นาย จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย แถลงเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบคลิปที่อ้างว่าเป็นบันทึกการสนทนา ระหว่างเจ้าหน้าที่ตุลาการระดับสูงและทนายความของพรรคประชาธิปัตย์ ระบุเป็นปัญหาความซื่อสัตย์เที่ยงธรรม หากทำจริงต้องลาออก และอย่าเบี่ยงประเด็นที่มาของคลิป
เวลา 13.00 น. ที่ห้องกรองทอง 3 ร.ร. เรดิสัน พระรามเก้า นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และสมาชิกบ้านเลขที่ 111 แถลงกรณีคลิปที่อ้างว่าเป็นบันทึกการสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่าย ตุลาการและทนายความของพรรคประชาธิปัตย์ในกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์
นาย จาตุรนต์กล่าวว่าพูดใน 2 ฐานะ ฐานะแรกคือในฐานะเหยื่อของการยุบพรรคที่ใช้กฎหมายเผด็จการย้อนหลัง ทำให้ต้องติดตามการยุบพรรคของคดีอื่นๆ เรื่อยมา จนกระทั่งถึงคดีพรรคประชาธิปัตย์ และฐานะที่สองคือ ประชาชนผู้ห่วงใยความน่าเชื่อถือของศาลรับธรรมนูญและกระบวนการยุติธรรมของ ประเทศไทย
“จากคลิปที่เผยแพร่ทั้งหมด ถ้าเป็นจริงก็สรุปได้ว่ามีการพยายามวิ่งเต้น ขอความช่วยเหลือจากตุลาการศาลในทางที่เป็นประโยชน์ต่อการสู้คดีของพรรคประชา ธิปัตย์ และมีความพยายามของตุลาการอย่างน้อยบางคนที่จะช่วยพรรคประชาธิปัตย์ไม่ให้ ต้องถูกยุบ การกระทำดังกล่าวนี้เป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม ถ้าพูดอย่างนี้กันจริงก็ไม่ทราบว่าเป็นความผิดกฎหมายมาตราไหนอย่างไร และยังไม่ได้เรียกร้องให้ใครต้องไปดำเนินคดีอะไรกับใคร แต่ผมเห็นว่าเป็นการขัดหรือผิดต่อคำถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ของผู้ พิพากษาตุลาการ ที่ต้องปฏิญาณก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 201 รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน ว่าจะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แต่สิ่งที่ทำนี้ทั้งไม่ซื่อสัตย์สุจริตและมีอคติอย่างชัดเจน”
นาย จาตุรนต์กล่าวต่อไปว่า กระบวนการจากนี้ ไม่ว่าจะมีการไปดำเนินการปลดนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์จากเลขาประธานศาลรัฐธรรมนูญก็ดี หรือไปดำเนินคดีเกี่ยวกับใครเอาคลิปมาเผยแพร่ก็ดี ก็เป็นเรื่องที่จะทำก็ทำไปแต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถลบล้างความผิดและปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการหารือในคลิปได้
“อันนี้ก็ต้องเรียกร้องต่อสาธารณชน ทั่วไปว่าไม่ควรหลงประเด็น คนที่จับเรื่องนี้ก็ไม่ควรผิดประเด็น เพราะการผิดประเด็นหลงประเด็น ผู้ที่ชอบที่สุดคือพรรคประชาธิปัตย์”
นาย จาตุรนต์กล่าวด้วยว่า มีประเด็นที่ต่อเนื่องมาจากคลิป คือประเด็นความน่าเชื่อถือของคลิปว่าเป็นการแอบถ่ายมา เหมือนกับไม่ใช่บันทึกการประชุมอย่างเป็นทางการ ไปแอบถ่ายมาจึงไม่น่าเชื่อถือนั้น นายจาตุรนต์เปรียบเทียบกับที่มีการจัดซื้อจัดจ้างของคณะกรรมการของหน่วย งานราชการ มีการแอบบันทึกภาพไว้ได้ความว่ากรรมการฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างหารือกันเพื่อจะ ช่วยบริษัทหนึ่งฮั้วประมูล ถามว่าการที่มีคนมาแอบบันทึกเทปไปหักล้างการที่กรรมการเตรียมฮั้วกันได้หรือ ไม่ คำตอบง่ายๆ คือช่วยไม่ได้ กรรมการนั้นก็มีความผิด ส่วนคนอัดเทปผิดหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
นายจาตุรนต์เสนอว่า เพื่อคลี่คลายความกังขาของประชาชน ศาลรัฐธรรมนูญควรตรวจสอบว่ามีการเจรจากันตามที่ปรากฏในคลิปหรือไม่ โดยให้เจ้าหน้าที่เทคนิคนิติวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ เพื่อเป็นการรักษาความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญและกระบวนการยุติธรรม
“ข้อ เสนอคือ ผมไม่ทราบว่าพูดจริงหรือไม่จริง ถ้าพูดไม่จริง ที่วิเคราะห์มาก็เป็นอันโมฆะไป ถ้าไม่จริงก็มีปัญหาตามที่กล่าวมา ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญควรจะไปตรวจสอบว่ามีการพูดตามที่ปรากฏในคลิปจริงหรือ ไม่ ใครเป็นผู้พูด พูดว่าอะไร มีการแต่งหน้าเลียนแบบคนหรือเลียนเสียงหรือไม่ ถ้าไม่จริงก็ชี้แจงมา เรื่องนี้ก็จบไป ข้อครหานินทาความสนใจของคนก็จะหมดไป”
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า หากการตรวจสอบพบว่ามีการเจรจาเช่นนั้นจริง ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่เพราะเป็นเรื่องความไม่สุจริตเที่ยงธรรม และผู้ที่ปรากฏในคลิปหากเป็นจริงก็ต้องลาออกจากตำแหน่ง
“นี่เป็นข้อ เสนอตรงไปตรงมา และถ้าจริง ปัญหาที่ตามมาถ้าลาออก ประเด็นที่สังคมต้องช่วยกันคิดคือ ตุลาการศาลฯ จะลาออกก่อนตัดสินคดีฯ ก่อนหรือไม่ สังคมต้องช่วยกันคิด แต่คนที่ต้องตัดสินใจคือตุลาการฯ แต่ถ้าจริงแล้วไม่ลาออก ควรจะทำอย่างไรกันดี เพราะพรรคประชาธิปัตย์ นอกจาก 29 ล้านก็ยังมี 258 ล้าน ก็เสนอว่าในอนาคตถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรจะยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญนี้เสีย แล้วตั้งใหม่ให้มีการสรรหาที่ถูกต้องและตรวจสอบได้โดยประชาชน”
อย่าง ไรก็ตาม นายจาตุรนต์ยอมรับว่า การเผยแพร่คลิปทั้งห้าคลิปนั้นมีปัญหา 2 ประเด็นคือจุดอ่อนของคลิปมีสองส่วน คือส่วนที่หนึ่งมีการนำคลิปที่หนึ่งมาเผยแพร่รวมอยู่ด้วย ทั้งๆ ที่คลิปที่หนึ่งไม่เกี่ยวกันเลยกับการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ คือเป็นภาพเหตุการณ์รอรับรางวัลสัญญา ธรรมศักดิ์ ทำให้คนสงสัยในเจตนา
จุด อ่อนที่สองคือการบันทึกภาพและเสียงอาจผิดระเบียบแต่ถึงแม้จะมีจุดอ่อน สองข้อนี้หรือแม้กระทั่งเป็นความผิดทั้งผิดระเบียบหรือผิดกฎหมาย แต่ก็ไม่สามารถหักล้างเนื้อหาที่มีการปรึกษาหารือกันตามที่ปรากฏในคลิปได้
นาย จาตุรนต์กล่าวด้วยว่า สำหรับประเด็นการยุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น ทางทีมทนายของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เน้นสู้ในเรื่องพยานหลักฐานโดยเฉพาะที่ เป็นเอกสารซึ่งเป็นเครื่องแสดงชัดเจนว่าผิดถูกอย่างไร แต่เน้นการทำลายความน่าเชื่อถือของพยานฝ่ายผู้ร้องทั้งในเรื่องส่วนตัว ความสัมพันธ์ส่วนตัวและการทำหน้าที่ในหน้าที่การงานของพยานผู้ร้อง
ข้อ ที่สอง ทีมทนายประชาธิปัตย์ใช้โอกาสที่ได้รับอนุญาตให้พยานของผู้ถูกร้อง คือพยานฝ่ายประชาธิปัตย์ให้การด้วยวาจาเป็นเวลานานเป็นพิเศษ แล้วนำมาใช้ในการแถลงข่าวชี้แจงผ่านสื่อมวลชนในรูปแบบต่างๆ เป็นประจำและมากกว่าการพิจารณาคดียุบพรรคทุกพรรคที่ผ่านมา นับตั้งแต่การยุบพรรคไทยรักไทยเป็นต้นมา ทั้งนี้เพื่อเป็นการชี้แจงทำความเข้าใจกับสาธารณชนสร้างกระแสความเข้าใจให้ ฝ่ายตนเอง ขณะเดียวกันก็พูดซ้ำๆ ว่าไม่ควรสร้างกระแสหรือกดดันศาล
ประการ ที่สาม มีการใช้ข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการจากรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มาทำหน้าที่ทำลายความน่าเชื่อถือของพยานฝ่ายผู้ร้อง โดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่สอบสวนในคดีนี้ ทั้งๆ ที่อธิบดีดีเอสไอที่ผ่านมาได้แสดงบทบาทในเรื่องคดีอื่นๆ อย่างไม่เหมาะสม เกินกว่าหน้าที่ไม่เป็นไปตามการทำหน้าที่ตามประมวลวิธีอาญา เช่นแถลงข่าวเอง จับมาแล้วมาแถลงแทนผู้ต้องหา ให้ความเห็นต่างๆ นานาอยู่เสมอๆ ทั้งที่ที่อธิบดีดีเอสไอนี้ครั้งหนึ่งก็มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการเสนอ ให้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์เป็นคดีพิเศษ