บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

91ศพถึงอัยการ ศาลอาญาโลก

ที่มา ข่าวสด

โรเบิร์ตส่งสำนวน ฟ้อง'มาร์ค-ศอฉ.'



สำนัก กฎหมายอัมสเตอร์ ดัมส่งคำร้องเบื้องต้นคดีสัง หารหมู่ 91 ศพในไทยถึงอัย การศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว เป็นคดีที่นปช.ยื่นฟ้องนายกฯ มาร์ค-ศอฉ.สลายการชุมนุมเสื้อแดงจนมีคนตาย 91 เจ็บอีกเกือบ 2 พันคน ระบุในรายงานมีคำให้การของพยานจำนวนมากถึงเหตุการณ์ที่โดนยิงบาดเจ็บเสีย ชีวิต ภาพเหตุการณ์ฆ่าหมู่ 6 ศพวัดปทุมฯ ฆ่านักข่าวอิตาลี ชี้คดีเข้าข่ายอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ เตรียมส่งรายงานเพิ่มในอีก 8 สัปดาห์

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. สำนักกฎหมายอัมสเตอร์ ดัมแอนด์พีรอฟฟ์ โดยนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ได้ส่งคำร้องเบื้องต้น ซึ่งเป็นคำร้องที่แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ยื่นต่ออัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อแจ้งให้อัยการทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย อันเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนเม.ย.และพ.ค.2553 เพื่อพิจารณาที่จะดำเนินการสอบสวนต่อไป

สำหรับรายงานเบื้องต้นที่ สำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟ์ส่งถึงอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีที่นปช.ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และศอฉ.รวม 14 คน ในคดีสังหาร 91 ศพเหตุการณ์สลายม็อบแดงในเมืองไทยนั้น มีความหนา 53 หน้า เริ่มตั้งแต่ความเป็นมาของคดีการสังหาร 91 ศพและมี ผู้บาดเจ็บอีกเกือบ 2 พันราย รวมทั้งข้อเท็จจริงเหตุการณ์นำไปสู่การรัฐประหาร ปี 2549 การสังหารหมู่เมื่อปี 2552 ครั้งที่คนเสื้อแดงออกมาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และปิดล้อมการประชุมผู้นำสุดยอดประเทศ อาเซียนที่พัทยาเมื่อวันที่ 11 เม.ย.2553 และรัฐบาลสั่งทหารเข้าสลายการชุมนุมในกรุงเทพฯ ในวันที่ 13 เม.ย.2552

ในรายงานดังกล่าวมีรายละเอียดเหตุการณ์สังหารหมู่ปี 2553 มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บเกือบ 2 พันราย เริ่มต้นตั้งแต่กลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้นายกฯ อภิสิทธิ์ ลาออกจากตำแหน่งและยุบสภา กระทั่งเกิดเหตุการสลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัวและถนนดินสอ เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 มีคนเสื้อแดงเสียชีวิต 17 ศพ บาดเจ็บ 600 ราย และการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์เมื่อวันที่ 17-19 พ.ค. 2553 โดยมีเอกสารหลักฐานคำให้การของพยานจำนวนมากที่ระบุว่ามีการใช้กำลังทหารและ ใช้อาวุธจริงและกระสุนจริงในการสลายม็อบแดง ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักสากลจนเป็นเหตุให้มี ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

ในรายงานมีคำให้การของพยานหลายราย ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม โดยพยานปากที่ 18 ซึ่งเป็นคนเสื้อแดงระบุว่าโดนยิงเข้าที่ข้อเท้าขวาจนกระจุย ขณะหลบอยู่ในสวนลุมพินี เมื่อวันที่ 14 พ.ค. พยานปาก ที่ 19 ระบุว่าโดนยิงเข้าที่หัวไหล่ซ้ายจนต้องกระโดดหนีลงน้ำในสวนลุมพินี พอขึ้นจากน้ำก็โดนยิงซ้ำที่น่องซ้าย ก่อนถูกจับส่งตัวไปขังในเรือนจำในที่สุด

พยานปากที่ 20 ระบุว่า ได้ยิงธนูใส่ทหาร แต่โดนทหารยิงตอบโต้ด้วยกระสุนปืนจริง ที่บริเวณซอยงามดูพลี โดยพยานรายนี้ระบุด้วยว่าเห็นประชาชนถูกยิงเสียชีวิต 6 ราย ในจำนวนนี้เป็นแม่ค้าอายุ 50 ปี ชายหนุ่มอายุ 30 ปี และมีชายคนหนึ่งถูกยิงตายขณะใช้กล้องโทรศัพท์มือถือบันทึกภาพเหตุการณ์อยู่

คำ ให้การของพยานปากที่ 6 และพยานปากที่ 9 ระบุถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ศพในวัดปทุมวนาราม ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน เป็นเหตุให้น.ส.กมนเกด อัคฮาด นายมงคล เข็มทอง และนายอัครเดช แก้วขัน ซึ่งเป็นอาสาพยาบาลถูกยิงเสียชีวิตขณะกำลังช่วยเหลือผู้ชุมนุมที่ได้รับบาด เจ็บ

ในรายงานยังมีรายละเอียดเหตุการณ์พล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ถูกสไนเปอร์ยิงเสียชีวิตขณะยืนให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 13 พ.ค.2553 ที่บริเวณสวนลุมพินี

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานภาพถ่าย เป็นภาพถ่ายเหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงทั้งในวันที่ 10 เม.ย.2553 ที่สี่แยกคอกวัวและถนนดินสอ และการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ในเดือน พ.ค.2553 รวมทั้งภาพถ่ายศพ "น้องเกด"กมนเกด อัคฮาด อาสาพยาบาลที่โดนยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนารามพร้อมเพื่อน 6 ศพ ภาพชายในเครื่องแบบถือปืนยาวอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสเล็งไปที่วัดปทุมวนาราม ภาพถ่ายเหตุการณ์นายฟาบิโอ โปเลงกี นักข่าวชาวอิตาลีถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พ.ค. โดยในภาพมีชายคนหนึ่งเข้าไปหยิบกล้องถ่ายรูปจากศพนายฟาบิโอ หลบหนีไป

ใน รายงานระบุว่า องค์กรสิทธิมนุษยชนหลักได้รวบรวมเอกสารที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการสลายการ ชุมนุมในวันที่ 14 พ.ค. โดยในช่วงนั้น ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกเขตกระสุนจริง และตำหนิรัฐบาลไทยไม่ปฏิบัติตามหลักพื้นฐานของการใช้กำลังตามกฎหมายสหประชา ชาติ

รายงานของสำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟ์ยังระบุถึงเขต อำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศไว้ว่า การรับพิจารณาคดีตามบทบัญญัติมาตรา 17 ในข้อบัญญัติแห่งกรุงโรม ระบุว่าการตัดสินรับพิจารณาคดีจะต้องมีองค์ประกอบ 2 ประการครบถ้วน 1.ต้องมีการพิจารณาว่าระบบตุลาการในประเทศดังกล่าวนั้น หยุดนิ่ง หรือ ไม่เต็มใจ หรือไร้ประสิทธิภาพในการดำเนินคดี นี่คือประเด็นของหลักการที่ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณา เมื่อรัฐล้มเหลวที่จะกระทำการดังกล่าว 2.ข้อกำหนดเรื่องความร้ายแรงแห่งคดี ตามบทบัญญัติมาตรา 17 (1)(d) ในข้อบัญญัติแห่งกรุงโรม การคัดเลือกนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความร้ายแรง และเป็นการจำกัดโดยตรงของเขตศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยต้องเป็นอาชญากรรมอันร้ายแรงที่ประชาคมโลกเป็นกังวลเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้สภาพิจารณารับคดีระบุว่าจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบ 4 ประการ 1.การกระทำที่เป็นประเด็นหลักของคดีจะต้องเป็นการกระทำที่เป็นระบบ (รูปแบบของเหตุการณ์) หรือเป็นการกระทำที่ใหญ่โต 2.ลักษณะของการกระทำที่ผิดกฎหมายของอาชญากรรม (การเกิดของอาชญากรรม) 3.ลักษณะของการกระทำ และ 4.ผลกระทบจากอาชญากรรมที่เหยื่อและครอบครัวได้รับ ในกรณีนี้ ตัวแทนเหยื่อจะเป็นบุคคลสำคัญต่อการ พิจารณาของสภา

รายงาน ยังระบุถึงองค์ประกอบพื้นฐานของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ว่า อาชญากรรมต่อมนุษยชาติถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 7(1) ของบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ และยังมีคำอธิบายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเพิ่มเติมในเอกสารสำคัญอื่น ต้องประกอบด้วย 1.การทำร้ายจะต้องเป็นการกระทำโดยตรงต่อพลเรือน 2.เป็นการกระทำโดยนโยบายรัฐหรือองค์กร 3.ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำส่วนบุคคลและการทำร้าย และ 4. อย่างน้อยที่สุด ผู้กระทำจะต้องสามารถรับรู้หรือมีเจตนาเข้าใจว่าการกระทำดังกล่าวคือการทำ ร้ายอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ

รายงานยังมีบทสรุปมีใจความว่า เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ไม่มีทางที่จะจัดให้มีการสอบสวนที่เป็น ธรรมและสมบูรณ์ โดยเฉพาะรัฐบาลไม่มีทางที่จะผ่อนปรนอำนาจทางการเมืองของตนเอง นายกอภิสิทธิ์ละเลยหน้าที่ในการจัดให้มีการสอบสวนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ แม้ว่าประเทศไทยมีพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือน และสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่จะต้องดำเนินการสอบสวนที่เป็นอิสระก็ ตาม แต่การสอบสวนที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลห่างไกลจากความเป็นธรรมยิ่งนัก

จาก เหตุผลทั้งหมดผู้ร้องเชื่อว่าอาชญากรรมที่เกิดขึ้นเข้าข่ายบทบัญญัติศาลอาญา ระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงร้องขอให้อัยการตั้งข้อสังเกตต่อรายงานการสอบสวนเบื้องต้นต่อสถานการณ์ใน ประเทศไทย เพื่อที่พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะทำการสอบสวนและดำเนินคดีในนามของศาล อาญาระหว่างประเทศในอนาคต โดย ผู้ร้องจะยื่นรายงานความคืบหน้าของเหตุการณ์ต่ออัยการอีกภายใน 8 สัปดาห์

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker