คอลัมน์ สัมภาษณ์
ที่ ผ่านมารัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัย โดยผ่านมติครม.หลายครั้งหลายระลอก ไปพร้อมๆ กับการเร่งระบายน้ำและฟื้นฟูสภาพหลังน้ำลด
ล่าสุดเพื่อให้ความช่วย เหลือทั้งหมดซึ่งครอบคลุมหลายด้าน เป็นที่รับรู้เข้าใจของประชาชนโดยง่าย สำนักนายกรัฐมนตรีจึงจัดทำโบรชัวร์แจกจ่ายให้ประชาชนทุกครัวเรือนเร็วๆ นี้
น.ส.ฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงรายละเอียดของการจัดทำโบรชัวร์ไว้ดังนี้
มาตรการ เยียวยาที่ผ่านมติครม.แล้วออกมาหลายระลอก ครอบคลุมหลายด้าน เดิมทีก็เงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2,222 บาทต่อไร่ ต่อมามีมาตรการ เยียวยาบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย 5,000 บาท และอีกหลายเรื่องที่เข้าครม.
รัฐบาลจึงมีความคิดทำโบรชัวร์แยกกัน ให้ชัดเจนว่า หากเป็นประชาชน ผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการย่อย จะได้รับการช่วยเหลืออย่างไร
โบรชัวร์นี้ประกอบ ด้วยการช่วยเหลือด้านต่างๆ ที่ผ่านมติครม.แล้ว ไม่ใช่แค่ นโยบาย พร้อมทั้งเบอร์โทร.หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องที่สามารถสอบถามได้ทันที คาดว่าส่งถึงมือประชาชนวันที่ 21 พ.ย.
ภายในเล่มจะครอบคลุมทั้งหมด เพราะการช่วยเหลือของรัฐบาลต่อส่วนต่างๆ มีมาก ประชาชนทั่วไปจะได้รับความช่วยเหลือหลายประการ
ทั้ง การช่วยเหลือบ้านที่ถูกน้ำท่วม 5,000 บาท ที่มีหลักเกณฑ์ขึ้นมาเป็นเงินพิเศษ ผู้จะได้รับเงินดังกล่าวต้องเข้าเกณฑ์ของรัฐบาล คือ มีน้ำท่วมฉับพลัน ท่วมขังเกิน 7 วัน หรือดินโคลนถล่ม หรือน้ำป่าไหลหลาก
หากเข้าข้อใด ข้อหนึ่ง หรือเข้าทั้งหมดจะได้รับเงิน 5,000 บาททันที แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นบ้านที่อาศัยอยู่ประจำเท่านั้น และอยู่ในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติของทางราชการด้วย หลายจังหวัดก็ได้รับเงินตรงนี้ไปแล้ว
บ้านที่เสียหายทั้งหลังก็มี เกณฑ์ช่วยเหลือจากกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยของสำนักนายกฯ ที่จะช่วยค่าวัสดุก่อสร้างตามจริงอีกไม่เกิน 240,000 บาทต่อหลัง และยังมีเงินช่วยเหลืออีกไม่เกินหลังละ 30,000 บาท ตามระเบียบกระทรวงการคลัง
บ้านที่เสียหายบางส่วนคงต้องมาพิจารณาตาม ความเป็นจริง กรณีนี้รัฐบาลช่วยเหลือซ่อมแซมตามจริงไม่เกินรายละ 20,000 บาท และยังช่วยเหลือกรณีที่ทรัพย์สินภายในบ้านเสียหายจากน้ำท่วม ที่จ่ายตามจริงไม่เกิน 10,000 บาท รวมทั้งการช่วยเหลือซ่อมแซมทรัพย์สินเสียหายจากกระทรวงศึกษาธิการ ทุกอย่างอยู่ในโบรชัวร์
วิธีการรับเงินก็มีขั้นตอนระบุไว้ ต่างจังหวัดหรือกทม.มีลักษณะ ที่ใกล้เคียงกัน คือต้องมีหลักฐานเป็นภาพถ่ายบ้านที่ถูกน้ำท่วม สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมกับส่งไปยังผู้ใหญ่บ้าน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (อปท.) หรือสำนักงานเขต
จากนั้นจะ ตรวจสอบความถูกต้องเพื่อป้องกันความซ้ำซ้อน แล้วสำนักงบประมาณจึงจะโอนเงินมาที่ธนาคารออมสินเพื่อส่งเงินต่อมายังผู้ ประสบอุทกภัย ผ่านสาขาหรือหน่วยเคลื่อนที่ของธนาคาร
หากเป็นบ้าน เช่าก็ต้องมีหลักฐานการเช่า ถ้าไม่มีก็ให้อปท.รับ รองได้ แต่หากบ้านไหนเป็นบ้านไม่มีเลขที่ ปลูกเป็นเพิงไว้เฉยๆ ก็มีสิทธิ์ได้รับเงินตรงนี้ โดยจะเป็นหน้าที่ของอปท.ที่จะตรวจสอบและรับรองสถานที่พักอาศัยนั้นได้
ใน ส่วนผู้เสียชีวิต รัฐบาลก็ช่วยเหลือรายละ 25,000 บาท แต่หากเป็นหัวหน้าครอบครัวจะได้รับ 50,000 บาท และยังได้รับเพิ่มเติมจากกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยอีก 50,000 บาท
อีกทั้งกรณีหัวหน้าครอบครัว ยังได้รับเงินจากกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ อีก 25,000 บาท
ใน ส่วนของประชาชนยังมีการช่วยเหลืออีกหลายส่วน เช่น การผ่อนผันระยะเวลาการจ่ายค่าไฟฟ้า การช่วยเหลือถุงยังชีพ การให้สินเชื่อบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือการคุ้มครองความปลอดภัย ฯลฯ
สำหรับการช่วยเหลือเกษตรกร ในส่วนของปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงหมู เลี้ยงวัว แพะ นกกระจอกเทศ ไก่พื้นเมือง ฯลฯ แม้เกณฑ์ระบุไว้ไม่เกิน 10 ตัว แต่ยังมีต่อท้ายว่าถ้ามีความเสียหายเกินกว่าความเสียหายตามเกณฑ์ ให้ได้รับเงินอีกครึ่งหนึ่งของความเสียหายที่เกิน เนื่องจากเกษตรกรไม่ได้เลี้ยงหมูแค่ 10 ตัว ต้องมากกว่านั้น
ส่วนผู้ที่เช่าที่ดินราชพัสดุที่เสียหายจากน้ำท่วม จะได้รับการยกเว้นค่าเช่าเป็นเวลา 1 ปี
ผู้ ใช้แรงงานก็ได้รับความช่วยเหลือเช่นกัน เช่น การรับเงินชดเชยการถูกเลิกจ้าง การรับเงินจากกรณีเป็นผู้ประกันตนครึ่งหนึ่งของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 7,500 บาท รวมถึงการฝึกอาชีพที่จะมีเงินค่าฝึกอาชีพให้ด้วย
ผู้ที่อยู่ใน ศูนย์พักพิงที่ได้รับการฝึกอาชีพจะได้รับเงิน 150 บาทต่อวัน หากมีการจ้างงานในศูนย์พักพิงจะได้ค่าจ้างตามอัตราขั้นต่ำของพื้นที่นั้น ด้วย อีกทั้งยังมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่จะมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วย เหลืออีก
ช่วงนี้รัฐบาลเน้นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า เช่น เขตบางแค ใครผ่านไปมาจะเห็นขยะลอยเยอะมาก ทำให้น้ำเน่า คนต้องอยู่กับน้ำเน่า ก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆ มากมาย ตรงนี้อันตรายมาก
นายกฯ จึงสั่งการให้กทม.จัดการอย่างเร่งด่วน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งตำรวจที่ช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงมหาดไทย ที่ช่วยเหลือในส่วนของอาหาร
ซึ่ง ขณะนี้กระทรวงมหาดไทยมีแนวคิดจ้างคนในศูนย์อพยพเป็นแม่ครัวทำอาหาร มีค่าจ้างรายวันให้เป็นการช่วยเหลือกัน ตรงนี้มีความสำคัญ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีพี่น้องมุสลิมเยอะ คนข้างนอกไปทำให้ไม่ได้ มหาดไทยกำลังคิดโครงการอยู่
ส่วนเรื่องการสูบน้ำออกจากพื้นที่เป็น เรื่องที่ต้องทำอยู่แล้ว น้ำเน่าเสียที่เป็นปัญหานั้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อมก็เป็นผู้ดูแล
รัฐบาลยังตั้งคณะกรรมการหลายชุดดูแลด้านต่างๆ อาทิ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม ดูแลเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าอากาศยานดอนเมือง ถนนที่ถูกน้ำท่วมเสียหายหลายร้อยสายซึ่งต้องมีการซ่อมแซม
แต่ทุกความช่วยเหลือจะไม่ซ้ำซ้อนกัน ทุกเรื่องต้องผ่านสำนักงบประมาณก่อน
รัฐบาล ขอขอบคุณภาคประชาชน อาสาสมัคร และภาคเอกชน เราได้เห็นน้ำใจของคนไทยที่ช่วยเหลือกันในยามวิกฤต ทั้งการทำกับข้าวแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัย การรับส่งเข้าออกที่อยู่อาศัย การสอนหนังสือให้กับเด็ก หรือแม้แต่การเป็นตัวตลกเพื่อคลายเครียดให้ผู้ประสบอุทกภัย เป็นเรื่องน้ำใจคนไทยที่น่ายกย่อง
ขณะเดียวกันก็มีความช่วยเหลือจาก ต่างประเทศมากมาย โดยประเทศแรกคือจีน ช่วยมาหลายครั้งทั้งเงิน วัสดุอุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ รวมถึงอีกหลายสิบประเทศที่เข้ามา ไม่ใช่เพียงการช่วยเหลือกันในยามวิกฤตเท่านั้น ตรงนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงมิตรภาพระหว่างประเทศด้วย
ส่วนกรณีที่ มีการต่อว่านายกฯ ร้องไห้ โจมตีว่าไม่มีความเป็นผู้นำนั้น ต้องชี้แจงว่าความเป็นผู้นำของนายกฯ มีเต็มเปี่ยม ไม่เคยย่อท้อต่อความยากลำบาก ไม่เคยต่อว่าใคร ยามเกิดเรื่องกับบ้านเมือง จะไม่คอยนั่งโต้เถียง แต่พยายามแก้ปัญหา ไม่เคยกลัวลำบาก
จะเห็นได้ ว่านายกฯ ไปทุกที่ บัญชาการทุกที่ เมื่อบัญชาการแล้ว หน่วยงานต่างๆ ทั้งตำรวจ ทหาร และหน่วยงานต่างๆ สามารถทำตามบัญชาการได้ ทุกคนยอมรับฟังคำบัญชาการทั้งหมด ดูได้จากโพลหรือความคิดเห็นจากต่างประเทศที่ไม่ต้องการให้เปลี่ยนนายกฯ ตอนนี้
นายกฯ ร้องไห้เพราะสงสารและมีอารมณ์ร่วมกับประชาชนที่ได้รับความลำบาก ไม่ใช่เพราะความอ่อนแอแน่นอน