คลิกชมรายละเอียด จับโกหกกบฏพันธมิตร ใครยิงแก๊สน้าตา |
พิสูจน์ด้วยภาพช้า จุดเองขว้างเอง โยนใส่พวกเดียวกัน สร้างสถานการณ์ให้รุนแรงเพื่อป้ายสีรัฐบาล
thai-grassroots
บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)
คลิกชมรายละเอียด จับโกหกกบฏพันธมิตร ใครยิงแก๊สน้าตา |
พิสูจน์ด้วยภาพช้า จุดเองขว้างเอง โยนใส่พวกเดียวกัน สร้างสถานการณ์ให้รุนแรงเพื่อป้ายสีรัฐบาล
นายกฯสมัครเผยสั่งการให้ตำรวจถอนกำลังออกมาจากกลุ่มพันธมิตรฯเพราะไม่ต้องการให้นองเลือด ระบุ มีข้อเสนอจากฝ่ายความมั่นคงแต่ไม่ขอใช้
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ตนเองเป็นผู้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจถอนกำลังออกมาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เนื่องจากต้องการให้ผ่านงาน 116 วัน จากวันแม่สู่วันพ่อ ที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (30 สค.) ก่อน จึงไม่อยากให้เกิดเหตุนองเลือด พร้อมยอมรับว่า ฝ่ายความมั่นคงมีข้อเสนอแนะออกมาแล้ว แต่จะยังไม่ขอใช้ เพราะไม่อยากให้สถานการณ์ตึงเครียด โดยหลังจากในวันพรุ่งนี้ จะตัดสินใจดำเนินการอีกครั้งหากสถานการณ์รุนแรงขึ้น พร้อมยกมือไหว้ขอร้องประชาชนและรัฐวิสาหกิจให้ไตร่ตรองให้ดี อย่าร่วมชุมนุมเพียงเพราะนึกสนุกชั่วแล่น
thai-grassroots
ศาลอาญายกคำร้อง พันธมิตร ขอให้เพิกถอนหมายจับ 9 แกนนำ ชี้ หากไม่ผิดจริง ให้ไปพิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรม
ศาลอาญายกคำร้องการเพิกถอนหมายจับ 9 แกนนำกลุ่มพันธมิตร โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การออกหมายจับของศาลมีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 66(1) จึงได้ออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 9 คน ตามคำร้อง เพื่อให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นผู้ร้องได้ดำเนินการสอบสวนต่อไป ส่วนผู้ต้องหาทั้ง 9 คน จะมีความผิดหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องผ่านการสอบสวน การสั่งฟ้องและการพิจารณาของศาล ซึ่งทุกฝ่ายมีสิทธิ์จะนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ข้ออ้างได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาคำร้องขอเพิกถอนหมายจับของผู้ต้องหาล้วนเป็นข้ออ้างตามความคิดเห็นของจำเลยทั้งสิ้น
thai-grassroots
รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทยเดินทางมาที่บช.น.เพื่อให้กำลังใจตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในการรับมือกับม็อบพันธมิตรฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 20.25 น. พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย เดินทางมาถึง บช.น.โดยทักทายและให้กำลังใจตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ อย่างไรก็ตาม ยังคงปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน แต่กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ตำรวจต้องใช้ความอดทนถึงที่สุด คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร คนไทยด้วยกันคุยกันได้ ต่อข้อถามว่า มีความกังวลต่อสถานการณ์หรือมีการสั่งการอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ พล.ต.อ.โกวิท ระบุว่า ไม่มีความกังวล เชื่อว่าบ้านเมืองต้องอยู่ได้ ก่อนจะรีบเดินขึ้นห้องประชุมไปอย่างรวดเร็ว
thai-grassroots
ยุทธการเขากิสาน ขงเบ้งต้องถอยทัพหนีสุมาอี้ ถึง 6 ครั้งครับ การถอยแต่ละครั้งมีลูกเล่นพลิกแพลงผกผัน ไม่เคยซ้ำกัน
แต่ครั้งไหน จะยิ่งใหญ่อย่างไร ก็ประทับใจทำให้โลกลืมไม่ได้ เท่า...ครั้งแรก
สังข์ พัธโนทัย เขียนถึงตอนนี้ไว้ในพิชัยสงครามสามก๊กว่า สุมาอี้เป็นฝ่ายตั้งรับ เร่งทัพไปต้านทานขงเบ้งที่เขากิสาน เลือกตีเมืองเกเต๋งที่มั่นสำคัญของขงเบ้งแตกก่อน
ขงเบ้งตกใจ สั่งถอยจากเมืองเทียนซุย ลำอั๋น และเมืองเสเสีย มุ่งหน้าหนีไปฐานทัพเมืองฮันต๋ง
ที่เมืองเสเสียเป็นที่ตั้งคลังเสบียงสำคัญ ขงเบ้งคุมทหารเร่งรัดขนเสบียงหนีเป็นโกลาหล
เหลือทหารอยู่แค่ 2,500 คน
ทันใดนั้น...ทหารก็รายงาน ทัพสุมาอี้ไล่ตามมาถึงหน้าตัวเมือง ขงเบ้งเดินขึ้นเชิงเทิน เห็นผงคลีตลบ ทหารสุมาอี้ยกกันมามากมายราวคลื่นมหาสมุทร
ขงเบ้งสั่งให้เก็บธงทิวบนกำแพงเมืองลงซ่อน...สั่งไม่ให้ทหารเคลื่อนไหวหรือส่งเสียงใดๆ
จากนั้นก็ปิดประตูเมืองทั้งสี่ด่าน ให้ทหารแต่งตัวเป็นชาวบ้าน ทำทีเป็นคนกวาดถนนอยู่ที่ประตูเมืองประตูละ 20 คน
สั่งการแล้ว ขงเบ้งก็เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวเป็นเต้าหยิน ถือขลุ่ยขึ้นไปนั่งบนหอรบ มีเด็กน้อยสองคนคอยปรนนิบัติ จุดธูปหอมแล้ว ก็เป่าขลุ่ยเล่นสบายอารมณ์
หน่วยลาดตระเวนสุมาอี้ เห็นเช่นนั้นก็กลับไปรายงาน สุมาอี้ ประหลาดใจ สั่งหยุดทัพไว้ห่างเมือง แล้วควบม้าเข้าไปดูใกล้ๆ
ภาพที่สุมาอี้เห็น ขงเบ้งเป่าขลุ่ยแล้วก็วาง นั่งยิ้มกริ่ม เด็ก รับใช้คนหนึ่งถือดาบอาญาสิทธิ์ อีกคนถือแส้จามรี
ตรวจดูทุกประตูเมือง เห็นแต่คนกวาดถนนซังกะตายไม่กี่คน
สุมาอี้คิด “ชะรอยขงเบ้งจะแต่งอุบายไว้ลวงเรา” ตกใจกลัวขงเบ้งจะแต่งทหารไว้ตีตลบหลัง ก็รีบชักม้ากลับ
สุมาเจียว ผู้บุตร แย้งว่า “ขงเบ้งไม่มีทหารเหลืออยู่แล้ว แสร้งแข็งใจทำกลลวงไปอย่างนั้น” สุมาอี้ก็ไม่เชื่อ ดุด่าบุตรว่า ยังอ่อนหัดนัก แล้วสั่งถอยทหารไปทางภูเขาด้านเหนือ
ขงเบ้งเห็นดังนั้น ตบมือหัวเราะชอบใจ บรรดานายทหาร ทั้งปวงพากันพิศวง ถามว่า ไฉนกองทัพอันเกรียงไกรใหญ่ยิ่ง เข้ามาเจอคนเพียงคนเดียว จึงถอยกรูดไปเช่นนั้น
ขงเบ้งชี้แจงว่า สุมาอี้รู้ดีว่า ข้าพเจ้าเป็นคนรอบคอบ ข้าพเจ้าจึงกล้าซ้อนกลได้ โดยไม่กลัว
อ่านสามก๊กตอนขงเบ้งเป่าขลุ่ย ตอนนี้ ได้รสชาติกว่าอ่านเมื่อก่อนนะครับ
แต่จะเอาไปเทียบเคียงกับยุทธการยึดทำเนียบ ยึดทีวี...ก็ยังไม่ค่อยถนัด ไม่ค่อยแน่ใจ
ใครเป็นสุมาอี้ ใครเป็นขงเบ้ง
ดูข่าวทีวีต่อมาเห็นเค้าหน้าคนสั่ง...เปิดทำเนียบเปิดสถานีทีวี ล่อเสือให้เข้าไปติดกับ ตัวเองหนีไปอยู่กับทหารเรือแถวฝั่งธนฯ ลอยหน้าลอยตาร้องเพลง มาร์ช ไทยรวมกำลัง...เฮฮาอยู่กับนักกีฬาเหรียญโอลิมปิก
หากไม่อคติกันเกินไป ขงเบ้ง พ.ศ.นี้ ลีลาไม่เลวเกินไปนัก
ส่วนใครจะเป็นสุมาอี้ พ.ศ.ใหม่ ยอมให้ขงเบ้งหลอกเข้าไปติดคุกได้ง่ายๆ...ก็คงจะรู้กันในวันสองวันนี้.
กิเลน ประลองเชิง
บช.น. 30 ส.ค.- พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติแถลงหลังประชุมประเมินสถานการณ์ชุมนุม เผย พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ขอให้ ตร.ทำงานให้เต็มที่ ไม่ต้องหวั่นกระแสข่าว
รองโฆษก สตช.เผยว่า วันนี้จะระดมกำลังส่วนใหญ่รักษาความปลอดภัยงาน 116 วันแม่สู่วันพ่อ พร้อมย้ำการใช้แก๊สน้ำตาเมื่อวานนี้ ไม่ใช่ฝีมือของตำรวจ.
ชมรายละเอียด สำนักข่าวไทย
ตอนนี้ผมคาดการณ์ได้แล้วว่า ตำรวจจะไม่สลายม็อบ แต่ก็ยื้อกันไปอย่างนี้ เพราะตำรวจก็คงเข็ดเขี้ยวกับการเมืองเหมือนกัน เพราะตำรวจเคยโดนปลดจาการสลายม็อบ ทำให้ตำรวจไม่ค่อยกล้าที่จะทำอะไรรุนแรง
ตอนนี้เราก็ต้องทำใจว่า "ปล่อยให้พันธมิตรยึดทำเนียบไปสักสามเดือน" แล้วจะเกิดอะไรร้ายแรงจนพวกเราอยู่กันไม่ได้ นอกจาก "ความคับข้องใจ" เท่านั้น
ผมตอบตนเองว่า ไม่มีอะไรผมทำใจได้ ผมวางอุเบกขา ผมรู้่สึกสบายใจ ผมยังรู้สึกว่า รัฐบาลก็บริหารงานต่อไปได้ ไม่มีปัญหาอะไรมากมายนัก จนบริหารราชการแผ่นดินไม่ได้
วันนี้ผมไปประชุมที่โรงแรมหนึ่ง และเห็นคนกลุ่มอื่นๆ มาสัมมนาด้วย แสดงว่ากิจกรรมในประเทศทั้งหลายยังดำเนินต่ิอไปได้ ทุกคนก็มีงานของตัวเองทำ แต่มีเรื่องสนุกน่าตื่นเต้นให้คอยเช็คข่าวเท่านั้น
และมีมหรสพโรงใหญ่ที่ทำเนียบรัฐบาลให้ดูผ่านทีวีเท่านั้นเอง
ผมว่าคนที่เดือดร้อนใจว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจนเสียหายอย่างร้ายแรงนั้น ผมว่าในที่สุดแล้วนักลงทุนทั้งหลายจะปรับตัวและทำใจได้ เพราะสิ่งที่นักลงทุนต่างชาติกลัวคือ "การทำรัฐประหารของทหาร"
แต่หากไม่มีรัฐประหาร แล้ว ผมว่าที่เหลือเรื่องการก่อม็อบ เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีอะไรกระทบต่อธุรกิจนัก ประเทศเกาหลีใต้เคยมีการประท้วงกันแบบนี้ทั้งปีทั้งชาติ พอคนเริ่มชิน ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไร เพราะมนุษย์ย่อมปรับตัวเข้ารับกับสถานการณ์ใหม่ได้เสมอ
เมื่อพันธมิตรอยู่ในทำเนียบครบ 1 สัปดาห์ คนก็ทำใจได้เองว่า "ไม่เห็นมีอะไรเลย" ก็แค่เปลี่ยนที่นั่งจากสะพานมัฆวานมาทำเนียบรัฐบาลเท่านั้นเอง ไม่เห็นต้องไปวิตกกังวล หรือตื่นเต้นอะไรมากนัก
ก็ถามคำถามเดิมที่ผมเคยถามว่า "ยึดทำเนียบรัฐบาบแล้วจะเกิดอะไรขึ้น So what?
ตอนนี้ผมทำใจได้แล้ว รู้สึกสนุกสนานตื่นเต้นกับ "ละคอนโรงใหญ่" ผ่านทีวีด้วย
ได้ลุ้นทุกวันว่า พันธมิตรจะแก้เกมอย่างไร ตำรวจจะเล่นเกมอย่างไร
ผมว่าคนที่ชอบพนันบอล ถือวิกฤตเป็นโอกาส พนันเสียเลยว่า ตำรวจจะสลายม็อบเมื่อไหร่ หรือวันนี้ จำลองจะออกมาแก้เกมอะไรอีก
นี่มันละคอนแบบมินิซีรีย์ หรือ Long series ด้วยซ้ำไป
ตอนนี้ก็ดาวน์โหลดคลิปวิดีโอ ดูกันสนุกสนานไป ไม่เห็นมีอะไรเดือดร้อนมากนัก
ผมว่าข้าราชการในทำเนียบ ดูเหมือนจะดีใจที่ไม่ต้องไปทำงานเครียด ได้หยุดยาวสบายใจเฉิบ กระทรวงอื่นๆ ยังอิจฉาว่า ทำไมมันไม่มายึด กระทรวงเราบ้างว่ะ จะได้ไปเที่ยวสักสัปดาห์ ไม่ต้องทำงาน
ผมซื้อ DVD ไว้หลายเรื่อง ว่าจะดูอาทิตย์นี้ก็ไม่ได้ดูเสียที เพราะ "หนังยาวผ่านโทรทัศน์ NBT" สนุกกว่า ใช้ผู้แสดงนับหมื่นคน วิ่งไปโน้นมานี่ ใช้ตำรวจแสดงนับพันคน
สรุป สมัครก็ไม่ลาออก พันธมิตรก็ไม่เลิกชุมนุม ตำรวจก็ต้องคอยดูแล ผู้สื่อข่าวมีงานทำ
สนุกสนานดีเหมือนกัน หนังยาวครับ ก็ต้องทำใจว่ามันไม่จบง่ายๆ
หากพันธมิตรออกมาป่วนเมืองไปโน้นไปนี่อีก ออกมาป่วนเดี๋ยวเราก็ชินไปเองแหละครับ
แต่ 9 แกนนำ ออกมาเมื่อไหร่ ก็จับเมื่อนั้น (ยกเว้นตำรวจจะไม่จับเพราะกลัวใคร ก็ตามใจ บ้านเมืองจะได้วุ่นวายต่อ)
อาณาจักรแห่งนี้ไม่ใช่ของผมอยู่แล้ว ผมได้แค่อาศัยเท่านั้น มันวุ่นวาย เจ้าของเขาไม่ได้เดือดเนื้อร้อนใจ แล้วผมจะไปเดือดร้อนใจทำไม
ผมยังมีสิทธิ์อยู่บ้าง ตรงที่ยังมีการเลือกตั้ง ผมก็จะเลือกพรรคที่ผมชอบ ใครจะจูงใจอย่างไร ผมก็ไม่สนใจ
สรุป ก็อยู่ๆ กันไปครับ เราไม่ได้เสื่อมลง แต่ฝ่ายตรงข้ามเสื่อมลง
ที่จริงผู้สนับสนุนรายใหญ่ของพันธมิตรคือ คนชั้นกลางใน กทม. "บางส่วน" กับคนใต้
เศรษฐกิจ ยิ่งมีปัญหาพวกเขาก็จะยิ่งเดือดร้อนเอง เพราะมีรายได้จากเงินเดือน ส่วนข้าราชการก็ไม่่ค่อยเดือดร้อนเท่าไหร่ เพราะเงินเดือนคงที่
คนรากหญ้า ชาวอีสาน คนเหนือ ปีนี้ราคาข้าวค่อนข้างดี ก็ไม่ค่อยเดือดร้อนเท่าไหร่
ก็อยู่กันได้ดีพอสมควร
สรุปอยากวุ่นวายไม่รู้จบ ก็ตามใจ
ส่วนคนที่เกรงว่า หากปล่อยไป พวกพันธมิตร จะโจมตีว่ารัฐบาลอ่อนแอควบคุมอะไรไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้ผมเห็นว่าทุกวันนี้ พธม. มันก็หาเรื่องโจมตีได้ทุกวันอยู่แล้ว ผมไม่เห็นแคร์อะไรที่่จะโจมตีอีกเรื่อง เพราะผมไม่ฟังพันธมิิตรอยู่แล้ว อยากโจมตี อยากพูดเรื่องอะไรก็ตามใจ
ตอนยึดทำเนียบได้ ก็เห็นส่งพวกมาโพสต์ในประชาไทกันว่า "แค่ทำเนียบยังป้องกันไม่ได้ สมัครลาออกไปเถอะ"
คือ เหมือนเล่นเกมว่า "ข้าทำนี่ได้ เห็นไหม เอ็งก็ลาออกไป"
เราไม่ได้เล่นเกมด้วย ไม่เห็นจะแปลกอะไรครับ ผมก็เห็นคนในประชาไท ไม่ได้รู้สึกคล้อยตามการสร้างกระแสของ พธม. ว่า "เรายึดทำเนียบได้เห็นไหม สมัครอ่อนแอ ลาออกไป"
คือ พธม. โจมตี จนคนชินแล้ว ไม่แคร์แล้ว อยากพูดอะไรก็ตามสบายใจของท่าน
เราก็ไม่ฟังเหมือนกัน
นักวิชาการสาย พธม. จะเสนออะไรก็เสนอ เราก็ไม่ฟังพวกท่านเหมือนกัน พวกท่านชักจูงเราไม่ได้ นักวิชาการก็หมดราคาไปเอง
ก็เหมือนหมอประเวศ วะสี ที่คิดว่าตัวเองเป็น "ผู้อาวุโสของสังคม" เสนอโน้นเสนอนี่สังคมควรฟังราษฎรอาวุโสอย่างข้าพเจ้า เมื่อเข้าข้างข้าง พธม.มากๆ สุดท้ายประชาชน ก็ไม่แคร์ ไม่ฟัง ประเวศพูดอะไรก็เรื่องของประเวศ ไม่มีผลต่้อการชี้นำคนอีกแล้ว
ผมฝึก "พรหมวิหารธรรม" มาพอสมควร หากผมทำอะไรไม่ได้ ผมก็จะวางอุเบกขาเสีย มันก็ไม่ได้รู้สึกทุกข์ใจแต่อย่างใด
สรุปตอนนี้ ผมไม่ค่อยแคร์กับ พธม. หรอกครับว่าจะทำอย่างไร อยากทำอะไรก็ทำไป
ผมไม่ได้รู้สึกเบื่อด้วย มันเหมือนละคอน นึกว่ามันจบแล้วก็ยังมี ตอนต่อไปอีก
ก็ชวนให้ติดตามแหละครับ
ต้องมาคอยทา่ย จินตนาการกันว่า ตอนจบจะเป็นอย่างไร
จาก thaifreenews
การก่อความวุ่นวาย การก่อจลาจลย่อยๆ ของ พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมานี้ เป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์อย่างทีี่่ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับ นักรบผู้เจนสงครามอย่าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หรือสหายศึกอื่น ๆ เช่น พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี เป็นต้น
จุดผิดพลาดของ "ยุทธการไทยคู่ฟ้า" ของ พธม. ครั้งนี้คือ การบุกเข้ายึดสถานีโทรทัศน์ NBT ซึ่งทำให้ถูกมองว่าเป็นการคุกคามสื่ออย่างรุนแรง และภาพการบุกยึด ก็ได้เผยแพร่ออกไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว สมกับยุคนี้เป็นยุคดิจิตอล ทำให้ พธม. เสียชื่อเสียงและความนิยมอย่างรุนแรง เพราะไม่ใช่ภาพของคนที่ชุมนุมอย่างสงบ และต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ตามที่อวดอ้างแต่อย่างใด
ผมประเมินว่า แผนการขั้นต้นของ พธม. คือ การยึุด NBT เพื่อเชื่อมสัญญาณของ สถานีโทรทัศน์เคเบิ้ลทีวี ASTV เข้ากับเครือข่ายของ NBT หลังจากบุกยึดที่ทำการของ NBT ได้แล้ว
และหาก พธม.สามารถเชื่อมสัญญาณ ASTV ได้ ผมคาดว่า กำลังส่วนใหญ่ของ พธม. จะเคลื่อนเข้ามาที่ NBT ทันที เพื่อตรึงไม่ให้เจ้าหน้าที่ใช้กำลังเข้าสลาย และเมื่อ ASTV สามารถออกอากาศได้ทั่วประเทศ โดยผ่าน NBT ก็จะบีบให้รัฐบาลจำต้องใช้กำลังเข้าปราบปรามสลายม็อบ หรือยึดสถานี NBT คืน ซึ่งก็จะเข้าทางของ พธม. ทันที คือ มีการนองเลือดเกิดขึ้น ซึ่งสถานการณ์ต่้อเนื่องคือ จะมีการบีบให้นายสมัคร สุนทรเวช ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แผนการเหมือนกับพฤษภาทมิฬ 2535 เด๊ํะเลย ไม่มีความซับซ้อนอะไรทั้งสิ้น
แต่ผมคาดว่า พธม. หรือแกนนำของ พธม. คงไม่ได้ประเมินว่า ยุคนี้เป็น "ยุคดิจิตอล" การยึดอาคาีรสถานี้โทรทัศน์ได้นั้น ใช่ว่าจะสามารถเผยแพร่ภาพทีวีต่อไปได้ เพราะหากมันง่ายดายขนาดนั้น ผมว่ายุคนี้ก็ไม่ใช่ยุคดิจิตอล และเพราะยุคนี้แม้แต่จะเปิดคอมพิวเตอร์ฺเครื่องหนึ่งที่ไม่ใช่ของตนเองมันก็มีรหัส จนยากที่คนนอกจะเจาะผ่านเข้าไปได้โดยง่าย
และผมไม่เชื่อว่า พธม. จะมีมือหนึ่งทางด้านการสื่อสาร หรือเก่งแฮ้กข้อมูลอยู่ด้วย
และผมก็คิดว่า ช่วงที่คุณจักรภพ เพ็ญแข เป็น รมต.ประจำำสำนักนายกฯ คุมกรมประชาสัมพันธ์ คงได้มีการทำแผนการต่อต้านการทำรัฐประหารไว้ ดังนั้น เมื่ออาคารถูกยึด ก็สามารถแพร่ภาพต่อไปได้ โดยใช้รถโมบาย ทำให้การออกอากาศของ NBT หยุดชะงักไปไม่นานเท่านั้น
การบุกยึด NBT แม้จะทำสำเร็จ แต่ก็ไม่บรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์คือ "การเชื่อมสัญญาณ ASTV" ก็เลยทำให้การเคลื่อนไหวอื่น ๆ เช่น การยึดทำเนียบรัฐบาล การยึดกระทรวงต่างๆ ของรัฐบาล เป็นการยึดได้แค่ "ตึกเปล่า" เหมือนกับการ ยึดเมืองเปล่า" อย่างที่การทำสงครามในอดีตต่างๆ เคยมีตัวอย่างมาแล้วเท่านั้น การยึดเมืองเปล่า ตึกเปล่า ไม่ได้ทำให้ได้เปรียบในการสงครามขึ้นมาแต่อย่างใด
แต่ยุทธการไทยคู่ฟ้า ได้ผลักดันให้ แกนนำ พธม. รวมทั้งนักรบศรีวิชัยจำนวนมาก ทำผิดกฎหมายหลายมาตรา ซึ่งกลายเป็นชนัฎติดหลัง และเป็นสาเหตุให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจตีโต้ ออกหมายจับ 9 แกนนำของกลุ่มพันธมิตร ในข้อหา "เป็นกบฎในราชอาณาจักร" ได้อย่างเต็มที่
นี่คือ การก้าวพลาดอย่างสำคัญ
เพราะแม้ว่า ฝ่าย พธม. จะนำแกนนำทั้งเก้าคนไปไว้ในวงล้อมของสตรี และมีการป้องกันอย่างเต็มที่ ไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้าไปจับได้
แต่ผมไม่คิดว่านั่นจะเป็นสิ่งสำคัญอะไร เพราะ "หมายจับเก้าแกนนำในข้อหากบฎในราชอาณาจักร" ได้กลายเป็น "ยันต์กันผี" กักขังให้แกนนำพันธมิตร จำต้องกักตัวเองอยู่ในพื้นที่แคบๆ ของทำเนียบรัฐบาล ไม่มีเสรีภาพในการเคลื่อนไหวแต่อย่างใด มีสภาพเหมือนกับการถูกขังไว้ในทำเนียบนั่นเอง
จะขังไว้ที่ลาดยาว หรือขังไว้ที่ทำเนียบรัฐบาล ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก
ออกมาเมื่อไหร่ ก็โดนตะครุบตัวเมื่อนั้น ตำรวจไม่จำเป็นต้องรีบร้อนหรือบุ่มบ่ำแต่ประการใดทั้งสิ้น เพียงแต่ล้อมไว้ รอคอยโอกาส สับเปลี่ยนกำลังให้สดชื่นเข้าไว้ พธม. การ์ดตกเมื่อไหร่ ก็ชาร์จเข้าล็อกแกนนำทันที พธม. จะต้องการ์ดไว้ได้นานเท่าใด
ผมคิดว่า แม้ พธม. จะประกาศตั้งผู้นำรุ่นที่สอง ไว้สำหรับการเคลื่อนไหวต่อไป แต่ผมไม่คิดว่าการเคลื่อนไหวของ พธม. จะมีน้ำหนักอะไรอีกแล้ว การบุกยึด NBT ทำให้ พธม. เสียมวลชนไปจำนวนมาก และได้ข้อหากบฏ กลับมาแทน
ตอนนี้ 9 แกนนำ ก็มีโทษตามกฎหมายหนักถึงขึ้นประหารชีวิตทีเดียว คดีคงต่อเนื่องอีกยาวนาน ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนแต่อย่างใด
บางคนคิดว่า พธม. อาจมีแผนการที่ล้ำลึกมากกว่านี้ จนเราคาดไม่ถึงก็ได้
ผมคิดว่าพวกเราประเมินคนเหล่านี้สูงเกินไป ผมไม่คิดว่าจะมีใครที่มีความสามารถเกินมนุษย์ปกติโดยทั่วไปอย่างมาก จนสามารถวางแผนลึกลับซับซ้อน จนไม่มีใครคาดถึงได้ เพราะนั่นมันนิยายมากเกินไป
เราต้องประเมินอย่างง่ายๆ ว่า แกนนำของกลุ่ม พธม.นี้ ต่อสู้ทางการเมืองมาอย่างยาวนานแล้ว ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 เมื่อนับเวลาถึงวันบุกยึด NBT เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 ก็เป็นเวลาถึง 90 วัน
คนที่อยู่ในสนามรบเป็นเวลานาน ต้องต่อสู้ ต้องตื่นตัว ถูกกระตุ้นและเครียดอยู่ตลอดเวลา เมื่อเป็นระยะเวลาที่นานมาก ก็จะเกิดความล้า การใช้ดุลยพินิจต่างๆ ก็จะบกพร่อง และไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้อย่างรอบด้าน เพราะความล้าของสมองที่ต้องทำงานอย่างยาวนาน และตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา ต้องขึ้นเวทีปราศรัย เพื่อตรึงมวลชนตลอด ทำให้ความเครียดสะสมที่เกิดขึ้นนี้ กระทบต่อดุลยพินิจในการตัดสินใจได้
เคยมีการบันทึกไว้เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สองว่า ทหารที่ถูกล้อมหรือต้องต่อสู้อยู่ตลอดเวลาเกิน 40 วัน จะมีความเครียดทางสมอง และเกิดอาการจิตหลอนต่างๆ ขึ้น
ผมก็คิดว่า แกนนำ พธม. ก็เป็นคนธรรมดา ย่อมไม่สามารถหลีกเลี่ยงเงื่อนไขทางกายภาพเหล่านี้ได้
ผมจึงไม่ได้คิดว่าคนเหล่านี้จะมีแผนการลึกลับอะไร มากกว่าที่ผมประเมินไว้แล้ว เพราะไม้ตายจริงๆ คือ การเชิญชวนทหารออกมาทำรัฐประหาร หากทำไม่สำเร็จ ก็ไม่มีทางบรรลุเป้าหมายได้
พธม. ประเมินคนลี้ยงแมว ที่ดื้อดึงเหมือนแมว อย่างนายสมัคร สุนทรเวช ต่ำไป
แทนที่จะได้ชัยชนะอย่างที่ชอบประกาศกันจน เสพติดชัยชนะจอมปลอมเหล่านั้น ก็กลายเป็นกบฎในราชอาณาจักร ที่รออยู่ว่าเมื่อไหร่จะโดนชาร์จจับตัวไปเท่านั้น
นี่จึงกลายเป็น จุดเปลี่ยนของสงครามอย่างชัดเจน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 03.10 น.ที่ผ่านมา (27 ส.ค.) เกิดเหตุหน่วยรักษาความปลอดภัยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณแยกสวนมิสกวัน หน้า สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการสับเปลี่ยนกำลัง ทำให้หน่วยรักษาความปลอดภัยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตั้งแนวสกัดกั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ให้บุกเข้ามาภายในทำเนียบรัฐบาลได้ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 5-6 คน ผู้ได้รับความบาดเจ็บถูกนำส่งโรงพยาบาลวชิรพยาบาลเรียบร้อยแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแถวสับเปลี่ยนกำลังบริเวณ หน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่หลับนอนอยู่ริมถนนพิษณุโลก บริเวณหน้า สำนักงาน ก.พ. และบริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ต่างกรูกันเข้าไปด้านในบริเวณสนามหญ้าทำเนียบรัฐบาล ขณะนี้ หน่วยรักษาความปลอดภัยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั่งเรียงแถวหน้ากระดานเป็น 3 แถว ประมาณ จุดละ 50-60 นาย บริเวณประตูด้านข้างฝั่งตรงข้าม สำนักงาน ก.พ. และเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ขณะนี้เหตุการณ์ดังกล่าวสงบลงแล้ว ส่วนเจ้าหน้าที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
ทำเนียบฯ 27 ส.ค. - รองโฆษก สตช. ระบุการจัดการกับกลุ่มผู้ชุมนุมให้ออกจากทำเนียบฯ ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป คาดสถานการณ์คงไม่เลวร้ายไปกว่าเดิม
พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุกำลังตำรวจที่ใช้ดูแลความเรียบร้อยภายในทำเนียบรัฐบาล มีจำนวนหลายกองร้อย เนื่องจากเป็นสถานที่ราชการสำคัญ และไม่ใช่สถานที่สำหรับตั้งเวทีปราศรัย หรือใช้ในการชุมนุม ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายและขาดความชอบธรรม
ส่วนการผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมให้ออกจากทำเนียบรัฐบาล ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะใช้มาตรการทางกฎหมายขออนุมัติศาลออกหมายจับแกนนำฯ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยใช้หลักฐานตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.-26 ส.ค. ในความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง และการล้มล้างรัฐบาล ซึ่งคาดว่าสถานการณ์จะไม่เลวร้ายไปกว่าเดิม.
ชมรายละเอียด สำนักข่าวไทย
งานเสวนาเรื่อง “1 ปี รัฐธรรมนูญ 50 : การเมืองอยู่กับที่หรือถอยหลัง” เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ถือเป็นวันครบรอบ 1 ปีของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 โดยมีการแสดงทรรศนะในเชิงหลักการวิชาการของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างละเอียด และเข้มข้นด้วยแนวคิดทางวิชาการ ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 พวกเขาก็พาประเทศย้อนหลังกลับไปประมาณเมื่อปี 2400 กว่าๆ แล้วที่มันเกิดรัฐธรรมนูญ 2550 นั้น ก็เพราะว่าโลกนี้มันบังคับว่า ประเทศไทยจะปกครองโดยที่ขาดรัฐธรรมนูญนั้นมันไม่ได้ เขาก็เลยต้องมีรัฐธรรมนูญ ต้องมีเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นต้องถือว่า ก้าวหน้ากว่าเมื่อตอน 19 กันยายน แต่ว่ามันไม่ได้ก้าวหน้าขึ้นมาเป็นปี 2550 นะ แต่มันยังคงเป็นปี 2400 กว่าๆ อยู่ดี นับจาก 19 สิงหาคม วันที่มีรัฐธรรมนูญ 2550 แต่ละวันๆ มันก็ถอยหลังไป ประเทศไทยเป็นอย่างนี้นะ คือประเทศอื่นนั้นพอพรุ่งนี้มันก็ก้าวหน้าไปอีกขั้น แต่ของเรานั้นพอวันนี้อยู่ตรงนี้ พรุ่งนี้ก็ถอยหลังกลับไปอีกแล้ว เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 เขาบัญญัติไว้อย่างนั้น คือต้องการให้บ้านเมืองมันถอยหลัง ความเป็นประชาธิปไตยมันจะต้องลดน้อยลง อันนี้คือสาระของรัฐธรรมนูญที่หลายๆ คนพยายามพูดกันตลอด ทำไมผมพูดอย่างนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขาเขียนไว้เพื่อให้อำนาจจะต้องไม่อยู่ในมือของคนที่มาจากการเลือกตั้ง อำนาจที่ได้รับรากมาจากประชาชน ก็จะต้องไม่มีอยู่จริง แต่อำนาจจะต้องไปอยู่กับผู้ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทั้งมาจากข้าราชการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ฝ่ายตุลาการ ทั้งในรูปที่เป็นองค์กรที่สรรหากันมา ทั้งในรูปที่เป็น ส.ว. ที่สรรหากันมา ซึ่งก็เชื่อมโยงกันระหว่างข้าราชการที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ฝ่ายตุลาการบางส่วนกับผู้ที่มาจากการสรรหา แล้วก็ให้ผลัดกัน สรรหากันไปสรรหากันมา คือ อำนาจอยู่ในมือของกลุ่มคนเหล่านี้ เสร็จแล้วก็มามีอำนาจในการกำหนดบทบาทในความเป็นมาเป็นไปของบ้านเมือง ผ่านกติกาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และผ่านกลไกที่ถูกรัฐธรรมนูญสร้างขึ้น
อย่างเรื่องการยุบพรรคกำลังจะเกิดขึ้น อันนี้มันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่เขาเขียนไว้แล้ว เขาต้องการให้เกิดอย่างนี้ อันนี้ไม่ได้พูดว่าอยากให้เป็นแบบนี้ แต่รัฐธรรมนูญมันเขียนแบบนี้ คนบอกว่าพรรคพลังประชาชนยุบไหม ถูกเพิกถอนสิทธิไหม ผมบอกเลยว่าถูกถอนสิทธิล้านเปอร์เซ็นต์ ส่วนพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาฯ ไม่ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะรัฐธรรมนูญมันเขียนไว้แบบนี้ ล่าสุดนี้เห็นข่าวว่า พรรคบางพรรคจะไม่ถูกยุบแล้ว ทำไมถึงไม่ถูกยุบ ทำไมถึงไม่ได้ใบแดง เหตุผลเดียวกับพรรคไทยรักไทย ตอนยุบไทยรักไทยบอกว่า ถ้าไม่ยุบไทยรักไทยแล้วจะปฏิวัติไปทำไม ยึดอำนาจมาเสียแรงเปล่า อันนี้ก็เหมือนกัน อันนี้ต้องไม่ยุบพรรคที่กำลังโดนตรวจสอบอยู่ เพราะถ้ายุบพรรคนี้เขาก็ยึดอำนาจมาเสียแรงเปล่าสิ
ทั้งหมดนี้มันไม่ใช่เป็นอุบัติเหตุอะไร แต่มันเป็นเรื่องที่เขาออกแบบมาโดยเฉพาะ ต้องการให้เกิดอย่างนี้ ต้องการให้มีรัฐบาลอ่อนแอ พรรคการเมืองอ่อนแอ ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ ผู้มาจากการเลือกตั้งทั้งหลาย ทั้งในฝ่ายนิติบัญญัติ ทำอะไรไม่ได้ อยู่ในอุ้งมือของผู้ที่มาจากการสรรหาแต่งตั้ง เป็นคนกำหนดได้หมด ใครจะอยู่ ใครจะไป ใครจะเป็นรัฐบาลต่อไปได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับคนพวกนี้หมด เมืองไทยถ้าจะพัฒนาต่อไปได้ ไม่ใช่ถอยหลังไปเรื่อยๆ ก็คือ จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าเราไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ข้อเสียที่เห็นชัดๆ ก็คือ 1.บ้านเมืองจะเสียหายไปเรื่อยๆ และในที่สุดวันข้างหน้าสังคมไทย ประชาชนจะเดือดร้อนมาก แล้ววันนั้นทุกคนก็จะเข้าใจว่าต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถึงวันนั้นก็จะเกิดความขัดแย้งในสังคมยิ่งกว่าทุกวันนี้ อีกข้อหนึ่งก็คือ ถ้าเราไม่แก้ด้วยเหตุผลที่ว่า กลัวว่าพันธมิตรฯ จะมาชุมนุม แล้วจะเกิดความรุนแรง แล้วเราต้องยอมพันธมิตรฯ ก็เท่ากับว่าเราได้ยกประเทศให้กับพันธมิตรฯ ไปแล้ว ก็จะมากำหนดอะไรได้หมด ตกลงประเทศไทยจะปกครองโดยใครกันแน่ เพราะฉะนั้นถ้าเรายังยืนยันในหลักการว่า อำนาจจะต้องอยู่ที่ประชาชน บ้านเมืองต้องเป็นประชาธิปไตย ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ว่าจะแก้อย่างไรที่ไม่ไห้เกิดความรุนแรง อันนี้ต้องช่วยกันคิดนะครับ
นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่ม คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.)
ปัญหาที่ตั้งไว้ว่า การเมืองเดินหน้าหรือถอยหลังในกรอบของรัฐธรรมนูญ 2550 คือมันมีคำตอบชัดมาตั้งแต่ต้นแล้วนะครับว่า รัฐธรรมนูญ 2550 ไม่สามารถทำให้การเมืองก้าวไปข้างหน้าได้ มีแต่ทำให้การเมืองถอยหลัง ก้าวหน้าไม่ได้เลยครับ คือการรัฐประหารครั้งที่แล้ว เราต้องทำความเข้าใจนะครับว่า เป้าหมายเราอย่าไปมองแคบๆ ว่านายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ออกไปเท่านั้น เป็นเป้าหมายเบื้องต้น แต่ที่แท้จริงเขาต้องการโค่นล้มระบอบประชาธิปไตยลงไป แล้วสร้างระบอบอำมาตยาธิปไตย คณาธิปไตย และเผด็จการอำนาจนิยมขึ้นมา ถ้าเราเข้าใจชัดๆ อย่างนี้แล้ว 1 ปีที่ผ่านมา เป็น 1 ปีที่สำแดงฤทธิ์เดชของอำมาตยาธิปไตย คณาธิปไตย และเผด็จการอำนาจนิยม แต่ว่าพวกนี้เขาฉลาด นอกจากจะสร้างองค์กรต่างๆ ก็ยังสร้างกฎกติกา ให้องค์กรของเขาดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปได้ รัฐประหารได้มีประกาศฉบับที่ 19 บอกว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. ยังคงใช้งานต่อไปได้ ยกเว้นกระบวนการสรรหา เมื่อเป็นเช่นนี้ ป.ป.ช. ต้องเคารพ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 6 มาตรา 12 พูดชัดเจนว่า ต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เนื่องจากวันนั้นถึงวันนี้ไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดังนั้นพวกคุณไม่ถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมายของพวกรัฐประหารเอง ผมขอเตือนด้วยความเคารพนะครับว่า ป.ป.ช. ควรตระหนักในเรื่องนี้ และออกไปดีกว่า เหมือนอย่างที่ คุณวีระ มุสิกพงศ์ บอก ออกไปเลย เพราะว่าคุณไม่มีกฎหมายใดคุ้มครอง
แต่ท่านดูนะครับว่า ตัวอันตรายที่สุดและได้ผล บางเรื่องของเขามีปัญหา และบางเรื่องของเขาได้ผล บางเรื่องของเขาที่ได้ผลกำลังทิ่มแทงกระบวนการประชาธิปไตยของประเทศไทยให้สั่นคลอน ทำให้มีปัญหาเกิดขึ้น ทิ่มแทงอย่างไรครับ รัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ มาตรา 309 ครับ ท่านคิดดูนะครับว่า รัฐธรรมนูญทั่วโลกจะไม่มีปรากฏ ไอ้ 309 มันถอยหลังไปยิ่งกว่าสมัยกรีกเสียอีก ลำพังแค่มาตรา 309 อย่างเดียวเราก็ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว เอาเป็นว่าในโลกปัจจุบันมี 2 ทางเลือก คือ ประชาธิปไตย หรือไม่ใช่ประชาธิปไตย ไอ้พวกที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มีชื่อเล่นว่า คณาธิปไตย อำมาตยาธิปไตย เผด็จการอำนาจนิยม ไอ้เรื่อง 70:30 ที่เขาตั้ง พวกมัฆวานฯ เราต้องเรียกว่าพวก “ลัทธิมัฆวาน” เพราะฉะนั้นในวันนี้เราต้องจำกัดวงให้แคบ หัวโจกของ “ลัทธิมัฆวาน” แค่ 6 คนเขาจะบอกให้ประชาชน 63 ล้านคนได้รู้ว่า หัวโจก 6 คนกำลังสาธยาย “ลัทธิมัฆวาน” ที่ทำลายประชาธิปไตยอย่างไร ผมเชื่อว่าคน 63 ล้านคนไม่เอา “ลัทธิมัฆวาน” คอยดูแล้วกันวันที่ 26 นี้จะมีคนเข้าร่วมสักกี่คน
ผมอยากสรุปให้ฟังว่า 1 ปีที่ผ่านมา มันเป็นฤทธิ์เดชของพวกเผด็จการอำนาจนิยมของระบอบคณาธิปไตย แล้วยังส่งผลและกัดกร่อนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และตอนนี้ประชาชนยังทำอะไรไม่ได้ เพราะดูคณะกรรมการ กกต. ชุดนี้สิครับ จะมาแก้ปัญหาเรื่องใบแดง ใบเหลือง ก็เป็นเรื่องที่ยาก ผมไม่เข้าใจที่เพชรบูรณ์ 1,300,000 โดนใบเหลือง แต่โคราชกับบุรีรัมย์ เงินแค่ 200 บาท โดนใบแดง ก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจ และท่านก็ไม่ออกมาแถลง เรื่องนี้มันชัดเจนอยู่แล้วว่า 1,300,000 ไปซื้อเสียงทำไมให้ใบเหลือง ผมไม่ได้บอกว่าเป็นเรื่องที่ผิด แต่ผมไม่เข้าใจ ประชาชนเราใช้สิทธิตามมาตรา 291 เพราะมาตรา 291 อนุญาตให้ประชาชนเข้าชื่อเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ แล้วเราก็ได้มากว่า 200,000 รายชื่อ แล้วนำไปยื่นถูกต้องกว่า 70,000 รายชื่อ เพราะฉะนั้นเราทำถูกต้อง แล้วในวันจันทร์นี้พวกเราจะไปตรวจร่างฉบับสุดท้าย ตรงนี้ผมอยากให้พี่น้องประชาชนช่วยไปพูดกรอกหู ส.ส. ทั้งพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์ ช่วยกันยกมือให้ผ่านวาระที่ 1 ได้ไหมครับ ไม่ต้องมีม็อบนะครับ เจอที่ไหนพูดที่นั่น อันนี้เป็นข่าวดีของเรา ถ้าร่างที่แก้ไขโดยประชาชนมากกว่า 50,000 รายชื่อ เข้าไปสู่รัฐสภาแล้ว ถ้าเราคิดในแง่ดีพวก ส.ส. ก็มีสำนึกประชาธิปไตย แล้วเขาก็จะยกมือให้ผ่านวาระที่ 1 และเป็นโอกาสที่เราจะไปชำระสะสางพวกโสโครกทั้งหลายที่เขาทำไว้
นายคณิน บุญสุวรรณ อดีต สสร. 2540
หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ผมได้เขียนหนังสือมาเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “ฉีกรัฐธรรมนูญ ประเทศได้อะไร” เป็นการสรุปถึงระบบกฎหมายไทย ซึ่งสูญเสียดุลยภาพไปหมดหลังจากการรัฐประหารเป็นต้นมา วันนี้คือวันที่ 24 สิงหาคม 2551 เป็นวันครบรอบ 1 ปี ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกาศใช้ แทนที่จะเป็น 1 ปีแห่งการปรับปรุงสู่ความเป็นประชาธิปไตย เสรีภาพทางการเมือง และความสมานฉันท์ของคนแห่งชาติ ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้สัญญาไว้เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 แต่กลับกลายเป็น 1 ปีที่สืบทอด ที่ผมเรียกว่า มรดกทางอำนาจและเจตนารมณ์การปฏิวัติของคณะปฏิรูปการปกครองฯ เอง รวมทั้งผู้อยู่เบื้องหลัง เสียมากกว่า
ข้อ 1.ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ตามวรรคสี่ มาตรา 237 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ไม่เคยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 เพราะฉะนั้นอย่ามาอ้างว่าได้นำแบบอย่างมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 เพราะไม่เคยมีบัญญัติเอาไว้ในมาตรา 68 ตามวรรคสี่ มาตรา 237 วรรคสอง เป็นการสืบทอดเจตนารมณ์การปฏิวัติ ตามมาตรา 35 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว 2549 ที่ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะ 1 ที่มี 9 คน ซึ่งไม่ใช่ศาล และให้มีอำนาจกระทำการแทนศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกยกเลิกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้มีอำนาจในการสั่งยุบพรรคการเมือง ข้อที่ 2.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 นี่เป็นการบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อรองรับบทบัญญัติในมาตรา 35 เพื่อที่จะให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นโทษประหารชีวิตทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แก่บรรดาบุคคล หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคการเมือง ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค และที่ร้ายก็คือ เป็นการสั่งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งที่มีผลย้อนไปครับ ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อนในระบบหรือกระบวนการที่ถูกต้อง ถามว่าเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้องหรือไม่ ตอบก็คือ เป็นกระบวนการยุติธรรมซึ่งสืบทอดมาจากระบบและกลไก ซึ่งสืบทอดมาจากอำนาจรัฐประหาร ฉะนั้นจะอ้างว่าเป็นสิ่งที่ชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตยไม่ได้
ข้อต่อมา มาตรา 242 และ 243 ประกอบกับบทเฉพาะกาล มาตรา 299 วรรคหนึ่ง เป็นการสืบทอดเจตนารมณ์การปฏิวัติ ของประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 24 กันยายน 2549 ที่ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของสภา ซึ่งตั้งตามประกาศของคณะปฏิรูปฯ ฉบับดังกล่าว เป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมกับใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญใหม่ ให้เลือกกันเอง 1 คน เป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งเป็น 1 ใน 7 คณะกรรมการสรรหา ส.ว. จำนวน 74 คน ทั้งนี้ของบทเฉพาะกาลดังกล่าวเท่ากับเป็นการระงับใช้มาตรา 242 และ 243 ที่ว่าด้วยการสรรหา โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง และวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ตรวจการแผ่นดินไปโดยปริยาย ถามว่า เมื่อตอนที่เอารัฐธรรมนูญปี 2550 ไปให้ประชาชนออกเสียงลงประชามตินั้น ไปบอกกับประชาชนหรือเปล่าว่า ถ้าประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว บทเฉพาะกาล มาตรา 299 วรรคหนึ่งนั้น จะระงับใช้มาตรา 242 และมาตรา 243 ที่ประชาชนไปออกเสียงลงประชามติ คำตอบก็คือ ไม่ได้บอก
เพราะฉะนั้น จากคำตอบนี้ก็คือว่า สามารถบอกได้ว่า การเขียนบทเฉพาะกาลและไปให้อำนาจกับบางกลุ่มบางองค์กร เพื่อให้สืบทอดอำนาจต่อไป โดยจุดประสงค์อะไรก็แล้วแต่ เท่ากับเป็นการระงับใช้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ ความจงใจที่จะให้ใช้รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับในเวลาเดียวกัน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดของการจัดสร้างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ ในที่นี้ ฉบับแรกคือ การใช้ตามตัวบท 291 มาตรา ใช้บังคับกับประชาชนทุกคนทั่วประเทศ แบบลุ่มๆ ดอนๆ แต่ว่าบทเฉพาะกาล 18 มาตรา ที่บังคับใช้กับกลุ่มคนกลุ่มเดียว องค์กรต่างๆ เพียงไม่กี่องค์กร และให้อำนาจและผลประโยชน์ตกกับคนกลุ่มนี้เพียงแค่หยิบมือเดียว ฉะนั้น 1 ปีที่ผ่านมา เป็นการสืบทอดมรดกอำนาจที่เลวร้ายที่สุด
รศ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตอนนี้เหมือนสังคมไทยไม่ค่อยยึดหลักกฎหมาย ไม่ค่อยมีเหตุผล ไม่ค่อยยึดหลักการ ดูจะมีอารมณ์และเอากระแสมาตัดสิน อย่างประเด็นการสรรหา และอำนาจของ ส.ว. คือในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ องค์คณะในการสรรหา ส.ว. ที่มาจากการสรรหา ซึ่งในองค์คณะ 7 คน เอามาจากศาลถึง 3 ท่าน คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองสูงสุด และก็ศาลฎีกา คือไม่มีความจำเป็นที่จะเอาตัวผู้พิพากษามาเป็นตัวสรรหา ส.ว. เพราะว่า ส.ว. เป็นองค์กรทางการเมือง ใช้อำนาจทางการเมือง ในขณะที่ผู้พิพากษาใช้อำนาจตุลาการ เป็นการดึงเอาผู้พิพากษามาเกี่ยวข้องทางการเมือง ถามว่า ตรงนี้ประชาชนทั่วไปสามารถร้องขัดขวางดุลพินิจของ ส.ว. ได้หรือเปล่า คำตอบคือว่า ไม่ได้...พูดง่ายๆ ว่าระบบการสรรหา ส.ว. มันตัดขาดจากอำนาจของประชาชนไปเลย และการสรรหาถือเป็นที่สุด คือจะไปตรวจสอบการสรรหามิได้ ส่วนอำนาจของ กกต. อำนาจ กกต. เป็นอำนาจค่อนข้างจะเบ็ดเสร็จ ก็คืออำนาจการออกระเบียบ หรือนิติบัญญัติ อำนาจในการบริหารในการจัดการการเลือกตั้ง ก็คือฝ่ายบริหาร และอำนาจในการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ คือการให้ใบเหลือง และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง หรือการให้ใบแดง อันนี้เป็นอำนาจกึ่งตุลาการ และรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า คำวินิจฉัยของ กกต. ถือเป็นที่สุด ก็คือถูกทบทวนแก้ไขไม่ได้ ก็คือยุติตามนั้น ตรงนี้ผมคิดว่าต้องแก้ไขหรือเปล่า และทำไมถึงให้ กกต. มีอำนาจค่อนข้างมาก
ประเด็นต่อไป การวินิจฉัยการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในรัฐธรรมนูญมาตรา 82 เกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ มาตรา 82 เขาบอกว่า รัฐบาลต้องทำตามสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ปรากฏว่า ประเทศไทยเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ผมเรียกย่อว่า ICCR ในมาตรา 14 อนุมาตรา 5 บอกว่า คนทุกคนที่ต้องพิพากษาลงโทษในความผิดคดีอาญา ย่อมมีสิทธิที่จะให้คณะตุลาการระดับเหนือขึ้นไป พิจารณาทบทวนการลงโทษ และคำพิพากษา โดยเป็นไปตามกฎหมาย
ที่ยกตัวอย่าง 3 มาตรามาประกอบกันคือ มาตรา 82 ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 14 ของ ICCR และมาตรา 237 ในรัฐธรรมนูญไทย ทีนี้รัฐธรรมนูญของไทยเกี่ยวกับศาลฎีกาแผนกคดีอาญา เช่น คดีที่ดินรัชดาฯ ประเด็นของผมคือว่า รัฐธรรมนูญของไทยเนี่ย ขัดหรือแย้งกับ ICCR หรือไม่ และสิทธิในการพิจารณาคดีใหม่ เมื่อค้นพบข้อเท็จจริงใหม่ เป็นคนละสิทธิกัน เป็นคนละอย่าง ที่ผมพูดหมายความว่า แม้ไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ จำเลยก็มีสิทธิได้รับการอุทธรณ์ฎีกาจากศาลที่สูงกว่า เพราะชัดเจนว่า ถ้าพิจารณาคดีเกิน 3 เดือน อาจมีข้อผิดพลาดได้ อาจจะเกิดจากข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมาย ข้อ 14 ของ ICCR ก็เป็นหลักประกันได้ว่า จำเลยมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีจากศาลที่สูงกว่า เพื่อที่จะมาคุ้มครองในประเด็นข้อกฎหมาย หากนักการเมืองกระทำความผิดจริง ก็อาจมีการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง แต่ประเด็นของผมก็คือว่า ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งกำหนดว่า กรรมการบริหารพรรค หัวหน้าพรรคการเมือง นอกจากจะถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองแล้ว ยังต้องดำเนินคดีอาญาด้วยนะครับ หมายความว่า ให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นี้ แต่พอตอนเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก็ไม่มีคำว่าผู้นั้น นั่นคือเพิกถอนทั้งหมด ประเด็นนี้ผมว่าน่าจะมีการศึกษาพูดคุยกันในทางวิชาการว่า โทษอย่างนี้มีความเหมาะสมหรือไม่ คือจะยุบพรรคก็ยุบไป จะเพิกถอนก็ทำไป แต่ต้องไม่เหมารวมกับคนที่ไม่มีส่วนในการกระทำความผิด
ส่วนการทำหนังสือสัญญา ในมาตรา 190 ที่เกิดปัญหาอยู่ ที่อยู่ในมือของผมคือหนังสือเกี่ยวกับมาตรา 190 เป็นหนังสือเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 19 ประเทศ เกี่ยวกับการทำหนังสือสัญญา ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ.2005 ผมเทียบมาตรา 190 กับรัฐธรรมนูญของ 19 ประเทศแล้วเนี่ย ไม่พบข้อความที่บัญญัติไว้เหมือน 190 ของเราเลย ไม่มี ฉะนั้นการที่ไปควบคุมมาตรา 190 อย่างมาก ถ้าไม่แก้ 190 การทำหนังสือระหว่างประเทศของฝ่ายบริหารจะเป็นอัมพาต ผมว่ารายละเอียดของมาตรา 190 ควรนำไปใส่ในบทพระราชบัญญัติ ส่วนมาตรา 309 ซึ่งเป็นบทกฎหมายนิรโทษกรรม หลักกฎหมายนิรโทษกรรมโดยส่วนใหญ่แล้วจะนิรโทษกรรมเหตุการณ์ในอดีตที่มันเกิดขึ้น และสิ้นสุดไปแล้ว แต่มาตรา 309 หมายความว่า บรรดาการกระทำทั้งหมด ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 19 กันยายน ที่มีการตระเตรียมดำเนินการ มีการนิรโทษกรรม วันที่มีการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 นิรโทษกรรมเรื่อยมาจนกระทั่งหลังจากวันทำรัฐประหาร ก็ได้รับการนิรโทษกรรม ทันทีที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวได้ประกาศใช้ หลังจากที่รัฐธรรมนูญอันนี้ประกาศใช้เนี่ย บรรดาการกระทำหลังจากนี้จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรม มันสิ้นสุดแค่ตรงนั้น แต่ศาลสูงก็บอกว่า ก่อนการทำรัฐประหาร เรื่อยมาจนถึงวันทำรัฐประหาร เรื่อยมาจนถึงหลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อเดือนสิงหาคม เรื่อยมาจนถึงวันนี้ และก็จะสืบทอดไปเรื่อยๆ จนถึงอนาคต ก็ยังไม่ได้รับการนิรโทษกรรม ตรงนี้ผมมองว่ามันเป็นการบิดเบือนหลักกฎหมายนิรโทษกรรม แล้วขอบเขตของมันก็ไม่มีใครทราบว่าจะใช้กับอะไร สรุปมาตรา 309 นี่ใช้กับใคร และเรื่องอะไรแน่ หรือว่าใช้กับทุกเรื่อง ทุกองค์กรหรือเปล่า หรือองค์กรทั้งหลายที่ คมช. แต่งตั้ง ขอบเขตอยู่ตรงไหน และคุ้มครองใครบ้าง สืบเนื่องเวลาแค่ไหน ถึงจะยุติในการคุ้มครอง...
ผมไม่กล้าอวดตัวว่าเป็นคนรักทักษิณ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่คนรักทักษิณทั้งหลาย กำลังทำให้สถานการณ์ของทักษิณ ย่ำแย่ลงเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้
คนรักทักษิณ ที่อยู่ในพรรคพลังประชาชน แตกแยกกันเป็นหลายก๊ก หลายเหล่า ก็เพราะพวกเขารักทักษิณ
คนรักทักษิณ ที่อยู่ในรัฐบาล พูดจากันคนละภาษา มองหน้ากันไม่ติด สบตากันไม่สนิทใจ ก็เพราะพวกเขารักทักษิณ
คนรักทักษิณ ที่มีอำนาจอยู่ในมือ มีสถานะทางการเมือง กำลังแสดงความรักที่มีต่อทักษิณ อย่างเอาเป็นเอาตาย
คนรักทักษิณ ที่พลาดหวังจากตำแหน่ง ไม่สมประโยชน์ทางการเมือง อกหักจากการปรับคณะรัฐมนตรี กำลังแสดงความรักที่มีต่อทักษิณ อย่างคลุ้มคลั่ง
คนรักทักษิณ เหล่านี้ มีความรักต่อทักษิณ เพราะพวกเขาล้วนแต่รักตัวเอง
คนรักทักษิณ จำพวกนี้ แสดงความห่วงใยต่อทักษิณ เพราะพวกเขาห่วงใยอนาคตของตัวเอง
คนรักทักษิณ เหล่านี้ ปรารถนาให้ทักษิณ อยู่รอดปลอดภัย เพราะพวกเขาปรารถนาที่จะพึ่งใบบุญของทักษิณ ยังหวังที่จะหาประโยชน์จาก "ทักษิณ" มิใช่ทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่ทักษิณ
เพราะคนรักทักษิณ จำนวนมากเป็นกันเช่นนี้
ผมจึงไม่กล้าอวดตัวว่าผมเป็นคนรักทักษิณ
เนื่องจากความรักที่มีต่อทักษิณของผม...
เป็นความรักที่ไม่ได้หวังผลตอบแทนเหมือนพวกเขา
เป็นความรักที่ไม่ได้คำนึงตัวเองเหมือนพวกเขา
เป็นความรักที่ไม่ต้องการตำแหน่งทางการเมือง
เป็นความรักที่ไม่เคยทำให้พวกเดียวกันต้องแตกแยก และ ต้องแตกหัก
เป็นความรักที่ไม่เคยเสียใจและอาละวาดจนขาดสติเมื่อพบกับความผิดหวัง
คนรักทักษิณ อย่าง ศักดา คงเพชร และ ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ที่ถ่มน้ำลายใส่รัฐบาล และ พรรคพลังประชาชน จนเหม็นโฉ่ไปทั่วบ้านทั่วเมือง เพียงเพราะอกหักจากการไม่ได้เก้าอี้รัฐมนตรี มารองก้น
คนรักทักษิณ อย่าง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และ เฉลิม อยู่บำรุง ที่อยู่เบื้องหลังการตอกลิ่มใส่พรรคพลังประชาชน จนแตกแยกเป็นหลายเสี่ยง เพียงเพราะผิดหวังจากการปรับคณะรัฐมนตรี ที่ไม่ได้เก้าอี้รัฐมนตรีสมดังใจ
คนรักทักษิณ อย่าง ยงยุทธ ติยะไพรัช และ พงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล ที่จุดไฟเผาพรรคพลังประชาชน เพื่อกวาดต้อนสมาชิก ไปอยู่พรรคเพื่อไทย ส่งผลให้พรรคพลังประชาชน กลายเป็นอกแตก เช่นทุกวันนี้ เพียงเพราะไม่สามารถแทรกตัวเข้าไปชี้นิ้ว มีอิทธิพลเหนือรัฐบาล ได้
คนรักทักษิณ อย่าง สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และ เนวิน ชิดชอบ ที่ไม่ยอมปริปากพูด ไม่ยอมไขปริศนา "จริงคือลวง" และ "ลวงคือจริง" อะไรจริง และ อะไรลวง แต่กลับแบกรับทุกคำกล่าวหา ไม่ว่าหนักหนาสาหัสแค่ไหนไว้กับตัว จนกระทั่งความสัตย์ดูขมุกขมัว ในขณะที่ความน่ากลัวคืบคลานเข้าครอบคลุม
จริงอยู่ การแสดงความรักที่มีต่อทักษิณ แสดงออกได้หลายแบบ
ทุกคน ทุกชื่อที่เอ่ยถึง ต่างยืนยันว่าทำไปด้วยความรักที่มีต่อทักษิณ
แต่..ความรักที่แท้จริง ไม่น่าจะเป็นความรักที่เป้าประสงค์เพื่อการทำลายล้าง และไม่น่าจะเป็นความรักที่ทำให้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต้องขาดสะบั้น ความสัมพันธ์อันดีต้องพังทลาย กระทั่งเป้าหมายของทักษิณ ต้องสูญสลายไปด้วย
ความรักที่มีเต็มไปด้วยการชิงดีชิงเด่น ล้นพ้นด้วยความอิจฉาริษยา อบอวลด้วยความอาฆาตแค้น และผูกพยาบาทต่อกันเพราะผิดหวัง ไม่สมประโยชน์ส่วนตน ไม่น่าจะเป็นความรักอันบริสุทธิ์ และ ไม่น่าจะเป็นความรักที่มีพลังมากพอที่จะโอบอุ้มคนที่เรารัก ให้รอดพ้นปลอดภัยจากภัยอันตรายที่กำลังรุกล้ำกล้ำกรายใกล้ตัวทุกวินาที
คงเป็นเพราะผมไม่ลึกซึ้งกับความรักแบบที่พวกเขาเป็นกันและเป็นอยู่
ผมจึงไม่รู้ว่า ทำไมพวกเขารักทักษิณ
ผมจึงไม่รู้ว่า ทำไมพวกเขาต้องแสดงออกว่าพวกเขารักทักษิณ อย่างบ้าคลั่ง และต้องทำลายล้างอีกฝ่ายหนึ่งที่รักทักษิณ เหมือนพวกเขา เพียงเพราะการแสดงออกซึ่งความรักแตกต่างกัน
ผมจึงไม่รู้ว่า ทำไมพวกเขาต้องทำลายรัฐบาลและพรรคการเมือง ที่ทักษิณ มีส่วนร่วมสร้าง
ผมจึงไม่รู้ว่า ทำไมพวกเขาจึงต้องโค่นล้มนายกรัฐมนตรีที่หวังดีและปกป้องทักษิณ
ผมจึงไม่รู้ว่า ทำไมพวกเขาจึงต้องขับไล่หัวหน้าพรรคพลังประชาชน คนที่ทักษิณขอร้องให้มาเป็นผู้ถือธงนำอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่ยังรวมใจอยู่ด้วยกัน
ผมจึงไม่รู้ว่า ทำไมพวกเขาจึงต้องทำให้ประชาชนที่ลงคะแนนให้พรรคพลังประชาชน และ สร้างรัฐบาลนี้ขึ้นมา ต้องอยู่ในภาวะสับสัน อึมครึม และต้องลำบากใจที่จะเลือกข้างใดข้างหนึ่งระหว่างคนรักทักษิณ ด้วยกันเอง
ผมจึงไม่รู้ว่าความรักที่พวกเขาที่มีต่อทักษิณ เป็นความรักแบบใด
ผมจึงไม่รู้ว่าเหตุใด พวกเขายิ่งรักทักษิณ ทักษิณยิ่งทุกข์ร้อนมากขึ้น
ผมเพียงแต่อยากรู้ว่าในขณะที่พวกเขารักทักษิณ ตามแบบฉบับของเขา นั้น ..
ทักษิณ จะรู้ไหมว่าทำไมพวกเขาถึงรักทักษิณ
ผมเพียงแต่อยากรู้ว่าทำไมพวกเขาต้องบีบบังคับให้ทักษิณ เลือกหนึ่ง และ เลิกหนึ่ง
ผมเพียงแต่อยากรู้ว่าทำไมพวกเขาต้องการเป็นหนึ่งที่ได้รับการประกาศจากทักษิณว่า"แท้" เพื่อที่จะตราหน้าอีกฝ่ายว่า "เทียม"
ผมเพียงแต่อยากรู้ว่าทักษิณ จะได้ประโยชน์อะไรจากความแตกแยกของพรรคพลังประชาชน
ผมเพียงแต่อยากรู้ว่าทักษิณ จะได้ประโยชน์อะไรจากการย่อยสลายความเป็นเอกภาพของคนรักทักษิณ ที่เคยรวมกันเป็นหนึ่ง จนแตกสลายเป็นหลายก๊กหลายเหล่า และ ทุกก๊ก ทุกเหล่ากำลังเข่นฆ่ากันเอง เพื่อชิงความเป็นคนรักทักษิณเพียงหนึ่งเดียว ในสายตาของประชาชน
ผมเพียงแต่อยากรู้ว่าทักษิณ จะได้ประโยชน์อะไร จากการทำลายพรรคการเมืองหนึ่งที่เข้มแข็ง แล้วไปสร้างพรรคการเมืองใหม่ที่อ่อนแอกว่า
ผมเพียงแต่อยากรู้ว่าทักษิณ จะได้ประโยชน์อะไรจากการบอกว่ากลุ่มหนึ่ง "แท้" และ กลุ่มหนึ่ง "เทียม" ในขณะที่ทั้งสองกลุ่มต่างเป็นคนรักทักษิณ และมารวมตัวกันเพราะความรักทักษิณ เป็นแม่เหล็กดูดให้มารวมกัน
ผมเพียงแต่อยากรู้ว่าความรักที่ที่พวกเขามีต่อทักษิณ เป็นความรักแบบใด
รักทักษิณ เพื่อตัวเอง หรือ รักทักษิณ เพื่อทักษิณ
คงเป็นเพราะผมไม่ลึกซึ้งกับความรักแบบที่พวกเขาเป็นกันและเป็นอยู่
ผมจึงไม่กล้าอวดอ้างว่าผมเป็นคนรักทักษิณ ทั้งๆ ที่ ผมแน่ใจว่าผมเป็นคนรักทักษิณ
ผมไม่กล้ากระทั่งจะเงยหน้าสบตาพวกเขา ที่กำลังแสดงความรักทักษิณ ผ่านจอโทรทัศน์
เพราะผมกลัวว่าผมจะเห็น "ความไม่จริง" ที่ซ่อนเร้นอยู่ในแววตาของคนรักทักษิณ ของพวกเขา
นี่คงเป็นครั้งแรกกระมังที่ ผมไม่กล้าบอกว่าผมเป็นคนรักทักษิณ
แล้วคุณล่ะ ... คุณรักทักษิณแบบไหน
แสดงความรักทักษิณ ของคุณ ด้วยการสร้างสิ่งดีๆ ที่เป็นประโยชน์ให้ทักษิณ แทนการทำลายรัฐบาล และ พรรคการเมือง ที่เกิดขึ้นมาจากพลังแห่งความรักของคนรักทักษิณ ตัวจริง อันได้แก่ ประชาชนมากกว่าสิบสี่ล้านคนทั่วประเทศ ได้หรือไม่
อย่าลืมว่า ความรักที่มีต่อทักษิณ จึงทำให้เกิดพรรคพลังประชาชน ขึ้นมา
อย่าลืมว่า ความรักที่มีต่อทักษิณ จึงทำให้ สมัคร สุนทรเวช รับเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ตามคำร้องขอของทักษิณ
อย่าลืมว่า ความรักที่มีต่อทักษิณ จึงทำให้พรรคพลังประชาชน ชนะเลือกตั้ง ได้เป็นรัฐบาล
ดังนั้น พลังประชาชน ก็คือ พลังแห่งความรักของประชาชนที่มีต่อทักษิณ นั่นเอง
การทำลายพลังประชาชน ก็คือ การทำลายความรักที่ประชาชนมีต่อทักษิณ
ผมจึงไม่อยากเชื่อว่า บัดนี้ ผู้คนที่กำลังทำลายพรรคพลังประชาชน พรรคการเมืองที่ประชาชนสร้างขึ้นมาด้วยความรักที่มีต่อทักษิณ ก็คือ ผู้คนที่ประกาศว่าเป็นคนรักทักษิณ นั่นเอง
ผมไม่กล้าอวดตัวว่าผมเป็นคนรักทักษิณ แต่ผมจะไม่เลิกรักทักษิณ ตลอดไป
ประดาบ
จาก thai-grassroots
ชั่วโมงนี้คงจะเชยแหลกเลย ถ้าไม่ได้ร่วมสดุดี 4 ฮีโร่โอลิมปิกของไทย 2 เหรียญทอง จาก “ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล และสมจิตร จงจอหอ” กับอีก 2 เหรียญเงินจาก “บุตรี เผือดผ่อง และมนัส บุญจำนงค์” วีรบุรุษและวีรสตรี “ของจริง” ที่ไม่ได้ยกตนแอบอ้าง ในฐานะที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติ นำความสุขมาให้ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ และก็สมกับที่เหนื่อยยากลำบากอดทนฝึกฝนกันมา ตัวเลขเงินรางวัลอัดฉีดจากรัฐบาลและสปอนเซอร์ที่จะจ่ายให้เหรียญทองคนละกว่า 20 ล้านบาท เหรียญเงินอีกคนละ 10 กว่าล้านบาท ไม่นับรายได้จากการโชว์ตัวตามรายการต่างๆ นับเงินกันไม่หวาดไม่ไหว ชีวิตพลิกผันเพียงชั่วข้ามคืน แต่ที่ผ่านปีที่ 2 ย่างเข้าปีที่ 3 แล้ว ชะตาชีวิตภายหลังถูกยึดอำนาจก็ยังพลิกไปพลิกมา กับวิบากกรรมของคนชื่อ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ความรวยเป็นภัยให้ต้องเจออาเพศ ล่าสุด สื่อท้องถิ่นเบอร์มิวดา รายงานว่า มีผู้พบเห็นทีมงานด้านกฎหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งมีทั้งชาวอังกฤษ และชาวไทย ราว 2-3 คน ไปปรากฏตัวที่รีสอร์ตชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงแฮมิลตัน เมืองหลวงของหมู่เกาะเบอร์มิวดา คาดว่า กำลังมองหาลู่ทางในการซื้อบ้านพัก หรืออสังหาริมทรัพย์ให้กับอดีตนายกฯของไทย ภายหลังจากที่นายเอวาร์ท เฟรเดอริค บราวน์ จูเนียร์ นายกรัฐมนตรีของเบอร์มิวดา ประเทศหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ เปิดเผยว่า มีความยินดี หาก พ.ต.ท.ทักษิณจะมาขอลี้ภัยที่เบอร์มิวดา พูดกันตรงๆเลยว่า ส่วนตัวแล้วมีความชื่นชมอดีตนายกฯของไทยเป็นอย่างมาก จากผลงานในการบริหารประเทศไทย นอกจากนั้น ยังเห็นใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องถูกโค่นอำนาจ และต้อง คดีความต่างๆ มากมาย เข้าใจดีว่า ความรู้สึกของ พ.ต.ท.ทักษิณในเวลานี้จะเป็นเช่นไร เนื่องจากครอบครัวของเขาก็ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมเช่นเดียวกัน อ้าแขนรับ แทบจะอุ้มกันเลย ท่ามกลางกระแสกดดัน พร้อมๆกับข่าว “ทักษิณ” ตัดสินใจถอนสมอจากเก้าอี้ประธานสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ หลบแรงเสียดทานในฐานะผู้ต้องหาหนีศาลไทย ที่กำลังลุ้น “ลี้ภัยการเมือง” ในเมืองผู้ดีอังกฤษ คิวนี้ถือว่า “อุ่นใจ” พ.ต.ท.ทักษิณมีที่หลบภัยสำรองไว้อีกแห่งแน่ๆ แต่ที่กำลังยื้อยุดฉุดกระชาก กับค่ายสำรองในนามพรรคเพื่อไทย ภายใต้การขยับออกตัวก่อนของ “เฮียเพ้ง” พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย สายตรงลอนดอน ส่งเด็กในสังกัดย้ายไปปักหลักตั้งแต่ไก่โห่ ชิงธงนำให้กลุ่ม “เลือดแท้” ขณะที่ “แก๊งเพื่อนเนวิน” ก็ปล่อยชื่อของนายสุจริต ปัจฉิมนันท์ อดีต ปลัดกระทรวงมหาดไทย สายตรงพ่อมดเขมร มาเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แย่งเป็นผู้สืบทอดมรดก “นายใหญ่” ไม่รู้ใครได้ใจ “ทักษิณ” มากกว่า แต่ที่แน่ๆโดยภาวะทางใจและเงื่อนไขทางการเมือง กลุ่ม “เลือดแท้” กับ “เนวิน” อยู่ร่วมชายคาเดียวกันไม่ได้ ต้องแยกกันอยู่คนละพรรค เครือข่าย “เลือดแท้” ภายใต้แกนหลักอย่าง “เจ๊แดง” นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ นายยงยุทธ ติยะไพรัช นายวราเทพ รัตนากร คุมเครือข่ายภาคเหนือ “เจ๊หน่อย” คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ รวมทีมกรุงเทพฯ และปริมณฑล “เฮียเพ้ง” นายพงษ์ศักดิ์ “ขุนค้อน” นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รวบรวมกลุ่มดาวกระจาย นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รับผิดชอบภาคกลาง ฯลฯ แยกไปวงหนึ่งต่างหากจากทีมฮาร์ดคอร์ของกลุ่ม “เพื่อนเนวิน” แต่ทั้งหมดทั้งปวง สะท้อนจากผลสำรวจของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้าโพล) ต่อกรณีอดีตนายกฯทักษิณ หลบหนีคดีออก นอกประเทศ พบว่าประชาชน 46 เปอร์เซ็นต์ ไม่เชื่อว่ามีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมตามที่ “ทักษิณ” กล่าวอ้าง ขณะที่ร้อยละ 38.2 เชื่อตามคำกล่าวอ้าง ที่น่าสนใจกว่านั้น โดยผลสำรวจมีความสอดคล้องกันในเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เชื่อตามคำกล่าวอ้างของ “ทักษิณ” มากกว่าไม่เชื่อ นี่แหละประเด็น เพราะมันสะท้อนว่า อีสานฐานใหญ่ยังเป็น “ของตาย” ที่ใส่แต้มล่วงหน้าได้ ไม่ว่าจะ “เสกใบขาว” อุ้มคู่แข่งให้พ้นโทษใบแดง หลุดคดียุบพรรค ก็ไม่มีผล และนี่คือคำตอบที่ “เลือดแท้” กับ “เนวิน” ต้องแย่งกันเป็นผู้จัดการมรดก “นายใหญ่” ในเมื่อชื่อ “ทักษิณ” ตีกินได้อีกยาว.
ทีมข่าวการเมือง รายงาน
วันที่ 24 ส.ค. เมื่อเวลา 10.00 น. ที่พรรคพลังประชาชน ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน แถลงว่า จากที่ได้ติดตามข่าวที่ผ่านมาเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ ได้พูดถึงพรรคพลังประชาชนในแง่มุมต่างๆ วันนี้จึงต้องพูดเพื่อส่งผ่านไปยังพรรคประชาธิปัตย์ให้เข้าใจกรณีต่างๆที่คลาดเคลื่อน ขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์กำลังเผชิญกับการตรวจสอบของ กกต.ที่อนุกรรมการสอบสวนได้ตัดสินให้ ใบขาวกับนายวิฑูรย์ นามบุตร ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ขอแสดงความยินดี แต่มีคำถามคาใจของประชาชนเป็นอย่างมากว่า ข้อร้องเรียนต่อพรรคประชาธิปัตย์จะผ่านไปได้ด้วยดี สามารถเอาตัวรอดทุกครั้ง คำถามจึงอยู่ที่ว่าทำไมพรรคประชาธิปัตย์ถึงเก่งกล้า เอาตัวรอดได้ตลอด และช่วงหลัง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาพูดชี้นำตลอดว่าพรรคจะรอด โดยนายสุเทพพูดครั้งใดจะเป็นการฟันธงได้ตลอด จึงขอให้ สังคมช่วยกันคิดว่าทำไมพรรคประชาธิปัตย์และนายสุเทพจึงสามารถฟันฝ่าและเอาตัวรอดมาได้ทุกครั้งที่มีการตรวจสอบพรรคประชาธิปัตย์ เย้ยผวาแม้แต่เงาของ “ทักษิณ” ร.ท.กุเทพยังกล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่าต่อสู้และระดมทุนเพื่อต่อสู้กับพรรคนายทุนที่อ้างถึงซึ่งไม่รู้ว่าหมายถึงใคร ทั้งที่ก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์เคยระดมทุนได้มา 600 ล้านบาท ไม่รู้ว่าเวลาไม่ถึงปีทำไมเงินถึงหมดเร็วขนาดนั้น เพราะพรรคประชาธิปัตย์ย้ำมาตลอดว่าไม่เคยซื้อเสียง ดังนั้น เห็นว่ามีการแสดงความหวาดผวา กลัวแม้กระทั่งเงาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อย่างไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่าแผนที่ทำมาสมัย คมช.ยึดอำนาจ พรรคประชาธิปัตย์กับกลุ่มพันธมิตรฯ วันนี้ยังสู้กับคนที่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ แม้ จะออกไปอยู่นอกประเทศ เอาตัวรอดยังไม่ได้ พรรคประชาธิปัตย์ยังเล่นการเมืองที่มีกรงขังตัวเอง และการที่บอกว่าจะมีการระดมคนมาปั่นป่วนนั้น ยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่เคยมีแผนระดมคนมาสร้างความปั่นป่วน เป็นความเพ้อฝันของพรรคประชาธิปัตย์ พ.ต.ท.ทักษิณไม่เคยใช้วิธีการทำร้ายบ้านเมือง และการที่จะไปปลุกปั่นคนมาสร้างความวุ่นวายก็ไม่ใช่วิธีของพรรคพลังประชาชน แต่แปลกใจว่าสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์พูดถึงเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ แต่สิ่งที่มีอยู่ เช่น กลุ่มพันธมิตรฯที่ยุยงคนออกมาชุมนุมกลับไม่พูดถึง ย้ำ พปช.ส่วนใหญ่ยังไม่คิดย้ายพรรค ผู้สื่อข่าวถามถึงการเตรียมจัดทำนโยบายการตั้งพรรคเพื่อไทย และปรากฏชื่อนายสุจริต ปัจฉิมนันท์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าพรรค ร.ท.กุเทพ ตอบว่า ถ้าเล่นพรรคใหม่ก็เล่นไป บอกไปว่าใครเป็นใครก็บอก แต่พวกเราไม่เกี่ยวข้อง ไม่รู้เรื่องด้วย ถ้าจะถาม ส.ส. พวกเรามีพรรคเดียวคือพรรคพลังประชาชน ส่วนใครจะพูดถึงพรรคเพื่อไทยอย่างไรนั้น เป็นเรื่องของคนอื่นทั้งสิ้น เพราะยังไม่ได้ย้ายไปอยู่พรรคไหน วันนี้เรามีหัวหน้าชื่อสมัคร สุนทรเวช เลขาธิการพรรคชื่อ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกชื่อ ร.ท.กุเทพ คนอื่นจะไปตั้งพรรคแล้ว ไปตีฆ้องร้องป่าวว่าพลังประชาชนไปอยู่ด้วยก็เป็นสิทธิ แต่ถึงเวลาพวกเราจะไปหรือไม่ ยังไม่ได้ตัดสินใจในตอนนี้ เพราะยังไม่รู้ว่าพรรคจะถูกยุบหรือไม่ ต้องสู้คดีอีกยาว และยังไม่เคยบอกว่าได้ข้อยุติว่าจะไปพรรคเพื่อไทย บอกแต่เพียงว่า ถ้าถูกยุบ การไปอยู่พรรคไหนต้องไปด้วยกันอย่างเหนียวแน่น ถ้าจะเป็นพรรคเพื่อไทยนั้น เพราะมีชื่อสอดคล้องกับพลังประชาชน อ่านรายละเอียดต่อ ไทยรัฐ
แม้จะคาดเดาตัดสินกันไปต่างๆ นานา แต่สุดท้ายก็ไม่วายอยากลุ้นผลการลงมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะส่งเรื่องยุบพรรคพลังประชาชนหรือไม่ในวันที่ 2 ก.ย. อยู่ดี เพราะนี่คืออีกหนึ่งวันที่ต้องบันทึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์
การเมือง ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง หากต้องมีพรรคใดพรรคหนึ่งถูกยุบ! โดยเฉพาะพรรคใหญ่สายตรงอำนาจเก่าที่กลายร่างจาก “ไทยรักไทย” มาเป็น “พลังประชาชน” ซึ่งล่าสุด พลังประชาชนแทบไม่ขอรอลุ้นจะถูกยุบหรือไม่ เพราะมั่นใจชะตาไม่รอดจึงเตรียมย้ายรังใหม่กันอย่างเอิกเกริก ประหนึ่งมั่นใจว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุบพรรคภาค 2 แน่หากย้อนกลับไปดูสถานการณ์การเมืองครั้งยุบพรรคการเมืองภาค 1 ซึ่งมีพรรคถึง 5 พรรคการเมืองที่ถูกเสนอให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค ประกอบด้วย พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรค
พัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย2 พรรคการเมืองใหญ่ กับ 3 พรรคการเมืองเล็กวันที่ 30 พ.ค.2550 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชี้ชะตาวินิจฉัยยุบเรียบ 4 พรรคการเมือง ยกเว้น พรรคประชาธิปัตย์ รอดเพียงลำพังณ วันนั้นต้องถือว่าพรรคที่เป็นตัวแปรสำคัญมีเพียง 2 พรรคการเมืองใหญ่ คือ ไทยรักไทยกับประชาธิปัตย์ ซึ่งงานนี้รอด 1 ตาย 1 แต่พรรคใหญ่แค่พรรคเดียว ยังทำการเมืองไทยเปลี่ยน ขณะที่การยุบพรรครอบ 2 ดูยังไงเงื่อนไขความวุ่นวายที่ต้องแก้โจทย์นั้นยากกว่าอดีตแน่นอน ทั้งจำนวนพรรคที่มีมากถึง 4 พรรค ประกอบด้วย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคเพื่อแผ่นดิน
(พรรคชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตย อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของอัยการสูงสุดจะเสนอสำนวนยุบพรรคให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาหรือไม่ หลังก่อนหน้านี้ได้นำสำนวนกลับมารวบรวมใหม่โดยคณะทำงานร่วมระหว่าง กกต. และอัยการสูงสุด ขณะที่พรรคพลังประชาชนรอลงมติโดย กกต. ในวันที่ 2 ก.ย. ว่า ส่งเรื่องยุบพรรคให้อัยการสูงสุดหรือไม่ ส่วนพรรคเพื่อแผ่นดินอยู่ระหว่างดำเนินการทำสำนวนส่งให้ศาลฎีกา แผนกคดีเลือกตั้ง ชี้ขาดการให้ใบแดงเช่นเดียวกับกรณีใบแดงของนายยงยุทธ)
แม้จำนวนพรรคน้อยกว่าภาคแรกไป 1 แต่อย่าลืมว่าแต่ละพรรคที่เข้าชิงครั้งนี้ ล้วนอยู่ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสิ้น! แถมยังมีพรรคที่ถือเป็นสถาบันการเมืองอย่างพรรคชาติไทยของ “ผู้เฒ่าการเมือง” นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย รวมอยู่ด้วยคดียุบพรรคครั้งนี้จึงเล็กไม่ได้แล้ว ยิ่งเมื่อพิจารณาการทำหน้าที่ของ กกต.ชุดปัจจุบัน ภายใต้กฎหมายใหม่ที่ทั้งเข้มทั้งงวดกว่าอดีต โดยเฉพาะมาตราสังหารอย่าง 237 ของรัฐธรรมนูญ และมาตรา 103 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. เมื่อนำมาประกอบกับกรณีพลังประชาชนที่ศาลฎีกา แผนกคดีเลือกตั้ง พิพากษาว่าการกระทำของ นายยงยุทธ
ติยะไพรัช อดีต ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน มีความสัมพันธ์กับพรรคและให้ประโยชน์กับพรรคชัดเจน ดังนั้น การกระทำดังกล่าวพรรคต้องร่วมรับผิดชอบ
น่าจับตาสุดอีกประเด็น คือ ทีท่า กกต. ตั้งแต่ต้นกระทั่งปัจจุบัน มีทิศทางเดียวกันตลอดว่าไม่มีสองมาตรฐาน ดูตัวอย่างการตัดสินจากพรรคชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตยได้ จับกระแสยุบพรรคภาค 2 บรรดานักฟันธงทั้งหลายจึงเห็นว่า น่าจะโดนกันถ้วนหน้า ขณะที่สถานการณ์ของนักการเมืองเดาว่าอาจไม่เดือดร้อนมากมายอย่างที่คิด โดยเฉพาะพรรคใหญ่อย่างพรรคพลังประชาชน ซึ่งแสดงตนไม่สนมติ กกต. เพราะได้วางแผนเตรียมการล่วงหน้าเกินผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปแล้วด้วยซ้ำ
คิดการรอบคอบ ข้ามช็อตไปกันขนาดนี้ เพื่อเหตุผลเดียว คือ ป้องกันการเมืองสะดุด อย่างไรก็ตาม ล่าสุด มีเพียงพรรคพลังประชาชนที่ออกตัวเคลื่อนทัพหน้าไปก่อน ขณะที่พรรคขนาดย่อมลงมายังนิ่ง แต่คงเห็นอาการขยับอย่างชัดเจนมากขึ้นเมื่อสถานการณ์จวนตัวกว่านี้สังเกตจากคำเปิดใจของนายบรรหารเนื่องในวันคล้ายวันเกิดครบ 76 ปี วันที่ 19 ส.ค. เมื่อมีคำถามถึงการเตรียมรับมือยุบพรรคเช่นเดียวกับพลังประชาชนไว้หรือไม่“ยัง แต่ตรงนี้ถือเป็นวิถีทางที่ถูกต้องเขาต้องเตรียมการไว้ก่อน ซึ่งพรรคชาติไทยคงต้องเริ่มคิดว่าต้องทำอย่างไร มันหนีไม่พ้นหากมีการถูกยุบ ในรัฐธรรมนูญเขาก็ให้ย้ายก็คงต้องหาที่ไป”
และเมื่อถามว่า ได้เตรียมพรรคสำรองไว้หรือให้ย้ายไปสังกัดพรรคอื่น
“ยังไม่เริ่มคิด ผมก็ยังไม่รู้ แต่อะไรที่ดีกว่าก็คงจะเอาอย่างนั้น”ถือว่าเริ่มตื่นตัวมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ส่วนเมื่อถึงสถานการณ์จริงแล้วจะลุกขึ้นสู้หรือไม่ หรือเลือกสู้แบบไหน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งเมื่ออย่างน้อยการที่พรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นพรรคใหญ่นำร่องเตรียมการไปก่อน ก็ทำให้พรรคขนาดย่อมลงไปนอนใจได้บ้างว่า สุดท้ายหากไม่มีตัวเลือกจริง การย้ายสังกัดพรรคไปอยู่ร่วมกันก็เป็นโอกาสที่รัฐธรรมนูญเปิดทางรอดไว้ให้ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็น 1 ในกรรมการบริหารพรรค ไม่ถูกตัดสิทธิการเมือง 5 ปี สามารถไปเริ่มชีวิตใหม่โดยย้ายสังกัดภายใน 60 วัน หลังต้องคำพรรคถูกยุบพรรค
“ขอบใจที่เหน็ดเหนื่อยเรื่องการเงินซึ่งเป็นงานหนัก และสามารถปฏิบัติเรื่องการเงินเป็นที่เรียบร้อยไม่ให้บ้านเมืองล่มจม แม้ตอนนี้ใกล้ล่มจมแล้ว ซึ่งอาจใช้เงินไม่ระวัง เพราะใช้เงินไม่ระวัง”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ธนาคารชาติ
ใกล้ล่มจมแล้ว..ที่พระองค์ตรัสนั้น..คงไม่มีใครในประเทศนี้ แผ่นดินนี้ จะไม่รู้สึกดังที่พระองค์ตรัสพสกนิกรแห่งพระองค์ท่านประชาชนแห่งแผ่นดินไทย..มองเห็นความล่มจมที่เด่นชัดอยู่ข้างหน้า แต่ทว่าไร้หนทางที่จะหลีกลี้เงินของแผ่นดินถูกยื้อยุดฉุดหายไปกับอภิมหาโปรเจกต์ของผู้รับเหมา ที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาล..หมื่นล้านแสนล้านของหนี้สินที่คณะรัฐมนตรีช่วยกันก่อช่วยกันสร้างอะไรจะสำคัญกว่ากัน..รถบัสแก๊ส 6,000 คันของคนกรุงเทพฯ ราคาแสนล้าน..กับการหาน้ำหาดินให้ประชาชนไปปลูกพืชน้ำมันพืชพลังงาน เอาไว้ใช้และขายให้กับประเทศอื่นๆ
อะไรจะสำคัญกว่ากัน 30,000 ล้าน เพื่อสร้างรัฐสภาใหม่..ทั้งๆ ที่ของเก่าก็ยังใช้ได้..อีกหลายหมื่นล้านสำหรับเครื่องบินขับไล่และรถเกราะล้อยาง..ที่ไม่รู้ว่าจะเอาไปทำสงครามกับใคร..และรบไม่ชนะสักทีกับโจรใต้ที่มีแต่มอเตอร์ไซค์กับระเบิด
พระวิหารกับเขาพระวิหารอยู่กับไทยมาแต่โบร่ำโบราณ..แทนที่จะใช้ปืนต้าน มันกลับเอาปืนนั้นย้อนกลับมาจี้หัวคนไทยจะเช่าก็เช่า จะซื้อก็ซื้อ..แต่มันกลับทำเป็นเช่าซื้อให้บริษัทการบินไทยขาดทุนอื้อ ได้ดีแค่ผู้ซื้อคนลงนามจ่ายบ้านเมืองจะไม่ล่มจมอย่างไรไหว..ซีอีโอใหญ่..ประกาศว่า..ขาดทุนไป 5,000 ล้าน กับอัตราแลกเปลี่ยน..
บ้านเมืองจะไม่ล่มจมอย่างไรไหว..เขาซื้อหารถ-เรือดับเพลิงราคาเป็นหมื่นล้าน จ่ายเงินครบไม่ขาดงวดแต่เอามาจอดไว้ไม่กล้าใช้..มีคดีติดกายแต่ยังมาใหญ่ได้ถึงอภิมหาเสนาบดีบ้านเมืองจะไม่ล่มจมอย่างไรไหว..แค่ 8 เดือนของปี..ม็อบกาลี..ทำบ้านเมืองป่นปี้ มันหอบเงินแสนล้านหนี จากนี้อีกไม่นาน เงิน 40 บาทจะแลกได้ไม่ถึงดอลลาร์ พาตลาดหุ้นล่มจมที่ไหนเอ่ย..เอาประเทศเป็นหนูตะเภา..เผาเงิน 800,000 ล้านเป็นเถ้า..ขอโทษแผ่นดินสักคำยังไม่มีขอพระบารมีปกเกล้า..เหล่าข้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พ้นทุกข์พ้นยากจากภาวะบ้านเมืองล่มจม..ขอเดชะพระสยามเทวาธิราช..บ้านจะล่มเมืองจะจม..เพราะสงครามของคนชั่วกับคนชั่ว..ที่อ้างตัวว่าแสนซื่อและแสนดี
พญาไม้
กรุงเทพฯ 24 ส.ค. - แกนนำพันธมิตรฯ ยืนยันพรุ่งนี้จะไปให้กำลังใจนักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะตามกำหนดการเดิม แต่จะไปไม่มาก และจะวางกำลังไว้ชุมนุมใหญ่วันอังคารนี้
บรรยากาศการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์คืนนี้ (24 ส.ค.) คึกคักเป็นพิเศษ มีประชาชนมาร่วมการชุมนุมจำนวนมาก แกนนำอย่าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ขึ้นเวทีประกาศกับกลุ่มผู้ชุมนุมว่าวันพรุ่งนี้เวลา 10.00 น. พันธมิตรฯ จะไปรวมตัวกันที่แยกเกียกกายเพื่อเดินทางไปให้กำลังใจเด็กนักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะเวลา 10.00 น. ตามกำหนดการเดิมที่วางไว้ตั้งแต่วันศุกร์ ซึ่งวันพรุ่งนี้ (25 ส.ค.) กลุ่มผู้ชุมนุมจะเดินทางไปเพียงเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่จะเตรียมกำลังพลไว้ชุมนุมใหญ่วันอังคาร (26 ส.ค.)
อย่างไรก็ตาม พล.ต.จำลอง เรียกร้องให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางถนนราชดำเนินตลอดทั้งเส้น ถนนอู่ทองใน ราชวิถี ศรีอยุธยา พิษณุโลก และถนนสามเสน เนื่องจากพันธมิตรฯ จะใช้เป็นสถานที่ชุมนุม ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ของวันอังคาร ถึง 12.00 น. ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพจราจรในช่วงเวลาดังกล่าว. - สำนักข่าวไทย
กรุงเทพฯ 24 ส.ค.-การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. มีข้อกำหนดเรื่องการหาเสียง ให้ผู้สมัครต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด.
ชมรายละเอียด สำนักข่าวไทย
อัพเดตเมื่อ 2008-08-24 19:26:20
กรุงเทพฯ 23 ส.ค.- “วิชา มหาคุณ” ระบุ “อภิรักษ์ โกษะโยธิน” รู้ว่าถูก ป.ป.ช.ตั้งคณะกรรมการไต่สวน กรณีทุจริตจัดซื้อรถดับเพลิงของ กทม. แต่ไม่ขาดคุณสมบัติ ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.ได้ เหตุยังไม่ถูกชี้มูล นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน กรณีทุจริตจัดซื้อรถและเรือดับเพลิงของ กทม. ให้สัมภาษณ์ กรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ทราบว่า ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการไต่สวนนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จากกรณีดังกล่าว “ผมไม่ทราบว่า ทำไมพรรคประชาธิปัตย์ไม่ทราบ เพราะ ป.ป.ช.ได้แจ้งให้นายอภิรักษ์ทราบเรื่องตั้งอนุกรรมการไต่สวนแล้ว และนายอภิรักษ์ได้ทำหนังสือตอบกลับมาว่า ไม่คัดค้านรายชื่อคณะอนุกรรมการไต่สวน” นายวิชา กล่าว ทั้งนี้ นายวิชา กล่าวว่า ป.ป.ช.ไม่ได้เป็นผู้เพิ่มชื่อนายอภิรักษ์ แต่ชื่อของนายอภิรักษ์ เป็นรายชื่อที่อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการไต่สวนของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) อยู่แล้ว ป.ป.ช.จึงต้องเรียกมาสอบข้อมูลเพิ่มเติม เพียงแต่ไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาเท่านั้น ส่วนที่นายอภิรักษ์ ตัดสินใจลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. อีกครั้ง นายวิชา กล่าวว่า ถือเป็นสิทธิของนายอภิรักษ์ การที่ คตส. และ ป.ป.ช.ยังไม่ได้ชี้มูลความผิด จึงยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และไม่ขาดคุณสมบัติ อย่างไรก็ตาม นายวิชา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นว่า เหมาะสมหรือไม่ ที่นายอภิรักษ์จะลงสมัครรับเลือกตั้ง “ถ้านายอภิรักษ์เชื่อในความบริสุทธิ์ ก็คงไม่มีปัญหา ผมคงไม่สามารถให้ความเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพราะจะถูกนำไปเชื่อมโยงเป็นประเด็นการเมือง” นายวิชา กล่าว.-สำนักข่าวไทย
อัพเดตเมื่อ 2008-08-23 16:03:56
Powered by web hosting provider . |