บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เว็บใหม่ - ศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย

ที่มา Thai E-News

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
19 ธันวาคม 2554

เว็บสุดเก๋ เพิ่งเกิดใหม่ รวบรวมศัพท์ทางการเมืองที่เพิ่งเกิดขึ้นและมีความน่าสนใจพร้อมคำอธิบาย "ศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย" หรือ "THE CONTEMPORARY THAI POLITIONARY" http://thaipolitionary.com/ ผู้ก่อตั้งชี้แจงว่า
"พจนานุกรม ศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย" ก่อตั้งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบันทึกคำศัพทางการเมืองที่เราใช้ พบเห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านกันอยู่ ณ บัดนาว มิให้เลือนลางจางหายไปตามกาลเวลา. คำศัพท์ต่างๆ ในพจนานุกรมนี้ ไม่ได้เคร่งขรึมจริงจังทางการมากเสียจนเอาไปใช้ในงานวิชาการได้ ทว่า ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้ขำขันปัญญาอ่อนมากเสียจนไร้สาระ.


ตัวอย่าง คำศัพท์ยอดนิยม อาทิเช่น "สลิ่ม" "ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต" "คนไทยหรือเปล่า" ทั้งนี้เราขออนุญาตนำเสนอตามรายละเอียดด้านล่างนี้

คนไทยหรือเปล่า
ความหมาย:เป็นคนไทยที่มีพฤติกรรม ทัศนคติ ความเชื่อ หรือค่านิยมสอดคล้องกับสิ่งที่รัฐหรือผู้มีอำนาจต้องการและปลูกฝังหรือไม่
ที่มา:นี่ คือคำถามอมตะที่ถูกใช้และผลิตซ้ำนับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย ในปี ๒๔๘๒ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ถูกใช้ในทางการเมืองโดยมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป อาทิ
๑) เพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของผู้ตั้งคำถามให้ผุดผ่องน่าเลื่อมใสยิ่งขึ้น เช่น กรณี น.ส.ติ่ง
๒) เพื่อสยบการวิพากษ์วิจารณ์ การตั้งคำถาม หรือการคิด เช่น กรณี ม. ๑๑๒
๓) เพื่อให้เชื่อฟังและยอมรับการใช้อำนาจเผด็จการหรือความอยุติธรรมโดยดุษฎี เช่น กรณีกระชับวงล้อมและขอคืนพื้นที่ หรือ
๔) เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้ฟังให้ลุ่มหลง คุ้มคลั่ง และก่อการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยขาดสติ เช่น กรณี ๖ ตุลา เป็นต้น

สลิ่ม
ความหมาย:บุคคล ที่หลงคิดว่าตนมีสติปัญญา คุณสมบัติ ความเชื่อ ค่านิยม หรือจริยธรรมเหนือกว่าผู้อื่น ทว่าแท้จริงกลับไม่มีความคิดเป็นของตนเอง ไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน ไม่สามารถใช้ตรรกะหรือแสดงเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ จึงมักอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือมีความเชื่อที่ผิดอยู่เสมอ ทั้งยังปากว่าตาขยิบ มีอคติและความดัดจริตสูง เกลียดนักการเมือง และไม่ชอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน
ที่มา:มาจากบุคคลที่อ้างว่า เกลียดเสื้อแดง แต่ไม่ยอมรับว่าตนเป็นเหลืองพันธมิตร บุคคลเหล่านี้เมื่อรวมตัวกันมักสวมเสื้อหลากสีสัน แลดูเหมือนของหวานประเภทหนึ่ง ใช้ในความหมายนี้ครั้งแรกโดย คำ ผกา

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker