คลิกภาพขยายใหญ่ |
ที่มา:ryt9 , 30 ตุลาคม 2554
ภาพข่าวไทยอีนิวส์ในหัวข้อเรื่อง ภาพหลักฐานปล่อยน้ำท่วมทำลายรัฐบาล?..
................
โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เฟซบุ๊คสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ความจริง ผมก็ลังเล ไม่อยากจะรีบเขียนเรื่องนี้ แต่เห็นทั้ง ไทยอีนิวส์ ก็ "เล่น" ทั้ง "บางกอกทูเดย์" ก็ "เล่น" และทีสำคัญ "ผู้จัดการ" มา "เล่น" กลับบ้างแล้ว
ผมหมายถึงกรณีปัญหาว่า การปล่อยน้ำช้าของ เขื่อนใหญ่ 2 แห่ง (ภูมิพล-สิริกิต์) เป็นเรื่อง "การเมือง" หรือไม่
(สำหรับ ไทยอีนิวส์ ดูที่นี่ http://thaienews.blogspot.com/2011/10/blog-post_8749.html สำหรับ บางกอกทูเดย์ ดุที่นี่ http://www.bangkok-today.com/node/10905
และสำหรับ ผู้จัดการ ดูที่นี่ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000139226
ใจผมยังเชื่อว่าไมใช่ และผมไมค่อยเห็นด้วยที่ เสื้อแดง-เพื่อไทย จะ "เล่น" เรื่องนี้
เท่าที่ผมประมวลดูจากข้อมูลที่มี ผมมองว่า นี่เป็นปัญหา "ระบบ" คือ การตัดสินใจที่ผิดพลาด มาตั้งแต่ระดับ กรมชลประทาน-กฟผ (และอาจจะ กรมอุตุ ในแง่ที่ไม่มีการประสานงาน เรื่องข้อมูล การประเมินปริมาณน้ำฝน)
คือปัญหานี้ เริ่มจาก "จุดอ่อน" หรือ ความผิดพลาด ใน "ระดับกลาง" (คือระดับหน่วยงานที่กล่าวถึง)
แต่แน่นอน รัฐบาลในฐานะผุ้ดูแลหน่วยงานบริหารทั้งหมด ย่อมต้องรับผิดชอบทางการเมือง
ปัญหาคือ รัฐบาลไหน? ผมมองว่า "ทั้งสองรัฐบาล และไมใช่ทั้งสองรัฐบาล"
คือผมมองว่า ช่วงที่ critical หรือ "สำคัญ" มากๆ ของความผิดพลาด หรือการทำให้เตรียมไม่ทัน คือช่วงระหว่างเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม-กันยายน
นี่คือช่วงที่ ปัญหาใหญ่ 2 อย่าง เกิดขึั้น คือ เขื่อนกักน้ำไว้มาก/ปล่อยน้ำน้อยไป เพราะคาดการณ์ผิดว่า ฝนจะแล้ว + ปัญหาฝนตกมากกว่าอัตราเฉลี่ยหลายสิบเปอร์เซนต์ (บางแห่งเป็น 100 เปอร์เซนต์ ถ้าจำไม่ผิด)
ทีนี้ จะเห็นว่า ช่วง กรกฎา-สิงหา-กันยา พอดีเป็นช่วงที่เรียกว่า "รัฐบาลเก่ากำลังจะออก-หาเสียง-รัฐบาลใหม่เพิ่งมารับ"
ถ้าจะเรียกว่า เป็นความผิดพลาด เป็นความรับผิดชอบ ก็เรียกว่า ทั้งสองรัฐบาล และไมใช่ทั้งสองรัฐบาล
ไมใช่ ในความหมายทีว่า ปัญหานี้ มันต้องเริ่มต้นจาก "ระบบ" "ระดับกลาง" ทีว่า ต้องมีการเตือนภัย การตัดสิน การประเมินทีดี (จู่ๆ ครม. จะมารู้เรื่องน้ำในเขื่อนตลอดเวลา หรือเรื่องน้ำฝน ตลอดเวลา คงไม่ได้ แน่นอน ปัญหาความรับผิดชอบในแง่ ระบบ ที่ว่า ถ้าระบบดี รัฐมนตรี ที่ดูแล หน่วยงานระดับกลางเหล่านั้น ติดตามเรื่องได้ดี ก็มีส่วน .. แต่ด้วยความบังเอิญ ที่ช่วง critical ดังกล่าว อยู่ระหว่าง รัฐบาลเก่าไป รัฐบาลใหม่เพิ่งมา พอดี)
ในความเห็นของผม ผมมองว่า นี่เป็นโศกนาฏกรรมของความไม่เอาไหน ของระบบบริหารจัดการจริงๆ และปัญหาเริ่มจาก "ระบบ" ใน "ระดับกลาง" มาบวกกับ "โชคซวย" ทีเป็นช่วง ของการต่อ-หาเสียง ระหว่างรัฐบาล
ผมจึงไม่เห็นด้วย กับการ "เล่น" เรื่องนี้ ในฐานะ "การเมือง"
ยิ่งไปถึงระดับว่า เป็นการ "วางยา" ของ "ฝ่ายนั้น" อะไรโน่น
พูดจริงๆ ผมว่า "ฝ่ายน้ัน" ไม่ฉลาด ขนาดวางแผนแยบยล ใหญ่โต ได้ขนาดนี้หรอกครับ
กรณีคำสัมภาษณ์ ดร.สมิธ ที่ดุเหมือนจะ "ฟันธง" ว่า มีการ "แกล้งปล่อยน้ำไม่หยุด เพื่อล้มรัฐบาล" (ดูบทความ ไทยอีนิวส์ ตาม link ข้างบน ผมเห็นคนเผยแพร่ทาง fb กันเยอะ) ผมว่า ต้องจัดการกับคำให้สัมภาษณ์ของ ดร.สมิธ อย่างระมัดระวังเหมือนกัน ต้นปี ดร.สมิธ "ฟันธง" ว่า ไทยต้องต้องแล้งหนักแน่ๆ และผมว่า นี่คือ "เบื้องหลัง" วิธีคิด ของ กรมชลฯ และ กฟผ ที่กักน้ำไว้ในเขื่อนมากเกินไป และนานเกินไป พูดง่ายๆ ดร.สมิธ เอง ตอนต้นปี ก็นึกแบบ กรมชลฯ กฟผ นันแหละ ว่าจะแล้งหนัก ... ทีนี้ตอนหลัง ที่ต้องมาปล่อย ก็เพราะ ถึงจุดนั้น มันล้นเขื่อนเล้ว ถ้าไม่ปล่อยออกมา เขื่อนจะแตก แต่พอปล่อยออกมา ก็เลยกลายเป็นต้องปล่อยทีละมากๆ แล้วน้ำฝนที่ตกหนักบวกกันเข้าไปด้วย)
.........................
ทั้งหมดนี้ เป็นคนละประเด็นกับว่า เมื่อเกิดวิกฤตแล้ว มีการเอาเป็นประเด็นโจมตีทางการเมือง ซึ่งสะท้อน ความขัดแย้งที่ "ร้าวลึก" ระดับ "มูลฐาน" ของการเมืองไทย ซึ่งเป็นประเด็นทีผมโพสต์ไปเมื่อหลายวันก่อนแล้ว