บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

บอกต่อด่วน! สำหรับผู้เข้าชมหนังมันส์หยดเลือดทะลุจอที่ "เมเจอร์" อย่าลืมยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี

ที่มา Thai E-News

แบ่งปันภาพโดย Nithiwat Wannasiri

24 มกราคม 2555

โดยทีมข่าวไทย อีินิวส์


ขอบอก ต่อด่วนต่อผู้อ่านไทยอีนิวส์ที่จะเข้าชมภาพยนตร์ที่เครือเมเจอร์ ตอนนี้มีการมอบหน้าที่เพิ่มเติมอีกตำแหน่งให้กับพนักงานโรงภาพยนตร์ ให้ทำหน้าที่เป็นตำรวจจำเป็น คอยตรวจเช็คการยื่นทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีของผู้เข้าชมภาพยนตร์ อย่างเคร่งครัด


เพื่อ ร่วมแสดงความรักล้นเกินกับเครือเมเจอร์ ไทย อีนิวส์ เห็นข่าวดีงามเช่นนี้ จึงจำเป็นต้องรีบบอกต่อผู้อ่านทุกท่านด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อผู้ อ่านไทย อีนิวส์ทุกท่านเช่นกัน

ขอ ให้ทุกท่านดูหนังเลือดสาดกันด้วยความสนุกสนาน เมามันส์ในอารมณ์ และออกจากโรงหนังด้วยความภาคภูมิใจว่าคุ้มค่าความเป็นไทย ที่ซื้อหนึ่งได้ของแถม คือนอกจากได้ทั้งความสนุกและความมันส์แล้ว ยังได้แสดงความเคารพต่อพระบรมวงศานุวงศ์ของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตา เพื่อนร่วมชาติ

ทั้ง นี้ไทยอีนิวส์ ขอร่วมเผยแพร่ข้อมูลที่มาที่ไปเกี่ยวกับที่มาของเพลงสรรเสริญพระบารมี เพื่อที่ทุกท่านจะได้เข้าโรงภาพยนตร์ด้วยความเข้าใจถึงความสำคัญของเพลงนี้ มากยิ่งขึ้น

0 0 0 0 0


ที่มาและขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพลงสรรเสริญพระบารมี
โปสการ์ดโน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมี สมัยรัชกาลที่ 5
โปสการ์ดโน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมี สมัยรัชกาลที่ 5
เพลงชาติของ ธงชาติของประเทศไทย สยาม (พ.ศ. 2431 - 2482)
ธงชาติของไทย ไทย (พ.ศ. 2482 - ปัจจุบัน)
ชื่ออื่น เพลงชาติสยาม
เพลงสรรเสริญพระบารมี
เนื้อร้อง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์, พ.ศ. 2456
ทำนอง ปโยตร์ ชูรอฟสกี้, พ.ศ. 2431
ประกาศใช้ พ.ศ. 2431 (ทำนองและเนื้อร้องเดิม)
พ.ศ. 2456 (เนื้อร้องปัจจุบัน)
เพลงสรรเสริญพระบารมี
บรรเลงโดยวงดุริยางค์กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา
เพลงสรรเสริญพระบารมี บรรเลงโดยวงดุริยางค์กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

About this sound เพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นบทเพลงซึ่งบรรเลงเพื่อสรรเสริญพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ เดิมทีเพลงสรรเสริญพระบารมีใช้เป็นเพลงประจำชาติของไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2431 - 2475 นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ 3 ของไทย ทำนองโดย ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซีย[ต้องการอ้างอิง] (บ้างก็ว่าเป็นครูเพลงชาวฮอลันดาชื่อ เฮวุดเซน[ต้องการอ้างอิง]) ประพันธ์เมื่อ พ.ศ. 2431 คำร้องเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

ในตอนแรกคำร้องดังกล่าวในท่อนสุดท้าย ใช้คำว่า ฉะนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนคำว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากคำว่า ฉะนี้ เมื่อร้องตามทำนองของเพลงแล้ว คนมักจะออกเสียงเพี้ยนเป็นคำว่า ชะนี ทำให้พระองค์ทรงรำคาญพระราชหฤทัย จึงทรงเปลี่ยนจากคำว่า ฉะนี้ เป็น ชโย ซึ่งแผลงมาจากคำว่า ไชโย และ ชย[1]

ประวัติ

เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จลงท้องพระโรงและเสด็จขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีการใช้เพลง ก็อดเซฟเดอะคิง ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของอังกฤษ บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า "จอมราชจงเจริญ" [2]

จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง" บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลง เดียวกัน ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ชาวฮอลันดาที่ ตั้งอาณานิคมที่นั้น ได้ถามถึงเพลงประจำชาติของไทย เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทย ให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง"[3]

คณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414 จนถึง พ.ศ. 2431[4] (ดร. สุกรี เจริญสุข ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงสรรเสริญเสือป่า ซึ่งใช้เป็นเพลงเกียรติยศของเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ 6[5]

ต่อ มาจึงมีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับที่เป็นผลงานของ ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบและได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการในปีเดียวกัน[6] ต่อมาทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงนี้อีกหลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นพระนิพนธ์ในพลเรือ เอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำนวนนี้เป็นสำนวนสำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ[7]

เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น เดิมทีเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว


เนื้อเพลง

โน้ตเพลงสรรเสรืญพระบารมี ฉบับเผยแพร่โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตามมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546

เนื้อเพลงนี้ คือเนื้อเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้ในปัจจุบัน

ข้าวรพุทธเจ้า
เอามโนและศิระกราน
นบพระภูมิบาล
บุญดิเรก
เอกบรมจักริน
พระสยามินทร์
พระยศยิ่งยง
เย็นศิระเพราะพระบริบาล
ผลพระคุณ ธ รักษา
ปวงประชาเป็นสุขศานต์
ขอบันดาล
ธ ประสงค์ใด
จงสฤษดิ์ดัง
หวังวรหฤทัย
ดุจถวายชัย
ชโย

วาระและโอกาสในการใช้

  1. พิธีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ/หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ต้องบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ
  2. พิธี ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ/หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมกับประมุขต่างประเทศ ให้บรรเลงเพลงชาติของประมุขต่างประเทศ ก่อน แล้วจึง บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี รับเสด็จฯ เมื่อประมุขต่างประเทศเสด็จฯ กลับ หรือไปตามลำพัง ให้บรรเลงเพลงชาติของประเทศนั้น เพื่อ ส่งเสด็จฯ
  3. พิธีที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนิน ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ
  4. พิธีที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ
  5. พิธีที่ผู้แทนพระองค์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในงานเสด็จพระราชดำเนินต่างๆ
    1. ถ้าผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จพระราชดำเนินให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ
    2. ถ้า ผู้แทนพระองค์เป็นบุคคลอื่น เมื่อผู้แทนพระองค์มาถึง ไม่ต้องบรรเลงเพลงใด ๆ และเมื่อผู้แทนพระองค์นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นการเปิดงานและปิดงาน เมื่อผู้แทนพระองค์กลับไม่ต้องบรรเลงเพลงใด ๆ
  6. การใช้ในช่วงเวลาก่อนฉายภาพยนตร์ ในโรงภาพยนตร์หรือสถานที่ที่มีการฉายภาพยนตร์ ตลอดจนถึงการแสดงคอนเสิร์ต ดนตรี และมหรสพต่างๆ
  7. ใช้ในช่วงยุติการกระจายเสียงประจำวันของสถานีวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย
  8. ใช้ ในช่วงเริ่มต้นและยุติการแพร่ภาพออกอากาศประจำวัน ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย หรือในช่วงเปลี่ยนแปลงวันออกอากาศไปสู่วันใหม่ (ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละสถานี)

สื่อ

การบันทึกเสียง

เพลงสรรเสริญพระบารมีมีการบันทึกเสียงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2443 ซึ่งเป็นการบรรเลงโดยวงดนตรีคณะละครนายบุศมหินทร์ที่ประเทศเยอรมนี บันทึกลงบนกระบอกเสียงชนิดไขผึ้งของบริษัทเอดิสัน [8] และมีการบันทึกเสียงโดยมีการขับร้องประกอบครั้งแรกโดยเป็นเสียงร้องของแม่ ปุ่น (ไม่ทราบนามสกุล) และแม่แป้น (แป้น วัชโรบล) ในแผ่นเสียงปาเต๊ะร่องกลับทางของบริษัทปาเต๊ะ ประเทศฝรั่งเศส ส่งแตรวงกรมทหารราบที่ 3 (ปัจจุบันคือกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์) เมื่อ พ.ศ. 2450 [9]

0 0 0 0 0

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker