บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ยุบศาล รธน. เกาไม่ถูกที่คัน

ที่มา มติชน



โดยประสงค์ วิสุทธิ์

เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์"มติชน"ว่า ได้ยินข่าวว่า มีข่าวพูดกันมากในฝ่ายการเมืองที่ต้องการแก้ไขในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญโดยจะ ให้ยุบองค์กรนี้และให้งานเกี่ยวกับการวินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญไปอยู่ที่ศาล ฎีกาหรือศาลปกครอง


เหตุผลที่กล่าวอ้างว่า เป็นที่มาของข่าวดังกล่าวคือ เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของศาลรัฐธรรมนูญถูกย่ำยี โดยมีการให้ข่าวเชิงทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญมากขึ้นเรื่อยๆ


ณ ที่นี้คงไม่มาถกเถียงกันว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ดีหรือไม่ดีในการยุบศาลรัฐธรรมนูญเพราะนอกจากต้องถกเถียงกันทางด้านวิชาการ ในประเด็นต่างๆ มากมายแล้ว ต้องดูโครงสร้างของสถาบันการเมืองทั้งระบบด้วย มิเช่นนั้นแล้วการตั้งโน่น ยุบนี่ก็เหมือนเอารัฐธรรมนูญมาปะผุอย่างเช่นที่กำลังทำอยู่ทุกวันนี้หรือการ ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550


แต่ประด็นที่ต้องการนำเสนอคือ มิใช่ศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่มีปัญหา องค์กรตามรัฐธรรมนูญสำคัญๆ อาทิ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ฯลฯ ล้วนมีปัญหามากมาย ถ้าไม่เร่งแก้ไขหรือปฏิรูปครั้งใหญ่อาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนและความน่า เชื่อถืออย่างรุนแรงเช่นกัน (องค์กรตามรัฐธรรมนูญบางแห่งแทบไม่มีความน่าเชื่อถือหลงเหลืออยู่อีกแล้ว?)


ปัญหาในองค์กรเหล่านี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ด้านหลักซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก


ด้านแรก คุณภาพหรือมาตรฐานในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี ต้องยอมรับว่า กกต. และ ป.ป.ช.ถูกตั้งคำถามในเรื่องนี้ค่อนข้างมากกว่าศาลยุติธรรมและศาลปกครอง อย่างไรก็ตามปัญหานี้ผูกพันอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมอย่าง รวดเร็วด้วย


ด้านที่สอง คุณภาพของบุคคลากรและการบริหารจัดการ ปัญหานี้องค์กรเก่าแก่กว่า 100 ปี อย่างศาลยุติธรรม แม้จะมีความพยายามในการปรับปรุงการบริหาร แต่ปัญหาหนักที่ทับถมศาลยุติธรรมคือ ปริมาณคดีค้างการพิจารณาเป็นจำนวนมาก


ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2553 คดีค้างในศาลทุกชั้น(ชั้นต้น-อุทธรณ์-ฎีกา)รวมแล้ว 265,058 คดี จริงอยู่ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ อัตราเร่งในการพิจารณาค่อนข้างเร็ว แต่คดีที่รับใหม่ก็มีปริมาณสูง เช่น เพียง 8 เดือนของปีนี้มีคดีรับใหม่ในศาลชั้นต้นกว่า 700,000 คดี


ขณะ ที่ปัญหาหนักตกอยู่ที่ศาลฎีกาที่มีผู้ พิพากษาเพียง 100 คนเศษ แต่มีคดีค้างอยู่กว่า 37,000 คดีและมีปริมาณคดีรับใหม่ในอัตราสูง โดยไม่มีใครรู้ว่า คดีที่ค้างอยู่นานเกินกว่า 10 ปีมีจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อมูลที่ไม่อาจตรวจสอบได้


อย่าลืมว่า ยิ่งคดีพิจารณาล่าช้าเท่าใด ยิ่งไม่ยุติธรรมกับประชาชนมากเท่านั้น

ขณะ ที่องค์กรอื่น แม้ตั้งขึ้นใหม่ แต่ก็มีปัญหาในด้านการบริหารจัดการอย่างหนักหน่วงไม่แพ้กัน เพราะเป็นการรวมคนมาจากร้อยพ่อพันแม่ ต่างวัฒนธรรมความคิดมาอยู่รวมกัน ทำให้หลายแห่งมีการช่วงชิงอำนาจ ไม่มีความผูกพันกับองค์กร ไร้กฎระเบียบที่ชัดเจน ทำให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวก ฯลฯ


อาทิ สำนักงานศาลปกครองไม่มีการกำหนดขอบเขตงานและอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนของที่ปรึกษา แต่ใช้วิธีการง่ายๆคือ แต่ง ตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่เกษียณอายุเป็นที่ปรึกษาทั้งหมด ทำให้มีที่ปรึกษาถึง9-10คน ทำให้ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนรายละ 60,000 บาท/เดือน รวมเดือนละ 600,000 บาท ปีละ 7,200,000 บาท(ยังไม่รวมค่าปรับปรุงห้องทำงานใหม่ให้พอกับจำนวนที่ปรึกษาที่เพิ่มขึ้นอีก) ขณะที่ตุลการศาลปกครองสูงสุดมีเพียง 17 คนเท่านั้น


คำถามคือ ถ้ามีตุลาการศาลปกครองสูงสุดเกษียณอายุอีกจะตั้งเป็นที่ปรึกษาไปเรื่อยๆเช่นที่ผ่านมาหรือไม่ และมีจำนวนเท่าใดจึงจะเพียงพอ


ศาล รัฐธรรมนูญก็มีปัญหาเช่นเดียวกันองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆและดู เหมือนว่าจะหนักหน่วงกว่าด้วยซ้ำโดยเฉพาะเรื่องมาตรฐานคำวินิจฉัยที่ผ่าน มา(ไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญชุดไหนก็ตาม)และปัญหาบริหารจัดการโดยเฉพาะคนสนิทของ ประธานศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเอง ว่า แอบอิงอำนาจ"นาย"ในการแสวงหาผลประโยชน์ในรูปต่างๆ โดยผู้มีอำนาจทำตัวเป็น"จ่าเฉย"จนปัญหาบานปลายกลายเป็นคลิปฉาว


จริง อยู่ การโจมตีศาลรัฐธรรมนูญของพรรคฝ่ายค้านอาจมีเป้าหมายในทางการเมืองในเรื่อวง คดียุบพรรค แต่สิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องมีการปัดกวาดเช็ดถู เช่นเดียวกัน

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker