บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ย้าย101นักโทษการเมืองไปพลตร.บางเขน รัฐเป็นเจ้าภาพยื่นประกันรวมอากงSMSขึ้นกับศาลเมตตา

ที่มา Thai E- News

สำนัก ข่าวAFPนำเสนอรายงานข่าว 20 years' jail for Thai anti-royal texts: lawyer พร้อมไฟล์ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ประกอบรายงานข่าวศาลตัดสินจำคุกผู้ถูกกล่าวหา ส่งข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นเวลา 20 ปี (รายละเอียดข่าว)

รัฐบาลจะยื่นประกัน-ศาล อาญารัชดา ตัดสินจำคุกอากง คดีถูกกล่าวหาส่งSMSหมิ่นฯ 20 ปี แม้ว่าคอป.ได้เสนอต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมาให้ชลอเว้นวรรคปล่อยตัวคดีคนเสื้อแดง และคดี112ไว้ก่อน และเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 เลขาธิการนายกรัฐมนตรีส่งหนังสือถึงปลัดยุติธรรมให้ดำเนินตามมติคอป.(ดาวน์โหลดดูหนังสือ) ก็ตาม วันนี้นปช.ได้ไปยื่นหนังสือต่อรมต.ยุติธรรมให้ปลดปล่อยนักโทษการเมืองที่คง ยังถูกคุมขังไว้ 101 คนให้เป็นอิสระ ซึ่งรมต.ยุติธรรมตกลงจะย้ายนักโทษการเมืองไปที่รร.พลตำรวจบางเขน และรัฐบาลจะเป็นผู้ยื่นประกัน 101 นักโทษคดีการเมือง รวมทั้งอากงSMSต่อศาล (ภาพจากแฟ้มภาพ)

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
23 พฤศจิกายน 2554

ผลนปช.ถกรมต.ยุติธรรมจะย้ายนักโทษการเมืองไปรร.พลตำรวจบางเขน และรัฐจะยื่นขอประกันต่อศาล

นายแพทย์สลักธรรม โตจิราการ บุตรชายนางธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธาน นปช. กล่าวเปิดเผยผลการเดินทางเข้าพบหารือพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ของนปช.ช่วงบ่ายวันนี้ทางเฟซบุ๊คส่วนตัว ว่า นปช.เตรียมยื่นประกันนักโทษการเมืองทั้ง 101คน รวมทั้งคดี "อากงส่ง SMS"ที่ศาลตัดสินจำคุก 20 ปีในวันนี้ ให้เป็นคดีพิเศษ

ซึ่งผลหารือสรุปว่า รัฐจะย้ายที่คุมขังนักโทษคดีการเมืองไปที่โรงเรียนตพลำรวจบางเขน ทยอยๆไป และรัฐบาลจะเป็นผู้ยื่นประกันตัวให้ แต่การให้ประกันขึ้นกับดุลพินิจของศาล

ส่วนเหตุที่นปช.ต้องรอจนถึงตอนนี้ เพราะว่าหลักทรัพย์การประกันตัวสูงมาก และโอกาสสำเร็จต่ำ แต่ว่ามาตอนนี้เห็นจังหวะที่เหมาะสม และประเมินแล้วว่า สถานการณ์ในการประกันตัวมีโอกาสสำเร็จสูงขึ้นอย่างมาก (แต่ก็ต้องบอกว่าบางคดียังยาก เพราะความคิดในแวดวงผู้พิพากษา) พร้อมกันขอให้รัฐบาลรับผิดชอบเรื่องหลักทรัพย์ในการประกันตัวร่วมกันด้วย

ข้อเสนอของคอป.ให้ชลอคดีการเมืองไร้ความหมาย ศาลจำคุกคดีอากงส่งSMSหมิ่น20ปี

แม้ว่า คอป.ได้เสนอต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มานานร่วม 2 เดือน เมื่อ 15 กันยานที่ผ่านมา เสนอให้ปล่อยตัวชั่วคราว อย่าเพิ่งให้ศาลตัดสินคดี ให้ชลอคดี หรือเว้นวรรค ปล่อยตัวออกมาก่อน เพราะเป็นคดีการเมือง และเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 เลขาธิการนายกรัฐมนตรีส่งหนังสือถึงปลัดยุติธรรมให้ดำเนินตามมติคอป.(ดาวน์โหลดดูหนังสือ) แต่ความเป็นจริงปรากฎว่า ศาลได้ตัดสินจำคุกคนเสื้อแดงและผู้ต้องหาคดี 112 อย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดช่วงสายวันนี้ นายชนาธิป เหมือนพะวงศ์ ผู้พิพากษา ศาลอาญา รัชดา ได้ตัดสินจำคุกนายอำพล (สงวนนามกุล) อายุ 61 ปี หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “อากง” ซึ่งถูกฟ้องว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยข้อกล่าวหาว่าส่งเอสเอ็มเอสที่มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปยัง โทรศัพท์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี

ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 14 อนุ 2 และ 3 ลงโทษจำคุก 20 ปี

ทั้งนี้ ศาลใช้วิธีอ่านคำพิพากษาผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอรเรนซ์ เนื่องไม่สามารถนำตัวจำเลยมาฟังคำพิพากษาได้เพราะน้ำท่วมเรือนจำ หลังฟังคำพิาพากษา ภรรยา ลูกและหลานๆ ของนายอำพลพากันร่ำไห้ ขณะที่มีประชาชนผู้สนใจคดีดังกล่าวร่วมฟังคำพิพากษาราว 30 คน

ทางด้านนางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายจำเลยระบุว่า จะมีการหารือกับทีมทนายและครอบครัวจำเลยอีกครั้ง เบื้องต้นคาดว่าน่าจะไม่อุทธรณ์คดีและขอพระราชอภัยโทษ (อ่านรายละเอียดคำพิพากษา)

-สำนักข่าวAFP:20 years' jail for Thai anti-royal texts: lawyer



นปช.แถลงรัฐบาลอย่าดีแต่พูดแบบรัฐบาลก่อนเข้าพบประชาให้ทำตามข้อเสนอคอป.ปล่อย101นักโทษคดีการเมือง

วันนี้เวลา13.00 น.นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธานนปช.ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ในวันพุธที่ 23 พฤศจิกายนว่า ในเวลาราว 15.00 น.วันนี้นปช.จะเดินทางไปพบพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ศปภ.อาคารเอ็นเนอร์ยี่ เพื่อยื่นหนังสือและเจรจาขอให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการปลดปล่อยผู้ต้องหา คดีเสื้อแดง และผู้ต้องหาคดีการเมืองทั้งหมดที่ยังถูกคุมขังอยู่ 101 คน (ดาวน์โหลดรายชื่อที่นี่) ตามมติของ คอป.ที่ได้นำเสนอต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา

"ความจริงคอป.เ้สนอมาตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ์แล้วให้ปล่อยตัวนัก โทษคดีการเมืองทั้งหมด แต่รัฐบาลนั้นดีแต่พูดไม่ยอมทำตามข้อเสนอ ทั้งที่เป็นรัฐบาลที่แต่งตั้งคอป.ขึ้นมาเอง ส่วนรัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์คงจะไม่ดีแต่พูดแบบรัฐบาลก่อน"

สัปดาห์ต่อไปจะไปพบรองนายกฯยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ ในฐานะประธาน ปคอป. เพื่อเร่งรัดให้ปลดปล่อยผู้ต้องหาการเมืองทั้งหมดตามมติคอป. และเรื่องการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม

นอกจากนั้นนปช.จะดำเนินการเรื่องที่ 2 คือการทำความจริงให้ปรากฎ โดยมีหลักฐานออกมาเรื่อยๆโยงไปถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ที่เป็นผู้สั่งการเข่น ฆ่าประชาชน ล่าสุดมีผู้นำูเอกสารศูนย์ปฏิบัติการพิเศษที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯขณะนั้น ในฐานะผอ.ศอฉ.แต่งตั้งขึ้นมา เช่น นปพ.ของกองทัพอากาศ มีเรืออากาศเอกเป็นหัวหน้าหน่วย มีพลยิงแต่ละหน่วย 5 คน

คำถามคือยิงใคร นี่เป็นหลักฐานยืนยันที่พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด เคยบอกว่าผอ.ศอฉ.สั่งการ แต่อ้างว่าไม่ได้สั่งยิงประชาชน แล้วเอกสารล่าสุดนี้ทำไมมีตำแหน่ง"พลยิง" ไม่ใช่เพื่อคุ้มครองตัวเอง หรือประชาชน แต่เป็นพลยิงประชาชน ดังนั้่นหากทหารมีคำสั่งอะไรก็แจ้งมา เพื่อจะได้นำผู้สั่งการมาลงโทษ

เรื่องที่ 3 ป้องกันไม่้ให้เกิดปัญหาการฆ่าประชาชนขึ้นมาอีก ต้องดำเนินกา่รลงโทษผู้เข่นฆ่าประชาชนให้เข็ดหลาบ จะได้ไม่กล้าสังหารประชาชนในคราวหน้า จึงขอเชิญประชาชนผู้พบเห็นเหตุการณ์สังหารประชาชนระหว่าง 10 เมษา-19 พฤษภาคม 2554มาที่ศูนย์เยียวยา อิมพีเรียลลาดพร้าว ชั้น 5 เพื่อเอาผิดฆาตกรและผู้สั่งการลงโทษต่อไป


สำหรับหนังสือที่ยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


เรื่อง ขอให้ฯพณฯเร่งรัดดำเนินการประกันตัวผู้ที่ถูกคุมขังในเรือนจำอันเนื่องมาจาก เหตุการณ์ การชุมนุมเมื่อเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ๒๕๕๓ และความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา

โดยอ้างถึงหนังสื่อด่วนที่สุดที่ นร ๐๕๐๖/๒๓๓๑๐ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า

“คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม๒๕๕๔ ลงมติรับทราบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตาม ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติ(ปคอป.)การประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม๒๕๕๔และเห็นชอบให้ กระทรวงยุติธรรม............................ดำเนินการตามที่สำนักเลขาธิการ นายกรัฐนตรีเสนอ”

ซึ่งปรากฏรายละเอียดตามบันทึกข้อความด่วนที่สุดตามที่อ้างถึงในข้อ๒.ข้างต้น ว่า

๒.๒วงเล็บ๒

“ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลยสามารถต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ ความบริสุทธิ์และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวอันเกิดจากการถูก จำกัดเสรีภาพในกรณีที่ศาลอนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวแต่กำหนดให้มีหลัก ประกันตัวด้วยนั้น ชอบที่รัฐบาลจะจัดหาหลักประกันดังกล่าวให้แก่ผู้ต้องหาและจำเลยที่ไม่สามารถ จะจัดหาหลักประกันได้ หากผู้ต้องหาและจำเลยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว รัฐบาลควรจัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่ไม่ใช่เรือนจำปกติ ดังเช่นที่เคยใช้กับนักโทษการเมืองในอดีต”

ดังนั้น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)แดงทั้งแผ่นดิน จึงขอเรียกร้องให้ท่านได้โปรด เร่งรัดดำเนินการประกันตัวผู้ถูกคุมขังทั้ง๗๐คนตามเรือนจำต่างๆทั่วประเทศ ตามที่ได้ส่งมาในสิ่งที่ส่งมาด้วยแล้วนั้นตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวัน ที่๒๕ตุลาคม๒๕๕๔ดังกล่าวข้าวต้น

เพราะสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมที่แท้จริง ชีวิตที่อยู่ในเรือนจำแม้เพียงวันเดียวก็เป็นความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส

ขอแสดงความนับถือ

( นาง ธิดา ถาวรเศรษฐ )
ประธานแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)แดงทั้งแผ่นดิน


นางธิดาได้นำเอกสารที่ คอป. ได้ยื่นข้อเสนอ(นโยบายปรองดอง) ต่อนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อ 15 กันยายน 2554 (ดูรายละเอียดหนังสือ) ที่ผ่านมาประกอบการแถลงข่าวว่า คอป.ได้เสนอให้ถือว่านักโทษเสื้อแดง และนักโทษคดีหมิ่นฯ112นั้นมีแรงจูงใจจากการเมือง เป็นนักโทษคดีการเมือง จะปล่อยให้ศาลเร่งรัดตัดสินแบบผู้ร้ายก่ออาชญากรรมทั่วไปไม่ได้ ต้องปล่อยตัว หรือเว้นวรรคชลอคดีไว้ก่อน

โดยมีสาระสำคัญดังนี้

คอป. เห็นว่าสภาพความขัดแย้งในทางการเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมาเป็นสาเหตุสำคัญ ที่นำมาสู่ความรุนแรงและการกระทำความผิดกฎหมายอาญาของผู้ที่เกี่ยวข้องใน ความขัดแย้งฝ่ายต่างๆ ความรุนแรงและการกระทำความผิดกฎหมายอาญาในลักษณะเช่นนี้มิใช่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมในภาวะปกติทั่วไปที่ไม่มีความขัดแย้งในทางการเมืองเช่นนี้

เพราะการกระทำความผิดมีมูลฐานเริ่มต้นจากความคิดเห็นในทางการเมือง ดังนั้น แม้พฤติกรรมที่ผิดกฎหมายที่ก่อให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายแก่บุคคล และส่วนรวมเป็นเรื่องที่ผู้กระทำต้องมีความรับผิดชอบ (accountability) ในทางกฎหมายที่เหมาะสม

แต่ในหลายกรณี ความรับผิดชอบในทางอาญาด้วยการฟ้องคดีและการลงโทษทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียว อาจไม่สอดคล้องต่อปรัชญาในการลงโทษ ไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรม และไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ ทั้งนี้ เพราะผู้กระทำความผิดที่มีเหตุจูงใจทางการเมืองแตกต่างจากผู้กระทำความผิดอาญาทั่วไปที่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรโดยกมลสันดาน

การลงโทษพฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นย่อมไม่สามารถส่งผลในการสร้างความ ยับยั้งหรือความหลาบจำ (deterrence) ให้กับผู้กระทำความผิดเองและสังคมโดยรวมตามหลักทฤษฎีในการลงโทษทั่วไปได้

นอกจากนี้การดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อจากัดของกระบวนการในการสืบสวนสอบสวน การตั้งข้อหา การรวบรวมพยานหลักฐานที่ถูกมองว่าไม่เป็นกลางและ โน้มเอียงไปในทางที่เป็นคุณต่อผู้กุมอำนาจรัฐในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ คอป. จึงมีความเห็นว่าการดำเนินคดีอาญาในคดีความผิดตามพระราชกาหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปตามมาตรา ๒๑๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และคดีที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทั้งหลายทั้งก่อนและหลังการรัฐ ประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ รวมทั้งคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ล้วนเป็นเรื่องที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง รัฐบาลสมควรดาเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีในความผิดดังกล่าว ดังนี้

-เร่งรัดตรวจสอบให้ชัดเจนว่าการแจ้งข้อหาและการดาเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาและจาเลยสอดคล้องกับพฤติการณ์แห่งการกระทำหรือไม่ และทบทวนว่า มีการตั้งข้อหาที่รุนแรงเกินสมควร หรือการดำเนินคดีที่พยานหลักฐานอ่อนไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดหรือไม่

-ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐาน ของผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อให้ผู้ต้องหาและจำเลยสามารถต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวอันเกิดจากการถูกจากัดเสรีภาพ โดย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาและจำเลยว่ามีเหตุที่จะ หลบหนี เหตุที่จะทำลายพยานหลักฐาน หรือเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อสังคม หากได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือไม่

หากไม่มีสาเหตุดังกล่าว ให้ยืนยันหลักกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการปล่อยชั่วคราว และ ในการปล่อยชั่วคราวนั้น แม้ตามมาตรา ๑๑๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะไม่เรียกร้องหลักประกันก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมยังมีการกาหนดให้มีหลักประกัน อันเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายเสมอมานั้น ทาให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างมาก

ในกรณีที่ศาลอนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวแต่กำหนดให้มีหลักประกันด้วยนั้น ก็ชอบแล้วที่รัฐบาลจะจัดหาหลักประกันดังกล่าวให้แก่ผู้ต้องหาและจำเลยทุกคนที่ไม่สามารถจัดหาหลักประกันได้ตามทางปฏิบัติที่ผ่านมา

อนึ่ง ต้องพึงตระหนักว่าการที่ผู้ต้องหาและจำเลยถูกตั้งข้อหาร้ายแรงนั้นไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวตามกฎหมาย

-เนื่องจากผู้ต้องหาและจาเลยมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นในคดีอาญาตามปกติ แต่เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอันมีมูลเหตุเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทางการเมือง หากผู้ต้องหาและจาเลยนั้นไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว รัฐบาลสมควรจัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่เรือนจาปกติเป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาและจาเลย ดังเช่นที่เคยใช้กับนักโทษทางการเมืองในอดีต

-เนื่องจากคดีอาญาเหล่านี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ดาเนินอยู่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาโดย ผู้กระทำผิดมีมูลเหตุจูงใจในทางการเมือง และปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีรากเหง้าที่สาคัญมาจากสภาพสังคมไทยอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่าน (Transition)

การนำเอาหลัก ความยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice) ที่มีเพียงมาตรการการฟ้องคดีอาญาในเชิงลงโทษมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จึงไม่เหมาะสมกับสภาพของปัญหา ดังนั้น จึงสมควรที่จะนาเอาหลักวิชาการเกี่ยวกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาศึกษาและปรับใช้ เพื่อนำหลักการและแนวทางของหลักวิชาการดังกล่าว ตลอดจนประสบการณ์ของต่างประเทศที่เคยเผชิญความขัดแย้งอย่างรุนแรงมาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศไทย

ด้วยเหตุนี้ ในระหว่างที่มีการศึกษาถึงแนวทางในการนำมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยมาใช้ สมควรขอความร่วมมือให้อัยการชะลอการดำเนินคดีอาญาเหล่านี้ไว้ โดยยังไม่พิจารณานำคดีขึ้นสู่ศาล โดยรอให้มีข้อมูลที่ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน ทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งคดี ข้อมูลในภาพรวมของสาเหตุของปัญหา ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในด้านวิชาการเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในกรอบของความ ยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

เพื่อให้อัยการมีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการประเมินความเหมาะสมทางด้าน ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งมาตรการทางอาญาที่เหมาะสมก่อนการสั่งคดี

*******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

-ซีรีส์ชุดคำถามตัวโตๆต่อรัฐบาลนี้:คำถามแรกพวกคุณมีหัวใจไหม?ทำไมเพิกเฉยกับคนเสื้อแดงที่่ติดคุก

คำถามตัวโตๆต่อรัฐบาลนี้(2):เมื่อไรจะเอาคนสั่งฆ่าไปขังคุก มันลำบากตรงไหนกับการให้สัตยาบันICC?

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker