เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) จำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรายล่าสุดถูกตัดสินจำคุก 20 ปี จากการถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือ 4 ข้อความที่มีข้อความหมิ่นเบื้องสูงไปยังเลขาฯ ของอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ‘คดีอากง’ ทำให้มีปฏิกิริยาแสดงความกังวลจากกลุ่มและองค์กรในไทยและระหว่างประเทศหลาย แห่ง เช่น กลุ่มสันติประชาธรรม, มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย, องค์กร ‘Article 19’, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รวมถึงคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย
องค์กร ‘Article 19’ ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์เพื่อรณรงค์เสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรที่ออกแถลงการณ์ประณามคำตัดสินดังกล่าว ได้เรียกร้องให้ทางการไทยโมฆะคดีและปล่อยตัวนายอำพล เหตุใดองค์กรสากลนี้มีข้อเสนอเช่นนี้ และเขามองอย่างไรต่อกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ของไทย
0000
ประชาไท: ในแถลงการณ์ของ ‘อาร์ติเคิล 19’ ได้เรียกร้องให้การตัดสินคดีของนายอำพลเป็นโมฆะ เหตุใดคุณจึงเรียกร้องเช่นนั้น และคิดว่าทางการไทยจะสามารถทำเช่นนั้นได้หรือ เพราะปรกติแล้วคำตัดสินไม่สามารถทำให้เป็นโมฆะได้ง่ายๆ ?
Article 19: อย่างแรกเลย เราเชื่อว่า การตัดสินคดีของอำพลต้องถูกทำให้เป็นโมฆะโดยการอุทธรณ์ เนื่องจากมันละเมิดหลักกฎหมายสากลซึ่งคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการมีเสรีภาพ ทางความคิด และเสรีภาพในการแสดงออก ยกเว้นไว้แต่เพียงในสถานการณ์พิเศษเท่านั้น กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นการจำกัดเสรีภาพทางการแสดงออกที่ไร้ซึ่งความ ชอบธรรม ซึ่งในความเป็นจริงมันสิทธิดังกล่าวถูกคุ้มครองโดยกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายอาญามาตรา 112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองโดยผู้มีอำนาจเพื่อปิดปากผู้ที่เห็นต่าง ซึ่งปัญหานี้รัฐบาลไทยก็ได้ยอมรับเองเมื่อเดือนที่ผ่านมา
รัฐบาลไทยได้ลงสัตยาบันในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมืองซึ่งมีพันธะผูกพันที่จะต้องเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน รวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในการเข้าถึงการไต่สวนคดีที่เป็นธรรม การละเมิดสิทธิดังกล่าวถือว่าผิดตามกฎหมาย และการตัดสินคดีที่เป็นการละเมิดเช่นนั้ ก็สมควรต้องถูกทำให้เป็นโมฆะ
ประชาไท: ช่วยอธิบายหน่อยว่าเหตุใดนายอำพลจึงสมควรได้รับการปล่อยตัว
Article 19: อำพลสมควรที่จะได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากในมุมมองของหลักสิทธิมนุษยชนสากลแล้ว เขาใช้สิทธิตามกฎหมายด้านเสรีภาพในการแสดงออก เขามีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะผ่านทางข้อความในโทรศัพท์มือถือหรือสื่อชนิดอื่นๆ และไม่ควรได้รับการถูกลงโทษจากการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าว
นอกจากนี้ การตัดสินของคดีอำพลยังขาดซึ่งน้ำหนักที่น่าเชื่อถือ อย่างที่ผู้พิพากษาก็ได้ยอมรับเอง มันไม่มีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเอสเอ็มเอสดังกล่าวเชื่อมโยงกับนายอำ พลตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ทางการไทยมีความสามารถและพันธะผูกพันภายใต้รัฐธรรมนูญของไทยที่จะโมฆะคำ ตัดสินคดีดังกล่าวในฐานะที่มันเป็นการละเมิดสิทธิของนายอำพลในการเข้าถึงการ พิจารณาคดีที่ยุติธรรม โดยเฉพาะการขาดหลักฐานในการพิสูจน์ความผิด ทางการไม่อาจอ้างได้ว่าไม่สามารถทำอะไรได้ในเมื่อคนบริสุทธิ์ต้องถูกจำคุก โดยไม่มีเหตุผล
อาร์ติเคิล 19 กังวลเป็นอย่างมากถึงการขาดซึ่งหลักฐานที่น่าเชื่อถือในการพิสูจน์ความผิดใน คดีนี้ ถึงแม้ว่าผู้พิพากษาจะยอมรับว่าการประเมินในหลักเทคนิคไม่สามารเอาผิดกับอำ พลได้อย่างชัดเจน แต่ศาลก็ยังตัดสินให้เขาผิดจริง มันน่าเหลือเชื่อมากว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรในประเทศที่ตั้งอยู่บนหลัก นิติรัฐ
ประชาไท: เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีของไทยได้กล่าวว่า การคลิกไลค์เนื้อหาที่หมิ่นเบื้องสูงในเฟซบุ๊กเข้าข่ายการทำผิดกฎหมายอาญา มาตรา 112 เนื่องจากเป็นการทำซ้ำเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย คุณมองอย่างไรบ้าง?
Article 19: องค์กรอาร์ติเคิล 19 ยังจะคงเรียกร้องรัฐบาลไทยให้มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการปฏิรูป พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ข้อกำหนดใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์นั้นคลุมเครือเกินไป ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการตีความโดยวินิจฉัยส่วนตัวจากเจ้าหน้าที่รัฐตามที่เรา ได้เห็นมาแล้วหลายครั้ง การใช้ พ.ร.บ. คอมพ์ฯ ควรถูกจำกัดเฉพาะต่ออาชญากรรมที่ส่งผลต่อระบบหรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยผิดกฎหมาย หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภัยต่อเครือข่าย เช่น การปล่อยไวรัส การโจมตีการให้บริการ หรือใช้เพื่อป้องกันการจารกรรมข้อมูล และมาตรา 14 ถึง 16 ใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ที่กำหนดโทษของการนำเข้าข้อมูลในคอมพิวเตอร์สาธารณะควรถูกยกเลิก
ประชาไท: แถลงการณ์ของ ‘อาร์ติเคิล 19’ ยังเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 ด้วย เหตุใดคุณจึงเรียกร้องเช่นนั้น เนื่องจากบางส่วนก็โต้แย้งว่ากฎหมายดังกล่าวควรมีไว้เพื่อปกป้องสถาบันพระ มหากษัตริย์ และอธิบายหน่อยว่าควรทำอย่างไรให้กฎหมายดังกล่าวสอดคล้องกับหลักสิทธิสากล?
Article 19: ในท้ายที่สุดแล้ว กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพควรถูกยกเลิก เพราะการดำรงอยู่ของตัวกฎหมายเป็นภัยต่อเสรีภาพในการแสดงออกและหลักสิทธิ มนุษยชนขั้นพื้นฐาน กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ว่า กฎหมายที่ใช้เพื่อปกป้องชื่อเสียงของปัจเจกไม่ควรเลือกปฏิบัติเฉพาะบุคคล และไม่ควรมีบทลงโทษที่สูงกว่าคนทั่วไปโดยอ้างจากเอกลักษณ์ของบุคคลที่ ถูกกล่าวหา
การให้การปกป้องที่พิเศษสำหรับราชวงศ์ (ซึ่งทางปฏิบัติแล้วก็คือบุคคลที่มีอำนาจคนหนึ่ง) โดยการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นการละเมิดการรับประกันสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก ทั้งนี้ บุคคลสาธารณะควรต้องอดกลั้นมากกว่าบุคคลทั่วไปต่อการวิพากษ์วิจารณ์ และต้องไม่มีการใช้กฎหมายเพื่อการปิดกั้นการวิจารณ์หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ สาธารณะด้วย
ประชาไท: เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการเรียกร้องจากพรรคประชาธิปัตย์ให้รัฐบาลบล็อกยูทูบว์และเฟซบุ๊กเพื่อ กำจัดเนื้อหาที่มีข้อความหมิ่นเบื้องสูง คุณคิดว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นอย่างไร และคิดว่าจะส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยอย่างไรบ้าง?
การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ตและรูปแบบการสื่อสารเครือข่าย อื่นๆ ในประเทศไทยเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก รัฐบาลควรยุติการเซ็นเซอร์ในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะด้วยการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
การบล็อกเว็บไซต์ในประเทศไทยเป็นไปอย่างกว้างขวางและแพร่หลายมาก เว็บไซต์จำนวนมากถูกบล็อกโดยไม่ได้ขออำนาจศาล และขึ้นอยู่กับการตัดสินใจส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งกระทำการในที่ลับ เพจจำนวนหลายล้านแห่งถูกปิดกั้นอย่างไร้เหตุผล
ขอย้ำอีกครั้ง อาร์ติเคิล 19 มองว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์นั้นคลุมเครือ ไม่ชัดเจน และอนุญาตให้มีการตีความแบบปัจเจกจากเจ้าหน้าที่รัฐ อาร์ติเคิล 19 จะยังคงเรียกร้องรัฐบาลไทยให้แก้ไข พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ให้จำกัดการใช้ต่ออาชญากรรมที่จะส่งผลกระทบต่อระบบและเครือข่าย เช่น การโจมตีระบบ หรือการป้องกันการจารกรรมเพียงเท่านั้น