บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

อำมาตย์กำลังติดหล่มสงครามยืดเยื้อ แนวรบใหม่กับกองทัพ "ปัญญาชน" เกิดขึ้น

ที่มา thaifreenews

โดย ลูกชาวนาไทย


วันนี้หากเป็นสงคราม (จริงๆ มันก็คือสงคราม ที่จริงสงครามมันเป็นแค่เครื่องมือชนิดหนึ่งของการต่อสู้กันทางการเมือง) การเมืองไทย จากสงครามที่คิดว่าจะชนะได้ในเวลาสั้นๆ ก็กลายเป็นสงครามยืดเยื้อไปเรียบร้อยแล้ว

จากที่ต่อสู้กับทักษิณ และอิทธิพลของทักษิณ
วันนี้ กลายเป็นการต่อสู้กับ "ปัญญาชน" ในประเด็น "เสรีภาพในการแสดงความเห็น" เสรีภาพในการคิดและความเชื่อ เป็นประเด็นทางอุดมการณ์ไปเรียบร้อยแล้ว

วันนี้ จะด่าว่า "ปัญญาชน" ตั้งแต่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ก่อนหน้านี้สัก 3-4 ปีที่แล้ว เป็นพวกตรงข้ามกับทักษิณ แล้วสลับมาอยู่ตรงกลาง วันนี้กลายเป็นหนึ่งใน 112 คน ที่เป็นแนวรบใหม่ในการต่อสู้กับอำมาตย์

หนึ่งสงคราม สองแนวรบ แนวรบทักษิณกับผู้ศรัทธาทักษิณ แนวรบนักวิชาการปัญญาชนก้าวหน้า สองแนวรบแรงๆ ทั้งสิ้น

แนว รบปัญญาชน ควรที่จะต่อสู้กันด้วยปัญญาในโลกยุค "ข้อมูลข่าวสาร" แต่กลับเลือกใช้ "การปิดกั้นสถานที่" การใส่ร้ายกันเหมือนนักการเมือง

วันนี้ ไม่มี "ผีคอมมิวนิสต์" จะปลุกผีตัวไหนมา ผีตัวไหนก็ไม่น่ากล้าต่อประชาชนแล้วในวันนี้ นอกจากปีอำมาตยาธิปไตย ที่น่ากลัวเป็นที่สุดสำหรับประชาชน

จะรับมืออย่างไร ใช้กำลังดิบๆ ชนอย่างนั้นหรือ

วันนี้ โลกเชื่อมโยงกันด้วยระบบอินเตอร์เน็ตทั้งหมด ข่าวสารปิดกั้นไม่ได้ "สารที่ทรงไว้ซึ่งปัญญาของนิติราษฎร์ ต่อต้านไม่ได้ด้วยกำลังหรือการบิดเบือน เพราะพวกอำมาตย์ปิดกั้นข่าวสารไม่ได้อีกต่อไป"

ไม่ให้เขาใช้ห้อง ประชุมธรรมศาสตร์ นิติราษฏร์อาจประยุกต์ใช้ "เทคโนโลยี Youtube จัดแถลงการณ์ที่ไหนแล้วให้ "คุณม้าเร็ว Speedhorse ไปถ่ายทอดให้ก็ได้ ผู้เข้าร่วมประชุมในห้องจริงๆ ไม่ต้องมากก็ได้สัก 30-40 คนก็พอ เพื่อซักถามประเด็น แล้วถ่ายทอดผ่านเว็บ ผ่านยูทูปต์ ผมว่ามันก็ได้ผลพอๆ กัน

มันไม่จำเป็นต้องใช้หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ก็ได้

แนะนำให้ไปจัดแถลงการณ์ต่อไปที่ ร้านอาหาร "บ้านประภัสสร" หรือร้านอาหารใหญ่ๆ ที่ไหนสักแห่งก็ได้

ผมว่ามีร้านอาหารเสื้อแดงที่เต็มใจให้จัดถมเถไป

วันนี้แนวรบขยายตัว ยิ่งสู้ยิ่งขยายศัตรูออกไปเรื่อยๆ
ผู้รักประชาธิปไตย และเสรีภาพ ย่อมมีอยู่อย่างไม่สิ้นสุด
ยิ่งปิดกั้นเสรีภาพ มันยิ่งขยายตัว
ยิ่งขมขู่ คนก็ยิ่งสู้

ครม.เห็นชอบปรับเงินเดือนข้าราชการวุฒิ ป.ตรี 15,000

ที่มา ประชาไท

คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบในหลักการการปรับขึ้นอัตราเงินเดือนราชการ ปริญญาตรี-โท-เอก-ปวช.-ปวส. ในปีแรก 2555 มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555

สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้ (31 ม.ค.) ว่านายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบในหลักการการปรับขึ้นอัตราเงินเดือนราชการ ปริญญาตรี-โท-เอก-ปวช.-ปวส. ในปีแรก 2555 มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ใช้งบประมาณ 5,600 ล้านบาท พร้อมทั้งปรับขึ้นเงินเดือนราชการที่มีอายุงานตั้งแต่ 1 - 10 ปี ตามฐานเงินเดือนจริง ส่วนที่มีอายุงานเกิน 10 ปีขึ้นไปอยู่ระหว่างพิจารณา

สำหรับฐานเงินเดือนที่ยังไม่ถึง 15,000 บาท จะเพิ่มเงินการครองชีพชั่วคราวให้ไม่เกิน 15,000 บาท โดยเงินเดือนที่ปรับฐานใหม่ คือ ปริญญาตรี จากเดิม 9,140 บาท เพิ่มเป็น 11,680 บาท, ปริญญาโท จากเดิม 12,600 บาท เป็น 15,300 บาท , ปริญญาเอก จากเดิม 17,010 บาท เป็น 19,000 บาท , ปวช. จากเดิม 6,410 บาท เป็น 7,620 บาท และ ปวส. จากเดิม 7,600 บาท เป็น 9,300 บาท

ขณะที่การพิจารณาการปรับขึ้นอัตราเงินเดือนราชการในปี 2556 ต้องมีการหารือกับกระทรวงการคลังก่อน เพื่อไม่ให้กระทบระบบเศรษฐกิจประเทศ

ฯพณฯณัฐวุฒิไม่ลับลวงพรางฟันธงโชะไม่แก้112 แดงขอนแก่นก่อหวอดคราวหน้าอย่าเลือกเพื่อไทย

ที่มา Thai E-News

(ดูวิดิโอข่าว คลิ้กที่นี่)

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
31 มกราคม 2555

ณัฐวุฒิยันเพื่อไทยชัดเจนไม่แก้มาตรา 112

ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 08.50 น. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯและแกนนำ นปช.ให้สัมภาษณ์ ถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ ยังคงโจมตีพรรคเพื่อไทย ว่าอยู่เบื้องหลังสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ในการเสนอแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญา ม. 112 ว่า เป็นรูปธรรมที่ทำให้ประชาชนเห็นชัดอีกครั้ง ว่ามีคนบางกลุ่มบางพวก นำเอาสถาบันเบื้องสูงมาเอ่ยอ้างเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองมายาวนาน จนกลายเป็นสถานการณ์ความไม่เข้าใจกัน

และใช้เป็นพื้นที่ผลประโยชน์ทางการเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ยังคงดำรงอยู่ในสังคม เพราะท่าทีและจุดยืนของพรรคเพื่อไทย และรัฐบาล ชัดเจนจนแทบไม่ต้องอธิบายหรือมีคำถามใด ๆ ขึ้นมาอีกแล้ว

" เพราะว่ารัฐบาลโดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ได้แสดงท่าทีชัดเจนแล้ว ส่วนพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรค ก็ได้แสดงท่าทีชัดเจนแล้วเช่นกัน อีกทั้งมติการดำเนินการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่หลักในการพิจารณาแก้ไขข้อกฏหมาย ก็มีความชัดเจนว่าไม่มีแนวทางและแนวคิดที่จะแก้ไขประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 112 เพราะฉะนั้น หากมองย้อนหลังไป ก็จะเห็นว่าทุกอย่างมีความชัดเจน ยกเว้นแต่ทางพรรคประชาธิปัตย์ ที่เจตนาจะไม่เข้าใจและเจตนาที่จะสร้างความสับสนให้เกิดขึ้นกับสังคม เพื่อที่จะได้ประโยชน์จากพื้นที่ทางการเมือง"นายณัฐวุฒิ กล่าว

เชื่อว่ากรณีดังกล่าวนี้ประชาชนจะสามารถใช้วิจารณญาณได้ แล้วพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลก็มีการออกมาระบุชัดเจนตรงไปตรงมา แน่ใจว่าประเด็นนี้ได้ข้อยุติลงแล้ว

นอกจากนั้นทางสภาฯ ยังมีท่าทีชัดเจนว่าไม่มีแนวคิดที่จะแก้ไขมาตรานี้ จะเห็นว่าทุกอย่างชัดเจน มีเพียงพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ที่เจตนาจะไม่เข้าใจและเจตนาสร้างความสับสนให้เกิดขึ้นกับสังคม เพื่อจะได้เป็นพื้นที่ประโยชน์ทางการเมืองของตัวเอง แต่ประชาชนรู้เท่าทัน และในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ จะได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวเรื่องนี้

"ประเด็นนี้ได้ข้อยุติแล้ว แต่พรรคประชาธิปัตย์จงใจที่จะไม่ให้มีข้อยุติ ผมขอฝากข้อคิดถึงประชาธิปัตย์ว่า 4-5 ปีที่ผ่านมา ก็เพราะท่านเที่ยวพูดเที่ยวทำอยู่อย่างนี้ มันมีข้อกล่าวหาหรือวิธีการใดอีกที่ไม่เคยกล่าวหา หรือใช้ประโยชน์ทางการเมืองโดยทำให้พรรคเพื่อไทยเกิดความเสียหาย และในท้ายที่สุดประชาชนสามารถแยกแยะเหตุผลและข้อเท็จจริงได้ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์มองย้อนเหตุการณ์ 4-5ปี ที่ผ่านมาก็น่าจะได้ข้อคิดและปรับเปลี่ยนวิธีทำงานทางการเมืองเสียใหม่

ทั้งนี้ รัฐบาลไม่ได้ปล่อยเกาะหรือทอดทิ้งกลุ่มนิติราษฎร์ อย่างที่พรรคประชาธิปัตย์พยายามกล่าวหา แต่เราเป็นสังคมประชาธิปไตย ไม่มีการผูกยึดกับบุคคลหรือองค์กร นอกจากเหตุผลหรือข้อเท็จจริงในแต่ละสถานการณ์ บางข้อเสนอสอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สังคมขานรับ และบางข้อเสนออาจไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้อง และอาจทำให้เกิดความสับสน ก็จะมีการตั้งข้อสังเกต และแสดงความเห็นต่าง เป็นเรื่องปกติของระบอบประชาธิปไตย" นายณัฐวุฒิ กล่าว

นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันสิ่งที่ดีที่สุดขณะนี้คือรับฟังทุกฝ่ายและยอมรับความ จริงว่าประเทศนี้ต้องปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข แล้วทุกฝ่ายยุติการเอ่ยอ้างถึงสถาบันเบื้องสูงเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง

อย่างไรก็ตามนายณัฐวุฒิกล่าวว่า แม้ฝ่ายต่อต้านการแก้ไข112บอกว่าทำไปเพื่อปกป้องสถาบัน แต่ฝ่ายเสนอแก้ไขนั้นก็ได้ยืนยันเช่นกันว่า แก้ไขเพืิ่อปกป้องสถาบัน ไม่มีฝ่ายใดคิดจ้องล้มสถาบันดังที่มีการโจมตีกัน เป็นเพียงความเห็นต่างในระบอบประชาธิปไตย

คนขอนแก่นฮึ่มเตือนเพื่อไทยสมัยหน้าไม่เลือก จะหันไปเลือกพรรคที่สนับสนุนข้อเสนอนิติราษฎร์แทน


สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาภาคอีสาน (สนนอ.)ได้ร่วมกันจัดเสวนาเรื่อง"แก้ไขมาตรา 112 ฟื้นฟูประชาธิปไตย"ที่โรงแรมขวัญมอ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อบ่ายวันอาทิตย์ที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา โดยมีผู้ร่วมงานมากกว่า 200 คน ซึ่งคนเสื้อแดงจังหวัดขอนแก่นที่เข้าร่วมในงาน ได้พากันอภิปรายว่า จังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดที่เลือกพรรคเพื่อไทยยกทั้งจังหวัดในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งล่าสุด แต่พรรคเพื่อไทยก็ไม่ได้สนองเจตนารมณ์คนเสื้อแดง และชาวขอนแก่้น โดยเฉพาะการแก้ไขมาตรา 112

ได้มีการกล่าววิจารณ์ในที่ประชุมเสวนาว่า พรรคเพื่อไทยที่ไม่สนับสนุนการแก้ไขมาตรา112นั้นไม่ทราบว่าจะยึกยักรอให้เขา ยึดอำนาจก่อนหรืออย่างไร และเสนอให้ประชาชนที่เลือกพรรคเพื่อไทยรณรงค์กดดันส.ส.ที่ตัวเองเลือกไปให้ สนับสนุนการแก้ไขมาตรา112 ไม่ใช่ปล่อยให้รองนายกฯเฉลิม อยู่บำรุง พูดให้สัมภาษณ์จะคัดค้านการแก้ไขและจ้องจับผิดนิติราษฎร์อยู่อย่างนี้ หากพรรคเพื่อไทยไม่สนองตอบ ก็ควรยุติการสนับสนุน และหันไปเลือกพรรคการเมืองที่สนับสนุนข้อเสนอของนิติราษฎร์และครก.112แทน

ผู้เข้าร่วมเสวนากล่าวว่า เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่า ข้อเสนอแก้ไข112จะไม่มีทางสำเร็จ เพราะพรรคเพื่อไทยไม่ยอมสนับสนุน แล้วจะทำอย่างไรต่อไป ซึ่งวาด รวี 1 ในคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112)กล่่าวตอบในที่เสวนาว่า การเสนอแก้ไขกฎหมายมีโอกาสไม่ประสบความสำเร็จหากไม่มีส.ส.สนับสนุน หรืออาจจะไปแท้งตั้งแต่ถึงมือประธานสภา เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ประชาชนจะเข้าชื่อแก้ไขกฎหมายก็ได้ หากกฎหมายนั้นเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพประชาชน แต่หากประธานสภาตีความว่า 112 ไม่ใช่กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ ก็อาจจะไม่บรรจุเข้าสู่วาระการแก้ไข ก็จะแท้งแต่ต้น "ซึ่งหากไม่ผ่าน เพราะแท้งตั้งแต่ต้น หรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากสภา ทางครก.112ก็จะรณรงค์ทางสังคมต่อไป"

ขณะที่ผู้เข้าร่วมเสวนากล่าวว่า หากประธานรัฐสภาทำเช่นนั้นก็ถือว่าไม่เคารพเสียงประชาชน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ก็เป็นส.ส.ที่คนขอนแก่นเลือกไป คราวหน้าก็อย่าหวังจะได้เข้าสภาอีก และขอบอกไปยังประชาชนจังหวัดอื่นๆว่าหากพรรคเพื่อไทยไม่สนับสนุนการแก้ไข มาตรา112 การเลือกตั้งหนหน้าก็ต้องมีการลงโทษทางสังคมด้วยการยุติการสนับสนุน แล้วไปเลือกพรรคการเมืองอื่นที่สนับสนุนการแก้ไขมาตรา112 และข้อเสนอลบล้างผลพวงการรัฐประหาร19กันยาของคณะนิติราษฎร์แทน (อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง:สนนท.ประณามASTV-หมอสลิ่มให้ร้ายฝ่ายรณรงค์แก้112ล้มเจ้า ย้อนที่ทำำกำลังสนองพระราชดำรัส)

โพลล์ไทยอีนิวส์เผยจะหันไปเลือกพรรคที่สนับสนุนข้อเสนอนิติราษฎร์

ไทยอีนิืวส์ได้จัดทำแบบสำรวจผู้อ่านในหัวข้อเรื่อง หากมีเลือกตั้งพรุ่งนี้คุณจะเลือกพรรคใด? ผลสำรวจในช่วง 2 วันที่ผ่านมากว่า 65% ตอบว่าจะเลือกพรรคที่สนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ และจะเลือกพรรคเพื่อไทยเพียง 28% ซึ่งนับว่าเป็นสถิติต่ำที่สุดเท่าที่เราเคยสำรวจมา

*********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:กาลครั้งหนึ่งเมื่อไวๆนี้กับเสนาบดีณัฐวุฒิ:อย่าทรยศต่อจิตวิญญาณของคนเสื้อแดง มิเช่นนั้น เราขาดกัน

ผมขอวิงวอนผู้บริหารและพรรคเพื่อไทยให้นึกถึงหยดเลือดคราบน้ำตา ของพี่น้อง อิสรภาพที่คนเสื้อแดงอุทิศทุ่มเทลงไปสละลงเป็นเส้นทางเพื่อให้ท่านเดินมา เป็นรัฐบาล แต่ขอว่าอย่ามาเหยียบย่ำการต่อสู้ หรือทรยศต่อจิตวิญญาณของคนเสื้อแดง หากท่านไม่ทำอย่างนั้นเราก็จะเดินทางไปร่วมกันต่อไป แต่หากท่านทำอย่างนั้นเมื่อใด ผมก็จะใช้เสรีภาพของนักต่อสู้ออกไปยืนอยู่กับคนเสื้อแดง-ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

นศ. มธ. ประท้วง และแถลงเกรียนโหดสัดส่งมาโปรดแด่ผู้บริหารมธ.:แม้โลกนี้จะมีเสรีภาพ แต่ธรรมศาสตร์ไม่เกี่ยวข้อง!

ที่มา Thai E-News

31 มกราคม 2555

มติชนออนไลน์ รายงานข่าวว่า


หลัง จากที่เมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติเอกฉันท์ว่ามหาวิทยาลัย คณะสำนักสถาบันจะไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเพื่อเคลื่อนไหวกรณี ประมวลกฎหมายมาตรา 112 อีกต่อไป เพราะมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ราชการ การอนุญาตต่อไปอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนินการของมหาวิทยาลัยหรือ มหาวิทยาลัยเห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในบริเวณมหาวิทยาลัย จนมหาวิทยาลัยไม่อาจดูแลความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยได้

ใน คืนวันเดียวกัน มีนักศึกษาจากหลากหลายกลุ่มรวมตัวกันประท้วงมติของคณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยการติดป้ายข้อความต่างๆ ทั่วทั้งอาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ (ตึก SC)

ทั้งนี้มีรายงานว่ากลุ่ม ธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยจะทำการวางพวงหรีดเพื่อ คัดค้านการห้ามรณรงค์เกี่ยวกับมาตรา 112 และไว้อาลัยให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ทำลายตัวเองด้วยการปิดกั้น เสรีภาพดังกล่าว ที่รูปปั้นอ.ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต ในวันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ เวลาบ่ายสองโมง และที่รูปปั้นอ.ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ ในวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ เวลาบ่ายสองโมง


แถลงเกรียนโหดสัดส่งมาโปรดแด่ผู้บริหารมธ.:แม้โลกนี้จะมีเสรีภาพ แต่ธรรมศาสตร์ไม่เกี่ยวข้อง!





ภาพโดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)


อ่าน "แถลงเกรียนชี้แจงเพิ่มเติมเรื่องไม่อนุญาตให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง กรณีมาตรา 112" แล้วก็เห็นว่าสมควรจะช่วยเผยแพร่เพื่อให้ข้อความนั้นไปถึงอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้รีบตอบสนองต่อแถลงการณ์โดยพลัน โดยเฉพาะ ข้อเรียกร้องมาตรา 6 เราอ่านแล้ว เราชอบมาก

"6. ต่อจากนี้ไปหากนักศึกษาต้องการแสดงความคิดเห็นหรือเคลื่อนไหวทางการเมืองให้ นักศึกษาไปแสดงออกในห้องส้วมขณะขับถ่าย โดยสามารถขีดเขียนฝาผนังได้ตามใจชอบ ทางมหาวิทยาลัยจะได้จัดปากกาเคมีชนิดลบไม่ออกให้อย่างพอเพียงทุกตารางนิ้ว"


โดย ชัชชวย คนทน
31 มกราคม 2555


สืบ เนื่องจากที่คณะผู้บริหารฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติไม่อนุญาตให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองกรณี มาตรา 112 เพราะเกรงว่าสังคมภายนอกจะเข้าใจผิดคิดว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อันทรง เกียรติจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ อีกทั้งการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ยังถือเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่ อาจนำมาซึ่งความรุนแรง เพราะเป็นการแสดงความคิดต่างทางการเมือง

การ ประกาศดังกล่าวมีนัยยะเป็นการประกาศมาตรฐานใหม่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งทางคณะผู้บริหารฯ คาดว่าจะมีนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ เนื่องจากนักศึกษามักจะมีความเชื่อมั่นในสติปัญญาของตนเองสูงจนเกินควร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการชี้แจ้งเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษามีความสำนึกใน เจตนารมณ์ใหม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังต่อไปนี้

1. มหาวิทยาลัยขอประกาศยกเลิกการรำลึก ฟื้นฟูสถานะ ตลอดจนอ้างอิงถึงผู้ประศาสน์การปรีดี พนมยงค์ และอาจาร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ด้วยเกรงว่านักศึกษาจะยึดเอาคุณธรรมและความกล้าหาญของบุคคลทั้งสองเป็น เยี่ยงอย่าง

2. ขอประกาศยกเลิกวันงานธรรมศาสตร์สามัคคี เพราะการเดินขบวนของนักศึกษาเข้ายึดมหาวิทยาลัยคืนจากทหารเมื่อ พ.ศ. 2494 เป็นเรื่องไม่สมควรอย่างยิ่งตามมาตรฐานใหม่ เนื่องจากเป็นการสุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง ในทางกลับกัน ในภาวะสุ่มเสี่ยงทางการเมืองเช่นนี้นั้น ทางเลือกเดียวที่จะทำให้สังคมเกิดความสงบเรียบร้อยได้ ย่อมต้องอาศัยการรักษาความปลอดภัยโดยทหาร

3. เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ถือเป็นการเคลื่อนไหวที่ก่อให้เกิดความรุนแรงทางการเมือง ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอประกาศและยืนยันใหม่ว่าไม่เคยเกี่ยวข้อง ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของนักศึกษาบางส่วนกับประชาชนภายนอกที่รู้ เท่าไม่ถึงการ ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมในพื้นที่สาธารณะ จนก่อให้เกิดความรุนแรง และบาดเจ็บล้มตายในท้ายที่สุด

4. เช่นเดียวกับข้อ 3 ในกรณี 6 ตุลา 2519 ให้ถือเป็นความผิดพลาดของผู้บริหารในยุคนั้นที่เคารพในศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ จึงทำให้ขาดความเด็ดขาดในการตัดสินใจออกคำสั่งห้ามนักศึกษาใช้สถานที่

5. สืบเนื่องจากข้อ 2, 3, และ 4 ทางคณะผู้บริหารจึงห้ามจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์การเมือง ของมหาวิทยาลัย เพราะทั้งหมดทั้งมวลล้วนเป็นเหตุการณ์เหลวไหลไร้สาระ ไม่ได้มีส่วนส่งเสริมให้นักศึกษาได้ดิบได้ดีในสังคมในภายภาคหน้า

6. ต่อจากนี้ไปหากนักศึกษาต้องการแสดงความคิดเห็นหรือเคลื่อนไหวทางการเมืองให้ นักศึกษาไปแสดงออกในห้องส้วมขณะขับถ่าย โดยสามารถขีดเขียนฝาผนังได้ตามใจชอบ ทางมหาวิทยาลัยจะได้จัดปากกาเคมีชนิดลบไม่ออกให้อย่างพอเพียงทุกตารางนิ้ว

7. คำขวัญใหม่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คือ “แม้โลกนี้จะมีเสรีภาพ แต่ธรรมศาสตร์ไม่เกี่ยวข้อง!”

จึงแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน
คณะผู้บริหารร่างกายในยามวิกฤติ

เตรียมเข้าแถวรอซื้อโดยพลัน "ฟ้าเดียวกัน # 33 “จากทหารพระราชา สู่ทหารพระราชา?”

ที่มา Thai E-News


กอง ทัพสมัยใหม่ของสยามนั้นกำเนิดขึ้นมาในรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีภารกิจที่แท้จริงคือการสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์และรักษาความมั่นคง ของราชบัลลังก์ ดังภารกิจของทหารประจำการที่เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า “ทุกคนจะได้รับการฝึกอบรมให้มีความซื่อสัตย์กตัญญูต่อพระเจ้าแผ่นดิน เพราะถือว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ปกครองให้บรรดาทหารได้รับความร่มเย็น เป็นสุข เป็นผู้พระราชทานเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยง เครื่องใช้สอยให้ทหาร ดังนั้นหน้าที่ของทหารจึงต้องพร้อมที่จะพลีชีพจนเลือดหยดสุดท้ายเพื่อเป็น ประโยชน์และเกียรติยศแห่งสิ่งที่รักและนับถืออยู่เสมอทุกเมื่อ”

ขณะ ที่กองทัพของสยามไม่ต้องทำหน้าที่ป้องกันประเทศจากศัตรูภายนอกอย่างจริงจัง นอกจากรบกับ “ศัตรูภายใน” หน้าที่หลักของกองทัพในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงได้แก่ การรักษาความมั่นคงภายในของกษัตริย์ และเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงความทันสมัยอวดโลกภายนอก หรือเป็น “ทหารพระราชา” นั่นเอง

อย่างไรก็ดี ในเวลาไม่นานเชื้อมูลแห่งการเปลี่ยนแปลงก็บ่มเพาะขึ้นในกองทัพเสียเอง นั่นคือ นายทหารคณะ ร.ศ. 130 ซึ่งเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ก้าวสู่ภาวะ “ศรีวิลัย” ซึ่ง “ราษฎรได้รับความอิศรภาพเสมอหน้ากัน ไม่มีใครที่จะมาเป็นเจ้าสำหรับกดคอกันเล่น” แม้ว่าจะล้มเหลว แต่อีก 20 ปีต่อมา นายทหารกลุ่มหนึ่งได้เข้าร่วมกับคณะราษฎรกระทำการยึดอำนาจจากกษัตริย์ และประกาศกลางพระนครว่า “ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง”

ช่วง เวลา 15 ปีหลังการปฏิวัติสยาม 2475 ทหารได้เป็น “ผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ปกป้องระบอบใหม่ของคณะราษฎรจากการโต้กลับของคณะเจ้า แต่ภารกิจดังกล่าวก็สิ้นสุดลงพร้อมกับการเมืองยุคคณะราษฎร เมื่อเกิดการรัฐประหารในปี 2490 ซึ่งเป็นการจับมือกันระหว่าง (เครือข่าย) สถาบันกษัตริย์กับทหารอีกกลุ่มหนึ่ง ฉีกรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก

2 วันหลังรัฐประหาร หนังสือพิมพ์ เอกราช ได้พาดหัวข่าวว่า “ในหลวงรู้ปฏิวัติ 2 เดือนแล้ว” โดย พล.ท. กาจ กาจสงคราม ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เขาส่งโทรเลขลับรายงานแผนการไปยังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ ล่วงหน้า 2 เดือนก่อนรัฐประหาร

การ รัฐประหาร 2490 นำไปสู่การฟื้นฟูอำนาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของสถาบันกษัตริย์ ขณะเดียวกันก็เปิดทางให้ผู้นำกองทัพกลายเป็น “ขุนศึก” ซึ่งสามารถขึ้นมาเป็นผู้ปกครองและตัวแสดงที่มีฐานอำนาจทางการเมืองและ เศรษฐกิจเป็นของตนเองในเวลาต่อมา

ถึงยุคสงครามเย็น คอมมิวนิสต์กลายเป็นศัตรูหลักที่คุกคามความมั่นคงของชาติ ด้วยการสนับสนุนจากมหามิตรอเมริกัน อำนาจและบทบาททางการเมืองของทหารขึ้นสู่จุดสูงสุดภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พร้อมๆ กับการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันกษัตริย์ในฐานะหุ้นส่วนและแหล่งอ้างอิง ความชอบธรรมของกองทัพ

ในระหว่างการทำสงครามต่อสู้กับ คอมมิวนิสต์ กองทัพและสถาบันกษัตริย์ยังได้ขยายบทบาทไปทำงาน “พัฒนา” ในฐานะเป็นยุทธวิธีสู้กับภัยคุกคามในชนบท และภายหลังได้หันมาใช้ “ประชาธิปไตย” เป็นยุทธวิธีในการสู้กับคอมมิวนิสต์ อันเป็นที่มาของนโยบาย 66/2523

หลังสงครามเย็นยุติลง ดูเหมือนภารกิจของกองทัพจะไม่มีความชัดเจน ขณะที่บทบาทและอำนาจทางการเมืองของตนก็ถูกลดทอนลงตามลำดับ แม้ผู้นำทหารจะก่อการรัฐประหารอีกในปี 2534 แต่ก็ต้องล่าถอยไปอย่างรวดเร็วเพื่อเปิดทางให้แก่กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย

แต่ แล้ว เมื่อการเมืองในระบบการเลือกตั้งเข้มแข็งขึ้นจนท้าทายเครือข่ายอำนาจเก่าที่ รวมศูนย์อยู่ที่สถาบันกษัตริย์ กองทัพจึงหวนคืนสู่เวทีการเมืองเต็มตัวอีกครั้งในฐานะ “ทหารของพระราชา” กระทั่งก่อการรัฐประหารในปี 2549 เพื่อรักษา “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” จนนำมาสู่ความขัดแย้งในสังคมไทยที่ยืดเยื้อและลงลึกถึงราก

ปัจจุบัน แม้กองทัพจะได้มีบทบาทมากขึ้น แต่ก็ถูกท้าทายมากขึ้น รวมถึงสถาบันกษัตริย์ที่เป็นแหล่งอ้างอิงความชอบธรรมของกองทัพก็ถูกตั้ง คำถามด้วยเช่นกัน

ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมใหม่ทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ ซึ่งเรียกร้องให้จัดวางบทบาทและตำแหน่งแห่งที่ของกองทัพเสียใหม่ด้วย โดยเฉพาะโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับ (รัฐบาล) พลเรือน ดูเหมือนว่ากองทัพไทยจะยังคงยึดมั่นกับบทบาทการเป็น “ทหารพระราชา” อย่างไม่เปลี่ยนแปลง

ขณะที่สำนึกประชาธิปไตย สำนึกความเป็นพลเมืองของประชาชนขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนลงลึกถึงระดับรากหญ้าในขณะนี้ แต่กองทัพไทยที่เริ่มต้นจากการเป็น “ทหารพระราชา” จะยินดีที่จะเป็น “ทหารพระราชา” อยู่เช่นเดิม

สิ่ง ที่น่าตระหนักคือไม่เพียงแต่สำนึกทางการเมืองของกองทัพกลับย้อนไปสู่ยุค สมบูรณาญาสิทธิราชย์ พอใจอยู่กับการเป็น “ทหารของพระราชา” เท่านั้น แต่สถาบันกษัตริย์ในฐานะแหล่งอ้างอิงความชอบธรรม ก็อาจจะพอใจที่จะให้กองทัพดำรงสถานะเช่นนี้ตลอดไป ราวกับว่า 80 ปีของปฏิวัติสยาม ไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย

มาร์กซิสในมุมมองสมศักดิ์ เจียม 29-1-2012

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

กาแฟ



http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=1077

ผู้สนับสนุนการแก้ 112 เป็นมวลชนก้าวหน้า หากไม่สนับสนุนเพื่อไทยคงแพ้ ในที่สุด

ที่มา thaifreenews

โดย ลูกชาวนาไทย


หากพรรคเพื่อไทยยังกลัวอำมาตย์ และมาขัดขวางการแก้ไข 112 ผมเชื่อว่าในที่สุดอาจแตกคอกันจนได้ และหากแตกคอกันในที่สุดเมื่อวันนั้นมาถึง พรรคเพื่อไทยก็คงโดยยุบพรรค แม้จะชนะเลือกตั้งแต่คงไม่ได้เกินครึ่งและเป็นฝ่ายค้านแน่นอน

ทักษิณ คงไม่ได้กลับบ้าน และจบบทบาทการต่อสู้ทางการเมืองในที่สุดในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า เพราะหากเกิดจุดอ่อนเช่นนี้ ผมไม่เชื่อว่าอำมาตย์จะไม่มุ่งโจมตีจุดอ่อนอย่างแน่นอน

ตอนนี้เขาก็ พยายามสร้างสถานการณ์ขู่ เพื่อให้รัฐบาลและกลุ่มทักษิณกลัว ต่อต้าน 112 ซึ่งจะนำไปสู่การแตกคอกับเสื้อแดงก้าวหน้าในที่สุด หากยังประเมินสถานการณ์ไม่ได้ ผมเชื่อว่าความย่ำแย่ทางยุทธศาสตร์ก็คงมาถึงอย่างแน่นอน

วันนี้ถึงอย่างไร ไปกราบเขา เขาก็ไม่ปรองดองกับพวกท่าน ยกเว้นต้องลุยให้ถึงที่สุดแล้วเขาจะมาขอกราบปรองดองเอง

หากยังตีประเด็นทางยุทธศาสตร์ไม่แตกก็คงแพ้ในที่สุดแม้ทำท่าจะชนะแล้วก็ตาม

ก็๋ อย่างที่ผมประเมินแต่ต้นนะครับ เสื้อแดงก้าวหน้า แม้เป็นเสื้อแดงส่วนน้อย แต่เป็น "ส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้พรรคเพื่อไทยชนะเกินครึ่ง หากไม่มีเสื้อแดงก้าวหน้าทุ่มกำลังช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยจะพอใจพรรคเพื่อไทยนัก พรรคเพื่อไทยก็คงได้ไม่เกิน 230 ที่นั่ง และกลายเป็น พรรคฝ่ายค้านที่ได้คะแนนมากที่สุด แต่คงไม่ได้เป็นรัฐบาล

หากยังตีความต้องนี้ไม่ออกระวังหายนะจะมาถึง

เรื่อง 112 แม้พวกฝ่ายขวาไม่พอใจ แต่ผมไม่คิดว่าเขาจะทำรัฐประหารได้ แต่ให้ทำรัฐประหารก็คงอยู่ไม่ได้ และพรรคเพื่อไทยก็คงกลับมาอีกในที่สุด เพราะมวลชนคงร่วมหัวจมท้ายด้วย

แต่หากแตกคอกันเรื่อง 112 ความเพลี่ยงพร้ำทางยุทธศาสตร์ก็คงมาถึงอย่างแน่นอน

ผมเข้าใจว่าพรรคเพื่อไทย แม้ไม่สนับสนุนตอนนี้ ก็๋ไม่ควรแสดงบทบาทต่อต้าน หรือขัดขวาง ปล่อยให้เป็นการเคลื่อนไหวของมวลชนไป

พรรค เพื่อไทยจะคิดว่า จะลุยทางด้านเศรษฐกิจเพื่อให้คนพอใจ วันนี้สถานการณ์มันเลยกว่าจุดนั้นไปค่อนข้างมากแล้ว แม้เศรษฐกิจจะสำคัญขาดไม่ได้ แต่เรื่องการเมืองก็สำคัญกว่ามาก หากมุ่งแต่เศรษฐกิจ ซึ่งผมเชื่อว่าคงไม่โตเป็น 7-10% อย่างแน่นอน การเมืองไม่ได้ สุดท้ายก็คงไม่มีผลงานอะไรดีเด่น แม้คนยังเลือก ก็คงได้ไม่เกินครึ่ง

ได้ไม่เกินครึ่งคือหายนะ ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่

ดัง นั้น คนของพรรคเพื่อไทย ไม่จำเป็นต้องมาย่ำเรื่องการไม่เห็นด้วยกับ 112 ให้มากนัก อะไรที่เงียบได้ก็ควรเงียบ และไม่ต้องกลัวฝ่ายตรงข้ามจนหัวหด

ผม บอกตรงๆ ชัดๆ เลยว่า การแตกแยกทางอุดมการณ์นั้น มีผลรุนแรงกว่าการแตกแยกทางด้านผลประโยชน์ ต่อให้บริหารเศรษฐกิจดีอย่างไร หากแนวร่วมเกิดรอยแยกทางอุดมการณ์ เมื่อไหร่ รอยแยกจะรุนแรงมากขึ้นกว่า เรื่องผลประโยชน์มากนัก

ขบวนการเสื้อแดงจะไม่มีทางแตกแยกกันเพราะ "แกนนำไม่ได้เป็นรัฐมนตรี" อย่างแน่นอน อันนั้นเรื่องขี้ประติ๋ว แต่จะแตกแยกกันแน่หากพรรคไทย "ค้าน 112" แล้วโดนอำมาตย์หลอกให้ทำโน้นทำนี่ให้ เป็นเงื่อนไขก่อนปรองดอง (แต่ทางยุทธศาสตร์เขาไม่ปรองดองอย่างแน่นอน เพราะมันคือการขัดแย้งกันทางอำนาจที่คงอยู่ร่วมกันยาก)

จตุพร..บอกให้นิติราษฎร์หยุดเคลื่อนไหว.112 ..

ที่มา thaifreenews

โดย Friend-of-Red


จตุพร..บอกให้นิติราษฎร์หยุดเคลื่อนไหว.112 ..กลัวมากไปมั้งไม่มี 112 ก็ใช้กรณีอื่นยึดอำนาจอยู่ดี..

ฟัง รายการ ...ชูธง.ที่จตุพรจัดอยู่ทางช่อง asia update วันนี้ (30 ม.ค.55) ใครเลือกข้างเป็นเสื้อแดง เป็นผู้สนับสนุน นปช.ที่ร่วมต่อสู้กันมายาวนาน ก็คงจะหงุดหงิดหัวใจ กรณีที่พูดในทำนองเรียกร้องให้ "นิติราษฎร์" หยุดเคลื่อนไหวเรื่องการแก้ กม. มาตรา 112

เหตุเพราะกลัว จะมีคนยึดอำนาจรัฐบาลโดยใช้ข้อการเรียกร้องแก้ 112 เป็นเงื่อนไข

ถ้า เป็น รตอ.เฉลิม หรือเป็นนายก พูดก็คงพอรับฟังได้ เป็นธรรมดาที่ไม่ไปแตะต้อง มาตรา 112 ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นนโยบายของรัฐบาล รัฐบาลจะแก้รัฐธรรมนูญ

ใน ระหว่งการต่อสู้ ของ นปช. นิติราษฎร์ ปรากฏขึ้นมาแม้จะไม่ได้ประกาศว่า เป็น นปช. เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแต่กิจกรรมต่างๆ ของ "นิติราษฎร์" ก็ล้วนแล้วแต่เป็นแนวร่วมของ นปช. นั่นคือต้องการ ระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ต้องการล้มล้างการยึดอำนาจ ไม่ให้มีการยึดอำนาจกันอีกต่อไป การแก้ไข ม.112 ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องการเสนอให้ประชาชนพิจารณา เพื่อให้ใช้ให้เหมาะสม จะยกเลิกแล้วร่างใหม่หรือกำหนดในหมวดอื่น ก็ล้วนแล้วแต่ต้องการให้ประชาชนคนทั่วไปตลอดจนนักวิชาการได้พิจารณา

ไม่ ให้ใครมาแอบอ้างใช้ 112 เพื่อประโยชน์ทางการเมือง ซึ่งนักการเมืองบางกลุ่มกับกลุ่มคนบางกลุ่มหยิบยกมาใช้ กอดไว้เป็นของตัวเองแต่เพียงผู้เดียวแล้วใส่ร้ายคนอื่นๆ

มีเสียงต่อต้าน ของพวกกลุ่มเดิมๆ ที่หยิบยกเรื่องความจงรักสถาบัน เอามาเคลื่อนไหว ซึ่งก็มีผู้คนจำนวนไม่มากเป็นแค่หลัก ร้อย

แต่ทีดูเหมือนจะมีเสียงแข็งก็ กลุ่มทหาร ออกมาฮื่มฮ่ำให้ นิติราษฎร์ เลิกเคลื่อนไหว ซึ่งทหารเขาก็ฮึ่มๆ อยู่เป็นปกติของเขาอยู่แล้ว

การต่อสู้ของ นปช.ไม่ใช่ต่อสู้แนวทางเดียวกับ นิติราษฎร์ หรอกหรือ คือต้องการล้มอำนาจเผด็จการ ล้มระบบอำมาตย์

นิติราษฎร์ เขาก็ยังดำเนินการตามแนวทางเขาไปตามปกติ ซึ่งน่าจะพอคิดได้ว่า เป็นแนวทางเดียวกับเสื้อแดงเมื่อสมัยร่วมกันก่อนเป็นรัฐบาล

แต่พอเป็นรัฐบาล นายจตุพร กลับมาประกาศ ทำนองไม่อยากให้ นิติราษฎร์เขาเคลื่อนไหว เพราะกลัวจะเป็นเงื่อนไขการยึดอำนาจ

นายจตุพร ก็เคยประกาศอยู่บ่อยๆ เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ว่าให้รีบแก้ ไม่กลัวทหารมายึดอำนาจ เพราะถ้าไม่ใช่เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ

พวกอำมาตย์ก็คิดจะยึดอำนาจอยู่ดี เพราะเขาต้องการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่ไม่ใช่พวกเขา

การ ดำเนินการของนิติราษฎร์ เป็นการทำตามครรลองของประชาธิปไตย เป็นสิทธิการดำเนินการ การเข้าชื่อการแก้ไขกฏหมาย เป็นเรื่องกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ใครไปขัดขวางก็ผิดด้วยซ้ำไป

ทำไม นายจตุพร ต้องออกมาแสดงอาการขัดข้อง เป็นการตัดหมู่มิตรส่วนหนึ่งที่สนับสนุน นิติราษฎร์ ให้ต้องหงุดหงิดและพาลจะโกรธเลิกยุ่งเกี่ยวกับ นปช. ไปด้วย

การให้นิติราษฎร์ เลิกเคลื่อนไหว แล้วคิดหรือว่า ฝ่ายอำมาตย์จะเลิกเคลื่อนไหวล้มรัฐบาล

อยู่ๆ ทำไมถึงมากลัวอะไรไม่เข้าท่า มาว่าพวกเดียวกันเอง

จะเรียกร้องให้คนเสื้อแดง นปช. ไปชุมนุม "โบนันซ่า" เพื่อแสดงพลังให้มากเพื่อต่อสู้กับเหล่าอำมาตย์ ไม่ให้คิดโค่นล้มรัฐบาล

คน ที่เขายังสู้กับอำนาจเผด็จการ และกลุ่มอำมาตย์ อย่างเด็ดเดี่ยว คือ "นิติราษฎร์" ซึ่งมีอาจารย์อยู่ 6-7 คน ตอนนี้ถูกรุมกระหน่ำทั่วทิศ แม้แต่ใน มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ที่ถือว่าเป็นแหล่งอิสระทางความคิด ยังไม่ให้นิติราษฎร์ใช้สถานที

คนที่เขาเคลื่อนไหว อย่างจริงจังต่อสู้อำนาจเผด็จการ มีหลักอ้างอิง ใช้แนวทางวิชาการล้วนๆ นายจตุพร กลับพูดในทำนองไม่อยากให้เคลื่อนไหว

แต่มาชักชวนคนให้ไป "โบนันซ่า" เพือแสดงพลังไม่ให้ใครมาโค่นล้มรัฐบาล แล้วใครอยากจะไปไหมเนี่ยะ

ก็ การเคลื่อนไหวในการแก้กฏหมาย เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ นายจตุพรก็บอกแต่เพียงว่า เป็นสิทธิในระบอบประชาธิปไตยที่จะทำได้ แต่รัฐบาลไม่ได้มีนโยบายแก้หมาย "นิติราษฎร์"ทำก็ทำไปเป็นสิทธิที่พึงทำได้

พูดแค่นี้มันดูดีกว่า พูดในทำนองไม่อยากให้ทำ ทำไม่ได้ในทางหลักวิทยาศาสตร์ ฉะนั้นไม่ต้องทำจะได้มีไม่มีเงื่อนไขในการล้มรัฐบาล

ก็เป็นสิทธิของเขา พอๆ กับสิทธิที่จะเรียกคนมาชุมนุมที่"โบนันซ่า" ของนายจตุพร

ถ้า มีคนมาบอกนายจตุพรว่า อย่าไปชุมนุมเลย เดี๋ยวอำมาตย์จะตื่นตกใจรีบทำการยึดอำนาจเสียก่อนคนจะไปที่ "โบนันซ่า" นายจตุพร จะรู้สึกยังไง

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=numnoi&month=30-01-2012&group=2&gblog=44

จดหมายเปิดผนึก แนะผู้บริหารมธ.เลิกห้ามเคลื่อนม. 112

ที่มา ประชาไท

มีผู้ลงชื่อจดหมายเปิดผนึก เรียกร้องผู้บริหารมธ. ทบทวนและยกเลิกมติการห้ามใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเคลื่อนไหวเพื่อการแก้ไขม. 112 ชี้ หาก "ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว" ก็ควรเปิดพื้นที่ให้มีการถกเถียงเรื่องการเมือง-สังคมอย่างเสรี ดังประสงค์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย

กลุ่มนักศึกษา-อาจารย์-ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และประชาชนกว่า ร้อยคนร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกถึง ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้ยกเลิกมติที่ออกมาจากที่ประชุมมหาวิทยาลัย หลังสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โพสต์ข้อความสาธารณะในเฟซบุ๊กว่า ที่ประชุมกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคลื่อนไหวในกรณี เกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยระบุเหตุผลว่า "อาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนีนการของมหาลัยหรือมหาลัยเห็นด้วยกับการ ดำเนินการดัง กล่าวข้างต้น อีกทั้งอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในบริเวณมหาลัย จนมหาลัยไม่อาจดูแลความปลอดภัย ของบุคคลและทรัพย์สินของมหาลัยได้"

จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวซึ่งล่าสุดมีคนร่วมลงชื่อกว่าร้อยคนผ่านทาง เฟซบุ๊ก ระบุว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ควรจะ เป็นพื้นที่ที่มี "เสรีภาพทุกตารางนิ้ว" ดังคำขวัญและจุดประสงค์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย และไม่เคยมียุคไหนนอก จากยุคเผด็จการที่ผู้บริหารมีนโยบายปิดกั้นเสรีภาพทางความคิด ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปัจจุบัน จึงควร เล็งเห็นความสำคัญของการยอมให้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ที่มีบรรยากาศเสรีและ สามารถจัดกิจกรรมทางสังคมและ การเมืองอย่างเปิดกว้าง เพื่อเอื้อให้ความขัดแย้งในสังคมบรรเทาลง

ทั้งนี้ นายรักชาติ วงศ์อธิชาติ หนึ่งในผู้ร่วมลงนามจดหมายเปิดผนึกกล่าวว่า กลุ่มดังกล่าวจะเดินทางไปยื่นหนังสือ เปิดผนึกต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ภายในสัปดาห์นี้ด้วย

0000

สืบเนื่องจากสเตตัสล่าสุดของอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ในเฟสบุ๊ก ใจความว่าด้วย เรื่องของการจะห้ามใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการเคลื่อนไหวทาง ความคิดและการขับเคลื่อนประเด็น ปัญหาที่เกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112 (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) เห็นได้ชัดว่านี่เป็นการปิดกั้น เสรีภาพทางความคิด และเสรีภาพทางวิชาการ ในมหาวิทยาลัยที่มีคำขวัญอันโดดเด่นว่า เสรีภาพทุกตารางนิ้ว

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นเป็นพื้นที่สำคัญของการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตยมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่การก่อตั้ง มหาวิทยาลัยที่เป็นผลผลิตของคณะราษฎรที่จะมุ่งหวังในการสร้างประชาธิปไตยให้ เกิดขึ้นในประเทศไทย มหาวิทยาลัยผ่านประสบการณ์การต่อสู้ทางการเมืองมาโดยตลอดตั้งแต่ ขบวนการ 11 ตุลาคม 2494 ในการเรียก ร้องมหาวิทยาลัยคืนจากจอมพล ป., ขบวนการ 14 ตุลา 2516, ขบวนการ 6 ตุลา 2519, ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้ทำ ให้มหาวิทยาลัยได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นพื้นที่สาธารณะในการส่งเสริม ความคิดทางการเมือง และประชาธิปไตย การเปิดให้วิพากษ์วิจารณ์ปัญหาที่แหลมคมควรจะเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยพึง กระทำโดยไม่มีการกีดกันและคัดค้าน คง จะมิเป็นการกล่าวเกินจริงว่าพื้นที่ทางวิชาการที่สำคัญที่สุดสำหรับประชาชน ผู้รักประชาธิปไตยและเป็นพื้นที่ที่เปิด กว้างทางความคิดมากที่สุด คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แต่มติเอกฉันท์ของผู้บริหารเพียงไม่กี่คนนำมาซึ่งการ ทำลายเสรีภาพในมหาวิทยาลัยอย่างร้ายแรง การจะไม่อนุญาต ให้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยในการเคลื่อนไหวกรณีมาตรา112 เป็นการปิดกั้น ปิดปาก นักศึกษาและประชาชน ผู้กระหาย ในเสรีภาพทางวิชาการและความถูกต้อง เป็นการทำลายเจตนารมณ์ของผู้ประศาสน์การที่มีความมุ่งหวังว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้จะเป็น “บ่อบำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขา ควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพ ของการศึกษา.”

นักศึกษา, คณาจารย์, ศิษย์เก่า แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประชาชนผู้รักในเสรีภาพทางความคิดและการ แสดงออก ขอเรียกร้องให้ผู้บริหารทั้งหลายที่ลงมติในการไม่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยเป็น พื้นที่ในการแลกเปลี่ยน กรณีการแก้ไขมาตรา112 กลับไปทบทวนว่าความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่การก่อตั้งในปี พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา เป็นพื้นที่ที่ยอมรับความหลากหลายทางความคิดและเปิดกว้างให้มีการใช้เพื่อ พูดคุย ถกเถียง ประเด็นทางสังคมและการเมือง ไม่เคยมีครั้งไหนนอกจากยุคเผด็จการที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีนโยบายปิดกัน ไม่ให้ นักศึกษาและอาจารย์แสดงเสรีภาพทางความคิด

เราขอเรียกร้องให้ผู้บริหารยกเลิกมติข้างต้น หากมหาวิทยาลัยยังมีคำขวัญที่ว่า “ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตาราง นิ้ว” อธิการบดีและผู้บริหารมหาวิยาลัยควรจะเห็นถึงความสำคัญของธรรมศาสตร์ในการ เป็นพื้นที่สำคัญในการทำ ให้ความขัดแย้งบรรเทาลงและยอมให้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่เปิดที่สามารถจัด กิจกรรมทางสังคม การเมือง และการ วิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงอย่างเปิดกว้างอย่างที่เคยเป็นมาตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัย

ด้วยความเคารพ

รักษ์ชาติ์ วงศ์อธิชาติ อุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/ นักศึกษาชั้นปีที่3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ อดีตสมาชิกสภานักศึกษาและศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2544 - 2548)

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดร. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สิงคโปร์

จิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย

เพียงคำ ประดับความ อดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จีรนุช เปรมชัยพร อดีตนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน รหัส 29

ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ อดีตกรรมการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2553-2554)

ภัควดี วีระภาสพงษ์ ศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาปรัชญา รหัส 256280

บริภัทร ตั้งเสรีกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ เอกปรัชญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (class of 2013)

ศรวิษฐ์ โตวิวิชญ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พัชรี แซ่เอี้ยว อดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ รหัส48

สุเจน กรรพฤทธิ์ อดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ รหัส 43

พันธุ์ภูมิ ผุดผ่อง กรรมการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2554-2555)

ธันย์ ฤทธิพันธ์ ประชาชน

ภูริพัศ เมธธนากุล มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คุปต์ พันธ์หินกอง อดีตนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์

พันธกานต์ ตงฉิน อดีตนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน รหัส 48

อนุธีร์ เดชเทวพร อดีตนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 49, อดีตอุปนายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2551-2552, อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยปี 2552-2553

วันเพ็ญ ก้อนคำ/ ประชาชน

น้ําฝน ลิ่วเวหา วารสารศาสตร์48

รุ่งโรจน์ "อริน" วรรณศูทร (นิรันดร์ สุขวัจน์ มธ 159101) / ลาออกปีการศึกษา 2519 "รัฐศาสตร์ ทฤษฎีและปรัชญา การเมือง"

นุชจรีย์ วิริยางกูรภาพ อดีตนักศึกษาคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี

วรวิทย์ ไชยทอง ภาควิชาการปกครอง รัฐศาสตร์ จุฬา ฯ

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล /ประชาชน

พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รหัส 46

ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์, นิสิตเกษตรศาสตร์, รหัส ๒๕๒๕

พิศาล ธรรมวิเศษ ชาวบ้าน

ศิรดา วรสาร อดีตนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 50

ธนุต มโนรัตน์ รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

เทพวุธ บัวทุม คนไท

มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม ราษฎร

สุเทพ ศิริวาโภ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น/ประชาชน

นายนิคม โชติพันธ์ ประชาชน

ธนพล พงศ์อธิโมกข์ CCP/ประชาชน

อดิศร เกิดมงคล นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วรัญญา เกื้อนุ่น รหัส 37 คณะนิติศาสตร์ มธ

วรรษชล ศิริจันทนันท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อภิวัฒน์ วัฒนพงษ์ อดีตนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 49

สุริยัน สินธทียากร ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ คณะเศรฐศาสตร์ รุ่น 24

ศิริวุฒิ บุญชื่น SEAS, ศิลปศาสตร์ '46

นวภู แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาตรี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

วีระพันธุ์ ตรีรัตน์พันธุ์ ราษฎร

ธนากร ปัสนานนท์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี3

อาดีช วารีกูล รัฐศาตร์การเมืองการปกครองม.รามและมานุษยวิทยาสาขาไทยคดีศึกษาปริญญาโท ม.ทักษิณ สงขลา

นครินทร์ วิศิษฎ์สิน บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พีระพล เวียงคำ นักกิจกรรม, นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ รหัส 4903610147,อดีตอุปนายกฯ อมธ.ปี 2551- 2552

ประวิทย์ พันสว่าง นักเขียน ชาวบ้าน

แวววิศาข์ ณ สงขลา นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง

ราชาวดี สิริโยธิน อักษรศาสตร์ จุฬา ฯ เกียรตินิยม

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นักศึกษา ป.โท คณะนิติศาสตร์ รหัส 2551

ชัยศิริ จิวะรังสรรค์ ศิลปินอิสระ

วินัย ผลเจริญ อดีตนักศึกษาปริญญาโทคณะศิลปศาสตร์ และปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พลิศ ลักขณานุรักษ์ อดีตกรรมการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2553-2554)

สิทธา แสนสมบูรณ์สุขนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาเยอรมัน รหัส53

นาย พิเศษ นภาชัยเทพ ราษฎร

ยศวัฒน์ ปานโต ประชาชนคนไทยที่ไม่ได้จบธรรมศาสตร์ แต่รู้จักธรรมศาสตร์จากสิทธิเสรีภาพของนักศึกษาในการ แสดงออก และปรารถนาให้ธรรมศาสตร์มียึดมั่นในอุดมการณ์ในสิทธิเสรีภาพของการแสดงออก

ประชาเลิศ แซ่เจ็ง ม.รามคำแหง

พัธรพงศ์ เลิศปัญญาธรรม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประภาภูมิ เอี่ยมสม นักศึกษาชั้นปีที่2 คณะมนุษยศาสตร์ เอกอังกฤษ สถาบันการศึกษานานาชาติ ม.รามคำแหง ผุ้ซึ่ง เคยชื่นชมมธ.ในฐานะมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการแสดงออกทางการเมือง

ก้าวหน้า เสาวกุล ศิลปศาสตรบัณฑิต มธ. รหัส 47

นางกนกวรรณ เกิดผลานันท์ (นางสาวกนกวรรณ โยธาทิพย์) ศิษย์เก่าคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัสนักศึกษา 3207610746

ธนพล ฟักสุมณฑา

อนุพันธุ์ หงษาชัย รัฐศาสตร์บัณฑิต ม. รามคำแหง ผู้เห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักอย่างแท้จริง

อิทธิพล โคตะมี

อชิรวิชญ์ อันธพันธ์

วรยุทธ ยอดบุญ นิสิตปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พรเทพ กมลเพชร เศรษฐศาสตร์บัณฑิต รหัส 48

ปองภพ บูรพกิจลาภา นักศึกษาปีที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

ลิขิต เครือบุญมา ศิลปศาสตร์ ปี2

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ราษฎร

เกศริน เตียวสกุล นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์รหัส ๒๐

ชัยพฤกษ์ พัฒน์ดำรงจิตร

คมลักษณ์ ไชยยะ บัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์รุ่น 32

ดร.อิสราภรณ์ พิศสะอาด

ลงชื่อค่ะ นารีรัตน์ นิลพิศุทธิ์ บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ณัฐญา เกิดเพชร,วารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์

แคน อุดมเจริญชัยกิจ ธรรมศาสตร์ รหัส52

วีระ หวังสัจจะโชค รัฐศาสตร์ จุฬาฯ

อรุณี พูลสวัสดิ์ ประชาชน

ตันติกร เตริยาภิรมย์ บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น

เธนศก์ ล้ำเลิศ / ราษฎร

วสวัตติ์ เถื่อนคำ ประชาชน

ตัดสินอีกคดีทหารซ้อมเหยื่อดับ ศาลปกครองสั่งชดใช้กว่า 5 แสน

ที่มา ประชาไท

ศาลปกครองสงขลา สั่งสำนักนายกฯ ชดใช้ให้แม่อัสฮารี สะมาแอ กว่า 5 แสนบาท คดีทหารซ้อมทรมานจนตาย

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 มกราคม 2555 ที่ห้องพิจารณาคดี 1 ศาลปกครองสงขลา นายโสภณ บุญกูล ตุลาการผู้แถลงคดี ขึ้นนั่งบัลลังก์ อ่านคำพิพากษาคดีนางแบเดาะ สะมาแอ มาดาของนายอัสฮารี สะมาแอ ผู้เสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหาร ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากกระทรวงกลาโหม กองทัพบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึง 4 เป็นเงินรวมประมาณ 1,000,000 บาท ฐานการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 คดีหมายเลขดำที่ 39/2553 คดีหมายเลขแดงที่ 14/2555

โดยมีผู้ฟ้องคดีและทนายมาศาล ส่วนตัวแทนผู้ถูกฟ้องคดีไม่มาศาล แต่มีเจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า(กอ.รมน.ภาค 4 สน.) จำนวนหนึ่งมาร่วมฟังคำพิพากษา

ศาลพิพากษาสรุปว่า พิพากษาให้สำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดแก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงินจำนวน 534,301.36 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 497,500 บาท นับตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2551 ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด และให้ยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึง 3

ศาลพิพากษาสรุปว่า คดีนี้ ผลการตรวจร่างกายนายอัสฮารีจากแพทย์ระบุว่า มีรอยช้ำที่ศีรษะและตามร่างกายหลายแห่ง แพทย์ระบุว่าไม่น่าจะเกิดจากการลื่นล้ม ประกอบกับผลการตรวจร่างกายผู้ที่ถูกควบคุมตัวคนอื่นๆ พบร่องรอยถูกทำร้ายร่างกายด้วย จึงเชื่อว่านายอัสฮารีถูกทำร้ายร่างกาย โดยผลการตรวจสมองของโรงพยาบาลสิโรรส พบว่านายอัสฮารีมีเลือดคั่งในสมอง จึงถูกส่งตัวไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา แต่เนื่องจากนายอัสฮารี ไม่มีบัตรประชาชน ประกอบกับติดต่อญาติไม่ได้ โรงพยาบาลศูนย์ยะลาจึงไม่สามารถผ่าตัดได้ เนื่องจากไม่มีญาติยินยอม นายอัสฮารีเสียชีวิตในวันต่อมา

ศาลพิพากษา สรุปว่า นายอัสฮารี ถูกทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 กับหน่วยเฉพาะกิจที่ 13 ร่วมกับตำรวจสถานีตำรวจภูธรปะแต่ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา จับกุมบริเวณสวนยางพารา หมู่ที่ 5 บ้านจาเราะซีโป๊ะ ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จากนั้นนำไปสอบสวนที่ศูนย์วิวัฒน์สันติ ในค่ายอิงคยุทธบริหาร ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ต่อมาคืนวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 เจ้าหน้าที่นำตัวนายอัสฮารี ไปส่งโรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร และส่งต่อโรงพยาบาลปัตตานี จากนั้นถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์ยะลา จนกระทั่งเสียชีวิตในวันต่อมา

นางแบเดาะ เปิดเผยว่า พอใจกับคำพิพากษา และจะไม่ขออุทธรณ์ในส่วนที่ศาลมิได้พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าขาดแรง งานในครัวเรือน เป็นเงิน 576,000 บาท

ทนายจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม แจ้งว่า ในส่วนของคดีไต่สวนการตายของนายอัสฮารี ที่ศาลจังหวัดยะลา ขณะนี้การพิจารณาคดียังสิ้นสุด โดยศาลนัดสืบพยานฝ่ายผู้ร้องปากสุดท้ายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 เวลา 09.00 น.

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 31/01/55 ซ้อมรับมือ..ก่อนน้ำท่วมจริง

ที่มา blablabla

ทำสำออย น้อยใจ เป็นวัยรุ่น
ซ้ำหมกมุ่น ลืมถูกผิด จ้องริษยา
เชิดชูเกียรติ เป็นหนึ่ง หวังพึ่งพา
กลับกลายเป็น แก๊งค์ซ่า บ้าน้ำลาย....

สิ่งคาใจ ควรถอดวาง ไว้ข้างหลัง
ทำโง่งั่ง อวดฤทธิ์เดช ทุเรศหลาย
แต่ละคน เติมคุกรุ่น จนวุ่นวาย
ความฉิบหาย รออยู่ มาดูกัน....

ซ้อมรับมือ เถิดหนา ท่านนายกฯ
อย่าพึ่งตก หลุมพราง ไม่สร้างสรรค์
เอาหัวใจ ที่แกร่งกล้า ฝ่าทางตัน
ไม่ดึงดัน แต่อ่อนช้อย ค่อยๆ เดิน....

วิกฤตินี้ ยังยาวไกล ใช่แค่เห็น
หลากประเด็น รอโถมใส่ ไม่ขัดเขิน
คนเบื้องหลัง เบื้องหน้า บ้ากันเพลิน
สุดยากเกิน จะปรองดอง มองหน้ากัน....

ต้องฮึดสู้ และอดทน อย่างคนกล้า
แล้วเดินหน้า คลายทุกข์ สร้างสุขสันต์
ประชาชน พร้อมร่วมด้วย ช่วยสู้มัน
หนึ่งเดียวนั้น..คือความหวัง..กำลังใจ....

๓ บลา / ๓๑ ม.ค.๕๕

แถลงเกรียนโหดสัดส่งมาโปรดแด่ผู้บริหารมธ.:แม้โลกนี้จะมีเสรีภาพ แต่ธรรมศาสตร์ไม่เกี่ยวข้อง!

ที่มา Thai E-News

ภาพโดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)


อ่าน "แถลงเกรียนชี้แจงเพิ่มเติมเรื่องไม่อนุญาตให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง กรณีมาตรา 112" แล้วก็เห็นว่าสมควรจะช่วยเผยแพร่เพื่อให้ข้อความนั้นไปถึงอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้รีบตอบสนองต่อแถลงการณ์โดยพลัน โดยเฉพาะ ข้อเรียกร้องมาตรา 6 เราอ่านแล้ว เราชอบมาก

"6. ต่อจากนี้ไปหากนักศึกษาต้องการแสดงความคิดเห็นหรือเคลื่อนไหวทางการเมืองให้ นักศึกษาไปแสดงออกในห้องส้วมขณะขับถ่าย โดยสามารถขีดเขียนฝาผนังได้ตามใจชอบ ทางมหาวิทยาลัยจะได้จัดปากกาเคมีชนิดลบไม่ออกให้อย่างพอเพียงทุกตารางนิ้ว"


โดย ชัชชวย คนทน
31 มกราคม 2555


สืบเนื่องจากที่คณะผู้บริหารฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติไม่อนุญาตให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองกรณี มาตรา 112 เพราะเกรงว่าสังคมภายนอกจะเข้าใจผิดคิดว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อันทรง เกียรติจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ อีกทั้งการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ยังถือเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่ อาจนำมาซึ่งความรุนแรง เพราะเป็นการแสดงความคิดต่างทางการเมือง

การประกาศดังกล่าวมีนัยยะเป็นการประกาศมาตรฐานใหม่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งทางคณะผู้บริหารฯ คาดว่าจะมีนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ เนื่องจากนักศึกษามักจะมีความเชื่อมั่นในสติปัญญาของตนเองสูงจนเกินควร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการชี้แจ้งเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษามีความสำนึกใน เจตนารมณ์ใหม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังต่อไปนี้

1. มหาวิทยาลัยขอประกาศยกเลิกการรำลึก ฟื้นฟูสถานะ ตลอดจนอ้างอิงถึงผู้ประศาสน์การปรีดี พนมยงค์ และอาจาร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ด้วยเกรงว่านักศึกษาจะยึดเอาคุณธรรมและความกล้าหาญของบุคคลทั้งสองเป็น เยี่ยงอย่าง

2. ขอประกาศยกเลิกวันงานธรรมศาสตร์สามัคคี เพราะการเดินขบวนของนักศึกษาเข้ายึดมหาวิทยาลัยคืนจากทหารเมื่อ พ.ศ. 2494 เป็นเรื่องไม่สมควรอย่างยิ่งตามมาตรฐานใหม่ เนื่องจากเป็นการสุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง ในทางกลับกัน ในภาวะสุ่มเสี่ยงทางการเมืองเช่นนี้นั้น ทางเลือกเดียวที่จะทำให้สังคมเกิดความสงบเรียบร้อยได้ ย่อมต้องอาศัยการรักษาความปลอดภัยโดยทหาร

3. เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ถือเป็นการเคลื่อนไหวที่ก่อให้เกิดความรุนแรงทางการเมือง ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอประกาศและยืนยันใหม่ว่าไม่เคยเกี่ยวข้อง ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของนักศึกษาบางส่วนกับประชาชนภายนอกที่รู้ เท่าไม่ถึงการ ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมในพื้นที่สาธารณะ จนก่อให้เกิดความรุนแรง และบาดเจ็บล้มตายในท้ายที่สุด

4. เช่นเดียวกับข้อ 3 ในกรณี 6 ตุลา 2519 ให้ถือเป็นความผิดพลาดของผู้บริหารในยุคนั้นที่เคารพในศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ จึงทำให้ขาดความเด็ดขาดในการตัดสินใจออกคำสั่งห้ามนักศึกษาใช้สถานที่

5. สืบเนื่องจากข้อ 2, 3, และ 4 ทางคณะผู้บริหารจึงห้ามจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์การเมือง ของมหาวิทยาลัย เพราะทั้งหมดทั้งมวลล้วนเป็นเหตุการณ์เหลวไหลไร้สาระ ไม่ได้มีส่วนส่งเสริมให้นักศึกษาได้ดิบได้ดีในสังคมในภายภาคหน้า

6. ต่อจากนี้ไปหากนักศึกษาต้องการแสดงความคิดเห็นหรือเคลื่อนไหวทางการเมืองให้ นักศึกษาไปแสดงออกในห้องส้วมขณะขับถ่าย โดยสามารถขีดเขียนฝาผนังได้ตามใจชอบ ทางมหาวิทยาลัยจะได้จัดปากกาเคมีชนิดลบไม่ออกให้อย่างพอเพียงทุกตารางนิ้ว

7. คำขวัญใหม่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คือ “แม้โลกนี้จะมีเสรีภาพ แต่ธรรมศาสตร์ไม่เกี่ยวข้อง!”

จึงแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน
คณะผู้บริหารร่างกายในยามวิกฤติ

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

“อนุดิษฐ์” โต้ “มัลลิกา” ฟ้องละเว้นฯเว็บหมิ่น ต้องรับผิดชอบคำพูดตนเอง

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เขียนโดย pal

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ยืนยันกระทรวงฯเดินหน้าปราบเว็บหมิ่นสถาบันต่อเนื่อง
โดยมีหลักฐานเป็นสถิติชัดเจนในการปราบเว็บหมิ่นดังกล่าว
พร้อมตั้งข้อสังเกต น.ส.มัลลิกา
ฟ้องร้องต้องการอะไร พร้อมย้ำต้องรับผิดชอบคำพูดที่กล่าวหาคนอื่น




น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวถึง
กรณี น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แจ้งความเอาผิดนายกรัฐมนตรี
และฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
ฐานละเว้นการปฎิบัติหน้าที่เรื่องการปราบปรามเว็บหมิ่นเบื้องสูงว่า
เรื่องนี้มีความชัดเจนอยู่แล้วที่ผ่านมายืนยันว่า
กระทรวงไอซีทีดำเนินการปราบปรามต่อเนื่อง
แต่ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่ น.ส.มัลลิกา พยายามทำอยู่เกิดประโยชน์อะไร
เพราะประเด็นเหล่านี้ เป็นเรื่องที่สังคมมีความเข้าใจในการแก้ปัญหาของรัฐบาลอยู่แล้ว
แต่การพยายามจุดประเด็นเหล่านี้ไม่ได้เกิดผลดีต่อการบริหารจัดการแน่นอน
ถ้าสิ่งที่พูดเป็นเท็จ
หรือ ไม่ได้เอาเรื่องที่ถูกต้องมาพูด และ ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด

"ผมยืนยันว่าจะไม่ปล่อยให้ น.ส.มัลลิกาได้ทำเรื่องแบบนั้นอย่างเสรีโดยไม่ต้องรับผิดชอบ
สิ่งที่ น.ส.มัลลิกา พูดต้องรับผิดชอบคำพูดของท่านด้วย
และ เมื่อคิดว่าจะไปฟ้องคนอื่น ท่านมั่นใจหรือยังว่าสิ่งที่ท่านพูดนั้นได้พูดข้อเท็จจริง
ท่านจะต้องไปให้การต่อศาลด้วยเช่นกัน"

รมว.ไอซีที กล่าวอีกว่า เหมือนคราวที่แล้วไม่ได้พูความจริง
และ ประณามรวมถึงกล่าวหาข้าราชการไอซีทีว่าละเว้น
ซึ่งตนเองในฐานะเจ้ากระทรวงจึงยินยอมให้เกิดการกระทำดังกล่าวไม่ได้
ครั้งนี้เช่นเดียวกันที่บอกว่ากระทรวงไม่ทำงาน หรือ ละเลย
แต่เรามีหลักฐานจากศาลฯที่ได้วินิจฉัยการปิดเว็บไซต์ทุกสัปดาห์
มีหลักฐานมากมายและไม่ได้เป็นอย่างที่ น.ส.มัลลิกาพูด
และไม่ใช่เรื่องที่ดีที่จะต้องเอาเรื่องนี้มาพูดประชาสัมพันธ์
หรือประโคมข่าวแต่อย่างที่ท่านพูด ต้องรับผิดชอบคำพูดตัวเองด้วย

โดยเรื่องนี้มีข้อมูลสถิติชัดเจนแต่เรื่องเหล่านี้เป็นข้อมูลลับ
ถ้าใครที่มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลสามารถทำเรื่องมาได้
จะทำรายงานใส่แฟ้มรายงานให้ ซึ่งส่วนตัวอยากบอกข้อเท็จจริงว่า
ไม่มีข้าราชการคนไหนที่ต้องการละเลยการทำงานในหน้าที่
ที่ตัวเองรับผิดชอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้

น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวอีกว่า การที่ น.ส.มัลลิกาทำหน้าที่ตรวจสอบเป็นเรื่องที่ดี
แต่การตรวจสอบควรมีการนำเอาสิ่งที่ดีถูกต้องชี้แจงกับประชาชนไม่ใช่บอกว่ากระทรวง
หรือ รัฐบาลละเลยการทำหน้าที่ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ชี้แจงไปไม่รู้กี่ครั้งกี่รอบแล้ว
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ไม่พยายามนำเอาสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมาพูด
แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่า ท่านกำลังพยายามบิดเบือนเรื่องดังกล่าว
เพื่อให้สังคมเห็นว่ากระทวงไอซีทีไม่ทำงาน มีวัตถุประสงค์อะไร

"ยืนยันว่าข้อความหมิ่นลดลงเรื่อย ๆ แต่ต้องยอมรับว่าทุกครั้ง
ที่มีการจุดกระแส หรือ ปลุกระดมเรื่องดังกล่าว
สิ่งเหล่านี้ นักวิชาการหลายคนได้วิเคราะห์วิจัยชัดเจนว่า
จะทำให้คนที่ไม่เคยรับรู้ ถูกกระตุ้น และ เข้าไปดูข้อมูลทางอ้อม
และ ทำให้จำนวนการเข้าไปเกี่ยวข้องสูงขึ้น
ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าการออกมาเคลื่อนไหว
ตอนนี้พยายามโยงไปเกี่ยวข้องกับการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์
ที่พยายามจะแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งเรื่องนี้เป็นคนละเรื่องกัน" รมว.ไอซีทีกล่าวทิ้งท้าย


http://www.go6tv.com/2012/01/blog-post_7456.html

ยุทธวิธีฝ่ายตรงข้ามคือ จับ 112 มัดรวมเพื่อไทย/แดง แล้วล้มการแก้ รธน./ล้มกระดาน

ที่มา thaifreenews

โดย ลูกชาวนาไทย


ผมไม่อยากเขียนประเด็น 112 กับพรรคเพื่อไทยมากนัก เพราะไปๆ มา ๆ พวกเราอาจโต้แย้งกันเองมากกว่าที่จะไปโต้แย้งกับฝ่ายตรงข้าม

แน่ นอน พรรคเพื่อไทยก็ควรพยายามเงียบเรื่องนี้เอาไว้ ไม่ต้องพูดอะไรมาก แค่นายกฯปู ปธิเสธแค่นั้น ก็มากพอแล้ว อันนั้นผมพอยอมรับได้ (แต่ไม่ค่อยพอใจมากนัก) ผมเข้าใจสถานการณ์ แต่ก็ทำใจได้ยากเหมือนกัน แต่ก็ต้องพยายามทำใจ

วันนี้ผมไม่คิดว่าพวกอำมาตย์ จะกังวลเรื่อง 112 มากนัก เพราะมันไม่ได้กระทบอะไรกับ "กลุ่มชนชั้นสูง"มากนัก แต่มันเป็๋นยุทธศาสตร์ที่อาจ "ปลุกมวลชนฝ่ายขวาจัด" ขึ้นมาได้ (อาจนะครับ เพราะประชาชนยังเงียบ) เขาก็ต้องใช้เงื่อนไขนี้เพื่อปลุกระดม

สิ่ง ที่พวกเขากังวลคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ทำให้อำนาจของพวกเขาลดลงไปอย่างมาก แต่การต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น วันนี้มันเลยจุดนั้นไปแล้ว ต่อต้านได้ยาก

ดังนั้นยุทธวิธีขอพวกเขา คือ การจับมัด 112 รวมกับรัฐบาลปู/พรรคเพื่อไทย/คนเสื้อแดง พยายามสร้างกระแสให้ "นิติราษฎร์กลายเป็นนิติเรด" เมื่อมัดสิ่งพวกนี้เข้าด้วยกันสำเร็จ (หากพวกเขาทำได้) ก็สามารถเตะชูตมันทีเดียวเข้าประตู ล้มกระดานกันได้เลย เรียกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกแทบหมดฝูง ตามยุทธศาสตร์ของพวกเขา

แต่ วันนี้สถานการณ์มันไม่ไปถึงขั้นนั้นเท่านั้น เพราะคนตาสว่างกันมาก และเบื่อความขัดแย้ง คนชนบทลดการสนับสนุนระบอบอำมาตยาธิปไตยลงไปแทบหมด ทำให้ปลุกกระแสขึ้นยาก

แต่อาจปลุกขึ้นบางระดับ

วันนี้ผมคาด ว่า กลุ่มที่มีพลังหนุน "นิติราษฎร์" ดีที่สุดคือ กลุ่มนักวิชาการ ปัญญาชน ที่ลงชื่อใน 112 คนแรก ไม่ใช่ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย หรือคนเสื้อแดง

ผม เห็นว่าเรื่องนี้ เบื้องหลังนิติราษฎร์เป็น นิธิ เอียวศรีวงศ์ ดร.ชาญวิทย์ ปราบดา หยุ่น และนักวิชาการปัญญาชนมีชื่อ ดีกว่า เป็น ณัฐวุฒิ จตุพร หมอเหวง อ.ธิดา และผมเชื่อว่าคนเสื้อแดงแทบจะทั้งหมดเห็นด้วยกับการแก้ไข 112 อยู่แล้ว

ส่วนรัฐบาลนั้นก็ต้องระมัดระวังทางการเมือง แต่หากคนทั้งหมดเอาจริง ๆ ท้ายที่สุดนักการเมืองก็ต้องกลับคำพูดอยู่ดี แต่วันนี้ เขาพยายามห่างเอาไว้ ส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันตัวเอง ส่วนหนึ่งก็คงเป็นยุทธวิธี ยกเว้นพวกรัฐมนตรีบางคนที่ห่วงตำแหน่ง

แม้ ว่าผมจะเข้าใจดี ถึงสถานการณ์ แต่ผมก็ไม่ค่อยชอบใจนัก ที่พรรคเพื่อไทย ออกมาพูดปฎิเสธ มากเกินไป คือ เงียบเสียบ้างก็ดี ได้ปฎิเสธเป็นทางการแล้ว ก็เลิกพูดได้แล้ว

คนเสื้อแดงก็ควร สนับสนุนนิติราษฎร์เป็นการส่วนตัว ไม่ต้องใส่เสื้อแดงก็ได้ (แต่เครือข่ายก็ยังเป็นเสื้อแดง)

แต่ เรื่อง 112 ไม่ควรเป็นกิจกรรมของเสื้อแดง หรือถูกมัดรวมกับคนเสื้อแดง แต่เป็นกิจกรรมของคนรักประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเท่าเทียมกัน (มันก็เสื้อแดงแหละว๊ะ)

ผมคิดว่าเราไม่ควรใจร้อนมากเกินไปว่ามันต้องเสร็จในบัดนาวว์ แต่ต้องผลักมันไปข้างหน้าเรื่อยๆ ผลักไปให้ได้ไกลที่สุด

สู้ กับอำมาตย์มา 5 ปี ส่วน 112 สู้กันมาได้ยังไม่ถึงปีดี หนทางอาจไกลหรือใกล้ เราก็ยังไม่ทราบ แต่วันนี้มาไกลมากเกินกว่าที่คิด แต่ยังไม่ถึงปลายทางเท่านั้น

ตอบโต้ทันควันต่อการ "ปิดฉากแล้ว'ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว' ต่อไปนี้เป็นสถานที่ราชการห้ามเข้า(เฉพาะพวกแก้112)"

ที่มา Thai E-News

แถลงการณ์คัดค้านการปิดกั้นเสรีภาพในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สืบ เนื่องจากสเตตัสล่าสุดของอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ในเฟสบุ๊ก ใจความว่าด้วยเรื่องของการจะห้ามใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการ เคลื่อนไหวทางความคิดและการขับเคลื่อนประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับกฎหมายอาญา มาตรา112 (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) เห็นได้ชัดว่านี่เป็นการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิด และเสรีภาพทางวิชาการ ในมหาวิทยาลัยที่มีคำขวัญอันโดดเด่นว่า เสรีภาพทุกตารางนิ้ว

มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์นั้นเป็นพื้นที่สำคัญของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่เป็นผลผลิตของคณะราษฎรที่จะมุ่งหวังใน การสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในประเทศไทย มหาวิทยาลัยผ่านประสบการณ์การต่อสู้ทางการเมืองมาโดยตลอดตั้งแต่ ขบวนการ11ตุลาคม2494 ในการเรียกร้องมหาวิทยาลัยคืนจากจอมพล ป., ขบวนการ14ตุลา 2516, ขบวนการ 6ตุลา2519, ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นพื้นที่ สาธารณะในการส่งเสริมความคิดทางการเมือง และประชาธิปไตย การเปิดให้วิพากษ์วิจารณ์ปัญหาที่แหลมคมควรจะเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยพึง กระทำโดยไม่มีการกีดกันและคัดค้าน คงจะมิเป็นการกล่าวเกินจริงว่าพื้นที่ทางวิชาการที่สำคัญที่สุดสำหรับ ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและเป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างทางความคิดมากที่สุด คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แต่มติเอกฉันท์ของผู้บริหารเพียงไม่กี่คน นำมาซึ่งการทำลายเสรีภาพในมหาวิทยาลัยอย่างร้ายแรง การจะไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยในการเคลื่อนไหวกรณีมาตรา112 เป็นการปิดกั้น ปิดปาก นักศึกษาและประชาชน ผู้กระหายในเสรีภาพทางวิชาการและความถูกต้อง เป็นการทำลายเจตนารมณ์ของผู้ประศาสน์การที่มีความมุ่งหวังว่ามหาวิทยาลัย แห่งนี้จะเป็น “ บ่อบำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพ ของการศึกษา.”

นัก ศึกษา, คณาจารย์, ศิษย์เก่า แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประชาชนผู้รักในเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก ขอเรียกร้องให้ผู้บริหารทั้งหลายที่ลงมติในการไม่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยเป็น พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนกรณีการแก้ไขมาตรา112 กลับไปทบทวนว่าความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่การก่อตั้งในปี พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา เป็นพื้นที่ที่ยอมรับความหลากหลายทางความคิดและเปิดกว้างให้มีการใช้เพื่อ พูดคุย ถกเถียง ประเด็นทางสังคมและการเมือง ไม่เคยมีครั้งไหนนอกจากยุคเผด็จการที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีนโยบายปิดกัน ไม่ให้นักศึกษาและอาจารย์แสดงเสรีภาพทางความคิด

เราขอเรียกร้องให้ ผู้บริหารยกเลิกมติข้างต้น หากมหาวิทยาลัยยังมีคำขวัญที่ว่า “ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว” อธิการบดีและผู้บริหารมหาวิยาลัยควรจะเห็นถึงความสำคัญของธรรมศาสตร์ในการ เป็นพื้นที่สำคัญในการทำให้ความขัดแย้งบรรเทาลงและยอมให้มหาวิทยาลัยเป็น พื้นที่เปิดที่สามารถจัดกิจกรรมทางสังคม การเมือง และการวิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงอย่างเปิดกว้างอย่างที่เคยเป็นมาตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัย

ด้วยความเคารพ

รักษ์ชาติ์ วงศ์อธิชาติ อุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/ นักศึกษาชั้นปีที่3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ อดีตสมาชิกสภานักศึกษาและศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2544 - 2548)
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดร. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สิงคโปร์
จิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย
เพียงคำ ประดับความ อดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จีรนุช เปรมชัยพร อดีตนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน รหัส 29
ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ อดีตกรรมการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2553-2554)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ ศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาปรัชญา รหัส 256280
บริภัทร ตั้งเสรีกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ เอกปรัชญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (class of 2013)
ศรวิษฐ์ โตวิวิชญ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พัชรี แซ่เอี้ยว อดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ รหัส48
สุเจน กรรพฤทธิ์ อดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ รหัส 43
พันธุ์ภูมิ ผุดผ่อง กรรมการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2554-2555)
ธันย์ ฤทธิพันธ์ ประชาชน
ภูริพัศ เมธธนากุล มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คุปต์ พันธ์หินกอง อดีตนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์
พันธกานต์ ตงฉิน อดีตนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน รหัส 48
อนุ ธีร์ เดชเทวพร อดีตนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 49, อดีตอุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2551-2552, อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยปี 2552-2553
วันเพ็ญ ก้อนคำ/ ประชาชน
น้ําฝน ลิ่วเวหา วารสารศาสตร์48
รุ่งโรจน์ "อริน" วรรณศูทร (นิรันดร์ สุขวัจน์ มธ 159101) / ลาออกปีการศึกษา 2519 "รัฐศาสตร์ ทฤษฎีและปรัชญาการเมือง"
นุชจรีย์ วิริยางกูรภาพ อดีตนักศึกษาคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี
วรวิทย์ ไชยทอง ภาควิชาการปกครอง รัฐศาสตร์ จุฬา ฯ
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล /ประชาชน
พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รหัส 46
ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์, นิสิตเกษตรศาสตร์, รหัส ๒๕๒๕
พิศาล ธรรมวิเศษ ชาวบ้าน
ศิรดา วรสาร อดีตนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 50
ธนุต มโนรัตน์ รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
เทพวุธ บัวทุม คนไท
มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม ราษฎร
สุเทพ ศิริวาโภ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น/ประชาชน
นายนิคม โชติพันธ์ ประชาชน
ธนพล พงศ์อธิโมกข์ CCP/ประชาชน
อดิศร เกิดมงคล นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วรัญญา เกื้อนุ่น รหัส 37 คณะนิติศาสตร์ มธ
วรรษชล ศิริจันทนันท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อภิวัฒน์ วัฒนพงษ์ อดีตนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 49
สุริยัน สินธทียากร ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ คณะเศรฐศาสตร์ รุ่น 24
ศิริวุฒิ บุญชื่น SEAS, ศิลปศาสตร์ '46
นวภู แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาตรี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
วีระพันธุ์ ตรีรัตน์พันธุ์ ราษฎร
ธนากร ปัสนานนท์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี3
อาดีช วารีกูล รัฐศาตร์การเมืองการปกครองม.รามและมานุษยวิทยาสาขาไทยคดีศึกษาปริญญาโท ม.ทักษิณ สงขลา
นครินทร์ วิศิษฎ์สิน บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พีระพล เวียงคำ นักกิจกรรม, นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ รหัส 4903610147,อดีตอุปนายกฯ อมธ.ปี 2551-2552
ประวิทย์ พันสว่าง นักเขียน ชาวบ้าน
แวววิศาข์ ณ สงขลา นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
ราชาวดี สิริโยธิน อักษรศาสตร์ จุฬา ฯ เกียรตินิยม
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นักศึกษา ป.โท คณะนิติศาสตร์ รหัส 2551
ชัยศิริ จิวะรังสรรค์ ศิลปินอิสระ
วินัย ผลเจริญ อดีตนักศึกษาปริญญาโทคณะศิลปศาสตร์ และปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พลิศ ลักขณานุรักษ์ อดีตกรรมการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2553-2554)
สิทธา แสนสมบูรณ์สุขนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาเยอรมัน รหัส53
นาย พิเศษ นภาชัยเทพ ราษฎร
ยศ วัฒน์ ปานโต ประชาชนคนไทยที่ไม่ได้จบธรรมศาสตร์ แต่รู้จักธรรมศาสตร์จากสิทธิเสรีภาพของนักศึกษาในการแสดงออก และปรารถนาให้ธรรมศาสตร์มียึดมั่นในอุดมการณ์ในสิทธิเสรีภาพของการแสดงออก
ประชาเลิศ แซ่เจ็ง ม.รามคำแหง
พัธรพงศ์ เลิศปัญญาธรรม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประภา ภูมิ เอี่ยมสม นักศึกษาชั้นปีที่2 คณะมนุษยศาสตร์ เอกอังกฤษ สถาบันการศึกษานานาชาติ ม.รามคำแหง ผุ้ซึ่งเคยชื่นชมมธ.ในฐานะมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการแสดงออกทางการเมือง
ก้าวหน้า เสาวกุล ศิลปศาสตรบัณฑิต มธ. รหัส 47
นางกนก วรรณ เกิดผลานันท์ (นางสาวกนกวรรณ โยธาทิพย์) ศิษย์เก่าคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัสนักศึกษา 3207610746
ธนพล ฟักสุมณฑา
อนุพันธุ์ หงษาชัย รัฐศาสตร์บัณฑิต ม. รามคำแหง ผู้เห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักอย่างแท้จริง
อิทธิพล โคตะมี
อชิรวิชญ์ อันธพันธ์
วรยุทธ ยอดบุญ นิสิตปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พรเทพ กมลเพชร เศรษฐศาสตร์บัณฑิต รหัส 48
ปองภพ บูรพกิจลาภา นักศึกษาปีที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ลิขิต เครือบุญมา ศิลปศาสตร์ ปี2
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ราษฎร
เกศริน เตียวสกุล นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์รหัส ๒๐
ชัยพฤกษ์ พัฒน์ดำรงจิตร
คมลักษณ์ ไชยยะ บัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์รุ่น 32
ดร.อิสราภรณ์ พิศสะอาด
ลงชื่อค่ะ นารีรัตน์ นิลพิศุทธิ์ บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ณัฐญา เกิดเพชร,วารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์
แคน อุดมเจริญชัยกิจ ธรรมศาสตร์ รหัส52
วีระ หวังสัจจะโชค รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
อรุณี พูลสวัสดิ์ ประชาชน
ตันติกร เตริยาภิรมย์ บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
เธนศก์ ล้ำเลิศ / ราษฎร
วสวัตติ์ เถื่อนคำ ประชาชน

0 0 0 0 0



ปิดฉากแล้ว'ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว' ต่อไปนี้เป็นสถานที่ราชการห้ามเข้า(เฉพาะพวกแก้112)"


เข้าพบสวัสดีปีใหม่ท่านอดีตนายกสภาสุเมธ ตันติเวชกุล ( สถานะบนเฟซบุ๊ค Somkit Lertpaithoon-สมคิด เลิศไพฑูรย์๋ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 7 ชั่วโมงที่แล้ว)


ที่ประชุมกรรมการบริหารมหาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยคณบดี ผู้อำนวยการสำนักสถาบันมีมติเอกฉันท์ว่ามหาลัย
คณะ สำนักสถาบันจะไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาลัยเพื่อเคลื่อนไหวกรณีมาตรา 112 อีกต่อไป เพราะมหาลัยเป็นสถานที่ราชการ การอนุญาตต่อไปอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนีนการของมหาลัยหรือมหาลัย เห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในบริเวณมหาลัย จนมหาลัยไม่อาจดูแลความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของมหาลัยได้ (สถานะบนเฟซบุ๊คของสมคิดเมื่อ 48 นาที่แล้ว)


เรื่องเกี่ยวเนื่อง

-อุ๊ยตาย!โดนจับได้อายจัง กร่างเป็นนิติมธ.2501ไล่นิติราษฎร์พ้นธรรมศาสตร์ ที่แท้เป็นลิ่วล้อเผด็จการ

-ซีรีส์ลากไส้องค์กรซ่อนเงื่อน:มหาลัยใหญ่โตเหวย! มืดจริงหนอสถาบันอันกว้างขวาง

ณ ที่แห่งนั้น เราจะไม่มีน้ำตา

ที่มา Thai E-News



30 มกราคม 2555
โดย เก้อ น่ะ

----------------
เชิงอรรถออกแบบ
----------------

1. มิได้สนับสนุนลัทธิยึดถือตัวบุคคล สิ่งที่กล่าวถึงคือสัญลักษณ์แทน"ความคิด"ชนิดหนึ่ง ผ่านบุคคลๆหนึ่งเท่านั้น ความจำเป็นในการใช้บุคคลแทนความคิดเป็นข้อจำกัดทั่วไปของการออกแบบเพื่อการ สื่อสารกับคนหมู่มาก

2. ชาติ คือชุมชนจินตกรรม(Imagined Community - อ.เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน) เราสร้างจินตนาการในขอบเขตพื้นที่ของรัฐดังที่ปรากฏในรูปของแผนที่ เรายึดถือบางสิ่งเป็นคุณค่าสูงสุดร่วมกัน กร่อนความหลากหลายทั้งมวลสู่คุณค่าส่วนกลางที่รัฐยึดถือ เรามีชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์ และค่านิยมประกอบอื่นๆที่ก่อความเป็นชาติขึ้น และเป็นความจริงสูงสุดที่ชีวิตสมาชิกในรัฐนั้นยึดถือ(รวมถึงควบคุมสมาชิกรัฐ ด้วยวิธีดังกล่าว ในนามระเบียบของสังคม)

แต่แค่เพียงเราก้าวเท้าข้าม เขตพื้นที่บนเปลือกโลกของรัฐเราออกไป ความจริงสูงสุดก็จะเป็นอื่น ก้าวเท้าเพียง 1 ก้าวข้ามไปที่ลาว มาเลเซีย ฯลฯ ความจริงสูงสุดก็จะไม่เหมือนที่เราเชื่อแล้ว

3. ทั้งหมดคือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นในชุมชนจินตกรรมนี้ ซึ่งอาจเหมาะสมกับความเป็นจริงในบริบทของสังคมและปัจจัยในช่วงเวลานั้นๆ (และเราก็ยังควรที่จะต้องตั้งคำถามและตรวจสอบย้อนกลับไปได้อีกเช่นกัน ว่าเหมาะสมจริงหรือไม่อย่างไร)

4. เราสามารถสร้างจินตนาการใหม่ได้เรื่อยๆ ขยายขอบเขตคุณค่าเหล่านั้นให้กว้างขวางออกไปได้เรื่อยๆ เพราะยิ่งกว้างขวางเท่าไหร่ สังคมยิ่งมีทางเลือกในการปรับตัวให้เข้ากับพัฒนาการของโลกมากเท่านั้น รวมถึงความสามารถในการตรวจสอบระหว่างความคิดต่างๆในสังคมเองก็จะมีมากขึ้น ทั้งหมดเพื่อนำพาสังคมไปในทิศทางบวก -เราสามารถจินตนาการให้เป็นอะไรได้ทั้งนั้น-

5. คุณค่าที่ควรยึดถือขึ้นกับปัจจัยในสังคมนั้นๆก็จริง แต่ถ้าความจริงใดครอบครองสถานะสัจธรรมสูงสุดเฉพาะพื้นที่บนเปลือกโลกขอบเขต รัฐนั้นๆ เป็นไปได้ว่าจินตนาการชนิดนั้นอาจคับแคบและขัดกับธรรมชาติของมนุษย์ ...จินตนาการที่ยิ่งห่างไกลจากธรรมชาติของมนุษย์อันเป็นสากลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะฉุดรั้งเราไว้มากเท่านั้น เมื่อโลกเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

6. และนี่คืออีกจินตนาการหนึ่ง...

สำนักงานออกแบบเพื่อชีวิต
ออกแบบไว้ ณ วันที่ 22 มกราคม 2555

ช็อตเด็ดวิวาทะมาตราร้อน

ที่มา Thai E-News

แย่งกันจงรักภักดี..เสด็จ พี่-พร้อมพงศ์ โฆษกเพื่อไทย ผนึกมืิอติ่ง-มัลลิกา รองโฆษกปชป. ที่DSI โดยรายแรกไปเร่งรัดให้ปราบพวกโพสต์ข้อความหมิ่นตามเน็ตและโซเชียล เน็ตเวิร์ค ฝ่ายหลังไปจี้ให้เอาผิดรัฐบาล ฐานจับเว็บหมิ่นฯช้า เป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่












ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล ให้สัมภาษณ์กรณีนิติราษฎร์เสนอแก้ไขมาตรา 112

อุ๊ยตาย!โดนจับได้อายจัง กร่างเป็นนิติมธ.2501ไล่นิติราษฎร์พ้นธรรมศาสตร์ ที่แท้เป็นลิ่วล้อเผด็จการ

ที่มา Thai E-News


นาย สุชาติ สหัสโชติ ที่อ้างตัวเป็นเป็นประธานชมรมนิติมธ.2501 ขับไล่คณะนิติราษฎร์พ้นจากการเป็นอาจารย์ธรรมศาสตร์ ที่แท้เป็นลิ่วล้อเผด็จการ เคยได้ปูนบำเหน็จเป็น สสร. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสมาชิกวุฒิสภาลากตั้ง ยุคคมช.หลังรัฐประหาร 19 กันยาฯ

นายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี ก็เป็นศิษย์้เก่านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รุ่นพ.ศ.2501ด้วย ในวันที่นายสุชาติออกมาเคลื่อนไหวขับไล่นิติราษฎร์ นายชวนก็ออกมาให้สัมภาษณ์เป็นคอหอยลูกกระเดือกรับลูกกันเป็นทอดๆ (ดูข่าวประกอบ)

นิติมธ.01 จี้ปลดอาจารย์ "นิติราษฎร์" ร้องอธิการบดีห้ามใช้มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่รณรงค์แก้ม.112

ชมรมนิติ มธ. 01 นำโดยนายสุเทพ นิรันดร และนายสุชาติ สหัสโชติ ประธานชมรมชมรมนิติ มธ. 01 ได้ออกแถลงการณ์และทำจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ให้ดำเนินการห้ามไม่ให้มีการใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัย ในการรณรงค์ยกเลิกหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 8 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ที่จาบจ้วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และยังเรียกร้องให้กลุ่มอาจารย์นิติราษฎร์ และคณะอื่นอีกบางคณะยุติการปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ทันที เพื่อไม่ให้นักศึกษารับความคิดมาเป็นแบบอย่าง พร้อมกับให้มีการดำเนินการสอบสวน เพื่อลงโทษทางวินัยกลุ่มอาจารย์นิติราษฎร์ หลังแสดงออกอย่างชัดเจนว่า เป็นผู้ไม่นิยมเลื่อมใสการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

นายชวน หลีกภัย หนึ่งในรุ่นนิติ มธ.01 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ชัดเจนมีจุดยืนชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหว รณรงค์ยกเลิก หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 8 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 ของกลุ่มนิติราษฎร์ แม้กลุ่มนิติราษฎร์จะมีสิทธิเสนอความเห็นทางวิชาการได้ แต่การแก้ไขแก้ไขจะต้องดำเนินการผ่านรัฐสภา โดยเรื่องดังกล่าวไม่มีทางการผ่านสภาฯ ได้แน่นอน

สัมภาษณ์พิเศษ อ ธงชัย วินิจกุล 28 1 2012

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

กาแฟ



http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=1065

สามแยกปากแมว ทอม โด่ง ธี 29 1 2012

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

กาแฟ



http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=1064

นิธิ เอียวศรีวงค์ intelligence 29 1 2012

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

กาแฟ



http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=1067

“รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ควรแก้ไขหรือไม่ อย่างไร ?” 29-1-2012

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

speedhorse




« เมื่อ: วันนี้ เวลา 08:43:58 AM »


speedhorse











ตามรูปได้ที่นี่
https://picasaweb.google.com/111627957865145477676/2920122550?authuser=0&feat=directlink


http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=1063

งานพลังหนุ่มสร้างเมืองนนท์ 29 1 2012

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

กาแฟ













http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=1066

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker