บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

"นิติราษฎร์"กับข้อเสนอใหม่ว่าด้วย กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ที่มา thaifreenews

โดย bozo




ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่ม "นิติราษฎร์" (นิติราษฎร์เพื่อราษฎร)
ได้จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"
โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา ได้แก่
อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์,
อ.สาวตรี สุขศรี,
อ. ปิยบุตร แสงกนกกุล และมี
อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

อ.ประจำภาคประวัติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เข้าร่วมฟังและแลกเปลี่ยนการเสวนาด้วย

อ. วรเจตน์ กล่าวว่า ในแง่ของปัญหาที่เกิดขึ้นกับบทมาตรา 112
ปัญหาที่เห็นได้ง่ายที่สุดคือ
ระดับของอัตราโทษ ซึ่งต้องยอมรับว่าโทษมีความรุนแรง
เมื่อเปรียบเทียบกับโทษที่เกิดในลักษณะเดียวกันในก่อนหน้านี้
ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างค่อนข้างมาก เท่าที่ค้นข้อมูลพบว่า
พระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาท นั้นกำหนดไว้ว่ามี
โทษ จำคุกไม่เกินสามปี ปรับเป็นเงินไม่เกิน 1,500 บาท ตัวนี้เป็นกฎตัวแรก
ตั้งแต่รัตนโกสินทร์ศก 118 มาในรศ. 127 ก็โทษเพิ่มขึ้นไปเล็กน้อยเป็นไม่เกินเจ็ดปี


อย่างไรก็ตาม ประมวลกฎหมายอาญาในปัจจุบันที่มีการบัญญัติ มาตรา 112 นั้น
โทษที่มีการบัญญัติในครั้งแรกไม่มีบทลงโทษขั้นต่ำแต่ใช้จำคุกไม่เกินเจ็ดปี
แต่ไปแก้ไขหลัง ตุลาคม พ.ศ. 2519 กฎหมาย ปัจจุบันสังเกตได้ว่า
บทลงโทษ อย่างต่ำต้อง 3 ปี หมายความว่า
ศาลมีดุลยพินิจให้อยู่ในช่วงกว้างของโทษคือ 12 ปี ต่างจากช่วงแรกที่มีโทษขั้นต่ำ
ศาลจะสั่งน้อยเท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งปัจจุบันโทษกำหนดเอาไว้สูง กล่าวคือ
ศาลต้องการจะลงโทษปรับก็ทำไม่ได้
เพราะกฎหมายไม่เปิดช่อง จึงต้องลงโทษอย่างน้อยสามปี


ความไม่สมเหตุผลของโทษคือ
แต่เดิมในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โทษยังเป็นไม่เกิน 3 ปี
แต่ในระบอบประชาธิปไตยกลับกำหนดโทษถึง 3-15 ปี



ประการต่อมาคือ
การไม่มีเหตุยกเว้นความผิด ในทางกฎหมายบุคคลธรรมดามีกำหนดข้อยกเว้นไว้
โดยการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดานั้นทำเพื่อการป้องกันตนไม่มีความผิด
แต่ขณะที่การหมิ่นประมาทกษัตริย์นั้นไม่ได้กำหนดเหตุยกเว้นความผิดเอาไว้
แปลว่าการติชมด้วยความเป็นธรรมก็สุ่มเสี่ยงต่อการเข้าองค์ประกอบความผิด
ซึ่งเป็นปัญหาในทางกฎหมายอาญาด้านสารบัญญัติ


ในทางกฎหมายอาญาวิธีสบัญญัติ เวลาที่มีการพิจาณาคดีศาล
ศาลเองได้ใช้บทบัญญัติในการดำเนินคดีเป็นการลับ
เพื่อประโยชน์ ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี หรือป้องกันความลับไม่ให้เผยแพร่ไป
หนำซ้ำยังปรากฎว่าคดีแบบนี้อย่าง กรณี"ดา ตอร์ปิโด"
ที่ทนายของคุณดา ได้หยิบยก ประเด็นต่อสู้ว่า มาตรา 117 ขัดต่อรฐธรรมนูญ
ซึ่งตรงนี้คือปัญหาในระดับตัวบท


ปัญหาที่สำคัญกว่าตัวบทเป็นปัญหาในระดับอุดมการณ์
พบว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทเป็นความผิดที่มีมาแต่เดิมในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ซึ่งมีความแตกต่างกับไอเดียประชาธิปไตย เพราะฉะนั้น
ในแง่ตัวบท ตัวกฎหมายนั้นไม่มีชีวิตแต่ถูกใช้โดยองค์กร ที่มีอำนาจในการตีความ
ซึ่งอาจไปในทางรุนแรงและร้ายกาจได้
องค์กรเหล่านี้เป็นคนให้ความหมายว่าหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่น
แต่การให้ความหมายของคนให้ความหมายสัมพันธ์กับสำนึกของคนให้ความหมายด้วย
เมื่อไม่เข้าใจความหมายในการปกครองก็มีผลต่อสำนึกจึงส่งผลต่อการตีความ



ถามว่าทำไมจึงเกิดอุดมการณ์แบบนี้ อยากชี้ให้เห็นว่า
ในเชิงอุดมการณ์เรามีอุดมการณ์หลักคือประชาธิปไตย
แต่การพูดถึงเรื่องสถาบันในสภาอาจทำไม่ได้ ไม่บังควรที่จะพูดถึง
มันสะท้อนวิธีคิดอุดมการณ์ผ่านกลไกรัฐมาอย่างยาวนาน
เรื่องการจัดการความผิดไม่สามารถทำได้ในแง่ตัวบท
แต่อาจเชื่อมโยงไปถึงอุดมการณ์


ในแง่ทางวิชาการ การปรับเปลี่ยนอุดมการณ์เป็นเรื่องใหญ่ และยาก
แต่ควรจะทำ เป็นการสู้กันของสำนึกสองประการ
ซึ่งต้องเอาเหตุผลว่ากัน แต่หลายคนเอาอารมณ์ความรู้สึกมาใส่
ในวิชานิติศาสตร์การต่อสู้ในแง่อุดมการณ์เป็นเรื่องยาก
คดีบางคดีที่เกิดในศาลปกครอง ศาลปกครองที่ดำเนินกรณี
ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่น
สำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ( JTEPA)
มีคนไปฟ้องศาลปกครอง ศาลตัดสินว่าฟ้องไม่ได้เพราะไม่อยู่ในอำนาจ
แต่ในคดีลงนามความเข้าใจร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งคุณนพดล ปัทมะ ถูกฟ้อง
ศาลปกครองกลับรับพิจารณา
แสดงให้เห็นว่ามีวิธีคิดเบื้องหลังที่เป็นปัญหา
การทำให้ไอเดียของคนขยับเข้าไปใกล้กับปชต.
ปัญหาก็จะลดลง แต่ไม่ได้หมายความว่าปัญหาจะหมดไป
เรื่องตัวบทมีความสำคัญ การขยับขับเคลื่อนอาจช่วยเรื่องอุดมการณ์ได้


กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญหาที่พบเป็นปัญหาสองระดับซ้อนกันคือ
ตัว "บท" และ"อุดมการณ์" ที่เป็นตัวกำกับการตีความขององค์กรในกระบวนยุติธรรม
การแก้ปัญหาต้องแก้ไปพร้อมกันหลายวิธี ที่สุดแล้ว
ถ้าจะมีอยู่ก็จะมีอยู่โดยสอดรับกับอุดมการณ์ในระบอบประชาธิปไตย



อ.ปิยบุตร นำเสนอว่า ประเด็นกฎหมายของอุดมการณ์ของผู้ดำเนินกฎหมายนั้น
กฎหมายไม่มีวัตถุประสงค์ของมันเอง แง่มุมความเป็นกฎหมายมันไปสร้างอุดมการณ์
เวลาเราพูดถึงกฎหมายนั้น เรานึกว่าข้อพิพาทยุติได้ด้วยกฎหมาย
กฎหมายต้องมีการบังคับ เป็นบรรทัดฐานของสังคม
ความเป็นกฎหมายต้องย้ำเรื่องศาล ตุลาการ เป็นอิสระ
กฎหมายเป็นแหล่งที่มาของความชอบธรรม


แง่มุมที่สองคืออุดมการณ์ไปครอบงำกฎหมาย และผู้ปฎิบัติทางกฎหมาย
เวลาจะดำเนินการใดๆก็จะทำโดยสอดรับกับอุดมการณ์โยงที่เขาอาจไม่รู้ตัวเอง
เพราะฉะนั้น อุดมกาณณ์จึงมีความสำคัญกับกฎหมาย
ในสังคมปัจจุบันที่บรรดาผู้ปฎิบัติทางกฎหมายถูกครอบงำทางอุดมการณ์
ก็จะไม่มีทางเห็นการเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญใดๆ


ความผิดฐานละเมิดนั้นมีมาแต่โบราณ
เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำให้องค์อธิปัตย์มีความศักดิ์สิทธิ์
ทำมากเข้าก็เกิดพวกนักปรัชญาที่เริ่มวิจารณ์ มีงานเขียนหลายงาน
สุดท้ายคนที่จะวินิจฉัยจะเป็นความสมดุล
ระหว่างชื่อเสียง และเกียรติยศ มาชนกับ"เสรีภาพในความคิดเห็น"


ตัวอย่างของการหมิ่นในต่างประเทศ อาจแบ่งได้เป็นสามรูปแบบคือ
ประเทศที่มีกฎหมายหมิ่นประมาทแต่ไม่นำมาใช้ เช่นเดนมาร์ก
เวลาที่มีการพูดหมิ่นให้ไปใช้กฎหมายแบบคนธรรมดา มีโทษจำคุกไม่เกินสี่เดือน
แต่อาจเพิ่มโทษเป็นสองเท่าเมื่อคนที่ถูกดูหมิ่นเป็นกษัตรย์
แต่จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าไม่เคยมีการเพิ่มโทษเลย
จนกระทั่งมีกลุ่มกรีนพีช บุกงานเลี้ยงก็อาจโดนเป็นกลุ่มแรก
สองคือ มีแต่เอามาใช้เป็นครั้งคราว แค่โทษปรับ เช่น ฮอลแลนด์ ที่ไม่ใช้มานานแล้ว
แต่เมื่อปี 2007 ก็เอามาใช้ในกรณีที่ดูหมิ่นและมีการว่ากล่าวแบบชัดเจน
สามคือ ประเทศที่มีกฎหมายความผิดฐานหมิ่นประมาทประมุขของรัฐ
และนำมาใช้ลงโทษจำคุกสม่ำเสมอ อาทิ
โมร็อคโค แต่โทษจำคุกต่ำสุดสามปี สูงสุดห้าปี


ปัญหาอยู่ที่การที่ให้คุณค่ากับเรื่องอะไร
อย่างประเทศอื่นที่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยกำกับก็มีการลงโทษที่เหมาะสม
แต่สำหรับศาลในบ้านเราก็อาจเป็นอีกแบบหนึ่ง



อ.สาวตรี กล่าวว่า ข้อมูลจากการศึกษาของ "David Strecksuss" พบว่า
ความผิดมาตรา 112 ระหว่างปีพ.ศ. 2535-2547
มีฟ้องคดี น้อยกว่า 10 คดี(เฉลี่ยแล้วฟ้องปีละประมาณ 0.8 คดี)
พอช่วงปี 48-52 มี 547 คดี เฉลี่ยแล้วฟ้องประมาณปีละ 109
จำนวน ช่วงระยะเวลา 4- 5 ปีเพิ่มขึ้น
อัตราคดีเพิ่มขึ้นราว 131 เท่า ในจำนวนคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาว่าผิด 247 คดี


หากแยกประเด็นแล้วพบว่า
มีการพยายามเอามาตรา 112 เอาไปผนวกกับความผิดเรื่องคอมพิวเตอร์
ที่มีการเอาถ้อยคำหมิ่นไปลงในเน็ต
พบว่ามี 31 คดีอย่างเป็นทางการ ตัดสินผิด 5 คดี ยกฟ้อง 1 คดี
และยังอยู่ระหว่างพิจารณา 2 คดีอยู่ในขั้นตอนสอบ
ตั้งข้อหาอีก 15 คดีซึ่ง 1 ใน 15 คดี ทั้งนี้
ยังพบอีกว่ามีการบล็อกเว็บไซต์หมิ่น 5 หมื่น จากการปิดทั้งหมด 7 หมื่นเว็บไซต์


ข้อเสนอ

สำหรับข้อเสนอของกลุ่ม 7 ประเด็น คือ
ยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
เนื่องจากเป็นฐานคำสั่งที่มาจากคณะรัฐประหาร จึงขาดความชอบธรรมในทางปชต.
เพื่อให้มีการนำไปบัญญัติอีกลักษณะขึ้นใหม่
หมายความว่าเอามาตรานี้ออกจากลักษณะความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง

สองคือ ตำแหน่งแห่งที่ว่าด้วยตำแหน่งที่บัญญัติขึ้นใหม่ให้เพิ่มลักษณะขึ้นใหม่
เนื่องจากความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และอาฆาตมาดร้ายนี้
ไม่มีความผิดร้ายแรงต่อการดำรงอยู่ของราชอาณาจักร
จึงสมควรให้มีลักษณะเฉพาะ
ไม่สามารถถูกนำไปกล่าวอ้างว่าเป็นความมั่นคงของราชอาณาจักรได้
ในขณะที่ในส่วนเกี่ยวกับการประทุษร้าย ปลงพระชนม์จะคงไว้
ให้มีการขยับเฉพาะมาตรา 112

สามคือ ตำแหน่งที่ได้รับการคุ้มครองให้มีการแบ่งแยก
การคุ้มครองสำหรับตำแหน่งกษัตริย์ ออกจากการคุ้มครอง
สำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
โดยบัญญัติมาตราขึ้นมาใหม่แบ่งแยกเป็นสองมาตรา
เพื่อให้สอดคล้องกับการแบ่งแยกการคุ้มครองกับกษัตริย์ พระราชินี
ซึงได้มีการแยกความผิดฐานปลงพระชนม์กษัตริย์ และราชินี รัชทายาท

สี่คือ เรื่องอัตราโทษปรับให้ไม่กำหนดอัตราโทษขั้นต่ำ,
ลดอัตราโทษจำคุกขั้นสูงเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี
พร้อมกำหนดโทษปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท

ห้าคือ เพิ่มเติมเหตุละเว้นความผิด
กรณีการติชม แสดงความคิดเห็น โดยสุจริต เพื่อธำรงไว้
ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือสาธารณะ บุคคลนั้นไม่มีความผิด

หกคือ เพิ่มเติมเหตุยกเว้นโทษ
ความผิดฐานต่างๆดังกล่าวถ้าผู้ถูกกล่าวหาคนดังกล่าว
พิสูจน์ได้ว่าข้อความนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

เจ็ดคือ ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิด
โดยให้ สำนักเลขาธิการเป็นผู้กล่าวโทษ
เพื่อไม่ให้บุคคลนำบทบัญญัติเป็นเครื่องมือทางการเมือง
หรือนำไปใช้โดยไม่สุจริต
แต่อาจมีข้อโต้แย้งว่าดึงเอาหน่วยงานใกล้ชิด
แต่ทางปฎิบัตินั้นสำนักนี้ก็ดูแลเรื่องนี้อยู่แล้ว

จึงขอเรียกร้องให้นักวิชาการต่างๆให้แสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือต่างก็ตาม


ด้านอ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่ได้เข้าฟังการเสวนาเสนอความเห็นว่า
ประเด็นสำคัญคือ ที่สุดแล้วตัวบทกฎหมายขึ้นอยู่กับอุดมการณ์
การตีความของศาล สังคมโดยรวมขึ้นอยู่กับตรงนั้น
ปัญหาคือการเสนอกฎหมายที่เป็นรูปธรรมตามที่ได้กลุ่มเสนอมานั้น
กรณีข้อเสนอว่า "ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริงแล้วเป็นข้อยกเว้นโทษ"


กรณีนี้ ลองเปรียบเทียบกับหนังของโอลิเวอร์ สโตน
เรื่อง "เจเอฟเค" โอลิเวอร์ สโตน นำเสนอทฤษฎีกล่าวหาว่า
รองปธน.เป็นคนฆ่าเจเอฟเค เพื่อให้ตัวเองขึ้นตรองตำหน่ง
แล้วเราลองสมมติว่า อันนี้จะมีใครพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้
ซึ่งลองมองที่เราเองตราบใดเท่าที่สังคมเรามีอุดมการณ์แบบนี้
ศาลจะไม่มีทางตัดสินเป็นข้อยกเว้นเลย


"ประเด็นลำพังตัวกฎหมายนั้นไม่มีทางที่จะมีความสำคัญโดยตัวมันเอง
กฎหมายเสนอแก้โดดๆไม่ได้ ต้องแก้ไปพร้อมกับอุดมการณ์นั้น"



ทัศนะวิชาการ"วรเจตน์" ผ่านนิติราษฎร์ ว่าด้วยปัญหากฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1300081597&grpid=01&catid=02


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1301224030&grpid=01&catid=&subcatid=

Re:

โดย ลูกชาวนาไทย



ดีครับที่มีการพูดกันอย่างชัดเจนในทางวิชาการ นี่จึงนับว่าเป็นการสัมมนาครั้งแรกในทางวิชาการเรื่องกฎหมายหมิ่น

ซึ่งนับว่าสังคมเราก้าวหน้าไปมาก เมื่อก่อนนี้ใครแตะเรื่องแบบนี้ไม่ได้เลย แต่วันนี้มีการพูดอย่างเป็นวิชาการแล้ว ขอเสนอของ "นิติราษฎร์" ผมไม่คิดว่าจะมีใครที่มี "ใจเป็นธรรมและเป็นอารยชน" สามารถโต้แย้งได้ ไม่ว่าปราชญ์ที่ไหนก็คงโต้แย้งเหตุผลนี้ได้ยาก ดังนั้นจึงนับว่าเป็นข้อเสนอที่มีเหตุมีผลมากที่สุด

ผมคิดว่าในที่สุดแล้วสังคมมนุษย์ที่มีอารยธรรม สิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลย่อมชนะในที่สุด เพราะฝ่ายอำมาตย์คงยากที่จะหยิบยกเหตุผลอื่นขึ้นมาโต้แย้งได้ นอกจากต่อสู้ด้วยอำนาจเท่านั้น ซึ่งในที่สุดก็จะพ่ายแพ้

การเสนอแบบให้ "ยกเลิก" ต่อต้านอย่างเดียวนั้น "ไม่เกิดพลังทางจริยธรรม" เพราะหากฝ่ายตรงข้ามโต้แย้งว่า "หากไม่หมิ่น" ก็ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร เราก็ตอบทางเหตุและผลได้ยาก

แต่ "นิติราษฎร์" ได้เสนอโต้แย้งในส่วนของ "ความสมเหตุสมผล" ของกฎหมายนี้

ในทางวิชาการแน่นอน "ประมุขของรัฐ" ควรได้รับการคุ้มครอง แต่การคุ้มครองต้อง "พอควร" และสอดครองกับอุดมการณ์ประชาธิปไตย ไม่ใช่คุ้มครองตามอุดมการณ์อื่น ซึ่งไม่สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน ซึ่งหากเมื่อ นิติราษฎร์ค้นไปจริงๆ แล้ว แม้แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราษฎร์ การคุ้มครองกษัตริย์ ก็ไม่ได้รุนแรง ไม่สมเหตุสมผลเช่นนี้

ดังนั้น"คำถามทางจริยธรรม" ที่นิติราษฎร์" โยนเข้ามาในสังคมนี้ จึงมีน้ำหนักมากที่สุด

ผมว่า อาจารย์กฎหมายกลุ่มนี้ไม่เสียชาติเกิดแล้วที่เรียนกฎหมาย ก็ต้องทำกฎหมายให้มันมีหลักของนิติธรรมให้ได้ ไม่ใช่เรียนกฎหมายเพื่อบิดเบือนกฎหมายเหมือนนักกฎหมายรุ่นก่อนหน้านี้

Long live the people !, long live democracy !

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker