โดย ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ ผู้ประสานงานแดงสยาม
ความรู้ = ใบปริญญา เรียนรู้ในระบบ จะได้ไม่เป็นคนตกสมัย แฟชั่น เพื่อใช้ในการทำงานตามระบบหรือ ความจำเป็นในการดำรงชีพ
ความคิด= การต่อสู้ในโลกจริง ประสบการณ์ทางการต่อสู้ ความกล้าหาญ ต่อสู้ความไม่เป็นธรรมต่างๆ เพื่อการปลดปล่อยไปสู่เสรีภาพ
ดังนั้นความรู้กับความคิด สามารถขัดแย้งกันได้เสมออยู่ในสมองมนุษย์เรานั้น และผู้ที่จะเป็นผู้ประสานความสัมพันธ์แห่งการปรองดองได้นั้นต้องมีความรู้ แต่หาอื่นใดผู้ที่มีความคิดในการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมจะเหมาะสมและสอด คล้องกับสถานการณ์เฉพาะหน้าอย่างยิ่ง มาพิจารณากรอบของความปรองดองจะเกิดขึ้นจริงได้อย่างไร?
ซึ่งสิ่งที่จะแก้ปัญหาในระดับโครงสร้างใหญ่ๆได้ต้องใช้การถอดบทเรียน สรุปประวัติศาสตร์ นั้นคือการใช้สรรพกำลังทางความคิด
1. การปรองดองกับใคร?
2. การปรองดองภายใต้ความคิดอะไร?’
3. การปรองดองอย่างไร?
4. กรอบการพัฒนาจิตสำนึกแห่งการปรองดอง
1.ใครคือคู่ความสัมพันธ์ที่ความขัดแย้งดำรงอยู่ ?
ก. ในการปกครองระดับต่างๆ ย่อมมีผู้ปกครอง และผู้อยู่ใต้การปกครอง ทาง การเมืองในระบบ รัฐบาล ฝ่ายบริหาร ฝ่ายค้าน ไล่ไปถึงระดับการเมืองท้องถิ่นในระบบ ความปรองดองคือ จัดการด้านการเลือกตั้งที่เป็นธรรม ยอมรับกติการสูงสุดกฎหมายรัฐธรรรมนูญ แต่ในที่นี่ความชอบธรรมต่างๆ และระดับความขัดแย้งมีลักษณะ อำนาจนิยม
นับ แต่ การรัฐประหาร19 กันยายน2549 กลุ่มคู่ความขัดแย้ง องคมนตรี +พันธมิตรฯ+ กองทัพ= อำนาจนิยมในลักษณะแนวคิดกษัตริย์นิยม เช่นแนวคิดการถวายคืนพระราชอำนาจ
ระดับความขัดแย้งต่อโครงสร้างความยุติธรรม ที่เรียกว่าตุลาการภิวัฒน์ ในระดับรัฐธรรมนูญจนถึงกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง อาทิ คดียุบพรรคไทยรักไทย “คดีชิมไปบ่นไป ทำกับข้าวถูกปลด เป็นกบฎถูกปล่อย” ยุบพรรคพลังประชาชน มาถึงผู้สมัครพรรคเพื่อไทย คุณก่อแก้ว พิกุลทอง มิได้หาเสียงด้วยตนเอง
ข. ในทางเศรษฐกิจระบบทุนนิยมโลก ปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจ ในห้วงยามนี้ จะมีการลดลงสองช่วงจังหวะ เกิดจากการเก็งกำไรด้าน อสังหาริมทรัพย์ และเก็งกำไรด้านพลังงาน ทุนผูกขาดการแข่งขันภายในประเทศ ทุนเครือข่ายอำมาตย์ กับกลุ่มทุนใหม่ต่างๆ เช่น ทุนธนาคาร กับทุนอุดสาหกรรม เกิดชนชั้นทางเศรษฐกิจวิถีใหม่ การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็น การพัฒนาความขัดแย้งในระดับสากล ได้ทำให้เกิด ระบบความเป็นอยู่ชนิดเดียวกัน แบ่งเวลาวงจรชีวิตมนุษย์ 8+8+8= 24 ทำงานเลี้ยงชีพ, งานอดิเรก,พักผ่อน
“พลังการผลิตทำให้อุดมการณ์ไม่ ใช่เรื่องเพ้อฝัน” คือ พลังการผลิตอุตสาหกรรมทุนนิยมมีลักษณะทางการแข่งขันด้านเทคโนโลยี เครื่องจักรกล ได้เกิดคู่ปรปักษ์ทางชนชั้นใหม่ๆ และได้ช่วยให้มนุษย์ถูกปลดปล่อยจากการใช้แรงงานอย่างทาส ให้เป็นกรรมาชีพรับจ้าง
คู่ความขัดแย้งที่มีการต่อสู้กันเริ่มปรากฎเด่นชัดในสังคมไทย นั้นคือ สถานะ และอำนาจที่ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย(ทางเศรษฐกิจ)ของสถาบันกษัตริย์ เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง นับจากการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ที่โค่นรัฐบาลปรีดี-ธำรง ลงไป (โดยอาศัยกรณีสวรรคตเป็นข้ออ้างสำคัญ) ทำให้ "ยุคปฏิวัติ" ของคณะราษฎรสิ้นสุดลง
หลังการรัฐประหารดังดังกล่าว กลุ่มการเมืองกษัตริย์นิยม ได้ผลักดันให้ออกกฎหมาย "พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2491" ซึ่งยกเลิกกฎหมายในเรื่องนี้ทีคณะราษฎรจัดทำขึ้น คือ "พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479" ตามพระราชบัญญัติปี 2479 ของคณะราษฎรนี้ ได้จัดให้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในฐานะทีเป็นทรัพย์สินของรัฐ อยู่ในความควบคุมของรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งเป็นการถูกต้อง ตรงกับหลักการประชาธิปไตย
แต่ พระราชบัญญัติปี 2491 ที่กลุ่มการเมืองกษัตริย์นิยมจัดทำขึ้น และบังคับใช้มาจนทุกวันนี้ ได้ล้มเลิกหลักการนี้เสีย และโอนการควบคุมทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งแท้จริงคือทรัพย์สินของรัฐ ไปให้พระมหากษัตริย์แบบสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช รัฐบาลที่มาจากประชาชนและประชาชนเอง ไม่มีอำนาจใดๆต่อทรัพย์สินของรัฐอันมหาศาลนี้ ซึ่งขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับการเป็นประเทศประชาธิปไตย
พร้อมกับการสร้างองค์กรองคมนตรีในฐานะส่วนหนึ่งของสถาบันกษัตริย์ที่ขัดหลัก ประชาธิปไตยนี้ รัฐธรรมนุญ 2492 ของกลุ่มการเมืองกษัตริย์นิยม ยังกำหนดให้มีบุคคลากรอื่นๆอีก เช่น "ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองค์รักษ์" ที่มีลักษณะเดียวกับองคมนตรี คืออยู่ภายใต้พระราชวินิจฉัยในการแต่งตั้งถอดถอนของพระมหากษัตริย์ล้วนๆ ประชาชนไม่สามารถควบคุมตรวจสอบเอาผิด (accountability) ได้ ซึ่งขัดกับหลักการประชาธิปไตยเช่นกัน
บุคคลากรเหล่านี้ ทั้งหมด จึงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของประชาชนด้วย ไมใช่อยู่ในอำนาจของพระมหากษัตริย์ ความคิดเรื่อง "ข้าราชในพระองค์" ที่กลุ่มการเมืองกษัตริย์นิยมสร้างขึ้น นับจากรัฐประหาร 2490 เป็นต้นมา เป็นความคิดที่ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง
หลังการรัฐ ประหารของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2500 และ 2501 นอกจากสถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ ในเรื่องการมีองค์กรองคมนตรีและ "ข้าราชในพระองค์" ต่างๆ ในเรื่องการควบคุมทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะได้รับการส่งเสริมและขยายให้ขัดกับหลักการประชาธิปไตยยิ่งขึ้นไปอีกแล้ว สฤษดิ์ยังเริ่มระบอบการประชาสัมพันธ์และอบรมบ่มเพาะความเชื่อแบบกษัตริย์ นิยม อย่างขนานใหญ่ ทีขัดกับหลักการประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง ผลของระบอบประชาสัมพันธ์และอบรมบ่มเพาะความคิดดังกล่าวที่ดำเนินติดต่อกัน (อ้างแล้ว สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล)
กล่าวอย่างสรุปคือ เกิดกลุ่มอำนาจนอกการเมือง”เครือข่ายทุนอำมาตย์”ที่ใช้ในการจัดการบริหาร สินทรัพย์ภายในประเทศ โดยองค์กรที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และเป็นกลุ่มทุนผูกขาดวิถีการเติบโตทางเศรษฐกิจ ให้มีลักษณะสยบยอมต่อกลไกอำนาจความสัมพันธ์นอกเหนือธุรกิจ
ค. ในทางสังคม มนุษย์รวมตัวกันเพื่อความมั่นคงปลอดภัย ในชืวิต ทรัพย์สิน เกิดความขัดแย้งทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความไม่เป็นธรรม ปัญหา ด้านสิทธิมนุษยชนรุนแรงที่สุด ภายใต้บริบทการล้อมปรามประชาชน ราชดำเนิน ราชประสงค์ เมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม2553 ที่ผ่านมา ระหว่างกองทัพกับประชาชน ทหารกลายเป็นรัฐที่มีลักษณะควบคุมประชาชนแต่ถ่ายเดียว ไม่มีการตรวจสอบ ถ่วงดุลทางอำนาจตามระบอบประชาธิปไตยอาทิคำสั่ง การแต่งตั้งผู้นำเหล่าทัพต่างๆ
เกิดความเข้าใจต่อระบบสองมาตรฐานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นการดำเนินคดีต่อผู้ต้องสงสัยทางการเมือง ในนาม ศอฉ . และตัวแทนฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาล ซึ่งผิดหลักการการสร้างความมั่งคงให้กับประเทศชาติ ล่าสุด กระทรวงยุติธรรม แทงหนังสือเร่งรัดกับสำนักงานอัยการสูงสุดการดำเนินการเอาผิดต่อแกนนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ด้วยข้อหาผู้ก่อการร้ายต่อประเทศ เปรีบมเทียบกลุ่มพันธมิตรฯ ปิดสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง ปิดวิภาวดีซอยสาม เป็นด้น
ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประชาชนต่างๆ คือ กลุ่มเสื้อแดง นปช เสื้อแดงต่างๆ เสื้อเหลือง (พันธมิตรฯ) กลุ่มเคลื่อนไหวหลัก เสื้อน้ำเงิน (กลุ่มเนวินฯ) มีบทบาทพื้นที่ต่างจังหวัด เสื้อหลากสี (สลิ่ม) คนที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ นำโดย หมอตุลย์ และความขัดแย้งในระดับเจ้าหน้าที่รัฐ ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการท้องถิ่น
2. การปรองดองภายใต้ความคิดอะไร? ตามหลักประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเท่าเทียม
ซึ่งชุดที่นำมาปลูกฝังต่อสังคมการเรียนรู้ในระบบคือ
ก. รัฐ= ราชาชาตินิยม ตั้ง แต่สมัยร.5 ปฎิรูปสมบูรณญาสิทธิราชย์ รวมศูนย์ให้ขึ้นต่อส่วนกลาง ในด้านการปกครอง และด้านเศรษฐกิจ แต่คงไว้ด้วยประวัติศาสตร์ความคิด พระมหากษัตริย์นักปกครอง
ข. รัฐ= ราชาธิปไตยคือ ดำรงอำนาจธิปไตยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ใน รูปแบบอำนาจบารมี หรือที่เรียกว่า รัฐธรรมนูญพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ มีการพัฒนาแนวคิดอย่างจริงจังในสมัยที่บรรดากลุ่มนายทหารเผด็จการนำโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ทำการรัฐประหาร ในปี2500 จากจอมพล ป. พิบูลสงครามและได้ฟื้นฟูแนวคิดราชาธิปไตยขึ้มมาใช้เป็นยุทธศาสตร์การปกครอง อย่างเต็มกำลัง
ค. รัฐ= ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คือ การรัฐข้าราชการให้เข้มแข็งและให้ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง เพราะการเมืองเป็นเรื่องสกปรก เป็นเรื่องผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย เท่ากับว่า ประชาธิปไตยเป็นเรื่องน่าปวดหัว เป็นเรื่องว้าวุ่นกังวลใจ ใช้วัฒนธรรมบุคคลาธิษฐาน(สำนักคิดพฤติกรรมนิยม) คือ คัดเลือกคนดี นิยามความดี คือคนที่เชื่อฟัง ไม่ทะเยอทะยาน พอใจพอเพียงในชีวิต คนไม่ดี คือ คนรวยที่เอาเปรียบผู้อื่น มักใหญ่ใฝ่สูง
สร้างสำนึกให้พระมหากษัตริย์เปรีบมดั่งพ่อและแม่ของประชาชน คือตัวอย่างที่ดีของลูกๆ ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ มีความผิดตามกฎหมาย
3,การปรองดองอย่างไร?และในแนวทางใด?
ก.ตั้งรัฐบาลแห่งการปรองดอง (รัฐบาลแห่งชาติ)ประกอบ ด้วยบุคคลที่ได้รับ การแต่งตั้งจากกระแสสื่อ จากกระแสผู้มีอำนาจ หรือจากกระแสประชาชน เข้ามาคิดทำแผนวางยุทธศาสตร์เพื่อไปสู่การเลือกตั้งใหม่
ข. แก้ไขรัฐธรรมนูญ บางหมวดหมู่
ค.แก้ไขรัฐธรรมนูญทุกหมวดหมู่
4.กรอบการพัฒนาการจิตสำนึกทางการเมืองในแนวคิดต่างๆ ซึ่งหล่อหลอมด้วยชุดความคิดวัฒนธรรมทางการศึกษา หน้าที่พลเมือง ระดับชุมชน ระดับสังคม ระดับประเทศชาติ และผ่านสื่อสารต่างๆ
1.แนวคิดกษัตริย์นิยม สำนึกลักษณะ ข้าทาส
2.แนวคิดอนุรักษ์นิยม สำนึกลักษณะ แรงงานรับจ้าง
3.แนวคิดเสรีนิยม สำนึกลักษณะ ปัจเจกชน อสิรชน
4.แนวคิดสังคมประชาธิปไตย สำนึกลักษณะ มนุษยธรรม ความเป็นพี่น้อง ภราดรภาพ
5.แนวคิดสังคมประชาธิปไตย สังคมนิยม สำนึกลักษณะ มนุษย์นิยม พ้องเพื่อน สหาย
การต่อสู้เพื่อพัฒนาจิตสำนึกทางการเมือง เพื่อให้เกิด การแข่งขันทางนโยบาย / แผนงานในการทำงานเพื่อสนองความต้องการของประชาชน
จิตวิทยาการเมือง เพื่อสร้างสำนึกภาคประชาชน
1 สร้างความรู้สึกร่วมกัน การชี้นำภาวะทางอารมณ์ของมวลชน
2 สร้างความเห็นร่วมกัน การปรับความเข้าใจร่วมกัน รูปแบบสัมมนา เสวนา
3 สร้างการกระทำร่วมกัน กิจกรรมการเคลื่อนไหว เชิงสัญลักษณ์
4 สร้างแนวคิดร่วมกัน อุดมการณ์ อุดมคติ รูปแบบ การชุมนุมเวทีปราศรัยต่างๆ
5 สร้างการต่อสู้ร่วมกัน ระดับความเสี่ยงร่วมกัน ประเมินผลทั้งหมด (วัดใจ)
ในแนวทางปฏิบัติไม่ว่ากลุ่มเสื้อแดง หรือกลุ่มเสื้อสีใดๆ ก็จะใช้การพัฒนาความสัมพันธ์จิดวิทยาการเมืองนี้ แก่มวลชนเพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวต่อสังคม
นปช.เสื้อแดง และกลุ่มประชานิยมของทักษิณ มีสำนึกลักษณะ เสรีนิยม แบบนายทุนน้อย ชื่นชมการแข่งขันเสรื เชื่อมั่นระบบกรรมสิทธิ์ปัจเจกชน และห่วงแหนในเสรีภาพทางประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งมีความต่างกันอย่างมากกับ กลุ่มเสื้อเหลือง เสื้อน้ำเงิน หรือกลุ่ม พันธมิตรประชาชนฯ ที่มีความโน้มเอียงในพรรคประชาธิปัตย์ พรรคการเมืองใหม่ พรรคภูมิใจไทย ที่อาศัยแนวคิดอนุรักษณ์นิยม
แม้ทางเศรษฐศาสตร์การ เมือง กลุ่มนี้จะใช้แนวคิดเสรีนิยมก็เป็นเพียง เสรีนิยม ของอดัม สมิทธิ์ ที่เชื่อมั่นในกลไกตลาด และมีความโน้มเอียงในอำนาจนิยมทางอุดมการณ์
สรุป การปรองดองจะสำเร็จได้ด้วยความจริงใจและเข้าใจในสถานการณ์ อันลึกซึ้งและเปราะบาง
ดัง นั้น รัฐแห่งชนชั้นปกครองอนุรักษ์นิยมต้องเพิ่มขีดอำนาจในการตัดสินใจ ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ให้แก่ประชาชนพลเมืองของประเทศนั้นเอง