โพลชี้ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นต้องการให้บารัก โอบามา
รั้งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐต่ออีก 4 ปี
เผยประชาชนในชาติพี่เบิ้มเอเชียทั้งสองไม่ชอบใจมิตต์ รอมนีย์
พูดจาวิจารณ์ประเทศตน
ผลสำรวจของเอเอฟพี-อิปซอส ฮ่องกง ซึ่งสอบถามประชาชนราว 1,000 คนในแต่ละประเทศในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม ระบุว่า ชาวญี่ปุ่น 86% สนับสนุนโอบามา ขณะเสียงสนับสนุนรอมนีย์มีแค่ 12.3% ส่วนชาวจีนที่ชื่นชอบผู้นำพรรคเดโมแครตมี 63%
นักวิเคราะห์บอกว่า ในสายตาของชาวเอเชียตะวันออก โอบามามีจุดด้อยในเรื่องผลงานทางเศรษฐกิจและความมั่นคง ในขณะที่รอมนีย์ถูกชาวจีนตำหนิที่ได้กล่าวหารัฐบาลปักกิ่งว่า เป็นนักปั้นแต่งค่าเงิน และชาวญี่ปุ่นไม่พอใจที่ผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกันวิจารณ์ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเสื่อมถอย ซึ่งชาวญี่ปุ่นโดยทั่วไปมีความภาคภูมิใจในประเทศชาติของตน
ผลสำรวจบอกว่า ชาวจีนมีความนิยมในตัวรอมนีย์มากกว่าชาวญี่ปุ่นราว 3 เท่าแม้ว่าเขามีท่าทีแข็งกร้าวในเรื่องการค้าและค่าใช้จ่ายทางทหารมากกว่าโอ บามา
ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เฉินฉี แห่งมหาวิทยาลัยชิงหัวของจีน บอกว่า คนจีนชอบพรรครีพับลิกันมาตั้งแต่สมัยที่ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เยือนจีนเมื่อปี 2515 อย่างไรก็ดี ชาวจีนบางส่วนไม่ชอบใจนักกับภูมิหลังของรอมนีย์ที่เป็นนายทุนมหาเศรษฐี
รอมนีย์ได้ย้ำหลายครั้งว่า ถ้าได้เป็นประธานาธิบดี เขาจะประกาศให้จีนเป็นประเทศที่ปั้นแต่งค่าเงิน เพื่อแก้ปัญหาจีนได้ดุลการค้าสหรัฐอย่างมหาศาล ทั้งนี้ หลายฝ่ายในสหรัฐและบรรดาประเทศกำลังพัฒนาต่างกล่าวหาจีนว่า จงใจทำให้เงินหยวนมีมูลค่าต่ำเกินจริง เพื่อส่งออกสินค้าราคาถูกไปตีตลาดในประเทศเหล่านั้น ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมการผลิตของประเทศอื่นไม่สามารถแข่งขันได้
รัฐบาลโอบามาได้เรียกร้องจีนให้ปล่อยเงินหยวนแข็งค่าขึ้น แต่ไม่ได้ประกาศให้จีนเป็นประเทศปั้นแต่งค่าเงิน ซึ่งจะทำให้สหรัฐต้องออกมาตรการลงโทษจีน และอาจเกิดสงครามการค้า
ผลสำรวจพบว่า ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ (81.8%) และชาวจีน (58.3%) มองว่า โอบามาเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชีย
ทาเคฮิโกะ ยามาโมโตะ อาจารย์ด้านการเมืองระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยวาเซดะ ในญี่ปุ่น บอกว่า การยุติสงครามในอัฟกานิสถานและอิรักของโอบามา เป็นที่ชื่นชอบในญี่ปุ่น รัฐบาลบุชได้บังคับให้ชาติพันธมิตรสนับสนุนสงครามทั้งสอง แต่โอบามาไม่ได้บังคับ
สำหรับนโยบายโยกย้ายกำลังทหารมายังเอเชียของโอบามานั้น จีนมองเรื่องนี้ด้วยความหวาดระแวง แต่ประเทศเอเชียอื่นๆขานรับนโยบายต่างประเทศดังกล่าวของประธานาธิบดีสหรัฐ เพราะมองว่าเป็นการถ่วงดุลอิทธิพลของจีน
Source : AFP
ผลสำรวจของเอเอฟพี-อิปซอส ฮ่องกง ซึ่งสอบถามประชาชนราว 1,000 คนในแต่ละประเทศในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม ระบุว่า ชาวญี่ปุ่น 86% สนับสนุนโอบามา ขณะเสียงสนับสนุนรอมนีย์มีแค่ 12.3% ส่วนชาวจีนที่ชื่นชอบผู้นำพรรคเดโมแครตมี 63%
นักวิเคราะห์บอกว่า ในสายตาของชาวเอเชียตะวันออก โอบามามีจุดด้อยในเรื่องผลงานทางเศรษฐกิจและความมั่นคง ในขณะที่รอมนีย์ถูกชาวจีนตำหนิที่ได้กล่าวหารัฐบาลปักกิ่งว่า เป็นนักปั้นแต่งค่าเงิน และชาวญี่ปุ่นไม่พอใจที่ผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกันวิจารณ์ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเสื่อมถอย ซึ่งชาวญี่ปุ่นโดยทั่วไปมีความภาคภูมิใจในประเทศชาติของตน
ผลสำรวจบอกว่า ชาวจีนมีความนิยมในตัวรอมนีย์มากกว่าชาวญี่ปุ่นราว 3 เท่าแม้ว่าเขามีท่าทีแข็งกร้าวในเรื่องการค้าและค่าใช้จ่ายทางทหารมากกว่าโอ บามา
ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เฉินฉี แห่งมหาวิทยาลัยชิงหัวของจีน บอกว่า คนจีนชอบพรรครีพับลิกันมาตั้งแต่สมัยที่ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เยือนจีนเมื่อปี 2515 อย่างไรก็ดี ชาวจีนบางส่วนไม่ชอบใจนักกับภูมิหลังของรอมนีย์ที่เป็นนายทุนมหาเศรษฐี
รอมนีย์ได้ย้ำหลายครั้งว่า ถ้าได้เป็นประธานาธิบดี เขาจะประกาศให้จีนเป็นประเทศที่ปั้นแต่งค่าเงิน เพื่อแก้ปัญหาจีนได้ดุลการค้าสหรัฐอย่างมหาศาล ทั้งนี้ หลายฝ่ายในสหรัฐและบรรดาประเทศกำลังพัฒนาต่างกล่าวหาจีนว่า จงใจทำให้เงินหยวนมีมูลค่าต่ำเกินจริง เพื่อส่งออกสินค้าราคาถูกไปตีตลาดในประเทศเหล่านั้น ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมการผลิตของประเทศอื่นไม่สามารถแข่งขันได้
รัฐบาลโอบามาได้เรียกร้องจีนให้ปล่อยเงินหยวนแข็งค่าขึ้น แต่ไม่ได้ประกาศให้จีนเป็นประเทศปั้นแต่งค่าเงิน ซึ่งจะทำให้สหรัฐต้องออกมาตรการลงโทษจีน และอาจเกิดสงครามการค้า
ผลสำรวจพบว่า ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ (81.8%) และชาวจีน (58.3%) มองว่า โอบามาเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชีย
ทาเคฮิโกะ ยามาโมโตะ อาจารย์ด้านการเมืองระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยวาเซดะ ในญี่ปุ่น บอกว่า การยุติสงครามในอัฟกานิสถานและอิรักของโอบามา เป็นที่ชื่นชอบในญี่ปุ่น รัฐบาลบุชได้บังคับให้ชาติพันธมิตรสนับสนุนสงครามทั้งสอง แต่โอบามาไม่ได้บังคับ
สำหรับนโยบายโยกย้ายกำลังทหารมายังเอเชียของโอบามานั้น จีนมองเรื่องนี้ด้วยความหวาดระแวง แต่ประเทศเอเชียอื่นๆขานรับนโยบายต่างประเทศดังกล่าวของประธานาธิบดีสหรัฐ เพราะมองว่าเป็นการถ่วงดุลอิทธิพลของจีน
Source : AFP
by
sathitm
2 พฤศจิกายน 2555 เวลา 16:49 น.