ชัช ชลวร
พสิษฐ์ ศักดาณรงค์(คนขวา)
โดย ประสงค์ วิสุทธิ์
ถึง เวลานี้ อาจจะยังไม่รู้ว่า ใครเป็นเหยื่อใคร กรณีการเผยแพร่คลิปที่พรรคเพื่อไทยอ้างว่า เป็นการต่อรองในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินภายในปลาย ปี 2553
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือของทั้งองค์กรและผู้บริหารระดับสูงในศาลรัฐธรรมนูญได้เป็นอย่างดี
ความจริงแล้ววิกฤตที่เกิดขึ้นกับศาลรัฐธรรมนูญมิได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงตัดสินคดี"ซุกหุ้น"ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544
พฤติการณ์ของตุลาการบาง(หลาย)คนและกระบวนการในการวินิจฉัยคดีที่"ไร้มาตรฐาน"ทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญมาแล้ว
แต่ น่าเสียดาย มิได้ทำให้ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการบางคนสำนึก ที่ช่วยกันสร้างองค์กรให้มีเข้มแข็งน่าเชื่อถือต่อสาธารณะ
หลังจากการตัดสินคดี"ซุกหุ้น"ผ่านมา 10 ปี คนในศาลรัฐธรรมนูญได้ก่อวิกฤตขึ้นภายในองค์กรอีกครั้งหนึ่ง
การที่นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ สั่งปลดนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ออกจากตำแหน่งเลขานุการฯ หลังจากที่ก่อเหตุการณ์อื้อฉาวแอบอ้างตำแหน่งเลขานุการประธานศาลฯไปเจรจาต่อ รองกับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เรื่องคดียุบพรรค เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
แต่ คำถามที่เกิดขึ้นทันทีคือ นายชัชควรแสดงความรับผิดชอบ(มากกว่านี้)อย่างไร เพราะนายพสิษฐ์ เป็นบุคคลที่นายชัชแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2551 ซึ่งให้"เอกสิทธิ์"นายชัชที่จะแต่งตั้งใครก็ได้ เพราะต้องเป็นบุคคลที่ไว้วางใจ(สามารถปลดออกและพ้นตำแหน่งพร้อมประธานศาลฯ)
เมื่อ อยู่ในตำแหน่งเลขานุการฯ นายชัชได้มอบหมายให้นายพสิษฐ์ เป็นตัวแทนในภารกิจหลายอย่าทั้งภายในและภายนอกซึ่งนายพสิษฐ์เองก็ได้แสดง บทบาทอย่างเต็มที่ ทำให้ผู้บริหารสำนักงานศาลอย่างเลขาธิการฯเองก็ให้ความเกรงใจ และสามารถใช้อำนาจดึงสาวคนสนิทในสำนักงานมาอยู่หน้าห้องประธานศาลได้ด้วย
ดัง นั้น การที่นายพสิษฐ์อ้างตำแหน่งเลขานุการฯพูดคุยเรื่องคดียุบพรรคกับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์(ตามเสียงในคลิป)ย่อมทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจได้ว่า นายพสิษฐ์มาในฐานะตัวแทนประธานศาลฯได้
แต่น่าแปลกคือ ไม่ค่อยมีใครทราบประวัติความเป็นมาของนายพสิษฐ์มากนัก(ยกเว้นตามคำบอกเล่าของตัวเองซึ่งแสดงถึงความเก่งกาจ) เช่น เปลี่ยนชื่อกลับไปกลับมาถึง 6 ครั้งอย่างพิสดารจาก "กมษศักดิ์ชนะ" เป็น "ชนะ-เกษมศักดิ์ชนะ-พสิษฐ์-กันตินันทน์-พสิษฐ์ "
ที่ รู้กันทั่วไปคือ นายชัชหอบหิ้วมาทำงานที่ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อได้รับตำแหน่งประธาน ทั้งที่นายพสิษฐ์จบมาทางด้านกายวิภาคศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรังสิต มิใช่ด้านกฎหมายที่น่าจะช่วยงานด้านวิชาการได้มากกว่า
เมื่อนายพสิษฐ์เป็นคนสนิท"ส่วนตัว" ก่อเรื่องขึ้น แทนที่นายชัชจะออกมาแถลงชี้แจงด้วยตนเอง กลับให้ตุลการ 5 คนซึ่งมิได้เกี่ยวข้องด้วย(ยกเว้นกรณีมีการแอบถ่ายคลิปในห้องประชุม)มาแถลง ปลดนายพสิษฐ์ออกจากตำแหน่งทั้งที่อำนาจการปลดนายพสิษฐ์เป็นของนายชัชเพียงคน เดียว(ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ตุลาการ5คนออกมารับหน้าแทนทำไม?)
หรือ นายชัช ไม่มีความกล้าหาญเพียงพอที่จะสู้หน้าสาธารณชน คิดว่า การหลบหน้าหลบตาจะทำให้เรื่องเงียบไปกับสายลม แล้วไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ
ที่สำคัญการดำเนินการกับนายพสิษฐ์เป็นไปอย่างกล้าๆกลัวๆ เพราะมีข่าวว่า นาย พสิษฐ์เดินทางไปต่างประเทศด้วยหนังสือเดินทางของราชการ เมื่อถูกปลดจากตำแหน่งด้วยข้อกล่าวหารุนแรง ทำไมสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ทำเรื่องถึงกระทรวงการต่างประเทศให้เพิกถอน หนังสือเดินทางราชการของนายพสิษฐ์
ขณะที่นายชัชเองก็ถูกสาธารณชนตั้งคำถามถึง"ความเที่ยงธรรม"ในการตัดสินคดีจากการกระทำของนายพสิษฐ์
ดังนั้นการปลดนายพสิษฐ์ จึงไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความเชื่อถือต่อตัวนายชัชได้ ตัวอย่างเช่น ถ้านายชัชตัดสินให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะถูกกล่าวหาว่าต่อรองกับพรรคประชาธิปัตย์ไม่ลงตัว
ถ้าตัดสินว่าไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะถูกกล่าวหาว่า ต่อรองกับพรรคประชาธิปัตย์เรียบร้อยแล้ว
ดังนั้น ถามว่า ความรับผิดชอบของนายชัชควรอยู่ในระดับใด
ถ้าเอาระดับสูงสุด ควรลาออกจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ระดับรองลงมา ควรลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ แต่ยังเป็นตุลการอยู่
ระดับต่ำสุด ควรถอนตัวจากองค์คณะคดียุบพรรค
การตัดสินใจของนายชัชจะแสดงถึงสปิริตของคนที่เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญและนักกฎหมายดีเด่นรางวัลศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
หรือแค่เล่นบท"จ่าเฉย"เพื่อเอาตัวรอดไปเรื่อยๆเท่านั้น