บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

จันทจิรา เอี่ยมมยุรา: ตัวตรงเงาไม่คด

ที่มา ประชาไท

ชื่อบทความเดิม ตัวตรงเงาไม่คด - “ถ้าตัวตรง ไม่ต้องกลัวเงาคด ถ้าหัวตรง ไม่ต้องกลัวเท้าเอียง”
เผยแพร่ครั้งแรกที่
เว็บไซต์นิติราษฎร์

ดู เหมือนกระแสน้ำที่ท่วมท้นประเทศไทยอยู่ขณะนี้จะพัดพา เอาข่าวคราวเรื่องคลิปลับกรณี คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ละลายหายไปกับสายน้ำเรียบร้อยแล้ว แต่สิ่งที่ไม่เป็นข่าวก็ไม่ได้แปลว่าไม่เป็นปัญหา เพราะคลิปลับซึ่งข่าวว่ามีด้วยกัน 5 ตอนนี้กลายเป็นวัตถุพยานเพิ่มน้ำหนักความระแวงสงสัยของสาธุชนที่มีมาก่อน หน้านี้แล้วว่าศาลนั้นยังคงเที่ยงธรรมและเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนอยู่ หรือไม่ ด้วยเนื้อหาในคลิปแสดงไปในทิศทางว่ามีการวิ่งเต้นล็อบบี้เจ้าหน้าที่ระดับ สูงของศาล คือเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญมิให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากนี้มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนหารือกันถึงวิธีการเพื่อให้ได้พยาน บุคคลบางคนมาให้การต่อศาล [1] แต่ พลันที่ข่าวนี้เผยแพร่ออกไปตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกลับเห็นว่านี่เป็นขบวน การบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญด้วยการเผยแพร่คลิป

ล่า สุดคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกโรงมีมติให้เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐ ธรรมนูญแจ้งความดำเนินคดีขบวนการจัดฉากเผยแพร่คลิปฉาวในข้อหาข่มขู่และหมิ่น ประมาท [2] สร้าง ความฉงนสนเท่ห์ให้แก่สาธุชนที่มีใจเป็นธรรมจำนวนไม่น้อยว่าเหตุใดศาล รัฐธรรมนูญหรือหน่วยงาน ป.ป.ช.จึงไม่ดำเนินการสอบสวนให้ได้ความกระจ่างแจ้งเสียก่อนว่าคลิปดังกล่าว เป็นของจริงหรือตัดแต่ง มีตุลาการหรือข้าราชการศาลรัฐธรรมนูญคนใดต้องรับผิดชอบกับความไม่ชอบมาพากล เรื่องนี้อย่างไรบ้าง รวมทั้งบุคคลภายนอกที่วิ่งเต้นล็อบบี้ศาลด้วย

อย่างนี้จะเข้าทำนองตัวไม่ตรง แต่ไปโทษว่าคนอื่นทำเงาคดหรือไม่

ปี นี้ผู้รู้ออกมาให้ข้อมูลว่าประเทศไทยจะประสบกับพายุฝนที่โหมกระหน่ำ หนักหนาที่สุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ความอึมครึมของฟ้าฝนดูจะไม่แตกต่างจากบรรยากาศในวงการยุติธรรมไทยสักเท่าใด นัก ระหว่างรอวันฟ้าสว่างผู้เขียนไปพบหนังสือเล่มหนึ่งที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้เป็นตำราเรียนในวิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมายของนักศึกษานิติศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มาตลอดยี่สิบกว่าปี หนังสือเล่มนี้บรรจุเนื้อหาการบรรยายของนักกฎหมายและตุลาการคนสำคัญ ๆ ของวงการกฎหมายไทยร่วมสมัยเกี่ยวกับการปฏิญาณตนเข้าสู่วิชาชีพและการปฏิบัติ ตนของนักกฎหมาย ตั้งแต่วิชาชีพทนายความไปจนถึงผู้พิพากษาตุลาการอันเป็นขั้นสูงสุดของ วิชาชีพกฎหมาย บรรยากาศเมืองไทยเวลานี้และข่าวคลิปลับคดียุบพรรค ปชป. ย่อมดึงดูดความสนใจของผู้เขียนต่อหนังสือเล่มนี้เป็นพิเศษ และนับเป็นวาระอันเหมาะสมที่จะนำสาระสำคัญบางตอนในหนังสือเล่มนี้มาคุยกับ ท่านผู้อ่านเว็บไซต์นิติราษฎร์ในรอบนี้

ข้อความตอนหนึ่งบรรยายโดย ศาสตราจารย์โสภณ รัตนากร อดีตประธานศาลฎีกา ในหัวข้อเรื่อง “หลักวิชาชีพนักกฎหมาย : ตุลาการ” ท่านกล่าวว่า

สำหรับ ผู้พิพากษาตุลาการ เรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และถือเป็นอุดมการณ์ของตุลาการทุกระบบไม่ใช่เฉพาะของไทย จึงได้เขียนเอาไว้ในประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการเป็นข้อแรก โดยบัญญัติว่า

“หน้าที่สำคัญของผู้พิพากษา คือการประสาทความยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดี ซึ่งจักต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมายและนิติประเพณี ทั้งจักต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าตนปฏิบัติเช่นนี้อย่าง เคร่งครัดครบถ้วน เพื่อการนี้ผู้พิพากษาจักต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระของตนและเทิดทูนไว้ซึ่ง เกียรติศักดิ์แห่งสถาบันตุลาการ”

เหตุที่ประมวล จริยธรรมข้าราชการตุลาการยกเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ไว้ เป็นข้อแรก และถือเป็นอุดมการณ์แห่งวิชาชีพที่สำคัญที่สุดเพราะเหตุว่าถ้าผู้พิพากษาไม่ มีความซื่อสัตย์สุจริต สถาบันตุลาการก็อยู่ไม่ได้ เป็นที่เชื่อถืออะไรไม่ได้ [3] ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อม และล่มสลายของสถาบันตุลาการในที่สุด

ความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นอิสระของผู้พิพากษานอกจากต้องมีอยู่ในตนอย่างแท้จริงแล้ว

ตอน ท้ายของประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการข้อนี้ยังเรียกร้องให้ผู้ พิพากษา “จักต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่า ตนปฏิบัติเช่นนี้อย่างเคร่งครัดครบถ้วน”ซึ่งอาจารย์โสภณหมายความว่า ผู้ พิพากษามีหน้าที่ต้องทำให้ประชาชนเห็นจริงด้วยว่า เขาได้รับความยุติธรรมโดยปราศจากข้อเคลือบแคลงสงสัย ไม่ใช่ว่าตัวผู้พิพากษาคิดว่าได้ให้ความยุติธรรมแล้ว แต่ประชาชนสงสัยว่าเขาไม่ได้รับความยุติธรรม อย่างนี้ใช้ไม่ได้

มี คำพูดคำหนึ่งในวงการตุลาการว่าผู้พิพากษาไม่เพียงต้องซื่อสัตย์สุจริต แต่จะต้องทำตัวให้ไม่มีฉายาแห่งความไม่สุจริต คือ ไม่ให้มีเงาให้คนอื่นเขาสงสัยในความไม่สุจริตนั่นเอง

ผู้เขียนเห็นว่าคำว่า “ฉายาหรือเงา” สำหรับผู้พิพากษา นอกจากจะหมายเอาที่พฤติกรรมอันไม่สุจริตของตัวผู้พิพากษาซึ่งทำหน้าที่ พิพากษาตัดสินคดีโดยตรงแล้ว ยังหมายรวมไปถึงพฤติกรรมของบุคคลใกล้ชิดผู้พิพากษาทั้งในหน้าที่การงานและใน ครอบครัวซึ่งการกระทำของบุคคลเหล่านั้นอาจทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจไปได้ว่า เป็นการยินยอมหรือความเห็นชอบของผู้พิพากษาผู้นั้น

กล่าวเฉพาะเจาะ จงเรื่องคลิปลับ หากตั้งคำถามว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ปรากฏตัวในคลิปทั้งโดยตัวเองและโดยเงา (โดยนัย) จะเข้าข่ายมีพฤติกรรมที่อาจถูกสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นอิสระ แล้วหรือไม่ และสมควรดำเนินการทางกฎหมายประการใด ผู้เขียนขอมอบให้องค์กรผู้มีหน้าที่สอบสวนอย่างคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นผู้ตอบ
ส่วนคดียุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น ตุลาการที่ถูกสงสัยควรปฏิบัติตัวอย่างไร ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ข้อ 14 กล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ในอรรถคดีว่า

“ผู้ พิพากษาพึงถอนตัวออกจากการพิจารณา และพิพากษาคดีเมื่อมีเหตุที่ตนอาจจะถูกคัดค้านได้ตามกฎหมาย หรือเมื่อมีเหตุประการอื่นที่เกี่ยวกับตัวผู้พิพากษาอันอาจทำให้การพิจารณา พิพากษาคดีนั้นเสียความยุติธรรม และจักต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการจูงใจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีนั้นในภายหลังในประการที่ อาจทำให้เสียความยุติธรรมได้”

เรื่องนี้อาจารย์โสภณเห็นว่า เป็นเรื่องที่สำคัญของผู้พิพากษา เพราะการถอนตัวไม่เพียงแต่เป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจของผู้พิพากษาเท่านั้น แต่ยังเป็นการป้องกันมิให้มีข้อครหาเกิดขึ้นภายหลัง เพื่อดำรงความบริสุทธิ์ยุติธรรมของสถาบันศาลและเพื่อรักษาไว้ซึ่งความศรัทธา ของประชาชนต่อศาลด้วย

ผู้เขียนเห็นว่าเหตุผลประการหลังนี้เองเป็น รากฐานของบรรดาข้อบัญญัติ ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการและนิติประเพณีทั้งหมดทุกประการ คดียุบพรรคการเมืองไม่ว่าพรรคใดล้วนเป็นเรื่องใหญ่ มีประชาชนที่เขาหวงแหนพรรคสนับสนุนอยู่จำนวนมาก หากประชาชนเหล่านั้นรู้สึกว่าการยุบหรือไม่ยุบพรรคการเมืองใดไม่ได้ขึ้นอยู่ กับพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงในคดีแล้ว ย่อมเกิดความไม่เชื่อถือเคารพศรัทธาสถาบันศาลและตุลาการตามมา และหากความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในสังคมแล้ว (แม้ความรู้สึกอาจตรงหรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริงก็ตาม) วิถีทางการระงับความขัดแย้งในสังคมโดยสันติย่อมสิ้นสุดลง ประชาชนจะเลิกนำคดีมาสู่ศาลและหันไปยุติความขัดแย้งด้วยความรุนแรง (ดังปรากฏการณ์ระเบิดเกลื่อนเมืองขณะนี้) ท้ายที่สุดความหายนะย่อมเกิดขึ้นกับสถาบันศาลและสังคมไทยอย่างไม่อาจหลีก เลี่ยงได้

ผู้เขียนเห็นว่าผู้พิพากษาและตุลาการซึ่งได้ปฏิญาณตนตาม รัฐธรรมนูญ รวมทั้งสถาบันแห่งรัฐทั้งหลายซึ่งมีหน้าที่ประกันความอิสระของตุลาการ [4] มีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องรักษาความบริสุทธิ์ยุติธรรมของสถาบันศาลและความศรัทธาของประชาชนต่อศาลไว้เท่าชีวิตตน

ก่อน จบผู้เขียนนึกขึ้นได้ว่าในสมัยที่ท่านอาจารย์โสภณ รัตนากร ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกานั้น ท่านเป็นผู้ที่ไล่ผู้พิพากษาออกจากราชการถึง 17 คน นับว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการตุลาการไทย สาเหตุการไล่ออกก็มีต่าง ๆ นานา แต่ไม่เห็นเคยตีโพยตีพายเลยว่ามีขบวนการบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของศาล ยุติธรรม ข่มขู่หรือหมิ่นประมาทศาล เรื่องพรรค์นี้ผู้หลักผู้ใหญ่ซึ่งเป็นตุลาการที่ผู้เขียนเคารพนับถือพูดเสมอ ว่า “ถ้าตัวตรง ไม่ต้องกลัวเงาคด ถ้าหัวตรง ไม่ต้องกลัวเท้าเอียง”

-------------------------------------

1. มติชนออนไลน์ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 05:06:31 น. เผยแพร่ข่าวนี้พร้อมกับสรุปสาระของคลิปแต่ละตอน ดังนี้

ตอน ที่ 1 เป็นภาพ "ผู้ใหญ่" พบและปรึกษาหารือบิ๊กตุลาการบางคนโดยอ้างว่า เป็นการพบเพื่อให้ช่วยไม่ให้พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ โดยรับปากว่า หากผ่านวิกฤตนี้ได้จะปูนบำเหน็จด้วยตำแหน่งที่สูงส่ง

ตอนที่ 2 เป็นคลิปและคำสนทนาของส.ส.ในฐานะตัวแทนฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์คนหนึ่ง นัดพบเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ห้องอาหารแห่งหนึ่ง เพื่อปรึกษาการเตรียมการให้กกต.ที่ให้การเป็นคุณ ในการอ้างข้อกฎหมาย เพื่อให้พรรคไม่ถูกยุบ

ตอนที่ 3 เป็นคลิปตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนปรึกษาหารือเพื่อจะอ้างคำให้การของนาย อภิชาต เพื่ออ้างว่ามีอำนาจทำได้และพ่วงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ตอน ที่ 4 เป็นคลิปคำพูดหลายคำของวงปรึกษาหารือที่ซ่อนนัยยะหากตัดสินไม่ยุบประชาธิ ปัตย์ เกรงจะมีข้อครหานินทา จึงจะดึงนายอภิชาตมาร่วมรับในสองมาตรฐาน

ตอนที่ 5 เป็นทรรศนะของตุลาการรัฐธรรมนูญบางคนที่มีต่อ ส.ส.เพื่อไทย ใช้คำว่า "มัน"ทุกครั้งที่เอ่ยชื่อ
จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1287228593&grpid=00&catid

2. หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2553 ใน http://www.ryt9.com/s/nnd/1015442

3. โสภณ รัตนากร “หลักวิชาชีพนักกฎหมาย : ตุลาการ” ใน รวมคำบรรยายหลักวิชาชีพนักกฎหมาย, แสวง บุญเฉลิมวิภาส บรรณาธิการ, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ วิญญูชน, 2545, หน้า 158-159.

4. ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ค.ศ.1958 มาตรา 64 วรรคแรก บัญญัติว่า “ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเป็นผู้ประกันความเป็นอิสระของตุลาการ”

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker