บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อ.สุรพศ ทวีศักดิ์ แลกเปลี่ยนกับหลวงพี่ไพศาล

ที่มา thaifreenews

โดย เสรีชน คนใต้

"ชีวิตใหม่ ไม่ได้อยู่ที่ว่ามีบ้านหลังใหม่ มีรถคันใหม่ หรือว่ามีคู่ครองคนใหม่ หรือที่ไม่เคยมี ก็มีสักคน นั้นไม่ทำให้ชีวิตของเราใหม่อย่างแท้จริง จนกว่าเราจะมีใจที่ใหม่ และใจที่ใหม่ก็เกิดขึ้นได้จากการปลดเปลื้องอารมณ์เก่า ๆ ที่หมักหมมในจิตใจออกไปเสีย" - พระไพศาล วิสาโล

ระยะหลังมานี้หลวง พี่ไพศาลมักจะเน้นเรื่อง “ธรรมะทำใจ” มากขึ้น จะว่าไปการเน้นเช่นนี้ก็คือจารีตพุทธเถรวาทไทย แต่หลวงพี่ไพศาลเป็น “พระนอกกระหลักอยู่” นะ หากมองจากประวัติที่ท่านเคยเป็นอดีตนักศึกษาช่วง 6 ตุลา 19 แม้จะออกบวชหลังจากนั้นท่านก็ทำกิจกรรมทางสังคมมาตลอด นอกจากนี้ยังมีงานแปลที่สะท้อนความคิดก้าวหน้าทั้งด้านศาสนาและสังคมออกมา เรื่อยๆ

แต่ระยะหลังดูเหมือนท่านจะเน้นมากเป็นพิเศษเรื่อง “ธรรมะทำใจ” หรือว่าจากประสบการณ์ที่เคยต่อสู้มา ท่านอาจเห็นความผันแปรไม่แน่นอนของสังคมมากขึ้นๆ ทำให้ท่านคิดเหมือนเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (ประมาณ) ว่า “สมัยหนุ่มเคยคิดฝันจะเปลี่ยนแปลงสังคมเปลี่ยนแปลงโลก แต่พออายุมากขึ้น รู้จักโลกมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมาฝึกปฏิบัติทางพุทธศาสนา ทำให้เข้าใจได้ว่าที่สังคมมันเป็นอย่างที่มันเป็น ก็เพราะมันมีเหตุปัจจัยให้ต้องเป็นเช่นนั้น”

ความคิดเช่นนี้พอที่จะ เข้าใจได้ เพราะผมเองเคยอ่านความคิดของ “กูรูทางพุทธศาสนา” บางคนที่มองว่า ปัญหาของโลก โดยเฉพาะปัญหาทางสังคมการเมืองนั้นเป็นปัญหาที่ไม่มีวันจบสิ้น แก้ปัญหาหนึ่งได้ ก็มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นมาให้แก้อีกไม่จบสิ้น และ “ชีวิตทางการเมือง” หรือชีวิตแห่งการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองก็เป็นชีวิตแห่งความขัด แย้ง ตึงเครียด สุมเสี่ยง อาจสูญเสียอิสรภาพ แม้กระทั่งชีวิต

แต่ “ชีวิตทางศาสนา” คือชีวิตที่ตระหนักว่าเรามีเวลาอยู่ในโลกนี้อย่างจำกัด ในเวลาอันแสนสั้นของชีวิต สิ่งที่เราต้องหาคำตอบให้ได้คือ ทำอย่างไรชีวิตจะพบความสุขสงบที่แท้จริง

หลวงพี่ไพศาล คงเห็นความขัดแย้งในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาว่า มีความโกรธ ความเกลียดชัง และความรุนแรงที่ต่างฝ่ายต่างสาดใส่กัน ท่านจึงออกมาเรียกร้องให้ผู้คนละความโกรธ ความเกลียดชัง หันมาใช้เหตุใช้ผล ใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหา อีกอย่างท่านคงสัมผัสชีวิตของ “ชนชั้นกลางวัฒนธรรม” มากเป็นพิเศษ และพบว่าชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นเครียด วิตกกังวล และโหยหาความสงบ

แต่อย่างไรก็ตาม แม้พุทธศาสนาจะเห็นว่า “ธรรมะทำใจ” มีความสำคัญ แต่พุทธศาสนาก็สอนเรื่อง “อิทัปปัจจยตา” คือ ความเป็นเหตุปัจจัย หรือความที่ชีวิตเราต่างดำรงอยู่อย่างเกาะเกี่ยวสัมพันธ์ภายใต้โครงสร้างของ ระบบสังคมการเมือง และระบบความสัมพันธ์กับสรรพสิ่งในธรรมชาติ

ฉะนั้น เมื่อเราพูดว่าสังคมเป็นอย่างที่มันเป็นก็เพราะมันมีเหตุปัจจัยให้ต้องเป็น เช่นนั้น (เหมือนทุกวันนี้คนไม่กล้าวิจารณ์กติกา โครงสร้าง อุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ว่าเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตยและก่อให้ เกิด “สองมาตรฐาน” ในระบบยุติธรรมไทยอย่างไร ทั้งที่พวกเขามองเห็นปัญหานี้ หรือ “ตาสว่างแล้ว” แต่ยังต้อง “หุบปาก” ก็เพราะระบบโครงสร้างของสังคมที่มี ม.8 และ ม.112 ทำให้พวกเขาต้องเป็นเช่นนั้น)...แต่ก็ต้องคิดต่อด้วยว่า เราจะแก้เหตุปัจจัยที่ทำให้สังคมเป็นเช่นนั้นได้อย่างไร

พูดตรงๆ คือ เมื่อมองเห็นว่าที่สังคมเป็นเช่นนั้นเพราะมีเหตุปัจจัยให้ต้องเป็น ก็ควรจะมองเห็นต่อไปด้วยว่า เราจะแก้เหตุปัจจัยนั้นๆ อย่างไร จึงจะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาวะที่ควรจะเป็น หากคิดในมุมนี้ “ธรรมะทำใจ” คงไม่เพียงพอที่จะช่วยให้ผู้คนมี “ชีวิตใหม่” ภายใต้ “โครงสร้างที่เก่าแก่” ได้!

จากเฟสบุคสุรพศ ทวีศักดิ์

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker