โดย ผศ.ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี
หัวหน้าศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติอันดามัน (ANED) คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554)
วิกฤต น้ำท่วมในประเทศไทย พ.ศ.2554 น้ำได้ท่วมขังครอบคลุมพื้นที่ต่อเนื่องกันเป็นบริเวณกว้างกว่าทุกครั้งที่ ผ่านมา พื้นที่บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เรียกว่า กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน นอกจากนี้ ได้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย
วิกฤต น้ำท่วมครั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายมากมายทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทางด้านเศรษฐกิจ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนหลายแสนล้านบาท ส่วนทางด้านสังคม ประชาชนจำนวนหนึ่งเสียชีวิต ประชาชนที่อยู่บริเวณน้ำท่วมขัง ทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันต้องเคลื่อนย้ายหาที่พักพิงชั่วคราวที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดให้ หรือเคลื่อนย้ายหาแหล่งพักพิงสถานที่อื่น
นอกจากนี้ ยังได้ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของประชาชนเป็นอย่างมาก
ผู้ เขียนได้ศึกษาหาสาเหตุของวิกฤตน้ำท่วมปี พ.ศ.2554 ที่เกิดขึ้นในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน โดยใช้ข้อมูลฝนจากดาวเทียมไมโครเวฟและอินฟราเรด และข้อมูลการบริหารจัดการน้ำจากเขื่อนต่างๆ ที่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มลุ่มน้ำดังกล่าว โดยพิจารณาข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 จนถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2554
ผล การศึกษาพบว่า กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นไหล่เขาสูงทางทิศเหนือ ตะวันออก และตะวันตก พื้นที่ทางตอนเหนือสูงและลดระดับความสูงของพื้นที่จากทางตอนเหนือลงมาทางใต้ (รูปที่ 1 ก) บริเวณนี้ประกอบด้วยลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก เจ้าพระยา และท่าจีน มีแม่น้ำสายสำคัญคือแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก เจ้าพระยา และท่าจีน แม่น้ำเหล่านี้จะไหลจากทางเหนือลงมาทางใต้
พื้นที่ บริเวณลุ่มน้ำดังกล่าวมีขนาดที่แตกต่างกัน ขนาดพื้นที่ของลุ่มน้ำน่านมีขนาดใหญ่ที่สุดคือ 34,331 ตารางกิโลเมตร รองลงมาคือลุ่มน้ำปิง 33,896 ตารางกิโลเมตร ลุ่มน้ำยม 23,616 ตารางกิโลเมตร ส่วนลุ่มน้ำสะแกกรังมีพื้นที่น้อยที่สุดคือ 5,192 ตารางกิโลเมตร
ใน พื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน มีเขื่อนที่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สุดคือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ซึ่งมีความจุอ่างเก็บน้ำ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร รองลงมาคือเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความจะอ่างเก็บน้ำ 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือน (มีหน่วยเป็นล้านลูกบาศก์เมตร) ที่ตกในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนและแต่ละลุ่มน้ำ ของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ. 2554 และค่าปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2554
เปรียบ เทียบความแตกต่างของปริมาณฝนรายเดือนที่ตกในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน และแต่ละลุ่มน้ำย่อย มีหน่วยเป็นล้านลูกบาศก์เมตร ของปี พ.ศ.2554 และค่าเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2554
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ปริมาณฝนรายเดือนของปี พ.ศ.2554 ในภาพรวมของกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน มากกว่าปริมาณฝนที่เป็นค่าเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 เกือบทุกเดือน
และ เมื่อพิจารณาเป็นรายลุ่มน้ำ ก็จะพบว่าปริมาณฝนของ พ.ศ.2554 มีปริมาณฝนมากกว่าปริมาณฝนที่เป็นค่าเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 เกือบทุกเดือนเช่นกัน
เมื่อนำปริมาณฝนรายปีของปี พ.ศ.2554, ค่าเฉลี่ยของปริมาณฝนรายปีตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553, และปริมาณฝนรายปีของปี พ.ศ.2554 หารด้วยค่าเฉลี่ยของปริมาณฝนรายปีตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 ที่ตกในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนและแต่ละลุ่มน้ำ จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนรายปีของปี พ.ศ.2554 นั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในทุกลุ่มน้ำและในภาพรวม
โดย ปริมาณฝนที่ตกพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนในปี พ.ศ.2554 นั้นมีปริมาณมากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 38 เปอร์เซ็นต์ (70,573 ล้านลูกบาศก์เมตร)
นอก จากนี้ เมื่อนำค่าเฉลี่ยของปริมาณฝนรายเดือนตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553, ปริมาณฝนรายเดือนของปี พ.ศ.2554 และปริมาณฝนรายเดือนของปี พ.ศ.2554 ลบด้วยค่าเฉลี่ยของปริมาณฝนรายเดือนตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 จะเห็นได้ว่าปริมาณฝนรายเดือนของปี พ.ศ.2554 สูงกว่าค่าเฉลี่ยในเกือบทุกเดือนสำหรับทุกลุ่มน้ำ และยังแสดงให้เห็นว่าฝนที่ตกบนกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนมีปริมาณที่สูง กว่าค่าเฉลี่ยมากในเดือนกันยายน
ในช่วงพฤษภาคมถึงเดือน ตุลาคมนั้น กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน มีปริมาณฝนมาก กระจายในบางพื้นที่ สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกนั้นมีฝนปริมาณมากตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึงเดือนกันยายน 2554
จากการศึกษาพบว่า ข้อมูลปริมาณฝนที่ตกลงบนพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน ปี พ.ศ.2554 ที่มีปริมาณสูงกว่าค่าเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 ทุกเดือน นั้น มิได้นำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ
ปริมาณ น้ำเก็บกัก, ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ, ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำสะสม, ประมาณน้ำระบาย และปริมาณน้ำระบายสะสม ของเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แม่กวงอุดมธารา และกิ่วลม เมื่อพิจารณาการบริหารจัดการน้ำสำหรับเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และแม่กวงอุดมธาราแล้ว พบว่าไม่มีความสัมพันธ์และสมดุลกันของปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำกับปริมาณ น้ำที่ระบายออก
เมื่อพิจารณาปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯสะสมและปริมาณน้ำ ระบายสะสมของเขื่อนภูมิพล จะเห็นได้ว่าขณะที่อัตราของปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯมีค่าเพิ่มขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม และวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ซึ่งควรจะได้ปรับอัตราการระบายน้ำออกให้มีความเหมาะสม
แต่กลับมีการ ลดอัตราการระบายน้ำในช่วงดังกล่าวและคงอัตราการระบายน้ำที่ต่ำไว้เป็นเวลา นาน ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติ ทั้งๆ ที่จากข้อมูลฝนแสดงให้เห็นชัดเจนว่า พื้นที่ที่อยู่ใต้เขื่อนภูมิพลยังไม่มีปัญหาปริมาณน้ำที่มากเกินไป จนกระทั่งถึงปลายเดือนมิถุนายน
นอกจากนี้ ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนภูมิพลของปี พ.ศ.2554 นั้นมากกว่าปีอื่นๆ แต่ การระบายน้ำออกตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าปีอื่นๆ มาก
ในวันที่ 1 สิงหาคม 2554 เริ่มมีการเร่งการระบายน้ำออก ทั้งๆ ที่ในวันดังกล่าวปริมาตรเก็บกักของปี 2011 นั้นสูงกว่าปี พ.ศ.2551, 2552 และ 2553 ไปมาก และใกล้เคียงกับของปี พ.ศ.2549 และ 2550 (ปี พ.ศ.2549 นั้นมีปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน และสำหรับปี พ.ศ.2550 นั้นปริมาตรน้ำต้นปีมีค่าสูงมากต่อเนื่องมาจากปลายปี พ.ศ.2549)
หลัง จากวันที่ 5 สิงหาคม 2554 แม้ว่าจะมีการเพิ่มอัตราปริมาณน้ำที่ระบายออกแต่ก็ยังถือว่าค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับอัตราปริมาณน้ำไหลเข้า จนกระทั่งวันที่ 30 กันยายน 2554 ที่มีการเร่งระบายน้ำออก แต่ทว่าไม่ทันการณ์เสียแล้ว เนื่องจากปริมาตรเก็บกักขณะนั้นสูงถึง 92.7 เปอร์เซ็นต์ของความจุของอ่างฯ
หลัง จากนั้นเมื่อมีฝนตกหนักในช่วงวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ทำให้ปริมาตรเก็บกักเกือบเต็มความจุของอ่างฯ และไม่สามารถที่จะเก็บต่อไปได้อีก
สำหรับเขื่อน สิริกิติ์ ในปี พ.ศ.2554 มีการเพิ่มขึ้นของอัตราปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯอย่างชัดเจน 3 ครั้ง คือ วันที่ 19 มีนาคม, 6 พฤษภาคม และ 26 มิถุนายน แต่ทว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวได้มีการลดอัตราการระบายน้ำออกจากอ่างฯ
จะ เห็นได้ว่าปริมาตรเก็บกักตั้งแต่ 6 พฤษภาคม ของปี พ.ศ.2554 นั้นอยู่ในระดับที่กลางๆ เมื่อเทียบกับปีอื่นๆ ซึ่งควรจะมีการเพิ่มอัตราการระบายน้ำออกให้เหมาะสมกับอัตราการเพิ่มของ ปริมาณน้ำไหลเข้า แต่ทว่าการระบายน้ำในช่วงดังกล่าวมีระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับปีอื่นๆ การเร่งระบายน้ำออกเป็นจำนวนมากตั้นแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไปนั้น ไม่ทันการณ์แล้ว
โดยในวันที่ 4 สิงหาคม 2554 มีปริมาตรน้ำเก็บกักสูง 83% ของความจุของอ่างเก็บน้ำ และในวันที่ 23 กันยายน 2554 มีปริมาตรน้ำเก็บกักสูงถึง 98% ของความจุของอ่างเก็บน้ำ
เขื่อน แม่กวงอุดมธารา ซึ่งมีปัญหาการระบายน้ำคล้ายคลึงกับของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ โดยจะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯค่อนข้างสูงมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นปี และในวันที่ 30 เมษายนน ปริมาตรเก็บกักอยู่สูงกว่าปีอื่นๆ (ยกเว้นของปี พ.ศ.2549 ซึ่งมีปริมาตรน้ำต้นปีสูงมาก) แต่ทว่าได้มีการลดอัตราการระบายน้ำประมาณวันที่ 25 เมษายน 2554 เป็นศูนย์และคงอยู่เช่นนั้นนานจนถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2554
หลัง จากนั้นเมื่อมีการเพิ่มอัตราการไหลของน้ำลงอ่างฯในวันที่ 30 กรกฎาคม 2554 อัตราการระบายน้ำออกก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ หลังจากนั้นเพิ่งจะมาเร่งระบายน้ำออกในวันที่ 21 สิงหาคม 2554 ซึ่งปริมาตรเก็บกักนั้นอยู่สูงมากแล้ว โดยในวันที่ 28 สิงหาคม 2554 ปริมาตรเก็บกักสูงถึง 91 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าไม่ทันการณ์แล้ว
เขื่อน กิ่วลมซึ่งมีขนาดอ่างเก็บน้ำเล็กมากเมื่อเทียบกับเขื่อนภูมิพลและเขื่อน สิริกิติ์ จะเห็นได้ว่าปริมาตรเก็บกักน้ำของปี พ.ศ.2554 นั้นเท่าๆ กับของปีอื่นๆ ถึงแม้ว่าในปี พ.ศ.2554 จะมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯค่อนข้างมากกว่าปีอื่นๆ แต่ได้มีการปรับเพิ่มอัตราการระบายน้ำให้สอดคล้องกับอัตราการเพิ่มขึ้นของ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ทำให้สามารถรักษาปริมาตรน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำไว้ได้ในระดับที่เหมาะสม เท่าๆ กับกับปีอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน
จากปริมาณน้ำระบายสะสมของ เขื่อนภูมิพล พบว่าตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2554 มีการระบายน้ำออกทั้งสิ้น 3,097 ล้านลูกบาศก์เมตร และจากปริมาณน้ำระบายสะสมของเขื่อนสิริกิติ์ พบว่าในช่วงเวลาดังกล่าวมีการระบายน้ำออกทั้งสิ้น 4,177 ล้านลูกบาศก์เมตร
เมื่อ รวมปริมาณน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนทั้งสองดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2554 รวมทั้งสิ้น 7,274 ล้านลูกบาศก์เมตร หากรวมปริมาณน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนอื่นๆ จะทำให้ปริมาณน้ำที่ระบายออกสูงมากกว่านี้
นอกจากนี้ ยังพบว่าปริมาณฝนที่ตกลงบนกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนในเดือนสิงหาคมถึง ตุลาคมของปี พ.ศ.2554 มีค่าสูงกว่าค่าปริมาณฝนเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 ในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ 27,790 ล้านลูกบาศก์เมตร
เมื่อคิด ปริมาณน้ำที่ระบายออกจากทั้งสองเขื่อนมีปริมาณสูงถึง 26% ของปริมาณฝนในเดือนสิงหาคมถึงตุลาคมของปี พ.ศ.2554 ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย
ปริมาณ ฝน 27,790 ล้านลูกบาศก์เมตรดังกล่าวข้างต้น เป็นปริมาณฝนที่ตกลงบนพื้นที่ทั้งหมดของกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน ปริมาณฝนเหล่านี้ ส่วนหนึ่งตกลงบนเขื่อน บางส่วนซึมลงดิน บางส่วนตกลงบนแหล่งน้ำเช่น หนอง บึง หรือเกิดการระเหย และส่วนที่เหลือจึงจะไหลไปรวมที่แม่น้ำ
ปัญหาที่ซ้ำเติมให้เกิด วิกฤตน้ำท่วมอย่างรุนแรงก็คือ ปริมาณน้ำจำนวนมากกว่า 7,274 ล้านลูกบาศก์เมตรที่ระบายออกจากเขื่อนต่างๆ ไปยังแม่น้ำโดยตรง เช่นแม่น้ำปิง และแม่น้ำน่าน การระบายน้ำในลักษณะนี้ เสมือนหนึ่งเป็นช่องทางด่วนให้ปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลไหลลงพื้นที่ภาคกลางรวม ถึงกรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ในปี พ.ศ.2554 นี้ปริมาณฝนมากกว่าปกติถึง 38% (70,573 ล้านลูกบาศก์เมตร) โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนนั้น มีปริมาณที่สูงกว่าปกติมากที่สุดในเดือนกันยายน 2554
เมื่อพิจารณา จากข้อมูลฝนและข้อมูลน้ำไหลเข้าและการระบายน้ำออกของเขื่อนที่สำคัญ จะเห็นได้ว่าการที่เขื่อนหลักๆ เก็บน้ำไว้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2554 และไม่ได้ระบายออกอย่างเหมาะสมในช่วงเวลาที่เหมาะสม ทำให้จำเป็นต้องระบายน้ำออกพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก
โดยตั้งแต่วัน ที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 25 ตุลาคม มีการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนอื่นๆ มากกว่า 7,274 ล้านลูกบาศก์เมตร ไปยังแม่น้ำสายสำคัญ เสมือนหนึ่งเป็นช่องทางด่วนให้ปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลไหลลงพื้นที่ภาคกลางรวม ถึงกรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้น ปริมาณฝนที่ตกลงบนกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนในเดือนสิงหาคมถึงตุลาคมของ ปี พ.ศ.2554 มีค่าสูงกว่าค่าปริมาณฝนเฉลี่ยของปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2553 ในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ 27,790 ล้านลูกบาศก์เมตร
เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน
การบริหารจัดการน้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เพิ่มความรุนแรงและขอบเขตพื้นที่ของวิกฤตน้ำท่วมของปีนี้
จากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะดังนี้
1.ควร ดำเนินการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำเป็นการเฉพาะ โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำโดยภาพรวมทั้งหมด การมีหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำกระจัดกระจายอยู่ หลายกระทรวง หลายสังกัด เป็นปัญหาในการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก กรณีตัวอย่างวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นเรื่องยากยิ่งที่จะบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.ควร สรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำและการบริหาร จัดการน้ำ เพื่อศึกษาข้อมูลฝนและข้อมูลทรัพยากรน้ำ เช่น จากดาวเทียม และข้อมูลจากแหล่งอื่น อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนบริหารจัดการน้ำและควรดำเนินการบริหารจัดการน้ำ อย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ
3.ควรตัดสินใจดำเนินการจัด ทำเส้นทางระบายน้ำออกฉุกเฉินไว้เป็นการล่วงหน้า เพื่อรองรับกรณีปริมาณน้ำเต็มเขื่อน การดำเนินการตามข้อนี้ควรดำเนินการโดยทันที