บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มธ.ระอุ กลุ่มสนับสนุน-คัดค้านนิติราษฎร์แสดงจุดยืน

ที่มา ประชาไท

กลุ่มศิษย์เก่าวารสารฯ ต้านนิติราษฎร์ชุมนุม-ร้องเพลงสรรเสริญหน้าลานปรีดี แจงต้องคัดค้านเพราะนิติราษฎร์ละเมิดเสรีภาพของในหลวง ในขณะที่อีกกลุ่มแสดงจุดยืนหนุนนิติราษฎร์บริเวณใกล้เคียง แต่ไม่มีเหตุรุนแรง

2 ก.พ. 55 – เมื่อเวลาราว 14.00 น. กลุ่ม “วารสารฯ ต้านนิติราษฎร์” ราว 70-80 คน ได้นัดชุมนุมหน้าบริเวณลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้านกลุ่มนิติราษฎร์ตามที่นัดหมายในเฟซบุ๊กของกลุ่ม ในขณะที่ผู้สนับสนุนคณะนิติราษฎร์ราว 40 คน ได้ชุมนุมและจัดกิจกรรมบริเวณหน้าประตูมหาวิทยาลัยฝั่งสนามหลวง โดยในระหว่างชุมนุมนั้นเกิดเหตุชุลมุนเนื่องจากเกิดการโห่ไล่ผู้ชุมนุมจาก ต่างฝ่าย

กลุ่มวารสารฯ ต้านนิติราษฎร์ ซึ่งระบุว่าเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และคณาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดชุมนุมเพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านข้อเสนอของนิติราษฎร์ที่เรียกร้องให้ แก้ไขมาตรา 112 โดยมีตัวแทนของกลุ่ม คือผู้กำกับหนังชื่อดัง ยุทธนา มุกดาสนิท ยื่นหนังสือให้กับนายพรชัย ตระกูลวรานนท์ รองอธิการบดีม.ธรรมศาสตร์ เพื่อส่งต่อให้นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ซึ่งติดภารกิจ โดยมีข้อเรียกร้องให้มีคำสั่งสอบสวนคณะอาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์ โดยนายยุทธนา ได้ให้สัมภาษณ์ว่า จำเป็นต้องออกมาคัดค้าน เนื่องจากข้อเสนอของนิติราษฎร์เป็นการละเมิดเสรีภาพของประมุขประเทศ

“มีการตอกย้ำข้อเสนอที่มากขึ้นๆ อย่างกรณีที่ผมบอกไปเรื่องข้อเสนอตอนหลังที่มีสองสามข้อ ที่ว่าไม่ให้ในหลวงมีพระราชดำรัส ซึ่งพระราชดำรัสใครๆ ก็อยากฟัง แล้วก็เป็นสิทธิเสรีภาพ ปรากฏว่าตอนนี้เรากำลังเรียกร้องเสรีภาพ คณะนิติราษฎร์กำลังเรียกร้องเสรีภาพกันตลอดเวลา โดยไปจำกัดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น แล้วผู้อื่นอันนั้นก็คือประมุขของประเทศ ก็คือในหลวง” ยุทธนากล่าว

กลุ่มวารสารฯ ต้านนิติราษฎร์ ยังมีข้อเสนออีกสี่ข้อ ได้แก่

1. เรียกร้องต่อประชาคมธรรมศาสตร์ ให้ร่วมกันคัดค้านการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ของคณะนิติราษฎร์ รวมทั้งการใช้ชื่อมหาวิทยาลัยไปสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวที่ล่วง ละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์

2. เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงจุดยืนในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเป็น รูปธรรม และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีพฤติกรรมล่วงละเมิดสถาบันในทุกรูปแบบอย่าง จริงจังและเฉียบขาด

3. เรียกร้องต่อเพื่อนสื่อมวลชน ให้ใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารอันเกี่ยวกับการแก้ไข มาตรา 112 เพื่อไม่ขยายผลการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์

4. เรียกร้องต่อประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ให้ร่วมกันแสดงตนคัดค้านการแก้ไขมาตรา ๑๑๒ต่อต้านแนวคิดและการกระทำใดๆ ที่ส่อแสดงถึงการล่วงละเมิด ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์

มีรายงานว่า ในขณะที่กลุ่มดังกล่าวกำลังชุมนุมอยู่นั้น ได้มีผู้สนับสนุนเดินเข้าไปในบริเวณหน้าลานปรีดีพร้อมชูป้ายสนับสนุนนิติ ราษฎร์ ทำให้เกิดเหตุชุลมุนจนตำรวจจำเป็นต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยสถานการณ์ความขัดแย้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี ได้เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มดังกล่าวด้วย

กลุ่มนักกิจกรรม “กราบเก้าอี้” เพื่อเตือนย้ำความรุนแรง 6 ตุลา

ในเวลาใกล้เคียงกัน เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย, Activists for Democracy Network และกลุ่มประกายไฟ พร้อมทั้งประชาชนที่สนใจราว 40 คน ได้จัดกิจกรรม “แจกภาพ กราบเก้าอี้” เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา ซึ่งมีการใช้ความรุนแรงเพื่อกำจัดคนที่คิดเห็นต่างทางการเมือง พร้อมทั้งแจกแถลงการณ์ โดยมีเนื้อหาว่าสังคมไทยควรนำบทเรียนจากเหตุการณ์ในอดีตมาทบทวน โดยเฉพาะ 6 ตุลาคม 2519 ที่นักศึกษาและประชาชนถูกฆ่าอย่างโหดร้ายเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่าเป็น คอมมิวนิสต์

กลุ่มดังกล่าวยังเสนอให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และที่อื่นๆ เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดเวทีประชาพิจารณ์ปัญหามาตรา 112 และให้กลุ่มที่คัดค้านข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ได้เปิดใจและรับฟังความเห็น ที่แตกต่างเพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลง

นักศึกษามธ. รังสิตวางพวงหรีดไว้อาลัยแด่เสรีภาพธรรมศาสตร์

ในวันเดียวกัน วอยซ์ทีวีรายงานว่า นักศึกษาธรรมศาสตร์ที่ใช้ชื่อกลุ่มว่า ธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยได้มารวมตัวกันบริเวณด้านหน้ารูปปั้นท่าน อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตพร้อมตะโกนว่าธรรมศาสตร์ตายแล้วก่อนที่จะมีการวางพวงหรีดเพื่อ แสดงออกถึงการคัดค้านกรณีที่ทางมหาวิทยาลัยมีมติไม่อนุญาตให้บุคคลหรือกลุ่ม บุคคลต่างๆใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเคลื่อนไหวในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 และต้องการให้ทางมหาวิทยาลัยทบทวนเรื่องดังกล่าวเพราะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ชื่อว่า มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว

“การเคลื่อนไหวของกลุ่มเรา ไม่ได้มีธงว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขหรือไม่แก้ไขมาตรา 112 แต่ธงนำในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ คือการแสดงความไม่เห็นด้วยกับการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ต่อศักดิ์ สุขศรี ตัวแทนของกลุ่มระบุ

หลังจากกิจกรรมในครั้งนี้ ตัวแทนกลุ่มกล่าวว่าวางแผนจะจัดกิจกรรมไว้อาลัยแด่เสรีภาพในธรรมศาสตร์อีก ครั้ง ในวันอาทิตย์ที่ 5 ก.พ. ณ รูปปั้นปรีดี พนมยงค์ บริเวณลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

000

แถลงการณ์เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย

"...มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา..." ปรีดี พนมยงค์

ภายหลังจากคณะนิติราษฎร์นำเสนอข้อเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หลังจากนั้นได้มี คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 หรือ ครก.112 ได้ดำเนินการล่ารายชื่อเพื่อเข้าสู่กลไกรัฐสภา และเป็นที่ปรากฏว่ามีทั้งกระแสเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยทั้งในส่วนเห็นว่าควรยกเลิกไปเลย และไม่เห็นด้วยกับการแก้เลย แต่กระแสคัดค้านที่ต้องการให้คงสภาพ ม.112 เดิมและห้ามแตะต้องนั้น กลับนำไปสู่กระแสคลั่งสถาบันฯ ขาดการ "เปิดใจ" รับฟังเหตุผล ป้ายสี ใช้ความรุนแรง ข่มขู่ อย่างเช่นในอดีต

ด้วยความห่วงใยต่อปัญหาที่เกิด เรามีข้อเสนอและข้อเรียกร้องดังนี้

1.มหาวิทยาลัยควรเป็นเสาหลักของสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการใช้เหตุ ใช้ผลอย่างสันติ สิทธิในเสรีภาพในการแสวงหาความรู้ การใช้เหตุใช้ผลและข้อมูลในเชิงประจักษ์ อย่างสันติ เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยควรจะยึดมั่นและส่งเสริม ไม่ใช่นำเอาข้ออ้างการเคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ มาลดทอนสิทธิในเสรีภาพและหลักการดังกล่าว นอกจากทำลายความเป็น มหา+วิทยาลัย ที่ควรเป็นแหล่งศึกษาของสาธารณะแล้ว ยังทำให้หลักการดังกล่าวขัดกับการเคารพสถาบันพระมหากษัตริย์อีก

2.นำบทเรียน ความรุนแรงที่เกิดจาก "ความใจแคบ" ในอดีตมาทบทวน ว่า "เสรีภาพ" ไม่ได้ก่อให้เกิด "ความรุนแรง" มีแต่การจ้องจำกัดเสรีภาพที่ชอบใช้ "ความรุนแรง" มากำจัด "เสรีภาพ" โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีบทเรียนจากความคับแคบในอุดมการณ์เผด็จการฟาสซิสต์ ที่ถูกเอามาใช้จัดการกับนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งนี้เองเมื่อ 6 ตุลา 19 ด้วยข้อหาที่เกี่ยวกับ ม.112 หรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและเลยไปถึงการล้มล้างสถาบันที่ถูกปลุกขึ้นมาขณะ นั้น หรือแม้กระทั่ง ปรีดี พนมยงค์ เองก็ถูกข้อหาในลักษณะนี้เล่นงาน ดังนั้นธรรมศาสตร์เองควรนำเอาบทเรียนเหตุการณ์นี้มาเป็นแนวทางให้การส่ง เสริมให้คนในมหาลัยและสังคมได้ "เปิดใจ" ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง และลดการยึดมั่นในอุดมการณ์ที่เพิ่งสร้างเพื่อป้องกันความรุนแรงที่เคยมีบท เรียน แต่ไม่ใช่เอามาเป็นข้ออ้างในการปิดกันเสรีภาพเสียเอง

3.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ควรที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดเวทีประชาพิจารณ์ปัญหามาตรา 112 เพราะมหาวิทยาลัยไม่เพียงต้องเป็นบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ เท่านั้น และต้องเป็นผู้จุดไฟให้แสงสว่างทางปัญญาเพื่อสร้างบรรทัดฐานการแก้ปัญหา แก้ความขัดแย้งด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสันติวิธี มากกว่าด้วยความรุนแรงและความศรัทธาแบบมืดบอด

4.กลุ่มคัดค้านข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ควรเปิดใจให้กว้าง รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ศึกษาทำความเข้าใจข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ หยุดสร้างกระแสคลั่งสถาบันฯ หยุดการใช้ความรุนแรง เรียนรู้ประสบการณ์และบทเรียนความรุนแรงที่เกิดจากอาการคลั่งในอดีต ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

5.สื่อมวลชน ก็เช่นกัน ชนวนเหตุความรุนแรง 6 ตุลา 19 สื่อก็เป็นตัวกระตุ้นอาการคลั่งของคน จนเป็นเหตุให้มีนักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก ไม่ต่างจากกรณีความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และกรณี เมษา – พ.ค.53 ที่สื่อมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความเกลียดชังและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

6.รัฐบาลควรนำเอาข้อเสนอแก้ ม.112 ของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และคณะนิติราษฎร์ จัดให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างขวางขวางเพื่อนำไปสู่กระบวนการในการทำประชามติในการปรับปรุงแก้ไข ยกเลิกหรือดำรงสภาพเดิมต่อไป โดยให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพให้อภิปรายหรือตั้งกรรมการศึกษาเเละทำประชาพิจารณ์ ตามสำดับรวมถึงคุมครองความปลอดภัยของผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในการเข้าชื่อ แก้กฎหมายและแสดงความคิดเห็นตามสิทธิในเสรีภาพของพลเมือง

7.สังคมควรยึดมันใน "ความเป็นเหตุเป็นผล" และการแสดงหาทางออกอย่างสันติ หยุดการใช้ความรุนแรง หยุดปิดปากและความศรัทธาแบบไม่มีเหตุผล ยอมรับในความแตกต่างหลากหลายทางความคิด มี "ขันติธรรม" หรือความใจกว้างอดทนอัดกลั้นต่อความคิดเห็นและการแสดงออกที่แตกต่าง ให้ความสำคัญในสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ซึ่งคุณค่าที่สำคัญที่สังคมควรยึดถืออันจะนำไปสู่การสร้างระบอบประชาธิปไตย ที่มั่นคง

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา ในฐานะราษฎรผู้กระหายน้ำ

เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย(คกป.)
Activists for Democracy Network(ADN.)
กลุ่มประกายไฟ (Iskra Group)

ANTI 3

ANTI 2

ANTI 1

ANTI 4

ภาพจากเฟซบุ๊กกลุ่ม "วารสารฯ ต้านนิติราษฎร์"

bus001_IMGP8126

bus009_IMGP8078

bus008_IMGP8081

bus007_IMGP8103

bus006_IMGP8093

bus005_IMGP8147

bus004_IMGP8141

bus003_IMGP8113

bus002_IMGP8115

ภาพโดยกานต์ ทัศนภักดิ์

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker