บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การทวีตตามสิทธิในรัฐธรรมนูญของเอมมา ซัลลิแวน

ที่มา ประชาไท

นับว่าเป็นเรื่องดีสำหรับ ‘เอมมา ซัลลิแวน’ ผู้ซึ่งทวีตข้อความกึ่งด่ากึ่งเสียดสีไปยังนักการเมืองสหรัฐ ที่ได้อาศัยอยู่และเป็นพลเมืองของรัฐแคนซัส (Kansas) สหรัฐอเมริกา ไม่ใช่ประเทศไทย เพราะถ้าเธอเธอทวีตข้อความที่ว่าในกรุงเทพฯ เธออาจจะถูกเจ้าหน้าที่รัฐสุดพารานอยจับเข้าคุก จากการทำงานอย่างเอาจริงเอาจังในการลงโทษผู้ที่กล่าวข้อความซึ่งหมิ่นพระบรม เดชานุภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมาชิกในราชวงศ์ หรือสถาบันกษัตริย์ของไทย

ข้อความที่ซัลลิแวนทวีตต่อไปยังฟอลโลเวอร์กลุ่มเล็กๆ ของเธอนั้น เกิดขึ้นหลังจากทริปภาคสนามของโรงเรียนที่ได้ไปพบปะกับแซม บราวน์แบ็ก ผู้ว่าการรัฐแคนซัส ทวิตดังกล่าวมีข้อความที่ค่อนข้างไร้สาระว่า “พึ่งแอบด่าผู้ว่าฯ บราวน์แบ็กไป และได้บอกเขาด้วยว่าเขาโคตรห่วยแตก #heblowsalot” อย่างไรก็ตาม เธอไม่ได้ทำเช่นนั้นจริงๆ มันเป็นเพียงแค่มุขตลกแผลงๆ กับเพื่อนเท่านั้น สิ่งที่เธอแสดงออกก็เป็นความคิดแบบที่วัยรุ่น และรุ่นพ่อรุ่นแม่ ร่วมถึงรุ่นปู่ย่าของเธอมีต่อนักการเมืองทุกวันนี้โดยทั่วไป

หากแต่ถ้าทวีตของเธอไม่เป็นผู้ใหญ่เท่าไหร่ ปฎิกิริยาที่ตอบกลับมานั้นก็นับว่าเป็นเรื่องเด็กๆ ทีเดียว ผู้ช่วยของผู้ว่าฯ ซึ่งมีหน้าทีสอดส่งข้อความที่เกี่ยวกับบราวน์แบ็กในอินเทอร์เน็ต ได้ติดต่อไปทางผู้จัดงาน ซึ่งได้ติดต่อไปยังครูใหญ่ของโรงเรียน และตามตัวซัลลิแวนมาต่อว่าว่าเธอทำเกินไป และยืนยันให้เธอกล่าวขอโทษต่อผู้ว่าฯ ซึ่งซัลลิแวนปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น

เรื่องของเหตุการณ์ดังกล่าวแพร่กระจายไปทั่วอินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว และนำมาซึ่งการต่อว่าต่อขานผู้ว่าฯ ผู้ช่วยผู้ว่า และครูใหญ่ของโรงเรียนอย่างสนุกปาก ผมเป็นหนึ่งในหลายคนที่คิดว่าผู้ว่าฯ ต่างหากที่ควรจะออกมาขอโทษ ไม่ใช่ซัลลิแวน เพราะการกระทำของผู้ช่วยของเขาได้แสดงถึงความไม่เข้าใจเรื่องเสรีภาพในการ แสดงออกแต่อย่างใด

และเพื่อกอบกู้หน้า บราวแบ็กก็ได้ทำเช่นนั้นจริงๆ เขาออกมากล่าวว่า การกระทำของสต๊าฟของเขานั้น “มากเกินไป” และชี้ว่า เสรีภาพในการแสดงออก (Free speech) เป็น “เสรีภาพหนึ่งที่ควรเชิดชูมากที่สุด” เขายังกล่าวถึง “คุณค่าของความซิวิไลซ์และความสง่างาม” ซึ่งจงใจพูดถึงซัลลิแวน และทวีตของเธอที่ควรจะสุภาพมากกว่านี้ เรื่องราวดังกล่าว ได้แสดงให้เราเห็นถึงความเป็นจริงของอินเทอร์เน็ตหลายต่อหลายอย่าง เช่น อินเทอร์เน็ตและความสามารถของมันในการทำให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องอับอายขายหน้า และความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐที่มุ่งจองล้างจองผลาญความคิดที่เห็นต่างใน ระบอบการเมืองที่ปิดกั้น

นักเรียนม. ปลายคนนี้ (ซึ่งตอนนี้มีฟอลโลเวอร์มากกว่า 15,000 คนแล้ว) อาจจะฉลาดขึ้นบ้าง ถ้าฉุกคิดได้ว่าเธอโชคดีแค่ไหนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทย ที่ซึ่งฟรีสปีชเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์จะนำไปสู่สิ่งที่เลวร้ายกว่าการสั่ง สอนจากผู้ใหญ่หลายเท่าตัวนัก ในประเทศไทย มันจะนำไปสู่การจำคุกโดยทันใด และรัฐบาลก็ได้บังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างแข็งขัน

ในยุคสมัยของโลกอินเทอร์เน็ต การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อมาก ชายอายุ 61 ปีถูกตัดสินจำคุก 20 ปีสำหรับการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือที่อาจเป็นการดูหมิ่นพระราชินี และเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้กล่าวว่า การคลิก ‘ไลค์’ ข้อความที่ผิดกฎหมายในเฟซบุ๊กอาจจะนำความเคราะร้ายห์มาสู่ตัว

ผมเองไม่มีความคิดเห็นใดๆ ต่อราชวงศ์ของประเทศไทย บางที พวกท่านอาจจะดี แปลก หรือน่าขบขัน เช่นเดียวกับราชวงศ์ของสถาบันในประเทศอื่นๆ แต่ผมมั่นใจว่า พวกเขาน่าจะมีความอดกลั้นต่อคำดูหมิ่นได้มากกว่าที่เจ้าหน้าที่รัฐคิดไว้
เหล่าผู้ปกครองของประเทศไทยเชื่อว่า ผลประโยชน์ภายในประเทศที่ได้จากการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น มีมากกว่าความเสียหายที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ บางทีพวกเขาอาจจะคิดถูก แต่ในเส้นทางของประวัติศาสตร์มันเป็นเรื่องผิดแน่ คำวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนที่มีต่อชนชั้นปกครองเป็นสิ่งพื้นฐานของเสรีภาพ ในการแสดงออก และชาติใดที่ไม่อาจอดกลั้นต่อการดำรงอยู่ของฟรีสปีช ก็กำลังบอกกล่าวไปยังโลกภายนอกว่ามันมีความสั่นคลอนดำรงอยู่ภายในอย่างสูง

นักการเมืองของประเทศไทย ควรจะเรียนรู้จากบทเรียนของผู้ว่าฯ บราวน์แบ็ก และก่อนจะถึงวันนั้น หากพวกเขาต้องการจะเข้มงวดในโซเชียลมีเดียมากขึ้น เขารู้ว่าต้องตรวจตราที่ไหน ก็ในออฟฟิศของเหล่านักการเมืองเองไง

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker