วันที่ 23 ก.ย. 2554 โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ. ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ชมรมอุษาคเนย์ที่รัก สมาคมจดหมายเหตุสยาม จัดการเสวนาหัวข้อ "ผู้นำสตรีในอาเซียน/อุษาคเนย์: Female Leadership in Southeast Asia : Aquino-Megawati-Suu Kyi-Yingluck
โดยมีนักวิชาการด้านเอเชียตะวีนเฉียงใต้ศึกษาร่วมเสวนา ประกอบด้วยคริส เบเกอร์ นักวิชาการอิวระ, อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์, อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มธ, ดุลยภาค ปรีชารัชช โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ. และพิเชฐ สายพันธ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เป็นผู้นำเสนอเรื่องราวของผู้นำสตรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ เอเชียใต้ โดยมี สุภัตรา ภูมิประภาส นำการเสวนา และชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
ผู้นำสตรีในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ โดย สุภัตรา ภูมิประภาส
สุภัตราเริ่มนำการเสวนาโดยกล่าวว่า ทุกครั้งที่มีปรากฏการณ์ที่ผู้หญิงสักคนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในสังคม ก็จะเกิดการตื่นตัวถกเถียงถึงความสามารถว่าจะอยู่ได้รานแตค่ไหน สังคมไทยอยู่ในวงจรนี้ เมื่อมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก และเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของไทย
อย่างไรก็ตาม สุภัตราตั้งคำถามว่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจจะมาก่อนกาล โดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมา แม่แต่กลุ่มที่ทำงานเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ ซึ่งตลอดเวลาจะเรียกร้องให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับต่างๆ รวมไปถึงการเข้าพบห้วหน้าพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และแสงความยินดีที่ผู้หญิงได้รับเลือกตั้ง แต่เธอตั้งข้อสังเกตว่ายังไม่เห็นกลุ่มองค์กรที่เคลื่อนไหวเรื่องสิทธิสตรี ในเวทีการเมืองเหล่านี้การเรียกร้องให้มีนายกรัฐมนตรีหญิง
“ดิฉันไม่เคยได้ยินว่าพวกนี้เรียกร้องให้มีนายกรัฐมนตรีหญิงหรืออะไร จึงน่าสงสสัยว่เธอจะมาก่อนกาล”
สุภัตรากล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้ว การที่ผู้หญิงขึ้นมาเป็นผู้นำถือเป็นเรื่องธรรมดาที่กลุ่มผู้หญิงไม่สนใจ เหมือนเป็นมุมกลับ เช่นเดียวกับกรณีของเมกาวตี อดีตผู้นำของอินโดนีเซีย
“ในประเทศฟิลิปปินส์ หรือพม่า คนก๋ไม่สนใจเรื่องความเป็นหญิงของเธอ แต่สนใจเรื่องกระบวนการต่อสู้ แต่ส่วนใหญ่มาเร็วและมาแรง เลือกตั้งชนะอย่างถล่มทลาย จนหลายฝ่ายตั้งรับไม่ทัน”
สุภัตรากล่าว พร้อมเล่าประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปที่ศตวรรษที่ 18 เมื่อนครรัฐปัตตานี มีผู้นำหญิงถึง 4 คนติดต่อกัน
ราจาฮิเจาคือพี่สาวคนโตในบรรดาพี่น้องสี่คน หลังจากพ่อตายและญาตผู้ชายต่างรบกันเพื่อแย่งชิงบัลลังก์ ราจาฮิเจาถูกจับเป็นหุ่นเชิด แต่อาศัยสภาวะที่ถูกประเมินต่ำกว่าความเป็นจริง (Under Estimate) เธอจึงกำจัดคู่แข่งทางการเมืองพร้อมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่าง แข็งแกร่ง โดยความช่วยเหลือของน้องสาวคนรอง เจ้าหญิงบิรู
ราจาฮิเจา ครองปัตตานีถึง 32 ปี จนสิ้นพระชนม์ ในช่วงนั้นพ่อค้าตะวันตกคือ ปีเตอร์ ฟิลลิส เขียนบันทึกไว้ว่าในยุคของพระนาง เป็นเวลาที่รุ่งโรจน์ที่สุดคืออ่าวปัตตนี
จากนั้น เจ้าหญิงบิรูขึ้นคอรงราชย์ โดยเลือกที่จะรักษาระดับความสัมพันธ์กับประเทศสยามไว้ แต่ก็ไปโน้มน้าวสุลต่านของกลันตันให้มารวมกันเป็นสหพันธรัฐปัตตานี เป็นการทูตแบบสองหน้าและสั่งให้หล่อปืนใหญ่สามกระบอก ซึ่งกระบอกหนึ่งตั้งอยู่ที่หน้ากระทรวงกลาโหม ในปัจจุบัน
“เรื่องราวของสองคนนี้สะท้อนถึงบทบาทของผู้หญิงภายใต้ความนิ่ง และการถูกจับเป็นหุ่นเชิด” สุภัตรากล่าว และเล่าต่อไปว่า ในดินแดนอุษาคเนย์ ยังมีผู้ปกครองรัฐอีกหลายคน เช่น ที่นครอาเจะห์ พ.ศ. 2184 ระตูซาฟีอะห์ เป็นสุลต่านของอาเจะห์ บริหารการค้าให้ผู้ค้าแข่งกันเอง อยู่ในอำนาจ 34 ปี, ระตูกัมมะรัต ผู้นำหญิงคนสุดท้าย ของอาจะห์ ซึ่งปกครองนครอาเจะห์ติดต่อมาครึ่งทศวรรษ กระทั่งมีประกาศิตมาจากนครเมกกะห์ ว่าผู้หญิงไม่สามารถครองเมืองได้
ในประเทศพม่าพระนางสุภลาลัต ซึ่เงป็นนางตัวร้ายในสายตาของม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ซึ่งมองว่าพระองค์มีบทบาทควบคุมพระเจ้าสีป่อ ถ้าหากถามความเห็นจากคนพม่า ก็จะได้มุมมองต่อพระนางสุภยาลัตอีกแบบหนึ่ง คือการเป็นผู้ที่ไม่ยอมจำนวนต่ออำนาจของชาติตะวันตก
ผู้นำสตรีในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคริส เบเกอร์
กล่าวถึงผู้นำสตรีในเอเชียใต้ และเอเชียอุษาคเนย์ โดยระบุว่า สิริมาโว บันดาราไนยเกย์ ของศรีลังกาก้าวขึ้นมาเป็นนายกหลังจากที่สามีถูกสังหาร และดำรงตำแหน่ง 3 สมัย 13 ปี
นายอาลี บุตโต ถูกประหารชีวิต หลังจากนั้นนางเบนาซีร์ บุตโต บุตรสาวขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ถูกยิงตายเช่นกัน
ในประเทศอินเดีย ยวาห์ราล เนรูห์ ตายปี 2507 หลังจากนั้น 2 ปี ลูกสาวขึ้นมาเป็นนายกฯ โดยก่อนหน้านั้น มหาตมะ คานธี ถูกยิงตาย
ที่บังคลาเทศ ชีค ฮาซีน่า ดำรงตำแหนงนายกฯ มา 2 สมัย หลังจากบิดาของเธอถูกสังหาร
กาเลดา เซีย เป็นนายกรัฐมนตรีของบังคลาเทศหลังสามีถูกยิงตาย และยังเป็นคู่แข่งทางการเมืองของชีค ฮาซีนา
หลังซูการ์โนถูกโค่นอำนาจโดยรัฐประหาร นางเมกาวตี ขึ้นดำรงตำแหน่งหลังอำนาจทหารในยุคของซูฮาร์โตถูกโค่นลงไป
นางคอราซอน อาควิโน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีหลังสามีถูกยิงตาย
และเมืองไทย ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีที่ถูกรัฐประหาร หลังจากนั้น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวก้าวขึ้นมาเป็นนายกฯ
คริส เบอเกอร์กล่าวว่า ทั้งหมดนี้คือรูปแบบของผู้หญิง 9 คนที่ขึ้นมาสู่อำนาจในลักษณะเดียวกัน เป็นเบสิกโมเดล คือผู้ชายถูกยิงตาย หรือถูกประหารชีวิต จากนั้นทายาทหญิง อาจจะเป็นภรรยา ลูกสาว หรือน้องสาว ขึ้นสู่ตำแหน่ง และจะอยู่ในอำนาจค่อนข้างนาน มีเพียงคนเดียวที่จบค่อนข้างเร็ว คือนางเมกาวตี ซึ่งแตกต่างจากคนอื่น เพราะว่าต้องใช้เวลานานกว่าจะขึ้นสู่อำนาจ และอยู่ในอำนาจสั้น
คริส เบเกอร์ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีผู้ชายที่ขึ้นมาในลักษณะเดียวกัน ไม่มีลูกชายของหัวหน้าประเทศเก่า ขึ้นมาเป็นนายกหรือประธานาธิบดีนอกจากว่าแม่ของเขาดำรงตำแหน่งคั่นกลาง เช่น กรณีของนายราจีฟ คานธีซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากแม่ แต่ไม่มีลูกชายขึ้นสู่อำนาจตามพ่อ ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ
“สถานการณ์แบบนี้เราเห็นจากประเทศในเอเชียที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย มากกว่าจีน เพราะเราไม่พบรูปแบบนี้ในจีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม หรือสิงคโปร์”
คริส เบเกอร์ตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า สำหรับกรณีกัมพูชาก็เป็นเรื่องน่าจับตามอง เพราะฮุนเซน มีบุตรสาวถึง 3 คน
ขณะที่หากมองไปที่การเมืองระดับรัฐในประเทศอินเดีย จะพบว่า มีผู้หญิงที่ก้าวขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีของรัฐต่างๆ ถึง 7 คน
คริส เบเกอร์เสนอทฤษฎีว่า รูปแบบของการขึ้นสู่อำนาจของผู้หญิงคือ ผู้ชายในครอบครัวเป็นผู้ดำรงอำนาจอยู่ก่อน จากนั้นเกิดเหตุรุนแรงขึ้น และผู้หญิงจึงก้าวขึ้นมาเป็นผู้สืบทอด
ในอีกแง่หนึ่ง เขาเห็นว่า การเปิดโอกาสให้ผู้หญิงขึ้นมาสู่อำนาจได้นั้น ผูกพันกับความเชื่อเรื่อง Goddesses แบบเก่า เช่น พระแม่กาลี
อย่างไรก็ตาม คริส เบเกอร์ มองว่ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีปัจจัยการก้าวสูอำนาจต่างจากผู้นำสตรีคนอื่น ๆได้ ผู้ชายที่ถูกโค่นอำนาจนั้นคือพี่ชาย ไม่ใช่พ่อหรือสามี แต่ก็เป็นพี่ชายที่แสดงบทบาทคล้ายพ่อ ประการที่สองคือ พี่ชายคนนี้ยังมีชีวิตอยู่
“ความแตกต่างนี้ต้องพิสูจน์ว่าเขาจะอยูได้นานหรือเปล่าเมื่อเทียบกับผูนำหญิงคนอื่นๆ”
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า วัฒนธรรมอินเดีย ส่งเสริมให้ผู้หญิงก้าวขึ้นมาได้ ขณะที่จีนไม่มีแนวโน้มแบบนั้น และมักมีคำถามว่า ยิ่งลักษณ์จะอยู่นานเท่าไหร่ “บางคนบอก 6 เดือน บางคนบอก 8 ปี แต่ถ้าดูจากผู้นำหญิงที่ขึ้นมาในลักษณะเดียวกันจะอยู่ได้นาน เช่น สิริมาโว 13 ปี อินทิรา คานธี 15 ปี น่าเป็นห่วงนะ คนบางคนคงไม่สบายใจ”
นางคอราซอน อากีโน โดยอัครพงษ์ ค่ำคูณ
นางคอราซอน อากีโน ซึ่งเลือกแคมเปญทางการเมืองโดยใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ คนฟิลิปปินส์ เรียกเธอสั้นๆ ว่าคอรี่ อาคีโน พื้นฐานเป็นลูกคนรวย เป็นลูกวุฒิสมาชิก เป็นผู้หญิง และถูกส่งไปเรียนที่ต่างประเทศ กลับมาเรียนกฎหมายที่ฟิลิปปินส์ แต่เรียนไม่จบ เนื่องจากพ่อจับแต่งงาน กับเบนิญโน อาคีโน เป็นแม่บ้าน มีลูก 4 คน มีคำพูดล้อเลียนว่าเธอเป็นแค่หญิงเสริฟน้ำชาตอนที่สามีคุยงานการเมือง
ปี 1980 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ และสามีจะถูกประหารชีวิตในสมัยของมาร์กอส แต่สหรัฐอเมริกาขอให้ปล่อยสามีของเธอ เธอและครอบครัวจึงได้ลี้ภัยไปอเมริกาทั้งครอบครัว หลังจากพำนักที่อเมริกา 3 ปี สามีของเธอจึงเดินทางกลับฟิลิปปินส์ 1983 และถูกยิงตายทันที เธอบินกลับมะนิลา 3 วันหลังจากนั้น และเมื่อผ่านกระบวนการสอบสวนตามคำเรียกร้องของสหรัฐอเมริกา (ในชีวประวัติเธอเขียนว่า ช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดคือช่วงที่อยู่ที่บอสตัน) ศาลตัดสินปล่อยตัวผู้ต้องหายิงสามีของเธอ เป็นจุดเริ่มต้นที่คอรี่ อากีโนเริ่มเรียกร้องความยุติธรรมให้กับสามี โดยมีพระคาดินัลสนับสนุนและสร้างความเชื่อว่าเธอคือตัวแทนของพระนางแมรี่ ซึ่งจะมาจัดการกับซาตานคือระธานาธิบดีมาร์กอส
อัครพงษ์กล่าวว่า อากีโน หรือผู้นำหญิงในเอเชียนตะวีนออกเฉียงใต้ขึ้นมาได้ส่วนมาเป็นผู้รับความทุกข์ ทรมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิวัติรัฐประหาร ผู้หญิงจึงอยู่ใรคราบของนารีขี่ม้าขาวนั่นเอง
อากีโน ก็ขึ้นมาด้วยลักษณะนี้ โดยเธอใช้สัญลักษณ์สีเหลือง สามีตายปี 2526 มือปืนถูกปล่อยปี 2528 ทำการรณรงค์ทางการเมืองปี 2529 มีกาเรลือกตั้งปี 2529 ถือเป็นสามปีที่ทำงานหนักมาก ขณะเดียวกันมาร์คอสเป็นที่ชื่นชอบของคนจำนวนมาก เช่นเดียวกับอาคีโน ต่างสาดโคลนใส่กัน แต่ก็มีคนปรามาสเธอว่าเธอไม่มีประสบการณ์ทางการเมือง ด้วยความที่เธอเป็นคุณหนู เธอก็ยอมรับและว่า เธอบริหารได้ เพราะเธอไม่มีประสบการณ์ในการโกง คอรัปชั่น พูดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เมื่อเธอขึ้นสู่อำนาจเดือน ก.พ. 2529 เธอก็ก้าวขึ้นมาในวันเดียวกับที่มาร์คอสเดินทางออกนอกประเทศ
แต่รัฐมนตรีของเธอไม่มีผู้หญิงเลย มีแต่ผู้ชาย โดยผู้ชายในคณะรัฐมนตรีของเธอเองซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหมเปิดเผยในภายหลังว่ายอมให้นางอากีโนเป็นผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เพราะว่าพระคาดินัลมาขอร้อง “หญิงถูกใช้ในแง่นี้เพราะเป็นเครื่องหมายของความดีงาม”
อัครพงษ์กล่าวว่าในระยะเวลา 6 ปีที่เธออยู่ในอำนาจ มีปัญหาหลากหลายมาก คนฟิลิปปินส์ ก็รู้สึกธรรมดากับเธอ ขณะที่ประเทศตะวันตกกลับใหความสนใจเธอมาก “คนในคิดแบบหนึ่งคนนอกคิดอีกแบบหนึ่ง” อัครพงษ์กล่าว และอธิบายต่อไปว่า
หากถ้าอ่านวารสารวิชาการ จะพบว่าคนที่ได้อำนาจในยุคของนางอากีโนก็คืออำนาจเก่าที่ถูกกีดกันออกจาก อำนาจในช่วงของมาร์คอส เสียงจากรากหญ้ามองว่าอาคีโนมาบรรเทาความเจ็บปวดรวดร้าวในยุคของความไม่เป็น ประชาธิปไตยของมาร์คอส แต่เธอไม่ได้ทำอะไรจริงจังนอกจากวางรากฐานให้กับผู้ชายคนต่อมาคือฟิเดล รามอส แต่เมื่อเธอลงจากอำนาจก็ยังออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เมื่อเธอตายปี 2009 คนพูดเธอในนามของแม่ของแผ่นดิน
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า นางอากีโน เป็นแค่ตัวเปลี่ยนผ่น เป็นชนชั้นนำ (Elite) ลูกครึ่งจีนฮกเกี้ยน ขึ้นมาสู้ตำแหน่งโดยเกี๊ยเซี้ยเป็นหลัก แม้ว่าจะเป็นความหวังของประชาธิปไตยเป็นความหวังของคนรากหญ้า แต่เมื่อมาเป็นประธานาธิบดีจริงๆ แล้วก็ทำอะไรได้มากเท่าไหร่ ต้องประนีประนอม “และผมคิดว่านายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของเรา ที่สุดเธอก็ต้องเกี๊ยเซี๊ย เพราะฉะนั้นก็อย่าไปไว้ใจทาง อย่าไปวางใจนารี”
เมกาวตี ซูการ์โนบุตรี โดยอรอนงค์ ทิพย์พิมล
อรอนงค์ กล่าวว่า นางเมกาวตีไม่แต่งกายด้วยชุดสากล ทรงผมแบบชวาดั้งเดิม มักจะออกงานด้วยชุดสีแดงเพราะเป็นสีประจำพรรค
คนอินโดเรียกเธอว่า อิบูเมกา อิบูความหมายหนึ่งคือแม่ อีกความหมายหนึ่งเรียกนำหน้าผู้หญิงและสถานะความเป็นแม่บ้านเป็นภาพที่เธอ ต้งการนำเสนอ และโลกรู้จักเธอเมื่อเธอก้าวเข้ามเป็นประธานาธิบดีคนที่ 5 เธอเป็นลูกของเมียที่ 3 และเป็นผู้นรำของพรรค PDIP รูปสัตว์ประจำพรรคคือรูปกระทิงแดง
นางเมกาวตีเรียนมหาวิทยาลัยสองครั้ง ครั้งแรกไม่จบเพราะว่าพ่อถูกรัฐประหาร ครั้งที่ 2 แต่งงานเสียก่อน และเมื่อเธอขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี สิ่งที่กลุ่มผู้หญิงทำต่อเธอคือ ขุดคุ้ยชีวิต ว่เธอผ่านการแต่งงานสามครั้ง สามีคนแรกเป็นนักบิน สามีคนที่สองคือนักการทูตชาวอิยิปต์ และคนที่สามเป็นคู่ชีวิตจนถึงปัจจุบันซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาที่ปรึกษา ประชาชนในปัจจุบัน
เธอเคยแอคทีฟในขบวนการนักศึกษาในอินโดนีเซียมาก่อน เข้าสู่อาชีพนักการเมืองเมื่อาอยุ 39 ปี และเข้าไปเป็นส.ส. โดยใช้เวลาแคมเปญแค่ปีเดียว และได้รับการเลือกเป็นหัวหน้าพรรคพีดีไอปี 1993 โดยที่ซูฮาร์โตไม่พอใจมาก ทำให้มีการเลือกตั้งอีกครั้งโดยที่ซูจาดี ได้รับการเลือกเป็นหัวหน้าพรรค ขณะที่เมกาวตีและผู้สนับสนุนของเธอไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งตำแหน่งผู้นำพรรค ครั้งนั้น และส่งผลเป็นความรุนแรง เธอไม่ยอมหนีจากวงการการเมือง และยิ่งได้รับควาเมห็นใจและโดดเด่นมากขึ้นในเวทีการเมืองของอินโ และหลังจากนั้นพรรคพีดีไอ จึงแตกเป็นสองส่วน
เมื่อซูร์ฮาร์โตถูกโค่นลงไปในปี 1998 ก็มีเสรีในการตั้งพรรคการเมือง จึงตั้งพรรคใหม่เป็นพรรค PDIP
ปี 1999 เธอไดรับคะแนนเลือกตั้งเป็นอันดับ คือหนึ่งประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ขณะนั้นมีการต่อต้านจากผู้นำศาสนาสายเคร่งครัดซึ่งให้เหตุผลว่าผู้หญิง ไม่ควรเป็นผู้นำประเทศ และสุดท้าย เธอแพ้โหวตให้อับดุลเราะห์มาน วาฮิด ไปในที่สุด
ปี 2001 สภาที่ปรึกษาประชาชนถอดถอนวาฮิดออกจากตำแหน่ง และลงมติให้นางเมกาวตีดำรงตำแห่งแทน เหตุผลที่ถอดถอนายวาฮิดมาจากการดำเนินนโยบายแข็งกร้าว โดยเฉพาะต่อทหาร โดยที่เมกาวตีดำรงตำแหน่งมาจนครบวาระ และในปีที่เธอขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ก็เป็นปีครบรอบ 100 ปีประธานาธิบดีซูร์การ์โน พ่อของเธอ ซึ่งเป็นผู้ประกาศเอกราชและได้รับการยกย่องในฐานะบิดาแห่งชาติ ยิ่งทำให้ภาพของเมกาวตีเด่นชัดมากขึ้น
นางเมกาวตีลงเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2004 แต่ปีนี้เป็นปีแรกการเลือกตั้งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน เธอแพ้ให้กับซุซิโล บัมบัง ยุดโยโน
ในด้านภาพลักษณ์นั้น เมกาวตี เป็นคนที่ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างรุนแรงพอๆ กับเสียงคัดค้าน ภาพลักษณ์แม่หรือแม่บ้านเป็นสิ่งที่เธอภูมิใจนำเสนอ เป็นการตอกกลับระเบียบใหม่ เพราะว่าระเบียบใหม่พยายามให้ผู้หญิงเป็นแม่บ้าน เธอจะมีลักษณะที่ดูอบอุ่น เหมือนแม่ เป็นคนที่พูดน้อย เงียบมากและถูกค่อนขอดว่าการอ่านร่างแถลงการณ์เพราะมีคนเขียนให้ ถ้าถามนอกสคริปต์ก็ตอบไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในประเทศอินโดนีเซียมีสุภาษิตว่า “นิ่งคือทอง”
“เมกาวตีอาจจะเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียวที่ถูกสื่อจวกอย่างสาดเสีย เทเสีย เพราะมีเสรีภาพมาก เช่น ปากเหม็นน้ำมัน หมายถึงคอร์รัปชั่น หรือความสามารถแค่นี้เป็นได้แค่นายอำเภอ แต่ยิ่งถูกเหยียดหยามมากๆ เธอก็ยิ่งโดเด่นเพราะไม่ตอบโต้เลย” อรอนงค์กล่าว
ความท้าทายอย่างยิ่งของเมกาวตีคือ ทหารซึ่งให้ความสนับสนุนเธอมากกว่าวาฮิด , ปัญหาขบวนการแบ่งแยกดินแดน การที่เธอมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทหาร ทหารจึงดำเนินการอย่างรุนแรงที่อาเจะห์และอิเรียนจายา, ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่เงป็นปัญหาที่โค่นซูฮาร์โตลงไป และบรรยากาศการเรียกร้องการปฏิรูปประเทศซึ่งเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องจากการที่ นักศึกษาและประชาชนเรียกร้องต่อซูฮาร์โตให้ปฏิรูปประเทศทุกด้านและการลด บทบาททหาร แต่ปรากฏว่าบทบาทของเธอขัดกันเอง คือเธอต้องประนีประนอมกับทหารอย่างมาก
“ถ้าจะมองว่าเมกาวตีเป็นลุกไม้หล่นไกลต้น คือ พ่อเธอชนกับทหารอย่างรุนแรง อีกเรื่องคือ มีความสัมพันธ์ที่ดีอย่างยิ่งของอเมริกาและชาติตะวันตก หลังเหตุการณ์ 9-11 เป็นประเทศแรกที่ประกาศจะจัดการกับผู้ก่อการร้าย”
“อนาคตการเมืองของเมกาวตีเหมือนไม่ตาย เธอคิดจะลงชิงตำแหน่งปธน. อีกครั้งปี 2014 ซึ่งหลายคนคาดการณ์ว่าเธออาจจะมาได้อีกครั้ง เพราะไม่มีผู้ชายเหมาะสม และขณะนี้ยุดโยโนไม่สามารถจัดการปัญหาการศึกษา และตามรัฐธรรนูญของอินโดนีเซียแล้ว ประธานาธิบดีสามารถดำรงตำแหน่งได้แค่สองสมัย และถ้าจะส่งใครมาลงก็ตามคนจะเลือกก็อาจจะไม่เลือกแล้วพราะดีแต่พูด ทำไม่ได้จริง” อรอนงค์กล่าวในที่สุด
อองซาน ซูจี โดย ดุลยภาค ปรีชารัชช
อองซานซูจีไม่เหมือนอาโรโย หรือเมกาวตี เธอชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย แต่ประวัติศาสตร์ก็เล่นตลก ทำให้เธอไม่ได้รับตำแหน่งในการเป็นผู้นำพม่า เพราะรัฐบาลทหารพม่าล้มกระดาน และปลายปีที่แล้วก็ถอดเครื่องแบบทหารใส่ชุดพลเรือนเป็นรัฐบาลที่มาจากการ เลือกตั้ง แต่เธอเหนือกว่าคนอื่นคือเธอเป็นผู้นำสตรีคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล และต้องส่งลูกชายไปรับแทน
สิ่งที่ต้องมองให้ออกว่าเพราะอะไรเธอจึงไม่มีโอกาสได้ก้าวมาเป็นผู้นำ พม่า และเพราะอะไรจึงพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ที่ต้องตกเป็นหมากของรัฐบาลทหารพม่า
ชีวประวัติอองซาน
เกิดเมื่อประมาณ 1945 ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2เป็นบุตรสาวของบิดาผู้กู้เอกราชพม่า คือนายพลอองซาน และถูกฆ่าตายตอนเธออายุ 2 ปี และได้รับการถ่ายทอดเรื่องราวของบิดาจากมารดา จากคนรอบข้างและะชนชั้นนำทหารระดับสูงเป็นต้นแบบให้อองซานได้คลุกคลีและ เรียนรู้
เมื่ออายุ 16 ปี ดอว์ ขิ่น ยี มารดาได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตพม่า ที่เดลี เธอจึงได้ไปรับการศึกษาที่สถาบันการศึกษาชั้นเยี่ยมที่นั่น และมีโอกาสพูดคุยกับมหาตมะ คานธี ยวาหราล เนห์รู ประสบการณ์ที่ดีในอินเดียทำให้เธอได้รับแบบอย่างที่ดีคือหลักสัตยาเคราะห์ คือการเรียกร้อง การเคลื่อนไหวทางกาเรมืองโดยไม่ใช้กำลังแม้จะถูกจับกุม กักขังบริเวณในเวลาต่อมา เธอก็ยืนหยัดได้
หลังจากนั้นเธอจบจากออกซ์ฟอร์ดสาขาปรัชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง และทำงานที่มหาวิทยาลัยลอนดอน และย้ายไปประจำกองเลขาธิการสหประชาชาติ โดยที่อูถั่นทำหน้าที่เป็นเลขาธิการ เธอได้เรียนรู้เทคนิคการพูดต่อหน้าชุมชน มีประสบการณ์การพีอาร์กับต่างประเทศ เทคนิคเหล่านี้ทำให้เธอแตกต่างและเหนือชั้นกว่าผู้นำพม่าคนอื่นๆ รุ่นเดียวกัน ทและมีวิสัยทัศน์ที่กวางไกล
เมื่อกลับมายังประเทศพม่าปี 1988 เธอรู้จักการใช้วาทศิลป์ การเข้าถึงฝูงชน เป็นทักษะที่ผู้นำทหารพม่าไม่คาดคิดมาก่อน
ผู้ชายสองคนในชีวิต
บิดาและสามี เป็นผู้ชายสองคนที่ให้คุณและให้โทษต่อภาพลักษณ์ต่อยุทธศาสตร์และยุทธวิธีแตก ต่างกันไป กรณีของอองซาน ซึ่งไม่ได้เป็นบิดาแห่งการเรียกร้องเอกราชของพม่าเพียงอย่างเดียว แต่เขาคือผู้ก่อตั้งกองทัพพม่า (ทัดมาดอว์) ประสบความสำเรจในการขับไล่กองทัพญี่ปุ่น ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับเนวินและทหารระดับสูง แต่สิ่งสำคัญคือ เมื่ออองซานซูจีกลับมาเยี่ยมมารดาที่เจ็บป่วย ก็เกิดอุบัติเหตุทางประวัติศาสตร์ทำให้เธอไปโลดแล่นในการเมืองพม่า แต่สิ่งเธอใช้คือการใช้ภาพของนายพลอองซาน และบุคลิกการพูดจาก็จับใจชาวพม่ามาก และบอกว่าเธอเหมือนพ่อไม่มีผิด และสิ่งที่ทหารมองเห็นคืออองซานกำลังจะแยกนายพลอองซานออกจากอ้อมกอดของกอง ทัพพม่า เพราะว่าบทบาทของทหารจะพบว่ามีการสร้างอนึสาวรีย์ให้กับนายพลอองซานพอสมควร แต่เมื่อดอว์อองซานเข้ามาคือการแยกนายพลอองซานออกไปจากกองทัพพม่า จึงต้องแย่งชิงกลับมา แต่เมื่อแยกไม่ได้ ก็กักบริเวณ และลบภาพของนายพลอองซานออกจากความทรงจำของพม่าเสีย และปัจจุบันไม่เห็นแล้ว ยอนกลับไปหายุคราชวงศ์พม่า
ประเด็นต่อมา การที่จะเข้าใจอองซานคือเขตอิทธิพลของพม่า ที่ผ่านมาสังคมพม่านับถือนัต หรือผี เทวดาชั้นสูง และมีผีผู้หญิงด้วย แสดงว่าผู้หญิงก็ได้รับความนับถือ แต่พื้นที่ให้ซูจีไดหยัดยืนกลับไม่มีในสังคมพม่า เพราะฐานการเคลื่อนไหวอยู่ที่นอกสังคมพม่าทั้งหมด และปัจจุบันแม่แต่ในสังคมไทยก็ไม่มีบทบาทเพราะนโยบายรัฐไทยต่อพม่าเปลี่ยน ความเปลี่ยนแปลงนี้รวมถึงท่าทีจากประเทศอินเดียด้วย
อนาคตของอองซานจะเป็นเช่นไร
ปัจจุบันนายพลเตงเส่งเป็นนายกรัฐมนตรีและดูเหมือนว่าจะสานสัมพันธ์กับซู จี หากแต่คลื่นใต้น้ำไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะตอนนี้มีการประลองกำลังแล้วโดยทหารอีกกลุ่มที่เป็นอนุรักษ์นิยมเห็นตรง กันข้าม ถ้ามีกำลังยึดอำนาจคืนอีก ภาพอองซานซูจีในอนาคตจะลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย
สุดท้าย การเมืองมีสามเส้า คือกองทัพ ซูจี และกลุ่มชาติพันธุ์ สิ่งที่ซูจีจะทำได้ก็คือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มชาติพันธืเพื่อ ให้ฐานทางการเมืองของเธอเข้มแข็งขึ้น แต่ปัญหาคือเมื่อถามความเห็นจากกลุ่มชาติพันธุ์แน่นอนว่าคำตอบก็คือ “พม่าก็คือพม่า”( Burmese is Burmese )
เพศสภาวะ โดย พิเชฐ สายพันธ์
เส้นทางการเมือง ประเด็นที่สำคัญประการหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้คือวิกฤตที่เกิดขึ้นก่อนทำให้ เกิดสถานภาพผู้นำสตรี สิ่งที่สำคัญคือผู้นำสตรีเหล่านี้ผ่านการเลือกตั้งด้วยกระบวนการประชาธิปไตย ผู้นำสตรีกลุ่มนี้เป้นภาพสะท้อนที่สำคัญของกระบวนการประชาธิปไตยในเอเชีย และเกิดขึ้นเพราะความผูกพันทางครอบครัว นี่เป็นพื้นฐานที่สำคัญ เราไม่พบว่าผู้นำสตรีเหล่านี้ไม่ได้มาจากความผูกพันทางครอบครัวกับอดีตผู้นำ ทางการเมืองที่เป็นผู้ชาย ความผูกพันเกิดขึ้นในฐานะที่ผู้นำสตรีเหบล่านี้เป็นเมีย แม่ น้องสาว เป็นระบบวงศ์วานว่านเครือ
ประด็นต่อมาคือพื้นฐานทางสังคม ทั้งหมดล้วนแล้วแต่มาจากกลุ่มคนที่มีสถานภาพที่มีสถานภาพเป็นชนชั้นสูงทั้ง นั้นไม่มีลูกสาวชาวนา ไม่มีเมียพ่อค้าตามตลาด ล้วนมาจากตระกูลผู้นำทางสังคมทั้งนั้น
ประเด็นที่อยากชี้ให้เห็นคือ เราพูดถึงสิ่งที่บอกว่าลักษณะทางสังคมที่ค่อนข้างหลากหลายในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้คือศาสนา ขอให้สังเกตว่าทุกบริบทสังคมไม่ได้อยู่ในบริบทศาสนาแบบเดียวกัน ศาสนาอิสลามกลับเป็นแรงกดดันหรือเป็นแรงต้านต่อการขึ้นมาสู่ความเป็นผู้นำ ของสตรี ในพม่า พุทธศาสนาเป็นองค์กรสำคัญในการสนับสนุนบทบาทของอองซานซูจี ส่วนประเทศไทยนั้น พุทธศาสนาไม่มีพลัง นี่เป็นแง่มุมที่เห็นว่าหลายอย่างเราต่างกัน
พื้นฐานทางสังคม โครงสร้างทางสถาบันหลายอย่างของเราต่างกัน ประเด็นที่เหมืนกัน คือ ระบบครอบครัว เครือญาติ วงศ์วาน
ในท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นล้วนปกครองด้วยผู้นำสตรี และผู้นำสตรีท้องถิ่นมีมากก่อนการสถาปนาเป็นบ้านเมืองหรือาอณาจักร
กรณีปัตตานี ในศตวรรษที่ 17 สะท้อนถึงวัฒนธรรมมลาโยโพลินีเชียน ที่ให้ความสำคัญกับสายตระกูลของมารดา
เรารับวัฒนธรรมศาสนาจากอินเดียและวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่จากจีน อทธิพลการสืบตระหูลจากมารดา คงทิ้งรองรอยให้เห็นเพียงบทบาทของการตั้งถิ่นฐานอยู่ในกลุ่มที่อยู่อาศัยของ ฝ่ายมารดา
ผู้หญิงที่เข้ามาในสถานการณ์วิกฤต สามารถดึงควาเมป็นหญิงมาแก้ไขสถานการณ์นี้ได้ เหมือนการดูแลปกป้องครอบครัวของตัวเอง ที่สำคัญอีกประการคือ ความบริสุทธิ์ เราจะพบว่าความตั้งใจจริงของการที่ผู้นำสตรีเหล่นี้ขึ้นมาจะเกิดจาก เหตุการณ์วิกฤตก่อน สะท้อนความสกปรก อธรรม ไม่ชอบธรรมทางสังคม ผู้หญิงจึงเปนตัวแทนของคามบริสุทธิ์ที่เข้ามาเพื่อชำระล้างความสกปรก จากกระบวนการทางการเมืองที่เกิดจากบทบาทชายเป็นใหญ่ ซึ่งถูกควบคุมโดยกองกำลังทหารในหลายๆ ประเทศ
เราพบว่าผู้นำสตรีเหล่นี้ขึ้นมาเพื่อประนีประนอมต่อรองสนทนากับอำนาจฝ่ายทหาร
“ในอนาคตในกรณีของประเทศไทย ผมคิดว่าเธอมาเหมาะกับสถานการณ์แล้วและเป็นเวลาของเธอ และอย่าลืมว่าเธอเหล่านี้เมื่อก้าวขึ้นมาแล้วมีบทบาทในการทรานฟอร์มสังคม มีบทบาทในการปรับเปลี่ยนฟิ้นฟูประชาธปิไตย สร้างความชอบธรรมทางการเมือง”
ถาม-ตอบ
ยิ่งลักษณ์จะอยูรอดหรือไม่ ถ้ารอด เธอจะอยูได้กี่เดือนหรือกี่ปี
คริส เบเกอร์ : ผู้นำหญิงเกือบทุกคนเมื่อขึ้นสู่อำนาจมาใหม่ คนทั่วๆ ไปจะบอกว่าจะอยู่ไม่นาน ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือที่อินเดีย ผู้ใหญ่ในพรรคการเมือง ตกลงไม่ได้ว่าใครน่าจะขึ้นมาเป็นผู้ผนำก็เสนอชื่อนางอินทิรา คานธี แต่ต่อจากนั้นเขาอยู่ 15 ปี และเป็นผู้หญิงที่มีอำนาจมาก
ผมคิดว่าน่าจะมีหลายปัจจัยที่เรามองไม่เห็น แต่ถ้าถามผมผมคิดว่าจะอยู่นาน นานเท่าไหร่ผมไม่ทราบแต่น่าจะนานหลายปี
พิเชฐ สายพันธ์ : ถ้าดูจากโมเดลผู้นำสตรีในภูมิภาคเอเชีย ก็จะพบว่าอยู่นาน กรณียิ่งลักษณ์ ตอนนี้ไม่มีความเสuยหาย โอกาสที่จะอยู่ได้นานก็มีมาก และถ้าสามารถรักษาตัวได้ระยะหนึ่ง ภาวะการเป็นนักการเมืองมืออาชีพของยิ่งลบักษณ์จะยาวนานมากกว่านี้อีก
อรอนงค์ ทิพย์พิมล : อินโดนีเซียไม่มีสถาบันบางสถาบันที่ให้ทหารใช้อ้างในการยึดอำนาจ แต่กรณีของไทยมีทหารที่พร้อมจะยึดอำนาจ
สุภัตรา ภูมิประภาส : กรณีของยิ่งลักษณ์ จากประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ในภูมิภาคนี้ ทุกคนอยู่ครบเทอม และไม่มีใครถูกรัฐประหารออกเลย แม้จะอยู่ท่ามกลางเสือสิงห์กระทิงแรด และถ้าดูจากยิ่งลักษณ์ตอนนี้ ก็ยังรักษาตัวได้ดี และถ้ายังรักษาได้แบบนี้ก็น่าจะอยู่ไปอีกนาน
ปัจจัยอะไรที่จะทำให้ยิ่งลักษณ์ออกจากการเมืองก่อนกำหนด
ดุลยภาค : ต้องเข้าใจเส้นบางๆ ระหว่างกองทัพกับพลเรือน ที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับอิศรวินขี่ม้าขาว มาวันนี้เป็นนารีขี่ม้าขาว แต่ก็ต้องดูเรื่องโผทหาร สองคือนโยบายต่อเพื่อนบ้าน คือเขาพระวิหาร
อัครพงษ์ : ในฟิลิปปินส์สถาบันที่มีผลอย่างยิ่งคือศาสนา แต่ในกรณีของไทยท่านก็คงทราบดีว่าสถาบันอะไรที่มีผลส่งเสริมสนับสนุน