รายการ Intelligence ประจำวันที่ 2 ธ.ค. 2554
ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยจากสถาบันเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ วิพากษ์ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะของฝ่ายค้าน และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และบทบาทของกองทัพในวิกฤติมหาอุทกภัย รวมถึงการส่งสัญญาณครั้งสำคัญ ของ นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ
ดร.ปวิน วิพากษ์ว่า จุดอ่อนของนายกรัฐมนตรี คือ ขาดความเป็นผู้นำ และ ไม่มีประสบการณ์ในการแก้ไขภาวะวิกฤติ แต่ไม่สามารถโยนความผิดไปที่นางสาวยิ่งลักษณ์เพียงคนเดียวได้ เพราะในวิกฤติน้ำท่วม มีวิกฤติการเมืองที่ซ้อนทับอยู่ทำให้รัฐบาลไม่ได้รับควาวมร่วมมืออย่างเต็ม ที่ และเสียดายที่ฝ่ายค้าน หรือฝ่ายตรงข้ามไม่ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมที่เป็นรูป
ธรรม แต่กลับใช้วิธีการอื่น คือ การลดความน่าเชื่อถือนายกฯ ด้วยการโจมตี เรื่อง ระดับสติปัญญา และการแสดงอารมณ์ซึ่งเป็น ประเด็นรอง
ส่วนบทบาทของฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้บริหาร กทม. แสดงบทบาท "แข่งขัน" มากกว่า ร่วมมือ จะเห็นว่าการทำงานของ กทม. ไม่สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติที่กำหนดโดย ศปภ. ทั้ง ๆที่วิกฤติมหาอุทกภัยเป็นวิกฤติที่กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของโลกในอุตสาหกรรม รถยนต์ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ และคอมพิวเตอร์ที่นิคมตั้งอยู่ในพื้นที่ปริมณฑล แต่ กทม.กลับ
เล่นบทรัฐซ้อนรัฐ เน้นปกป้องกทม.เป็นหลัก
อ.ปวิน ประเมินบทบาทของ "กองทัพ" ว่ายังไม่ทำงานเป็นกลไกหนึ่งของรัฐบาล สังเกตจากผลโพลล์ที่ความพึงพอใจสูงสุดอยู่ที่ "ทหาร" แต่อ.ปวินมองว่าผลโพลล์สะท้อนภาพ เฉพาะ กทม. ปริมณฑล แต่ไม่ได้สะท้อนภาพความรู้สึกของคนทั้งประเทศ นักวิจัยท่านนี้ มองว่า กองทัพยังไม่เปลี่ยนมุมมองต่อการเมืองหลังรัฐประหาร 2549 จึงตั้งคำถามว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์กับกองทัพ จะทำงานร่วมกับรัฐบาลอย่างไรเมื่อผลประโยชน์ทางการเมืองต่างกัน
นักวิจัยจากสถาบันเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงโปร์ อ่านสัญญาณของ รัฐมนตรีสหรัฐที่เยือนประเทศ ไทยที่วิกฤติมหาอุกภัย 5 เรื่อง คือ การสนับสนุนรัฐบาลพลเรือน การสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตย การสนับสนุนให้ไทยเคารพหลักกฎหมายและหลักการปกครองที่ดี การสนับสนุนสิทธิมนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐาน และสนับสนุนการสมานฉันท์ทางการเมือง ซึ่งถือเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐต่อไทยครั้งสำคัญ หลังยุคสงครามเย็