก็พูดตรงๆไม่อ้อมค้อม แต่ผมขอฟันธงว่า คำพูดของท่านมันเบาเหมือนปุยนุ่น หรือลูกโป่งฟองสบู่ที่เด็กๆชอบเป่าเล่น ถึงแม้จะพูดตามความเป็นจริงก็ตาม อย่างเช่นเรื่อง “ผังล้มเจ้า” ที่ดันไปพูดความจริงเสียหมดว่า ผังล้มเจ้า เป็นความผิดพลาด เป็นตราบาปของ ศอฉ. อ้าวแล้วท่านในฐานะ เลขาศูนย์อับเฉา ท่านมิต้องมีตราบาปติดตัวไปจนตายเหมือนกับคนอื่นเขาหรอกหรือ ท่านถวิล

แผนผัง “ล้มเจ้า” (ฉบับอิ๊กคิวซัง) เป็นแค่การวิเคราะห์เชื่อมโยงบุคคล ที่ฝ่ายยุทธการปัญญาอ่อน ที่มือซนได้ขีดเขียนเล่นในขณะนั่งถ่ายทุกข์เท่านั้นเอง

วันที่ 22 มี.ค. 2554 ที่ทำเนียบรัฐบาลนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประเด็นหนึ่งที่ผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่อง การตั้งกองพลทหารราบที่ 15 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายเทพเทือกได้ตอบอย่างฉะฉานว่า
“...ความคืบหน้าในการตั้งกองพลทหารราบที่ 15 ต้องใช้เวลานานหน่อย แต่ขณะนี้ดำเนินการไปได้มากแล้ว และจะพยายามเร่งรัดให้เร็วที่สุด…”


วิเคราะห์บทสัมภาษณ์

มาอีหรอบเดียวกันกับการตั้ง กองพลทหารม้าที่ 3 และ กองพลทหารราบที่ 7 ที่ว่า “กระทรวงกลาโหมได้เสนอ ครม.เรื่องความจำเป็นที่จะตั้งกองพลใหม่ขึ้นมาดูแลพื้นที่ความมั่นคงทางภาคเหนือและภาคอีสาน 2 กองพล โดยมีเหตุผลความจำเป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศ และการตั้งกองพลก็ต้องใช้เวลา จึงเริ่มปีนี้ ” แนวเดียวกันเลยไอ้คำว่า “ใช้เวลานานหน่อย” กับคำว่า “ต้องใช้เวลา”

แต่ดันเสือกร้อนรนรีบตั้งหาพระแสงอะไร เจ้าเทพเทือก ประชาชนเขาสงสัย

วันที่ 23 มี.ค. 2554 ที่สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. เปิดงาน "ประธานชมรมทำดีมีอาชีพ และประธานสภาสันติสุขตำบล พบผู้บริหารระดับสูง" 290 ตำบล ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

พล. อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การแก้ปัญหาภาคใต้ต้องลดปัญหาภัยแทรกซ้อน ทั้งกลุ่มอิทธิพลค้าของเถื่อน ทำผิดกฎหมาย ซึ่งแพร่กระจายในหลายหมู่บ้าน ตนกำชับไม่ให้เจ้าหน้าที่ทำผิดกฎหมาย หากผิดต้องถูกลงโทษ และผู้ที่กระทำความผิดต้องได้รับการดูแลอย่างยุติธรรม เจ้าหน้าที่จะไม่ใช้มาตรการรุนแรงใดๆ ทั้งสิ้น เว้นแต่ผู้ก่อความไม่สงบจะมีอาวุธ

เหตุการณ์ทั้งกรือเซะ ตากใบ เป็นเรื่องที่เราไม่สบายใจ ขณะนี้เรื่องทั้งหมดอยู่ในกระบวนการยุติธรรม (พลาดอีกเรื่องหนึ่งแล้วเจอไมค์ไม่ได้จริงๆ เรื่องนี้มีปมที่ลึกมากๆครับท่านผู้อ่าน คราวหน้าผมจะนำมาขยายความให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบกันต่อไปว่า ทำไม? ไกรศักดิ์ “ซ้ายผับ”กับปณิธาณ “เลียไข่” จึงพยายามที่จะขุดเหตุการณ์ทั้งสองขึ้นมา เพื่อหวังผลอะไร ? ท่านผู้อ่านคงจะเริ่มอ่านเกมส์ออกแล้วล่ะสิ )

ประชาชนและรัฐต้องช่วยกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก ยอมรับว่าการดูแลรักษาความปลอดภัยตอนนี้ยังไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะพื้นที่กว้างไกล แต่ก็น่ายินดีที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ส่วนที่มีคนบอกว่า บางโครงการที่ลงไปในหมู่บ้านประชาชนไม่ต้องการ ยืนยันว่าทุกโครงการผ่านสภาตำบล ถ้าต้องการให้บ้านเมืองไปได้ต้องช่วยกันแก้ปัญหา อย่าให้ร้ายทะเลาะกัน

จาก นั้นพล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีประชาชนในพื้นที่อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ไม่เห็นด้วยที่ทหารจะย้ายฐานออกจากพื้นที่ว่า ให้แม่ทัพภาคที่ 4 พิจารณาทบทวนว่า ระยะยาวจะทำอย่างไรให้ดูแลพื้นที่ให้ปลอดภัยทั้งหมด และให้ประชาชนมีความมั่นใจ ขณะนี้เรามี พล.ร.15 (กองพลทหารราบที่ 15)ซึ่งจะดูแลพื้นที่ให้ปลอดภัยทั้งหมด แต่จะต้องปรับพื้นที่รับผิดชอบให้เหมาะสมขึ้น หรือบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยเก่ากับหน่วยใหม่ ซึ่งคงต้องพิจารณาอีกครั้งโดยให้แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้ตัดสินใจ ทั้งนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความพอใจของประชาชน ต้องรอติดตามผลต่อไป

ห่างกันแค่ 1 วัน มันมาอีกแล้ว!!!

ผบ.ทบ.เร่งสร้างความพร้อม กองพลทหารราบที่ 15 คุมจังหวัดชายแดนใต้ รับภารกิจดับไฟใต้เบ็ดเสร็จหน่วยงานเดียว

วันที่ 25 มีนาคม 2554 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ ผบ.ทย. ได้สัมภาษณ์ถึงการสร้างความพร้อมให้กับกองพลทหารราบที่ 15 (พล.ร. 15) เพื่อให้เข้ามารับผิดชอบพื้นที่ทั้งหมดในอนาคต ว่า ดำเนินการตามระยะเวลา อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ยังไม่เรียบร้อยถึงขั้นมีการใช้ความรุนแรง พล.ร. 15 ยังรับผิดชอบหน่วยเดียวไม่ไหว เนื่องจากมีเพียงกองพลเดียว จึงยังจำเป็นต้องให้กำลังพลจากหน่วยอื่น ๆ เข้ามาเสริมการทำงาน

แต่เมื่อใดที่สถานการณ์เรียบร้อยก็ต้องค่อย ๆ ลดทหารจากส่วนอื่นลงไป ซึ่งเรื่องนี้กองทัพบกมีแผนอยู่แล้ว และเกิดกรณีประชาชนในพื้นที่ไม่ต้องการให้ พล.ร.15 เข้ามาดูแลเพราะต้องการให้หน่วยเดิมดูแลต่อไป ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะต่อไปพล.ร. 15 ต้องรับผิดชอบทั้งหมด

และในเดือนเมษายนนี้จะเริ่มปรับพื้นที่ใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การจัดอัตรากำลังยังเท่าเดิม ตรงไหนปกติแล้ว เราก็จะผ่องถ่ายไปให้ พล.ร. 15 เขารับไป ประชาชนต้องเข้าใจ ต้องไว้ใจ เพราะพล.ร. 15 เขาไม่ไปไหน เขาอยู่ในพื้นที่ คนอาจไม่เข้าใจคิดว่าทำไมอยู่แป๊บเดียวก็เปลี่ยน แต่ความจริงเขาไปหลายรอบแล้ว ก่อนไปก็ต้องอบรมตั้ง 6-7 เดือน เรื่องระเบียบวินัย วัฒนธรรม ศาสนา แต่จะให้รู้ทุกอย่างคงเป็นไปไม่ได้ แต่เรารู้ว่าอะไรที่เราไปทำแล้วไม่ผิดเขา

ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ประเมินผลการทำงานของแต่ละเหล่าทัพที่เข้าไปเสริมการทำงานในพื้นที่มาตลอด และพบว่าดีขึ้นกว่าเดิม ในส่วนใดที่เขาใช้อาวุธเราก็ต้องใช้อาวุธก็ใช้ แต่ถ้าเขาไม่ใช้อาวุธ เราก็ใช้กฎหมายการสร้างความเข้าใจ ซึ่งทำมาตลอด

วิเคราะห์บทสัมภาษณ์

นี่ไงครับที่ผมบอกว่า การตั้งหน่วยกำลังทางทหารระดับ กองพลในเดือน มีนาคม นี้มันดูลุกลี้ลุกลนเหมือนคนโดนยาสั่ง ยังไงชอบกล!!!

ท้ายนี้ได้ข่าว โคตรลับ มาว่า ได้มีการเตรียมขอโปรดเกล้า ชื่อค่าย ของ กองพลทหารราบที่ 15 ว่า “ค่ายพญาตานี” ครับผม

พสกนิกรปลื้ม"ลูก หมี"สุนัขทรงเลี้ยงฟ้าหญิงเล็ก คิดถึง"คุณต่งต๊ง"ที่เคยใส่เพชร150ล้านเดินแฟชั่นโชว์

ที่มา Thai E-News



(ภาพบน)สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงอุ้ม "ลูกหมี" สุนัขทรงเลี้ยง ขณะพระราชทานสัมภาษณ์พิเศษรายการ "วู้ดดี้เกิดมาคุย" (ภาพล่าง)"คุณต่งต๊ง"สุนัขทรงเลี้ยงเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณฯ เมื่อครั้งงานแฟชั่น ชุดคริสต์มาส ด็อก ขึ้นเวทีในชุดคลุมซานตาคลอสสีแดง ประดับเพชร 150 ล้าน

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
31 มีนาคม 2554

พสกนิกรต่างปลาบปลื้มปิติเป็นล้นพ้นในการที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงอุ้ม "ลูกหมี" สุนัขทรงเลี้ยง พระราชทานสัมภาษณ์พิเศษรายการ "วู้ดดี้เกิดมาคุย" เมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา (อ่าน :กระทู้เฉลิมไทย พันทิปซาบซึ้ง ฟ้าหญิงทรงขอความเป็นธรรมให้แก่พระเจ้าอยู่หัวกับราชินี)

อย่างไรก็ดีพสกนิกรผู้จงรักภักดีจำนวนไม่น้อย ก็หวนนึกถึง"คุณต่งต๊ง"สุนัขทรงเลี้ยงอีก 1 สุนัขของเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ไม่ได้ โดยในกระดานสนทนาประชาทอล์กพสกนิกรก็อยากทราบข่าวคราวคุณต่งต๊งกันมาก

ทั้งนี้หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552 นำเสนอข่าวพาดหัวเรื่อง "คุณต่งต๊ง"สุนัขทรงเลี้ยง-ใส่เพชร150ล. ฟ้าหญิงเล็ก ให้เปิดตัว เดินแฟชั่น โดยมีรายละเอียดข่าวดังนี้

ฮือฮา "คุณต่งต๊ง" สุนัขทรงเลี้ยงเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณฯ เปิดตัวครั้งแรกในงานแฟชั่น ชุดคริสต์มาส ด็อก ขึ้นเวทีในชุดคลุมซานตาคลอสสีแดง ประดับเพชร 150 ล้าน ต่อด้วยการแสดงความสามารถต่อหน้าประชา ชนจำนวนมาก เผยเป็นพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟ เวอร์ เพศผู้ อายุ 4 ปี ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ

ฮือฮาเปิดตัว"คุณต่งต๊ง" สุนัขทรงเลี้ยงเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณฯ เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 11 ธ.ค.ภายในงาน "ที คัพ ด็อก 2009 แอท เซ็นทรัล พลาซา ปิ่นเกล้า" ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงมีพระมหา กรุณาธิคุณ พระราชทานสุนัขทรงเลี้ยง "คุณต่งต๊ง" พันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เพศผู้ อายุ 4 ปี มาร่วมเดินแฟชั่นโชว์ในชุดคริสต์มาส ด็อก พร้อมทั้งร่วมโชว์ความสามารถ ท่ามกลางประชาชนจำนวนมากรอชื่นชมความสวยงามและความสามารถของสุนัขทรงเลี้ยง "คุณต่งต๊ง"

ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกก.ผจก. ใหญ่ สายการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ปิ่นเกล้า กล่าวบนเวทีถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานว่า จากกระแสนิยม การเลี้ยงสุนัขพันธุ์เล็กในปัจจุบัน การจัดงานครั้งนี้จึงมุ่งหวังเป็นสื่อกลางให้ผู้รักสุนัขพันธุ์เล็กมีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้การดูแลสุนัข ระหว่างผู้เลี้ยงด้วยกันเอง รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ และสัตวแพทย์

จากนั้นมีการเดินแฟชั่นโชว์ ซึ่งเป็นไฮไลต์ของงาน โดย 3 ดาราสาวสวยเซ็กซี่ ซาร่า มาลากุล เลน, หมิง-ชาลิสา บุญครองทรัพย์ และไอซ์-อภิษฎา เครือคงคา อุ้มสุนัขพันธุ์เล็ก ชิวาว่า เดินแฟชั่น ปิดท้ายด้วยการเดินแบบชุด ฟินาเร่ โดย"คุณต่งต๊ง" สุนัขทรงเลี้ยงของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในชุดคลุมแบบซานตาคลอส สีแดง ประดับเพชร 100 กว่ากะรัต มูลค่าเกือบ 150 ล้านบาท เป็นเพชรสีขาว 300 กว่าเม็ด เพชรเม็ดใหญ่ 1 เม็ดหนัก 8 กะรัต และเพชร สีเหลืองอีก 7 เม็ดๆ ละ 1 กะรัตกว่า

นอกจากเดินแฟชั่นโชว์แล้ว "คุณต่งต๊ง"ยังแสดงความสามารถ ด้วยการทำตามคำสั่งครูฝึก ทั้งยืนสองขา คาบตะกร้าเดิน สร้างความตื่นเต้นประทับใจให้กับประชาชนจำนวนมากที่มาร่วมงาน หลายคนใช้กล้องและโทรศัพท์ถ่ายภาพ"คุณต่งต๊ง"ตลอดการแสดง โดยสุนัขทรงเลี้ยงของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ไม่ได้แสดงอาการตื่นแต่อย่างใด

ภายหลังเสร็จสิ้นการแสดง ทางผู้จัดงานนำภาพการเดินแฟชั่นโชว์ของ"คุณต่งต๊ง" 1 ภาพ มาจัดประมูลเพื่อนำรายได้มอบให้กับสถาบัน วิจัยโรคมะเร็ง โดยภาพดังกล่าวจะเปิดประมูลไปจนถึงวันที่ 16 ธ.ค.ที่ลานโปรโมชั่น ชั้นจี ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า ซึ่งราคาประมูลวันแรกมีผู้เสนอจำนวนสูงสุดที่ 150,000 บาท

สำหรับ"คุณต่งต๊ง" สุนัขทรงเลี้ยงของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เกิดเมื่อวันที่ 18 ส.ค.2548 มีแม่ชื่อคุณเค้าแมว พ่อชื่อคุณโกลด์ คลอดออกมาทั้งหมด 9 สุนัข "คุณต่งต๊ง"เป็นสุนัขที่ 2 มีอุปนิสัยร่างเริง เรียบร้อย ช่างสังเกต ช่างเอาอกเอาใจ สุขภาพแข็งแรง ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

ส่วนที่มาของชื่อ"ต่งต๊ง"นั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงได้แนวทางจากการเสด็จพระราช ดำเนินเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พระราชทานชื่อลูกสุนัขทรงเลี้ยงทั้งหมดเป็นภาษาจีน และงานนี้ถือเป็นการเปิดตัวครั้งแรกของ"คุณต่งต๊ง"




สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงอุ้ม "ลูกหมี" สุนัขทรงเลี้ยง ขณะพระราชทานสัมภาษณ์พิเศษรายการ "วู้ดดี้เกิดมาคุย" เมื่อวันที่ 29 มี.ค.(ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด )

************
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

-ฟ้าหญิงตรัส:ไม่อยากให้ฟังข่าวลือ ฉันอยากให้ในหลวง พระราชินีได้รับความยุติธรรมตามที่ท่านควรจะได้รับ

--กระทู้เฉลิมไทย พันทิปซาบซึ้ง:ฟ้าหญิงทรงขอความเป็นธรรมให้แก่พระเจ้าอยู่หัวกับราชินี

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

คนสีขาวบนเส้นทางสีเทา? ′ปุระชัย′ เฉียดโจร-เฉี่ยวนายกฯ

ที่มา มติชน



สัมภาษณ์พิเศษ โดย หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ



"..เราไม่ใช่โจร ไม่ได้ไปปล้นใคร หลายคนบอกว่าเราฉกฉวยสถานการณ์ ขอบอกเลยว่าไม่ใช่ แต่เราเกิดขึ้นในภาวะขาดแคลนผู้นำ.."

ปี 2548 "เขา" หลุดวงโคจร "อำนาจเก่า" หลังเปิดฉากทำ "สงครามคนดี" กับ "เอ็นจีโอต้นทุนสูง" ก่อนหันหลังให้พรรคไทยรักไทย (ทรท.) ซึ่งตัวเองเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง

ปี 2549 "เขา" กลับเข้ารัฐสภาด้วยแรงสนับสนุนจาก "ขั้วอำนาจใหม่" ในบทบาทสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทว่าไม่อาจรอดพ้นจาก "วิบากกรรมหมู่" โดยตกเป็นจำเลยร่วมในคดีทุจริตโครงการหวยบนดิน และคดีกล้ายาง ทั้งที่ชีวิตนี้ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะ "ต้องคดีอาญา" เพราะไม่ได้ทำผิด-ประพฤติชั่ว-คอร์รัปชั่น

ปี 2554 "เขา" กลับมามีที่ยืนในทางการเมืองอีกครั้ง ในฐานะ "ว่าที่หัวหน้าพรรคประชาสันติ"

"พรรค" ที่แปลงสภาพจาก "พรรคธรรมาธิปไตย" อดีต "หัวสำรอง" ของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ก่อนตัดสินคดียุบพรรคปี 2553 เนื่องจากมี "ธันวา ไกรฤกษ์" ลูกพี่ลูกน้อง "จุติ ไกรฤกษ์" รมว. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหัวหน้าพรรค

พรรคที่ "ผู้ก่อตั้ง-ผู้ร่วมอุดมการณ์" มีหลายขั้ว-หลายเฉด ไม่ว่าจะเป็น "พันธ์เลิศ ใบหยก" อดีตรองเลขาธิการ ทรท. ที่มีชื่อติดบัญชี "ท่อน้ำเลี้ยง" กลุ่มคนเสื้อแดงของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)

หรือ "พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ" อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) น้องชาย "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" รมว.กลาโหม ที่ถูกมองว่ามีสัมพันธ์แนบแน่นกับพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ของ "เนวิน ชิดชอบ"

ในวันที่ตัดสินใจวกกลับสู่ปลักโคลนการเมือง "ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์" เจ้าของสมญา "คนดีไม่มีเสื่อม" ยอมรับว่าบทบาท "นักวิชาการ" ที่ทำในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา มีแต่ "พระคุณ" ไม่มี "พระเดช"

เมื่อ "วงรอบการเมือง" ย้อนกลับไปสู่จุดใกล้เคียงกับปี 2541 ที่มีการก่อตั้ง "พรรคคิดใหม่ทำใหม่" จึงเป็นจังหวะที่พรรค-พวก-เพื่อน "ปุระชัย" คิดลุยทำ "พรรคทางเลือกใหม่" อีกครั้ง

แต่ด้วยปฏิทินยุบสภาของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกรัฐมนตรี ที่กระชั้นเข้ามา ทำให้ "ปุระชัยกับพวก" ตัดสินใจยืม "หัว" ธรรมาธิปไตยที่จดทะเบียนไว้แล้ว และหาสมาชิกพรรคได้ครบ 5 พันคนตามกฎหมายกำหนดแล้ว ก่อนเปลี่ยนชื่อ แปลงอุดมคติ ปลดโลโก้เก่า รื้อโครงสร้างกรรมการบริหาร (กก.บห.) ใหม่

"หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ผมมีโอกาสสัมผัสคนเยอะ โดยเฉพาะคน กทม. บอกว่าถ้ามีการเลือกตั้งจะไม่ออกไปใช้สิทธิ เพราะไม่รู้จะเลือกใคร หรือถ้าออกไปเลือกก็จะโหวตโน เพราะลองมาหมดแล้วทั้งพรรคที่เป็นรัฐบาลและฝ่ายค้าน รู้สึกทางเลือกตันมาก ผมลองถามว่าถ้ามีพรรคทางเลือกใหม่เกิดขึ้นจะไปเลือกตั้งหรือไม่ เขาบอกว่าอาจจะไป เราจึงมานั่งคิดกันว่าถ้ามีคนกลุ่มหนึ่งเสียสละ และเสนอตัวเป็นทางเลือกใหม่ ก็น่าจะดี"

การเกิดขึ้นท่ามกลางข่าวลือ "ปฏิวัติจำแลง" ทำให้หลายฝ่ายคลางแคลงใจว่ามี "สัญญาณพิเศษ" ช่วยทำคลอดหรือไม่ "ร.ต.อ.ปุระชัย" ปฏิเสธเสียงแข็ง พร้อมยืนยันว่าพรรคประชาสันติเกิดขึ้นด้วยตัวเอง

เป็นไปได้หรือไม่ว่ากองทัพไม่อยากใช้บริการพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป). แล้ว จึงหาตัวช่วยใหม่?

เขาตอบทันควัน "ผมจบเตรียมทหาร (ตท.) รุ่น 9 ส่วนใหญ่เกษียณหมดแล้ว ถือว่าอาวุโสแล้ว ความเป็นรุ่นพี่ ถ้าน้องอยากจะมาพูดคุย มาได้ แต่กองทัพจะมาสั่งผม เป็นไปไม่ได้"

แล้วถ้าเป็นใบสั่งจาก "คนเหนือกองทัพ" ล่ะ?

"เราเป็นประชาชน ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไร" เขากล่าวเลี่ยงๆ

ทว่าการมีชื่อ "อดีตประมุขสีกากี-น้องรักพี่เบิ้มสีเขียว" เข้ามาข้องแว้งกับพรรคประชาสันติ ทำให้สมมติฐานดังกล่าวคล้ายมีน้ำหนักขึ้นมา

"ร.ต.อ.ปุระชัย" อธิบายว่ารู้จัก-โยงใย "พล.ต.อ. พัชรวาท" มานาน เนื่องจากบิดาเป็นนายร้อยเทคนิคทหารบกรุ่นๆ กัน พอทั้งคู่มีลูก ก็ส่งเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ก่อนไปเรียน ตท.9 ด้วยกัน เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่น 25 เหมือนกัน จากนั้นเมื่อรับราชการตำรวจก็อยู่หน่วยเดียวกัน พอ "บิ๊กปุ" มาเป็น รมว. มหาดไทยปี 2544 "บิ๊กป๊อด" ก็ไปเป็นผู้บัญชาการประจำกระทรวง ก่อนเป็น สนช. ด้วยกันในปี 2549

"เราไม่ต้องฮั้วอะไรกัน เพราะอยู่ในฐานะที่รู้จักกันดี ปกติเขาเป็นคนไม่ค่อยพูดนะ ข้อดีคือเก็บความลับเก่ง แต่จุดอ่อนคือทำให้หลายครั้งข่าวที่ออกมาเกี่ยวกับเขา เป็นการเขียนไปเอง ซึ่งถูกบ้างผิดบ้าง"

การเขียนชื่อ "พล.ต.อ.พัชรวาท" ใส่พรรคประชาสันติถูกหรือผิด?

"ผู้ก่อตั้งพรรค"
ยืนยันยังไม่มีชื่อ "เพื่อนรัก" ในพรรค แต่อดีต ผบ.ตร. เห็นด้วยกับการมีพรรคทางเลือกให้ประชาชน แต่ไม่ได้เข้ามามีบทบาท หรือเป็นสมาชิกพรรค เพราะถ้ามีชื่อมันจะตกเป็นเป้าทั้งบวกและลบ

เช่นเดียวกับเจตจำนงเดิมของ "ร.ต.อ.ปุระชัย" ที่ต้องการยืนในตำแหน่ง "กองหลัง" ไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่ง กก.บห. ไม่ลงสมัคร ส.ส. แต่ด้วยภาพลักษณ์ที่สั่งสมมาทำให้ "ใคร" บางคนพยายามผลักเขาให้ออกมายืน "กองหน้า" ถึงขั้นชูขึ้นเป็น "โลโก้"

"คงไม่ใช่การเอาผมไปเป็นโลโก้ แต่ถ้าจะเอาชื่อผมไปแปะเป็นสมาชิกพรรค ให้ช่วยเขียนนโยบาย ผมยินดี ถ้าพรรคอยากให้เป็นหัวหน้า ก็ต้องรอดูผลอย่างเป็นทางการในการประชุมใหญ่สามัญ วันที่ 2 เมษายนก่อน ส่วนถ้าจะให้ลงสมัคร ส.ส. คงลงแบบบัญชีรายชื่อ"

พร้อมให้คนอื่นใช้ต้นทุนส่วนตัว?

"มันขึ้นอยู่กับผม ถ้าผมสบายใจ อยากช่วย ก็ไม่มีปัญหา"

ส่วนการกลับมาครั้งนี้ มั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่ถูกการเมืองกระชากความเสื่อมใส่?

"คนดีไม่มีเสื่อม" กล่าวว่า ทุกคนอย่าเอาตัวเองเป็นหลัก แต่ที่ผ่านมายืนยันและมั่นใจว่าไม่เคยทำอะไรเสียหาย มาครั้งนี้ถือว่าเข้ามาช่วยบ้านเมืองให้เป็นปกติ

"หลายคนบอกว่าการเมืองเป็นเรื่องสกปรก แต่ผมคิดว่ามันเป็นเส้นทางของสุภาพบุรุษและสุภาษสตรี เราไม่ใช่โจร ไม่ได้ไปปล้นใคร หลายคนบอกว่าเราฉกฉวยสถานการณ์ ขอบอกเลยว่าไม่ใช่ แต่เราเกิดขึ้นในภาวะขาดแคลนผู้นำ และไม่มีพรรคทางเลือก"

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความพยายามสลายความขัดแย้งของ "2 ขั้วอำนาจ" ด้วยทฤษฎี "พรรคทางเลือกที่ 3" หรือกระทั่งสอดตัวเข้าไปอยู่ใน "คู่ขัดแย้งหลัก" ตามทฤษฎี "โซ่ข้อกลาง" ไม่เคยสัมฤทธิผล ทำให้ "ร.ต.อ.ปุระชัย" ไม่แน่ใจว่าทฤษฎี "พรรคทางเลือกใหม่" จะออกฤทธิ์

"ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะสำเร็จ ไม่มีใครการันตีได้ พรรคต้องไม่เพ้อฝัน ทำการเมืองเป็นวิทยาศาสตร์ ถ้าบอกว่าทุกคนต้องเลือกเรา เราต้องมีคะแนน อย่างนั้นไม่ใช่ แต่วันนี้เรามีข้อมูลว่ามีคนหลายแสนคนที่จะไม่ออกเสียง แต่ถ้ามีกลุ่มใหม่ๆ เข้ามา เขาอาจจะออกเสียง ดังนั้น ขอให้สบายใจได้ว่าเราไม่ได้ไปแย่งฐานเสียงใคร ไม่ได้คิดเป็นคู่แข่งพรรคไหน ไม่ได้คิดเอาเป็นเอาตายกับใคร"

จุดขายของพรรคประชาสันติอยู่ที่ความสด ใหม่ เป็นทางเลือก สร้างความหวังให้ "คนกลางๆ" ที่ไม่ฝักใฝ่สีไหน ไม่เอียงข้างใด โดยใช้ผลงาน-เกียรติประวัติ-ประสบการณ์การทำงานให้บ้านเมืองด้วยความซื่อสัตย์ เป็นเครื่องยืนยันความตั้งใจ

กล่าวคือขายภาพลักษณ์พรรคสีขาว ศูนย์รวมคนดี เก่ง ซื่อสัตย์ แต่ไม่มีนโยบาย

"สิ่งสำคัญคือคนกุมบังเหียน คนกับระบบมีความสำคัญ แต่คนต้องมาก่อน เขาบอกว่าคนดี ระบบดี ต้องดีแน่ คนดี ระบบแย่ พอแก้ไข คนแย่ ระบบดี ไม่ช้าก็ไป คนแย่ ระบบแย่ ก็บรรลัยเอย ดังนั้น สำคัญคือคน อย่าง ทรท. แรกๆ คนดี ระบบดี แต่ทำไปทำมา คนดีชักหายไป คนที่เข้ามาแทนที่เป็นอย่างไร ก็ลองไปคิดกันดู แต่ได้นำมาสู่การล่มสลายของพรรค"

หากเปรียบเทียบพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กับพรรคเพื่อไทย (พท.) พรรคไหนมีส่วนผสมของคนดีที่น่าไปจัดรัฐบาลร่วมกันมากกว่า?

เขางดออกความเห็น-ไม่ก้าวล่วงพรรคอื่น พร้อมอุบไต๋ว่าคะแนนเสียงที่คนไทยเตรียมเทให้ "พรรคตรงกลาง" จะไปผสมขั้วซ้าย หรือผนึกขั้วขวา โดยบอกเพียงว่าให้ติดตามกันต่อไป

"การเลือกตั้งครั้งแรก จะได้กี่เสียงไม่เป็นไร จะได้เป็นฝ่ายค้าน หรือรัฐบาลไม่เป็นไร ถ้าได้เป็นฝ่ายค้านก็ดี ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบ ได้เรียนรู้งาน ที่สำคัญคือเป็นฝ่ายค้านแผลน้อย แต่ถ้าได้เป็นรัฐบาล ก็ได้เข้าไปแก้ปัญหาให้บ้านเมือง"

เมื่อซักว่าสูตรจัดตั้งรัฐบาลต้องออกมาอย่างไร ถึงจะมีโอกาสเห็นชายชื่อ "ร.ต.อ.ปุระชัย" เป็นนายกฯ?

"บางทีเรายังไม่ได้เดินก้าวแรกเลย ไปถามว่าจุดหมายก้าวที่ 100 อยู่ตรงไหน มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าพูดไปก็เหมือนสร้างวิมานในอากาศ โดยหลักคือพรรคที่ได้เสียงข้างมาก ต้องได้เป็นนายกฯอยู่แล้ว ส่วนพรรคที่ได้เสียงน้อยก็ไม่ได้เป็น แต่สำหรับประเทศไทย อะไรก็เกิดขึ้นได้"

ส่วนโพลหลายสำนักที่ระบุตรงกันว่าคะแนนความนิยม "อภิสิทธิ์-ร.ต.อ. ปุระชัย" ตีคู่สูสีกัน ทำให้ "คนการเมืองสีขาว" ยิ้มรับข่าวมีชื่อติดโผ "แคนดิเดตนายกฯ" ก่อนกล่าวว่า "นั่นคือเสียง บางครั้งมีเสียง แต่ถึงขั้นมีคะแนนหรือไม่เป็นอีกเรื่อง"

ถือเป็นการกระตุกตัวเองให้ฝันใกล้ๆ ในวันหวนคืนเส้นทางสีเทาในวงจรการเมือง!!!

"มา ร์ค"กลัวเปียก

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน
สมิงสามผลัด



ไม่ใช่เรื่องบังเอิญเสียแล้ว สำหรับข้อกล่าวของพรรคเพื่อไทยเรื่องการทำงานที่ล่าช้าของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ที่ล่าสุดเกิดภัยพิบัติขึ้น 2 เหตุการณ์ใหญ่ๆ ในไทย

เหตุการณ์แรกแผ่นดินไหวเขย่าภาคเหนือจนเกิดความเสียหายในหลายจังหวัดเมื่อคืนวันพฤหัสฯที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา

ตามติดๆ ด้วยเหตุการณ์ฝนถล่มจนเกิดน้ำท่วมใหญ่(อีกครั้ง)ใน 12 จังหวัดภาคใต้

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยวิพากษ์การทำงานของนายอภิสิทธิ์ที่นิ่งดูดาย ไม่ใส่ใจความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน

โจมตีว่าเป็นนายกฯเทวดา กลัวตาย กลัวเปียก

ที่ว่าล่าช้าก็มีมูลจริงๆ เพราะว่าทั้ง 2 เหตุการณ์ล่วงเลยมา 3-4 วันแล้ว

ชาวบ้านไม่เคยเห็นนายอภิสิทธิ์ลงพื้นที่ดูความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวเลย

จนมองกันว่าเพราะกลัวอาฟเตอร์ช็อกหรือเปล่า !?

ส่วนน้ำท่วมใหญ่และโคลนถล่ม ทั้งที่จ.นครศรีธรรม ราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร พัทลุง ตรัง ฯลฯ

สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล

ผ่านมาแล้ว 3-4 วัน พี่น้องชาวปักษ์ใต้ก็ไม่เห็นเงานายอภิสิทธิ์ลงไปดูแล

ทั้งที่เป็นพื้นที่ฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์แท้ๆ

ความจริงเรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว นายอภิสิทธิ์โดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในการแก้ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ทั่วประเทศเมื่อปีก่อน

ความอืดอาดล่าช้าเป็นที่ประจักษ์กันอยู่แล้ว

กว่าจะยอมลุยน้ำเข้าไปเยี่ยมผู้ประสบภัยก็ปล่อยให้ล่วงเลยกันจนน้ำใกล้แห้ง

พิธีกรรายการทีวีอย่างนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ยังได้รับยกย่องมากกว่านายกรัฐมนตรี ในการออกไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนั้น

หลังน้ำลดลงแล้ว นโยบายการช่วยเหลือของรัฐบาลก็ยังช้ายิ่งกว่าเรือเกลือ

เงินเยียวยากว่าจะถึงมือชาวบ้านก็ต้องทวงแล้วทวงอีก

ยิ่งการป้องกันอุทกภัยก็ถือว่าล้มเหลว

ไม่มีการเตรียมการรับมือให้เป็นรูปธรรม

ทั้งที่ก่อนหน้านี้ กรมอุตุนิยมวิทยาเคยประกาศเตือนแล้วว่า ในปีนี้จะมีพายุดีเปรสชันเข้าถล่มไทยถึง 5 ลูกใหญ่

แค่พายุลูกแรกก็อ่วมไปทั้งภาคใต้

ไม่อยากย้ำจริงๆ ว่านี่คือผลพวงของนายกฯบ่มแก๊ส

เจียดเวลาขึ้นโพเดียมปาฐกถาไปดูความทุกข์ยากของประชาชนบ้าง

จะเป็นประโยชน์มากกว่านี้อีกเยอะ

ดิ ไอริช ไทมส์ สัมภาษณ์ นอม ชอมสกี้: การโจมตีจะเป็นปรปักษ์กับหลายชาติในโลกอาหรับ

ที่มา ประชาไท


ภาพจาก http://bellacaledonia.files.wordpress.com

"การแทรกแซงทางทหารในลิเบียนั้นถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างรุนแรง" นอม ชอมสกี้ นักเคลื่อนไหว กล่าวต่อ ซานดร้า แซทเทอลี

นอม ชอมสกี้ เขียนถึงสงครามกลางเมืองสเปนในหนังสือพิมพ์ของโรงเรียนซึ่งตอนนั้นเขามีอายุเพียงแค่ 10 ขวบ เขาเคยถูกจองจำด้วยกันกับ นอร์แมน เมลเลอร์ในปี 1967 จากการประท้วงต่อต้านสงครามในเวียตนามที่เพนตาก้อน และเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมาเขาถูกกักตัวโดยชาวอิสราเอลในขณะที่เขาพยายามจะเข้าไปในเวสต์แบงค์โดยใช้เส้นทางผ่านประเทศจอร์แดน

นักวิชาการชื่อก้องโลก และศาสตราจารย์ปลดเกษียนด้านภาษาศาสตร์แห่ง Massachusetts Institute of Technology (MIT) เขายังคงเป็นนักเคลื่อนไหวที่ยังมีความกระตือรือร้นอยู่ในวัย 82 ปี และเป็นนักวิจารณ์นโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯด้วย

ชอมสกี้เตือนว่าการแทรกแซงทางทหารในลิเบียนั้นจะกลายเป็นปัญหาใหญ่

“เมื่อสหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศสเลือกการแทรกแซงทางทหารแล้ว เราต้องตระหนักด้วยว่าประเทศเหล่านี้จะเป็นที่รังเกียจในภูมิภาคนี้ด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนักมาก พวกคนรวยและผู้มีอำนาจนั้นสามารถพูดได้ว่าให้อยู่กับปัจจุบันไม่ใช่อดีต แต่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อไม่โชคดีอย่างนั้น” ชอมสกี้ กล่าว

“การขู่แบบนี้ ผมมั่นใจว่ามันจะนำมาซึ่งความทรงจำที่เลวร้ายในภูมิภาคนั้น และผู้คนหลายคนในแอฟริกา และโลกอาหรับนั้นจะเป็นปฏิปักษ์กับการแทรกแซงทางทหาร”

ชอมสกี้ยังกล่าวต่ออีกด้วยว่าในโพลความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ในอียิปต์นั้นแสดงให้เห็นว่า 90% ของประชากรทั้งหมดเห็นว่า สหรัฐฯ เป็นภัยคุกคามที่รุนแรงที่สุดที่เขาเคยเจอ

เขายังย้ำอีกด้วยว่าในลิเบียนั้นเป็นปัญหาทางด้านมนุษยธรรม “มันคือสงครามกลางเมือง และการเข้าไปแทรกแซงสงครามกลางเมืองนั้นยิ่งทำให้ปัญหาซับซ้อนมากขึ้นไปอีก” เขากล่าวเสริมอีกว่า “เราอาจไม่เห็นด้วยกับมัน แต่มันก็มีคนที่สนับสนุนกัดดาฟี่”

พูดถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปาเลสไตน์ สถานการณ์ในแอฟริกาเหนือนั้นดูท่าจะไม่ดีขึ้น หากรายงานข้อเรียกร้องของรัฐบาลอิสราเอลต่อสหรัฐฯ เพื่อเงินสนับสนุนจำนวน 2 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เพื่อรักษาความมั่นคงในภูมิภาค (ทางทหาร)

“นี่สามารถคาดการณ์ได้ว่ามันจะถูกนำมาใช้เพื่อให้อิสราเอลยังคงควบคุมสิ่งที่ยังพอจะเหลืออยู่ในปาเลสไตน์ได้มากขึ้น และเพื่อรักษาความสามารถในการใช้กำลังของอิสราเอล นี่ไม่ได้หมายความว่าอิสราเอลจะประสบความสำเร็จในการได้มาซึ่งเงินจำนวนนี้จากสหรัฐฯ แต่เจตนานั้นชัดเจน” ชอมสกี้กล่าว

เขายังมองเห็นการเปลี่ยนไปของอำนาจของสหรัฐฯ ที่มีในแถบแอฟริกาเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอียิปต์

เขาเชื่อว่าข้อสังเกตของ Wall Street Journal นั้นยังถูกต้องอีกด้วยที่ว่าชาติตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ ตอนนี้กำลังประสบปัญหา

“ขณะนี้ยังไม่มีใครคิดออกว่าจะควบคุมปัจจัยใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ สมมติฐานนั้นแน่นอนว่าเราจะต้องควบคุมมันให้ได้” ชอมสกี้ กล่าว

เกี่ยวกับการผกผันของพันธมิตรในโลกตะวันตกกับระบอบเผด็จการ ชอมสกี้ยกตัวอย่างและกล่าวว่ามันกลายเป็นว่าโลกตะวันตกในขณะนี้ เป็นไปไม่ได้แล้วที่จะสนับสนุนผู้นำเผด็จการที่ตนต้องการ

“ณ ตอนนี้มีแผนการที่ได้มีการนำไปปฏิบัติแล้ว โดยจะเห็นได้จากตัวอย่างที่เกิดขึ้นในโลกอาหรับ ที่มีการกำจัดผู้นำเผด็จการต่อเมื่อไม่สามารถสนับสนุนผู้นำเผด็จการนั้นได้อีกต่อไปแล้ว จึงทำการชูความรักในระบอบประชาธิปไตยแทน” เขากล่าว

ซาอุดิอาระเบียนั้นเป็นตัวอย่างของความขัดกันของนโยบายในโลกตะวันตก

ชอมสกี้ กล่าวว่า “ซาอุดิอาระเบียเป็นศูนย์กลางของอิสลามหัวรุนแรง อีกทั้งยังเป็นพันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐฯ และอังกฤษที่สนับสนุนอิสลามหัวรุนแรงให้แตกกันกับพวกชาตินิยมที่ไม่เคร่งศาสนา (secular nationalism) ซาอุดิอาระเบียเป็นเผด็จการที่โหดเหี้ยมทีเดียว ดูจากก่อนที่จะมีความวุ่นวายครั้งล่าสุด รัฐบาลกล่าวชัดเจนว่าจะไม่ยอมให้เกิดความวุ่นวายขึ้น และแล้วมันก็เป็นจริง” (หมายความว่าใช้รัฐฯ ใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วง-ผู้แปล)

ดังที่เราได้เห็นแล้วว่าทหารของซาอุฯ นั้นถูกส่งเข้าไปในบาห์เรน จากนั้นก็มีผลตามมาที่น่ากลัว

ฮิลลารี คลินตัน เลขาธิการแห่งสหรัฐฯ แคทเทอรีน แอชตัน ประธานการต่างประเทศแห่งสหภาพยุโรป และวิลเลี่ยม เฮค เลขาธิการการต่างประเทศแห่งอังกฤษ ประชุมกันที่เจนีวาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเพื่อทำการสนับสนุนคดีในดำเนินการฟ้องร้องกัดดาฟี่โดยศาลโลก(International Criminal Court (ICC)

“คำถามหนึ่งก็คือมันจะไปขัดกับแนวทางที่ดีกว่า นั่นคือ ทำการเอากัดดาฟี่ออกไปจากประเทศ”

“นอกจากนั้นแล้ว สำหรับจุดยืนของศาลโลกนั้นเราไม่สามารถมองข้ามความจริงที่ว่าสำหรับหลายประเทศแล้ว ศาลโลกนั้นถูกให้ชื่อว่าเอนเอียงเข้าทางกับโลกตะวันตก” ชอมสกี้ กล่าว

ชอมสกี้ สงสัยว่าทำไม จอร์จ บุช และ โทนี่ แบลร์นั้นไม่ถูกนำขึ้นศาลโลกจากกรณีบุกรุกอิรัก

“นี่คือการที่คนรวย และมีอำนาจนั้นพยายามละเว้นโทษของตัวเอง และนั่นไม่ได้หมายความว่าศาลโลกนั้นไม่มีประโยชน์ใดๆ แต่มันก็เป็นการลดทอนความเป็นบูรณภาพของตัวมันเอง” ชอมสกี้ กล่าว

พูดถึงเรื่องน้ำมัน และเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในแถบแอฟริกาเหนือ และตะวันออกกลาง ชอมสกี้ กล่าวทิ้งท้ายว่า “เรื่องของผลประโยชน์โดยมีอำนาจในการควบคุมน้ำมันนั้นเป็นแนวทางของนโยบายของอังกฤษมากว่าทศวรรษ อีกทั้งยังเป็นแนวทางของนโยบายของสหรัฐฯ มาเกือบจะนานเท่ากัน และแน่นอนมันก็ยังคงเป็นอยู่”

ใบตองแห้งออนไลน์: ขอบคุณความเห็นต่าง

ที่มา ประชาไท

หมอตุลย์โผล่ไปนิติราษฎร์ โดนเสิ้อแดงโห่ไล่!

ถ้าฟังพาดหัวข่าว บางคนก็อาจสะใจ แต่พอฟังหมอตุลย์ให้สัมภาษณ์ประชาไท เห็นด้วยกับการแก้ไขไม่ให้กลั่นแกล้งกันทางการเมือง บางคนก็สับสน บ้างก็หาว่าแกยืนอยู่กลางกลุ่มคนเสื้อแดง เลยต้องทำเป็นเห็นด้วยไปงั้น

แต่ถ้าเราไม่มองในมุมของข้างใดเลย มองเฉพาะปรากฏการณ์ที่ผู้มีความเห็นแตกต่างกัน (แทบจะสุดขั้วด้วยซ้ำถ้ามองจากที่ผ่านมา) กล้าเดินเข้าไปรับฟังการอภิปรายของคนอีกข้าง และกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น โดยไม่วิตกต่อการแสดงปฏิกิริยาใดๆ

ถามว่านี่ก็คือบรรยากาศประชาธิปไตยที่เราต้องการไม่ใช่หรือ นี่ก็คือท่าทีที่ควรชื่นชมไม่ใช่หรือ

ไม่ใช่ว่าผมรู้จักหมอตุลย์จึงชื่นชม ต่อให้ไม่รู้จักก็ชื่นชม แต่เมื่อผมรู้จักทั้ง อ.วรเจตน์และหมอตุลย์ ก็เลยโทรไปคุยกับ อ.วรเจตน์ ซึ่งดีใจที่หมอตุลย์ไปฟัง และอยากให้แสดงความเห็นหน้าเวทีด้วยซ้ำ เพราะ อ.วรเจตน์ต้องการความเห็นหลากหลาย ต้องการให้โต้แย้งกันอย่างมีเหตุผล และหวังว่าจะได้เสวนากับหมอตุลย์หรือนักวิชาการนักกฎหมายที่เห็นต่าง ในบรรยากาศเอื้ออำนวยกว่านี้

ผมโทรไปคุยกับหมอตุลย์ หมอตุลย์ย้ำว่าฟังกลุ่มอาจารย์นิติราษฎร์แล้ว ฟังขึ้น แต่ก็บอกว่าคนที่คิดแก้ไข ม.112 มี 2 กลุ่ม คือกลุ่มคนที่บริสุทธิ์ใจ มีหลักวิชาการ กับกลุ่มคนที่ต้องการโจมตีโค่นล้มสถาบัน คนกลุ่มแรกต้องระวังจะตกเป็นเครื่องมือของคนกลุ่มหลัง

หมอตุลย์ย้ำความเห็นว่า ม.112 ควรจะแยกกำหนดโทษหลายระดับ เช่น สำหรับผู้ที่อาฆาตมาดร้ายหรือต้องการโค่นล้มราชบัลลังก์ ให้กำหนดโทษสูงสุด แต่กรณีที่เป็นการกล่าวกระทบกระเทียบ ตัวอย่างเช่นกรณีวีระ มุสิกพงศ์ ควรมีโทษสถานเบา หรือกรณีที่ไม่ยืนในโรงหนัง น่าจะมีโทษเบาโดยศาลสามารถตัดสินเพียงรอลงอาญาเท่านั้น

ในส่วนขั้นตอนของการดำเนินการ หมอตุลย์เห็นว่าควรให้อัยการหน่วยพิเศษเป็นผู้พิจารณาและฟ้องคดี โดยในกรณีที่เป็นความผิดซึ่งมีโทษสถานเบาสามารถให้ประกันตัวได้

นั่นคือความเห็นหมอตุลย์ ซึ่งไม่ใช่ผมเห็นด้วย แต่ก็ถือเป็นความเห็นเชิงบวก และยังดีกว่าพวกขวาคลั่ง ที่บางรายยังเอาหมอตุลย์ไปด่าในบล็อกอย่างสาดเสียเทเสีย หาว่าหมอตุลย์ “หลงป่า” ช็อกความรู้สึกประชาชน ตกหลุมพวกนักวิชาการเสื้อแดงล้มเจ้า หรือจะมีแนวคิดไปทางแดงล้มเจ้าก็บอกมาตรงๆ (นิสัยพันธมิตร ใครไม่เห็นด้วยกลายเป็นศัตรู ต่อให้เคยเป็นพวกกันเอง)

การที่หมอตุลย์ถูกโห่เป็นเรื่องเข้าใจได้ เพราะมวลชนสั่งสมความไม่พอใจมานาน โดยเฉพาะบทบาทหมอตุลย์ในช่วงพฤษภา 53 แต่บางส่วนก็มีความเข้าใจผิดและขยายความเกลียดชังกันจากข่าวร่ำลือ เช่น บอกว่าหลังสลายม็อบหมอตุลย์ไปสนามศุภฯ คอยชี้ให้ทหารจับพวกเสื้อแดง (ยังกะหมอตุลย์เป็นหน่วยข่าวกรอง) หรือลือว่าไม่ยอมรักษาคนไข้เสื้อแดง ซึ่งหมอตุลย์ยืนยันกับผมว่าไม่จริง เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นจรรยาแพทย์ จะปฏิเสธไม่รักษาใครใม่ได้ ก่อนหน้านี้เคยมีหมอจุฬ่าฯ ประกาศไม่รักษาตำรวจ แต่ก็ไม่ใช่แก ที่ผ่านมาแกบอกว่ารักษาคนไข้ตั้งหลายคน ที่เห็นเปิดทีวีเสื้อแดงดูในห้องคนไข้เฉยเลย

ผมเห็นด้วยว่าเรื่องนี้เหลวไหล เพราะระบบโรงพยาบาล เราไปเข้าคิวทำบัตร พยาบาลข้างล่างเขาก็จะส่งขึ้นไปหาหมอตามอาการ หมอเลือกไม่ได้หรอกว่าใครเสื้อเหลืองเสื้อแดง หมอบางแผนกตรวจคนไข้วันละเป็นร้อย แทบไม่ได้เงยหน้าดูสีเสื้อคนไข้เลยด้วยซ้ำ

ใครไม่เชื่อก็ลองดู ลองไปทำบัตรแล้วเจาะจงขอพบหมอตุลย์ ใส่เสื้อแดงเข้าไปในห้อง ดูซิว่าหมอตุลย์จะรักษาไหม แต่ถ้าเป็นผู้ชาย แกคงไม่รับรักษา เพราะหมอตุลย์เป็นหมอสูตินรีเวช เชี่ยวชาญโรคมะเร็งปากมดลูก

ซึ่งไอ้การปลุกความเกลียดชังกันจากข่าวร่ำลือเนี่ย ที่ผ่านมาก็โดนกันหมดนะครับ ไม่ว่าแกนนำเสื้อเหลืองเสื้อแดง นักวิชาการ ไปถาม อ.วรเจตน์ดูสิ โดนมาสารพัด

ผมมองหมอตุลย์ว่าเป็นตัวแทนของคนชั้นกลางคนกรุงเทพฯ ที่เพิ่งตื่นตัวทางการเมือง เมื่อเกิดกระแสไล่ทักษิณ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร กับความเกลียดทักษิณในยุคนั้น ผู้รักประชาธิปไตยจำนวนมากรวมทั้งหมอเหวง ก็เคยไล่ทักษิณ เพียงแต่เราอาจเป็นคนที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมืองมาก่อน เคยต่อสู้เรื่องสิทธิมนุษยชนมาก่อน จนสั่งสมอุดมการณ์ประชาธิปไตยไว้มั่นคง

แต่หมอตุลย์คือตัวแทนของคนที่ไม่เคยมีพื้นฐานทางการเมือง เป็นคนรุ่นอายุสี่สิบกว่า ซึ่งเข้าเรียนมหาวิทยาลัยปลายทศวรรษ 2520 ถูกตัดขาดจากผลสะเทือนของการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยยุค 2516-2519 โดยสิ้นเชิง คนรุ่นนี้เรียนจบก็ทำงานตามสาขาอาชีพของตัว ยึดถือการทำหน้าที่ให้ดีที่สุด “ตามแนวพระราชดำรัส” สัมผัสการเมืองอยู่ห่างๆ สั่งสมความเกลียดชังนักการเมือง ไม่มีอุดมการณ์อะไรให้เขายึดมั่นนอกจากความ “รักในหลวง” และยกย่องคนดีมีคุณธรรมในทัศนะของคนชั้นกลาง (ผมรู้จักหมอตุลย์เพราะไปสัมภาษณ์คัดค้านการเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ซึ่งหมอตุลย์เห็นว่าจะทำให้มหาวิทยาลัยเป็นพาณิชย์ นิสิตนักศีกษาต้องจ่ายแพง)

หมอตุลย์ในมุมมองของผมจึงเป็นตัวแทนคนชั้นกลางผู้ “บริสุทธิ์” ที่ถูกดึงเข้ามาในกระแส ได้รับข่าวสารแบบคนชั้นกลาง ที่มีหลากหลายทั้งจากสื่อ อีเมล์ ซุบซิบ คำร่ำลือปากต่อปาก จนเกิดความเกลียดชัง “ระบอบทักษิณ” ทั้งด้านที่มีเหตุผลและด้านที่ต่อเติมจนไร้เหตุผล โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบัน คนเหล่านี้เคยเป็นมวลชนพันธมิตรอย่างแข็งขัน ก่อนจะพัฒนามาเป็นมวลชนเฟซบุค ที่สนับสนุนการปราบม็อบเสื้อแดง

ซึ่งแน่นอนว่าเป็นจุดที่เห็นต่างกันอย่างตรงข้าม เพราะในมุมมองของนักประชาธิปไตยนักสิทธิมนุษยชน แม้เราไม่ได้เห็นด้วยกับพฤติกรรมของเสื้อแดงทั้งหมด แต่ก็คัดค้านการใช้ความรุนแรงโดยรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม ขณะที่ในมุมมองของคนชั้นกลางคนกรุงเทพฯ เขามองว่านั่นคือการสนับสนุน “รัฐ” ให้ใช้อำนาจเพื่อคืนความสงบสู่สังคม (นี่เป็นมุมมองที่มีหลายมิติซ้อนกันอยู่ คือผู้ที่สนับสนุนให้ปราบม็อบ มีทั้งผู้สนับสนุนรัฐบาลอภิสิทธิ์และสนับสนุน “รัฐ” พูดง่ายๆ ว่ามีตั้งแต่คนเกลียดทักษิณ เกลียด “แดงถ่อย” รักอภิสิทธิ์ ไปกระทั่งคนที่ไม่ได้ชอบรัฐบาลนักหรอก แต่เห็นว่า “รัฐ” ต้องทำหน้าที่รักษาความสงบ)

นั่นเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้ความคิดกันต่อไป แต่จุดที่น่าสนใจคือ พลังของคนชั้นกลางแบบหมอตุลย์ จะก้าวต่อไปทางไหน เพราะถึงวันนี้ ท่าทีของพวกเขาไม่ได้สนับสนุนรัฐบาลอภิสิทธิ์เต็มตัวเหมือนก่อน เพราะโดยพื้นฐานความคิด พวกเขาเกลียดนักการเมืองอยู่แล้ว แม้ช่วงแรกๆ ยอมรับได้กับการผสมพันธ์มาร์ค-เนวิน แต่นานวันเข้าก็เริ่มผิดหวังกับอภิสิทธิ์ ขณะเดียวกัน พวกเขาก็ถอยห่างจากพันธมิตร ซึ่งไปไกลเสียจนสุดขั้วสุดโต่ง ดังจะเห็นได้ว่าหมอตุลย์ไปยื่นคัดค้าน JBC แต่หมอตุลย์ก็เลี่ยงๆ ไม่ขึ้นเวทีพันธมิตรซึ่งรู้กันอยู่แล้วว่าไปไม่รอด

ปฏิรูปสถาบัน

การที่หมอตุลย์สนับสนุนให้แก้ไขมาตรา 112 แม้เห็นต่างจากนิติราษฎร์ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี เพราะในทัศนะของผู้จงรักภักดีอย่างหมอตุลย์ ก็มองเห็นว่าถ้าปล่อยให้มีการใช้กฎหมายพร่ำเพรื่อ กลับเป็นผลเสียต่อสถาบัน ซึ่งสั่งสมบารมีมาด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ไม่ใช่พระเดช

อันที่จริงเราจะเห็นได้ว่า ผู้ต้องโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้รับโทษสูงสุดตามคำพิพากษา เพราะเมื่อคดีสิ้นสุด และขอพระราชทานอภัยโทษ ก็มักได้อภัยโทษ เช่นกรณีสุวิชา ท่าค้อ นั่นแสดงว่าสถาบันเข้าใจดีว่า การใช้กฎหมายลงโทษรุนแรงไม่ใช่เรื่องดี ข้อเสนอของนิติราษฎร์ที่ให้ราชเลขาธิการเป็นผู้ฟ้องคดีเอง จึงเหมาะสมแล้ว

หมอตุลย์ให้สัมภาษณ์ว่า การดึงสถาบันกษัตริย์มาพูดบนเวทีทางการเมือง เป็นเรื่อง “ความเชื่อ” ว่าสถาบันเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมือง แต่ผมคิดว่าหมอตุลย์เข้าใจดี ในฐานะผู้ที่เคยเดินเข้าบ้านพลเอกเปรมมาแล้ว ว่า “ความเชื่อ” นั้นไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ แต่มันมีที่มาจากบทบาทของผู้ใกล้ชิดสถาบัน ตั้งแต่พลเอกเปรม พลเอกสุรยุทธ์ ไปจนปีย์ มาลากุล หรือองคมนตรีที่เรียงหน้าออกมาด่าทักษิณ

ประเด็นที่ผู้จงรักภักดีอย่างแท้จริงควรคิดต่อยอดไปจากวิกฤตครั้งนี้คือ ทำอย่างไรจะเอาสถาบันออกไปจากวิกฤต และทำอย่างไรจะให้สถาบันธำรงอยู่อย่างยั่งยืน เป็นทึ่เคารพเทิดทูนของพสกนิกร ซึ่งคำตอบคือต้องทำให้สถาบันปลอดพ้นจากความเกี่ยวข้องกับการเมือง ที่เป็นเรื่องของการต่อสู้แย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ ซึ่งมันไม่เข้าใครออกใคร ใครเข้ามาเกี่ยวข้องก็ต้องตกเป็นที่ครหาทั้งสิ้น

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ออกแบบมาเพื่อให้สถาบันปลอดจากการเมือง ดังที่ผมกล่าวไปแล้ว แต่ก็ยังมีความไม่ชัดเจน ยังมีความคลุมเครือ ในหลายๆ ด้าน ซึ่งจะต้องแก้ไขทั้งตัวบทกฎหมายและการทำความเข้าใจร่วมกันของสังคม ในเรื่องของพระราชอำนาจ พระบารมี สถานะบทบาทของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย

ในเรื่องพระราชอำนาจ ต้องทำให้ชัดเจนว่า การลงพระปรมาภิไธยเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น ผู้มีอำนาจที่แท้จริงคือผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เพียงแต่ทรงมีพระราชอำนาจที่จะยับยั้งในบางกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ เช่น ยับยั้งพระราชบัญญัติ หรือยับยั้งในกรณีที่กระบวนการพิจารณามีปัญหา

เพราะการใช้อำนาจเรื่องหนึ่งเรื่องใดในทางการเมืองการปกครอง ย่อมมีผู้ได้ประโยชน์เสียประโยชน์ มีผู้พึงพอใจมีผู้ไม่พอใจ นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราปรารถนาให้สถาบันเข้ามาเกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างการแต่งตั้งบุคคล ก็ต้องมีทั้งผู้สมหวังผิดหวัง จึงต้องทำให้ชัดเจนว่าการโปรดเกล้าฯ เป็นเพียงสัญลักษณ์ สถาบันไม่มีส่วนแม้กระผีกในการเลือกใคร

ซึ่งบางเรื่องก็เข้าใจกันชัดเจน เช่น รัฐธรรมนูญมาตรา 108 เขียนว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการที่จะยุบสภา คงไม่มีไอ้บ้าที่ไหนเชื่อว่าในหลวงท่านสั่งให้ยุบสภา เพราะรู้ๆ กันอยู่ว่านายกฯ เป็นคนยุบสภา แต่รัฐธรรมนูญเขียนไว้เป็นเชิงสัญลักษณ์

แต่บางเรื่องก็มีความคลุมเครือ เช่น การโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร ซึ่งปรากฏเป็นข่าวเสมอว่า ต้องให้พลเอกเปรมพิจารณากลั่นกรองโผทหารก่อน มีข่าว “เด็กป๋า” คนนั้นคนนี้ได้ดี ต่อไปหมดพลเอกเปรมก็คงเป็นพลเอกสุรยุทธ์ ทั้งที่ความจริงแล้ว พลเอกเปรมไม่มีอำนาจใดๆ เลย ที่จะมาเกี่ยวข้องกับโผทหาร แต่อย่าโทษสื่อนะครับ ไม่มีไฟก็ไม่มีควัน

ฉะนั้นเรื่องแบบนี้ต้องทำให้ชัดเจน สมมติเช่นอาจต้องประกาศรายชื่อก่อนทูลเกล้าฯ ยกเลิกประเพณีที่ว่ายังไม่เปิดเผยโผจนกว่าจะทูลเกล้าฯ ซึ่งถ้าทำมาตามระบบ เช่นปัจจุบันที่มีสภากลาโหมกลั่นกรองก่อน การเปิดเผยชื่อก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร ถ้าสภากลาโหมเสนอชื่อโดยเปิดเผย แล้ว รมว.กลาโหมจะเปลี่ยนโผ คุณก็ต้องมีเหตุผล ว่าทำไมถึงเปลี่ยนโผ

ถามว่าถ้าทูลเกล้าฯ ไปแล้ว สถาบันยับยั้งได้ไหม อาจได้ ในกรณีที่สภากลาโหมและรัฐมนตรีดึงดันใช้อำนาจไม่ฟังใคร สมมติตั้งพลเอกคนนี้เป็น ผบ.ทบ.แล้วมีอดีต ผบ.ทบ.กับนายพลเกษียณนับร้อยคนเข้าชื่อกันถวายฎีกาเป็นหางว่าว แบบนั้นยับยั้งได้สิครับ เพราะมันแสดงว่าคุณไม่เป็นประชาธิปไตย สร้างความขัดแย้งแตกแยก

แต่โดยหลักแล้ว นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อประชาชน ในฐานะที่ประชาชนเลือกเขามา นี่คือหลักนิติรัฐ ผู้ใช้อำนาจต้องรับผิดชอบ พลเอกเปรมไม่ใช่ผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน และสถาบันก็อยู่เบื้องสูง ไม่อยู่ในสถานะที่จะให้มารับผิดชอบต่อประชาชน

ทำความคลุมเครือให้กระจ่าง

ผมเคยสัมภาษณ์องคมนตรีมาหลายท่าน พล.อ.สุรยุทธ์ 2 ครั้ง อ.เกษม วัฒนชัย 2 ครั้ง พล.อ.พิจิตร 1 ครั้ง แถม ดร.สุเมธอีกครั้ง บอกได้ว่าทุกท่านเป็นคนที่ผมชื่นชม และพูดได้เต็มปากว่าเป็น “คนดี” แม้จะเห็นต่างกันบางเรื่อง สมมติเช่น “บิ๊กเสือ” ท่านคือนายทหารที่มีเกียรติประวัติสูงส่ง เป็นสุภาพบุรุษทุกกระเบียดนิ้ว กล้าหาญ เสียสละ รักลูกน้อง ลองไปถามทหารรุ่นหลังดู ไม่เคยมีใครนินทาไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลัง มีกิตติศัพท์ในความสัตย์ซื่อ ตรงไปตรงมา โผงผาง ขวานผ่าซาก ไม่เคยพัวพันเรื่องผลประโยชน์ใดใดในกองทัพแม้แต่น้อย

แต่ถ้าพูดเรื่องทัศนะประชาธิปไตย กล่าวได้ว่า “บิ๊กเสือ” 0% เพราะท่านมีแต่จะเอ็กเซอร์ไซด์สถานเดียว

ดร.สุเมธก็เป็นคนดี ที่ยกมือไหว้ได้สนิทใจ ถึงจะดู “แอ๊บแบ๊ว” บางเรื่อง ที่ผมแซวว่าท่านขี่เฟอร์รารีไปพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่ผมค้านเศรษฐกิจพอเพียง แต่ท่านควรเข้าใจว่า ในประเทศนี้ 60 กว่าล้านคนไม่มีใครไม่ชอบรถเฟอร์รารี แต่จะมีซักกี่คนที่เขาเอาเฟอร์รารีมาขายให้ในราคาถูก ถ้าไม่ได้อยู่ในสถานะอย่างท่าน (แบบเดียวกับ พล.อ.สุรยุทธ์ซื้อบ้านสนามกอล์ฟในราคาลดพิเศษ พิเศษมาก) ฉะนั้นการพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต้องพูดไปพร้อมๆ กับการปรับโครงสร้างสังคม การสร้างความเท่าเทียม ไม่ใช่พูดแล้วมีผลค้ำจุนโครงสร้างเดิม

พลเอกเปรมก็เป็นคนดี ตามที่ได้ฟังคำเล่าขาน ทั้งวงนอกวงใน แม้มีบางคนไม่พอใจแต่คนชื่นชมมากกว่า กระนั้นพลเอกเปรมมีสายสัมพันธ์ที่กว้างขวาง “เพื่อนป๋า” “ลูกป๋า” มีตั้งแต่คนดีที่โลกยกย่อง ไปจนบิ๊กทหารที่ตายแล้วมีมรดกมหาศาลโดยไม่รู้ว่าเอามาจากไหน พลเอกเปรมมีเพื่อนพ้องเป็นกลุ่มนักธุรกิจระดับชาติ พลเอกเปรมมีมูลนิธิรัฐบุรุษ ที่ผู้รับสัมปทานรายใหญ่ เช่นเสี่ยเจริญโรงเหล้า หรือคิงพาวเวอร์ฯ บริจาคสม่ำเสมอ

ถามว่าถ้าพลเอกเปรมเป็นแค่อดีตนายกฯ อดีต ผบ.ทบ.จะมีบารมีขนาดนี้ไหม

ในสังคมไทย หรืออาจกล่าวได้ว่าสังคมตะวันออก สายสัมพันธ์ น้ำใจ น้ำมิตรไมตรี กับอำนาจและผลประโยชน์ พัวพันกันอย่างแยกไม่ออก ตั้งแต่ระดับบนถึงระดับล่างสุด สมมติคุณเป็นตำรวจจราจร ทำหน้าที่ตรงไปตรงมา แต่ไอ้คนที่ขับรถฝ่าไฟแดงดันเป็นเพื่อนบ้านกัน ถ้าคุณเขียนใบสั่งปรับตามพิกัด ก็ถูกด่ามองหน้ากันไม่ติด หรือตำรวจบุกจับบ่อน เจอครูสมัยมัธยมเป็นหนึ่งในนักพนัน ยกมือไหว้ผู้มีพระคุณ เอ้า ช่วยครูหน่อยเหอะ ถ้ามีชื่อเป็นผู้ต้องหาจะถูกไล่ออกจากราชการ

เราจึงต้องยึดหลักการทำให้อำนาจนั้นชัดเจน มีการถ่วงดุลได้ และตรวจสอบได้ ป้องกันการวิ่งเต้นเข้าหาสร้างความผูกพันกับ “ขั้วอำนาจ” ที่ตรวจสอบไม่ได้

การทำให้พระราชอำนาจเป็นที่ชัดเจน และมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อปลอดพ้นจากความเกี่ยวข้องพัวพันกับการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ อันเป็นปกติวิสัยโลกย์ โดยเฉพาะในสังคมทุนนิยม จึงเป็นเรื่องสำคัญ ในอันที่จะธำรงสถาบันให้เป็นที่เคารพสักการะ โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรา 8 ในรัฐธรรมนูญ (เหมือนไม่จำเป็นต้องเขียนว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะความเคารพนับถือเป็นเสรีภาพ)

นั่นคือสาระเดียวกันที่ผู้จงรักภักดีสามารถเห็นพ้องกับข้อเสนอ “ปฏิรูปสถาบัน” ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ซึ่งก็รวมถึงการจำกัดบทบาทหรือยกเลิกองคมนตรี

อันที่จริงการเขียนเรื่ององคมนตรีไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องตลกนะครับ ต่อให้มองจากมุมของผู้จงรักภักดี เพราะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษาในหลวง พระองค์ท่านควรจะเลือกใครก็ได้ตามพระราชอัธยาศัย และเป็นการส่วนพระองค์ ไม่จำเป็นต้องให้ประธานรัฐสภาไปเกี่ยวข้องรับสนองพระบรมราชโองการ ไม่จำเป็นต้องกำหนดจำนวน ไม่จำเป็นต้องคุณสมบัติ ก็เรื่องของในหลวง รัฐธรรมนูญไปยุ่งอะไรด้วย ไม่ต้องมีคำว่า “องคมนตรี” พระองค์ท่านก็สามารถตั้งที่ปรึกษาส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย

ยิ่งรัฐธรรมนูญ 50 ยิ่งแล้วใหญ่ ไปแอบเขียนไว้ในมาตรา 196 วรรคสอง ให้มีบำเหน็จบำนาญขององคมนตรีซึ่งพ้นจากตำแหน่ง บ้าไปแล้ว เพราะในทางปฏิบัติองคมนตรีอยู่ในตำแหน่งจนตาย หรือถ้าองคมนตรีคนไหนในหลวงโปรดเกล้าฯ ให้ออก (ซึ่งไม่เคยมี) ถามว่ายังควรจะให้บำเหน็จบำนาญอยู่ไหม

การทำให้ “เคลียร์-คัท” ในหลายๆ เรื่องเป็นสิ่งจำเป็น ที่ผู้จงรักภักดีที่แท้จริงควรยอมรับ อย่างเช่นที่สำนักข่าวต่างประเทศไปลงว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก แล้ว ดร.สุเมธท่านออกมาโต้ว่าไม่จริง เพราะสำนักงานทรัพย์สินไม่ใช่สมบัติของพระองค์ กระทรวงการคลังดูแล

ความจริงเรื่องนี้ก็มีปัญหาอยู่ มีปัญหาซับซ้อนด้วย เพราะสำนักงานทรัพย์สินฯ อยู่ในสถานะที่ไม่ชัดเจนอย่างยิ่ง ว่าเป็นหน่วยงานอะไร กฤษฎีกาเคยตีความหลายครั้ง ก็ตีความกลับไปกลับมา ว่าเป็นส่วนราขการหรือเป็นเอกชน (ดูเหมือนครั้งหลังสุดตีความเป็นส่วนราชการ) แม้จะมี รมว.คลังเป็นประธาน อย่าง ดร.สุเมธพูด แต่กฎหมายก็เขียนไว้ว่าสามารถนำไปใช้จ่ายตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งมันลักลั่นกัน จริงไหมครับ บอกว่าไม่ใช่สมบัติส่วนพระองค์ แต่สามารถนำไปใช้จ่ายตามพระราชอัธยาศัย มันจึงลักลั่นว่าจะเป็นหน่วยราชการก็ไม่เชิง จะเป็นสมบัติส่วนพระองค์ ดร.สุเมธก็ว่าไม่ใช่

มันมีเรื่องทับซ้อนคลุมเครืออยู่เยอะ เช่น ท่านบอกว่า รมว.คลังเป็นประธาน แต่ถามว่า รมว.คลังมีอำนาจเปลี่ยนบอร์ด หรือเปลี่ยนแปลงแต่งตั้งผู้อำนวยการไหม ผมก็ไม่เคยเห็น

นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังมีปัญหาอีกว่าจะดำเนินกิจการอย่างไร เพราะมีทั้ง 2 บทบาท คือช่วยเหลือประชาชน เช่นให้ที่ดินเช่าพักอาศัยราคาถูก กับการต่อสู้แข่งขันทางธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งต้องแสวงกำไรสูงสุด ฟาดฟันแข่งขันกับกลุ่มทุนทั้งหลาย ซึ่งตอนหลังๆ บทบาท 2 ด้านก็เริ่มขัดแย้งกัน เช่น ทรัพย์สินฯ ไล่ที่ชาวบ้านมาสร้างคอมเพล็กซ์ ซึ่งทำให้สับสนอีก เพราะถ้ามองตามมาตรฐานของธุรกิจเอกชน ก็เป็นเรื่องธรรมดา เป็นความชอบธรรมในระบบทุนนิยม ที่ต้องบริหารจัดการให้ได้ประโยชน์สูงสุด แต่พอเป็นทรัพย์สินฯ มันยังไงก็ไม่รู้

แต่ผมเห็นด้วยกับ ดร.สุเมธนะครับ ที่ว่าในหลวงท่านทรงใช้จ่ายน้อยที่สุด ท่านประหยัด จนเป็นต้นแบบของความพอเพียง เพราะฉะนั้น ที่กฎหมายเขียนว่านำไปใช้จ่ายได้ตามพระราชอัธยาศัย ก็เขียนไว้เปล่าๆ เท่านั้นเอง ควรจะแก้ไขเสียให้เกิดความชัดเจน

ใบตองแห้ง
30 มี.ค.54

คลิปที่นี่ความ จริงจาก3อาจารย์สาว:มาร์คขึ้นชั้นระดับโลกจัดการพิบัติภัยเทียบเท่าเผด็จการ พม่า

ที่มา Thai E-News


เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่เป็นประชาธิปไตย อย่างญี่ปุ่น ซึ่งประสบกับภัยพิบัติรุนแรง แต่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ แต่การจัดการสาธารณภัยของรัฐบาลไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับรัฐบาลเผด็จการทหาร อย่างพม่ามากกว่า


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา DNN-Asia Update TV

รายการที่นี่ความจริง ทางโทรทัศน์ Asia Update-DNN ประจำวันอังคารที่ 29 มีนาคม ดำเนินรายการโดย 3 นักวิชาการสาว ผศ.ดร.สุดา รังกุพันธ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อาจารย์หวาน) ,รศ.สุดสงวน สุธีสร อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อาจารย์ตุ้ม) และ ผศ.ดร.จารุพรรณ กุลดิลก อาจารย์พิเศษคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (อาจารย์จา)...

รายการที่นี่ความจริง วันอังคารที่ 29 มีนาคม:ประเด็นแรก : การจัดการสาธารณภัยในประเทศประชาธิปไตย vs. ประเทศเผด็จการ


ในระยะนี้ ได้เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ ขึ้นมากมายทั้งในต่างประเทศ และในประเทศเราเอง เช่น น้ำท่วมในภาคใต้ แผ่นดินไหวในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า แต่รัฐบาลกลับไม่เข้าไปแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที และยังด้อยประสิทธภาพในการบรรเทาสาธารณภัย

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่เป็นประชาธิปไตย อย่างญี่ปุ่น ซึ่งประสบกับภัยพิบัติรุนแรง แต่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ที่จริงแล้ว การจัดการสาธารณภัยของรัฐบาลไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับรัฐบาลเผด็จการทหาร อย่างพม่ามากกว่า เพราะมีความล่าช้า พยายามปกปิดข้อมูลข่าวสาร ขาดระบบการเตือนภัยแม้จะได้ผ่านเหตุการณ์สึนามิมาแล้ว ไม่ส่งเสริมการซ้อมหลบภัย และไม่มีความจริงใจในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ


ประเด็นที่ 2 : ประชาชนไทยจะได้เลือกตั้ง หรือรัฐประหาร

แม้นายอภิสิทธิจะได้ออกมาส่งสัญญาณทั้งต่อคนไทย และต่างประเทศว่า จะมีการเลือกตั้งในไม่ช้านี้ แต่ในระยะนี้กลับมีสัญญาณที่ชวนให้คิดว่า อาจเกิดการอ้างสถานการณ์บางอย่างเพื่อทำการยึดอำนาจอีกครั้งก็ได้ เช่น การที่นางสดศรี หนึ่งในกรรมการการเลือกตั้ง แสดงท่าทีว่าจะลาออก และอาจมีกรรมการอื่นๆ ลาออกอีก ซึ่งอาจทำให้กรรมการไม่ครบ จัดการเลือกตั้งไม่ได้ จนเป็นเหตุให้เกิดสูญญากาศทางการเมือง

เกิดกระแสว่าอาจมีการขอให้ใช้มาตรา ๗ ขอนายกพระราชทาน ในประเด็นนี้ อ.ตุ้มได้ย้ำว่ามาตรา ๗ เป็นเพียงมาตราที่อุดช่องว่างทางกฎหมายเท่านั้น นั่นคือ เมื่อไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้ให้ใช้ธรรมเนียมปฏิบัติที่ผ่านมา ไม่ได้มีไว้สำหรับแต่งตั้งนายกพระราชทานแต่อย่างใด


เงื่อนไขที่คณะทหารมักใช้เป็นข้ออ้างในการยึดอำนาจ เช่น รัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น การแทรกแซงองค์กรอิสระ ความแตกแยกในประชาชน การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และในขณะนี้ได้มีความพยายามจุดชนวนความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชาขึ้นอีกครั้ง

ทั้งที่ไทยได้ยอมรับทำตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะให้ผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้ามาร่วมกำกับดูแลการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดน


นอกจากนี้ การลาออกของนายอานันท์ ปันยารชุน จากคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ถูกตั้งข้อสงสัยว่าจะแต่งตัว “ตั้งโต๊ะ” รอรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการยึดอำนาจหรือเปล่า

ฟ้าหญิง ตรัส:ไม่อยากให้ฟังข่าวลือ ฉันอยากให้ในหลวง พระราชินีได้รับความยุติธรรมตามที่ท่านควรจะได้รับ

ที่มา Thai E-News


ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด

ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ พระราชทานสัมภาษณ์รายการทีวี ตรัสถึงความในพระทัยอยากให้คนรู้จักตัวตนอย่างแท้จริง ไม่อยากให้ไปฟังข่าวลือ หรือข่าวที่พูดๆ กันไป เผยการเกิดมาเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีมีหน้าที่มากมาย ไม่ได้สุขสบายอย่างที่หลายคนคิด ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ว่าต้องทำหน้าที่เพื่อประชาชน ส่วนอาการประ ชวรชี้ต้องรีบหายแม้ยังไม่สมบูรณ์นัก เพราะพระ เจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีก็ประชวรแต่ยังทรงงาน ทรงทุ่มเทเต็มที่ อยากให้ทั้ง 2 พระองค์ได้รับความยุติธรรม โดยช่วงที่อยู่วัดป่าบ้านตาด เป็นช่วงที่สงบสุขทั้งกายและใจ เวลาเครียดอยู่กับ"ลูกหมี"สุนัขทรงเลี้ยง เผยหลวงตาบัวสั่งไว้ก่อนละสังขารว่าอย่าร้องไห้

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 29 มี.ค. ที่ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ถ.วิภาวดีรังสิต สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จฉลองพระองค์ชุดกาวน์สีขาว ด้านในยังทรงชุดผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราช พระราชทาน พระวโรกาสพิเศษสัมภาษณ์กับรายการโทรทัศน์วู้ดดี้เกิดมาคุย ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี โดยมีพิธีกร"วู้ดดี้"วุฒิธร มิลินทจินดา ทำหน้าที่สัมภาษณ์

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ตรัสถึงความรู้สึกว่า อยากให้คนที่ติดตามชมรายการได้รู้จักตัวตนของฉันอย่างแท้จริง ไม่อยากให้ไปฟังข่าวลือ หรือข่าวที่พูดๆ กันไป ณ วันนี้ คือตัวตนที่แท้จริงของฉันไม่มีบิดเบือน 15 ปีที่ผ่านมาเป็นเด็กวัด กินนอน ทำสมาธิอยู่ในกุฏิเล็กๆ ที่วัดกับหลวงตามหาบัว ทุกวันนี้ก็ยังเป็นเด็กวัด แม้ว่าหลวงตาฯปลงสังขารไปแล้ว มีกระแสข่าวมากมาย มีคำกล่าวว่ามากมาย มันย่อมมีผลกระทบกับชีวิตคนเราแน่นอน แต่อยากให้มองย้อนกลับไปพิจารณาคำนินทาว่ากล่าวนั้นว่า ตรงกับตัวเราหรือไม่ ถ้ามันเป็นจริงเราก็ต้องปรับปรุงแก้ไขตัวเองเสียก่อน แต่ถ้าไม่ตรงกับเรา ต้องปล่อยวางกับสิ่งเหล่านี้ทันที หลวงตาท่านสอนไว้ ตอนแรกเริ่มจะทำยากมาก แต่ก็พยายามสงบจิตใจและนึกถึงคำสอนของหลวงตา กำหนดลมหายใจ ทุกวันนี้สามารถทำได้อย่างสบายใจและสงบ


สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงอุ้ม "ลูกหมี" สุนัขทรงเลี้ยง ขณะพระราชทานสัมภาษณ์พิเศษรายการ "วู้ดดี้เกิดมาคุย" เมื่อวันที่ 29 มี.ค.

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ตรัสอีกว่า เรื่องในอดีตให้มันผ่านไป อนาคตคือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง อย่าไปฟุ้งซ่านคาดเดา ให้อยู่กับปัจจุบัน การเกิดมาเป็นลูกของพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีมีหน้าที่มากมาย ไม่ได้สุขสบายอย่างที่หลายคนคิดหรือนึกภาพตามจินตนาการนิทานเจ้าหญิงเจ้าชาย ชีวิตถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กว่าต้องทำหน้าที่เพื่อประชาชน ต้องทำงานตั้งแต่อายุ 14 จนถึงเรียนจบปริญญาเอก

"ทุกวันนี้พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี ท่านยังทรงงานแม้ว่าจะมีอาการเจ็บป่วย เห็นท่านตรากตรำทำงานเพื่อประชาชนของท่านมาตั้งแต่เด็กๆ เดินทางไปในแหล่งที่ไม่มีแม้กระทั่งถนน ช่วยเหลือประชาชน เด็กยุคใหม่ไม่รู้แล้วว่าท่านทำอะไรให้บ้านเมืองบ้าง ใจจริงของฉันอยากจะขอเวลาจากรายการทีวีช่วงสั้นๆ แค่ 5 นาที 10 นาที ฉายพระราชกรณียกิจที่ท่านทำ สงสารท่านเถอะ ท่านทุ่มเทเต็มที่ เอาใจใส่ทุกรายละเอียดทุกงานที่ทำทั้ง 2 พระองค์ ซึ่งทั้ง 2 พระองค์ทรงเป็นห่วงเรื่องความสามัคคีของคนไทย อยากให้กลมเกลียว คนไทยต้องเข้มแข็ง ชาติจะได้เจริญก้าวหน้าต่อไป ฉันอยากให้ทั้ง 2 พระองค์ได้รับความยุติธรรมตามที่ท่านควรจะได้รับ" สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ตรัส

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ตรัสถึงอาการป่วยว่าหลังจากที่ผ่าตัดแล้วต้องพักถึง 3 เดือน แต่นี่ก็เลยช่วง 3 เดือนมาแล้ว ยังเดินไม่ค่อยสะดวก แต่ก็ยังต้องทำงานเพราะช่วงที่พักฟื้นพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีท่านเสด็จฯไปเยี่ยมเอง จนทำให้ฉันรู้สึกว่าไม่ได้แล้ว เราต้องรีบหาย ต้องรีบแข็งแรงตั้งใจที่จะหายและสามารถเดินได้ ทำงานได้ปกติ มาถวายงานท่านทั้ง 2 พระองค์ให้ได้เหมือนเดิม ช่วงนี้ได้รับมอบหมายให้ดูงานคณะแพทย์พอ.สว. ก็จะต้องเข้าไปรายงานความคืบหน้าให้ทั้ง 2 พระองค์ได้ทราบด้วย งานในส่วนของสถาบันวิจัยกับงานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ก็ยังดำเนินต่อไป เมื่อมีปัญหา หรือมีเรื่องที่ต้องปรึกษาร่วมกับคณะก็ต้องเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ตรัสอีกว่า เวลาส่วนตัวของฉันจริงๆ คือช่วงที่ไปอยู่วัด เป็นช่วงที่สงบสุขทั้งกายและใจ นั่งสมาธิ สวดมนต์ เคยว้าเหว่เหมือนกัน ช่วงที่หลวงตาปลงสังขารไปใหม่ๆ ก็จะเอาดีวีดีคำสอนของท่านมาเปิดดู อ่านหนังสือของท่าน"หยดน้ำในใบบัว" หลวงตาท่านสอนว่าให้เก็บพ่อไว้ในใจ แล้วท่านจะอยู่กับทูลกระ หม่อมลูกตลอดไป(หลวงตาเรียกฟ้าหญิงว่าทูลกระหม่อมลูก) ฉันอยากไปอยู่วัดแต่ไม่เป็นที่ยอมรับของญาติมิตร เพราะเกรงว่าฉันจะหลุดไปจากโลกปัจจุบันนี้

"เวลาที่เหงาหรือเครียดก็มีคุยหรือระบายกับ "ลูกหมี" สุนัขที่ฉันเลี้ยง ลูกหมีเป็นสุนัขที่เข้าใจภาษาคน เพราะอยู่กับคนมาก เขาก็จะฉลาด เวลามีปัญหา หรือมีเรื่องมากระทบจิตใจไม่ว่าใครจะพูดอะไรข่าวจะออกมาในแง่ไหน หลักใหญ่ๆ คือจิตใจทุกอย่างสำคัญที่ใจ เมื่อใจเราคิดดีมีใจเป็นประธานแล้ว ทุกอย่างที่เราคิดก็จะดีตามมาเอง ก่อนที่หลวงตาจะปลงสังขารท่านสั่งไว้ว่าอย่าร้องไห้ ฉันก็จะไม่ร้องไห้ แม้กระทั้งท่านปลงสังขารก็ยังนิ่งอยู่ มีเกือบๆ เหมือนกัน หลวงตาท่านมาโปรดฉัน" สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ตรัส

สำหรับการพระราชทานสัมภาษณ์พิเศษของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี รวมถึงการดูแลพระอาการประ ชวรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งทรงเผยให้ชมโต๊ะทรงงานและบันทึกพิเศษที่ท่านทรงพระอักษรจากใจ ความเชื่อเรื่องโลกแตกในฐานะนักวิทยาศาสตร์ เรื่องสนุกอารมณ์ดีกับเรื่องสุนัขทรงเลี้ยงและสุนัขประจำตึกที่โรงพยาบาลศิริราช จะออกอากาศในรายการ "วู้ดดี้เกิดมาคุย" อาทิตย์ที่ 3 เม.ย.นี้ เวลา 22.30 น. ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี

ชมคลิปข่าว:คลิ้กที่นี่

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker