นายรักษ์ รักพงษ์ อดีตเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวและกำกับเวทีของสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม(ช่อง 9 ปัจจุบัน) เมื่อออกจากงานไปบวชในพระพุทธศาสนา เกิดเลื่อมใสและวิเคราะห์แนวพุทธแตกต่างไปจากคณะสงฆ์ ไม่ขึ้นต่อมหาเถรสมาคม ขอปกครองตนเองโดยอาศัยพระธรรมวินัยเป็นหลัก ทั้งด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร เมื่อกุมภาพันธ์ 2516 ณ วัดหนองกระทุ่ม ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐมที่ประชุมมหาเถรสมาคม มีมติเอกฉันท์ ขอให้สมเด็จพระสังฆราช ในฐานะประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ทรงลงพระนามในพระบัญชาให้สึกพระโพธิรักษ์ จากสมณเพศภายใน 7 วัน นับแต่ 10 มิถุนายน 2532
แต่ครบกำหนด "โพธิรักษ์" ก็ยังไม่เปล่งวาจาสึก ตำรวจนำกำลังไปควบคุมตัวไปที่ สน.ดุสิต ก็ไม่เปล่งวาจาสึก จึงทำได้แค่ให้เปลี่ยนชุด เป็นสีขาว และโดนฟ้องอีก 78 คดี สมณะและสิกขามาตุถูกฟ้องแต่งกายเลียนแบบพระการต่อสู้คดีดำเนินไป โดยมีคณะทนายอาสามาช่วย 53 คน แต่ได้รับแต่งตั้งให้ว่าความเพียง 10 คน มี ทองใบ ทองเปาด์ รางวัลแมกไซไซ เป็นหัวหน้าคณะ และ ประดับ มนูรัษฎา, สงบ สุริยินทร์, สัมผัส พึ่งประดิษฐ์, ชำนาญ พิเชษฐพันธ์ และ ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ (ต่อมาเป็นคนสำคัญของพลังธรรม)ศาลแขวงพระนครเหนือ มีคำพิพากษาเมื่อ 29 ธ.ค.2538 หลังสืบพยานนานถึง 6 ปีเต็ม ให้จำเลยทั้งหมดมีความผิดตามโจทก์ฟ้อง จำคุกโพธิรักษ์ รวม 66 เดือนโทษจำรอลงอาญา 2 ปี คนอื่นๆ ก็เช่นกัน 3 เดือนรอลงอาญา ทั้งหมดยืนอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษา เมื่อ 19 มี.ค.2540 ยืนตามชั้นต้น โพธิรักษ์ ไม่ยื่นฎีกา ส่วนคนอื่นๆ ยื่นฎีกา ศาลฎีกาพิพากษา 15 มิ.ย.2541 และกว่าจะส่งไปศาลขั้นต้นล่วงมา 16 ก.ย.2541 ให้ยืนตามศาลอุทธรณ์ รวมเกือบ 9 ปีที่ต่อสู้ในชั้นศาลหลังพ้นโทษรอลงอาญาทางโลก
สันติอโศกปรับนโยบายเปิดกว้างให้กับนักการเมืองทุกพรรค และหันมาสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง 9 เครือข่ายอโศก ได้แก่ ปฐมอโศก, ศีรษะอโศก ,ราชธานีอโศก, อโศกแห่งภูผ่าฟ้าน้ำ และ ทักษิณอโศก มีศูนย์รวมที่สันติอโศกพุทธสถาน กลางกรุงเทพฯ (ก่อตั้งเมื่อ 7 ส.ค.2519) โดยก่อนหน้านั้น สันติอโศกได้เข้าสู่วงจรการเมือง สนับสนุน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ศิษย์สันติอโศกคนสำคัญ กระทั่งชนะเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. และเป็น ส.ส. สันติอโศก ยังเข้าร่วมในเหตุการณ์พฤษภา 2535 อย่างแข็งขัน รวมถึงร่วมขับไล่ "ทักษิณ" ปี 2549ด้วย
อย่าลืมสำนักสันติอโศก ของนายรักษ์ รักษ์พงษ์ ถูกคณะสงฆ์ไทยลงปกาสนีย กรรมและปัพพานียกรรม ประจานและขับไล่พ้นคณะสงฆ์ไทยไปตั้งแต่ พ.ศ.2532 ดังนั้นนายรักษ์ จึงไม่ใช่พระตามหลักของศาสนาพุทธ
จาก ประชาไท