ในบ้านเรายังมีผู้ที่สนับสนุน และชื่นชมพรรคประชาธิปัตย์จำนวนไม่น้อยสำคัญผิดว่าพวกเขาเป็น Democrats แบบอ เมริกัน หรือพวกผู้ที่นิยมของนอก และรู้สึกตัวว่าอยู่ในชนชั้นที่สูงกว่าชนชั้นกลางชาวกรุงเล็กน้อยก็เข้าใจ ไขว้เขวว่าตนเป็นนักประชาธิปไตยเหมือนชื่อพรรค ทั้งที่ต่างกันลิบลับ
โดย ระยิบ เผ่ามโน
2 พฤศจิกายน 2555
2 พฤศจิกายน 2555
เหลือเวลาอีกไม่กี่วันจะถึงการเลือกตั้งทั่วไปปลายปี
ค.ศ. ๒๐๑๒ ของสหรัฐ รวมทั้งการหย่อนบัตรเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งเป็นการชิงชัยกันระหว่างประธานาธิบดีบารัค
โอบาม่า แห่งพรรคเดโมแครท และอดีตผู้ว่าการรัฐแม้สซาชูเส็ทมิตต์ รอมนี่ย์
แห่งพรรครีพับลิกัน
แม้จะมีผู้เข้าแข่งขันอื่นๆ
ที่ไม่สลักสำคัญอีกหลายคน อาทิ นางจิล สไตล์ จากพรรคกรีน นายธอมัส โฮ้ฟลิ่ง
จากพรรคอิสระ (Independent)
นายแกรี่ จอห์นสัน จากพรรคไลเบอแทเรี่ยน และนางโรแซนน์ บาร์
อดีตดาวตลกหญิงชื่อดัง แห่งพรรคสันติภาพ และเสรีภาพ (Peace and Freedom)
ด้วยเหตุที่การเลือกตั้งอเมริกันไม่ใช่ระบบสองพรรคอย่างที่บางคนอาจเข้าใจ
หากแต่เพราะรีพับลิกัน และเดโมแครทเป็นสองพรรคเก่าแก่ที่มีสมาชิก
และผู้สนับสนุนจำนวนมากอย่างล้นพ้นกว่าพรรคย่อยๆ ทั้งหลายรวมกัน
จนดูเหมือนเป็นการแข่งขันของสองพรรคตลอดมา
โดยทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งคนอเมริกันยังมีโอกาสเสนอตัวผู้เข้าแข่งของตนเองโดยเขียนชื่อลงไปในบัตรเลือกตั้ง (Write-in) ก็ได้ ถ้ามีชื่อเดียวกันจำนวนมากพอเอาชนะผู้สมัครของพรรคอื่นทั้งหมดก็จะถือว่าได้รับเลือกตั้ง*(1)
โดยทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งคนอเมริกันยังมีโอกาสเสนอตัวผู้เข้าแข่งของตนเองโดยเขียนชื่อลงไปในบัตรเลือกตั้ง (Write-in) ก็ได้ ถ้ามีชื่อเดียวกันจำนวนมากพอเอาชนะผู้สมัครของพรรคอื่นทั้งหมดก็จะถือว่าได้รับเลือกตั้ง*(1)
ทำให้การคุยถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกันว่าเป็นการแข่งขันสองพรรคจึงทำได้ในทางปฏิบัติ
ไม่ขัดแย้งในทางเนื้อหาแต่อย่างใด
วัน
เลือกตั้งประธานาธิบดีกำหนดแน่นอนอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายนทุกๆ
สี่ปี ถ้าประธานาธิบดีมีอันเป็นไปอย่างใดๆ
ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ให้รองประธานาธิบดีขึ้นมาสวมตำแหน่งรับช่วงต่อ
ไปจนครบสมัยแล้วค่อยเลือกตั้งใหม่
เช่นนี้ในบัตรลงคะแนนจึงให้เลือกทั้งประธานาธิบดี และรองฯ ควบกัน
ความสำคัญของรองประธานาธิบดีอย่างทางการอยู่ที่ตรงนี้
แต่ในการแข่งขันรับเลือกตั้งเขามักจะคัดสรรตัวผู้เข้าชิงตำแหน่งรองเพื่อให้เติมเต็มฐานคะแนนเสียง
และเป็นหัวหมู่ทะลวงฟันให้ด้วย ดังในการเลือกตั้งวันที่ ๖ พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ประธานาธิบดีโอบาม่าได้รองฯ
โจ ไบเด็น เป็นตัว “เอาคืน” ต่อพอล ไรอัน สมาชิกสภาจากรัฐวิสคอนซิน
คู่สมัครของพรรครีพับลิกันในการโต้วาทีหลังจากที่โอบาม่าพลาดท่าต่อรอมนี่ย์เพราะใช้แผนสุขุม
วางตัวภูมิฐานให้สมตำแหน่ง (Presidential) เลยถูกลุยเสียหมดท่าในยกแรก
แม้ตัวประธานาธิบดีจะตีตื้นในการโต้วาทีอีกสองครั้งต่อมา
ก็ไม่สามารถยั้งคะแนนนิยมของรอมนี่ย์ที่เคลื่อนขึ้นมาเทียบข้างชนิดคอต่อคอได้
ยิ่งถ้าเป็นโพลล์ของฝ่ายรีพับลิกันอย่างแกลลัป *(2) วัด
ผลออกมาให้รอมนี่ย์นำโอบาม่าถึง
๖ จุด ขณะที่โพลสำนักอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพิวเซ็นเตอร์ หรือของพวกสำนักข่าว
อย่างนิวยอร์คไทม์/ซีบีเอส
วอลสตรีทเจอร์นัล/เอ็นบีซี วอชิงตันโพสต์/เอบีซี ซีเอ็นเอ็น
และแม้แต่ฟ็อกซ์ซึ่งเป็นอนุรักษ์นิยมก็ยังรายงานว่าโอบาม่านำอยู่อย่างสูสี
ทั้งสิ้น
ถึงขนาดสำนักข่าวบางแห่งคาดหมายว่าผลการเลือกตั้งหลังวันที่
๖ จะออกมาเหมือนเมื่อครั้งจ๊อร์จ ดับเบิ้ลยู บุสช์แข่งกับอัล กอร์
ที่ฝ่ายหนึ่งชนะคะแนนรายหัว (Popular vote) อีกฝ่ายได้คะแนนผู้ออกเสียง (Electoral
vote) มากกว่า
อย่างไรก็ดีสำนักข่าววอชิงตันโพสต์
(ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มอนุรักษ์) ที่ เกาะติดคะแนนนิยมรายวัน
พบว่าในระยะหนึ่งอาทิตย์ก่อนถึงวันเลือกตั้ง โอบาม่า
และรอมนี่ย์จะชนะกันเพียงแค่หนึ่งแต้ม โดยในวันที่ ๓๐ ตุลาคมนี้รอมนี่ย์นำประธานาธิบดีอยู่
๔๙ ต่อ ๔๘ เปอร์เซ็นต์ ส่วนเว็บบล็อกของฝ่ายเสรีนิยมแห่งหนึ่ง ให้คำทำนายผลล่วงหน้า ไว้เมื่อวันที่
๑ พ.ย. ว่า ในวันเลือกตั้งโอบาม่าจะได้คะแนนรายหัว ๕๐.๕ เปอร์เซ็นต์ และคะแนนผู้ออกเสียง
๓๐๐ คน ขณะที่รอมนี่ย์จะได้คะแนนรายหัวเพียง ๔๘.๖ เปอร์เซ็นต์ และคะแนนผู้ออกเสียง
๒๓๘ คน
แม้
บางโพลคาดการณ์ว่าคะแนนผู้ออกเสียงอาจลงเอยเท่ากันทั้งคู่ก็ต้องไปตัดสินกัน
ที่คะแนนรายหัว
ซึ่งจากการสำรวจความเห็นของประชาชนที่สังกัดทั้งสองพรรคโดยวอชิงตันโพสต์พบ
ว่าส่วนใหญ่ต้องการให้ถือคะแนนรายหัวเป็นมาตรชี้ขาดเหนือคะแนนผู้ออกเสียง
อันการนับคะแนนตัวแทนออกเสียง
หรือ Electoral College
นั้นเป็นกรรมวิธีที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อตั้งประเทศ เนื่องจากตอนนั้นไม่สามารถนับจำนวนผู้ออกเสียงได้เป็นรายหัว
แม้นว่าสมัยนี้เห็นมีข้อเสียมากกว่าเพราะใช้วิธีรวมคะแนนแบบเหมาเข่งทั้งรัฐ หรือ Winner
takes all. คือรัฐไหนใครชนะก็จะได้ผู้ออกเสียงในสัดส่วนของประชากรรัฐนั้นไปทั้งหมด
เช่นนี้ทำให้สำนักหยั่งเสียงสามารถทำนายตัวเลขคะแนนผู้เลือกตั้งได้ใกล้เคียงความจริงที่สุด
โดยวัดจากโพลล์รายวันในแต่ละรัฐ
บล็อกเกอร์
"ห้าร้อยสามสิบแปด"
ของ นสพ.
นิวยอร์คไทม์อ้างว่าถ้าดูตามคะแนนนิยมของแต่ละมลรัฐแล้วเป็นไปไม่ได้ที่อาจ
จะเกิดกรณีดังที่โพลระดับชาติคาดว่าโอบาม่าจะชนะคะแนนผู้ออกเสียงขณะที่รอม
นี่ย์ได้คะแนนรายหัวมากกว่า
ดังเช่นปัญหาที่เกิดในการเลือกตั้งปี
๒๐๐๐ อัล กอร์ ตัวแทนพรรคเดโมแครทได้คะแนนรายหัวทั้งประเทศมากกว่าจ๊อร์จ บุสช์
แต่ที่รัฐฟลอริด้าผลการนับคะแนนออกมาปรากฏว่ากอร์แพ้บุสช์อยู่เล็กน้อย
เนื่องจากปัญหาบัตรเสียจำนวนมากในท้องที่ฐานเสียงเดโมแครท
จึงมีการร้องให้นับคะแนนใหม่
กรรมการนับคะแนนใหม่ยังไม่ทันเสร็จศาลสูงสุดซึ่งรับคำร้องของพรรครีพับลิกันให้ตัดสิน
และสั่งระงับการนับคะแนน มีมติยืนตามชัยชนะของบุสช์
กลายเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ว่าการเลือกตั้งคราวนั้นรีพับลิกันชนะเพราะมีผู้พิพากษาศาลสูงสุดฝ่ายอนุรักษ์นิยมเป็นเสียงข้างมาก
หนึ่งอาทิตย์ก่อนถึงวันหย่อนบัตร
ประเทศสหรัฐฝั่งตะวันออกถูกภัยธรรมชาติพายุ “แซนดี้”
กระหน่ำเสียจนกระอัก มลรัฐชายฝั่งตั้งแต่เวอร์จิเนีย แมรี่แลนด์ นิวเจอร์ซี่
ถึงนิวยอร์ค พบกับอภิมหาพายุ (Perfect storm) อัน
เป็นสองประสานของพายุเฮอริเคนที่โหมจากทะเลคาริเบียนเข้าผสมกับพายุลมหนาวบน
ฝั่งที่เคลื่อนข้ามทวีปมาทางใต้แล้วหันขึ้นเหนือเกิดเป็นพายุฝนตกหนัก
(บางแห่งถึง ๒๔ นิ้ว) และคลื่นยักษ์ สำลักน้ำกันระนาว
โดยเฉพาะตอนล่างของเกาะแมนแฮ็ทตัน นครนิวยอร์ค
ทำเอาทั้งประธานาธิบดีโอบาม่า
และผู้ว่าฯ รอมนี่ย์ ต้องยับยั้งการหาเสียงซึ่งปกติจะต้องอยู่ในช่วงเร่งเครื่องเต็มทุกสูบ
กลายเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ของการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกันไปด้วยเหมือนกัน
แม้จะไม่ก่อผลต่อภาพพจน์ของคู่แข่งขันมากนัก
เว้นแต่โอบาม่าซึ่งประกาศงดการปรากฏตัวหาเสียงทันควันก่อนรอมนี่ย์เล็กน้อย
จึงเก็บคะแนนความเป็นผู้นำได้อีกนิดหน่อย
เมื่อพายุผ่านไปประธานาธิบดียังต้องเดินทางไปเยี่ยมท้องที่ได้รับความเสียหาย
รอมนี่ย์จึงสามารถกลับไปหาเสียงได้ก่อนโอบาม่าอีกหนึ่งวัน
หลังจากที่ต้องปรับจุดยืนของตนระหว่างเกิดเฮอริเคนจากที่เคยเสนอว่าจะลดบทบาท-ตัดงบประมาณ
“ฟีม่า” (FEMA) หน่วยงานที่ดูแลเรื่องภัยธรรมชาติของรัฐบาลกลาง
แล้วโอนภาระรับผิดชอบไปให้แก่พวกมลรัฐแทนตามอุดมการณ์ลดขนาดรัฐบาลกลางของพรรครีพับลิกัน
ก็กลับหันมายอมรับบทบาทของฟีม่าว่ามีความสำคัญในการประสานงานกู้ภัยให้แก่มลรัฐที่ได้รับความเสียหาย*(3)
ผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซี่ต้อนรับประธานาธิบดีโอบาม่าระหว่างการเยี่ยมผู้ประสพภัยพายุเฮอริเคนแซนดี้ |
อีก
ทั้งผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซี่ซึ่งเจออุทกภัยหนักกว่าเพื่อน
นายคริส คริสตี้
หนึ่งในนักการเมืองพรรครีพับลิกันที่ได้รับความนิยมสูงระดับชาติ
ยังแถลงชื่นชมการทำงานของประธานาธิบดีในการบรรเทาวาตภัยจากเฮอริเคนแซนดี้
ครั้งนี้ นอกเหนือจากกระแสฮือฮาสไตล์แท็ปลอยที่ว่าโอบาม่าชนะใจคริสตี้
(กับการที่นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ค ไมเคิล บลูมเบิร์ก
อดีตเดโมแครทที่ย้ายไปรีพับลิกันแล้วออกไปเป็นอิสระผู้ได้รับความนิยมสูง
ขนาดเคยเป็นที่คาดหมายว่าจะลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยนี้
หรืออย่างน้อยได้รับเลือกเป็นคู่สมัครรองประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน
ประกาศสนับสนุนโอบาม่าเป็นประธานาธิบดีอีกสมัย)
คุณูปการแท้จริงอยู่ที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความไม่ลำเอียง
ไม่เลือกข้างพรรคมึงพรรคกูเมื่อเป็นเรื่องบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชน
นี่
เป็นวัฒนธรรมการเมืองแบบอเมริกันที่นักเลือกตั้ง
และผู้ที่เรียกตัวเองว่าชนชั้นกลางชาวกรุงในประเทศไทยยังไม่ซึมซับกันดีนัก
ทำให้เกิดการปล่อยไก่ขายหน้าชนิดต้องรีบปัดขยะเข้าใต้พรมเมื่อนักหนังสือ
พิมพ์ชื่อดังผู้ก่อตั้งเครือสื่อภาษาอังกฤษที่ใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์
ดันไปตั้งคำถามแก่รัฐมนตรีต่างประเทศหญิงอเมริกันว่าเธอทำใจได้อย่างไรที่มา
รับทำงานเป็นลูกน้องของคู่แข่งเดิม
(แม้จะพรรคเดียวกันก็เถอะ) เลยถูก รมว.หญิงอเมริกันสอนมวยให้ด้วยการตอบว่า
ที่บ้านฉันเมื่อผลเลือกตั้งออกมาอย่างไร ผู้ชนะย่อมเป็นหัวหน้าของเราทุกคน
ในบ้านเรายังมีผู้ที่สนับสนุน
และชื่นชมพรรคประชาธิปัตย์จำนวนไม่น้อยสำคัญผิดว่าพวกเขาเป็น Democrats แบบอเมริกัน
หรือพวกผู้ที่นิยมของนอก
และรู้สึกตัวว่าอยู่ในชนชั้นที่สูงกว่าชนชั้นกลางชาวกรุงเล็กน้อยก็เข้าใจไขว้เขวว่าตนเป็นนักประชาธิปไตยเหมือนชื่อพรรค
ทั้งที่ต่างกันลิบลับนับแต่การก่อตั้งพรรคเป็นต้นมาเลยทีเดียว เมื่อนายควง อภัยวงศ์
ไปสมคบกับพวกรอยัลลิสต์แอบร่างรัฐธรรมนูญที่หมายคืนอำนาจแก่เจ้านาย และชนชั้นสูง
แล้วเอาไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มรอเวลาทหารฝ่ายเจ้ายึดอำนาจมาให้
ผู้กุมบังเหียนพรรครุ่นต่อมาก็สืบทอดเจตนาดั้งเดิมทั้งนั้น
จะผ่อนคลายต่อเมื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แยกตัวออกไปตั้งพรรคกิจสังคม
แต่แล้วก็กลับมาเต็มรูปแบบราชาธิปไตยอีกครั้งตั้งแต่สมัยนายชวน หลีกภัย
เป็นหัวหน้า และเป็นนายกรัฐมนตรีที่ต้องบริหารบ้านเมืองด้วย “ข้อมูลใหม่” เสมอ
พรรคเดโมแครทอเมริกันมีต้นกำเนิดคล้ายคลึงกับพรรครีพรรคลิกัน
เดิมทีนั้นเป็นคล้ายพรรคแฝดเสียด้วยซ้ำ
ซึ่งร่วมกันเป็นคู่แข่งของพรรคเฟเดอรัลลิสต์
ส่วนพรรครีพับลิกันเป็นพรรคเก่าแก่ที่สุดจึงเรียกกันว่า “จีโอพี” (Grand Old Party) สืบเนื่องมา
นอกเหนือจากในระยะแรกเริ่มที่ปฏิเสธระบบกษัตริย์อย่างสิ้นเชิงแล้ว
(เดโมแครทก็เช่นกัน) ก็ดำเนินการเมืองในฐานะตัวแทนของมวลชนรากหญ้าไม่ต่างกับเดโมแครท
ในลักษณะที่เป็นความแตกต่างกับกลุ่มคนระดับแกนนำที่เกี่ยวพันกับกระบวนการประกาศอิสรภาพในพรรคเฟเดอรัลลิสต์
เดโมแครทกับรีพับลิกันมาปรากฏความแตกต่างทางนโยบายกันมากในช่วงศตวรรษที่
๒๐ เรื่อยมา จากการที่รีพับลิกันเน้นการแข่งขันเสรี (Free Enterprise)
ขณะที่เดโมแครทส่งเสริมสวัสดิการสังคม (Social Welfare)
เอาใจรากหญ้ามากกว่า ด้วยการยึดมั่นแนวทางเด่นคนละด้าน
พรรครีพับลิกันเชิดธุรกิจการค้า พรรคเดโมแครทชูด้านสังคม
จึงพัฒนามาเป็นการยึดมั่นความสำคัญของส่วนเอกชนโดยพรรครีพับลิกัน และการใช้รัฐคุ้มครองอุ้มชูปัจเจกชนโดยพรรคเดโมแครท
ที่ปรากฏชัดในชัยชนะเลือกตั้งของประธานาธิบดีรอแนลด์ เรแกน
บนพื้นฐานนโยบายลดอำนาจรัฐบาล เพิ่มอิสระธุรกิจเอกชน
ใน
ศตวรรษที่
๒๑
แนวนโยบายของทั้งสองพรรคก็ยิ่งพัฒนาไปในทิศทางต่างกันมากขึ้นจนสามารถเรียก
ได้ว่า
รีพับลิกันเป็นอนุรักษ์นิยม และเดโมแครทเป็นเสรีนิยม
อันครอบคลุมไปถึงด้านต่างๆ
ทั้งในส่วนที่เป็นสาธารณะ และส่วนบุคคล
มองเห็นความแตกต่างระหว่างรีพับลิกันกับเดโมแครทชัดเจนนอกเหนือจากสีประจำ
พรรคแดงกับน้ำเงิน
อาทิ
การปล่อยอิสระแก่บรรษัทการเงินในทางตรงข้ามกับการให้หน่วยงานรัฐบาลการเข้า
ไปกำกับ
การต่อต้านทำแท้งโดยถือหลักศาสนาเคร่งครัดว่าถ้าปฏิสนธิแล้วย่อมเป็นชีวิตใน
ทางตรงข้ามกับการเคารพสิทธิเหนือร่างกายของสตรีที่จะเลือกมีหรือไม่มีลูกได้
และการปฏิรูประบบสวัสดิการโดยให้ผู้รับอย่างจำกัดอันตรงข้ามกับการเปิดกว้าง
ตามทฤษฎีประชานิยม
เป็นต้น
ในช่วงที่บารัค
โอบาม่าได้เป็นประธานาธิบดีความแปลกแยกระหว่างเดโมแครท
และรีพับลิกันขยายกว้างจนสุดกู่ กลุ่มอนุรักษ์ขวาจัดที่เรียกตนว่า “ทีพาร์ตี้” (Tea Party) เลียนแบบสมัยประกาศเอกราชที่ชาวบ้านรากหญ้ารวมหัวกันแสดงพลังโดยจัดงานเลี้ยงน้ำชาชุมนุมปรึกษาทางการเมือง
กดดันให้ความเป็นอนุรักษ์นิยมของพรรครีพับลิกันถลำไปขวาสุดกู่ แม้แต่มิตต์
รอมนี่ย์ซึ่งเป็นรีพับลิกันสายกลางยังต้องเปลี่ยนจุดยืนหลายอย่างเพื่อกระชับกำลังสนับสนุนภายในพรรค
เป็นผลให้เขาเลือกพอล ไรอัน ดาวรุ่งคนหนึ่งในกระบวนการงานเลี้ยงน้ำชามาเป็นคู่สมัครในตำแหน่งรองฯ
ทั้งที่ไรอันนั้นมีตำแหน่งแห่งที่ความสำคัญ (และความนิยม)
ภายในพรรคอยู่ในระดับท้ายๆ เทียบไม่ติดกับคริส คริสตี้แห่งนิวเจอร์ซี่ เจ๊ฟ บุสช์
แห่งฟลอริด้า (อดีตผู้ว่าฯ) หรือแม้แต่สมาชิกสภาจากเท็กซัส รอน พอล ที่จัดอยู่ในปีกซ้ายสุดของพรรครีพับลิกัน
ซึ่งได้รับความนิยมจากคนหนุ่มสาวเป็นจำนวนมาก
การจำนนต่อแรงกดดันขวาสุดกู่ของพรรคในการหาเสียงทำให้รอมนี่ย์เปลี่ยนบุคคลิกทางการเมืองไปอย่างแทบไม่เห็นหัว
เขาพูดอะไรหลายอย่างที่ตรงข้ามกับจุดยืนดั้งเดิม แม้กระทั่งจุดยืนเมื่อครั้งรณรงค์เลือกตั้งขั้นต้นภายในพรรคของตนเอง
ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดอย่างหนึ่งคือนโยบายยกเลิกกฏหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพ (The Affordable Care Act) อันเป็นนโยบายประชานิยมที่จัดเป็นความสำเร็จอันสำคัญของรัฐบาลโอบาม่า
แม้จะเทียบไม่ติดกับที่ได้รับการยกย่องกันในยุโรปก็เป็นการจัดตั้งระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าชนิดไม่เคยมีมาก่อนในประวัติการณ์
แต่ถูกพรรครีพับลิกันคัดค้านหัวชนฝา
และกลุ่มอนุรักษ์สุดกู่โจมตีว่าใช้งบประมาณแจกแถมมหาศาลผลาญเงินผลาญทองของชาติ
นอกเหนือจากประเด็นที่ว่าต้องใช้งบประมาณมากแล้ว
ค่ายรีพับลิกันไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่ากฏหมายฉบับนี้มีข้อเสียอย่างไร
เพียงต้องการถอนไปก่อนแล้วอ้างว่าตนมีแผนดีกว่ามาแทน
แต่ก็ไม่อาจแสดงให้เห็นรายละเอียดของแผนดังว่านั้นได้ ใครที่อยากทราบว่าข้อโจมตีมีการบิดเบือนขนาดไหน จะลองไปฟังการโจมตีของพรรคประชาธิปัตย์ต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ดูแทนก็ได้
สงสัยจะลอกเลียนกันมาได้เนียนไม่จืดเลย ส่วนถ้าจะมีโฆษกคนใดคนหนึ่งออกมาบอกว่าอเมริกาเลียนแบบไทย
นั่นอยู่นอกเหนือวิจารณญานของผู้เขียน
แต่ข้อเท็จจริงอยู่ที่ว่ากฏหมายประกันสุขภาพที่รีพับลิกันเรียกว่า
“โอบาม่าแคร์”
นี้รูปร่างหน้าตาเหมือนกฏหมายประกันสุขภาพของมลรัฐแมสซาชูเส็ทที่ออกมาใช้ตั้งแต่ตอนที่รอมนี่ย์เป็นผู้ว่าฯ
ยังกับแกะ
อีกประเด็นสำคัญที่รอมนี่ย์ใช้โจมตีโอบาม่าอย่างหนักในการหาเสียงโค้งสุดท้าย
เป็นนโยบายทุ่มงบประมาณช่วยอุตสาหกรรมผลิตรถยนตร์ให้พ้นจากการล้มละลาย ซึ่งได้ผลดีจนทำให้ทั้งบริษัทไคร้สเลอร์
และเจ็นเนอรัลมอเตอร์สามารถชดใช้หนี้กลับมายืนอยู่บนลำแข้งตัวเองได้
สร้างความนิยมให้แก่ประธานาธิบดีโอบาม่าในหมู่คนงานอุตสาหกรรมทางแถบตอนกลางของประเทศค่อนไปทางตะวันตกที่เรียกกันว่า
“บลูคอลลาร์” (Blue Collars) โดยเฉพาะในมลรัฐโอไฮโอ
หนึ่งในเจ็ดมลรัฐที่ยังไม่เป็นสีใดแน่นอน (Swing states หรือ
Battleground states)
รอม
นี่ย์โจมตีว่ารัฐบาลโอบาม่าช่วยไคร้สเลอร์ด้วยการให้บริษัทเฟี้ยตจากอิตาลี่
เข้ามาร่วมเป็นเจ้าของแล้วยังกำลังจะย้ายการผลิตรถจี๊พไปยังประเทศจีน
เช่นเดียวกับบริษัทจีเอ็มซึ่งรับเงินช่วยจากรัฐบาล (Bail-out) เหมือนกันแล้วเลิกจ้างงานถึง
๑๕,๐๐๐ คน และย้ายการผลิตไปจีน อันเป็นข้อกล่าวหาที่บิดเบือนความจริงทั้งสิ้น
จนอุตสาหกรรมผลิตรถยนตร์ออกมาโต้
และบรรดาสื่อทั้งหลายก็ยืนยันเป็นเสียงเดียวว่าการโฆษณาหาเสียงของรอมนี่ย์แบบนี้มีแต่โป้ปดมดเท็จ
เพียงเพื่อที่จะให้ได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง
กระทั่งคอลัมนิสต์ในสายลิเบอรัลคนหนึ่งเขียนถึงว่า
ปัญหาก็คือยังมีผู้ออกเสียงที่แม้จะยอมรับว่ารอมนี่ย์กล่าวเท็จ
แต่ความเกลียดที่มีต่อโอบาม่าทำให้เมินความจริงนั้นเสีย อ้างว่านั่นเป็น "เสรีภาพในการกล่าวเท็จ" จึงเพียงแต่สะใจ
และยังคงหย่อนบัตรเลือกรอมนี่ย์อยู่ดี ฟังดูคล้ายๆ
บรรยากาศการเมืองในประเทศไทยเหมือนกันอีกแล้วนี่
สำหรับมลรัฐเจ็ดแห่งที่เรียกว่า
“แกว่งไปมา” เนื่องจากไม่สามารถจัดอยู่ในฝ่ายเดโมแครท
(สีน้ำเงิน) หรือรีพับลิกัน (สีแดง) ได้แน่นอน เพราะระบบการตัดสินผลเลือกตั้งด้วยคะแนนของผู้ออกเสียง
นั้นทำให้การได้ชัยชนะคะแนนรายหัวในรัฐเหล่านี้สามารถทำให้คะแนนผู้ออกเสียงที่เป็นรองอยู่ตีตื้นขึ้นมาได้
รอมนี่ย์ซึ่งขณะเขียนเรื่องนี้คะแนนผู้ออกเสียงอยู่ที่ ๒๐๖ ขณะที่โอบาม่านำไป ๒๔๓
ภายในวันเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งจะต้องได้ ๒๗๐ ขึ้นไปจึงจะเป็นผู้ชนะ
บรรดารัฐที่ยังไม่ปรากฏแน่นอนว่าจะอยู่สีใดจึงกลายเป็น “สมรภูมิ” สำหรับการช่วงชิงโค้งสุดท้าย
พรรครีพับลิกัน
และบรรดาองค์กรการเมืองเอกชนที่กลายเป็นหน่วยหาเสียงเลือกตั้งอันสำคัญในการแข่งขันครั้งนี้
รู้จักกันดีในนาม “ซูเปอร์แพ็ค” (PACs – Political Action
Committees) ซึ่งสามารถใช้เงินรณรงค์เพื่อผู้สมัครได้โดยไม่จำกัด เช่น
ทางแพร่งอเมริกัน (American Crossroad) ของคาร์ล โร้ฟ นักวางแผนหาเสียงที่ทำให้จ๊อร์จ บุสช์ และรีพับลิกันชนะอย่างขาดลอยในปี
ค.ศ. ๒๐๐๔ กับกลุ่มฟื้นฟูอนาคต (Restore Our Future) ของพวกที่หนุนรอมนี่ย์
ได้ทุ่มเงินอย่างมหาศาลเข้าไปในสามมลรัฐที่โอบาม่าเคยชนะจอห์น แม็คเคนในการเลือกตั้งครั้งก่อน
ได้แก่ไอโอว่า วิสคอนซิน และโอไฮโอ เป็นเวลาหลายเดือนมาแล้ว
ในไอโอว่าซึ่งเป็นรัฐที่โอบาม่าได้ชัยชนะแห่งแรกในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว
หนังสือพิมพ์เดอม้อยส์รีจิสเตอร์อันมีชื่อเสียงของมลรัฐประกาศสนับสนุนรอมนี่ย์เมื่อไม่กี่วันมานี้
ทำให้ความหวังของโอบาม่าที่นี่ไม่หนักแน่นเท่าครั้งก่อน
ส่วนวิสคอนซินนั้นเป็นรัฐบ้านเดิมของพอล ไรอัน
แม้ผลหยั่งเสียงจากโพลล์จะให้โอบาม่าได้เปรียบก็ยังไม่แน่นอนนัก
สำหรับโอไฮโอเป็นแห่งหนึ่งที่คะแนนนิยมโอบาม่ายังเหนียวแน่น
แต่ก็นำหน้ารอมนี่ย์เพียงเล็กน้อย
รอมนี่ย์จึงหาเสียงในหมู่รีพับลิกันที่นี่ด้วยการชักชวนเดโมแครทมาร่วมวงไพบูลย์
โดยปาฐกถาว่าถ้าตนได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจะดำเนินนโยบายด้วยการ ร่วมมือกับเดโมแครท
โอไฮโอเป็นรัฐที่รอมนี่ย์หวังว่าจะทำให้เขาพลิกมาเป็นผู้ชนะได้ในกรณีที่คะแนนผู้ออกเสียงในบั้นปลายเกิดเสมอกัน
รัฐที่เป็น
“สมรภูมิ” อื่นๆ ได้แก่นิวแฮมเชอร์ โคโรราโด เวอร์จิเนีย
และฟลอริด้า ล้วนอยู่ในข่ายความนิยมเหนือกว่าของโอบาม่าค่อนข้างแน่นอน
จะมีคลาดเคลื่อนได้ก็แต่ฟลอริด้าที่มีประชากรเสื้อสายอิสแปนิค (พูดภาษาสเปญ)
และชาวปวยโตริกันจำนวนมาก นอกจากผู้ว่าการรัฐริค สก็อตเป็นรีพับลิกันแล้ว
ยังมีสมาชิกสภาหนุ่มเลือดปวยโตริกันที่ได้รับความนิยมสูงจนเคยเป็นหนึ่งในจำนวนรายชื่อสั้นๆ
ที่รอมนี่ย์นำไปพิจารณาเลือกเข้าเป็นคู่ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของเขา
รวมความแล้วการเลือกตั้งวันที่
๖ พฤศจิกายนนี้ ในส่วนของตำแหน่งประธานาธิบดี และรองฯ มีความสูสีเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงปัจจัยทางด้านทุนหาเสียงของฝ่ายรีพับลิกัน แม้รอมนี่ย์จะหาทุนสนับสนุนอย่างทางการได้ไม่เท่าโอบาม่า
แต่ว่าทุนสนับสนุนไม่ทางการจากกลุ่มซูเปอร์แพ็คนั้นแน่นหนามหาศาลมาแต่แรกเริ่มรณรงค์เมื่อต้นปีเลยทีเดียว
เฉพาะทุนที่มาจากอภิมหาเศรษฐีพันล้านอย่างสองพี่น้องตระกูลค็อค (เดวิด และชาร์ล) และเชลดอน
เอเดลสัน ก็ทำให้เดโมแครทหนาวค้างปีมายังไม่หาย
ทำให้เมื่อเข้าทางตรงหลังโค้งสุดท้ายหนึ่งอาทิตย์ก่อนวันลงคะแนน
พวกอภิมหาเศรษฐีฝ่ายเสรีนิยมเริ่มไหวตัว*(4)
นาย
ทุนกระเป๋าหนักของฝ่ายเดโมแครทที่ไม่ได้กระตือลือล้นในระยะต้นๆ
เพราะเห็นว่าโอบาม่าสามารถหาทุนได้มากดีแล้ว
กลับพากันหันกลับมาควักกระเป๋าให้กับซูเปอร์แพ็คที่สนับสนุนโอบาม่า
อย่างกลุ่มความสำคัญเบื้องต้นยูเอสเอ
(Priority U.S.A.) และกลุ่มเสียงข้างมากในสภาผู้แทน
(House Majority PAC) กันคนละล้านสองล้าน หรือสิบล้านในช่วงหนึ่งอาทิตย์บั้นปลายของการรณรงค์
๒๐๑๒ นี้
นายทุนเหล่านี้มีทั้งนักการเงินชื่อดัง
จอ๊ร์จ โซรอส นักสร้างหนังยอดนิยม สตีเว็น สปีลเบิร์ก และนักลงทุนสื่อสาร เฟร็ด
อายแคนเนอร์ แห่งนิวส์เว็บ คอร์ป
เอ่ยชื่อนายทุนฝ่ายเดโมแครทมาสองสามคนข้างต้นอาจทำให้นักเลือกตั้ง
และชนชั้นกลางชาวกรุงในประเทศไทยหลายคนร้องฮ้าว่าเห็นไหมเดโมแครทไทยกับเดโมแครทอเมริกันก็มีอะไรเกี่ยวพันกันอยู่เหมือนกันนะ
ซ้ำร้ายหลายคนอาจเห็นโฆษณาหาเสียงให้แก่รอมนี่ย์ในเว็บบอร์ดเสื้อแดงที่ตั้งอยู่ในอเมริกา
และได้รับความนิยมมากในประเทศไทยแต่บางครั้งเข้ายากเข้าเย็น เลยเหมาเอาว่าสีแดงเหมือนกันคงมีอะไรคล้ายกันบ้างละนา
แต่ช้าก่อน
หามิได้เลย เสื้อแดงไทยกับพรรคสีแดงอเมริกันต่างกันลิบลับ
แม้นว่าจะมีเสื้อแดงไทยในอเมริกาที่สังกัดพรรคสีแดงอยู่มากมายก็ตาม ตื้นลึกหนาบางเป็นอย่างไร
โอกาสหน้าเมื่อเวลา และสถานการณ์อำนวยแล้วจะเล่าให้ฟัง (ไม่ต้องรอให้เลิก ม. ๑๑๒
ก่อนก็ได้)
โชคดีทุกท่านในวันหย่อนบัตรครับ
*(1) ที่เคยปรากฏมีแต่ในการเลือกตั้งขั้นต้นภายในพรรคของตนเองเท่านั้น
ประธานาธิบดีโรสเว้ลท์ ไอเซ็นเฮาเออร์ เค็นเนดี้ และลินดัน จอห์นสัน
ล้วนได้ชัยชนะการเลือกตั้งขั้นต้นจากการเขียนชื่อ ในปี ค.ศ. ๑๙๙๒ นายร้าล์ฟ
เนเดอร์
นักต่อสู้เพื่อผู้บริโภคเคยพยายามเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วยการรณรงค์ให้เขียนชื่อเขาลงในบัตรเลือกตั้งขั้นต้นของทั้งสองพรรคหลัก
ปรากฏว่าได้คะแนนจากแต่ละพรรคเพียงสามพันกว่าเสียงก็เลยปิ๋วไป และในปี ๑๙๖๘
ประธานาธิบดีลินดัน เบน จอห์นสัน ไม่ได้สมัครเข้าแข่งเลือกตั้งขั้นต้นของพรรคเดโมแครท
แต่ได้รับการเขียนชื่อในบัตรเลือกตั้งถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ขณะที่นายยูจีน
แม็คคาร์ธี ซึ่งเป็นผู้สมัครอย่างทางการได้รับคะแนนเสียง ๔๑ เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อดูจากจำนวนตัวแทนออกเสียง
(Electoral College) แล้วแม็คคาร์ธีมีมากกว่า
ประธานาธิบดีจอห์นสันเลยไม่ลงแข่งขันในการเลือกตั้งใหญ่
ถึงอย่างไรวุฒิสมาชิกแม็คคาร์ธีก็แพ้การเลือกตั้งขั้นต้นแก่ดาวรุ่งเดโมแครทยุคนั้นคือ
วุฒิสมาชิกรอเบิร์ต เค็นเนดี้ ซึ่งถูกลอบสังหารเสียชีวิตก่อนเลือกตั้งใหญ่ไม่เท่าไร
ทำให้วุฒิสมาชิกจ๊อร์จ แม็คกัฟเวิร์น
ผู้มีนโยบายต่อสงครามเวียตนามเหมือนกันเข้ามาสวมบัตรเลือกตั้งแทน
ท้ายสุดก็แพ้แก่ประธานาธิบดีนิกสันอย่างขาดลอย (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย )
*(2) ดูบทวิจารณ์การหยั่งเสียงได้ที่ rasmussen-and-gallup-vs-the-rest ผู้เขียนบอกว่าผลการหยั่งเสียงของแกลลัปมักผิดพลาด
และเจ้าของบริษัทรัสมูสเซ็นซึ่งดำเนินการสำนักหยั่งเสียงแกลลัปนั้นเป็นฝักฝ่ายการเมืองข้างรีพับลิกัน
*(4) http://www.politico.com/news/stories/1012/82965.html